พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    (evil)เกือบลงแดง ตื่นมาเข้าเน็ทแต่เช้า เน็ทเสียโทรไปถามเพื่อนที่องค์การถึงรู้ สายเคเบิ้ลถูกเผาทำลายซะหลายจุด ดีนะนี่ที่องค์การซ่อมเร็ว เฮ้อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2008
  2. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    สมัครครับ
    (ping-love
     
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เห็นด้วยครับ ผมขอเสนอชื่อ"ชมรมพระแก้ววังหน้า และวังหลวง"
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ผมมีความคิดว่าจะตั้งเป็นชมรม โดยใช้ชื่อชมรมว่า "ชมรมพระวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้ว" ผมจะไปขอให้ท่านอาจารย์ประถม และพี่ใหญ่ เป็นประธานที่ปรึกษา ส่วนประธานชมรม, เลขาธิการชมรม และส่วนอื่นๆ ไว้มาคุยกันอีกรอบ เรื่องของประธานชมรมนั้น ผมมีแนวคิดว่า จะให้คุณ นายสติ เป็นประธานชมรม เนื่องจากคุณ นายสติ เป็นผู้ที่รอบรู้ในเรื่องต่างๆเป็นอย่างดี จุดประสงค์เพื่อที่จะสืบสานและถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆที่มีอยู่ให้ออกไปสู่ผู้ที่สนใจ จะได้ไม่เดินหลงทิศหลงทางกัน เห็นเป็นอย่างไรกันบ้างครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ท่านอื่นๆ เสนอชื่อกันมาได้นะครับ จะได้รวบรวมไปปรึกษาปู่และพี่ใหญ่อีกครั้ง ขอบคุณครับ

    .
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    สงสัยต้องมีพระเครื่อง ๒๔๐๘ กระตุ้นต่อมความอยากร่วมกิจกรรมกันนะครับคุณหนุ่ม
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ผมมีความคิดว่าจะตั้งเป็นชมรม โดยใช้ชื่อชมรมว่า "ชมรมพระวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้ว" ผมจะไปขอให้ท่านอาจารย์ประถม และพี่ใหญ่ เป็นประธานที่ปรึกษา ส่วนประธานชมรม, เลขาธิการชมรม และส่วนอื่นๆ ไว้มาคุยกันอีกรอบ เรื่องของประธานชมรมนั้น ผมมีแนวคิดว่า จะให้คุณ นายสติ เป็นประธานชมรม เนื่องจากคุณ นายสติ เป็นผู้ที่รอบรู้ในเรื่องต่างๆเป็นอย่างดี จุดประสงค์เพื่อที่จะสืบสานและถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆที่มีอยู่ให้ออกไปสู่ผู้ที่สนใจ จะได้ไม่เดินหลงทิศหลงทางกัน เห็นเป็นอย่างไรกันบ้างครับ

    .

    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ท่านอื่นๆ เสนอชื่อกันมาได้นะครับ จะได้รวบรวมไปปรึกษาปู่และพี่ใหญ่อีกครั้ง ขอบคุณครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมว่า ให้เป็นความสมัครใจ ด้วยใจศรัทธาดีกว่า ถ้านำพระมาเป็นสิ่งจูงใจ วันไหนไม่มีพระให้ ก็จะหมดความศรัทธาครับ

    เข้าใจบอกนะครับคุณเพชร กระตุ้นกันอีกแล้วเนี่ย (evil)

    ผมคิดว่า ถ้ามีน้อยก็ยังจะตั้งขึ้น แต่ว่า สิ่งที่ค้นคว้ามาคงเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มดีกว่า ถ้าไม่มีใจศรัทธา ไม่มีเจตนาและอุดมการณ์ที่เข้มแข็งจริงๆ ไม่มีความตั้งใจมากๆแล้ว ผมกลัวจะไม่ไปถึงจุดที่มุ่งหวังไว้ คือต้องการให้ผู้ที่สนใจ(จริงๆ) ได้เข้ามาศึกษากันอย่างจริงๆ ไม่ใช่เหมือนไม้หลักปักเลน แล้วแต่คลื่นกระแสลม กระแสน้ำจะพัดพาไปครับ

    (f) (f) (f) (f) (f)

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมกลับเห็นตรงข้ามกับคุณหนุ่มครับ ผมเห็นว่า การมอบพระเครื่องวังหน้าให้กับกิจกรรมการตั้งชื่อชมรม หรือกลุ่มของคนรักพระกรุนี้ รักหลวงปู่ รักอาจารย์ปู่นี้ไม่ได้มีเจตนาให้เพื่อนๆเกิดกิเลสจากกิจกรรมครั้งนี้ เพียงแต่ให้เป็นทีระลึกของการร่วมกิจกรรมกัน ว่าครั้งหนึ่งเราเคยร่วมกิจกรรมก่อตั้งชมรมกัน ให้ระลึกกันได้เท่านั้น ผมเชื่อว่า ถึงไม่มีพระเครื่องเขาก็ตั้งกันอยู่แล้วนะ.. อย่างไรก็แล้วแต่ความเห็นคุณหนุ่ม และกรรมการตัดสินชื่อละกันครับ..

