พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 15 เมษายน 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เพ่งโทษในธรรม ไม่เพ่งโทษในบุคคล นี่คือ อริยะวินัย

    ด้วยความเคารพในคุณงามความดีของท่าน

    สมควรตามอริยะวินัยแล้ว ปุจฉา และ วิสัชนา นี้

    ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญในธรรมอันยิ่งขึ้นไป

    ผมเคยบอกก่อนจะวิสัชนาแล้วว่า ถือว่านี่คือการบ้านที่ หลวงพ่อให้ผมเป็นคนแก้ เป็นการแสดงภูมิภาวะฐานะธรรมของผมให้สิ้นสงสัย เรื่อง วิสัชนาเรื่อง "หลวงปู่มั่นสอนการกินเจ"และ "หลวงปู่ขาวถามหลวงปู่มั่น ทำไมครั้งพุทธกาลมีผู้สำเร็จพระนิพพานมากและรวดเร็วกว่าสมัยนี้" ตอบเพราะ ทศพลญาณ ๑๐ ครับตามที่แสดงถึงความวิบัติ เสื่อมสูญของการไม่มี[พระพุทธเจ้า] ของหลวงปู่มั่นก็เหมือนกันครับ ส่วนเรื่องนี้"การรักษาพุทธบริษัท ๔ ให้พระภิกษุณีกำเนิดและคงอยู่ "วิสัชนาโดยนอบน้อมพระธรรมมาอธิบาย ด้วยตนเอง
    หมากผู้ใหญ่ท่านเดินทิ้งไว้ให้แก้ ลูกหลานอยากได้สุดยอดเคล็ดวิชา ก็มาแก้เอาวิชาสิครับ แปดเทพอสูรมังกรฟ้าดูแล้วยัง เอามาคิดบ้างครับ เอ่ะอ่ะ ฟ้องๆๆๆๆๆๆๆ กินนมนอนดูปลาตะเพียนเถอะครับ เสวนาธรรมนะครับ ไม่ใช่ขุดหาปลาหมอ

    เรื่องราวของฮือเต็ก / หลวงจีนซีจู๋

    ฮือเต็กเป็นหลวงจีนจากวัดเสียวลิ้มยี่ ผู้มีจิตใจอ่อนโยนและเมตตา เขายึดมั่นต่อศีลแห่งพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง และไม่ยอมผิดศีลแม้อยู่ในสถานการณ์คอขาดบาดตายก็ตาม เขาได้ติดตามหลวงจีนผู้เป็นอาจารย์ไปที่งานชุมนุมชาวยุทธครั้งหนึ่ง และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นการผจญภัยของเขา

    ด้วยโชคชะตาเล่นตลก ฮือเต็กได้แก้กลหมากล้อมโดยบังเอิญ และได้กลายเป็นเจ้าสำนักสราญรมย์ และจากการเรียนวิชายุทธกับนางเฒ่าทาริกาเทียนซัวโดยบังเอิญ เขาก็ได้เป็นเจ้าสำนักหลายๆ แห่งในบู๊ลิ้มอีก

    ฮือเต็กรับรู้ถึงภาระหนักอึ้งเหล่านี้และตัดสินใจจะกลับไปสู้อ้อมกอดของพระธรรมอีกครั้ง แต่ผู้คนและสำนักต่างๆไม่ได้ยอมรับเขาเป็นหลวงจีนอีกต่อไป ซึ่งเขาก็ได้แต่ยอมรับชะตากรรม ฮือเต็กเป็นผู้ที่น่าสงสารในเรื่องบุพการี เมื่อเรื่องราวถูกเปิดเผยว่าเขาเป็นบุตรของเจ้าสำนักเสียวลิ้มกับเอี๊ยบยี่เนี้ย นางรองแห่งสี่นางมารร้าย การรวมตัวของบุพการีของเขาจึงเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เมื่อทั้งหมดล้วนถูกฆ่าในตอนนั้นเอง

    และด้วยโชคชะตาอีกครั้ง ฮือเต็กกลายเป็นเจ้าชายแห่งอาณาชักรซีเซี่ย เนื่องจากเหตุการณ์ในอดีตกับเจ้าหญิงอิงช้วน ผู้ซึ่งเขามีความสุขที่ได้เคียงคู่ในที่สุด


    ปุจฉา

    มีทางรอดหรือไม่จากประโยคที่กล่าวพลาดที่สุดซึ่งหัวกระทู้นี้

    ตั้งกระทู้ผิดจะเศร้าไปอีกนาน

    ปุจฉา กระทู้นี้ผิดตรงไหน?
    พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้!
    -------------------------------------------------------------
    วิสัชนา เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความไม่เชื่อในกุศลธรรม 10 ประการของสัมมาทิฏฐิ นี่คือ หอกที่ท่านเขวี้ยงออกมา "สัมปจิตฉามิ" เร่งของเก่าอภิญญาผมเก็บถวายคืน


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

    ๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)

    --------------------------------------------------------------------------------------
    [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
    ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
    รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
    [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
    ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
    ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
    บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
    ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
    นี้มิจฉาทิฐิ ฯ

    [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
    เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
    [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
    แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
    มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
    ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
    เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะ
    ติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว
    ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึง
    ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ
    ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่
    จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะ
    กลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗


    -------------------------------------------------------------
    ปุจฉา
    ถ้าจะแก้กระทู้นี้ให้ไม่ผิดล่ะทำยังไง?
    พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้!
    -------------------------------------------------------------
    วิสัชนา ให้พิจารณาถึงโดยเฉพาะตัวบุคคล ที่ไม่เคยสั่งสมศีลทาน บุญบารมีในอดีตภพชาติฯอะไรมาเลย ..อ้าว และจะไปหาที่ไหน คนที่มันทำแต่ความชั่ว เพียงฝ่ายเดียวน่ะ... คงมีแต่กรรมที่ไม่ดำไม่ขาวเท่านั้น เอ๊า!!!! นั้นพระอรหันต์ดับกิเลสสิ้นทุกข์แล้ว ไปกันใหญ่เลยทีนี้
    -------------------------------------------------------------
    อ่ะ! ...อ้ายหยาาา หมดภูมิปัญญาครับ เลิกตอบ..

    กรรมดำกรรมขาว ๔
    [๘๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้
    เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ดูกรปุณณะ
    กรรมดำมีวิบากดำมีอยู่ กรรมขาวมีวิบากขาวมีอยู่ กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว มีอยู่
    กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่ ดูกรปุณณะ ก็กรรมดำ
    มีวิบากดำ เป็นไฉน ดูกรปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความทุกข์
    ประมวลวจีสังขาร อันมีความทุกข์ ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์ ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึง
    โลกอันมีความทุกข์ ผัสสะอันประกอบด้วยทุกข์ ย่อมถูกต้อง เขาผู้เข้าถึงโลกอันมีทุกข์ เขาอัน
    ผัสสะประกอบด้วยทุกข์ถูกต้อง ย่อมเสวยเวทนาอันประกอบด้วยทุกข์ อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว
    ดุจสัตว์นรก ฉะนั้น ดูกรปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรมใด
    ไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูกรปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้
    เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้ เรากล่าวว่ากรรมดำมีวิบากดำ.


    ดูกรปุณณะ ก็กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นไฉน ดูกรปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้
    ประมวลกายสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวลวจีสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวลมโนสังขาร
    อันไม่มีความทุกข์ ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ ผัสสะอันไม่มีความทุกข์
    ย่อมถูกต้อง เขาผู้เข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ เขาอันผัสสะไม่มีความทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อม
    เสวยเวทนาอันไม่มีความทุกข์ เป็นสุขโดยส่วนเดียวดุจเทพชั้นสุภกิณหะ ฉะนั้น ดูกรปุณณะ
    เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น
    ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูกรปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าว สัตว์มีกรรมเป็น
    ทายาท ข้อนี้ เรากล่าวว่า กรรมขาว มีวิบากขาว.


