พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    เกือบลืมไป อ่านผ่านไปผ่านมาหลายรอบก็ไม่ได้นึกอาไร คือมีผู้ที่ผมไปบอกบุญท่านหนึ่งได้ทำบุญมาแต่แรกๆ จำนวน 1000 บาท ก่อนคุณหนุ่มจะแจ้งรายการมอบพระพิมพ์แล้วครับ จึงแจ้งให้คุณหนุ่มทราบไว้ก่อนครับ จะได้จัดพระพิมพ์ปิดตาวังหน้าให้เขา 1 องค์ รวบรวมเสร็จแล้วจะโอนมาครับ
    โมทนาสาธุ
     
  2. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ส่องดูเนื้อหาในรายละเอียดครับ ส่องเห็นแล้วมันมีความงดงามซาบซึ้งกินใจชวนให้หลงใหลปลาบปลื้มสะท้านใจไม่รู้หาย ตามด้วยอยากได้เป็นกำลัง แต่ถ้าไม่มีตังก็คงได้แต่อยาก
    แบบดีๆก็มีเป็นยี่ห้อ จำไม่ได้ว่าอะไรบ้างเท่าที่เคยอ่านสรรพคุณ เขาว่าส่องนานๆไม่เจ็บตา เพิ่มแสงสว่างในตัว เลนส์แก้วไม่มีรอยขีดข่วนง่ายทำนองนี้ละครับ ราคาน่าจะประมาณ3-4000 นะครับ แต่ถ้าส่องไม่บ่อยหาราคาต่ำหน่อยคุณภาพดีพอควรก็ได้ แล้วแต่ชอบ แต่เห็นว่าของปลอมก็เยอะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเลือกเป็นอีกครั้ง
    ส่วนผมเองกำลังมองหาชนิดที่ส่องทีไรเจ้าของพระยอมมอบให้ทุกที(deejai)
     
  3. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    หาเผื่อผมอันนะคุณตั้งใจครับ....ผมจะส่องดูกรุเนปาลของคุณตั้งใจกับสมเด็จอัศนีของท่านปา-ทานก่อนเลยครับ(deejai)
     
  4. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ครับผม หาได้แล้วจะชวนคุณน้องหนูไปส่องพระที่บ้านท่านปาธานกัน(deejai) (deejai)
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ chaipat [​IMG]
    วันนี้ผมได้แว่นขยายมาครับ 30 x 21
    เหตุเพราะ ผมสนใจหูฟังแต่เสียงไม่ดี จึงมาได้แว่นขยายแทน ราคา 60 บาท

    เพราะเกรงใจคนขาย

    แต่สิ่งที่ผมสงสัย เราท่านใช้แว่นขยาย ส่องพระเพื่ออะไรบ้าง
    เพราะผมไม่รู้จริงๆ ครับ แล้วเราเห็นอะไรมากขึ้นครับ


    แล้วแว่นขยายแบบไหนดีดีบ้างครับ ราคาประมาณเท่าไหร่
    เผื่อใช้ในงานอื่นด้วยครับ ขอคำแนะนำครับ


    สาธุครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ต้องเริ่มหัดส่องดูเนื้อหาทรงพิมพ์แล้วนะน้องchaipat

    พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ต้องมีทั้งพระภายในและพระภายนอก

    พระภายนอกต้องเรียนรู้กัน
    พระภายในต้องสร้างกัน

    ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม สิ่งที่ตนเองคิดว่าถูกต้องแล้วนั้น อาจไม่ถูกต้องตรงกับกรรม

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ไปแต่ตัว ของไม่ต้องเอาไป ผมจอง"หีบ"
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=tcat colSpan=2>ข้อความส่วนตัว: อยากบุญเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคี</TD></TR></TBODY></TABLE><!-- post # --><TABLE class=tborder id=post cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"><!-- status icon and date -->[​IMG] วันนี้, 10:22 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>
    สมาชิก




    </TD><TD class=alt1 id=td_post_ style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->อยากบุญเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคี
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->สวัสดีค่ะคุณ sithiphong

    ขอร่วมเป็นเจ้าภาพ ผ้าป่าสามัคคี “มาฆะบูชา” ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ จำนวน 2 กองค่ะ เป็นเงิน 200 บาท แต่คงไม่มีโอกาสได้รับพระพิมพ์แจกจากทางคุณ sithiphong ค่ะ

    เมื่อโอนเงินแล้วจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=13&item=656&items=1&preline=0


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER>พยากรณ์การรักษาสัจจะ
    </CENTER>[๖๕๖] พ. ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีศรัทธา เขากล่าวว่า ศรัทธาของเราอย่างนี้
    ดังนี้ ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริง
    สิ่งอื่นเปล่า ดูกรภารทวาชะ การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตาม
    รักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
    เท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีความชอบใจ ... มีการ
    ฟังตามกัน ... มีความตรึกตามอาการ ... มีการทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิ เขากล่าวว่า การทนต่อ
    การเพ่งด้วยทิฏฐิของเราอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดย
    ส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดูกรภารทวาชะ การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วย
    ข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการ
    ตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน.
    กา. ท่านพระโคดม การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่า
    ตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็ง การรักษาสัจจะด้วยข้อ
    ปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การตรัสรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อม
    ตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงก

