พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คำขวัญวันเด็กตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
    http://www.dailynews.co.th/web/html/...e=2&Template=1

    <TABLE style="WIDTH: 480px"><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD><TD vAlign=top>ทุกปีของวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ถือเป็นวันเด็กแห่งชาติ วันนี้เกร็ดความรู้เลยรวบรวมคำขวัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาฝากกัน....
    พ.ศ. 2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม
    จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
    พ.ศ. 2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
    ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
    พ.ศ. 2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
    ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
    พ.ศ. 2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
    ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
    พ.ศ. 2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
    ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
    พ.ศ. 2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
    ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
    พ.ศ. 2507
    ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
    พ.ศ. 2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
    เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
    พ.ศ. 2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
    เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
    พ.ศ. 2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
    อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
    พ.ศ. 2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
    ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
    พ.ศ. 2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
    รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
    พ.ศ. 2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
    เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
    พ.ศ. 2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
    ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
    พ.ศ. 2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
    เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
    พ.ศ. 2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
    เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
    พ.ศ. 2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์
    สามัคคีคือพลัง
    พ.ศ. 2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์
    เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
    พ.ศ. 2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
    เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
    พ.ศ. 2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
    รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
    พ.ศ. 2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
    เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
    พ.ศ. 2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
    เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
    พ.ศ. 2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
    อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
    พ.ศ. 2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
    เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
    พ.ศ. 2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
    ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
    พ.ศ. 2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
    รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
    พ.ศ. 2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
    รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
    พ.ศ. 2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
    สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
    พ.ศ. 2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
    นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    พ.ศ. 2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
    นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    พ.ศ. 2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
    นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    พ.ศ. 2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
    รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    พ.ศ. 2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
    รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    พ.ศ. 2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
    รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
    พ.ศ. 2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน
    สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
    พ.ศ. 2536 - นายชวน หลีกภัย
    ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
    พ.ศ. 2537 - นายชวน หลีกภัย
    ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
    พ.ศ. 2538 - นายชวน หลีกภัย
    สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
    พ.ศ. 2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา
    มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
    พ.ศ. 2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
    รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
    พ.ศ. 2541 - นายชวน หลีกภัย
    ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
    พ.ศ. 2542 - นายชวน หลีกภัย
    ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
    พ.ศ. 2543 - นายชวน หลีกภัย
    มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
    พ.ศ. 2544 - นายชวน หลีกภัย
    มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
    พ.ศ. 2545 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
    เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
    พ.ศ. 2546 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
    เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
    พ.ศ. 2547 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
    รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
    พ.ศ. 2548 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
    เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
    พ.ศ. 2549 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
    อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
    พ.ศ. 2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
    มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
    พ.ศ. 2551 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
    สามัคคีมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
    สุดท้ายนี้ก็ขอให้น้อง ๆ ทุกคนมีความสุขในวันเด็กปีนี้ และอย่าลืมเป็นเด็กดี ของคุณพ่อ คุณแม่ด้วย.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551 เวลา 07:52 น.
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>รูปแบบพระเมรุมาศในอดีต
    http://www.komchadluek.net/
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>11 มกราคม 2551 20:21 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] สวัสดีครับแฟนๆชาวคนรักบ้าน สำหรับผมแล้วในช่วงเวลาแห่งความทุกข์โศก จากการที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จสู่สวรรคาลัยนี้ เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ได้ เรียงร้อยหัวใจนับล้านดวงของคนไทยเข้าด้วยกันให้รู้รักสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมกันทำความดีถวายแด่พระองค์
    ถึงแม้ว่าวันที่ทรงจากไปของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เปรียบคล้ายวันมหาวิปโยคอีกวันหนึ่งของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ แต่ผมถือได้ว่าเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้ทบทวนในทุกๆ สิ่งที่เราได้กระทำมาว่า สิ่งใดควร ไม่ควร และเป็นช่วงเวลาแห่งการปรับเปลี่ยนความรู้สึก เศร้าสร้อย ให้เกิดเป็นพลังในการทำความดี ถวายแด่พระองค์ท่าน

    ในความเห็นของผมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงเป็นตัวแทนของความรัก ความเอื้ออาทร ความผูกพันในครอบครัวในทุกมิติ ที่พวกเราชาวคนรักบ้านสมควรยึดถือเป็นแบบอย่างในพระจริยวัตรอันอ่อนโยนอบอุ่น และเอื้ออาทรของพระองค์ อีกทั้งยังทรงเป็นพระพี่นางของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักและเทิดทูนของปวงชนชาวไทยถึง 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ล้นเกล้ารัชกาลที่8) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
    หากย้อนกลับไปดูภาพถ่ายเก่าๆในอดีต จะเห็นได้ว่า ยุวกษัตริย์ทั้งสองพระองค์และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เป็นสามพี่น้องที่ทรงรักใคร่ผูกพันกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และหากศึกษาประวัติศาสตร์ในด้านรัฐศาสตร์ การเมือง การเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ถึงแก่น จะเห็นได้ว่า เป็นราชวงศ์ที่ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากเป็นที่สุด ผ่านอุปสรรคนานัปการ ดังที่ทราบกันว่า สมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคตเมื่อสมเด็จย่าทรงมีพระชนมายุเพียง30 พรรษา (ในปี2472) ครานั้นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯทรงมีพระชนมายุเพียง 1 ขวบ 9 เดือน และจากการที่เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ทั้ง2 พระองค์ ได้ทรงสืบราชสมบัติสันตติวงศ์ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดฝัน ของสถานการณ์บ้านเมือง
    หากจะเข้าใจถึงวิถีการดำรงชีวิตและพระจริยวัตรของเจ้านายทั้งสามพระองค์นี้จำเป็นต้องศึกษาย้อนกลับไปถึง พระจริยวัตรของพระบรมราชชนกรวมทั้งสมเด็จพระบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าของปวงชนชาวไทย และหากต้องการศึกษาให้ถึงแก่นแท้ของพระจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ต้องศึกษาย้อนไปถึงวิถีชีวิตที่งามง่าย พอเพียงของ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเลยทีเดียว พระราชปณิธานถูกปลูกฝังอบรมถ่ายทอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก สมเด็จย่าให้มุ่งมั่นเดินตามแนวพระราชปณิธานของพระบรมราชชนกที่จะต้อง"ทำประโยชน์ให้แผ่นดิน" ดังที่ทรงมีพระนิพนธ์ตอนหนึ่งไว้ว่า"ในครอบครัวเรา ความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่ไม่ต้องคิด"
    สมเด็จย่าทรงเลี้ยงยุวกษัตริย์ทั้งสองพระองค์และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อย่างมีระเบียบ แบบแผนทรงสอนให้รู้สำนึกในหน้าที่มีวิถีชีวิตที่อยู่อย่างเรียบง่าย งามง่าย ประหยัด และพอเพียง แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงดำเนินชีวิตอย่างผ่อนคลาย สบายๆ ดังจะเห็นได้จากรูปภาพที่ทรงหยอกล้อกันระหว่างสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กับน้องๆ เวลาถูกใจ ดีใจ ก็จะหอมแก้มกันและกัน เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความอบอุ่นอ่อนโยน เอาใจใส่เอื้ออาทร ดูแลทุกข์ สุขให้แก่กันและกัน เป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน
    จะเห็นได้ชัดเจนว่าทรงเป็นกำลังสำคัญที่อยู่เบื้องหลังพระเจ้าอยู่หัวในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ อย่างเงียบเชียบ เสมอต้นเสมอปลาย นับตั้งแต่วันแรกที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จวบจนวันสุดท้ายของพระชนม์ชีพ ซึ่งไม่เป็นเพียงเสาหลักค้ำจุนให้พระเจ้าอยู่หัวเท่านั้นแต่ยังทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภาระของสมเด็จพระบรมราชชนนี ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่ยังประโยชน์สุขแก่พสกนิกรของพระองค์
    ในสัปดาห์นี้ผมขอนำเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ใน งานพระราชทานเพลิงพระศพ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ที่เรียกกันว่า "พระเมรุมาศ" ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่รังสรรค์ขึ้นบนพื้นฐานของคติความเชื่อแบบเทวนิยมอันมีรากมาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเชื่อกันว่าเจ้านายเมื่อเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว เพราะในความเชื่อแบบพราหมณ์เชื่อว่า พระองค์เปรียบดั่งสมมติเทพที่อวตารลงมาปราบทุกข์เข็ญบนโลกมนุษย์ เมื่อละสังขารแล้วก็จะเสด็จสู่สวรรคาลัยกลับคืนไปยังทิพย์พิมานที่ เทือกเขาพระสุเมรุ
    ความเชื่อในทางศาสนาพราหมณ์นั้นเขาพระสุเมรุ คือเทือกเขาหิมาลัย และที่เขาพระสุเมรุแห่งนี้บนยอดสูงสุด ก็คือ ที่ประทับของเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ คือ องค์พระศิวะ ซึ่ง รูปแบบพระเมรุมาศที่ผมนำเสนอในสัปดาห์นี้เป็น พระเมรุมาศของล้นเกล้ารัชกาลที่4 ในสมัยนั้นเริ่มมีการใช้กล้องถ่ายรูปทำให้เราได้มีโอกาสเห็นรูปพรรณสัณฐานและความยิ่งใหญ่อลังการ อีกทั้งความงดงามของพระเมรุมาศ รวมไปถึงรูปแบบ พระเมรุมาศของล้นเกล้ารัชกาลที่5 และ 6 ที่ออกแบบโดยสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนายช่างใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ส่วนรูปแบบพระเมรุมาศของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เจ้านายทรงกรมพระองค์เดียวในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 พระองค์นี้ ที่จะจัดสร้างขึ้นที่บริเวณปะรำพิธีท้องสนามหลวง จะมีหน้าตาอย่างไร ก็ติดตามกันต่อไปครับ
    ในสัปดาห์มหาวิปโยคนี้สาระน่ารู้ของคนรักบ้านก็มีแค่นี้ครับ หากว่ากันตามความจริงแล้ว การเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระองค์ท่าน ได้ทำให้คนไทยทั้งประเทศเรียนรู้ รับรู้ พระจริยวัตรอันงดงาม รวมทั้งพระกรณียกิจที่ทรงทำเพื่อพวกเรามากขึ้น อีกทั้งยังได้ใกล้ชิดพระองค์ท่านมากขึ้นและเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้ได้เกี่ยวร้อยหัวใจคนไทยนับล้านดวง เป็นผลให้คนไทยรู้รักสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากขึ้น
    มาเถอะครับพวกเราชาวคนรักบ้านมาร่วมกันถวายความจงรักภักดี ปฏิญาณตนว่าจะขอทำความดีถวายพระองค์ มาพร้อมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่งเสด็จสมมติเทพพระองค์นี้ให้เสด็จกลับไปประทับณ เขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับของเหล่าทวยเทพ ให้ทรงพระเกษมสำราญชั่วกาลนานเทอญ
    บ้านไม่บานกับอาจารย์เชี่ยว



    -->

    [​IMG]