    เห็นพระ นึกถึงบุญที่เคยร่วมกันมา (ผลไปหาเหตุ)
    เห็นถึงบุญที่ได้รับ จึงทำบุญ (เหตุไปหาผล)
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มาต่อกันเรื่องพระไตรปิฎกครับ

    ปาราชิกกัณฑ์
    ปฐมปาราชิกสิกขาบท<SMALL> [ว่าด้วย เมถุนธรรม]</SMALL>
    เรื่องพระสุทินน์
    สุทินน์กลันทบุตรออกบวช
    พระปฐมบัญญัติ
    พระอนุบัญญัติ ๑ เรื่องลิงตัวเมีย
    พระอนุบัญญัติ ๒ เรื่องภิกษุวัชชีบุตร
    สิกขาบทวิภังค์
    ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน [๑๖๐ บท]</SMALL>
    ลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน [๗๘ บท]</SMALL>
    ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน

    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=666&Z=670



    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑</CENTER>ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:


    <CENTER>พระปฐมบัญญัติ
    </CENTER>๑. ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
    ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.


    <CENTER>สุทินนภาณวาร จบ
    </CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๖๖๖ - ๖๗๐. หน้าที่ ๒๗.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=666&Z=670&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_1


    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=671&Z=750

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค


    <CENTER>เรื่องลิงตัวเมีย
    </CENTER>[๒๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเอาเหยื่อล่อลิงตัวเมียในป่ามหาวัน เขตพระนคร
    เวสาลี แล้วเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนั้นเสมอ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุนั้นครองอันตรวาสกแล้ว
    ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครเวสาลี
    ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเที่ยวจาริกตามเสนาสนะ เดินผ่านเข้าไปทางที่อยู่ของภิกษุนั้น
    ลิงตัวเมียนั้นแลเห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังเดินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น
    ยกสะเอวบ้าง โก่งหางบ้าง แอ่นตะโพกบ้าง ทำนิมิตบ้าง เบื้องหน้าภิกษุเหล่านั้น จึงภิกษุ
    เหล่านั้นสันนิษฐานว่า ภิกษุเจ้าของถิ่นเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้แน่ ไม่ต้องสงสัย แล้วแฝง
    อยู่ ณ ที่กำบังแห่งหนึ่ง.
    เมื่อภิกษุเจ้าของถิ่นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครเวสาลี ถือบิณฑบาตกลับมาแล้ว ลิงตัวเมีย
    นั้นได้เข้าไปหา ครั้นภิกษุเจ้าของถิ่นฉันบิณฑบาตนั้นส่วนหนึ่งแล้ว ได้ให้แก่มันส่วนหนึ่ง
    เมื่อมันกินอาหารส่วนนั้นแล้วได้แอ่นตะโพกให้ จึงภิกษุนั้นเสพเมถุนธรรมในมัน.
    ทันใด ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า อาวุโส พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
    ไว้แล้วมิใช่หรือ เหตุไร คุณจึงได้เสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้เล่า?
    จริงขอรับ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว ภิกษุนั้นสารภาพแล้วค้านว่า
    แต่พระบัญญัตินั้นเฉพาะหญิงมนุษย์ ไม่เกี่ยวถึงสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.
    อาวุโส พระบัญญัตินั้น ย่อมเป็นเหมือนกันทั้งนั้นมิใช่หรือ? การกระทำของคุณนั่น
    ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ คุณไม่บวชในพระธรรม
    วินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์
    บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า.
    อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด
    ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่
    เพื่อมีความถือมั่นมิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว เพื่อคลายความ
    กำหนัด คุณยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยังจักคิดเพื่อความ
    ประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.
    อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่ง
    ราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่ง
    อาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา
    เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ มิใช่หรือ?
    อาวุโส การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม การ
    เพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม พระผู้มีพระภาคตรัสบอก
    ไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ?
    อาวุโส การกระทำของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
    หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของคุณนั่น เป็นไปเพื่อ
    ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส
    แล้ว.
    ภิกษุเหล่านั้น ติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่
    พระผู้มีพระภาค.


    <CENTER>ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติอนุบัญญัติ ๑
    </CENTER>[๒๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น
    ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรม
    ในลิงตัวเมีย จริงหรือ?
    จริง พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุนั้นทูลสารภาพ?
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ
    ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ เธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉน
    จึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า.
    ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่
    เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมี
    ความถือมั่นมิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้วเพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อ
    มีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความ
    ไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.
    ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อ
    เป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย
    เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่
    ดับแห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ มิใช่หรือ?
    ดูกรโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม
    การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดย
    อเนกปริยาย มิใช่หรือ?
    ดูกรโมฆบุรุษ องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้าย ยังดีกว่า อันองค์
    กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงูเห่า
    ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่สอดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอด
    เข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชน ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย
    ไม่ดีเลย.
    ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร?
    เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือความ
    ทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่
    แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้า
    ในองค์กำเนิดของลิงตัวเมียนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
    นรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ.
    ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้นมีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่อง
    ของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่
    อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
    เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว... <SUP>๑-</SUP> ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอ
    พึงยกสิขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-


    <CENTER>พระอนุบัญญัติ ๑
    </CENTER>๑. อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็น
    ปาราชิก หาสังวาสมิได้.
    ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการ
    ฉะนี้.