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๑๐๓๘๒ - ๑๐๓๙๖. หน้าที่ ๔๕๓.
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10382&Z=10396&pagebreak=0
    อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=13&item=656&items=1&preline=0&mode=bracket
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=646



    บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
    บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo

    http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=13&item=656&items=1&preline=0
    .
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    [​IMG]

    วิปัสสนูปกิเลส
    โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


    ในการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนั้น ในบางครั้งก็มีอุปสรรคขัดข้องต่างๆ รวมทั้งเกิดการหลงผิดบ้างก็มี ซึ่งหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ก็ได้ให้ความช่วยเหลือแนะนำและช่วยแก้ไขแก่ลูกศิษย์ลูกหาได้ทันท่วงที ดังตัวอย่างที่ยกมานี้

    มีอยู่ครั้งหนึ่งเกิดปัญหาเกี่ยวกับ “วิปัสสนูปกิเลส” ซึ่งหลวงปู่เคยอธิบายเรื่องนี้ว่า เมื่อได้ทำสมาธิจนสมาธิเกิดขึ้น และได้รับความสุขอันเกิดแต่ความสงบพอสมควรแล้ว จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่สมาธิส่วนลึก นักปฏิบัติบางคนจะพบอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่ง เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งมี ๑๖ อย่าง มี “โอภาส” คือ แสงสว่าง และ “อธิโมกข์” คือ ความน้อมใจเชื่อ เป็นต้น

    พลังแห่งโอภาสนั้นสามารถนำจิตไปสู่สภาวะต่างๆได้อย่างน่าพิศวง เช่น จิตอยากรู้อยากเห็นอะไรก็ได้เห็นได้รู้ในสิ่งนั้น แม้แต่กระทั่งได้กราบได้สนทนากับพระพุทธเจ้าก็มี

    เจ้าวิปัสสนูปกิเลสนี้มีอิทธิพลและอำนาจ จะทำให้เกิดความน้อมใจเชื่ออย่างรุนแรง โดยไม่รู้เท่าทันว่าเป็นการสำคัญผิด ซึ่งเป็นการสำคัญผิดอย่างสนิทสนมแนบเนียน และเกิดความภูมิใจในตัวเองอยู่เงียบๆ บางคน ถึงกับสำคัญตนว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วยซ้ำ บางรายสำคัญผิด อย่างมีจิตกำเริบยโสโอหังถึงขนาดที่เรียกว่าเป็นบ้าวิกลจริตก็มี

    อย่างไรก็ตาม วิปัสสนูปกิเลสไม่ได้เป็นการวิกลจริต แม้บางครั้งจะมีอาการคล้ายคลึงคนบ้าก็ตาม แต่คงเป็นเพียงสติวิกล อันเนื่องจากการที่จิตตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก แล้วสติตามควบคุมไม่ทัน ไม่ได้สัด ไม่ได้ส่วนกันเท่านั้น ถ้าสติตั้งไว้ได้สัดส่วนกัน จิตก็จะสงบเป็นสมาธิลึกลงไปอีก โดยยังคงมีสิ่งอันเป็นภายนอกเป็นอารมณ์อยู่นั่นเอง

    เช่นเดียวกับการฝึกสมาธิของพวกฤาษีชีไพรที่ใช้วิธีเพ่งกสิณ เพื่อให้เกิดสมาธิ ในขณะแห่งสมาธิเช่นนี้ เราเรียกอารมณ์นั้นว่า ปฏิภาคนิมิต และเมื่อเพิกอารมณ์นั้นออกโดยการย้อนกลับไปสู่ “ผู้เห็นนิมิต” นั้น นั่นคือย้อนสู่ต้นตอคือ จิต นั่นเอง จิตก็จะบรรลุถึงสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ อันเป็นสมาธิจิตขั้นสูงสุดได้ทันที

    ในทางปฏิบัติที่มั่นคงและปลอดภัยนั้น หลวงปู่ดูลย์ท่านแนะนำว่า “การปฏิบัติแบบจิตเห็นจิต เป็นแนวทางปฏิบัติที่ลัดสั้น และบรรลุเป้าหมายได้ฉับพลัน ก้าวล่วงภยันตรายได้สิ้นเชิง ทันทีที่กำหนดจิตใจได้ถูกต้อง แม้เพียงเริ่มต้น ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยครูบาอาจารย์อีก”

    ในประวัติของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พอจะเห็นตัวอย่างของวิปัสสนูปกิเลส ๒ ตัวอย่าง คือกรณีของท่านหลวงตาพวง และกรณีของท่านพระอาจารย์เสร็จ จะขอยกกรณีของหลวงตาพวงมาเล่าเพื่อประดับความรู้ต่อไป