    สวัสดีครับแฟนๆชาวคนรักบ้าน สำหรับผมแล้วในช่วงเวลาแห่งความทุกข์โศก จากการที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จสู่สวรรคาลัยนี้ เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ได้ เรียงร้อยหัวใจนับล้านดวงของคนไทยเข้าด้วยกันให้รู้รักสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมกันทำความดีถวายแด่พระองค์
    ถึงแม้ว่าวันที่ทรงจากไปของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เปรียบคล้ายวันมหาวิปโยคอีกวันหนึ่งของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ แต่ผมถือได้ว่าเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้ทบทวนในทุกๆ สิ่งที่เราได้กระทำมาว่า สิ่งใดควร ไม่ควร และเป็นช่วงเวลาแห่งการปรับเปลี่ยนความรู้สึก เศร้าสร้อย ให้เกิดเป็นพลังในการทำความดี ถวายแด่พระองค์ท่าน
    ในความเห็นของผมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงเป็นตัวแทนของความรัก ความเอื้ออาทร ความผูกพันในครอบครัวในทุกมิติ ที่พวกเราชาวคนรักบ้านสมควรยึดถือเป็นแบบอย่างในพระจริยวัตรอันอ่อนโยนอบอุ่น และเอื้ออาทรของพระองค์ อีกทั้งยังทรงเป็นพระพี่นางของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักและเทิดทูนของปวงชนชาวไทยถึง 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ล้นเกล้ารัชกาลที่8) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

    [​IMG]

    หากย้อนกลับไปดูภาพถ่ายเก่าๆในอดีต จะเห็นได้ว่า ยุวกษัตริย์ทั้งสองพระองค์และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เป็นสามพี่น้องที่ทรงรักใคร่ผูกพันกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และหากศึกษาประวัติศาสตร์ในด้านรัฐศาสตร์ การเมือง การเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ถึงแก่น จะเห็นได้ว่า เป็นราชวงศ์ที่ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากเป็นที่สุด ผ่านอุปสรรคนานัปการ ดังที่ทราบกันว่า สมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคตเมื่อสมเด็จย่าทรงมีพระชนมายุเพียง30 พรรษา (ในปี2472) ครานั้นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯทรงมีพระชนมายุเพียง 1 ขวบ 9 เดือน และจากการที่เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ทั้ง2 พระองค์ ได้ทรงสืบราชสมบัติสันตติวงศ์ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดฝัน ของสถานการณ์บ้านเมือง
    หากจะเข้าใจถึงวิถีการดำรงชีวิตและพระจริยวัตรของเจ้านายทั้งสามพระองค์นี้จำเป็นต้องศึกษาย้อนกลับไปถึง พระจริยวัตรของพระบรมราชชนกรวมทั้งสมเด็จพระบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าของปวงชนชาวไทย และหากต้องการศึกษาให้ถึงแก่นแท้ของพระจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ต้องศึกษาย้อนไปถึงวิถีชีวิตที่งามง่าย พอเพียงของ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเลยทีเดียว พระราชปณิธานถูกปลูกฝังอบรมถ่ายทอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก สมเด็จย่าให้มุ่งมั่นเดินตามแนวพระราชปณิธานของพระบรมราชชนกที่จะต้อง"ทำประโยชน์ให้แผ่นดิน" ดังที่ทรงมีพระนิพนธ์ตอนหนึ่งไว้ว่า"ในครอบครัวเรา ความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่ไม่ต้องคิด"
    สมเด็จย่าทรงเลี้ยงยุวกษัตริย์ทั้งสองพระองค์และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อย่างมีระเบียบ แบบแผนทรงสอนให้รู้สำนึกในหน้าที่มีวิถีชีวิตที่อยู่อย่างเรียบง่าย งามง่าย ประหยัด และพอเพียง แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงดำเนินชีวิตอย่างผ่อนคลาย สบายๆ ดังจะเห็นได้จากรูปภาพที่ทรงหยอกล้อกันระหว่างสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กับน้องๆ เวลาถูกใจ ดีใจ ก็จะหอมแก้มกันและกัน เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความอบอุ่นอ่อนโยน เอาใจใส่เอื้ออาทร ดูแลทุกข์ สุขให้แก่กันและกัน เป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน

    [​IMG]


    จะเห็นได้ชัดเจนว่าทรงเป็นกำลังสำคัญที่อยู่เบื้องหลังพระเจ้าอยู่หัวในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ อย่างเงียบเชียบ เสมอต้นเสมอปลาย นับตั้งแต่วันแรกที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จวบจนวันสุดท้ายของพระชนม์ชีพ ซึ่งไม่เป็นเพียงเสาหลักค้ำจุนให้พระเจ้าอยู่หัวเท่านั้นแต่ยังทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภาระของสมเด็จพระบรมราชชนนี ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่ยังประโยชน์สุขแก่พสกนิกรของพระองค์
    ในสัปดาห์นี้ผมขอนำเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ใน งานพระราชทานเพลิงพระศพ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ที่เรียกกันว่า "พระเมรุมาศ" ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่รังสรรค์ขึ้นบนพื้นฐานของคติความเชื่อแบบเทวนิยมอันมีรากมาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเชื่อกันว่าเจ้านายเมื่อเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว เพราะในความเชื่อแบบพราหมณ์เชื่อว่า พระองค์เปรียบดั่งสมมติเทพที่อวตารลงมาปราบทุกข์เข็ญบนโลกมนุษย์ เมื่อละสังขารแล้วก็จะเสด็จสู่สวรรคาลัยกลับคืนไปยังทิพย์พิมานที่ เทือกเขาพระสุเมรุ
    ความเชื่อในทางศาสนาพราหมณ์นั้นเขาพระสุเมรุ คือเทือกเขาหิมาลัย และที่เขาพระสุเมรุแห่งนี้บนยอดสูงสุด ก็คือ ที่ประทับของเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ คือ องค์พระศิวะ ซึ่ง รูปแบบพระเมรุมาศที่ผมนำเสนอในสัปดาห์นี้เป็น พระเมรุมาศของล้นเกล้ารัชกาลที่4 ในสมัยนั้นเริ่มมีการใช้กล้องถ่ายรูปทำให้เราได้มีโอกาสเห็นรูปพรรณสัณฐานและความยิ่งใหญ่อลังการ อีกทั้งความงดงามของพระเมรุมาศ รวมไปถึงรูปแบบ พระเมรุมาศของล้นเกล้ารัชกาลที่5 และ 6 ที่ออกแบบโดยสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนายช่างใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ส่วนรูปแบบพระเมรุมาศของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เจ้านายทรงกรมพระองค์เดียวในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 พระองค์นี้ ที่จะจัดสร้างขึ้นที่บริเวณปะรำพิธีท้องสนามหลวง จะมีหน้าตาอย่างไร ก็ติดตามกันต่อไปครับ

    ในสัปดาห์มหาวิปโยคนี้สาระน่ารู้ของคนรักบ้านก็มีแค่นี้ครับ หากว่ากันตามความจริงแล้ว การเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระองค์ท่าน ได้ทำให้คนไทยทั้งประเทศเรียนรู้ รับรู้ พระจริยวัตรอันงดงาม รวมทั้งพระกรณียกิจที่ทรงทำเพื่อพวกเรามากขึ้น อีกทั้งยังได้ใกล้ชิดพระองค์ท่านมากขึ้นและเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้ได้เกี่ยวร้อยหัวใจคนไทยนับล้านดวง เป็นผลให้คนไทยรู้รักสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากขึ้น มาเถอะครับพวกเราชาวคนรักบ้านมาร่วมกันถวายความจงรักภักดี ปฏิญาณตนว่าจะขอทำความดีถวายพระองค์ มาพร้อมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่งเสด็จสมมติเทพพระองค์นี้ให้เสด็จกลับไปประทับณ เขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับของเหล่าทวยเทพ ให้ทรงพระเกษมสำราญชั่วกาลนานเทอญ
    บ้านไม่บานกับอาจารย์เชี่ยว <TABLE align=center><TBODY></TBODY></TABLE>​




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    พ.ศ. 2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
    เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

    เป็นคำขวัญที่ผมคุ้นเคยและชอบที่สุดครับ
    อาจเป็นเพราะสั้นจำง่าย หรือเพราะผมอยู่ในวัยที่จะจำได้นานแล้ว(ป.4) แต่ ไม่ซินะ ทีอันหลังจากนั้นไม่เห็นชอบเลย
    คิดดูแล้ว เพราะชอบอันนี้จริงๆครับ วันเด็ก เพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี หนังสือวันเด็กผมชอบมากเลยครับเป็นวันที่รอคอยทุกปีในวัยเด็ก

    คุณน้องหนูพาเจ้าโดไปเที่ยวไหนเอ่ย(sing)
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>"เวชยันตราชรถ"
    http://www.komchadluek.net/