    ดูกรปุณณะ ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน ดูกรปุณณะ บุคคลบางคน
    ในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ประมวลวจีสังขาร
    อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์
    บ้าง ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ผัสสะอันมีความทุกข์
    บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ย่อมถูกต้องเขา ผู้เข้าถึงโลก อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง
    เขาอันผัสสะที่มีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันมีความทุกข์
    บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง มีทั้งสุขและทุกข์ระคนกัน ดุจพวกมนุษย์ เทพบางเหล่า และสัตว์
    วินิบาตบางเหล่า ฉะนั้น ดูกรปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์
    ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูกรปุณณะ
    แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้เรากล่าวว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว
    มีวิบากทั้งดำทั้งขาว
    .

    ดูกรปุณณะ ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้น
    เป็นไฉน ดูกรปุณณะ บรรดากรรม ๓ ประการนั้น เจตนาเพื่อละกรรมดำ มีวิบากดำ เจตนาเพื่อ
    ละกรรมขาว มีวิบากขาว เจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวนั้นเสีย ข้อนี้
    เรากล่าวว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูกรปุณณะ
    กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม.



    เข้าใจอย่างชัดเจนนะครับ ว่า ไปกันใหญ่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • -37-5.jpg
      -37-5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59 KB
      เปิดดู:
      92
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2015
  2. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    :'( ผมรู้สึกว่าใครก็ตามที่คุยหรือสนทนาธรรมกับคุณนี่ พอเขาโต้กลับคุณตอบไม่ได้ คนเหล่านั้นจะกลายเป็นคน.."โง่" หมดทุกคนเลย.. จ่ายักษ์
    .. อย่างนี้ก็ไม่มันส์ดิ ให้ผมฉลาดมั่งดิ อิอิ:boo:
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    {O}พิจารณาอรรถาธิบายที่ปลอมปนไม่กว้างขวาง เพราะผู้อธิบายไม่เรียนพระสูตรที่ขัด คือ มีที่ยิ่งไปกว่านั้น{O}หาเอาเองไม่บอก เพราะบอกแล้วจะไม่เข้าใจ หาไม่เจอก็ตาบอด

    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสไว้ดีแล้ว

    แล้วอะไรบ้างเล่าที่ทรงตรัสดี ณเบื้องตน ดี ณ ท่ามกลาง ดี ณ บั้นปลาย ดีไปได้โดยตามลำดับฐานะ และ อฐานะ ของผู้ที่ได้รับฟัง

    ทรงทราบ ทรงเปิดเผย แต่ไม่ทรงติด ซึ่งโลกธรรม

    ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?

    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อ...มบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.

    (ในกรณีแห่ง เวทนา, สัญญา, สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำที่มีหลักเกณฑ์ในการตรัส อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้วนั้นทุกประการ)

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ำ พ้นจากน้ำแล้วดำรงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ, ฉันใด; ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงำโลกแล้วอยู่อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.


    บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๐/๒๔๐. ตรัสแก่ภิกษุ
    ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ย่อมไม่คิดไป
    ในทางทำตนเองให้ลำบากเลย ไม่คิดไปในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก ไม่คิดไป
    ในทางทำทั้งสองฝ่ายให้ลำบาก; เมื่อจะคิด ย่อมคิดอย่างเป็นประโยชน์
    เกื้อกูล แก่ตนเองเป็นประโยชน์ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งสองฝ่าย คือเป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่โลกทั้งปวงนั่นเอง. ภิกษุ ! อย่างนี้
    แล ชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก.
    - จตุกฺก. อํ .๒๑/๒๔๑/๑๘๖



    (๐) อญฺญาสิ วต โภ (๐)

    (นี่ก็เป็นการแสดงถึงสิ่งที่ล่วงรู้ได้ยาก๑ ที่เราแสดงเป็นบุคคลแรกของโลกตั้งแต่หลังพุทธปรินิพาน๒๕๕๗ปีที่ผ่านมา ให้คลายสงสัยวุฒิธรรมในเรา ทั้งนี้ก็เพื่อยืนยันในสามัญผลในการปฎิบัติธรรม ที่สามารถตรองตามเห็นตามความเป็นจริงได้โดยพิสดาร และประสงค์แนะแนวชี้นำการปฎิบัติเพื่อเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย)

    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล

    https://youtu.be/E4GpOWpjI6g

    ไม่ควรพิจารณาให้เป็นอื่น นอกจากการเห็นใจและเข้าใจ เหล่าพุทธบริษัทที่ปฎิบัติตามธรรมดีแล้วด้วยกันตามองค์คุณกัลยาณมิตร เมื่อมีฐานะธรรมอันสมบูรณ์บ้างแล้วก็ควรหาโอกาส ทำหน้าที่อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์สาธุชนทั้งหลายนั้นด้วย จึงจะเป็นการดี


    หากจะตั้งปัญหาถามก่อนว่า อะไรคือทางให้พบสาระ?
    ก็ตอบโดยอาศัยพระพุทธภาษิตนี้เป็นหลักว่า สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบเห็นถูก
    อธิบายว่า ความเห็นชอบย่อมนำไปสู่การกระทำชอบและพูดชอบ
    ตลอดถึงความพยายามชอบ

    มิจฉาทิฏฐิเป็นยอดโทษฉันใด สัมมาทิฏฐิก็เป็นยอดคุณฉันนั้น

    บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิประจำใจจึงเหมือนมีกุญแจไขเข้าไปในห้วงอันเต็มไปด้วยสาระ
    ส่วนคนมีมิจฉาทิฏฐิประจำใจ หาเป็นเช่นนั้นไม่
    มีแต่จะเดินเข้ารกเข้าพง นำชีวิตไปสู่ความล่มจมล้มเหลว
    เปรียบด้วยเรือ สัมมาทิฏฐิก็เป็นหางเสือให้เรือแล่นไปในทางอันถูกต้อง
    หลีกหินโสโครกและอันตรายต่างๆ

    ผลกระทบตามยุคสมัยมันโหดร้ายในกาลฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี"

    จงเข้าใจว่าคำว่า บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คือจะต้องรู้เป็นที่สุดแล้ว คือยกเว้นคนนอกศาสนา คนในฟังอ่านพิจารณาแล้วถูกหมด

    ถ้าไม่สามารถอย่าคิดเอง อย่าเอาหัวข้อธรรมใดธรรมหนึ่งไปประมวลว่าเป็นที่สุด ทั้งๆก็ไม่ถึงที่สุด

    "มหาบพิตร ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน"

    ตอบตรงตามหลักธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระบรมมหาศาสดาเป็นใหญ่ ให้กว้างขวางลึกซึ้ง

    ไม่เอาบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นที่ตั้งมากกว่าพระองค์ ถ้าจะสอนธรรมของพระองค์ ควรยกพระดำรัสวาจาของพระองค์มาสอน เพราะทรงตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปรีชาญาณ อธิบายเนื้อหาธรรมนั้นอย่างเต็มความสามารถที่สุด แสดงธรรมอย่างมีเหตุ มิใช่ไม่มีเหตุ ทรงประกาศอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ มิใช่ไม่บริสุทธิ์

    พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด


    ดังเช่นที่ได้ตรัสกับพระเจ้าอชาติศัตรูในสามัญญผลสูตรใน ที.สี.(แปล) ๙/๑๙๐/๖๔ ว่า

    " มหาบพิตร ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน"

    04-06-2012, 10:42 AM

    {O}เฉพาะที่พระองค์{O}

    หลักธรรมในพระพุทธศาสนานี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ ที่อาศัยอยู่
    ในเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล เนื่องจากในสมัยนั้นมีผู้อวดอ้างตนในคุณวิเศษกันมาก
    เชิดชูแต่ลัทธิของตัว พูดจากระทบกระเทียบดูหมิ่นลัทธิอื่น พร้อมทั้งชักจูงมิให้เชื่อ
    ลัทธิอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเกสปุตตนิคมดินแดนที่เต็มไปด้วยผู้อวดอ้าง
    ชาวกาลามะได้ทูลถามด้วยความสงสัยว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ?