    <CENTER>เรื่องลิงตัวเมีย <SUP>๒-</SUP> จบ.
    </CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๖๗๑ - ๗๕๐. หน้าที่ ๒๗ - ๓๐.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=671&Z=750&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=751&Z=781


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑</CENTER>

    <CENTER>เรื่องภิกษุวัชชีบุตร
    </CENTER>[๒๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลีหลายรูป ฉันอาหารพอแก่
    ความต้องการ จำวัดพอแก่ความต้องการ สรงน้ำพอแก่ความต้องการ ครั้นแล้วทำในใจ
    โดยไม่แยบคาย ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง ได้เสพเมถุนธรรม สมัยอื่น
    วัชชีบุตรพวกนั้น ถูกความพินาศแห่งญาติกระทบแล้วบ้าง ถูกความวอดวายแห่งโภคะพะพาน
    แล้วบ้าง ถูกความเสื่อมคือโรคเบียดเบียนแล้วบ้าง จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วกล่าว
    อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ เจ้าข้า พวกกระผมไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นคน
    ติเตียนพระธรรม ไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระสงฆ์ พวกกระผมเป็นคนติเตียนตน ไม่ใช่เป็นคน
    ติเตียนคนอื่น พวกกระผมซึ่งบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไม่
    สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตนั้นแหละ เป็นคนไม่มีวาสนา เป็น
    คนมีบุญน้อย ท่านพระอานนท์เจ้าข้า แม้บัดนี้ ถ้าพวกกระผมพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท
    ในสำนักพระผู้มีพระภาค แม้บัดนี้พวกกระผมจะพึงเป็นผู้เห็นแจ้งซึ่งกุศลธรรม หมั่นประกอบ
    ความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรมอยู่ตลอดเบื้องต้นแห่งราตรีและเบื้องปลายแห่งราตรี ท่าน
    <SMALL>@๑ ต้องการพิสดารพึงดูหน้า ๓๑ บรรทัดที่ ๒๔ ๒ โดยมากปรากฏว่า มักกฏีสิกขาบท</SMALL>
    พระอานนท์เจ้าข้า พวกกระผมขอโอกาส ขอท่านได้โปรดกรุณากราบทูลความข้อนี้ แด่พระผู้มี
    พระภาค.
    ได้ จ้ะ ท่านพระอานนท์รับคำของพวกวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลี แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มี
    พระภาค กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่บัญญัติ
    แล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกวัชชีหรือพวกวัชชีบุตรนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.


    <CENTER>ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ ๒
    </CENTER>[๒๔] ครั้งนั้นพระองค์ทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุ
    แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลเป็นภิกษุ ไม่บอกคืน
    สิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้ว สงฆ์ไม่พึงอุปสมบทให้
    ส่วนผู้ใดแล เป็นภิกษุ บอกคืนสิกขา ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม
    ผู้นั้นมาแล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
    อย่างนี้ ว่าดังนี้:-


    <CENTER>พระอนุบัญญัติ ๒
    </CENTER>๑. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาบทและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่
    บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์
    ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาส มิได้.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๗๕๑ - ๗๘๑. หน้าที่ ๓๐ - ๓๑.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=751&Z=781&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=803&Z=1074

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑


    <CENTER>ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน [๑๖๐ บท]
    </CENTER>[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การกระทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน
    บอกคืน เป็นอย่างไร?


    <CENTER>กล่าวบอกคืนด้วยคำรำพึงว่าไฉนหนอ [๑๔ บท]
    </CENTER>๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนา
    ความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็น
    สาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร
    ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
    ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน
    ๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
    ๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
    ๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
    ๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
    ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำรำพึงว่า ไฉนหนอ [๘ บท]
    </CENTER>๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็น
    สมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
    ๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
    ๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
    ๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
    ๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
    ๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
    ๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้
    อย่างนี้ก็เชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>กล่าวว่าบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า ก็ถ้าว่า [๑๔ บท]
    </CENTER>๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
    ๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
    ๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
    ๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
    ๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
    ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า ก็ถ้าว่า [๘ บท]
    </CENTER>๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
    ๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
    ๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
    ๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
    ๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
    ๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
    ๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
    ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า หากว่า [๑๔ บท]
    </CENTER>๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความ
    เป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระ-
    *พุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็น
    อันบอกคืน.
    ๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
    ๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
    ๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
    ๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
    ๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
    ๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
    ๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิหาริก ...
    ๑๑. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
    ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า หากว่า [๘ บท]
    </CENTER>๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
    ๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
    ๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
    ๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
    ๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
    ๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
    ๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
    ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า ผิว่า [๑๔ บท]
    </CENTER>๑. อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความ
    เป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน
    บอกคืน.
    ๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
    ๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
    ๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
    ๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
    ๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็
    ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาบทไม่เป็นอันบอกคืน.