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>7 มกราคม 2551 18:29 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยถูกต้องตามประเพณีและสมพระเกียรติ ในฐานะทรงเป็นสมเด็จพระโสทรเชษฐภคินี ในพระมหากษัตริย์ไทยถึงสองพระองค์ ต้องมีเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศอย่างหนึ่ง คือ "ราชรถ"
    หน่วยงานที่รับผิดชอบได้เตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ คือ กรมศิลปากร โดย คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า ได้เสนอเรื่องนี้ให้รัฐบาลนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยต่อไป
    สำหรับความรู้เรื่อง "ราชรถ" กระทรวงวัฒนธรรมได้เผยแพร่ดังนี้ ในสมัยก่อนพระมหากษัตริย์จะได้รับการยกย่องให้มีฐานะเปรียบเหมือนเทพเจ้าหรือเป็นองค์สมมติเทพ ตามคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้นำประเทศที่มีอำนาจเด็ดขาด สูงสุด และมีความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้องค์ประกอบแวดล้อม เช่น ที่อยู่อาศัย สิ่งของเครื่องใช้ การแต่งกาย การดำรงชีวิต ย่อมต้องแตกต่างจากสามัญชนทั่วไป ต้องมีความเป็นพิเศษโดดเด่น เป็นรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งแสดงลักษณะหรือสัญลักษณ์ของความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ความเป็นพระมหากษัตริย์
    ดังนั้น การประดิษฐ์หรือการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ จึงมักจะมาจากคติความเชื่อในลัทธิศาสนาพราหมณ์ด้วย ที่เชื่อกันว่าเทพเจ้าสถิตอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นวิมานบนยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นใจกลางของจักรวาล เขาพระสุเมรุนี้มีเทือกเขาและมหาสมุทรล้อมรอบอยู่อีก 7 ชั้น ที่เชิงเขาเป็นที่ตั้งของป่าหิมพานต์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิดที่เรียกว่า สัตว์หิมพานต์ และบรรดานักษิทวิทยาธรผู้ทรงคุณวิเศษทั้งหลาย ซึ่งช่างศิลปะไทยโบราณก็ได้ใช้เป็นหลักในการจินตนาการ หรือการกำหนดรูปแบบของงานศิลปะไทย และราชรถ ซึ่งเป็นเครื่องใช้อย่างหนึ่งของพระมหากษัตริย์ และยังเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศอย่างหนึ่งของพระมหากษัตริย์ ก็ถูกสร้างขึ้นตามคติความเชื่อนี้เช่นกัน คือ มีบุษบกซึ่งเป็นส่วนยอดของราชรถ เปรียบเสมือนพระวิมานอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งมีขนาดสูงใหญ่อลังการ คือ ตัวราชรถ มีเทวดาและสัตว์หิมพานต์ เช่น ครุฑ และนาค ซึ่งอาศัยอยู่ที่ป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ ซึ่งช่างได้นำเรื่องราวและแนวความคิดทางศาสนามาผูกและคิดประดิษฐ์เป็นลวดลายไทย มีนาค ครุฑ และเทพพนมประดับอยู่โดยรอบราชรถ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินหรือพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงสวรรคต พระองค์ย่อมต้องเสด็จกลับไปสถิตยังสรวงสวรรค์ตามเดิม ซึ่งก็คือพระวิมานที่ประทับอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุนั่นเอง เราจึงใช้ราชรถในการอัญเชิญพระบรมศพไปสู่พระสุเมรุมาศ
    คำว่า ราชรถ เป็นคำภาษาบาลี มาจากคำว่า ราช+รถ ซึ่งหมายถึง ทางรถหรือทางเดินของพระราชาหรือพระเจ้าแผ่นดิน โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าราชรถ คือ รถศึกของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า ราชรถในวรรณคดี
    แต่ "ราชรถ" ในที่นี้จัดเป็นเครื่องประดับราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญ เป็นเครื่องราชูปโภคที่แสดงออกถึงฐานะและบทบาทอันเป็นสมมติเทพหรือเทวราชาของพระเจ้าแผ่นดิน
    หลักฐานเกี่ยวกับราชรถที่ใช้ในพระราชพิธีต่างๆ ที่เก่าที่สุดในประเทศไทย พบว่ามีขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และราชรถก็ไม่ได้ใช้สำหรับพระราชพิธีพระบรมศพเพียงอย่างเดียวเช่นในปัจจุบัน แต่ยังใช้ในการพระราชพิธีอื่นๆ อีกด้วย เช่น ใช้เสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคหรือเสด็จเลียบพระนคร และใช้เป็นราชรถทรงพระราชสาร สมัยที่กรุงศรีอยุธยามีความเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างประเทศ
    ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลที่ตราขึ้นไว้เมื่อ พ.ศ. 2002 ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งได้กล่าวถึงพระราชพิธีหนึ่งที่พระมหากษัตริย์เสด็จด้วยราชรถ คือ พระราชพิธีอินทราภิเษก ซึ่งหมายถึงพระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินทำพิธีราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่งเมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอำนาจได้มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่กว่าพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย พระราชพิธีครั้งนั้นมีกำหนด 21 วัน มีการละเล่นมหรสพ 1 เดือน ซึ่งนับว่าเป็นพระราชพิธีที่ใหญ่มาก ตอนท้ายของพระราชพิธีนี้มีว่า "ครั้นเสร็จเสด็จด้วยพระราชรถให้ทานรอบเมือง" นอกจากนี้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงใช้ราชรถเพื่อเชิญพระราชสารของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่โปรดเกล้าให้เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ เป็นราชทูต นำมาจากฝรั่งเศส เพื่อเจริญความสัมพันธ์ทางพระราชไมตรี เมื่อพุทธศักราช 2229 ซึ่งบาทหลวงเดอชัวชี ได้เขียนบันทึกบรรยายไว้ถึงวันแห่พระราชสาร เมื่อนำขึ้นเรือตอนถึงกรุงศรีอยุธยาว่า "เมื่อขึ้นฝั่งท่านราชทูตเชิญพระราชสารไปด้วย แล้วนำไปประดิษฐานไว้เหนือราชรถ เป็นมหาพิชัยฤกษ์...พอถึงพระทวารชั้นนอกขบวนก็แห่หยุด ท่านราชทูตลงจากเสลี่ยงแล้วเชิญพระราชสารจากราชรถประคองพานพระราชสารย่างเข้าไปในเขตพระราชวัง"
    ส่วนการใช้ราชรถสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่าได้ใช้ในงานพระเมรุมาศ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ไม่ปรากฏนามของราชรถ ต่อมาในตอนปลายสมัยอยุธยาได้ใช้พระมหาพิชัยราชรถ ในงานพระเมรุมาศสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเทพราชา สมเด็จพระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ตามลำดับ
    ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้กล่าวถึงพระมหาพิชัยราชรถเป็นครั้งแรก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อ พ.ศ. 2328 ว่า "เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหม กราบทูลว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อมข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหาพิไชยราชรถเรือพระที่นั่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งไกรสรมุข เรือกระบวนใหญ่น้อย และเครื่องสรรพยุทธทั้งปวง เมืองเอก โท ตรี จัดว่า ทั้งไพร่พลฝ่ายทหารแด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบพิตรพระเจ้าอยู่หัวขอเดชะ"
    จะเห็นได้ว่า "ราชรถ" ได้มีการใช้ต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ และในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คงเหลือราชรถอยู่เพียงไม่กี่หลังหรืออาจเพียงหลังเดียว และอาจมีสภาพใช้การไม่ได้ดี ดังที่ปรากฏในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกดังกล่าวมาแล้ว เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายยับเยินเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ที่เคยมีและเคยปฏิบัติครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาขึ้น จึงโปรดฯ ให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรพระราชวัง และสิ่งก่อสร้างหลายอย่างเลียนแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะราชรถ พระองค์ได้โปรดฯ ให้สร้างขึ้นใหม่อีก 7 หลัง ดังปรากฏข้อความในหนังสือพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ซึ่งได้บันทึกเหตุการณ์สำคัญๆ ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2310-2363 ได้กล่าวถึงราชรถไว้ดังนี้
    "...ปีเถาะ สัปตศก พระราชโองการรับสั่งให้ช่างทำพิชัยราชรถที่ทรงพระโกศ พระอัฐิ 7 รถ ให้ตัดเสาพระเมรุตั้งทรงประดับเครื่องให้แล้วเสร็จในปีเถาะ"
    ปัจจุบัน ราชรถทั้ง 7 หลัง เก็บรักษาและจัดแสดงไว้ในโรงราชรถ ซึ่งสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2472 ตั้งอยู่ภายในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งมีประวัติพอสังเขปดังนี้
    พระมหาพิชัยราชรถ สูง 1,120 ซม. ยาว 1,530 ซม. สร้างในรัชกาลที่ 1 ประมาณ พ.ศ. 2338 ใช้สำหรับทรงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น เคยใช้ทรงพระโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เพื่ออัญเชิญออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง พ.ศ. 2339 และต่อมาในปี พ.ศ. 2342 ได้ใช้ทรงพระโกศพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี อีกครั้งหนึ่งภายหลังใช้เป็นราชรถสำหรับทรงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และได้เคยใช้ทรงพระบรมศพ รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ซ่อมแซมใหม่ และให้เพิ่มล้อใต้ราชรถขึ้นอีก 1 ล้อ เพื่อให้รับน้ำหนักและสะดวกในการเคลื่อนย้าย ปัจจุบันกรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมให้งดงามและมั่นคงถาวร แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2530 ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 กรมศิลปากรร่วมกับกรมสรรพาวุธทหารบก ได้ดำเนินการซ่อมบูรณะ พระมหาพิชัยราชรถ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อใช้ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2539 ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง
    เวชยันตราชรถ สูง 1,170 ซม. ยาว 1,750 ซม. สร้างในรัชกาลที่ 1 ราว พ.ศ. 2342 สำหรับทรงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งทรงศักดิ์สูง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ใช้ทรงพระโกศสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์คู่พระโกศสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ซึ่งทรงพระมหาพิชัยราชรถ ออกพระเมรุท้องสนามหลวงคราวเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. 2342 และต่อมาได้ใช้แทน "พระมหาพิชัยราชรถ" เมื่อคราวงานพระบรมศพรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 8 กรมศิลปากรซ่อมแซมให้งดงามและใช้ในการอัญเชิญพระบรมศพของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2528 เมื่อซ่อมเสร็จแล้วประมาณว่า มีน้ำหนัก 40 ตัน ต้องใช้กำลังคนในการลากจูงและดึงถึง 206 คน แบ่งเป็นข้างหน้า 160 คน และข้างหลัง 46 คน และในครั้งนั้นได้ออกหมายเรียกว่า พระมหาพิชัยราชรถ ตามโบราณราชประเพณี
    ราชรถน้อย สร้างในรัชกาลที่ 1 คราวเดียวกับพระมหาพิชัยราชรถ ใช้เป็นรถสมเด็จพระสังฆราช นำพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2339
    ราชรถน้อย สร้างในรัชกาลที่ 1 คราวเดียวกับพระมหาพิชัยราชรถ ใช้เป็นรถพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประทับโยงพระบรมโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ในคราวเชิญออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2339
    ราชรถน้อย สร้างในรัชกาลที่ 1 คราวเดียวกับพระมหาพิชัยราชรถ เป็นรถพระที่นั่งของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทประทับโปรยข้าวตอกดอกไม้ ในคราวอัญเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2339
    รถโถง สำหรับทรงพระโกศพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่
    รถโถง มีหลังคาเป็นวอช่อฟ้า สำหรับทรงพระโกศพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่
    ลักษณะของราชรถ
    ดังได้กล่าวแล้วว่า ราชรถสร้างขึ้นตามคติความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเชื่อกันว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ เป็นที่สถิตของเหล่าเทพยดา เขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ล้อมรอบด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์ 7 ชั้น ดังนั้นราชรถจึงมีลักษณะสูงใหญ่ เปรียบเป็นเขาพระสุเมรุ มีพระวิมาน คือ บุษบก ตั้งอยู่ตรงกลางเหนือส่วนยอดของบัลลังก์ ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุดของราชรถ เพราะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความสง่างามแก่ราชรถ ถัดลงมาเป็นรูปเทพพนม ครุฑ และนาค ลดหลั่นกันตามที่อยู่ของตน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของท้องฟ้า พื้นดิน และน้ำ ส่วนหน้าของราชรถเป็นรูปนาค 3 เศียร ส่วนหางจะอยู่ส่วนท้ายของราชรถ วัสดุที่ใช้ทำด้วยไม้ จำหลัก ปิดทองทาสีและประดับกระจก ส่วนมากจะมีเพียง 2 ล้อ ในสมัยก่อนใช้สัตว์ เช่น ม้า เป็นพาหนะเทียมราชรถ แต่ต่อมาในสมัยหลังได้มีการซ่อมแซมใหม่ ราชรถมีขนาดใหญ่โตมาก มีน้ำหนักมาก จึงเพิ่มล้อขึ้นอีกเป็น 4 ล้อ การเคลื่อนที่ไปอย่างช้าๆ สง่างาม โดยใช้กำลังคนลาก
    สำหรับราชรถน้อย จะเป็นรูปแบบเดียวกับพระมหาพิชัยราชรถ และเวชยันตราชรถ แต่ต่างกันที่ขนาดเล็กลงมา และเศียรนาคจะเป็นนาคเศียรเดียว
    ส่วนรถโถง มีลักษณะธรรมดาไม่มีฝาปิดกั้นทั้ง 4 ด้าน มีล้อใหญ่สองล้อ หากถอดล้อออกก็จะกลายเป็นพาหนะประเภทคานหาม
    รถโถงหลังคาเป็นวอช่อฟ้า ลักษณะเช่นเดียวกับรถโถงแต่มีหลังคาคร่อมบนราชรถ ไม่มีฝาปิดกั้นทั้ง 4 ด้าน หลังคาประดับด้วยช่อฟ้า เมื่อถอดล้อออกก็จะเป็นพาหนะประเภทคานหามเช่นเดียวกัน
    เกรินบันไดนาค "เกริน" คือ อุปกรณ์ที่ใช้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพขึ้นหรือลงราชรถ และพระเมรุมาศแทนการใช้นั่งร้านไม้ต่อยกสูงแบบสมัยโบราณ ซึ่งใช้กำลังคนยกขึ้นลง และมีความยากลำบากและไม่สะดวก เกรินมีลักษณะเป็นรางเลื่อนขึ้นลงด้วยกว้านหมุน โดยมีแท่นที่วางพระโกศเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายขึ้นหรือลง ลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ขอบฐานแกะสลักลายปิดทองประดับกระจก ท้ายเกรินเป็นพื้นลดระดับลงมา ซึ่งเป็นที่สำหรับเจ้าพนักงานภูษามาลาขึ้นนั่งประคองพระโกศพระบรมศพ มีลักษณะคล้ายท้ายสำเภา ด้านข้างบุผ้าตาดทอง มีราวทั้ง 2 ข้างตกแต่งเป็นรูปพญานาค จึงเรียกว่า เกรินบันไดนาค
    เกรินบันไดนาคนี้ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีทรงคิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อ พ.ศ. 2354 ในสมัยรัชกาลที่ 2
    พระยานมาศสามลำคาน มีลักษณะเป็นคานหามขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้จำหลักลวดลายลงรักปิดทอง มีพนักโดยรอบ 3 ด้าน และมีคานหาม 3 คาน จึงเรียกว่า พระยานมาศสามลำคาน คนหามมี 2 ผลัด ผลัดละ 60 คน ใช้สำหรับอัญเชิญพระโกศพระบรมศพจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ ที่จอดเทียบรออยู่ใกล้พลับพลายกตรงสี่แยก มุมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อพระมหาพิชัยราชรถเชิญพระโกศพระบรมศพไปถึงพระสุเมรุมาศแล้ว ก็จะใช้พระพระยานมาศสามลำคานนี้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพจากพระมหาพิชัยราชรถเวียนรอบพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง อีกครั้งหนึ่ง พระยานมาศสามลำคานนี้ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 เพื่อใช้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นครั้งแรก ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
    พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระที่นั่งทรงบุษบกมีคานหาม 4 คาน ใช้คนหาม 56 คน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 มีรูปลักษณะและฝีมือช่างงดงามมาก ใช้เป็นพระราชยานสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงในเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่อย่างใหญ่ ที่เรียกว่า ขบวนแห่พยุหยาตราสี่สาย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยทรงพระที่นั่งราเชนทรยานในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี เมื่อคราวงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้ใช้พระที่นั่งราเชนทรยานองค์นี้ในการอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิจากพระเมรุมาศท้องสนามหลวง ไปยังพระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งราเชนทรยานได้รับการซ่อมแซมบูรณะเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2527 แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
    พระวอสีวิกากาญจน์ เป็นราชยานคานหามใช้สำหรับพระราชขัตติยราชะทับนารีประทับ โดยเสด็จสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าในกระบวนเสด็จพยุหยาตราทางสถลมารค มีลักษณะเป็นพระวอไม้ หลังคา 2 ชั้น ประดับช่อฟ้าใบระกานาคสะดุ้ง และหางหงส์เป็นรูปนาค 3 เศียร มีพนักกั้นโดยรอบเว้นช่องว่างสำหรับขึ้นลงทั้ง 2 ข้าง ที่ตัวพนักรอบนั้นทำด้วยงาแกะสลักลายประณีตละเอียดเป็นลายดอกไม้ มีคานหาม 2 คาน ใช้คนหาม 8 คน ที่ปลายคานประดับหัวเม็ดทรงมัณฑ์ทำด้วยงาช้าง ปัจจุบันมีจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
    พระวอประเวศน์วัง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง ได้ใช้ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ใช้อัญเชิญพระผอบบรรจุพระราชสรีรางคาร จากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงไปยังพระบรมมหาราชวัง โดยใช้แทนพระวอสีวิกากาญจน์ ซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดมาก และประกาศเรียกชื่อเป็น พระวอสีวิกากาญจน์ พระวอประเวศน์วังนี้ มีลักษณะเป็นพระวอไม้แกะสลักลาย ปิดทองประดับกระจก ทรงหลังคาคฤห์ บุด้วยผ้าตาดทองลวดลายงดงาม มีคานหาม 2 คาน ปลายคานประดับหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ทำด้วยงาช้าง