    พระพุทธองค์จึงทรงแสดงกาลามสูตร ว่าด้วย วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย
    หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ เป็นหลักตัดสิน คือ

    1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
    2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
    3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
    4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
    5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
    6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
    7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
    8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
    9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
    10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา


    ไม่เชื่อตถาคตให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแล้วจะได้อะไร? ถามอย่างนี้ดีกว่า!


    "ธรรมกำเนิด๑๐ นี้ในอดีตเราใช้เวลาพิจารณาแล้วบัญญัติสำเร็จในเวลา ๓-๕ นาที ถ้าท่านคิดว่าเป็นอารมณ์บัญญัติ ตรวจเนื้อความเถิดว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการอันใด"

    "พึงพิจารณาให้ละเอียดกว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีก ยังอดีตธรรมนี้ที่เราได้พิจารณาเป็นรากแก้ว เพื่อความเป็นไปของความอยู่รอด จวบจนตลอดอายุพระพุทธศาสนา เพราะเราเป็นผู้รู้คัมภีร์อักขระพยัญชนะมาร*โดยอัศจรรย์ อันเป็นคำสอน*มิจฉาทิฐิ* ของพวกเดียรถีย์"

    {O} ว่าด้วยกำเนิดบุคคล ๑๐ จำพวก หลังจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน{O}

    จำพวกที่ ๑ มีโอกาสที่จะได้รับรู้มีความเข้าใจ และปราถนาโดยเห็นว่า " ในรูปลักษณะต่างๆ ในสิ่งก่อสร้างในพระปฏิมาใดก็ตามที่ปรากฎขึ้นมาจนถึงในยุคปัจจุบันนั้น เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า แต่ไม่ปฏิบัติตามพระพุทธวจนะ ในพระปัจฉิมโอวาทโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๒ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " พระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมด ที่ปรากฎขึ้นมาจนถึงในยุคปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าตามพระพุทธวจนะ ตามพระปัจฉิมโอวาทโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๓ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ทั้งรูปพระปฏิมาและพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ควรอยู่เคียงคู่กันตลอดไปโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๔ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " จะมีพระธรรมปฏิมาใดใดก็ตาม พระธรรมคำสั่งสอนใดใดก็ตาม แม้จะมีแค่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๕ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ถึงแม้จะมีหรือไม่มีสิ่งใดก็ตาม จะเกิดธรรมอันประเสริฐ มีคุณวิเศษเพียงใดก็ตาม ที่ปรากฎในพระพุทธศาสนานี้ ก็หาได้มีความหมายหรือมีประโยชน์ ในการใดใดแก่ตนและพวกพ้อง

    จำพวกที่ ๖ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ยังลังเลสงสัยอยู่เมื่อได้ยิน และได้พบเห็นทุกๆสิ่งที่ปรากฎ ในพระพุทธศาสนา และยังก็ลังเลสงสัยอยู่อย่างนั้น โดยตลอดโดยไม่มีความเข้าใจว่าสิ่งใดที่มีประโยชน์ และสิ่งใดไม่มีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๗ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " สมควรเกลียดชัง กล่าวให้ร้ายป้ายสีและจ้องจะทำลาย อยู่เสมอๆในทุกๆสิ่งทุกๆอย่างที่ปรากฎ ในพระพุทธศาสนาเมื่อมีโอกาส ด้วยเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    " จำพวกที่ ๘ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " เห็นดีเห็นงามตามบางสิ่งบางอย่าง ในพระพุทธศาสนาและนำเอาไปประพฤติใช้ โดยเห็นว่าเป็นประโยชน์ แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๙ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนา โดยเห็นว่า " ทุกสิ่งทุกอย่างในพระพุทธศาสนา ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสำนัก และในลัทธิ ในศาสนาที่ตนเองนับถืออยู่แล้ว โดยถือเอาเป็นของตน ด้วยเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๑๐ ไม่มีโอกาสที่จะได้รับรู้ด้วยห่างไกลตามภาวะกรรมบันดาล ทั้งไม่มีความเข้าใจและความปราถนา โดยการใดๆเลยในพระพุทธศาสนา ด้วยขาดการศึกษา,การเรียนรู้,การเจริญภาวนา,การพิจารณาไตร่ตรอง จึงไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดใด แก่ตนและพวกพ้อง


    (๐)โปรดนอบน้อมมาพิจารณาในการต่างๆต่อไป(๐)

    ( ฉวาลาตสูตร ) ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
    ๑. ไม่ปฏิบัติ เพื่อตนเองและผู้อื่น ๒. ปฏิบัติเพื่อผู้อื่น แต่ไม่ปฎิบัติเพื่อตนเอง ๓. ปฎิบัติเพื่อตนเอง แต่ไม่ปฎิบัติเพื่อผู้อื่น ๔. ปฎิบัติเพื่อตนเองและผู้อื่น ในบุคคลทั้ง ๔ บุคคล จำพวกที่ ๔ คือ ผู้ที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นเป็นเลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้สูงสุด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  5. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    อ่า ตกลงเป็นเรื่องจริงหรอครับ แต่เท่าที่ดูแกไม่น่าจะใช่ในแนวทางนี้นี่ครับ กับสิ่งไสยศาสตร์ต่างๆ
    เมื่อก่อนเห็นแกได้แก้ต่าง อยู่ว่า คุณnopphakan เข้าใจผิดคน

     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธภาษิตพิเศษ

    ....... (หันทะ มะยัง พะหุการานิ พุทธาทิภาสิตานิ ภะณามะ เส)

    นิธีนังวะ ปะวัตตารัง ยัง ปัสเส วัชชะทัสสะนัง, นิคคัยหะวาทิง เมธาวิง
    ตาทิสัง ปัณฑิตัง ภะเช, ตาทิสัง ภะชะมานัสสะ เสยโย โหติ นะ ปาปิโย,

    คนเราควรมองผู้มีปัญญาใดๆ ที่คอยชี้โทษ, และกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป
    ว่าผู้นั้นแหละคือผู้ชี้ขุมทรัพย์ล่ะ, ควรคบหากับบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อ
    คบหากับบัณฑิตเช่นนั้นอยู่, ย่อมมีแต่คุณอันประเสริฐส่วนเดียว ไม่มีเสื่อมเลย
    ,

    ......................................................(ธรรมบท ๒๕/๒๑)

    นะ เต อะหัง อานันทะ ตะถา ปะรักกะมิสสามิ, ยะถา กุมภะกาโร อามะเก
    อามะกะมัตเต,

    อานนท์ ! เราจะไม่พยายามทำกะพวกเธออย่างทะนุถนอม,
    เหมือนพวกช่างหม้อทำแก่หม้อที่ยังเปียกยังดิบอยู่,


    นิคคัยหะ นิคคัยหาหัง อานันทะ วักขามิ, ปะวัยหะ ปะวัยหาหัง อานันทะ
    วักขามิ, โย สาโร โส ฐัสสะติ,

    อานนท์ ! เราจะขนาบแล้วขนาบอีกไม่มีหยุด,
    อานนท์ ! เราจะชี้โทษแล้วชี้โทษอีกไม่มีหยุด,
    ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจะทนอยู่ได้,


    ......................................................(มหาสุญญตสูตร ๑๔/๒๑๒)

    ยัง ภิกขะเว สัตถารา กะระณียัง สาวะกานัง, หิเตสินา อะนุกัมปะเกนะ
    อะนุกัมปัง อุปาทายะ กะตัง โว ตัง มะยา,

    ภิกษุทั้งหลาย ! กิจอันใดที่ศาสดาผู้เอ็นดู, แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
    จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจอันนั้นเราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย,

    เอตานิ ภิกขะเว รุกขะมูลานิ เอตานิ สุญญาคารานิ,

    ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้ทั้งหลาย นั่นเรือนว่างทั้งหลาย,

