ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เงินบริจาค 400 ล้านให้ดาราบิณฑ์ ช่วยน้ำท่วมอุบล ซึ่งข่าวการใช้เงินของดาราช่วยน้ำท่วมเงียบไปแล้ว เงินใช้ไปเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่ก็ไม่ทราบ มาช่วยกันบริจาคให้เด็กน่าสงสารคนนี้กันครับ

    ตำรวจเร่งช่วยเหลือเด็กน้อยที่น่าสงสาร แม่ตาย-พ่อทิ้ง นอนผิงไฟ ไฟลวกมือ จนต้องตัดมือทิ้ง วิงวอนขอความช่วยเหลือ
    -----------------------------------
    ข่าวจาก สภ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่..

    " ช่วยเหลือ ด.ญ.ปิยะพร "
    วันนี้ (6 พ.ย.62) เวลา 13.20 โดยการอำนวยการของ พล.ต.ต.พิเชษฐ จีระนันตสิน ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่,พ.ต.อ.สุรศักดิ์ มาอินทร์ ผกก.สภ.อมก๋อยฯ ได้มอบหมายให้ ร.ต.อ.สงค์การ ภูเขียว รอง สวป.ฯ ปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวร 20 ประจำวันนี้ พร้อมสายตรวจฯ เข้าไปเยี่ยมและมอบสิ่งของเครื่อง อุปโภค บริโภคและเงินจำนวนหนึ่งให้กับ ด.ญ.ปิยะพร หลวงแก้ว อายุ 5 ปี อยู่บ้านเลขที่ 81 หมู่ 4 ต.สบโขง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ซึ่งพักอาศัยอยู่กับ นาง จอแว หยกภู อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 69/1 หมู่ 4 ต.สบโขง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นยาย

    โดยแม่ได้เสียชีวิตเมื่ออายุประมาณ 10 เดือน ส่วนพ่อได้แต่งงานใหม่อีกหมู่บ้านหนึ่ง และไม่เคยมาเยี่ยม ดูแลลูกอีกเลย
    สำหรับ ด.ญ.ปิยะพร ฯ นั้นได้ถูกไฟไหม้ตอนอยู่กับย่าทวดเมื่ออายุประมาณ 10 เดือน ทำให้นิ้วข้างขวาพิการและมีแผลเป็นตามลำตัวและใบหน้า

    ส่วนการช่วยเหลือจะได้ประสานส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
    --------------------------------------
    ข้อมูลจากเพจฯฮากระเหรี่ยงV2

    ผู้มีจิตเมตตาสามารถส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ต่างๆให้น้องได้ที่>>>>>>>>
    ครูธัญสุดา หยกภู
    (ฝากให้ ด.ญ. ปิยะพร หลวงแก้ว)
    81 ม. 4 ต. สบโขงอ. อมก๋อยจ. เชียงใหม่ 50310
    โทร 0955757598
    น้องอยู่ที่บ้านขุนตื่นครับ

    IMG_4891.JPG IMG_4892.JPG IMG_4893.JPG IMG_4894.JPG IMG_4895.JPG IMG_4896.JPG IMG_4897.JPG IMG_4898.JPG IMG_4899.JPG IMG_4900.JPG IMG_4901.JPG IMG_4902.JPG

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra


    น้ำท่วมอย่างรุนแรงใน #tucuman, #อาร์เจนตินาทิ้งความเสียหายอย่างรุนแรงในถนน และถนนเป็นขบวนรอยแตก #5 พ. ย.


     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปัง!

    ภูเขาไฟ Popocatépetl , ประเทศ Mexico.
    05:00 น
    2019/06/11

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สหรัฐถอนตัวข้อตกลงปารีสประเทศเดียวสะเทือนทั้งโลก
    : สหรัฐเป็นทั้งประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และแหล่งเงินทุนและเทคโนโลยีแก้ปัญหาโลกร้อนของประเทศกำลังพัฒนา การถอนตัวจึงกระทบทั้งตัวข้อตกลงและทั้งโลก

    ในที่สุดประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ก็เริ่มกระบวนการถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงขอองสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นทางการด้วยการแจ้งไปยังองค์การสหประชาชาติ หลังจากทรัมป์ประกาศเจตนารมณ์นี้มาตั้งแต่ปี 2017 ทำให้สหรัฐเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ไม่ได้เข้าร่วมข้อตกลงนี้

    ข้อตกลงปารีสเป็นส่วนหนึ่งของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2015 โดยกำหนดว่าประเทศต่างๆ ทั้ง 188 ประเทศรวมทั้งสหรัฐ จะต้องร่วมกันรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นจากยุคก่อนอุตสาหกรรมเกิน 2 องศาเซลเซียส และจะพยายามเพิ่มขึ้นอีกเพื่อไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

    แต่ทรัมป์มองว่าข้อตกลงนี้ทำให้สหรัฐแบกรับภาระหนักกว่าประเทศอื่นและทำให้คนอเมริกันตกงาน ทั้งยังมักตั้งคำถามถึงความไม่ยุติธรรมของข้อตกลงนี้ระหว่างสหรัฐกับประเทศอื่น ครั้งหนึ่งทรัมป์เคยกล่าวว่า ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นตัวการของภาวะโลกร้อนอันดับต้นๆ อย่างจีนและอินเดียไม่ต้องแบกรับภาระหนักเหมือนสหรัฐภายใต้ข้อตกลงปารีส

    อันที่จริงข้อกล่าวหาของทรัมป์ว่าข้อตกลงปารีสไม่ป็นผลดีกับเศรษฐกิจของสหรัฐนั้น มีรายงานจากบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศเมื่อปี 2016 ระบุว่าข้อตกลงปารีสจะช่วยเสริมสร้างให้เกิดการลงทุนมูลค่าราว 23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในตลาดภายในปี 2030 จุดนี้นักวิเคราะห์มองว่าเมื่อสหรัฐถอนตัวจะทำให้คู่แข่งรายใหญ่ของสหรัฐเข้ามาแทนที่

    ส่วนที่ทรัมป์อ้างว่าข้อตกลงไม่เป็นธรรรมกับสหรัฐนั้น ข้อตกลงปารีสเปิดช่องให้แต่ละประเทศกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซและการดำเนินการของตัวเอง ไม่มีการบังคับหรือภาระผูกพันว่าสหรัฐต้องทำแบบนี้ จีนหรืออินเดียต้องทำแบบนี้ ต่างกับพิธีสารเกียวโตที่กำหนดพันธกรณีผูกพันต่อประเทศอุตสาหกรรมให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นสหรัฐมีสิทธิ์เสนอเป้าหมายที่คิดว่าเป็นธรรมกับประเทศตัวเองได้

    อีกทั้งการประกาศถอนตัวของทรัมป์ยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ชาวอเมริกันเริ่มส่งสัญญาณว่าเห็นต่างจากทรัมป์ ผลการสำรวจความคิดเห็นของหลักสูตรการสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของมหาวิทยาลัยเยลเมื่อช่วงต้นปีพบว่า ชาวอเมริกัน 7 ใน 10 คน คิดว่าภาวะโลกร้อนกำลังเล่นงานโลก และ 6 ใน 10 คนเป็นห่วงสถานการณ์นี้

    การถอนตัวของทรัมป์นอกจากจะเป็นการแสดงความไม่รับผิดชอบในฐานะประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 2 ของโลกและอาจทำให้แผนการลดควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสยากลำบากขึ้น ทั้งในแง่ของการที่สหรัฐเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกตัวการของภาวะโลกร้อนมากเป็นอันดับ 2 ของโลกแล้ว ทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งเงินทุนและเทคโนโลยีสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในการรับมือกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นด้วย