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v....1&A=803&Z=1074


    <CENTER>กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า ผิว่า [๘ บท]
    </CENTER> ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
    ๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
    ๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
    ๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
    ๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
    ๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
    ๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็
    ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

    <CENTER>กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า มีความดำริ [๑๔ บท]
    </CENTER> ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอก
    คืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่
    เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
    ๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
    ๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
    ๕. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
    ๖. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
    ๗. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
    ๘. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่าง
    นี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

    <CENTER>กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า มีความดำริว่า [๘ บท]
    </CENTER> ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินยอม ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    สมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็น
    คฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน
    บอกคืน
    ๒. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
    ๓. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
    ๔. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
    ๕. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
    ๖. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
    ๗. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
    ๘. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

    <CENTER>อ้างวัตถุที่รำลึก [๑๗ บท]
    </CENTER> ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบิดา ...
    ๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่ชายน้องชาย ...
    ๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่หญิงน้องหญิง ...
    ๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบุตร ...
    ๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงธิดา ...
    ๗. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงภริยา ...
    ๘. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่ญาติ ...
    ๙. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่มิตร ...
    ๑๐. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบ้าน ...
    ๑๑. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนิคม ...
    ๑๒. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนา ...
    ๑๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงสวน ...
    ๑๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงเงิน ...
    ๑๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงทอง ...
    ๑๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงศิลปะ ...
    ๑๗. ... ข้าพเจ้าหวนรำลึกถึงการหัวเราะ การเจรจา การเล่นในครั้งก่อน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

    <CENTER>แสดงความห่วงใย [๙ บท]
    </CENTER> ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็น
    สมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา-
    *ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดู
    ท่าน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขา ไม่เป็นอัน
    บอกคืน.
    ๒. ... บิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูท่าน ...
    ๓. ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
    ๔. ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
    ๕. ... บุตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
    ๖. ... ธิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
    ๗. ... ภริยาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
    ๘. ... หมู่ญาติของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
    ๙. ... หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า
    การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

    <CENTER>อ้างที่อยู่ที่อาศัย [๑๖ บท]
    </CENTER> ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามี ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... บิดาของข้าพเจ้ามี ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
    ๓. ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
    ๔. ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
    ๕. ... บุตรของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
    ๖. ... ธิดาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
    ๗. ... ภริยาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
    ๘. ... หมู่ญาติของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
    ๙. ... หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
    ๑๐. ... บ้านของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยบ้านนั้น ...
    ๑๑. ... นิคมของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนิคมนั้น ...
    ๑๒. ... นาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนานั้น ...
    ๑๓. ... สวนของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยสวนนั้น ...
    ๑๔. ... เงินของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยเงินนั้น ...
    ๑๕. ... ทองของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยทองนั้น ...
    ๑๖. ... ศิลปะของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยศิลปะนั้น ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

    <CENTER>อ้างว่าพรหมจรรย์ทำได้ยาก [๘ บท]
    </CENTER> ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า พรหมจรรย์ทำได้ยาก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... พรหมจรรย์ทำไม่ได้ง่าย ...
    ๓. ... พรหมจรรย์ประพฤติได้ยาก ...
    ๔. ... พรหมจรรย์ประพฤติไม่ได้ง่าย ...
    ๕. ... ข้าพเจ้าไม่อาจ ...
    ๖. ... ข้าพเจ้าไม่สามารถ ...
    ๗. ... ข้าพเจ้าไม่ยินดี ...
    ๘. ... ข้าพเจ้าไม่ยินดียิ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพล
    ให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

    <CENTER>รวมลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน ๑๖๐ บท
    </CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๘๐๓ - ๑๐๗๔. หน้าที่ ๓๒ - ๔๒.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=803&Z=1074&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com


    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=1075&Z=1199


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑</CENTER>

    <CENTER>ลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน [๗๘ บท]

    </CENTER><CENTER>กล่าวบอกคืนด้วยคำเป็นปัจจุบัน [๑๔ บท]
    </CENTER>[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน
    เป็นอย่างไร?
    ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม ...
    ๓. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา ...
    ๕. ... ข้าพเจ้าบอกคืนวินัย ...
    ๖. ... ข้าพเจ้าบอกคืนปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศ ...
    ๘. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำ
    ความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำเป็นปัจจุบัน [๘ บท]
    </CENTER>๑. อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้
    มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก ...
    ๓. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอารามิก ...
    ๔. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสามเณร ...
    ๕. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นเดียรถีย์ ...
    ๖. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
    ๗. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
    ๘. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>กล่าวบอกคืนด้วยคำเป็นปัจจุบันว่าไม่เกี่ยวข้อง [๑๔ บท]
    </CENTER>๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระพุทธเจ้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระธรรม ...
    ๓. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยสิกขา ...
    ๕. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยวินัย ...
    ๖. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยอุเทศ ...
    ๘. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า
    การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>กล่าวบอกคืนด้วยคำว่าจะต้องการอะไร [๑๔ บท]
    </CENTER>๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระพุทธเจ้า.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระธรรม ...
    ๓. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยสิกขา ...
    ๕. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยวินัย ...
    ๖. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยอุเทศ ...
    ๘. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็
    ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>กล่าวบอกคืนด้วยคำว่า ไม่ต้องการ [๑๔ บท]
    </CENTER>๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
    ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระพุทธเจ้า.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระธรรม ...
    ๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยสิกขา ...
    ๕. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยวินัย ...
    ๖. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยอุเทศ ...
    ๘. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสิทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า
    การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>กล่าวบอกคืนด้วยคำว่า พ้นดีแล้ว [๑๔ บท]
    </CENTER>๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
    เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
    ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
    เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้
    มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้า
    พ้นดีแล้วจากพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง
    และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระธรรม ...
    ๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากสิกขา ...
    ๕. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากวินัย ...
    ๖. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากอุเทศ ...
    ๘. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า
    การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.