    ศิษย์ของหลวงปู่ชื่อ “หลวงตาพวง” ได้มาบวชตอนวัยชรา นับเป็นผู้บุกเบิก สำนักปฏิบัติธรรมบนเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

    หลวงตาพวงได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้แก่การประพฤติปฏิบัติ เพราะท่านสำนึก ตนว่ามาบวชเมื่อแก่ มีเวลาแห่งชีวิตเหลือน้อย จึงเร่งความเพียรตลอดวัน ตลอดคืน

    พอเริ่มได้ผล เกิดความสงบ ก็เผชิญกับวิปัสสนูปกิเลสอย่างร้ายแรง เกิดความสำคัญผิดเชื่อมั่นอย่างสนิทว่าตนเองได้บรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เป็นผู้สำเร็จผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการ ได้เล็งญาณ (คิดเอง) ไปจนทั่วสากลโลก เห็นว่าไม่มีใครรู้หรือเข้าถึงธรรมเสมอด้วยตน ดังนั้น หลวงตาพวงจึงได้เดินทางด้วยเท้าเปล่ามาจากเขาพนมรุ้ง เดินทางข้ามจังหวัดมาไม่ต่ำกว่า ๘๐ กิโลเมตร มาจนถึงวัดบูรพาราม หวังจะแสดงธรรมให้หลวงปู่ฟัง

    หลวงตาพวงมาถึงวัดบูรพาราม เวลา ๖ ทุ่มกว่า กุฏิทุกหลังปิดประตูหน้าต่าง หมดแล้ว พระเณรจำวัดกันหมด หลวงปู่ก็เข้าห้องไปแล้ว ท่านก็มาร้องเรียก หลวงปู่ด้วยเสียงอันดัง

    ตอนนั้นท่านเจ้าคุณพระโพธินันทมุนียังเป็นสามเณรอยู่ ได้ยินเสียงเรียกดังลั่นว่า “หลวงพ่อ หลวงพ่อ หลวงพ่อดูลย์.....” ก็จำได้ว่าเป็นเสียงของหลวงตาพวง จึงลุกไปเปิดประตูรับ

    สังเกตดูอากัปกิริยาก็ไม่เห็นมีอะไรผิดแปลก เพียงแต่รู้สึกแปลกใจว่า ตาม ธรรมดาท่านหลวงตาพวงมีความเคารพอ่อนน้อมต่อหลวงปู่ พูดเสียงเบา ไม่บังอาจระบุชื่อของท่าน แต่คืนนี้ค่อนข้างจะพูดเสียงดังและระบุชื่อด้วยว่า

    “หลวงตาดูลย์ ออกมาเดี๋ยวนี้ พระอรหันต์มาแล้ว”

    ครั้นเมื่อหลวงปู่ออกมาแล้ว ตามธรรมดาหลวงตาพวงจะต้องกราบหลวงปู่ แต่คราวนี้ไม่กราบ แถมยังต่อว่าเสียอีก “อ้าว ! ไม่เห็นกราบท่านผู้สำเร็จมาแล้ว ไม่เห็นกราบ”

    เข้าใจว่าหลวงปู่ท่านคงทราบโดยตลอดในทันทีนั้นว่าอะไรเป็นอะไร ท่านจึงนั่งเฉย ไม่พูดอะไรแม้แต่คำเดียว ปล่อยให้หลวงตาพวงพูดไปเรื่อยๆ

    หลวงตาพวงสำทับว่า “รู้ไหมว่าเดี๋ยวนี้ผู้สำเร็จอุบัติขึ้นแล้ว ที่มานี่ก็ด้วย เมตตา ต้องการจะมาโปรด ต้องการจะมาชี้แจงแสดงธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ”

    หลวงปู่ยังคงวางเฉย ปล่อยให้ท่านพูดไปเป็นชั่วโมงทีเดียว สำหรับพวกเรา พระเณรที่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ก็พากันตกอกตกใจกันใหญ่ ด้วยไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่

    ครั้นปล่อยให้หลวงตาพวงพูดนานพอสมควรแล้ว หลวงปู่ก็ซักถามเป็นเชิง คล้อยตามเอาใจว่า “ที่ว่าอย่างนั้นๆ เป็นอย่างไร และหมายความว่าอย่างไร” หลวงตาพวงก็ตอบตะกุกตะกัก ผิดๆ ถูกๆ แต่ก็อุตส่าห์ตอบ

    เมื่อหลวงปู่เห็นว่าอาการรุนแรงมากเช่นนั้น จึงสั่งว่า “เออ เณรพาหลวงตาไปพักผ่อนที่โบสถ์ ไปโน่น ที่พระอุโบสถ”