    จุดยืนไม่สนใจภาวะโลกร้อนของทรัมป์ยังสร้างความผิดหวังให้กับผู้นำธุรกิจ ภาคธุรกิจของสหรัฐไม่ว่าจะเป็นกูเกิล แอปเปิล และบริษัทอื่นๆ รวมทั้งผู้ผลิตเชื้อเพลิงจากฟอสซิลอย่างเอ็กซอนโมบิล ล้วนเป็นเสียงสำคัญที่สนับสนุนให้ทรัมป์ปฏิบัติตามกรอบข้อตกลงปารีสต่อไป ดาร์เรน วูดส์ ซีอีโอของเอ็กซอนโมบิลถึงกับเขียนจดหมายส่วนตัวไปถึงทรัมป์ว่า "สหรัฐอยู่ในจุดที่แข่งขันได้ในข้อตกลงปารีส และการอยู่ต่อหมายถึงการได้เข้าไปร่วมโต๊ะเจรจาเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม"

    อย่างไรก็ดี แม้ว่าผู้นำสหรัฐมุ่งมั่นที่จะถอนตัวจากข้อตกลงปารีส แต่บรรดารัฐบาลท้องถิ่น ภาคธุรกิจ มหาวิทยาลัย และองค์กรต่างๆ ในสหรัฐได้เข้าร่วมกับขบวนการ We Are Still In (พวกเรายังอยู่) ที่เคลื่อนไหวคัดค้านการถอนตัว และปฏิญาณว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงหันไปพึ่งพาพลังงานทดแทนให้มากขึ้น ด้าน ไมเคิล บลูมเบิร์ก ทูตด้านสภาพภูมิอากาศององค์การสหประชาชาติและนักธุรกิจชาวอเมริกัน ประกาศว่า กำลังเร่งระดมเงินทุนมาเติมเงินทุนเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ขาดเหลือซึ่งเกิดจากการถอนตัวของทรัมป์

    ทั้งนี้ หากนานาประเทศไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสได้ปัญหาต่างๆ จะตามมามากมายจากการวิจัยขององค์การนาซา ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิสุดขั้ว ประเทศแถบร้อนจะเผชิญกับวันที่มีอากาศร้อนมากขึ้น หากโลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ประชากรโลกราว 14% หรือราว 420 ล้านคน จะต้องเจอคลื่นความร้อน 1 ครั้งในทุกๆ 5 ปี

    ความแห้งแล้ง การจำกัดไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความแห้งแล้งในแถบยุโรปใต้ แอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย นอกจากนี้ ภาวะโลกร้อนยังทำให้น้ำแข็งละลายในอัตราที่รวดเร็วกว่าปกติ พื้นที่แถบชายฝั่งของโลกกว่า 70% จะมีระดับน้ำทะเลเพื่มขึ้น 20 เซนติเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายเมืองที่อยู่ต่ำ ชายหาดถูกกัดเซาะ เป็นต้น

    Source: Posttoday
    https://www.posttoday.com/world/605510
    www.businessinsider.com
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    แรงงานโรจนะ ถูกปลดอีก กว่า200 คน แถมให้เดินกลับอีก สงสารมาก
    ...
    ปลดพนักงาน พม่า ออก 200กว่าคน
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    # ฟิลิปปินส์ ทอร์นาโดปะทะกับ Marawi ทำลายโครงสร้างรวมถึงหลังคาศาลากลาง # 4พฤศจิกายน







     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    พายุลูกเห็บที่รุนแรง ในเมือง altena, โบลิเวีย #6 พ. ย



    c_oc=AQl9_J22x3kOrRad5JMvWPiHnAoFi_l3W_hUIJrw0doOHPaOd05zipz0mjOUsGkU6A0&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg

    c_oc=AQnzNOFsGvYLrO3ExWcC0RIOTvmfvc1EcWLafbs4EcdjUFJBRM7ObXcP_b24ebpjjxY&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Alerta Cambio Climatico

    มีคนมากกว่า 1.000 คนอพยพออกจากบ้า นและมีรายงาน บ้าน 7 หลังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและ แผ่นดินถล่ม ใน #เจริโก้ #antioquia, โคลอมเบีย

    วิดีโอโดยเซบาสเตียน _ เพื่อน

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    ภูเขาไฟ Sakurajima, Japan 7 พ.ย. 2019 - 01.20 น
    Sakurajima Volcano, Japan Nov7 2019 - 01.20 AM

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    ภูเขาไฟ Popocatepetl , Mexico 6 พ.ย. 2019
    Popocatepetl Volcano, Mexico Nov06 2019
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan
    ท่อน้ำร้อนระเบิดที่จุดตัดของถนนShota Rustaveli และ Saksaganskogo ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางของเคียฟ ยูเครน 6 พ.ย. 2019

    หลุมเกิดขึ้นหลังจากการระเบิดและรถสองคันตกลงไปในหลุมนี้
    คนขับรถคันหนึ่งถูกลวกเนื่องจากน้ำร้อน

    Hot water pipe exploded at the intersection of Shota Rustaveli and Saksaganskogo streets, located in the most central point of Kiev. Ukraine Nov6 2019

    The hole occurred after the explosion and two cars fell into this hole.
    The driver of one of the vehicles burns due to hot water.
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan
    2 ชม. ·
    M 5.7 - 10.0 km depth
    43km ENE of Jomalig, Philippines
    2019-11-06 20:52:55 (UTC)
    c_oc=AQmzlDm5uRLs21M2EC1_x7vssbFxnwyUjlB-FDWmninafwWnROvxXyWUXO6ecQtE9fk&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg
    แผ่นดินไหว ขนาด 5.7- ความลึก 10.0 กม.
    43 กม.ENE ของ jomalig, ฟิลิปปินส์
    2019-11-06 20:52:55 (utc)
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    แผ่นดินไหว ขนาด 5.7 - ความลึก 10.0 กม.
    43km ENE จาก Jomalig, ฟิลิปปินส์
    2019-11-06 เวลา 20:52:55 (UTC)
    04.52 น
    ความเข้มถูกบันทึกไว้ที่:
    Intensity IV - Guinayangan, Quezon
    Intensity II - Marikina City, Navotas City, Quezon City
    Intensity I - Muntinlupa City



    c_oc=AQnl14sjD3b9QIvUeKipDQfzvZ4nUfESbZ8guFbf3klx2RQqzvjGR0cY3h5X8b1e3Dw&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg

    c_oc=AQlz2lWIdHJuXFQqOId1ejFoirhy3Gru_0Uff23fIy7CFDIXXpO6SIMKO1vUNttziwg&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    นักวิทย์ทั่วโลกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ
    7 พฤศจิกายน 2562 09:11
    news-11366642015dc36c475119b.jpg
    วันนี้ ( 7 พ.ย. 62 )งานวิจัยในวารสาร BioScience เปิดเผยว่า โลกกำลังเผชิญกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ และยังเสนอนโยบายที่จะต้องบรรลุอย่างเร่งด่วน โดยมีนักวิทยาศาสตร์จำนวน 11,258 ราย จาก 153 ประเทศทั่วโลกที่ร่วมงานวิจัยครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์กว่าหมื่นคน ได้ร่วมกันประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ โดยในงานวิจัยระบุว่า ปัญหาของสภาพอากาศ มาจากพฤติกรรมของมนุษย์จนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งการลดจำนวนการปล่อยก๊าซนี้ เป็นความท้าทายอย่างมาก