    ฌายะถะ ภิกขะเว มา ปะมาทัตถะ,

    ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท,

    มา ปัจฉา วิปปะฏิสาริโน อะหุวัตถุ,

    เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลังเลย,

    อะยัง โว อัมหากัง อะนุสาสะนี,

    นี้แลเป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนเธอทั้งหลายของเรา,

    ......................................................(สัลเลขสูตร ๑๒/๗๒)

    นะยิทัง ภิกขะเว พ๎รัห๎มะจะริยัง วุสสะติ, ชะนะกุหะนัตถัง นะ
    ชะนะละปะนัตถัง, นะ ลาภะสักการะสิโลกานิสังสัตถัง, นะ
    อิติวาทัปปะโมกขานิสังสัตถัง, นะ อิติ มัง ชะโน ชานาตูติ,

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราประพฤติพรหมจรรย์นี้,
    มิใช่เพื่อหลอกลวงคนเพื่อให้คนบ่่นถึง, เพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียง,
    เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อให้คนทั้งหลายรู้จักเราก็หามิได้,

    อะถะ โข อิทัง ภิกขะเว พ๎รัห๎มะจะริยัง วุสสะติ, สังวะรัตถัง ปะหานัตถัง
    วิราคัตถัง นิโรธัตถัง,

    ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ที่แท้แล้วเราประพฤติพรหมจรรย์นี้,
    เพื่อความสำรวมระวัง เพื่อละกิเลส, เพื่อคลายกิเลสและเพื่อดับกิเลสเท่านั้น,

    ......................................................(พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙)

    โย โข อานันทะ ภิกขุ วา ภิกขุนี วา อุปาสะโก วา อุปาสิกา วา,

    อานนท์ ! ผู้ใดจะเป็นภิกษุก็ตาม เป็นภิกษุณีก็ตาม
    เป็นอุบาสกหรือเป็นอุบาสิกาก็ตามที,

    ธัมมานุธัมมะปะฏิปันโน วิหะระติ สามีจิปะฏิปันโน อะนุธัมมะจารี,

    ถ้าเป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่,

    โส ตะถาคะตัง สักกะโรติ คะรุกะโรติ มาเนติ ปูเชติ ปะระมายะ ปูชายะ,

    ผู้นั้นแลชื่อว่าได้สักการะ ได้ให้ความเคารพนับถือ
    และบูชาเราตถาคต ด้วยการบูชาอย่างสูงสุด,

    อิติ,.........ด้วยประการฉะนี้แล.

    ......................................................(มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๓๓)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ตอบประโยคที่ถามนะครับ
    ไม่ให้เรียก มหาวัฏร หรือ มหาวัตร จะเรียกอะไร นี่หรือคนปฎิบัติ สงสัยไปถามผู้รู้ครับ เอาที่เรียนสูงๆ อย่าเอากะเรกะราด ไม่รู้ความหมายของคำว่าปฎิบัติ ฉงนพลคนข้างทางมากล่าวจาบจ้วงดูหมิ่น[พระพุทธเจ้า]ครับ
    จาก

    [๑๗๘] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น
    วัตรต่อไปนี้เป็นพรหมจรรย์ของเราโดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ
    ---->>>คือเราเป็นอเจลก คนเปลือย .....?????

    เข้าใจว่าท่านอธิบายให้พระสารีบุตรฟังว่า ท่านเคยทำอย่างนั้นมาก่อน

    ผมเข้าใจว่าจะเอาพระสูตรนี้ไปใช้ ต้องแบ่งเป็น 2 เรื่องนะครับ
    1.สาเหตุที่พระองค์แสวงหาโมกขธรรมผิดทางไปถึง 6 ปี เนื่องจากกรรมที่เคยปรามาสสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระกัสสป

    2.เนื้อเรื่องนั้นเป็นวัตรที่ปฏิบัติที่ไปผิดทาง ก่อนที่พระองค์ท่านจะอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณหรือเปล่า ท่านจ่า??? หลังจากนั้นวัตรลักษณะนี้ยังมีอยู่อีกหรือครับ??? (ไม่นับน้ำปัสสาวะดองที่พระท่านฉันเป็นยานะครับ)

    ขอบคุณที่ช่วยหาหลักฐานมาอ้างอิง เห็นไหม?ครับ ขีดแดงๆ เข้าใจว่า อะไร ธุดงค์วัตรหรือ นิสสัย ๔ หรือ มหาวัฎร ครับ โอยเยอะแยะครับต่างประเทศโดยเฉพาะอินเดียโดยเฉพาะเดียร์ถีย์ ศาสนา เชน พราหมณ์ กินศพ ปั่นไข่ เป็นต้น สำหรับศาสนาพุทธถ้าทำในสมัยนี้ เรียกว่า ปฎิบัติบูชา ก็ได้ครับ ผู้ใดใครศรัทธามาก อินทรีย์ถึง ผู้นั้นทำ ไม่ตายหรอกครับ หรือจะเอาแบบที่เคยเห็นไหม?ล่ะครับ เจาะปาก เจาะคาง วิ่งลุยไฟ ทรงเจ้า ทรงม้า นั่นมันสิทธิส่วนบุคคลของเขาครับ เคลียร์นะครับ


    วัตร หมายถึงกิจพึงกระทำ, หน้าที่, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, การประพฤติ, การปฏิบัติ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 อย่าง คือ

    กิจวัตร คือหน้าที่ที่ควรทำ เช่นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อพระอุปัชฌาย์ ต่ออาจารย์
    จริยาวัตร คือมารยาทที่พึงปฏิบัติ เช่นมารยาทในการขอบฉัน มารยาทในการจำวัด เป็นต้น
    วิธีวัตร คือแบบแผนที่พึงปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่นวิธีครองผ้า วิธีใช้และเก็บบาตร วิธีพับเก็บจีวรเป็นต้น
    วัตร เป็นธรรมเนียมที่พระสงฆ์ปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกันและสม่ำเสมอ แสดงถึงฐานะและความเป็นเอกภาพ อันนำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น