    ท่านเณร (เจ้าคุณพระโพธินันทมุนี) ก็พาหลวงตาไปที่โบสถ์ ไปเรียกพระ องค์นั้นองค์นี้ที่ท่านรู้จักให้ลุกขึ้นมาฟังเทศน์ฟังธรรม รบกวนพระเณรตลอดทั้งคืน

    หลวงปู่พยายามแก้ไขหลวงตาพวงด้วยอุบายวิธีต่างๆ หลอกล่อให้หลวงตา นั่งสมาธิ ให้นั่งสงบแล้วย้อนจิตมาดูที่ต้นตอ มิให้จิตแล่นไปข้างหน้า จนกระทั่ง สองวันก็แล้ว สามวันก็แล้วไม่สำเร็จ

    หลวงปู่จึงใช้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งคงเป็นวิธีของท่านเอง ด้วยการพูดแรงให้โกรธ หลายครั้งก็ไม่ได้ผล ผ่านมาอีกหลายวันก็ยังสงบลงไม่ได้ หลวงปู่เลยพูดให้โกรธด้วยการด่าว่า “เออ ! สัตว์นรก สัตว์นรก ไปเดี๋ยวนี้ ออกจากกุฏิเดี๋ยวนี้”

    ทำให้หลวงตาพวงโกรธอย่างแรง ลุกพรวดพราดขึ้นไปหยิบเอาบาตร จีวร และกลดของท่านลงจากกุฏิ มุ่งหน้าไปวัดป่าโยธาประสิทธิ์ซึ่งอยู่ห่างจาก วัดบูรพารามไปทางใต้ประมาณ ๓ - ๔ กิโลเมตร ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) ยังพำนักอยู่ที่นั่น

    ที่เข้าใจว่าหลวงตาพวงโกรธนั้น เพราะเห็นท่านมือไม้สั่น หยิบของผิดๆ ถูกๆ คว้าเอาไต้ (สำหรับจุดไฟ) ดุ้นหนึ่ง นึกว่าเป็นกลด และยังเปล่งวาจาออกมา อย่างน่าขำว่า “เออ ! กูจะไปเดี๋ยวนี้ หลวงตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู” เสร็จแล้วก็คว้า เอาบาตร จีวร และหยิบเอาไต้ดุ้นยาวขึ้นแบกไว้บนบ่า คงนึกว่าเป็นคันกลด ของท่าน แถมคว้าเอาไม้กวาดไปด้ามหนึ่งด้วย ไม่รู้เอาไปทำไม

    ครั้นหลวงตาพวงไปถึงวัดป่า ทันทีที่ย่างเท้าเข้าสู่บริเวณวัดป่านี่เอง อาการของจิตที่น้อมไปติดมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก โดยปราศจากการควบคุมของ สติที่ได้สัดส่วนกันก็แตกทำลายลง เพราะถูกกระแทกด้วยอานุภาพแห่งความ โกรธ อันเป็นอารมณ์ที่รุนแรงกว่า ยังสติสัมปชัญญะให้บังเกิดขึ้น ระลึกย้อนกลับ ได้ว่า ตนเองได้ทำอะไรลงไปบ้าง ผิดถูกอย่างไร สำคัญตนผิดอย่างไร และได้ พูดวาจาไม่สมควรอย่างไรออกมาบ้าง

    เมื่อหลวงตาพวงได้สติสำนึกแล้ว ก็ได้เข้าพบท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ และเล่าเรื่องต่างๆ ให้ท่านทราบ ท่านเจ้าคุณฯ ก็ได้ช่วยแนะนำและเตือนสติ เพิ่มเติมอีก ทำให้หลวงตาพวงได้สติคืนมาอย่างสมบูรณ์ และบังเกิดความ ละอายใจเป็นอย่างยิ่ง

    หลังจากได้พักผ่อนเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็ย้อนกลับมาขอขมาหลวงปู่ กราบเรียนว่าท่านจำคำพูดและการกระทำทุกอย่างได้หมด และรู้สึกละอายใจมากที่ตนทำอย่างนั้น

    หลวงปู่ได้แนะทางปฏิบัติให้ และบอกว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ว่าถึงประโยชน์ ก็มีประโยชน์เหมือนกัน มีส่วนดีอยู่เหมือนกัน คือจะได้เป็นบรรทัดฐาน เป็นเครื่องนำสติมิให้ตกสู่ภาวะนี้อีก เป็นแนวทางตรงที่จะได้นำมาประกอบ การปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างมั่นคงในแนวทางตรงต่อไป”



    .........................................................................

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    คัดลอกบางตอนมาจาก...หนังสือสมาธิ
    เรื่องการเจริญสมาธิด้วยการกำหนดรู้และละอารมณ์
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=225
     
  10. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ไหว้เทพเจ้าไฉ้ซิงเอี้ยขอโชคลาภดีกว่าท่าน ปา-ทาน ผมไปไหว้ 23.00น.พอดีครับ เขาและเราต่างมีทางต้องเดินกันครับ
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    สะสมความไม่สบายใจมาร่วม ๓ เดือนแล้ว.. เวลานี้ก็ยังไม่สบายใจ แล้วเมื่อไหร่ จะสบายใจ?
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระวังหน้ามีหลากพิมพ์มาก คุณหนุ่มมี list รายการพระวังหน้าที่แนะนำให้ท่านสมาชิกที่สนใจทั้งหลายทั้งที่เปิดเผยตัว และที่กำลังซุ่มได้ทราบกันไม๊ครับว่า..