    <CENTER>รวมลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน ๗๘ บท
    </CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๐๗๕ - ๑๑๙๙. หน้าที่ ๔๓ - ๔๗.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=1075&Z=1199&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.co

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=1200&Z=1253



    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑</CENTER>


    <CENTER>ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น
    </CENTER>ก็อีกอย่างหนึ่ง ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าก็ดี ไวพจน์แห่งพระธรรมก็ดี ไวพจน์แห่ง
    พระสงฆ์ก็ดี ไวพจน์แห่งสิกขาก็ดี ไวพจน์แห่งวินัยก็ดี ไวพจน์แห่งปาติโมกข์ก็ดี ไวพจน์แห่ง
    อุเทศก็ดี ไวพจน์แห่งพระอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระอาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระสัทธิวิหาริก
    ก็ดี ไวพจน์แห่งพระอันเตวาสิกก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วม
    อาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระเพื่อนพรหมจารีก็ดี ไวพจน์แห่งคฤหัสถ์ก็ดี ไวพจน์แห่งอุบาสกก็ดี
    ไวพจน์แห่งอารามิกก็ดี ไวพจน์แห่งสามเณรก็ดี ไวพจน์แห่งเดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งสาวก-
    *เดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่สมณะก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตรก็ดี
    แม้อย่างอื่นใด มีอยู่ ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นลักษณะ
    เป็นนิมิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็น
    อันบอกคืน.



    <CENTER>ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน
    </CENTER>[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาไม่เป็นอันบอกคืนเป็นอย่างไร?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ย่อมเป็นอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ บอกคืนด้วยไวพจน์เหล่าใด
    อันเป็นอาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต ภิกษุวิกลจริต บอกคืนสิกขาด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็น
    อาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน.
    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักภิกษุวิกลจริต สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน บอกคืนสิกขา สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสำนักภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา บอกคืนสิกขา สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสำนักภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา สิกขาย่อมไม่เป็นอัน
    บอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
    สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
    สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
    สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
    สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่น สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวพลาด สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุไม่ประสงค์จะประกาศ แต่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุประสงค์จะประกาศ แต่ไม่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุประกาศแก่ผู้ไม่เข้าใจความ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุไม่ประกาศแก่ผู้เข้าใจความ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ก็หรือภิกษุไม่ประกาศโดยประการทั้งปวง สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืนด้วยเหตุอย่างนี้แล.



    <CENTER>สิกขาบทวิภังค์
    </CENTER>[๓๓] ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษ ประเพณีของชาวบ้าน
    มรรยาทของคนชั้นต่ำ ธรรมอันชั่วหยาบ ธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธรรมอันคน
    เป็นคู่ๆ พึงประพฤติร่วมกัน นี้ชื่อว่า เมถุนธรรม.
    [๓๔] ที่ชื่อว่า เสพ ความว่า ภิกษุใดสอดนิมิตเข้าไปทางนิมิต สอดองค์กำเนิดเข้า
    ไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดแม้ชั่วเมล็ดงา ภิกษุนั้นชื่อว่า เสพ.
    [๓๕] คำว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ความว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้
    ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร จะกล่าวไปไยในหญิงมนุษย์
    เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.
    [๓๖] คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า บุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจมีสรีระคุมกันนั้นเป็น
    อยู่ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อ
    สายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
    [๓๗] บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน
    อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุ
    นั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๒๐๐ - ๑๒๕๓. หน้าที่ ๔๗ - ๔๙.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=1200&Z=1253&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com

    <MARQUEE scrollAmount=2 scrollDelay=58 width=495 bgColor=#00ffff height=43 msambientcpg="874">ไว้มาต่อครับ</MARQUEE><O:p

    <MARQUEE scrollAmount=2 scrollDelay=58 width=495 bgColor=#00ffff height=43 msambientcpg="874">มหาโมทนาสาธุครับ</MARQUEE>
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2008
  15. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ส่วนผมเองนั้นเพิ่งมาไม่นาน ความรู้ก็ยังไม่ค่อยมี จึงมิกล้าออกความเห็นครับ จึงร่วมในส่วนที่ทำได้คือตั้งชมรมก็อยากสมัครเข้าร่วมครับ(ping)
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นำมาให้อ่านกันคลายเครียดครับ