    วัฏจักร [N] cycle, Example: การหมุนเวียนของแร่ธาตุเป็นวัฏจักรของสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย, Thai definition: ช่วงเวลาของสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นและดำเนินต่อไป หมุนเวียนจากจุดเริ่มไปยังจุดจบต่อไปเรื่อยๆ
    วัฏสงสาร [N] cycle of birth and death, See also: cycle of life, round of rebirth, round of existences, Syn. การเวียนว่ายตายเกิด, Example: ถ้าเรายังไม่หลุดพ้นจากวัฏสงสารก็ยังไม่พบความสุขที่แท้จริง, Thai definition: การอยู่ในการหมุนเวียนของการเกิดและการตาย
    สงสารวัฏ [N] cycle of birth and death, See also: cycle of life, Syn. สังสารวัฏ, วัฏสังสาร, Example: พุทธศาสนาเชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตสิ่งเดียวที่สามารถหลุดพ้นจากสงสารวัฏได้, Thai definition: การเวียนว่ายตายเกิด
    สังสารวัฏ [N] transmigration, See also: samsara, Syn. สงสารวัฏ, วัฏสงสาร, Example: พระธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้รู้จักตน และถอนตนให้พ้นไปจากสังสารวัฏทุกข์อันยาวนาน, Thai definition: การเวียนว่ายตายเกิดซึ่งเป็นความเชื่อว่าชีวิตเมื่อตายแล้วจะเกิดอีกในร่างใหม่ต่อไป
    ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ [เชื่อมโยงจาก royin.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
    เกวัฏ [เกวัด] (แบบ) น. ชาวประมง, พรานเบ็ด, พรานแห, พรานปลา. (ป. เกวฏฺฏ).
    ทักขิณาวัฏ น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยว ทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักษิณาวรรต ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวัฏ หรือ อุตราวรรต. (ป.; ส. ทกฺษิณาวรฺต).
    ทักขิณาวัฏ ดู ทักขิณ.
    วัฏ, วัฏฏะ [วัดตะ] (แบบ) น. วงกลม; การหมุน, การเวียนไป, รอบแห่งการ เวียนเกิดเวียนตาย. ว. กลม, เป็นวง. (ป.; ส. วฺฤตฺต).
    วัฏจักร น. ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์หรือกิจกรรมชุดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นและดําเนินติดต่อกันไปอย่างมีระเบียบจนจบลง ณ จุดเริ่มต้นนั้นอีก เช่น วัฏจักรแห่งฤดูกาล วัฏจักรแห่งพืช.
    วัฏทุกข์ น. ทุกข์คือการเวียนเกิดเวียนตาย. (ป.).
    วัฏสงสาร น. การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ สังสารวัฏ. ก็ว่า (ป.).
    วัฏกะ [วัดตะกะ] น. นกกระจาบ. (ป. วฏฺฏก; ส. วรฺตก).
    วัฏฏิ น. ของกลมยาว, ไส้เทียน, เส้น, สาย. (ป.; ส. วรฺติ).
    วิวัฏ น. พระนิพพาน. (ป. วิวฏฺฏ).
    สงสารวัฏ น. การเวียนว่ายตายเกิด, สังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ก็ว่า.
    สังสารวัฏ [สาระ] น. การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ก็ว่า. (ป. สํสารวฏฺฏ).
    อุตราวัฏ [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวรรต ก็ว่า, ตรงข้าม กับ ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต. (ป. อุตฺตราวฏฺฏ; ส. อุตฺตราวรฺต).
    อุตราวัฏ ดู อุตดร, อุตร.
    ทักษิณาวรรต น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยว ทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักขิณาวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ. (ส. ทกฺษิณาวรฺต; ป. ทกฺขิณาวฏฺฏ).
    ภพ [พบ] น. โลก, แผ่นดิน; วัฏสงสาร. (ป. ภว).
    รื้อ ก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็น กลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย; เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิม ขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.
    คามี ใช้ประกอบท้ายคําอื่น แปลว่า ผู้ไป, ผู้ถึง, เช่น นิพพานคามี ว่า ผู้ถึงนิพพาน, วัฏคามี ว่า ผู้ไปในวัฏฏะ. (ป.).
    สังโยชน์ น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็น ลําดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโ?ชน; ส. สํโยชน).
    แหวกว่าย ก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกำลังแขน ขาหรือครีบ หาง แหวกไป ในน้ำหรือในอากาศ, โดยปริยายหมายถึงเวียนว่ายตายเกิด ในความว่า แหวกว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร.
    อุตราวรรต [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ ทักษิณาวรรต หรือ ทักขิณาวัฏ. (ส. อุตฺตราวรฺต; ป. อุตฺตราวฏฺฏ).
    อันโทล [โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หาก เที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็ อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คําหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).

    ไปอนุมานวิเคราะห์ภาษาให้ดีๆครับ วัฏร วัตร วัด มันเกี่ยวกับอะไร การปฎิบัติ นี่เจาะจงว่าเป็นการปฎิบัติ ขนาดนี้ ไม่เข้าใจ ผมว่าผมเป็นบ้าปัญญาอ่อนเองดีกว่าครับ

    คนขาดหุ้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คิชฌชาดก

    นวกนิบาต

    ผู้ไม่ทำตามคำสอนย่อมพินาศ



    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้.
    https://youtu.be/-52eDlscdT0?list=PLDB7EDC326362A941
    ได้ยินว่า ภิกษุว่ายากรูปนั้นเป็นลูกผู้ดีคนหนึ่ง แม้บวชในศาสนาที่จะนำออกจากทุกข์ เมื่ออาจารย์อุปัชฌาย์และเพื่อนพรหมจารีผู้หวังดี กล่าวสอนว่า เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ มองไปข้างหน้าอย่างนี้ เหลียวซ้ายแลขวาอย่างนี้ คู้เข่าอย่างนี้ เหยียดออกอย่างนี้ นุ่งอย่างนี้ ห่มอย่างนี้ ถือบาตรอย่างนี้ พึงรับภัตแต่พอยังอัตภาพให้เป็นไป พิจารณาก่อนแล้วจึงฉัน พึงคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเนืองๆ พึงรู้ธรรมเนียมต้อนรับอาคันตุกะ พึงรู้ธรรมเนียมของผู้เดินทาง พึงประพฤติ ด้วยดีในขันธกวัตร ๑๔ และมหาวัตร ๘๐ พึงสมาทานธุดงคคุณ ๑๓ ดังนี้เป็นผู้ว่ายากไม่อดทนต่อโอวาท ไม่ยินดีรับคำสอน กล่าวตอบว่า กระผมไม่ได้ว่าพวกท่าน เหตุไรพวกท่านจึงว่ากระผม กระผมเท่านั้น จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์สำหรับตน แล้วได้ทำตัวให้ใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้.

    ได้ยินว่า พวกภิกษุรู้ว่าภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ว่ายาก จึงได้ประชุมกันกล่าวโทษในธรรมสภา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันถึงเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว รับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสถามว่า ได้ยินว่าเธอเป็นผู้ว่ายากจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่าจริง จึงตรัสว่า เธอบวชในศาสนาที่จะนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ เหตุไรจึงไม่เชื่อคำของผู้ที่หวังดี แม้ในกาลก่อน เธอก็ไม่เชื่อคำ ต้องแหลกละเอียด ในช่องลมเวรัมพวาตมาแล้วดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:

    ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกแร้งที่เขาคิชฌกูฏ นกแร้งนั้นมีบุตรเป็นพญาแร้งชื่อสุปัต ซึ่งมีกำลังมาก มีนกแร้งหลายพันเป็นบริวาร พญาแร้งนั้นเลี้ยงดูมารดาบิดา แต่เพราะความที่ตนมีกำลังมาก จึงบินไปไกลเกินควร บิดาได้กล่าวสอนพญาแร้งนั้นว่า ลูกรัก เจ้าไม่ควรไปเกินที่ประมาณเท่านี้ พญาแร้งนั้นแม้รับคำว่า ดีแล้ว ก็จริง แต่วันหนึ่งเมื่อฝนตกใหม่ๆ ได้บินไปกับนกแร้งทั้งหลาย บินทิ้งนกแร้งหลายไปเสีย ตนเองบินสูงเกินภูมิของนก ถึงช่องลมเวรัมพวาต ได้ถึงความเป็นผู้แหลกละเอียด.

    พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น พระองค์เป็นผู้ ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า:

    [๑๒๐๗] ทางบนคิชฌบรรพตชื่อว่า ปริสังกุปถะ เป็นของเก่าแก่ แร้งเลี้ยงดู

    มารดาบิดาผู้ชราอยู่ที่ทางนั้น.

    [๑๒๐๘] โดยมากไปเที่ยวหามันข้นงูเหลือมมาให้มารดาบิดาเหล่านั้นกิน ฝ่ายบิดา

    รู้ว่าแร้งสุปัตผู้ลูกมีปีกแข็งแล้ว กล้าหาญ มักร่อนขึ้นไปสูง เที่ยวไป

    ไกลๆ จึงได้กล่าวสอนลูกว่า.

    [๑๒๐๙] ลูกเอ๋ย เมื่อใด เจ้ารู้ว่าแผ่นดินอันทะเลล้อมรอบ กลมดังกงจักร ลอย

    อยู่บนน้ำเหมือนใบบัว เมื่อนั้น เจ้าจงกลับเสียจากที่นั้น อย่าบินต่อ

    จากนั้นไปอีกเลย.

    [๑๒๑๐] แร้งสุปัตเป็นสัตว์มีกำลังมาก ปีกแข็ง ร่างกายสมบูรณ์ บินขึ้นไปถึง

    อากาศเบื้องบนโดยกำลังเร็ว เมื่อเหลียวกลับมาแลดูภูเขา และป่าไม้

    ทั้งหลาย ฯ

    [๑๒๑๑] ก็ได้แลเห็นแผ่นดินอันทะเลล้อมรอบ กลมดังกงจักร เหมือนกับคำที่ตน

    ได้ฟังมาจากสำนักแร้งผู้บิดา ฉะนั้น.