    ในงานวิจัยนี้ได้ระบุถึงตัวบ่งชี้ ถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา เทรนด์ด้านเศรษฐกิจโลก จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การผลิตเนื้อสัตว์ต่อคน และจำนวนการสูญเสียต้นไม้ รวมถึงสถิติด้านอุณหภูมิโลก และความร้อนของน้ำทะเล ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสภาพภูมิอากาศของโลกจะไปทางไหน

    ส่วนนโยบายที่นักวิทยาศาสตร์ร่วมกันเสนอในงานวิจัยชิ้นนี้ ได้เรียกร้องให้ทั่วโลก นำร่องข้อปฏิบัติเพื่อการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบ หรือถ่านหิน และหันมาใช้พลังงานทางเลือกให้มากกว่านี้

    นอกจากนี้ยังเรียกร้องไม่ให้นำน้ำมันดิบหรือถ่านหินมาเผาเพื่อให้เกิดพลังงาน และยังเรียกร้องให้มีการสนับสนุนการรับประทานอาหารที่ทำมาจากพืช หรือ plant-based food และสร้างข้อปฏิบัติด้านเกษตรกรรม ที่จะเพิ่มจำนวนการดูดซับคาร์บอน

    ยิ่งไปกว่านั้น เหล่านักวิทยาศาสตร์ยังเสนอให้มีนโยบายลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการตัดไม้ทำลายป่า โดยแนะนำให้อนุรักษ์ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ที่สามารถดูดซับคาร์บอนได้เป็นอย่างแรก ซึ่งจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี

    ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมทำงานวิจัย ต้องบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า งานวิจัยชิ้นนี้ สะท้อนถึงข้อมูลที่ชัดเจน ว่าสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ เป็นความจริง และยังส่งผลร้ายต่อมวลมนุษยชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ จึงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความเป็นอยู่ของทุกคนบนโลกใบนี้

    https://www.tnnthailand.com/content...-mTN9TkBGxJECd_kX-ZChfJcB-ju6IC1YAfWcM_TtzI5Y
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    โรงแรม Go Green เปลี่ยนอากาศร้อนเป็นน้ำอุ่นไม่เปลืองพลังงาน
    เผยแพร่: 7 พ.ย. 2562 00:37 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    562000011056601.jpg

    อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก (ซ้าย) และ อัจฉรา ปู่มี (ขวา) ภายในห้องทำน้ำร้อนด้วยระบบฮีทปั๊ม ของโรงแรมอ่าวนางปริ้นท์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา

    ความสะดวกสบายไม่ต้องแลกมาด้วยทุนสิ่งแวดล้อมเสมอไป เมื่อรู้จักใช้นวัตกรรมให้ตอบโจทย์ เหมือน "โรงแรมอ่าวนาง ปริ้นซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา" ที่ให้บริการน้ำอุ่น โดยที่ประหยัดพลังงานลงถึง 80%

    อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้จัดการโรงแรม อ่าวนางปรินซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.กระบี่ เปิดเผยว่า ทางโรงแรมได้นำระบบน้ำร้อนที่ใช้แก๊สต้มแบบระบบฮีทปั๊ม (Heat Pump) มาใช้แทนระบบทำน้ำร้อนแบบเดิม ผลคือใช้พลังงานลดลงถึง 80% และยังลดค่าพลังงานแก๊สจากเดือนละ 20,000 บาท เหลือไม่ถึง 10,000 บาท

    นอกจากนี้ ทางโรงแรมยังใช้ระบบทำความเย็นแบบ VRF (Variable Refrigerant Flow) ที่เป็นปรับอากาศทั้งอาคาร และใช้พลังงานตามปริมาณการใช้งานของแขกที่เข้าพัก แทนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศทุกห้อง ซึ่งทั้งระบบทำน้ำอุ่นและทำความเย็นแบบนี้ ช่วยให้ทางโรงแรมลดค่าไฟฟ้าจากเดือนละไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท เหลือประมาณ 160,000-170,000 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดลง 15-20% โดยที่ได้รับความพึงพอใจจากลูกค้าห้องพักว่าสามารถให้บริการน้ำร้อนและห้องปรับอากาศได้อย่างดีสม่ำเสมอ

    สำหรับระบบน้ำร้อนที่ใช้แก๊สต้มแบบระบบฮีทปั๊มนี้เป็นผลงานของบริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมด้านประหยัดพลังงาน ซึ่งได้รับการจับคู่นวัตกรรม (Innovation Matching) กับ โรงแรม อ่าวนางปรินซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.กระบี่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จากการสนับสนุนของศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)

    "เดิมเราใช้ระบบน้ำร้อนที่ต้มด้วยแก๊ส ซึ่งมีความเสี่ยงมาก และมีห้องต้มน้ำ 2 อาคาร จนกระทั่งได้รู้จักระบบฮีทปั๊ม ซึ่งประทับใจมาก เพราะปกติห้องทำน้ำร้อนจะร้อนมาก แต่ระบบใหม่นี้ทำให้ห้องเย็นเหมือนติดแอร์ เพราะมีการถ่ายเทเอาพลังงานความร้อนไปผลิตน้ำอุ่น" อิทธิฤทธิ์ เจ้าของโรงแรมที่มีจำนวนห้องพัก 58 ห้องกล่าว

    อิทธิฤทธิ์เสริมอีกว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นต้องเริ่มแก้ไขจากตัวเองก่อน ซึ่งพนักงานทุกคนของโรงแรมต้องรู้และตระหนักในเรื่องนี้เหมือนกัน โดยการทำธุรกิจโรงแรมตลอด 10 ปีที่ผ่านมานั้น ทางโรงแรมไม่ถมที่ปรับระดับและไม่ตัดต้นไม้เลย อาศัยการออกแบบและสร้างอาคารเพื่อหลบเลี่ยงต้นไม้ที่มีอยู่เดิม และในทุกๆ วันจันทร์ พุธ และศุกร์ พนักงานโรงแรมจะช่วยกันทำความสะอาดชายหาด เก็บขยะพลาสติกและลงพื้นที่ชุมชนให้ความรู้

    ในส่วนของการทำงานของระบบฮีทปั๊มนั้น อัจฉรา ปู่มี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายว่า ระบบฮีทปั๊มจะนำอากาศร้อนรอบๆ มาผลิตน้ำร้อน หลักการคล้ายการทำงานของเครื่องปรับอากาศทำความเย็น แต่ทำงานกลับด้านกัน โดยฮีทปั๊มจะดึงอากาศร้อนรอบๆ เข้าไปบีบอัดในระบบให้ร้อนขึ้นแล้วถ่ายเทความร้อนให้แก่น้ำที่ไหลผ่านในระบบ ทำให้อากาศรอบๆ เครื่องทำน้ำอุ่นเย็นสบาย แตกต่างจากการใช้แก๊สต้มน้ำร้อน

    อัจฉรากล่าวว่า ระบบทำน้ำอุ่นแบบนี้เหมาะสำหรับประเทศในเขตร้อน เช่น ประเทศในกลุ่มอาเซียน ประเทศในแอฟริกา อินเดียใต้ ซึ่งนอกจากติดตั้งระบบให้กลุ่มโรงแรมในประเทศไทยแล้ว แพค คอร์ปอเรชั่นยังมีลูกค้าในต่างประเทศ โดยเมื่อเร็วๆ ยังได้ติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นให้แก่โรงแรมในมัลดีฟด้วย

    จุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมนั้น อัจฉราเล่าว่า มาจากการต่อยอดธุรกิจจำหน่ายเครื่องปรับอากาศของบิดา โดยเล็งประโยชน์ของอากาศร้อนที่ถูกปล่อยทิ้งจากเครื่องคอมเพรสเซอร์ แต่การเริ่มนวัตกรรมนี้เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกระแสใส่ใจสิ่งแวดล้อมยังไม่มากเท่าปัจจุบัน อีกทั้งปัจจัยบีบคั้นจากราคาพลังงานยังไม่สูงเท่าปัจจุบัน

    ทว่า ความไม่ย่อท้อและพัฒนานวัตกรรมอย่างเนื่อง ปัจจุบันทางบริษัทมีผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงานแล้ว 8 ผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องทำน้ำอุ่นจากเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่นสำหรับสระว่ายน้ำ เครื่องปรับอากาศจากพลังงานแสงอาทิตย์ และช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นการเติบโตของธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะช่วง 2 ปีหลังนี้มียอดขายมากกว่า 100 ล้านบาท

    อย่างไรก็ตาม อัจฉรากล่าวการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านฮาร์ดแวร์คงจะเติบโตต่อไปไม่ได้มาก และมีแนวโน้มว่าคู่แข่งจะพัฒนาผลิตภัณฑ์มาแข่งขันทางด้านราคา จึงเริ่มให้ความสนใจการพัฒนาระบบควบคุมที่ช่วยให้ลูกค้าประเมินการใช้พลังงานในแต่ละส่วนได้ เช่น แขกโรงแรมในแต่ละห้องใช้พลังงานไปเท่าไร พลังงานถูกใช้มากที่ส่วนไหนและช่วงเวลาใด

    ในอนาคตอันใกล้นี้ โรงแรม อ่าวนางปรินซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา และบริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น ยังมีความร่วมมือที่จะติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้สำหรับล็อบบี้ของโรงแรม และอาคารพาณิชย์ที่เปิดให้เช่าบริการหน้าโรงแรมอีกด้วย ซึ่งอิทธิฤทธิ์กล่าวว่าการนำเทคโนโลยีพลังงารและเทคโนโลยีสนับสนุนการเป็นสมาร์ทโฮเทล (Smart Hotel) นี้ จะช่วยลดต้นทุนในการบริการและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของโรงแรม อีกทั้งสนับสนุนนโยบายจังหวัดที่จะพัฒนาให้กระบี่เป็นเมืองต้นแบบ Go Green ที่เป็นเมืองน่าเที่ยว น่าพัก และมีสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้บริการลูกค้า

    562000011056602.jpg

    อัจฉรา ปู่มี ภายในห้องทำน้ำร้อนด้วยระบบฮีทปั๊ม ของโรงแรมอ่าวนางปริ้นท์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา


    562000011056604.jpg

    เครื่องปรับอากาศแบบ VRF

    https://mgronline.com/science/detai...iWdRsngnw7j-20xFgVJLGXYdXKtbkZ_HTcTbKm1wDkT1c
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    กทม.เตรียมพร้อมรับมือผลกระทบภาวะโลกร้อนส่งผลระดับน้ำทะเลสูง
    ข่าวทั่วไป 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 07:59 น. —ThaiPR.net

    iqb136f653011b829903faa4c2d05f368b.jpg
    นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวกรณีมีการนำเสนอรายงานผลงานวิจัยในวารสาร Nature Communications เกี่ยวกับผลกระทบของน้ำท่วมจากสภาวะโลกร้อน คาดในปี 2050 ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอาจกระทบกับประชากรของประเทศไทยร้อยละ 10 หรือประมาณ 6 - 7 ล้านคน ซึ่งขณะนี้เริ่มเห็นผลกระทบแล้วในบางพื้นที่ เช่น บริเวณชายทะเลบางขุนเทียนว่า กทม. ได้เตรียมพร้อมรับมือผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน ทั้งการดำเนินโครงการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน การตรวจสอบค่าระดับความเสี่ยงจากน้ำท่วมของพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ รวมถึงการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการระบบระบายน้ำของ กทม. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว การจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองในอนาคต รวมทั้งการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแนวทางเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่กรุงเทพฯ ตลอดจนการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

    นายสมชาย เดชากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม. กล่าวว่า กทม. ได้ดำเนินการปรับปรุงร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเมือง รวมถึงการป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยพิบัติ การส่งเสริมการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยดำเนินการ ดังนี้ 1) กำหนดให้มีการส่งเสริมการพัฒนาเมืองภายในพื้นที่รอบถนนวงแหวนถนนรัชดาภิเษกให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความหนาแน่นสูง สอดคล้องกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนในพื้นที่รอบนอกที่ระบบสาธารณูปโภคยังไม่ทั่วถึง การสัญจรไม่สะดวก หรือเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ เช่น พื้นที่ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่ง ได้ควบคุมการพัฒนาเมืองและสิ่งปลูกสร้างที่เบาบาง เช่น เป็นพื้นที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม และพื้นที่สีเขียว เพื่อลดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินหากเกิดภัยพิบัติ 2) กำหนดที่โล่งประเภทต่าง ๆ ให้มีพื้นที่สีเขียว เพื่อรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติ และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเล 3) กำหนดให้มีโครงการกิจการสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เช่น โครงการขุดลอกคลอง การก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ การจัดหาพื้นที่แก้มลิง เป็นต้น นอกจากนี้ ได้กำหนดมาตรการทางผังเมือง เพื่อส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ การกำหนดให้ทุกอาคารหรือโครงการที่จะก่อสร้างใหม่ ต้องจัดให้มีพื้นที่โล่งที่น้ำสามารถซึมผ่านได้และปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยระบายน้ำฝนลงสู่ชั้นดิน การจัดให้มีพื้นที่ว่างเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ จัดให้มีอาคารประหยัดพลังงาน จัดให้มีพื้นที่รับน้ำหรือกักเก็บน้ำฝน เป็นต้น

    นายณรงค์ เรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวว่า ที่ผ่านมา กทม. ได้พัฒนาระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยเสริมความสูงแนวคันป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา จากเดิมที่ความสูงเฉลี่ย 2.50 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นความสูงเฉลี่ย 3.00 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อป้องกันน้ำจากทะเลและจากแม่น้ำเจ้าพระยาล้นเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ กทม. ยังร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) จัดทำแผนแม่บทรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ กทม. โดยมีเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และจัดทำมาตรการปรับตัวเพื่อรับมือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น (Adaptation) โดยการจัดทำแผนที่ความเสี่ยง เป็นหนึ่งในมาตรการ Adaptation ของ กทม. สำหรับมาตรการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้จ้างที่ปรึกษาศึกษาออกแบบแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างถาวรร่วมกับชุมชนในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว และมีกำหนดนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในเดือน ธ.ค. 2562 เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว คาดจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2564

    นายชาตรี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวว่า ในส่วนของสำนักสิ่งแวดล้อม ได้รณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง โดยมีแผนแม่บท กทม. ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2556 - 2566 เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ กทม. มุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำที่พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะเดียวกันได้มีมาตรการส่งเสริมการมีส่วนร่วมภายในองค์กร ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติการลดใช้พลังงาน การใช้รถยนต์ส่งเอกสารร่วมกัน การตรวจควันดำของรถราชการ และกิจกรรมลดใช้พลาสติกและโฟมของหน่วยงานสังกัด กทม. อีกทั้งได้บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมปิดไฟเพื่อลดภาวะโลกร้อนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง (Earth Hour) การรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastic) การแยกบรรจุภัณฑ์ ที่รีไซเคิลขาย การแยกเศษอาหารเลี้ยงสัตว์หรือทำปุ๋ย การแยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป และโครงการ "วน" เพื่อลดขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้สร้างความร่วมมือเพิ่มพื้นที่สีเขียวในที่ว่างร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน

    นายพลเฉลิม ศรมณี ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน กทม. กล่าวว่า สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กทม. ได้กำหนดแผนดำเนินการ ประกอบด้วย 1) การฟื้นฟูป่าชายเลน จำนวน 3,000 ไร่ โดยเน้นความร่วมมือระหว่างประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน 2) จัดทำพื้นที่ปลูกป่าจากชายฝั่งออกสู่ทะเล ด้วยการปักไม้ไผ่กันคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง 3) จัดหาพันธุ์กล้าไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น ต้นโกงกาง ต้นแสม และต้นลำพู นำมาปลูกเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง และ 4) การสร้างภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มมวลชนจากประชาชนทั่วไป เพื่อฟื้นฟูและบำรุงรักษาป่าชายเลนให้คืนสู่สภาพเดิม เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ รวมถึงได้ผืนดินกลับคืนมาเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติ สำหรับความคืบหน้าการดำเนินการตามโครงการปลูกป่าในใจคน ตามศาสตร์พระราชา ตั้งแต่วันที่ 18 ต.ค. 2559 จนถึงปัจจุบัน ได้ขยายพื้นที่ปักไม้หไผ่เพื่อทำแปลงปลูกป่าชายเลนและปลูกต้นโกงกาง จำนวน 210 ไร่ การปักไม้ไผ่เพื่อป้องกันความแรงของคลื่นทะเลบริเวณป่าชายเลนบางขุนเทียน จำนวน 165,162 ลำ หลังจากปักไม้ไผ่เพื่อเป็นแนวป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งชายทะเลบางขุนเทียน ปัจจุบันมีการสะสมตะกอนดินเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 50 - 60 เซนติเมตร นอกจากนี้ ยังได้ทดลองทำกระบะปลูกต้นกล้ารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทดลองปลูกในวงท่อซีเมนต์ เพื่อลดแรงปะทะของคลื่นและให้ต้นกล้าพ้นจากระดับน้ำทะเลที่ขึ้นสูง รวมถึงจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนบางขุนเทียน เก็บขยะหน้าทะเล การเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลนบางขุนเทียน จุดเพาะชำต้นกล้าโกงกาง และกิจกรรมยิงลูกแสม


    https://www.ryt9.com/s/prg/3063733?...tZigookW7C5--Nvhq9a3ct4Dxxh61YPLkhLtcBiuOYBxo
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ‘ภาวะโลกร้อน’ กรรมตามทัน... เผยแพร่: 6 พ.ย. 2562 16:45 ปรับปรุง: 6 พ.ย. 2562 17:35 โดย: โสภณ องค์การณ์
    562000011040901.jpg

    หมอกควันพิษในนิวเดลี ประเทศอินเดีย

    มนุษย์เป็นผู้เปลี่ยนแปลงธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดและความสะดวกสบายในชีวิต ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ทำลายธรรมชาติเพราะการพัฒนาและวิวัฒนาการทำให้ต้องแลกกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ทำให้โลกเริ่มไม่น่าอยู่

    เมื่อไม่มีทางเลือกอื่น หรืออพยพไปอยู่ดวงดาวอื่นๆ อย่างในภาพยนตร์ตามจินตนาการของผู้สร้าง คนในโลกจำเป็นต้องอยู่ต่อไป ผู้รู้เรื่องความเป็นไปของสภาวะของโลกได้ออกมาเตือนด้วยเสียงเข้มกว่าเดิมทุกระยะว่า ภาวะโลกร้อนอยู่ในระดับวิกฤต

    ภาวะโลกร้อนเกิดจากฝีมือมนุษย์ ดังเช่นปัญหาหมอกควันพิษในหลายเมือง ทั้งกรุงเทพฯ ปักกิ่ง และที่เป็นข่าวโด่งดังทุกวันนี้คือกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดียซึ่งเป็นภาวะยิ่งกว่าวิกฤตเพราะควันพิษคลุมเมืองในระดับเข้มถึง 999 เปอร์เซ็นต์

    ระดับที่ยอมรับกันได้คือ PM 2.5 ต้องไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ และอินเดียมีประมาณ 22 เมืองที่มีปัญหาหมอกควันพิษ แต่นิวเดลีเกินหน้าไปหลายระดับ ช่วงหนึ่งรุนแรงระดับเทียบเท่ากับคนสูบบุหรี่มากถึง 44 มวนต่อวัน หรือเกิน 2 ซอง ซึ่งหนักมาก

    มีประมาณ 30 เมืองในโลกที่มีปัญหาด้านหมอกควันพิษ อินเดียมีมากที่สุด ก่อนหน้านี้หลายเมืองในประเทศจีนมีปัญหาหนักจากการใช้ถ่านหินในภาคอุตสาหกรรม การจราจรที่หนาแน่น การหุงต้มโดยใช้ถ่าน แต่รัฐบาลมีมาตรการเข้มข้นเพื่อแก้ปัญหา

    รัฐบาลมองว่าการปรับเปลี่ยนนิสัยของคน ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จำเป็นต้องทำ

    รัฐบาลจีนได้ให้เตาหุงต้มไฟฟ้าแก่ประชาชน ลดละเลิกการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม จัดระเบียบการใช้ถนนเพื่อลดอากาศเป็นพิษ แต่ยังไม่ทำให้สำเร็จได้เต็มที่เพราะจำนวนยานพาหนะในแต่ละเมืองของจีนเพิ่มขึ้นมากทุกปี

    ชีวิตความเป็นอยู่ที่เริ่มพ้นสภาพจากความยากจนเป็นการใช้ทรัพยากรและสร้างปัญหาให้ธรรมชาติจนเกินระดับที่จะรับได้ จีนก็ไม่พ้นจากกฎเกณฑ์นี้

    แต่อินเดียยังต้องใช้เวลาอีกมาก และมาตรการต่างๆ ต้องใช้การลงทุนสูงเพื่อปรับเปลี่ยนระบบการใช้พลังงานอุตสาหกรรม การใช้ยานพาหนะ และเกษตรกรรม

    ไม่กี่วันก่อนความรุนแรงของหมอกควันทำให้เครื่องบินหลายลำต้องไปลงสนามบินอื่นเนื่องจากนักบินไม่สามารถมองเห็นทางวิ่งได้ชัด รัฐบาลต้องเร่งแจกหน้ากากกว่า 5 ล้านใบเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนมีปัญหาทางเดินหายใจ แต่ก็ไม่เพียงพอ

    นิวเดลีมีประชากร 18 ล้านคน อยู่ในภาวะจำยอม ส่วนหนึ่งต้องทุกข์กับการแสบตา จมูก ลำคอ ไอ ระบบทางเดินหายใจและสุขภาพโดยรวม และปวดศีรษะต่อเนื่อง

    ภาพปรากฏบนทีวีเห็นว่าชาวอินเดียส่วนมากยังสัญจรไปมาบนท้องถนนโดยไม่ใช้หน้ากาก อาจเป็นเพราะหายาก มีราคาแพง หรือคุ้นเคยกับภาวะหมอกจนทนได้ แม้แต่ทัชมาฮาลในเมืองอัคระ อาคารกลายเป็นสีเหลืองเพราะควันโรงงานอุตสาหกรรม