    -->[​IMG]
    พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยถูกต้องตามประเพณีและสมพระเกียรติ ในฐานะทรงเป็นสมเด็จพระโสทรเชษฐภคินี ในพระมหากษัตริย์ไทยถึงสองพระองค์ ต้องมีเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศอย่างหนึ่ง คือ "ราชรถ"

    หน่วยงานที่รับผิดชอบได้เตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ คือ กรมศิลปากร โดย คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า ได้เสนอเรื่องนี้ให้รัฐบาลนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยต่อไป [​IMG]
    สำหรับความรู้เรื่อง "ราชรถ" กระทรวงวัฒนธรรมได้เผยแพร่ดังนี้ ในสมัยก่อนพระมหากษัตริย์จะได้รับการยกย่องให้มีฐานะเปรียบเหมือนเทพเจ้าหรือเป็นองค์สมมติเทพ ตามคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้นำประเทศที่มีอำนาจเด็ดขาด สูงสุด และมีความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้องค์ประกอบแวดล้อม เช่น ที่อยู่อาศัย สิ่งของเครื่องใช้ การแต่งกาย การดำรงชีวิต ย่อมต้องแตกต่างจากสามัญชนทั่วไป ต้องมีความเป็นพิเศษโดดเด่น เป็นรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งแสดงลักษณะหรือสัญลักษณ์ของความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ความเป็นพระมหากษัตริย์
    ดังนั้น การประดิษฐ์หรือการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ จึงมักจะมาจากคติความเชื่อในลัทธิศาสนาพราหมณ์ด้วย ที่เชื่อกันว่าเทพเจ้าสถิตอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นวิมานบนยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นใจกลางของจักรวาล เขาพระสุเมรุนี้มีเทือกเขาและมหาสมุทรล้อมรอบอยู่อีก 7 ชั้น ที่เชิงเขาเป็นที่ตั้งของป่าหิมพานต์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิดที่เรียกว่า สัตว์หิมพานต์ และบรรดานักษิทวิทยาธรผู้ทรงคุณวิเศษทั้งหลาย ซึ่งช่างศิลปะไทยโบราณก็ได้ใช้เป็นหลักในการจินตนาการ หรือการกำหนดรูปแบบของงานศิลปะไทย และราชรถ ซึ่งเป็นเครื่องใช้อย่างหนึ่งของพระมหากษัตริย์ และยังเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศอย่างหนึ่งของพระมหากษัตริย์ ก็ถูกสร้างขึ้นตามคติความเชื่อนี้เช่นกัน คือ มีบุษบกซึ่งเป็นส่วนยอดของราชรถ เปรียบเสมือนพระวิมานอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งมีขนาดสูงใหญ่อลังการ คือ ตัวราชรถ มีเทวดาและสัตว์หิมพานต์ เช่น ครุฑ และนาค ซึ่งอาศัยอยู่ที่ป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ ซึ่งช่างได้นำเรื่องราวและแนวความคิดทางศาสนามาผูกและคิดประดิษฐ์เป็นลวดลายไทย มีนาค ครุฑ และเทพพนมประดับอยู่โดยรอบราชรถ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินหรือพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงสวรรคต พระองค์ย่อมต้องเสด็จกลับไปสถิตยังสรวงสวรรค์ตามเดิม ซึ่งก็คือพระวิมานที่ประทับอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุนั่นเอง เราจึงใช้ราชรถในการอัญเชิญพระบรมศพไปสู่พระสุเมรุมาศ
    คำว่า ราชรถ เป็นคำภาษาบาลี มาจากคำว่า ราช+รถ ซึ่งหมายถึง ทางรถหรือทางเดินของพระราชาหรือพระเจ้าแผ่นดิน โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าราชรถ คือ รถศึกของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า ราชรถในวรรณคดี
    แต่ "ราชรถ" ในที่นี้จัดเป็นเครื่องประดับราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญ เป็นเครื่องราชูปโภคที่แสดงออกถึงฐานะและบทบาทอันเป็นสมมติเทพหรือเทวราชาของพระเจ้าแผ่นดิน
    หลักฐานเกี่ยวกับราชรถที่ใช้ในพระราชพิธีต่างๆ ที่เก่าที่สุดในประเทศไทย พบว่ามีขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และราชรถก็ไม่ได้ใช้สำหรับพระราชพิธีพระบรมศพเพียงอย่างเดียวเช่นในปัจจุบัน แต่ยังใช้ในการพระราชพิธีอื่นๆ อีกด้วย เช่น ใช้เสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคหรือเสด็จเลียบพระนคร และใช้เป็นราชรถทรงพระราชสาร สมัยที่กรุงศรีอยุธยามีความเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างประเทศ ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลที่ตราขึ้นไว้เมื่อ พ.ศ. 2002 ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งได้กล่าวถึงพระราชพิธีหนึ่งที่พระมหากษัตริย์เสด็จด้วยราชรถ คือ พระราชพิธีอินทราภิเษก ซึ่งหมายถึงพระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินทำพิธีราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่งเมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอำนาจได้มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่กว่าพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย พระราชพิธีครั้งนั้นมีกำหนด 21 วัน มีการละเล่นมหรสพ 1 เดือน ซึ่งนับว่าเป็นพระราชพิธีที่ใหญ่มาก ตอนท้ายของพระราชพิธีนี้มีว่า "ครั้นเสร็จเสด็จด้วยพระราชรถให้ทานรอบเมือง" นอกจากนี้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงใช้ราชรถเพื่อเชิญพระราชสารของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่โปรดเกล้าให้เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ เป็นราชทูต นำมาจากฝรั่งเศส เพื่อเจริญความสัมพันธ์ทางพระราชไมตรี เมื่อพุทธศักราช 2229 ซึ่งบาทหลวงเดอชัวชี ได้เขียนบันทึกบรรยายไว้ถึงวันแห่พระราชสาร เมื่อนำขึ้นเรือตอนถึงกรุงศรีอยุธยาว่า "เมื่อขึ้นฝั่งท่านราชทูตเชิญพระราชสารไปด้วย แล้วนำไปประดิษฐานไว้เหนือราชรถ เป็นมหาพิชัยฤกษ์...พอถึงพระทวารชั้นนอกขบวนก็แห่หยุด ท่านราชทูตลงจากเสลี่ยงแล้วเชิญพระราชสารจากราชรถประคองพานพระราชสารย่างเข้าไปในเขตพระราชวัง" ส่วนการใช้ราชรถสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่าได้ใช้ในงานพระเมรุมาศ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ไม่ปรากฏนามของราชรถ ต่อมาในตอนปลายสมัยอยุธยาได้ใช้พระมหาพิชัยราชรถ ในงานพระเมรุมาศสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเทพราชา สมเด็จพระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ตามลำดับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>"เวชยันตราชรถ"
    http://www.komchadluek.net/