    [๑๒๑๒] แร้งสุปัตนั้น ได้บินล่วงเลยที่นั้นขึ้นไปเบื้องหน้าอีก ยอดลมแรงได้

    ประหารแร้งสุปัตผู้มีกำลังมากนั้นให้เป็นจุณ.

    [๑๒๑๓] แร้งสุปัตบินเกินไป ไม่สามารถจะกลับจากที่นั้นได้อีก ตกอยู่ในอำนาจ

    ของลมเวรัพภาวาต ถึงความพินาศแล้ว.

    [๑๒๑๔] เมื่อแร้งสุปัตไม่ทำตามโอวาทของบิดา บุตรภรรยา และแร้งอื่นๆ ที่

    อาศัยเลี้ยงชีพ ก็พากันถึงความพินาศไปด้วยทั้งหมด.

    [๑๒๑๕] แม้ในศาสนานี้ก็เหมือนกัน ภิกษุใดไม่เชื่อถ้อยฟังคำของผู้ใหญ่ ภิกษุ

    นั้นเป็นผู้ชื่อว่าล่วงศาสนา ดุจแร้งล่วงเขตแดน ฉะนั้น ผู้ไม่ทำตามคำ

    สอนของท่านผู้ใหญ่ ย่อมถึงความพินาศทั้งหมด.

    พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ฉะนั้น เธอจงอย่าเป็นเหมือนนกแร้ง จงเชื่อถ้อยคำของผู้ที่หวังดี ภิกษุนั้นเมื่อพระศาสดาตรัสสอนอย่างนี้แล้ว ได้เป็นผู้ว่าง่ายตั้งแต่นั้นมา.

    พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า นกแร้งว่ายากในกาลนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายากในบัดนี้ ส่วนนกแร้งผู้เป็นบิดาในกาลนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

    จบ คิชฌชาดก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2015
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 51
    บทว่า อุปฺปชฺชติ ได้แก่บังเกิด ปรากฏ. ก็กามฉันท์นี้นั้น
    พึงทราบว่า ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความฟุ้งขึ้น หรือ
    ด้วยอารมณ์ที่ยังไม่ได้เสวย. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยประการอื่น กามฉันท์
    ชื่อว่าไม่เกิดขึ้นในสงสารอันไม่ปรากฏเบื้องต้นและเบื้องปลาย
    ย่อมไม่มี. ในข้อนั้น กิเลสย่อมไม่ฟุ้งขึ้น แก่ภิกษุบางรูป ด้วยอำนาจ
    วัตร ย่อมไม่ฟังขึ้นแก่ภิกษุบางรูป ด้วยอำนาจ คันถะ, ธุดงค์,
    สมาธิ, วิปัสสนา, และงานนวกรรม ที่เธอทำแล้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง
    จริงอยู่ ภิกษุบางรูป เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร เมื่อภิกษุนั้นกระทำ
    ขุททกวัตร ข้อวัตรเล็ก ๘๒ มหาวัตร ข้อวัตรใหญ่ ๑๔ เจติยังคณ-
    วัตร โพธิยังคณวัตร ปานียมาฬกวัตร อุโปสถาคารวัตร อาคันตุก-
    วัตร และคมิกวัตร กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส. แต่ครั้นย่อมา เมื่อเธอ
    สละวัตร มีวัตรแตกแล้วเที่ยวไป อาศัยการใส่ใจโดยไม่แยบคาย
    และการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น กิเลสยังไม่
    เกิดขึ้นเพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ก็ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น. บางรูปเป็น
    ผู้ประกอบด้วยคันถะ เรียน ๑ นิกายบ้าง ๒ นิกายบ้าง ๓ นิกายบ้าง
    ๔ นิกายบ้าง ๕ นิกายบ้าง เมื่อเธอเรียน ท่องบ่น บอก แสดง
    ประกาศพุทธพจน์ คือปิฎก ๓ ด้วยอำนาจอรรถ ด้วยอำนาจบาลี
    ด้วยอำนาจอนุสนธิ ด้วยอำนาจอักษรเบื้องต้น เบื้องปลาย กิเลสย่อม
    ไม่ได้โอกาส. ต่อมาเมื่อละการเล่าเรียน เกียจคร้าน เที่ยวไปอยู่
    อาศัยอโยนิโสมนสิการ สละการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น. แม้เมื่อ
    เป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ก็ชื่อว่า
    ย่อมเกิดขึ้น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เหตุผลที่ ไม่อยากจะตอบ ดู หน้า ๒ , ๘
    ไปตัดแว่นสายตา กินผักบุ้งv taแล้วย้อนกลับไปดูหน้า๑ เรื่องทรงเสวยมูลโคอ่อน
    อัตตกิมถานุโยค..มาเดินทางสายกลางแทน [พระพุทธเจ้า]มี พระมหาปุริลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นสุดยอดอินทรียธาตุ สำหรับบำเพ็ญมหาวัฏร
    ตรวจดูอุปนิสัยคน และร่างกายที่สุดแสน จะธรรมดาล่วงหน้า ๕๐๐๐ปีโดยประมาณ เอามรรค ๘ สายกลางไป หนักกว่านั้นม่อยกระรอก เผ่ยแผ่ศาสนายาก
    พระพุทธองค์ ทรงลองทรมานกายมาถึง6ปี ได้บุพกรรมส่งเสริม
    ส่วนผมกินขี้กินเยี่ยวกินใบไม้เด็กๆครับ กินมาเยอะแล้
    หัดหาดูหนัง หนังสือตอนที่ท่านค้นหาสัจธรรมมั่ง ท่านพิจารณาแล้วพิจารณาอีก อดกลั้นแล้วอดกลั้นอีก
    ป้องกันความอับอาย ขายขี้หน้า ทั้งนั้นแหละหวังความสบายแบบชุกมือเปิบ
    มีที่ไหนเทศนาสรรเสริญบ้างไหมล่ะ
    มีแต่บอกว่าท่านหลงท่านไม่ดี คิดได้ยังไง พระมหาโพธิสัตว์ตรัสก่อนเป็นชาติแล้ว ว่าคนฉลาดๆน่ะไม่มีทางทำเรื่องอะไรที่มั่นดูโง่ๆหรอก คิดบ้าง

    เรื่องพระอินทร์ มาทูลฯ ท้าวสหัมบดีพรหม มาทูลฯ ท่านคู่บุญบารมีเกื้อหนุนกันเป็นอเนกอนันตชาติแล้ว

    อ้างจากสับสน

    ผมจำหน้าไม่ได้ ท่านsaber เขาตอบว่า พระพุทธองค์ ทรงลองทรมานกายมาถึง6ปี ท่านเห็นว่าไม่สำเร็จท่านจึงเลิกเพราะเป็น อัตตกิมถานุโยค..มาเดินทางสายกลางแทน ไม่ใช่กินขี้โค แย้งความเห็นจ่ายักษ์บทนี้คล้ายกับว่า ท่านจึงเลิกกินขี้โค หันมาทางสายกลางทำนองนี้ ..
    "ท่านยกมาว่า พระโพธิสัตย์หรือ พจ.ท่านกินขี้ลูกโคอ่อนในคอกนะ ผมหาไม่เจอ"..
    แล้วท่านก็พาลไม่ตอบเขา..นะตรงนี้ไม่เคลียร์ครับ ผมอ่านแล้ว

    หลอกดูภูมิเรา ให้ซ้ำเขา แน่นอนมากคุณท่าน
    รู้หรือยัง? สับสน เก็ทไหม? ไว้หน้าแล้วนะ!
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2015
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แสดงไปแล้ว พระโลสกติสสเถระ

    กลับสำนักไปเรียนเพิ่มเติมใหม่กับ พระ [พุทธวจน]


    จากBIGTOO

    ครับธุดงควัตรมี. ท่านไม่ได้ห้ามหรอกเรื่องการไม่นอนนั้น. แต่ด้วยกรรมเก่ามันทำให้ท่านต้องตาบอด. ท่านพอเข้าใจมั่ยครับ. มันเป็นเหตุปัจจัยเนื่องกันให้กรรมมันแสดงตัว คติความคิดความเห็นในการปฎิบัติของแต่ล่ะคนนั้นไม่เหมือนกัน. กรรมมีส่วนกำหนดแนวความคิดในการปฎิบัติด้วยครับ. บางคนไปอดอาหารก็เพราะคติที่คิดไปในแนวนั้น. เกิดทุกขเวทนาเป็นผลของกรรมครับ. เรื่องพระจักขุบานนั้นพระพุทธท่านก็รู้ว่าท่านต้องรับกรรมนั้นท่านจึงไม่ห้ามครับ. และในตำราไม่เคยมีใครอดข้าวแล้วบรรลุธรรมเลย.