    สาเหตุหลักของหมอกควันพิษในนิวเดลีเป็นเพราะโรงงานอุตสาหกรรม ยานพาหนะทุกประเภทที่แน่นถนน และการเผาซากพืชในพื้นที่เกษตรกรรม เหมือนประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทางการไม่สามารถควบคุมได้สำเร็จ

    องค์การอนามัยโลกมีรายงานว่าจำนวนคนเสียชีวิตมีประมาณ 4.2 ล้านรายในแต่ละปีจากปัญหาที่ต้องเผชิญกับหมอกควันพิษ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหัวใจวาย หัวล้มเหลว เบาหวาน มะเร็งปอด และโรคปอดเรื้อรัง เป็นการเจ็บป่วยสิ้นเปลืองเงินมาก

    ชาวอินเดียได้เดินขบวนเรียกร้องให้จัดการปัญหา แต่ชาวกรุงเดลียังไม่ยอมรับว่าสภาพหมอกควันพิษเป็นต้นตอของปัญหา มีกวีชื่อ นาฟคีรัต โสธิ บอกว่า “สุดท้ายกรรมตามทันเสมอ” เพราะเป็นการกระทำของมนุษย์เอง ทำอะไร ก็ต้องรับสิ่งนั้น

    ชีวิตของชาวเมืองส่วนหนึ่งยังคงใช้การเผาไหม้ของฟืนและวัตถุอื่นๆ เพื่อประกอบอาหาร เป็นการใช้วิถีชีวิตตามปกติเพราะจำนวนคนยากจนและรายได้น้อยยังมีมาก

    นักวิทยาศาสตร์ชี้ชัดแล้วว่าภาวะโลกร้อนเป็นต้นเหตุของความแปรปรวนของอากาศในโลก เช่นความรุนแรงของพายุ เหตุเอลนีโญ ลานีญา และระดับน้ำทะเลสูงจากการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือ ธารน้ำแข็งบนภูเขาละลายอย่างต่อเนื่อง

    ข้อสรุปของปัญหาโลกร้อนคือ การใช้ชีวิตแบบตอบสนองความต้องการความสุขซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมั่งคั่ง สมบูรณ์พูนสุข ซึ่งเอาจากธรรมชาติ เอาวัสดุจากธรรมชาติมาเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างอาคาร และระบบต่างๆ เปลี่ยนสภาพแวดล้อม

    โรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มนุษย์พัฒนาเพื่อความสุขสบายของตนเอง นักวิทยาศาสตร์ได้ยก 6 ประเด็นเพื่อดำเนินการ ถ้ามนุษยชาติต้องการป้องกันตัวเองจากหายนะในอนาคต ซึ่งเกิดจากการกระทำของตนเอง ถ้าล้มเหลวจะอยู่รอดยาก

    เป็นการล่มสลายของระบบการดำเนินชีวิตของมนุษยชาตินั่นเลย!

    นั่นคือความจำเป็นต้องยกเลิกการใช้พลังงานจากฟอสซิล ลดการระบายความร้อนและของเสียจากพาหนะซึ่งใช้ก๊าซมีเทน ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศน์ สร้างระบบเศรษฐกิจโดยการปลอดสารคาร์บอน ไม่เพิ่มประชากรมากเกิน

    นั่นทำได้โดยระบบวางแผนครอบครัว ให้ความรู้แก่สตรีในการคุมกำเนิด การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนจะต้องไม่มองว่าเป็นการเสียสละความสุข แต่เป็นความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อไม่ให้สภาพเลวร้ายกว่าเดิม

    นักวิทยาศาสตร์รายหนึ่งบอกว่า การเปลี่ยนแปลง ปรับสภาพต้องเริ่มในทุกเรื่อง เช่นการติดขัดของจราจรในเมือง ปัญหาบนท้องถนน และอากาศสกปรก ถ้าจะให้ดีขึ้น

    https://mgronline.com/daily/detail/...37OTQVfupMGoo5XopaKQ3baFFn8S2d1_D-vyQbvMsPX0w
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    แก้ไม่จบ!! ขยะพลาสติกเกลื่อนโลก ชี้เหตุต้นทุนบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก “แพง-ทดแทนไม่ดีเท่า” เผยแพร่: 7 พ.ย. 2562 01:18 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    562000011057001.jpg

    ขยะพลาสติกยาวสุดสายตา กินพื้นที่มากกว่า 3 ประเทศในยุโรป ลอยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก : เครดิตภาพ AFP PHOTO / CAROLINE POWER

    562000011057002.jpg


    ต้นทุนการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มพลาสติกที่จะนำไปสู่ทางเลือกอื่นๆ เพื่อให้สภาพแวดล้อมของโลกดีขึ้น ยังไม่คุ้มค่าต่อการเปลี่ยนผ่านอย่างจริงจัง จึงเป็นสาเหตุให้ปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์พบเจอแทบทุกพื้นที่ของโลกมากขึ้น

    ในแต่ละหีบห่อพลาสติกมากกว่า 78 ล้านตันเกิดขึ้นทั่วโลกโดยภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นมูลค่ากว่า198,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่กลับสู่กระบวนการรีไซเคิล ขณะที่ส่วนใหญ่ถูกทิ้งเป็นขยะ

    การกระจายข่าวผ่านช่องทางการสื่อสารในประเด็นของปัญหาพลาสติกต่อแหล่งน้ำและมหาสมุทร สามารถเรียกร้องความสนใจของภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และผู้ค้าปลีกได้บ้าง ทำให้เกิดขั้นตอนการสอดส่องและจับตาขยะพลาสติก แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงระดับพื้นฐานและการศึกษาต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าพร้อมหีบห่อที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

    562000011057003.jpg


    ต้นทุนหาย กำไรหด บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนยาก
    ส่วนของภาคอุตสาหกรรมที่มีความพยายามติดตามและจัดการกับขยะพลาสติกอันเนื่องมาจากการผลิตสินค้าของเขาเอง ออกมายอมรับว่า ความรับผิดชอบที่เพิ่มเติมนี้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของตนเอง

    ตัวอย่างเช่น บริษัทโคคา-โคลา ที่ผลิตหีบห่อพลาสติกราว 38,250 ตันต่อปี ในอังกฤษ ได้ประมาณการว่า บริษัทจำหน่ายขวดพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียว (Single-use plastic bottles) ทั่วโลกกว่า 110,000 ล้านขวด แม้ว่าบริษัทจะตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มการรีไซเคิลขวดพลาสติกของตนอีกเท่าตัว แต่ในการดำเนินการก็เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายอย่างมาก ซึ่งก็ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของค่าใช้จ่ายดังกล่าว

    ขณะเดียวกัน กว่า 60 ประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายภาคบังคับ โดยพุ่งเป้าหมายลดการใช้ถุงพลาสติกและวัสดุที่ทำจากพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยที่ เกาะวานัวตู ในมหาสมุทรแปซิกฟิก เริ่มเป็นประเทศแรกของโลกที่ห้ามการใช้ถุงพลาสติก ภาชนะบรรจุอาหารจากโพลีสไตลีนทั้งเกาะแบบ 100%