    หากจะแขวนพระวังหน้า แบบ"แขวนเดี่ยว"แล้ว แนะนำองค์ไหน และอิทธิคุณ หรือพุทธคุณเน้นไปทางไหนบ้าง
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระวังหน้ามีหลากพิมพ์มาก คุณหนุ่มมี list รายการพระวังหน้าที่แนะนำให้ท่านสมาชิกทั้งหลายที่เปิดเผยตัว และที่กำลังซุ่มได้ทราบกันไม๊ครับว่า...

    หากจะแขวนพระวังหน้า แบบ"แขวนเดี่ยว"แล้ว แนะนำองค์ไหน และอิทธิคุณ หรือพุทธคุณเน้นไปทางไหนบ้าง และควรจะต้องทำการแขวนเดี่ยวทดสอบราว ๓ เดือน แล้วบันทึกไว้เป็นสถิติ ปีหนึ่ง แขวนสลับกันไปมาครั้งละ ๑ องค์ ๑ ปีแขวนได้ ๔ องค์
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://larndham.net/index.php?showtopic=22628&st=0

    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 9 : (อังคาร)</TD><TD></TD><TR><TD colSpan=2>
    ๑. กัป

    คำว่า กัป เป็นภาษาบาลี บางทีก็เรียกว่า กัปป์ หรือกัปปะ ตรงกับคำในภาษาสันสกฤตว่า กัลป์
    กัป มีหลายความหมาย แต่ละความหมายก็มีความยาวนานต่างกัน คือ อายุกัป อันตรกัป อสงไขยกัป และมหากัป
    กัปในความหมายแรกนี้หมายถึง อายุกัป คือ ระยะเวลาเท่ากับอายุของมนุษย์ในยุคนั้น เช่นในยุคเริ่มต้นกัป อายุมนุษย์ยืนยาวถึงอสงไขยปี ๑ กัป หรือ ๑ อายุกัป จึงเท่ากับ ๑ อสงไขยปี
    สมัยพุทธกาล มนุษย์มีอายุขัย ๑๐๐ ปี ๑ กัป จึงเท่ากับ ๑๐๐ ปี
    ปัจจุบันอายุขัยมนุษย์ลดเหลือ ๗๕ ปี ๑ กัป จึงเท่ากับ ๗๕ ปี
    ในสมัยพุทธกาล ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสกับพระอานนท์ก่อนจะทรงปลงอายุสังขารว่าผู้ที่ดำรงชีวิตด้วยอิทธิบาท ๔ นั้น สามารถมีอายุอยู่ได้ถึง ๑ กัปหรือมากกว่า ซึ่งหมายถึง ๑๐๐ ปีนั่นเอง


    อสงไขยปี

    อสงไขยปีนับตามจำนวนสังขยา คือ ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว เป็นความยืนยาวของมนุษย์ยุคแรกที่จุติมาจากพรหมโลก ต่อมาอายุมนุษย์ก็จะลดน้อยลงมาเรื่อยๆ จนเหลือแค่ ๑๐ ปี จากนั้นและวนกลับขึ้นไปถึง ๑ อสงไขยปีอีกครั้ง
    (อสงไขยปีหลังๆ นี้บางตำรากล่าวว่าไม่ใช่ ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ปี เช่นเดิม แต่บอกว่าเท่ากับ ๑๐๐,๐๐๐ ปีเท่านั้น)


    รอบอสงไขย

    คือ ระยะเวลาที่มนุษย์มีอายุ ๑ อสงไขยปี ทุก ๑๐๐ ปี อายุลดลง ๑ ปี จนเหลือแค่ ๑๐ ปี และกลับเพิ่มขึ้น ๑ ปี ทุก ๑๐๐ ปี จนถึง ๑ อสงไขยปีเช่นเดิม ๑ รอบ เรียกว่า ๑ รอบอสงไขย


    อันตรกัป
    เวลา ๑ อันตรกัป เท่ากับ ๑ รอบอสงไขยปี

    จากคุณ : อังคาร [ ตอบ: 14 ต.ค. 49 [​IMG]17:43 ] แนะนำตัวล่าสุด 26 เม.ย. 49 | สมาชิกลานธรรมถาวร | [​IMG]ตอบ: 854 | ฝากข้อความ |โฮมเพจ | </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ไม่ขอตอบคำถามนี้นะครับ เหตุการณ์ต่างๆก็ล่วงเลยมาจนเวลานี้แล้ว ด้วยความเป็นห่วง และปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมอุดมการณ์คนหนึ่ง จึงต้องขออภัยด้วยหากจะทำให้เกิดความขุ่นใจขึ้น