    ที่มา Fwd Mail ครับ

    ความผูกพันธ์ทางจิตของคุณ


    แบบทดสอบพลังจิตชิ้นนี้แปลและเรียบเรียงใหม่ มาจากอเมริกา ให้เพื่อนๆลองทดสอบพลังจิตของตัวเองกันดูนะ

    1.มีปาท่องโก๋1คู่ ปาท่องโก๋คุ่นี้วางอยู่ที่ไหน?

    a.ร้ายขายกาแฟ
    b.โรงอาหารโรงเรียน
    c.บ้าน
    d.โรงแรม

    2.มีตะเกียบ1คู่ ตะเกียบคู่นี้กำลังถูกใช้คีบอะไร?

    a.ลูกชิ้น
    b.ผัก
    c.ปลาทอด
    d.เส้นก๋วยเตี๋ยว

    3.ใครกำลังกินขนมครก?

    a.นักเรียน
    b.แม่บ้าน
    c.นักธุรกิจ
    d.ศิลปิน

    4.มีช้อนส้อม1คู่ ใครในครอบครัวคือเจ้าของช้อนส้อมคู่นี้?

    a.ลูกชาย
    b.ลูกสาว
    c.พ่อ
    d.แม่

    5.คุณซื้อรองเท้ามา1คู่ รองเท้าคู่นี้ถูกซื้อมาจากที่ไหน?

    a.ตลาดนัด
    b.ริมทางเท้า
    c.ร้ายขายรองเท้าโดยตรง
    d.ห้างสรรสินค้า

    6.นักเรียนกำลังใช้ยางลบลบรอยดินสอที่เขียนในสมุดวิชาใด?

    a.คณิตศาสตร์
    b.ภาษาไทย
    c.สังคมศึกษา
    d.ศิลปศึกษา

    7.มีสามี-ภรรยา1คู่ สามี-ภรรยาคู่นี้แต่งงานกันมาแล้วกี่ปี?

    a.15 ปี
    b.18 ปี
    c.22 ปี
    d.25 ปี

    8.นกที่กำลังโผบินในท้องฟ้า กำลังบินไปทิศใด?

    a.เหนือ
    b.ใต้
    c.ตะวันออก
    d.ตะวันตก





    ----------------------------------
    สรุปคะแนน
    ข้อ1 a=10/b=5/c=1/d=0
    ข้อ2 a=10/b=1/c=5/d=5
    ข้อ3a=5/b=5/c=1/d=10
    ข้อ4 a=10/b=5/c=5/d=1
    ข้อ5 a=5/b=5/c=1/d=10
    ข้อ6 a=0/b=5/c=10/d=5
    ข้อ7 a=1/b=1/c=10/d=5
    ข้อ8 a=5/b=5/c=10/d=1


    -------------------------------------




    การแบ่งกลุ่ม
    60-80 คะแนน = กลุ่ม A
    45-59 คะแนน = กลุ่ม B
    20-44 คะแนน = กลุ่ม C
    19 หรือต่ำกว่า = กลุ่ม D

    ------------------------------------------



    มาดูกันดีกว่าว่า เพื่อนๆอยู่กลุ่มไหนกันบ้าง





    กลุ่ม A
    พลังจิตที่ทำให้คุณผูกพันกับคนง่ายแต่ไม่นาน...
    พลังจิตที่มีอยู่ในตัวคุณช่วยเสริมให้คุณเป็นคนที่ช่างผูกพันกับผู้คนได้ง่ายเสียเหลือเกิน แค่รู้จักพูดคุย คลุกคลีใกล้ชิดแม้เวลาจะไม่นานนักคุณก้อจะรู้สึกคุ้นเคยผูกพันกับคนๆนั้น
    อยากเป็นเพื่อนที่สนิมมากกว่านี้รู้สึกดีงามกับเขา ทั้งๆที่เขาอาจรู้สึกเฉยๆกับคุณแต่ความผูกพันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้กลับไม่อยู่นานนักคุณก้อลืมความผูกพันนั้นไปซึ่งไม่ใช่นิสัยที่ไม่ดีแต่อย่างใดเพราะเท่ากับว่ามันช่วยทำให้คุณไม่ต้องรู้สึกผูกพันกับคนที่ไม่จริงใจกับคุณ


    กลุ่ม B
    พลังจิตดึงดูดให้คนผูกพันกับคุณ พลังจิตที่มีอยู่ในตัวคุณช่วยดึงดูดคนให้เกิดความผูกพันกับคุณจนคุณรู้สึกแปลกใจอยู่บ่อยๆแม้ว่าคุณจะรู้จักกับคนนั้นๆไม่นานเขาก้อจะแสดงให้เห็นถึงความผูกพันที่มีต่อคุณโดยคุณอาจจะยังไม่รู้สึกผูกพันอะไรมากนัก รวมไปถึงเพื่อนใกล้ตัวหรือคนรักที่เมื่อคบกันเขาก้อจะมีความผูกพันกับคุณซึ่งถือว่าเป็นโชคดีของคุณเลยทีเดียวที่ใครๆก้อมอบความรู้สึกดีๆที่เรียกว่า "ความผูกพัน" นั้นให้คุณ