    แม้ว่าแนวโน้มทั่วโลกจะออกมาไม่แตกต่างกัน คือ ให้ผู้ประกอบการผลิตและค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลก วางเป้าหมายในการลดปริมาณหีบห่อพลาสติกลง แต่ก็เป็นการวางเป้าหมายที่ยังไม่มีวิธีดำเนินการที่ชัดเจนรองรับ นั่นเองที่ทำให้บรรดานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญวิตกว่าหากปราศจากแนวคิดที่ถูกต้องเหมาะสมในเชิงวิชาการ และปราศจากแนวทางการวิเคราะห์ Cost - Benefit Analysis ที่ชัดเจน การห้ามใช้พลาสติกแบบหักดิบจะกลายเป็นการผลักดันให้ผู้บริโภครับภาระต้นทุนนี้ และต้องจ่ายเงินในการซื้อสินค้าที่แพงขึ้นในที่สุด

    562000011057004.jpg

    ขยะพลาสติกจากหลากหลายแบรนด์ดัง

    ไม่มีบรรจุภัณฑ์ทดแทนได้เทียบเท่า
    แนวคิดในการมองว่า หีบห่อพลาสติกเป็นสิ่งเลวร้ายและต้องหาหีบห่ออย่างอื่นมาใช้แทน อาจจะพูดได้ง่าย แต่ทำไม่ง่ายหากนำมาดำเนินการจริงๆ เพราะจะต้องเปลี่ยนทัศนคติ ความเชื่อและปรัชญาการทำธุรกิจให้ได้จริงก่อน เพราะจนถึงขณะนี้ ความเชื่อส่วนใหญ่ พลาสติก คือวัสดุสำคัญในการทำหีบห่อ และสามารถยืดหยุ่นและปรับตัวให้นำมาใช้งานได้ดี ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ดีที่สุด ใช้วัสดุในปริมาณและสัดส่วนน้อยกว่าวัสดุประเภทอื่น ใช้พลังงานต่ำกว่า อีกทั้งมีต้นทุนที่ถูกกว่า น้ำหนักเบา ปรับรูปทรงได้หลากหลายตามความต้องการซึ่งยังไม่มีวัสดุทดแทนอื่นใดที่ตอบโจทย์ได้เท่าเทียม

    มีการเปรียบเทียบกันระหว่างขวดเครื่องดื่มพลาสติกกับขวดแก้ว ผลการศึกษาพบว่า ขวดแก้วมีต้นทุนสูงกว่าประมาณ 0.01 ดอลลาร์ต่อขวด และในการขนส่งขวดแก้วแทนพลาสติก ขวดแก้วมีนำหนักระหว่าง190 - 250 กรัม เทียบกับขวดพลาสติกที่มีน้ำหนักเพียง 18 กรัม ทำให้ค่าใช้จ่ายพลังงานระหว่างขนส่งเพิ่มขึ้น40% และการขนส่งที่รองรับน้ำหนักมากขึ้น ก็ไปสร้างมลภาวะจากคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งอีก 5 เท่าต่อขวด จนทำให้ผลการศึกษาของ Susan Selke, Director of the School of packaging ที่ Michigan State University ต้องสรุปว่าในหลายกรณีของการศึกษาชี้ว่าพลาสติกกลับมีผลที่แท้จริงต่อสิ่งแวดล้อมดีกว่าหีบห่อจากวัสดุอื่นๆ

    นอกจากนั้นจากผลการศึกษาของ The American Chemistry Council กับบริษัทจัดทำบัญชีสิ่งแวดล้อมพบว่า ต้นทุนที่เกิดจากตัวสินค้า อาจจะสูงขึ้นถึง 5 เท่าตัว หากอุตสาหกรรมเครื่องดื่มเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์อื่นแทนพลาสติก อย่างเช่นแก้วหรืออลูมิเนียม และยิ่งรัฐบาลออกกฎหมายที่ลงโทษทางภาษีกับผู้ประกอบการที่สร้างคาร์บอนแล้ว ภาระภาษีทั้งหมดจะถูกส่งต่อและผลักภาระภาษีให้แก่ผู้บริโภคในที่สุด ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปว่า การยกเลิกการใช้พลาสติก ภายหลังจากที่ใช้มาเกือบ 70 ปีในการเป็นวัสดุทำหีบห่อผลิตภัณฑ์ จะทำให้เกิดภาระต้นทุนเพิ่ม และผลกระทบทางลบที่ไม่ได้คาดหมายอีกหลายประการ

    อีกตัวอย่างหนึ่งจากผลการศึกษา คือ การหีบห่อเนื้อสัตว์โดยใช้ฟิล์มพลาสติกแบบมิดชิด และไม่ใส่สารกันเสียสามารถเก็บรักษาไว้ได้ 3-7 วัน แต่ถ้าหีบห่อด้วยพลาสติกหลายชั้นอาจจะเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 45 วันโดยไม่เสีย ซึ่งเท่ากับว่าหีบห่อพลาสติกลดต้นทุนความเสียหายจากการที่อาหารเสียและต้องทิ้งไปเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับไม่ใช้การหีบห่อด้วยพลาสติก และหากหีบห่อเป็นแบบสุญญากาศที่กันไม่ให้ออกซิเจนเข้าถึงได้ อาหาร ผักและผลไม้จะลดการเน่าเสียและขยายอายุการเก็บรักษาได้ถึง 45%

    การที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาสินค้าประเภทผัก ผลไม้ และอาหารได้บนชั้นวางสินค้าเพียง 1 วัน ก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 500 ล้านปอนด์ (การสำรวจข้อมูลในอังกฤษ) ขณะที่ต้นทุนจากการที่อาหารเน่าเสียทั่วโลกประมาณว่าตกราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ยิ่งถ้ามีการยกเลิกใช้พลาสติกโดยสิ้นเชิงย่อมจะยิ่งทำให้ต้นทุนของการเน่าเสียเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า

    562000011057005.jpg


    562000011057006.jpg

    ไบโอพลาสติก ต้นทุนยังแพง ทดแทนไม่ดีเท่า
    ไบโอพลาสติก แพงและทดแทนไม่ครอบคลุม
    แนวคิดใหม่ของโลกเสนอแนะว่า แทนที่จะห้ามใช้ห่อพลาสติกเสียทั้งหมด ควรจะห้ามใช้พลาสติกคุณภาพคุณภาพต่ำและพัฒนาให้คุณภาพการใช้งานพลาสติกดีขึ้นด้วยการลงทุนและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ของพลาสติกที่มีมูลค่าเพิ่มดีกว่าเดิมจนไม่เกิดพลาสติกชนิดอายุสั้น แบบที่ใช้แล้วทิ้ง หรือเป็นกลุ่มพลาสติกแบบย่อยสลายเองได้ (biodegradable) ในอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกแทนซึ่งใช้โปรตีนจากพืชหรือแป้งมาพัฒนาเป็นวัสดุพื้นฐานประเภทไฮโดรคาร์บอนเพื่อสร้างเป็นพลาสติก หรือพวกโพลีแลกติก เอซิก คาดว่าในอนาคตต้นทุนของการผลิตอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกจะมีแนวโน้มถูกลงจากที่ในขณะนี้ยังแพงกว่า 3.5 เท่า

    อุปสรรคสำคัญของการเติบโตและขยายตัวของอุตสาหกรรมไบโอพลาสติก คือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่พลาสติกจากการรีไซเคิลยังถูกกว่าพลาสติกที่ผลิตใหม่จากน้ำมันปิโตรเลียมโดยตรง อย่างเช่น 1 ตันขวด PET อาจจะมีต้นทุนถึง 1,000 ปอนด์ ในขณะที่ ขวด PET จากกระบวนการรีไซเคิลอาจจะมีราคาเพียง 158 ปอนด์ต่อตันเท่านั้น