    หากสามารถ "ละวาง" และ "ให้อภัยทาน" ได้ เราจะเดินใกล้ "กระแสพระนิพพาน" ทุกขณะ อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากคือ ทุกการกระทำ ทุกคำพูด ทุกความคิด เราท่านต่างอยู่ในสายพระเนตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้ง ๕ พระองค์ หลวงปู่แจ้งฌาน หลวงปู่ท่านเจ้าฯ "ปูชนียบุคคลทั้ง ๒" ย่อมต้องกล่าวคำโมทนาจากดวงจิตที่บริสุทธิ์ซึ่งปรารถนาให้ศิษย์ของท่านหลุดพ้นจากบ่วงมาร เขาก็ต้องตาย เราก็ต้องตาย แสดงว่า สังขารของเราท่านไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ไม่เที่ยงนั่นเอง เรากำลังโกรธในสิ่งที่ไม่เป็นแก่นสารทำไมล่ะท่าน? ละวางเถิด ....อนุโมทนาสาธุ...
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://palungjit.org/showthread.php?p=952534&posted=1#post952534

    <TABLE class=tborder id=post952534 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead id=currentPost style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">1-2-2551, 09:54 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#14368 </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]



    ขอเชิญร่วมมหากุศลเป็นเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคี
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.geocities.com/peera_pin/page9.html

    ...มิตรแท้ ๔ มิตรเทียม ๔...

    มิตรแท้ ๔ มิตรเทียม ๔


    คำว่า มิตร มีรากศัพท์คำเดียวกับคำว่า เมตตา ซึ่งมีความหมายว่า ความรักใคร่ห่วงใยปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข เพราะฉะนั้นคำว่า มิตรจึงหมายถึงผู้ที่รักใคร่ชอบพอกัน ปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือมีความเมตตาทั้ง ทางกาย วาจา ใจ ต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง คำว่ามิตรนั้น มักมีคำที่ใช้แทนกันหลายคำเช่น สหาย แปลว่า ผู้ไปด้วยกันมีความคิดเห็นเหมือนกัน สขา แปลว่า เพื่อน คือผู้คบกันคุ้นเคยสนิทสนม

    มิตรมี ๒ จำพวกใหญ่คือ มิตรแท้ และมิตรเทียม

    มิตรแท้ ๔ มิตรแท้มี ๔ ประเภท คือ

    ๑.มิตรมีอุปการะ ได้แก่ เพื่อนที่มีบุญคุณ มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่คอยคุ้มครองป้องกันเพื่อนของตน ทั้งเป็นที่พึ่งของเพื่อนได้ มีลักษณะโดยสรุป ๔ ประการ ดังนี้คือ
    - ป้องกันเพื่อนผู้ประมาท หมายถึง มิตรที่ช่วยป้องกันชีวิตชื่อเสียงและเกียรติยศของเพื่อน
    - ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาท หมายถึง มิตรที่คอยแนะนำห้ามปรามเพื่อนเมื่อเห็นเพื่อนใช้จ่ายทรัพย์สมบัติไปในทางอบายมุขหรือลงทุนที่มีการเสี่ยงเกินไป
    - เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ หมายถึง มิตรที่คอยอุปการะช่วยเหลือเมื่อเพื่อนตกทุกข์ เมื่อเพื่อนมีภัยก็ให้การคุ้มครองป้องกัน
    - เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก หมายถึง มิตรที่ช่วยเหลือเพื่อน เมื่อเพื่อนมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ออกปากขอยืมเงิน ก็ตอบสนองด้วยดี เสนอให้ยืมเกินกว่าที่ขอยืม ไม่แสดงความโลภออกมา

    ๒.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ได้แก่ เพื่อนสนิทเหมือนญาติ ไว้วางใจกัน คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีลักษณะโดยสรุป ๔ ประการ
    - ขยายความลับของตนแก่เพื่อน หมายถึง ต่างฝ่ายต่างเผยความลับของตนแก่เพื่อน ถ้าความลับนั้นมีจุดอ่อนหรือปมด้อยก็ช่วยกันแก่ไข และเป็นการให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
    - ปิดความลับของเพื่อนมิให้แพร่หลาย หมายถึง มิตรที่มีความจริงใจต่อเพื่อนรักษาน้ำใจซึ่งกันและเอาไว้โดยการไม่เปิดเผยความลับของเพื่อนไม่ให้ผู้อื่นรู้
    - ไม่ละทิ้งยามวิบัติหมายถึง เมื่อเวลาที่เพื่อนตกทุกข์ได้ยากก็คอยช่วยเหลือไม่ละทิ้ง
    - แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้ หมายถึง เมื่อเวลาที่เพื่อนตกอยู่ในอันตราย ก็เข้าช่วยเหลือถึงแม้ตัวเองจะต้องเสี่ยงชีวิตก็ตาม