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>7 มกราคม 2551 18:29 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้กล่าวถึงพระมหาพิชัยราชรถเป็นครั้งแรก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อ พ.ศ. 2328 ว่า "เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหม กราบทูลว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อมข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหาพิไชยราชรถเรือพระที่นั่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งไกรสรมุข เรือกระบวนใหญ่น้อย และเครื่องสรรพยุทธทั้งปวง เมืองเอก โท ตรี จัดว่า ทั้งไพร่พลฝ่ายทหารแด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบพิตรพระเจ้าอยู่หัวขอเดชะ"
    จะเห็นได้ว่า "ราชรถ" ได้มีการใช้ต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ และในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คงเหลือราชรถอยู่เพียงไม่กี่หลังหรืออาจเพียงหลังเดียว และอาจมีสภาพใช้การไม่ได้ดี ดังที่ปรากฏในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกดังกล่าวมาแล้ว เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายยับเยินเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ที่เคยมีและเคยปฏิบัติครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาขึ้น จึงโปรดฯ ให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรพระราชวัง และสิ่งก่อสร้างหลายอย่างเลียนแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะราชรถ พระองค์ได้โปรดฯ ให้สร้างขึ้นใหม่อีก 7 หลัง ดังปรากฏข้อความในหนังสือพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ซึ่งได้บันทึกเหตุการณ์สำคัญๆ ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2310-2363 ได้กล่าวถึงราชรถไว้ดังนี้
    "...ปีเถาะ สัปตศก พระราชโองการรับสั่งให้ช่างทำพิชัยราชรถที่ทรงพระโกศ พระอัฐิ 7 รถ ให้ตัดเสาพระเมรุตั้งทรงประดับเครื่องให้แล้วเสร็จในปีเถาะ"
    ปัจจุบัน ราชรถทั้ง 7 หลัง เก็บรักษาและจัดแสดงไว้ในโรงราชรถ ซึ่งสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2472 ตั้งอยู่ภายในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งมีประวัติพอสังเขปดังนี้
    พระมหาพิชัยราชรถ สูง 1,120 ซม. ยาว 1,530 ซม. สร้างในรัชกาลที่ 1 ประมาณ พ.ศ. 2338 ใช้สำหรับทรงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น เคยใช้ทรงพระโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เพื่ออัญเชิญออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง พ.ศ. 2339 และต่อมาในปี พ.ศ. 2342 ได้ใช้ทรงพระโกศพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี อีกครั้งหนึ่งภายหลังใช้เป็นราชรถสำหรับทรงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และได้เคยใช้ทรงพระบรมศพ รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ซ่อมแซมใหม่ และให้เพิ่มล้อใต้ราชรถขึ้นอีก 1 ล้อ เพื่อให้รับน้ำหนักและสะดวกในการเคลื่อนย้าย ปัจจุบันกรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมให้งดงามและมั่นคงถาวร แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2530 ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 กรมศิลปากรร่วมกับกรมสรรพาวุธทหารบก ได้ดำเนินการซ่อมบูรณะ พระมหาพิชัยราชรถ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อใช้ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2539 ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง
    เวชยันตราชรถ สูง 1,170 ซม. ยาว 1,750 ซม. สร้างในรัชกาลที่ 1 ราว พ.ศ. 2342 สำหรับทรงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งทรงศักดิ์สูง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ใช้ทรงพระโกศสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์คู่พระโกศสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ซึ่งทรงพระมหาพิชัยราชรถ ออกพระเมรุท้องสนามหลวงคราวเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. 2342 และต่อมาได้ใช้แทน "พระมหาพิชัยราชรถ" เมื่อคราวงานพระบรมศพรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 8 กรมศิลปากรซ่อมแซมให้งดงามและใช้ในการอัญเชิญพระบรมศพของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2528 เมื่อซ่อมเสร็จแล้วประมาณว่า มีน้ำหนัก 40 ตัน ต้องใช้กำลังคนในการลากจูงและดึงถึง 206 คน แบ่งเป็นข้างหน้า 160 คน และข้างหลัง 46 คน และในครั้งนั้นได้ออกหมายเรียกว่า พระมหาพิชัยราชรถ ตามโบราณราชประเพณี
    ราชรถน้อย สร้างในรัชกาลที่ 1 คราวเดียวกับพระมหาพิชัยราชรถ ใช้เป็นรถสมเด็จพระสังฆราช นำพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2339
    ราชรถน้อย สร้างในรัชกาลที่ 1 คราวเดียวกับพระมหาพิชัยราชรถ ใช้เป็นรถพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประทับโยงพระบรมโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ในคราวเชิญออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2339
    ราชรถน้อย สร้างในรัชกาลที่ 1 คราวเดียวกับพระมหาพิชัยราชรถ เป็นรถพระที่นั่งของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทประทับโปรยข้าวตอกดอกไม้ ในคราวอัญเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2339
    รถโถง สำหรับทรงพระโกศพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่
    รถโถง มีหลังคาเป็นวอช่อฟ้า สำหรับทรงพระโกศพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่
    ลักษณะของราชรถ

    ดังได้กล่าวแล้วว่า ราชรถสร้างขึ้นตามคติความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเชื่อกันว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ เป็นที่สถิตของเหล่าเทพยดา เขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ล้อมรอบด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์ 7 ชั้น ดังนั้นราชรถจึงมีลักษณะสูงใหญ่ เปรียบเป็นเขาพระสุเมรุ มีพระวิมาน คือ บุษบก ตั้งอยู่ตรงกลางเหนือส่วนยอดของบัลลังก์ ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุดของราชรถ เพราะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความสง่างามแก่ราชรถ ถัดลงมาเป็นรูปเทพพนม ครุฑ และนาค ลดหลั่นกันตามที่อยู่ของตน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของท้องฟ้า พื้นดิน และน้ำ ส่วนหน้าของราชรถเป็นรูปนาค 3 เศียร ส่วนหางจะอยู่ส่วนท้ายของราชรถ วัสดุที่ใช้ทำด้วยไม้ จำหลัก ปิดทองทาสีและประดับกระจก ส่วนมากจะมีเพียง 2 ล้อ ในสมัยก่อนใช้สัตว์ เช่น ม้า เป็นพาหนะเทียมราชรถ แต่ต่อมาในสมัยหลังได้มีการซ่อมแซมใหม่ ราชรถมีขนาดใหญ่โตมาก มีน้ำหนักมาก จึงเพิ่มล้อขึ้นอีกเป็น 4 ล้อ การเคลื่อนที่ไปอย่างช้าๆ สง่างาม โดยใช้กำลังคนลาก
    สำหรับราชรถน้อย จะเป็นรูปแบบเดียวกับพระมหาพิชัยราชรถ และเวชยันตราชรถ แต่ต่างกันที่ขนาดเล็กลงมา และเศียรนาคจะเป็นนาคเศียรเดียว
    ส่วนรถโถง มีลักษณะธรรมดาไม่มีฝาปิดกั้นทั้ง 4 ด้าน มีล้อใหญ่สองล้อ หากถอดล้อออกก็จะกลายเป็นพาหนะประเภทคานหาม
    รถโถงหลังคาเป็นวอช่อฟ้า ลักษณะเช่นเดียวกับรถโถงแต่มีหลังคาคร่อมบนราชรถ ไม่มีฝาปิดกั้นทั้ง 4 ด้าน หลังคาประดับด้วยช่อฟ้า เมื่อถอดล้อออกก็จะเป็นพาหนะประเภทคานหามเช่นเดียวกัน
    เกรินบันไดนาค "เกริน" คือ อุปกรณ์ที่ใช้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพขึ้นหรือลงราชรถ และพระเมรุมาศแทนการใช้นั่งร้านไม้ต่อยกสูงแบบสมัยโบราณ ซึ่งใช้กำลังคนยกขึ้นลง และมีความยากลำบากและไม่สะดวก เกรินมีลักษณะเป็นรางเลื่อนขึ้นลงด้วยกว้านหมุน โดยมีแท่นที่วางพระโกศเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายขึ้นหรือลง ลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ขอบฐานแกะสลักลายปิดทองประดับกระจก ท้ายเกรินเป็นพื้นลดระดับลงมา ซึ่งเป็นที่สำหรับเจ้าพนักงานภูษามาลาขึ้นนั่งประคองพระโกศพระบรมศพ มีลักษณะคล้ายท้ายสำเภา ด้านข้างบุผ้าตาดทอง มีราวทั้ง 2 ข้างตกแต่งเป็นรูปพญานาค จึงเรียกว่า เกรินบันไดนาค
    เกรินบันไดนาคนี้ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีทรงคิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อ พ.ศ. 2354 ในสมัยรัชกาลที่ 2
    พระยานมาศสามลำคาน มีลักษณะเป็นคานหามขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้จำหลักลวดลายลงรักปิดทอง มีพนักโดยรอบ 3 ด้าน และมีคานหาม 3 คาน จึงเรียกว่า พระยานมาศสามลำคาน คนหามมี 2 ผลัด ผลัดละ 60 คน ใช้สำหรับอัญเชิญพระโกศพระบรมศพจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ ที่จอดเทียบรออยู่ใกล้พลับพลายกตรงสี่แยก มุมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อพระมหาพิชัยราชรถเชิญพระโกศพระบรมศพไปถึงพระสุเมรุมาศแล้ว ก็จะใช้พระพระยานมาศสามลำคานนี้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพจากพระมหาพิชัยราชรถเวียนรอบพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง อีกครั้งหนึ่ง พระยานมาศสามลำคานนี้ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 เพื่อใช้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นครั้งแรก ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
    พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระที่นั่งทรงบุษบกมีคานหาม 4 คาน ใช้คนหาม 56 คน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 มีรูปลักษณะและฝีมือช่างงดงามมาก ใช้เป็นพระราชยานสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงในเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่อย่างใหญ่ ที่เรียกว่า ขบวนแห่พยุหยาตราสี่สาย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยทรงพระที่นั่งราเชนทรยานในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี เมื่อคราวงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้ใช้พระที่นั่งราเชนทรยานองค์นี้ในการอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิจากพระเมรุมาศท้องสนามหลวง ไปยังพระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งราเชนทรยานได้รับการซ่อมแซมบูรณะเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2527 แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
    พระวอสีวิกากาญจน์ เป็นราชยานคานหามใช้สำหรับพระราชขัตติยราชะทับนารีประทับ โดยเสด็จสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าในกระบวนเสด็จพยุหยาตราทางสถลมารค มีลักษณะเป็นพระวอไม้ หลังคา 2 ชั้น ประดับช่อฟ้าใบระกานาคสะดุ้ง และหางหงส์เป็นรูปนาค 3 เศียร มีพนักกั้นโดยรอบเว้นช่องว่างสำหรับขึ้นลงทั้ง 2 ข้าง ที่ตัวพนักรอบนั้นทำด้วยงาแกะสลักลายประณีตละเอียดเป็นลายดอกไม้ มีคานหาม 2 คาน ใช้คนหาม 8 คน ที่ปลายคานประดับหัวเม็ดทรงมัณฑ์ทำด้วยงาช้าง ปัจจุบันมีจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระวอประเวศน์วัง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง ได้ใช้ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ใช้อัญเชิญพระผอบบรรจุพระราชสรีรางคาร จากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงไปยังพระบรมมหาราชวัง โดยใช้แทนพระวอสีวิกากาญจน์ ซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดมาก และประกาศเรียกชื่อเป็น พระวอสีวิกากาญจน์ พระวอประเวศน์วังนี้ มีลักษณะเป็นพระวอไม้แกะสลักลาย ปิดทองประดับกระจก ทรงหลังคาคฤห์ บุด้วยผ้าตาดทองลวดลายงดงาม มีคานหาม 2 คาน ปลายคานประดับหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ทำด้วยงาช้าง <TABLE align=center><TBODY></TBODY></TABLE>
     
  7. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    เพลงเด็กดีครับ เผื่อว่าใครอยากเปิดให้ลูกฟัง
    http://upload.mthai.com/F0/47728f4e91c61

    ผมว่าเพลงนี้สร้างชาติได้ดีเลยครับ น่าจะเปิดทุกเช้า หลังเพลงชาติ
    ให้อยู่ในหัวใจเด็กไทยจนกลายเป็นนิสัย 10ประการ
     
  8. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ไม่ได้ไปไหนครับเดี๋ยวส่งไปเรียนพิเศษครับ เดิมเย็นๆจาไปดูโชว์นักร้องgmm ที่ สุพรรณครับแต่อยู่ในช่วงไว้ทุกข์เลยยกเลิกงานวันเด็กไปครับ ไม่เป็นไรมีทุกปีครับ ไว้ปีหน้าย้ายมาแปดรี้วแล้วไปกัน ไปนั่งหน้าเวที เล่นเกมส์กินฟรีครับ (เส้นใหญ่ครับ)
     