    กลุ่ม C
    พลังจิตทำให้คุณผูกพันกับคนนานพลังจิตที่มีอยู่ในตัวคุณช่วยเสริมให้เมื่อคุณผูกพันกับใครแล้วก็จะมีความผูกพันที่ยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นความผูกพันของเพื่อนเช่นแม้จะเป็นเพื่อนเก่าที่จากกันแต่คุณก้อยังรู้สึกผูกพันจะติดต่อเพื่อสานความสัมพันธ์นั้นไว้ไม่ให้จางหาย หรือแม้จะเป็นเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันตั้งหลายปี แต่คุณก้อรำลึกถึงเขาเสมอ หากคุณกลับมาเจอกันความผูกพันนั้นก้อไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม


    กลุ่ม D
    พลังจิตทำให้คุณผูกพันกับคนยาก พลังจิตที่มีอยู่ในตัวคุณทำให้คุณไม่ค่อยจะรู้สึกผูกพันกับใครๆง่ายนักแต่ไม่ใช่ว่าคุณจะไม่ผูกพันกับใครเลยหากว่าระยะเวลาในการคบกันยาวนานและได้ทำกิจกรรมหลายอย่างและมีประสบการณ์ร่วมกันคุณก้อจะผูกพันกับเขาได้ และคุณก้อเลือกที่จะผูกพันมากเฉพาะกับบางคนเช่นถ้าเพื่อนในกลุ่มมี 6 คน คุณอาจจะสนิทกับทุกคนก้อจริงแต่คุณจะผูกพันเป็นพิเศษกับเพื่อนบางคนเท่านั้น ใครที่คุณผูกพันด้วยจึงถือว่าโชคดีเหลือเกิน........


    เป็นไง=
     
  17. bcbig_beam

    bcbig_beam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +3,246
    ขอสมัครเข้าชมรมด้วยคนครับ
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา Fwd Mail ครับ

    ปริญญาวิชาชีพกับปริญญาชีวิต

    อยากให้ทุกคนได้อ่านบทความดีๆ เสี้ยวหนึ่งจาก ท่าน ว.วชิรเมธี

    ที่เมืองไทยปีที่แล้วมีข่าวเกรียวกราวมากคือมีดาราคนหนึ่งซึ่งมีชื่อดังมากเป็นคนดำเนินรายการคนค้นคนดร.อภิวัฒน์ วัฒนางกูร นะมาเรียนที่อเมริกาเป็นคนเพอร์เฟคชั่นนิส

    ทำงานทุกอย่างต้องดูดีที่สุดแม้กระทั้งล้างจานล้างเสร็จแล้วแกต้องเอามาดมดูว่าสะอาดจริงมั้ย

    กลับไปเมืองไทยก็ไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมีแฟนก็จีบดาวมหาวิทยาลัยเลยต้องให้ดีที่สุดเวลาแกไปเสนองานอะไรต่าง ๆเขียนไว้สามแผน

    แผนที่หนึ่งลูกค้าไม่ซื้อ
    แกเสนอแผนที่สอง

    แผนที่สองลูกค้าไม่ซื้อแกเสนอแผนที่สาม

    ใครไปดีลงานกับแกติดทุกราย

    แกมีบ้าน มีรถ มีลูก มีภรรยา

    มีธุรกิจ

    มีชื่อเสียงทุกอย่าง

    แกมีทุกอย่าง

    วันหนึ่งแกพักผ่อนหลังจากที่ทำงานแบบไม่ได้พักเลย

    ลุกเมียไปขอพบบอกไปเจอพ่อที่ออฟฟิตวันหนึ่งแกไปพักที่ปากช่องตื่นขึ้นมากลางวันล้มฟุ๊บลงไปภรรยาพาเข้าโรงบาลตรวจพบมะเร็งพอพบปุ๊บเป็นระยะสุดท้ายเลย

    จริง ๆ เค้าก็เตือนตลอด

    แต่พอไม่มีเวลาไปตรวจมันก็แก้ไม่ได้แกไปนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลแล้วก็สารภาพให้รายการคนค้นคนบันทึกชีวิตแกก่อนจะเสียชีวิต

    แกก็ไปนอนให้พ่อแม่เช็ดเนื้อเช็ดตัวแกก็บอกว่าสังเวชตัวเองมากแทนที่ลูกจะได้ดูแลพ่อแม่กลับมาเป็นว่าพ่อแม่ต้องมาดูแลลูก



    ก่อนจะเสียชีวิตแกให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์คมชัดลึกบอกว่าพ่อผมเคยบอกว่าเกิดเป็นคนต้องได้ปริญญาสองใบ


    ปริญญาใบที่หนึ่ง
    "
    ปริญญาวิชาชีพ"

    เราจะต้องทำมาหากินเป็นกินอิ่ม นอนอุ่น พูดง่าย ๆ

    ล้วงไปในกระเป๋าแล้วมีเงินใช้อยากจะนอนมีบ้านเป็นของตัวเองแค่นี้คือปริญญาวิชาชีพ


    แต่"ปริญญาวิชาชีวิต"