    อดจนเกือบตายก่อนเลยล่ะ ได้ฉันก็เพราะใคร?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2015
  12. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ท่านพร่อง ในศีล ด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปี ที่ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    เห็นว่าจริงตามข้อความของพระคุณเจ้า
    แต่ในหลัก การทางวิปัสสนาแล้ว ผู้ปฏิบัติ ต้องมีความดำริที่ปฏิบัติให้ถึง ศีลอันเป็นศีลของพระอริยเจ้า ไม่เช่นนั้นจะต้องประสบกับเหตุการณ์อย่างนี้อยู่เสมอ ๆ เพรียรทำความดีสั่งสมมา ก็ยังประมาทอยู่ กับ ศีล ที่ทะลุ ศีลที่ด่างพร้อย ศีลที่เสื่อมได้
    เมื่อศีลขาดไปแล้ว ก็ต้องต่อศีล รักษาศีลกันใหม่ ความงบของจิตจึงจะเกิดขึ้นได้
    เพราะอาศัยศีลที่อุปโลกน์ขึ้นมา ไว้ปฏิบัติขัดเกลาดวงจิตให้บริสุทธิ์กันไปก่อน
    แต่ความบริสุทธิ์แบบนี้ไม่เต็มที่ไม่บริสุทธิ์หมดจรด เป็นเพียงความบริสุทธิ์ที่เศร้าหมองได้อยู่ เป็นหลักประกันไม่ได้ว่า ได้ถึงภูมิจิตที่ไม่เสื่อม ไม่ถอย ไม่กลับคืน อย่างของพระอริยบุคคล พระอริยเจ้า
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปุจฉา ได้ ก็ต้อง วิสัชนา แก้ได้https://youtu.be/xCn-1N3dGT4

    แสดงธรรมใด ต้องมีพื้นฐาน คือ รู้ธรรมนั้น ไม่รู้เนื้อหาความหมาย เหตุและผลแน่ชัด อย่านำมาแสดง เวลามีบุคคลสงสัยหวังความเจริญในธรรม เขาถามมา จะตอบเขาไม่ได้ อ่านสูตรพยากรณ์ปัญหาเรื่อง ศีล

    ๕. สากัจฉสูตร
    ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ

    [๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตน
    เอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้
    ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภ
    สมาธิสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้
    พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
    วิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทา
    ได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้
    พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวินุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑ ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนา
    ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
    จบสากัจฉสูตรที่ ๕


    ผมรู้หมดทั้ง ๕ ข้อครับ อธิบายได้ ถึงลักษณะอาการที่เป็นเอง ที่เผชิญเอง ที่ปฎิบัติเอง แต่ไม่สามารถแสดงรสให้ทราบตามได้ หากพยากรณ์ไปทางอื่น มึนครับ ตอบไม่เป็น

    Sriaraya5ท่านวิสัชนาได้งามเป็นกรณีเฉพาะแล้ว เป็นทางที่เหลือเพียงหนึ่งเดียว ในการพิจารณา ท่านเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้วตามภาวะฐานะธรรมในตน
    แต่ยังขัดกับพระสูตร ที่แสดงเหตุแห่งการสำเร็จธรรมอื่นๆ ที่มีอีกมากในกรณี ผล จาก สัมมาทิฏฐิ ๑๐ และที่สำคัญขัดกับ"แก่นธรรม" ถ้าทุกคนเข้าใจตามนี้ และยึดถือปฎิบัติตามว่ามีผลเพียงในชาตินี้ โดยคิดว่าบุญใหญ่น้อยใหญ่ ใครทำใครสร้างมาก็ตาม ไม่มีผลเท่าชาตินี้ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลกัน บุคคลผู้นั้นจะไม่มีทางได้[สัมมาทิฏฐิ]ที่ถูกต้อง จะเป็นการทำลาย [มรรค๘]ที่จะเกิดในตนและผู้อื่นด้วย เพราะเหตุที่ยึดถือนำมาแสดงเป็นว่าที่สุดแล้ว ไม่มียิ่งไปกว่านี้ ท่านคงลืม"สัมปจิตฉามิ" ที่ท่านเคยยกแสดง มันขัดกันกับประโยคนี้ พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ เราเป็นผู้แสดงเหตุในการปุจฉา และเป็นผู้วิสัชนาแสดงเหตุได้ โปรดพิจารณาธรรมตามที่กล่าวไว้ดังนี้
    สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ
    ขอท่านเจริญในธรรมอันยิ่งขึ้นไปเถิด

    ทางรอดที่บริสุทธิ์หมดจดคือ ต้องแสดงเนื้อความประโยค ที่ได้ตีความหมายให้รู้ซึ้งถึงเจตนาของอาจารย์ผู้สอน ให้ถูกต้องตามหลักธรรมทั้งมวลฯ โดยพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบรู้ในธรรมของอาจารย์ดีแล้ว โดยนำสรุป เข้าสู่กระบวนการไตร่ตรอง พิจารณาตามหลักธรรมทั้งหลายฯ สรุปผลให้เป็น [สัมมาทิฏฐิ] นั่นคือ การแสดงเป็นอรรถาธิบาย โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ที่ไม่ว่าผู้ใด ก็ไม่สามารถหาเหตุข้อติดขัดใดๆ มาโต้แย้งได้ ดังเราพิจารณาให้ในต่อไปนี้ มีใจความว่า" [o]ต้องได้อาศัยอานิสงค์ บุญบารมีจากการบำเพ็ญตบะ และ การปฎิบัติธรรมรักษาศีล ทั้งที่ในชาตินี้ และ ในอดีตชาติที่แล้วมาด้วยนั้น มาเติมเต็มความพร่องในศีล อันจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลกัน จนเข้าสู่มรรคผลต่างๆได้ ฉันใด ถ้าหากไม่มีอานิสงค์ผลบุญ ที่เกื้อหนุนกันดีแล้วนั้นย่อมจะไม่มีหวัง ในการที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติใดใดได้เลย ตลอดจนจะไม่สามารถสำเร็จมรรคผล แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ ถ้าปราศจากบุญบารมีทั้งหลายฯ ที่สั่งสมมาดีแล้ว ฉันนั้นแลฯ[o]"

    อย่าฆ่าอาจารย์ เพราะมีผู้รู้เห็น รักอาจารย์ ต้องพิจารณาธรรมจากอาจารย์ ให้ดีแล้วค่อย เอามาสอน เอามาประกาศ อย่าทำร้ายอาจารย์ อันเป็นเหตุให้สำนักอื่นที่ขัดกันหาเหตุโจทย์อธิกรณ์ได้
    ผู้นำธรรมมาแสดงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยไม่รู้จักการตีความให้บริสุทธิ์ แล้วจึงนำมาแสดง อันจะเกิดเป็นขวัญและกำลังใจในการปฎิบัติธรรม โดยไม่ทำลายขวัญกำลังใจและศรัทธา ผู้เดินมาตามหลัง ทั้งจะถูกเยาะเย้ยจากศาสนาอื่น เดียร์ถีย์นอกลัทธินิยมนั่นด้วย โดยแสวงอื่น คือการเพ่งโทษ ย่อมทำลายมรรค ๘ ในทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย สาธุธรรมฯ