    ๓.มิตรแนะนำประโยชน์ ได้แก่ เพื่อนที่คอยแนะนำแต่ในทางที่ดี มีลักษณะเหมือนครู ลักษณะของเพื่อนเช่นนี้มีอยู่ ๔ ประการ คือ
    -ห้ามไม่ให้ทำชั่ว หมายถึง เห็นเพื่อนทำความชั่ว เพราะความไม่รู้ หรือความประมาทคึกคะนองก็เข้าห้ามปรามแสดงถึงเหตุผล ให้เพื่อนมี หิริ คือ ความรังเกียจต่อความชั่ว และ โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความชั่ว
    -แนะนำให้ทำแต่ความดี หมายถึง นอกจากห้ามไม่ให้เพื่อนทำชั่วแล้ว ยังสอนเพื่อนให้รู้จักคุณความดีสอนให้ประพฤติดี
    -ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยทำ หมายถึง ถ้าเพื่อนยังไม่มีความรู้ในทางหลักธรรมคุณความดีกฎแห่งกรรมมากนักก็เล่าให้เพื่อนฟัง
    -บอกทางสวรรค์ให้ ทางสวรรค์ หมายถึง ทางไปสู่อนาคตอันสดใส ด้วยการแสวงหาความรู้หรือปัญญา

    ๔.มิตรมีความรักใคร่ ได้แก่ เพื่อนประเภทสหาย มีลักษณะสำคัญ ๔ ประการคือ
    -ทุกข์ ทุกข์ ด้วย หมายถึง เมื่อเห็นเพื่อนมีความทุกข์ไม่ว่าทางใด ทางกายใจ ก็ให้ความช่วยเหลือในทุกด้าน ปลอบโยน แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ
    -สุข สุข ด้วย หมายถึง มิตรที่เห็นเพื่อนมีความสุขไม่ว่าทางกายหรือทางใจก็พลอยยินดีกับเพื่อนด้วย เข้าไปแสดงความยินดีด้วย
    -โต้เถียงผู้ที่ติเตียนเพื่อน หมายถึง เมื่อเห็นคนอื่นติเตียนเพื่อนของเรา ไม่ว่าต่อหน้าและลับหลัง ก็ช่วยพูดจาชี้แจงให้เข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อนไม่ให้เพื่อนเสียหาย
    -รับรองคนพูดสรรญเสริญเพื่อน หมายถึง เมื่อเห็นคนพูดจาชมเชยเพื่อนก็พูดจาสนับสนุน

    <HR>
    มิตรเทียม ๔ มิตรเทียม มาจากคำว่า มิตรปฏิรูป ซึ่งอาจมีความหมายว่า คนเทียมเป็นมิตรหรือคนปลอมเป็นมิตร ซึ่งมี ๔ ประเภทคือ

    ๑.คนปอกลอก คนประเภทนี้ไม่ใช่มิตรแต่แสดงตัวว่าเป็นมิตร ซึ่งหวังผลประโยชน์จากคนที่คบด้วย ซึ่งมี ๔ ประเภทคือ
    -คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว คือ คนที่เอาเปรียบ
    -เสียน้อย คิดเอาให้มาก คือ เมื่อในกรณีที่ทีการลงทุนจะเสียน้อยแต่พอได้รับประโยชน์หรือผลตอบแทนแล้ว จะรับเอาแต่มาก
    -เมื่อมีภัยแก่ตัว จึงรับทำกิจของเพื่อน คือ ตามปกติคนประเภทนี้จะไม่ยอมข่วยเหลือใคร แต่เมื่อตนประสบปัญญาแล้วจึงมาแกล้งแสดงตัวเป็นมิตร
    -คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว คือ คนประเภทนี้เป็นคนเห็นแก่ตัวเมื่อคบเพื่อนคนใดแล้วก็จะเห็นแต่ประโยชน์ส่วนเท่านั้น

    ๒.คนดีแต่พูด คนดีแต่พูดไม่ถึงกับใช่คนหลอกลวง แต่เป็นกะล่อน ขอให้ได้พูดพูดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนมากเป็นเรื่องไร้สาระมี ๔ ประเภทคือ
    -เก็บของล่วงแล้วมาปราศรัย คือ พววกที่คอยเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่แล้วจะเอาเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตมาพูด
    -อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย คือ พวกที่ชอบพูดในเรื่องของอนาคต พูดในทำนองการพยากรณ์ ทำตัวเป็นผู้รอบรู้
    -สงเคราะด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้ คือ ถ้าช่วยเหลือคนที่คบกันอยู่ก็จะช่วยเหลือแบบเล่น ให้สิ่งที่ไม่มีประโยชน์
    -ออกปากพึ่งมิได้ คืด เมื่อเพื่อนต้องการพึ่งเพราะมีความเดือดร้อนบางอย่าง ก็บ่ายเบี่ยงแบ่งรับแบ่งสู้