  9. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ชอบเลยครับ กินฟรี เอแล้วมีแต่เส้นใหญ่หรือครับเส้นหมี่ เส้นเล็ก บะหมี่มีมั้ย(tm-love)
     
  10. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เรื่องมากจา อดกินนะจ๊ะ...5555(smile)
     
  11. drmetta

    drmetta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +752

    ผมขอจองสัก ๑ ชุดนะครับ วันจันทร์จะจัดการเรื่องปัจจัย
    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2008
  12. kwok

    kwok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +4,239
    ขอจอง 1 ชุดครับ
     
  13. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ผมขออนุโมทนาบุญกับคุณ drmetta และคุณ kwok ด้วยครับ

    เป็นอันว่าพระสมเด็จ 2408 ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระปิ่นเกล้า จำนวน 2 ชุด ได้ถูกจองหมดเรียบร้อยแล้ว
     
  14. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ปเจอมาเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้มีชีวิตอยู่กับคอมครับ ลองศึกษาดูนะครับ
    โครงการผู้ก่อการบุญได้จัดทำภาพกสิณในแบบต่างๆ และภาพพระพุทธเพื่อใช้ในการฝึกสมาธิอย่างง่าย บนจอคอมพิวเตอร์
    การฝึกทำสมาธิมีหลายรูปแบบ แล้วแต่ผู้สอนจะนำมาแนะนำ ทางโครงการผู้ก่อการบุญ จะแนะนำการทำสมาธิพอ ปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้
    • การฝึกหายใจให้สมบูรณ์ คือการฝึกหายใจให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนอย่างเต็มที่ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง และจิตใจแจ่มใส การอยู่ในอริยาบทที่สบาย ถ้านั่งก็นั่งแบบสบายๆ แต่ไม่ต้องเอนไปเอนมา เป็นมนุษย์ไร้สันหลังนะครับ ค่อยๆหายใจเข้าลึกๆ จนลมหายใจไปถึงกระบังลม ที่เรียกว่าหายใจเข้าท้องป่อง หลังจากนั้นก็หยุดหายใจสัก ๒-๔ วินาที เพื่อให้ปอดได้รับอ็อกซิเจนอย่างเต็มที่ แล้วจึงค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออกอย่างช้าๆ จนท้องแฟ่บ ซึ่งข้อมูลการหายใจแบบนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก หนังสือ วิทยาศาสตร์การหายใจ ของเจ้าคุณนรฯ ซึ่งได้แปลและเรียบเรียงค้นคว้าขึ้นมา ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งตอนนี้หนังสือเป็นลิขสิทธิ์ ของมูลนิธิเจ้าคุณนรฯ
    • เมื่อหายใจอย่างสมบูรณ์แล้วก็มาเริ่มฝึกสมาธิกัน โดยท่านสามารถเลือกได้ว่าจะฝึกสมาธิกับอะไร เช่น การเพ่งกสิณ การมองพระพุทธรูป และที่นิยมคือการติดตามลมหายใจของตนเองในขณะนั่ง และติดตามการเดินของตนเอง ในขณะเดินจงกลม ซึ่งถือว่าเป็นการฝึกสมาธิที่ได้ผลดีชนิดหนึ่ง ในบางตำรา และบางสำนัก นิยมให้ฝึกสมาธิแบบเป็นชุด คือ เดินจงกลมส่วนหนึ่ง เสร็จแล้วมานั่งสมาธิอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้การฝึกสมาธิ พัฒนาไปได้เร็วยิ่งขึ้น บางตำราให้เพิ่มการนอนสมาธิ หลังจากการนั่งสมาธิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
    • ก่อนทำสมาธินั้นควรตั้งจิต อธิษฐานว่าจะทำสมาธิ รวมทั้งมนัสการคุณพระรัตนตรัยก่อน
    • สำหรับการจัดท่าทางการทำสมาธินั้น ขอให้ผ่อนคลายแต่อย่าสบายจนหลับแล้วกัน
    • ข้อควรระวังที่ทำให้สมาธิฟุ้งซ่าน และไม่พัฒนาก็คือ การติดอยู่กับทางโลก โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่อง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต่างๆ ชวนพาให้จิตใจฟุ้งซ่าน เตลิดเปิดเปิงไปได้ง่ายๆ ความง่วงเหงาหาวนอน ก็เป็นตัวบั้นทอนสมาธิที่ร้ายกาจ การปล่อยอารมณ์โกรธ อาฆาตพยาบาทก็เป็นตัวทำลายสมาธิ และความลังเลสงสัย ในผลของการปฏิบัติก็เป็นตัวปัญหาสำคัญที่ทำให้การฝึกสมาธิไม่เป็นผล ที่ทางธรรมเรียกสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้ว่า นิวรณ์ทั้ง ๕ ซึ่งจำเป็นต้องปล่อยวางก่อนจะเข้าสู่การทำสมาธิ
    • หลังการทำสมาธิ ควรอุทิศบุญที่สำเร็จแก่ ตนเอง มารดาบิดา ญาติ ครูอาจารย์ เทพเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกรูปทุกปาง เจ้าบุญนายคุณ เจ้ากรรมนายเวร และแผ่เมตตาแก่สัตว์โลกทั้งหลาย
    ::: การฝึกการหายใจแบบสมบูรณ์ไปพร้อมๆ กับการฝึกสมาธิขั้นต้น ควรฝึกขั้นตอนนี้ให้ชำนาญก่อนฝึกขั้นตอนต่อไป
    ::: การฝึกสมาธิโดยการเพ่งกสิณ การฝึกเพ่งกสิน เป็นวิธีการทำสมาธิ และทำวิปัสสนากรรมฐานขั้นพื้นฐาน การปฏิบัติ คือมีสมาธิจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ เพื่อฝึกให้จิตนิ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    การฝึกกับจอคอมพิวเตอร์ควรใช้เวลาไม่เกินครั้งละ 10 นาที และไม่ควรเพ่งสายตา ควรมองไปที่จุดกสิณเรื่อยๆ อย่างสงบ และใจเย็น และควรยกเลิกการตั้งค่า สกรีนเซฟเวอร์ เสียก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้สมาธิหลุดได้ เพราะการทำสมาธิอยู่นั้นจิตจะจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ หากมีการดับ หรือเปลี่ยนภาพ โดยไม่รู้ตัว อาจทำให้ตกใจได้
    การทำสมาธิหน้าคอมฯ มีให้เลือก ๓ แบบ คือแบบเงียบไม่มีเสียง เหมาะสำหรับการเพ่งกสิณด้วยใจสงบ ไม่ให้มีสิ่งอื่นใดมารบกวนสมาธิจากภาพกสิณ และแบบมีเสียงสวดมนต์ซึ่ง ใช้ใน 2 กรณีคือ สำหรับผู้ฝึกทำให้มีสมาธิดีแล้ว สมาธิรวบรวมสมาธิให้เท่าทันทั้ง การหายใจของตนเอง ภาพที่อยู่ตรงหน้า และเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีสมาธิมากนัก แบบมีเสียงสวดมนต์จะช่วยให้ผ่อนคลาย โปรดทำจิตใจให้สงบ และเปิดเสียงสวดมนต์อย่าเสียงดังมาก
    <table class="linkover" align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>ฝึกเพ่งกสิณกับเปลวเทียน
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ฝึกเพ่งกสิณกับจุดแสง รัศมีเปลี่ยนสี
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ฝึกเพ่งกสิณกับจุดแสง รัศมีสีแดง
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ฝึกเพ่งกสิณกับจุดแสง รัศมีสีน้ำเงิน
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>ฝึกเพ่งกสิณกับจุดสีเขียว
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> </tbody></table>
    :: การฝึกสมาธิโดยการเพ่งภาพพระพุทธรูป เพื่อระลึกถึงคุณพระพุทธ อย่างมองจุดใดจุดหนึ่งขององค์พระพุทธรูป ให้มองภาพรวมแล้วค่อยๆ จดจำภาพจนติดอยู่ในใจ แม้หลับตาแล้วก็สามารถเรียกภาพองค์พระพุทธรูปปรากฏอยู่ในความรู้สึกได้ หากสมาธิสูงขึ้น ให้ระลึกถึงคุณพระพุทธ คุณพระธรรม จะยกระดับสมาธิ และจิตใจให้สูงขึ้นได้
    การฝึกกับจอคอมพิวเตอร์ควรใช้เวลาไม่เกินครั้งละ 10 นาที และไม่ควรเพ่งสายตา ควรมองไปที่ภาพพระพุทธรูปเรื่อยๆ อย่างสงบ และใจเย็น และควรยกเลิกการตั้งค่า สกรีนเซฟเวอร์ เสียก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้สมาธิหลุดได้ เพราะการทำสมาธิอยู่นั้นจิต จะจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ หากมีการดับ หรือเปลี่ยนภาพ โดยไม่รู้ตัว อาจทำให้ตกใจได้
    การทำสมาธิหน้าคอมฯ มีให้เลือก ๓ แบบ คือแบบเงียบไม่มีเสียง เหมาะสำหรับการเพ่งกสิณด้วยใจสงบ ไม่ให้มีสิ่งอื่นใดมารบกวนสมาธิจากภาพกสิณ และแบบมีเสียงสวดมนต์ซึ่ง ใช้ใน 2 กรณีคือ สำหรับผู้ฝึกทำให้มีสมาธิดีแล้ว สมาธิรวบรวมสมาธิให้เท่าทันทั้ง การหายใจของตนเอง ภาพที่อยู่ตรงหน้า และเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีสมาธิมากนัก แบบมีเสียงสวดมนต์จะช่วยให้ผ่อนคลาย โปรดทำจิตใจให้สงบ และเปิดเสียงสวดมนต์อย่าเสียงดังมาก
    <table class="linkover" align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>ภาพองค์จำลอง พระแก้วมรกต เนื้อแก้ว ทรงเครื่องทอง
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ภาพองค์จำลอง พระแก้วมรกต องค์ทอง
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ภาพองค์จำลอง พระแก้วมรกต องค์เงิน
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ภาพพระพุทธชินราช
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>ภาพองค์จำลอง พระพุทธชินราช
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ภาพพระพุทธโสธร
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td> ภาพพระพุทธสิหิงค์
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>ภาพพระศรีสรรเพชญ์
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> </tr> </tbody></table>
    ::: การฝึกสมาธิโดยการเพ่งภาพพระอริยสงฆ์ เพื่อระลึกถึงคุณพระสงฆ์ อย่างมองจุดใดจุดหนึ่งขององค์พระ ให้มองภาพรวมแล้วค่อยๆ จดจำภาพจนติดอยู่ในใจ แม้หลับตาแล้วก็สามารถเรียกภาพองค์พระ ปรากฏอยู่ในความรู้สึกได้ หากสมาธิสูงขึ้น ให้ระลึกถึงคุณพระสงฆ์ จะยกระดับสมาธิ และจิตใจให้สูงขึ้นได้
    การฝึกกับจอคอมพิวเตอร์ควรใช้เวลาไม่เกินครั้งละ 10 นาที และไม่ควรเพ่งสายตา ควรมองไปที่ภาพพระ เรื่อยๆ อย่างสงบ และใจเย็น และควรยกเลิกการตั้งค่า สกรีนเซฟเวอร์ เสียก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้สมาธิหลุดได้ เพราะการทำสมาธิอยู่นั้นจิต จะจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ หากมีการดับ หรือเปลี่ยนภาพ โดยไม่รู้ตัว อาจทำให้ตกใจได้
    การทำสมาธิหน้าคอมฯ มีให้เลือก ๓ แบบ คือแบบเงียบไม่มีเสียง เหมาะสำหรับการเพ่งกสิณด้วยใจสงบ ไม่ให้มีสิ่งอื่นใดมารบกวนสมาธิจากภาพกสิณ และแบบมีเสียงสวดมนต์ซึ่ง ใช้ใน 2 กรณีคือ สำหรับผู้ฝึกทำให้มีสมาธิดีแล้ว สมาธิรวบรวมสมาธิให้เท่าทันทั้ง การหายใจของตนเอง ภาพที่อยู่ตรงหน้า และเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีสมาธิมากนัก แบบมีเสียงสวดมนต์จะช่วยให้ผ่อนคลาย โปรดทำจิตใจให้สงบ และเปิดเสียงสวดมนต์อย่าเสียงดังมาก
    <table class="linkover" align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>[​IMG]</td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>หลวงพ่อสด จันทสโร
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> </tbody></table>
    :: การฝึกสมาธิโดยการเพ่งภาพมหาเทพ อย่างมองจุดใดจุดหนึ่งขององค์มหาเทพ ให้มองภาพรวมแล้วค่อยๆ จดจำภาพจนติดอยู่ในใจ แม้หลับตาแล้วก็สามารถเรียกภาพองค์มหาเทพ ปรากฏอยู่ในความรู้สึกได้ หากสมาธิสูงขึ้น ให้ระลึกถึงคุณของมหาเทพ จะยกระดับสมาธิ และจิตใจให้สูงขึ้นได้
    การฝึกกับจอคอมพิวเตอร์ควรใช้เวลาไม่เกินครั้งละ 10 นาที และไม่ควรเพ่งสายตา ควรมองไปที่ภาพองค์มหาเทพ เรื่อยๆ อย่างสงบ และใจเย็น และควรยกเลิกการตั้งค่า สกรีนเซฟเวอร์ เสียก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้สมาธิหลุดได้ เพราะการทำสมาธิอยู่นั้นจิต จะจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ หากมีการดับ หรือเปลี่ยนภาพ โดยไม่รู้ตัว อาจทำให้ตกใจได้
    การทำสมาธิหน้าคอมฯ มีให้เลือก ๓ แบบ คือแบบเงียบไม่มีเสียง เหมาะสำหรับการเพ่งกสิณด้วยใจสงบ ไม่ให้มีสิ่งอื่นใดมารบกวนสมาธิจากภาพกสิณ และแบบมีเสียงสวดมนต์ซึ่ง ใช้ใน 2 กรณีคือ สำหรับผู้ฝึกทำให้มีสมาธิดีแล้ว สมาธิรวบรวมสมาธิให้เท่าทันทั้ง การหายใจของตนเอง ภาพที่อยู่ตรงหน้า และเสียงที่ได้ยิน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีสมาธิมากนัก แบบมีเสียงสวดมนต์จะช่วยให้ผ่อนคลาย โปรดทำจิตใจให้สงบ และเปิดเสียงสวดมนต์อย่าเสียงดังมาก
    <table class="linkover" align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="95%"><tbody><tr align="center" valign="top"> <td width="25%">[​IMG]</td> <td width="25%">[​IMG]</td> <td width="25%">[​IMG]</td> <td> </td> </tr> <tr align="center" valign="top"> <td>พระพิฆเณศวร
    ( แบบเงียบ )
    </td> <td>ท้าวมหาพรหม
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>พระโพธิสัตว์ กวนอิม
    ( แบบเงียบ )
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ อิติปิโส ๑๐๘ จบ)
    (แบบมีเสียงสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ)
    </td> <td>
    </td></tr></tbody></table>
    จากเว็บ http://www.polyboon.com/worship/dhumma03_04.html
     