    พระไตรลักษณ์เดิมทีนั้น แม้แต่ในพระไตรปิฎกก็เรียกกันโดยทั่วไปว่าธรรมนิยาม(ธมฺมนิยามตา) ที่แปลว่า นิยามของธรรม(หรือธรรมชาติ) ที่มีความหมายว่า ข้อกำหนดหรือความกำหนดที่แน่นอนแห่งธรรม หรือก็คือธรรมชาตินั่นเอง, ส่วนคำว่าพระไตรลักษณ์ และคำว่าสามัญลักษณะหรือสามัญญลักษณะ ที่มีความหมายเดียวกันกับธรรมนิยามนั้น เป็นคำที่เกิดขึ้นในภายหลังในยุคอรรถกถา, พระไตรลักษณ์หรือธรรมนิยามเป็นข้อธรรมที่แสดงถึงลักษณะ หรือกฏ หรือข้อกำหนดของธรรม หรือก็คือธรรมชาติอันยิ่งใหญ่และลี้ลับ แต่ด้วยพระปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมของพระองค์ท่านได้หงายของที่ควํ่าอยู่ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยพระประสงค์ว่าผู้มีจักษุคือปัญญาจะได้แลเห็น กล่าวคือทรงแสดงสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันลี้ลับที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้อย่างถูกต้อง อย่างแจ่มแจ้ง อย่างแท้จริงมาก่อน นับเนื่องมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะพระองค์ท่าน ทรงสอนแต่ในเรื่องธรรมชาติของความทุกข์ ที่หมายถึงเน้นสอนในเรื่องสภาวธรรมหรือธรรมชาติของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นสำคัญ ซึ่งก็เพื่อยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่โดยการนำเอาความรู้ความเข้าใจอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับความทุกข์นั้น ไปใช้ในการเพื่อการดับทุกข์อันเป็นสุขยิ่ง เป็นที่สุดนั่นเอง อันเกิดขึ้นและเป็นไปดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
    "ในกาลก่อนนี้ก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม เราตถาคต บัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องทุกข์ และการดับสนิทไม่เหลือของทุกข์เท่านั้น"

    จงแสดงธรรมที่[พระพุทธเจ้า]ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เมื่อดีต้องเอาดีที่สุด

    ขอจงสรรเสริญแด่ พระธรรม พระพุทธ พระสงฆ์ที่อยู่ในสารคุณดีแล้วนั้นเทอญฯ

    นี่ไม่ใช่ความรู้ ที่เรามีอยู่ในร่างกายและสมองเน่าๆของเรา เราไม่มีอะไร นอกจาก คำว่า รัก และ ห่วง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  14. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    จ่ายักษ์ ท่านพึงทราบตามนี้ อาศัยศีล ธรรมะ วินัย สเหมือนเรือหรือแพข้าม
    ฝากเท่านั้น เมื่อข้ามฝั้งข้างโน้นได้แล้ว ก็ให้วางการร้ายการดีให้หมด




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2015
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เจตนา(f) เราและท่านทั้งหลายต่างมีศัตรูอย่างเดียวกัน คือ กิเลส
    https://youtu.be/PA6dw0NrNMU

    บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๐/๒๔๐.
    ตรัสแก่ภิกษุ
    ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ย่อมไม่คิดไป
    ในทางทำตนเองให้ลำบากเลย ไม่คิดไปในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก ไม่คิดไป
    ในทางทำทั้งสองฝ่ายให้ลำบาก; เมื่อจะคิด ย่อมคิดอย่างเป็นประโยชน์
    เกื้อกูล แก่ตนเองเป็นประโยชน์ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งสองฝ่าย คือเป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่โลกทั้งปวงนั่นเอง. ภิกษุ ! อย่างนี้
    แล ชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก.

    - จตุกฺก. อํ .๒๑/๒๔๑/๑๘๖
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2015
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขอจงสรรเสริญแด่ พระธรรม พระพุทธ และพระสงฆ์ผู้อยู่ในสารคุณ นั้นเทอญฯ

    ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพข้อที่ ๒
    [๓๓๐] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญในเพราะ
    ความรู้ความเห็นที่แท้จริงว่า พระสมณโคดม เมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่ารู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่าเห็น
    ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่แสดง
    ไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดงไม่มีความอัศจรรย์. อุทายี ข้อที่สาวก
    ทั้งหลายของเราสรรเสริญในเพราะความรู้ความเห็นที่แท้จริงว่า พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัส
    ว่ารู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่าเห็น ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง
    ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดง
    ไม่มีความอัศจรรย์. อุทายี นี้แล ธรรมข้อที่สองอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
    เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่.



    บุญพลานิสงค์นี้เป็นของท่านSaberเป็นอันมาก เพราะเป็นเหตุให้หัวข้อธรรมนี้กระจ่าง สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เรื่องที่ต้องการจะสื่อ
    http://palungjit.org/threads/ทั้งชีวิตขอเรื่องเดียว.548578/
    และ
    http://palungjit.org/threads/ท่านที...ตร-พระยาธรรมิกราช-หรือมหาเถรโพธิสัตว์.548546/
    เอา[เมคตาภาวนานุเบกขา]เป็นที่ตั้ง
    เรื่องมรรคเรื่องผลเป็นเรื่องรองการันตีเพราะได้อาศัยแล้ว
    http://palungjit.org/threads/พระสหธรรมิกราช-และ-โพธิสัตว์เถระ-สรุปว่าคือใคร-ครับ.138613/
    อย่าลืมว่า ในยุทธจักรคู่ต่อสู้ที่น่ากลัวมักจะไม่เปิดเผย

    ข้อควรนำไปคิด เพื่อแปลงสภาพ ภาวะฐานะธรรม
    "ถ้าเราท่านมีพลังฝีมือ และมียอดวิชา ที่ตัวเองถนัดอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ทว่ามีอุปสรรคบางอย่าง ทำให้ไปไม่ถึงไหน อาศัยแต่ทริกเล็กๆ หลอกขู่คนอื่นไปได้ แต่ถ้าเจอของจริงที่จับสังเกตุได้ เราท่านนี้ก็อาจจะสู้ไม่ได้ อย่างง่ายดายเหมือนกัน" เรื่องแพ้-ชนะแล้วจะได้อะไร? ค่อยว่ากันอีกที
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2015
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หึหึ ผมกำลังเล่นสำนักท่านอยู่ เพราะว่า เจ้าสำนักท่านเป็น พระมหาเทวะยุคกึ่งพุทธกาลตัวพ่อ

    ผมเคยเตือนเคยบอกไปแล้ว ว่าควรทำอย่างไร? เมื่อกล้าหาญชาญชัยนัก ผมก็ ไม่ยั้งเหมือนกัน เพราะผมเป็นคนที่เดือดร้อนโดยตรง

    http://palungjit.org/threads/สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด-สร้าง-พุทธวจน-ปลอม.552222/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    หุหุ กระผมศึกษาพุทธวจน ไม่ยึดติดตัวบุคคล ถูกผิดธรรมชาติตัดสิ้นอนู่แล้ว ข้าพเจ้าหยิบแต่สิ่งที่สมควร เหมือนกับที่ผมชมจ่านั้นแหล่ะ ผมก็เลือกชมในส่วนที่น่าชม
     
  20. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    หุหุ กระผมศึกษาพุทธวจน ไม่ยึดติดตัวบุคคล ถูกผิดธรรมชาติตัดสิ้นอยู่แล้ว ข้าพเจ้าหยิบแต่สิ่งที่สมควร เหมือนี่ชมท่าน ผมก็เลือกที่จะชมในสิ่งที่สมควรชม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...