    นอกจากนั้น การใช้ขวด PET ที่เป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกอย่างโพลีแลกติก ยังทำให้สภาพขวดอ่อนกว่าขวด PET เดิม และไม่เหมาะในการนำมาใช้จับด้วยมือและบิดจุกขวดเพื่อเปิดตอนใช้งาน และการที่อุตสาหกรรมเครื่องดื่มหันไปใช้วัสดุจากไบโอพลาสติกมากขึ้น เพื่อรองรับแนวคิดกรีน ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเพิ่มต้นทุนการบริหารจัดการ จากการใช้ผสมกับพลาสติกแบบเดิม ทำให้ต้นทุนการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มในขั้นตอนการคัดแยก

    ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พลาสติกจากไบโอพลาสติกอาจจะตอบโจทย์ในเชิงสัญลักษณ์ แต่ยังไม่ตอบโจทย์เรื่องเชื้อโรคจากการป้องกันสินค้าเน่าเสียง่ายไม่ได้ เพราะการใช้ไบโอพลาสติกจะทำให้พฤติกรรมของสังคมกลับไปสู่การทิ้งขยะเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดแหล่งสะสมเชื้อโรคเพิ่มขึ้น เพราะไบโอพลาสติกเป็นแบบใช้แล้วทิ้งไม่ได้ทำให้เกิดการใช้ซ้ำ

    อย่างไรก็ตาม หลายประเทศอย่างฟินแลนด์ เยอรมนี เดนมาร์กและออสเตรเลีย ทำโครงการในการรับฝากและใช้ซ้ำ หรือ “Deposit & Reuse Scheme” ขวดพลาสติกสามารถนำมาคืนเพื่อแลกเป็นเงินสดได้ แต่พบว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นราว 5 เท่าของการใช้งานเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ซึ่งเป็นผลการศึกษาของ European Commission ที่สวนทางกับรายงานของ World Economic Forum ชี้ว่า มาตรการในการใช้ซ้ำเป็นนวัตกรรมที่ริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถลดต้นทุนการหีบห่อได้ไม่น้อยกว่า 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และอาจจะทำให้รายจ่ายของผู้บริโภคคนสุดท้ายลดลง

    จากผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่า สมมติฐานของนักวิชาการชั้นนำในโลกที่ยืนยันว่าโลกไม่อาจจะกำจัดพลาสติกจากการใช้งานหีบห่อได้ทุกอย่าง ยกเว้นกรณีถุงพลาสติก (ถุงก๊อบแก๊บ)ที่ใช้ใส่สินค้าตามซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ควรจะพัฒนาสู่รูปแบบพลาสติกที่มีคุณภาพโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากยังมีประเด็นอีกมาก หากไม่พิจารณาให้รอบคอบก็อาจจะเกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจ

    ซึ่งการศึกษาด้วย Cost-Benefit Analysis ในกรณีของหีบห่ออาหาร รวมทั้งฟิล์มพลาสติกที่ใช้ปิดสินค้า และเครื่องดื่มพบว่า ต้นทุนทางเศรษฐกิจโดยรวมของการเปลี่ยนไปใช้พลาสติกย่อยสลาย ยังไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

    https://mgronline.com/greeninnovati...iaDYkVsZr25KXIYqp8qheenPJGtyz4-qivJgCwdn-dI4o
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันหล่อลื่น
    ข่าวต่างประเทศ ไทยรัฐฉบับพิมพ์6 พ.ย. 2562 12:01 น.
    dFQROr7oWzulq5FZYRqIUHMZAP7DI9NlXmWTN13a4Odj2WwYpFJQHRhkQVDUCdqj1aC.jpg
    ภาพ : Northwestern University/Argonne National Laboratory/Ames Laboratory

    แต่ละปีมีการผลิตพลาสติกกว่า 380,000 ล้านกิโลกรัมทั่วโลก นักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ว่า การผลิตจะเพิ่มเป็น 4 เท่าภายในปี พ.ศ.2593 วัสดุทำจากพลาสติกมากกว่า 75% ถูกทิ้งหลังจากใช้งานครั้งเดียว โดยขยะจะลงสู่มหาสมุทรและตามแหล่งน้ำ เป็นอันตรายต่อสัตว์ตามธรรมชาติและยังแพร่กระจายสารพิษ

    ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งในธรรมชาติหรือในหลุมฝังกลบ จะไม่เสื่อมสภาพเพราะมีพันธะคาร์บอน ซึ่งเป็นคาร์บอนที่แข็งแกร่งมาก ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ร่วมกับห้องปฏิบัติการทดลองแห่งชาติอาร์กอน และห้องปฏิบัติการทดลองอาเมส แห่งกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาวิธีใหม่ด้วยการใช้สารละลายเร่งปฏิกิริยา ที่ประกอบด้วยอนุภาคโลหะทองคำขาวนาโน (platinum nanoparticles) มีขนาดเพียงแค่ 2 นาโนเมตรวางลงบนสารประกอบเคมีเพอรอฟสไกต์ (perovskite) ทรงลูกบาศก์ขนาดประมาณ 50-60 นาโนเมตร ซึ่งเพอรอฟสไกต์มีความเสถียรภายใต้อุณหภูมิและความกดดันสูง จัดเป็นวัสดุที่ดีเยี่ยมสำหรับการแปลงพลังงาน ไปแยกพันธะคาร์บอนของพลาสติกเพื่อผลิตไฮโดรคาร์บอนเหลวคุณภาพสูง ของเหลวเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในน้ำมันเครื่อง น้ำมันหล่อลื่น ขี้ผึ้ง หรือผ่านกระบวนการอื่นๆ เพื่อผลิตส่วนผสมสำหรับผงซักฟอกและเครื่องสำอาง

    ทีมวิจัยเผยว่าการค้นพบเทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยสะสางปัญหาการสะสมของขยะพลาสติก ปรับปรุงวิธีการรีไซเคิล และต่อยอดการพัฒนาให้ยังใช้ประโยชน์จากวัสดุพลาสติกได้ต่อไปในอนาคต ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์.


    https://www.thairath.co.th/news/for...xuY9tPG3IehJRe1fEm_-821b3BaFnFpCkyhaJhRjKljuM
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,975
    ค่าพลัง:
    +97,149
    โรงงานดังย่านศรีราชา ประกาศปิดตัวอีกราย
    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 - 08:18 น.
    7hiefd89ie7bbk8he9gi5.jpg


    เรื่องราวนี้ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2562 เวลาประมาณ 13.28 น. โดยเฟซบุ๊กชื่อ อาทิตย์ หล่อโยธา ซึ่งในระยะนี้บริษัทต่างๆในประเทศไทย ทยอยปิดตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มซบเซา เกิดภาวะขาดทุน

    cf8a6bkkjb5fg6b5h9i76.jpg



    bh6fidjg8fe999idbha9f.jpg

    eb8aikg8ee9afbghiead7.jpg

    แม้แต่แรงงานต่างด้าว กัมพูชา พม่า ก็จำเป็นต้องปลด เพราะไม่มีงานให้ทำแล้ว โดยผู้ใช้เฟสบุ๊ค “อาทิตย์ หล่อโยธา” ได้โพสต์ข้อความระบุว่า "โรงงานที่ศรีราชา เริ่มปิดโรงงานเนื่องจาก เจ๊ง ปลดพนักงานกัมพูชา และ ชาวพม่า กว่า 1,000 คน อย่ามาเถียงว่าเศรฐกิจดี เจอมากับตัว"

    cj7ib67fjhgb765bc8gbh.jpg


    https://www.komchadluek.net/news/re...3H0kfSvtAo47EbEoMHzrOYvw558pF22mur-_sdgoYRdkw
     

แชร์หน้านี้

Loading...