  15. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    อนุโมทนาบุญด้วยครับ ที่นำมาเผยแพร่
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

    #12862

    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG] [​IMG]

    http://www.dharma-gateway.com/monk/m...ngern_hist.htm



    หลวงพ่อเงิน
    [​IMG]วัดหิรัญญาราม (วัดวังตะโก) บางคลาน จ.พิจิตร
    คัดลอกจาก http://www.tumnan.com/father_nerng/history.html
    หลวงพ่อเงิน ท่านเกิดเมื่อ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๓ ตรงกับวันศุกร์ เดือน ๑๐ ปีฉลู บิดาชื่อ อู๋ มารดาชื่อ ฟัก ท่านเกิดที่บ้านบางคลาน อำเภอโพธิ์ทะเล จังหวัดพิจิตร บิดาเป็นชาวบางคลาน มารดาเป็นชาวบ้านแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี (แสนตอ) จังหวัดกำแพงเพชร
    ตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ ได้ไปอยู่กับลุง ชื่อนายช่วง ที่กรุงเทพฯ และได้เข้าเรียนที่ บ้านตองปุ (วัดชนะสงคราม) จังหวัดพระนคร เมื่ออายุได้ ๑๒ (พ.ศ. 2365) ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรได้ศึกษาธรรมวินัย เวทย์วิทยาการต่างๆ จนแตกฉาน พออายุใกล้อุปสมบทท่านได้สึกจากสามเณรและหลังจาก ได้อุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) ได้ร่ำเรียนวิปัสสนาอยู่ ๓ พรรษา แล้วมาอยู่วัดคงคาราม (วัดบางคลานใต้) ได้ ๑ พรรษา ขณะนั้นหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ให้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ท่านเป็นพระเรืองวิชา ชอบเล่นแร่ แปลธาตุ แต่หลวงพ่อเงินท่านเคร่ง ธรรมวินัย ชอบความสงบ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านวังตะโก ลึกเข้าไปทางลำน้ำเก่า
    กล่าวกันว่า....เดิมที่ท่านจากวัดคงคารามไปแล้ว ก็มาปลูกกุฏิด้วยไม่ไผ่มุงหลังคาด้วยแฝกอยู่องค์เดียว และพร้อมกันนั้นได้นำกิ่งโพธิ์มาปักไว้ที่ริมตลิ่ง (หน้าพระอุโบสถ) แล้วอธิษฐานว่าถ้าท้องถิ่นนี้จะเจริญรุ่งเรืองเป็นอารามต่อไป ก็ขอให้โพธิ์ต้นนี้งอกงามแผ่กิ่งก้านสาขาเป็นนิมิตดีต่อไปด้วย และเหตุการณ์ก็เป็นจริงดังอธิษฐานไว้ ซึ่งต่อมาพื้นที่แถบนั้นก็ได้ปรากฏเป็น "วัดวังตะโก" เกิดขึ้น พระอารามแห่งนี้ "หลวงพ่อเงิน" ได้เป็นผู้สร้างไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2377 ต่อมาวัดวังตะโก หรือวัดหิรัญญารามก็เจริญอย่างรวดเร็ว มีผู้คนเคารพนับถือและถวายตัวเป็นศิษย์ ขอมาฟังธรรม ขอเครื่องรางของขลัง และขอให้หลวงพ่อช่วยรักษาโรคให้ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์และสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนา
    "หลวงพ่อเงิน" นับเป็นพระเกจิอาจารย์ ผู้เลื่องชื่อ ด้านไสยเวทเยี่ยมยอดที่สุดของเมืองพิจิตร จนเมื่อมาอยู่วัดวังตะโดและได้พัฒนาวัดจนรุ่งเรือง เป็นที่รู้จักกันไปทั่วว่า
    หลวงพ่อเงินสามารถรู้ผู้มาเยือนด้วยญาณวิเศษได้อย่างมหัศจรรย์ และยังเป็นหมอเชี่ยวชาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ชาวบ้านได้อย่างชะงัดอีกด้วย เคยมีผู้ไปลองดีกับท่าน ท่านก็แอ่นอกให้ยิง แต่กระสุนไม่ยอมออกจากลำกล้อง ความศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงอัจฉริยะของ "หลวงพ่อเงิน" บางคลาน นับว่าร่ำลือกันไปไกลมาก จนถึงขนาดเสด็จในกรม "กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์" ก็ยังเสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ด้วย
    ผลงานที่สำคัญ
    ๑. ด้านการก่อสร้าง หลวงพ่อมักเป็นธุระในเรื่องการสร้างถาวรวัตถุ ท่านเป็นนักก่อสร้าง ท่านควบคุมการก่อสร้างด้วยตนเอง ท่านรวบรวมปัจจัยได้จากการสร้างวัตถุมงคล เงินบริจาค สิ่งที่ท่านชอบสร้างอีกอย่างหนึ่งนอกจากโบสถ์ วิหาร ศาลา ก็คือ ศาลาพักร้อนเพื่อคนสัญจรไปมา
    ๒. ด้านการรักษาโรคด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อเงิน เป็นหมอแผนโบราณ ทางด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยยาสมุนไพรหรือบางครั้งก็ใช้น้ำมนต์ ซึ่งก็ให้ผลในด้านกำลังใจ ปัจจุบันยังมีตำรายาและสมุดข่อย ของท่านที่เก็บรักษาไว้ที่วัดบางคลาน
    ๓. เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนา เป็นศิษย์รุ่นเดียวกันกับหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านได้ แนะนำให้กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้มาเรียนวิชาทางวิปัสสนากับหลวงพ่อ รวมทั้งสมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก็เสด็จมาประทับที่วัดวังตะโก อยู่หลายวัน เพื่อเรียนทางด้านวิปัสสนา
    ๔. พระเครื่องหรือพระพิมพ์ หลวงพ่อไม่นิยมสร้างพระเครื่อง เพราะท่านบอกว่า คงกระพันชาตรีเป็นเรื่องเจ็บตัว พระเครื่องรุ่นที่ หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่จึงมีน้อย และมีพระคุณานุภาพทรงคุณทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม พระเครื่องรุ่นที่ท่านจัดสร้างมี
    - หลวงพ่อเงินชนิดกลม (ลอยองค์ มี ๒ ชนิด คือ พิมพ์ขี้ตาและพิมพ์นิยม)
    - หลวงพ่อเงินชนิดแบนหรือสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
    - หลวงพ่อเงินชนิดสามเหลี่ยมหน้าจั่วไข่ปลา
    - พระเจ้าห้าพระองค์
    ท่านมีโรคประจำตัว คือโรคริดสีดวงทวาร ท่านรักษาตัวเองบางครั้งก็หาย บางครั้ง ก็กลับเป็นอีก ท่านเคยกล่าวว่า "คนอื่นร้อยพันรักษาให้หาย แต่ผงเข้าตาตัวเองกลับรักษาไม่ได้" ท่านมรณภาพเมื่อวันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะแม ตรงกับ พ.ศ.๒๔๖๒ อายุได้ ๑๐๙ ปี


    [​IMG]
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.dharma-gateway.com/monk/m...rn_hist-01.htm #12863



    กรมหลวงชุมพร พบ หลวงพ่อเงิน
    [​IMG][​IMG]
    จากกระทู้ในหัวข้อ บทความสาระน่ารู้ เวป uamulet.com โพสท์โดย คุณ Pan เมื่อ 30/5/2546
    http://www.uamulet.com/articleAmuletBoardDetail.asp?qid=2


    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top height="100%">ผมได้มาจากในเวป ของหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ถ้าใครรับหนังสือพิมพ์ประจำก็คงได้อ่านกันแล้ว ที่นำมาลงเพราะเห็นว่าเขียนบรรยายรายละเอียดได้แบบที่ไม่เคยอ่านมาก่อน น่าสนใจดีคับ อ่านแล้วมันส์ดี ทำให้รู้ว่าความศักดิ์สิทธ์ของหลวงพ่อเงินนั้นสุดบรรยายจริงๆ สำหรับพี่ๆเพื่อนๆที่ไม่ได้อ่านก็สามารถอ่านได้ หรือ เข้าไปที่ http://www.komchadluek.com/ komchadluek /phra /2003 /may /2802.php ก็ได้เหมือนกันคับ