    ซึ่งเป็นปริญญาใบที่สองที่พ่อแกบอกไว้

    แกบอกว่าผมสอบตกโดยสิ้นเชิง
    ผมเป็นดอกเตอร์จากอเมริกาได้ปริญญาวิชาชีพ

    แต่ปริญญาวิชาชีวิตสอบตก
    เพราะอะไร
    เพราะทำงานจนป่วยตาย


    ก่อนที่จะเสียชีวิตแกได้สารภาพว่าผมได้เตรียมทุกอย่าง
    บ้าน รถมอบมันให้กับลูกและภรรยา

    แต่ในวันที่ผมมีทุกสิ่งทุกอย่าง

    ผมกลับลืมมอบหนึ่งอย่างให้กับลูกและภรรยา

    สิ่งนั้นคือสิ่งที่ผมลืมและทำให้ผมล้มเจ็บใหญ่ครั้งนี้

    สิ่งที่ว่านี้คือผมลืมมอบตัวเองเป็นของขวัญให้กับลูกและเมีย

    เพราะทำงานหนักจนกระทั่งป่วยตาย



    นี่คือปริญญาวิชาชีวิตธรรมะเราจะต้องมี

    ถ้าเราไม่มีธรรมะ

    เราจะกลายเป็นหุ่นยนต์เท่านั้นเอง

    ที่ทำงานแทบล้มประดาตายแล้วสุขภาพไม่ดี
    ดังนั้นเมื่อเราทุกคนทำงานแล้ว
    อย่าลืมชั่วโมงสุขภาพของตัวเองในแต่ละวันนะ

    แต่ละวันควรจะมีให้ดูแลตัวเอง ดูจิตดูใจตัวเอง
    ว่าเราเอ๊ะมันทุกข์มันทุกข์มากเกินไปรึเปล่า

    แบกเรื่องโน้นเรื่องนี้เกินไปหรือเปล่า
    พยายามลดลงในแต่ละวัน ๆเพื่อที่ว่าอะไรเพื่อที่ว่าเราจะได้ปริญญาสองใบในชีวิต
    หนึ่งปริญญาวิชาชีพเราทำมาหากินจนประสบความสำเร็จร่ำรวยมั่งคั่งมีเงินมีทองใช้มีบ้านอยู่แต่ต้องไม่ลืมปริญญาใบที่สองคือวิชาธรรมะสำหรับจะดูแลชีวิตให้ดำเนินอยู่ในทางสายกลางไม่ทุกข์เกินไปไม่เดือนร้อนเกินไป
    ทำอะไรให้พอดี

    พอดีอยู่ดีมีสุข

    อยากเที่ยวให้ได้เที่ยว
    อยากพักให้ได้พัก

    อยากทำบุญให้ได้ทำบุญ

    ลูกหลานมาหาก็ให้ได้มีเวลากับลูกกับหลานบ้าง
    อย่าวิ่งไปจนซ้ายสุด ขวาสุด

    และมารู้สึกตัวอีกทำจนล้มเจ็บใหญ่ไม่ดี

    เพราะอะไร
    เพราะว่าสิ่งสูงค่าทีสุดในชีวิตของเรา



    เคยมีคนไปทูลถามพระพุทธเ้จ้า
    ว่าอะไรคือสิ่งสูงค่่าที่สุด

    บางคนก็ตอบเงิน

    บางคนก็ตอบเพชร

    บางคนก็ตอบทอง

    บางคนก็ตอบอำนาจ

    บางคนก็ตอบราชบัลลังก์

    พระพุทธเจ้าบอกไม่ใช่

    สิ่งสูงค่าที่สุดในชีวิตของพวกเธอคือสุขภาพและชีวิต

    สุขภาพก็คือการที่เราไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
    คนที่สุขภาพดีดื่มน้ำธรรมดาก็อร่อยนะ

    และก็ชีวิตของเรา


     
  19. bcbig_beam

    bcbig_beam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +3,246
    เคยมีคนไปทูลถามพระพุทธเ้จ้า
    ว่าอะไรคือสิ่งสูงค่่าที่สุด
    บางคนก็ตอบเงิน
    บางคนก็ตอบเพชร
    บางคนก็ตอบทอง
    บางคนก็ตอบอำนาจ
    บางคนก็ตอบราชบัลลังก์
    พระพุทธเจ้าบอกไม่ใช่
    สิ่งสูงค่าที่สุดในชีวิตของพวกเธอคือสุขภาพและชีวิต
    สุขภาพก็คือการที่เราไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
    คนที่สุขภาพดีดื่มน้ำธรรมดาก็อร่อยนะ

    และก็ชีวิตของเรา


    จริงแท้และแน่นอนครับ
    ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
    โมทนาสาธุครับ
     
  20. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    <!-- currently active users --><TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 11 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 8 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>nongnooo, :::เพชร:::, sithiphong </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ว้าว!...วันนี้เข้ามาพบ 2ขุนศึก ผมต้องขอหลบครับ(y)
     

แชร์หน้านี้

Loading...