    ๓.คนหัวประจบ คนหัวประจบเป็นคนที่คอยตามใจเพื่อน ให้เพื่อนเป็นผู้นำส่วนตนนั้นทำตัวเป็นผู้ตาม เพราะหวังผลประโยชน์ไม่ว่าสิ่งใดก็สิ่งหนึ่งคนจำพวกนี้มีอยู่ ๔ ประเภทคือ
    -จะทำชั่วก็คล้อยตาม คือ เมื่อเห็นเพื่อนทำชั่วก็ไม่ห้ามปราม กลับช่วยสนับสนุน
    -จะทำดีก็คลอยตาม คือ เมื่อเพื่อนทำดีก็เห็นด้วยคอยสนับสนุนเอาใจเพื่อน
    -ต่อหน้าว่าสรรญเสริญ คือ คอยยกย่องเพื่อนต่อหน้าเพื่อเอาใจเพื่อน
    -ลับหลังนินทาเพื่อน คือ เมื่อเพื่อนไม่เห็น ไม่ได้ยิน กลับนินทาว่าร้ายต่างๆ

    ๔.คนชักชวนในทางฉิบหาย คนชักชวนในทางฉิบหาย คบเพื่อนเพื่ออาศัยเพื่อนเป็นเครื่องมือหาความสนุกเพลิดเพลินของตน มีลักษณะ ๔ ประการคือ
    -ชักชวนดื่มน้ำเมา คือ ชักชวนให้เพื่อนดื่มสุราเมรัยซึ่งเป็นโทษทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
    -ชักชวนเที่ยวกลางคืน เช่น เที่ยวตามสถานบริการบันเทิงต่างๆ
    -ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น คือ เล่นกีฬาหรือเล่นเกมต่างๆที่มีการพนันอยู่ด้วย
    -ชักชวนเล่นการพนัน หมายถึง การเล่นการพนันล้วนๆ



    </PRE>
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.mojum.com/index.php?option=com_content&task=view&id=45&Itemid=53

    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">มิตรแท้ - มิตรเทียม </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="70%" colSpan=2>เขียนโดย หมอจุ๋ม </TD></TR><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2>เสาร์, 27 ตุลาคม 2007 </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE class=mojum cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=mojum vAlign=top>มิตรแท้
     
  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขอบคุณครับคุณหนุ่ม ผมอยากให้คุณผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้นะครับ แม้ในเวลานี้คุณจะมองว่ามันเลวร้ายที่สุด ไม่มีใครช่วยคุณได้เลย นอกจากตัวคุณเอง และใจของคุณเองที่จะยอมอภัยทาน ยอมละวาง แต่..ท้ายที่สุดผมก็ยังเชื่อว่า คุณต้องผ่านมันไปได้ ผมเชื่ออย่างเหลือเกินว่าพี่น้องชาววังหน้าทุกๆคน เขาเป็นห่วงคุณ แต่เขาไม่รู้ว่าจะพูดยังไงดี เขากำลังรอ"ผู้นำ"ของเขากลับมาเป็น"คนเดิม" ที่ทั้งใจกว้าง ใจดี หากสามารถอภัยทานได้ ใจจะเป็นสุขมากครับ ผมลองมาแล้ว มันสุขจริงๆเลยนะครับ...
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมชอบหลักการคิดของหลวงปู่ดูลย์ครับ


    หลวงปู่ฝากไว้ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    <!--MsgIDBody=0-->จากหนังสือ หลวงปู่ฝากไว้ บันทึกคติธรรมและธรรมเทศนา ของ พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ โดย พระโพธินันทมุนี (พระมหาสมศักดิ์ ปณฺฑิโต) 23 ต.ค. 2541

    เรื่อง ทิ้งเสีย

    สุภาพสตรีท่านหนึ่ง เป็นชนชั้นครูบาอาจารย์เมื่อฟังธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่จบแล้ว ก็อยากทราบถึงวิธีไว้ทุกข์ที่ถูกต้องตามธรรมเนียม

    เขาจึงพูดปรารภต่อไปอีกว่า คนสมัยนี้ไว้ทุกข์ไม่ค่อยจะถูกต้องและตรงกัน ทั้งๆที่สมัย ร.6 ท่านทำไว้เป็นแบบอย่างดีแล้ว เช่น เมื่อญาติพี่น้องหรือญาติผู้ใหญ่ถึงแก่กรรมลง ก็ให้ไว้ทุกข์ 7 วันบ้าง 50 วันบ้าง 100 วันบ้าง

    แต่ปรากฏว่าคนทุกวันนี้ ทำอะไรรู้สึกว่าลักหลั่นกันไม่เป็นระเบียบ

    ดิฉันจึงขอเรียนถามหลวงปู่ว่า

    การไว้ทุกข์ที่ถูกต้องนั้น ควรไว้อย่างไรเจ้าคะ

    หลวงปู่บอกว่า

     

แชร์หน้านี้

Loading...