    จากคุณ Pan [ 30/5/2546 - 23:03:00 ]




    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เกียรติคุณของพระองค์ท่านไพศาลขนาดไหน เห็นจะไม่ต้องบรรยายความ พระอาจารย์ของพระองค์ยิ่งยงขนาดไหนก็เห็นจะไม่ต้องพรรณนาอีกเหมือนกัน แต่ก็อดที่จะกล่าวถึงมิได้ พระเกจิอาจารย์องค์สำคัญๆ ในอดีตนั้น ล้วนแล้วแต่ได้เคยมีความสัมพันธ์กับพระองค์ทั้งสิ้น เป็นต้นว่า หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ธนบุรี และยังมีอีกหลายองค์ที่เสด็จ ในกรมได้เสด็จไป ทรงพบและร่ำเรียน ทางเวทมนตร์คาถา และไสยเวทย์ด้วย
    แต่โอกาสนี้จะขอกล่าวถึง "เมื่อเสด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จไป ทรงพบกับหลวงพ่อเงิน บางคลาน โพธิ์ทะเล จ.พิจิตร" ตามบันทึกความด้วยสมองของผู้ตามเสด็จไปในครั้งนั้น คือคนสนิทของพระองค์ที่มีชื่อว่า "นายหลิ่ม"
    ครั้นเมื่อ...กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จไปยังวัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท อยู่เสมอๆ ด้วยความศรัทธามั่นต่อหลวงพ่อศุข เกจิอาจารย์ ผู้ปราดเปรื่องเรื่องเวทมนตร์คาถาอาคมนั้น พระองค์ได้พบกับความมหัศจรรย์ทางพุทธเวทย์เป็นที่ประจักษ์แก่สายตานับครั้งไม่ถ้วน จึงยกให้หลวงพ่อศุข เป็นอาจารย์ของพระองค์ ได้รับการถ่ายทอดวิชานานัปการ อันประมาณมิได้จากหลวงพ่อเป็นถ้วนทั่ว ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ มีปรีชาสามารถ ปรากฏตามเรื่องราวของพระองค์กับหลวงพ่อศุข ดังที่ได้เคยมีผู้รจนาไว้จำนวนมาก เป็นที่ทราบความกันดีแล้วๆ นั้น จึงมิขอกล่าวถึงอีก แต่จะกล่าวถึงครั้งหนึ่งที่หลวงพ่อศุขได้ทูลเสด็จในกรมมีความว่า
    "ถ้าจะดูของดีๆ แปลกๆ นอกเหนือจากของฉันแล้ว ก็เห็นจะมีเกลอกันกับฉันอีกองค์หนึ่ง เคยศึกษามาจากอาจารย์เดียวกัน คือท่านเงิน อยู่บางคลาน โพธิ์ทะเล เมืองพิจิตร หากจะไปหาก็จงบอกว่า ฉันแนะทางมาเถิด"
    เมื่อเสด็จในกรมได้ทราบดังนั้นแล้ว จึงมีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเดินทางไปยังเมืองพิจิตร เพราะพระองค์ชอบ ในการแสวงหาบรรดาเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาอาคมขลังอยู่เป็นทุนแล้ว และเมื่อสบโอกาสอันเหมาะควรแล้ว จึงได้ชวนกันกับนายหลิ่มคนสนิท เดินทางไปเมืองพิจิตรทันที
    พิจิตร สมัยนั้นเส้นทางไม่สะดวกเหมือนสมัยนี้ พิจิตรเป็นเพียงเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง ซึ่งรายรอบไปด้วยป่าทึบโดยทั่วไป ระยะทางจากเมือง ไปยังหมู่บ้านรอบๆ พิจิตร กางกั้นด้วยป่าทึบบ้างป่าโปร่งบ้าง ห้วยละหานลำธารคุ้งคดเลาะลัดอยู่ทั่วๆ ไป การเดินทางจึงลำบาก ส่วนใหญ่นิยมใช้ช้างเดินทางเป็นหลัก เพราะจะต้องอาศัยความแข็งแกร่งของช้างเท่านั้น ที่จะผ่านไพรแบบนั้นไปได้
    โพธิ์ทะเล เป็นตำบลที่ห่างเมืองพิจิตรไปทางทิศใต้ใกล้เขตชุมแสง นครสวรรค์ จึงถูกปกคลุมไปด้วยป่าไม้เป็นส่วนใหญ่ สำหรับ บางคลาน อันเป็นที่ตั้งของวัดบางคลานก็เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ริมแม่น้ำยม ชิดเขตชุมแสง ซึ่งเต็มไปด้วยป่าโปร่งพันธุ์ใหญ่ๆ เกือบทั้งสิ้น รายรอบไว้ทุกด้าน
    เสด็จในกรมฯ กับคนสนิทคือ นายหลิ่ม ใช้ช้างเป็นพาหนะเดินทางจากเมืองนครสวรรค์ ขึ้นไปในฤดูแล้งของปีหนึ่ง ผ่านออกไปทางป่าทึบเมืองชุมแสง ลัดเลาะไปปากเกยชัยแหล่งชุกชุมด้วยจระเข้ ป่าเปลี่ยว เข้าเขตป่าลึกของชุมแสง
    ขณะที่กำลังเดินทางอยู่ วันหนึ่งตอนพระอาทิตย์กำลังพลบค่ำ และถึงเวลาพักช้าง เสด็จกรมหลวงฯ และนายหลิ่มได้ทำเลค้างแรมได้แล้วจึงเตรียมจะจัดทำอาหารนั้นเอง
    ก็ปรากฏร่างชายแก่ในชุดห่มขาว แต่คล่ำไปด้วย ความเก่าและขาดวิ่น หนวดเครายาวรุงรังนั่งสงบนิ่ง อยู่ในซุ้มไม้ใกล้กันนั้น
    ดวงตาหลับสนิท ริมฝีปากขมุบขมิบ บริกรรมพระเวทอยู่ตลอดเวลา เสด็จในกรม จึงตรงเข้าไปหา พร้อมกับนายหลิ่มคนสนิท ทันทีที่เดินเข้าไปใกล้ซุ้มไม้ อันร่มครึ้มนั้นชายแก่ก็ลืมตาขึ้น
    เสด็จในกรม ทราบได้ดีว่าเป็นผู้ทรงศีล จึงทำความเคารพและ ถามว่าเป็นใคร ก็ได้รับคำตอบว่าชื่อ เหมือน เที่ยวหาความสงบอยู่ตามป่าเขตนี้ เพื่อบำเพ็ญสมาธิ หลบหนีจากผู้คนหาความวิเวกอยู่ตามลำพัง
    หลังจากสนทนากันจนเป็นที่พอใจแล้ว นายหลิ่ม จึงชวนเสด็จในกรมให้กลับไปจัดการเรื่องที่พักและอาหารเสียก่อน สักครู่ เสด็จในกรมได้หันไปมองทางชายแก่นั้น น่าประหลาดใจ ไม่พบชายแก่ชื่อเหมือนคนนั้นเสียแล้ว จึงให้นายหลิ่มเดินตามหาในละแวกนั้นก็ไม่พบ เป็นที่แปลกมากในเวลาเพียงไม่นานนักที่ชายแก่ขนาดนั้น จะหลบเร้นหายไปได้อย่างรวดเร็ว นับเป็นเรื่องปาฏิหาริย์โดยแท้
    ลัดเลาะตามไพรทึบ จนถึงชายฝั่งแม่น้ำยม คนนำทางพาเลียบชายฝั่งแม่น้ำยมขึ้นไปทางเหนือ ฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำยมขอดแห้ง สักครู่ก็พบวัดเก่าแก่อยู่ฝั่งตรงข้าม คนนำทางบอกว่า นั่นคือ วัดบางคลาน ที่ต้องการมาพบ หลวงพ่อเงิน
    เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ได้ข้ามแม่น้ำยม ซึ่งมีน้ำไม่มากนัก ช้างเดินข้ามสบาย สอบถามหา หลวงพ่อเงิน ได้ความว่า ออกป่าไปได้สองวันแล้ว ไม่ทราบว่าจะกลับมาเมื่อใด บางทีก็เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็มๆ บางทีก็เจ็ดวัน พระในวัดรูปหนึ่งได้บอกกับเสด็จในกรมว่า ก่อนหน้าที่หลวงพ่อเงินจะออกไปป่าได้พูดเปรยขึ้นกับพระหลายรูปว่า
    "อีกสองวันจะมีคนดี เขามาหาฉัน เห็นทีจะอยู่ไม่ได้แน่ ต้องออกป่าสักพัก" แล้วท่านก็ออกป่าในเย็นวันนั้น
    เสด็จในกรมทรงแปลกพระทัยมาก ครั้นจะคอยอยู่ก็เกรงว่าจะไม่พบ และไม่ทราบว่านานเท่าใดหลวงพ่อจึงจะออกจากป่า จึงตัดสินพระทัยคอยอยู่สองคืน แล้วจึงกลับไปยังนครสวรรค์
    ขณะเดินมาถึงกลางทาง ได้พบกับชายแก่ที่ชื่อเหมือนอีก เสด็จในกรมอยู่บนหลังช้างได้เห็น ชายแก่ผู้นั้นเดินอยู่กลางทุ่งหญ้าไกลๆ จำได้ถนัด เพราะหลังคุ้มและใส่ชุดขาวเก่าคร่ำคร่าขาดวิ่น จึงเร่งช้างให้เข้าไปใกล้โดยเร็ว และทันใดนั้นเอง ชายแก่ก็ลับหายไปในทุ่งหญ้าอย่างรวดเร็ว ถึงแม้เสด็จในกรมจะนั่งช้าง เดินหาจนทั่วบริเวณก็หาพบไม่ ได้ทอดพระทัยและตรัสกับนายหลิ่มว่า เป็นเรื่องแปลกเหลือเกิน มาพิจิตรคราวนี้ต้องการ พบใครก็ไม่พบ
    เสด็จในกรมพักอยู่ที่นครสวรรค์ได้ ๑๐ วัน ตั้งใจจะกลับกรุงเทพฯ แต่ลังเลพระทัย จึงชวนนายหลิ่มว่า ลองขึ้นไปพิจิตรใหม่อีกครั้ง ก่อนออกเดินทางเสด็จในกรมให้นายหลิ่มหาซื้อ เสื้อคอจีนหนึ่งตัว ไม้คานหนึ่งอัน กางเกงจีนหนึ่งตัว สาแหรกและเข่งสองชุด หมวกกุ้ยเล้ยหนึ่งใบ แล้วจึงออกเดินทางด้วยช้างกับคนนำทาง ตรงไป วัดบางคลาน อีกครั้งหนึ่ง
    ระหว่างทางได้ไปพบ จระเข้เผือกขนาดใหญ่ นอนขวางลำน้ำอยู่ที่ปากเกยชัย เสด็จในกรมให้นายหลิ่มเอาขันตักน้ำมาทำน้ำมนต์ แล้วทรงปลุกเสกร่ายพระเวทย์บริกรรมทำน้ำมนต์อยู่เป็นเวลานาน แล้วเทน้ำมนต์ลงไปในน้ำ ซึ่งจระเข้นอนขวางทางอยู่ ทันทีที่น้ำมนต์เทออกจากขัน กระทบผิวน้ำ จระเข้เผือก ที่นอนสงบนิ่งอยู่ ก็ฟาดหางไปมา แล้วดำน้ำหายไปทันที เหลือแต่พรายน้ำวนเป็นวงกลมอยู่เบื้องหน้าเสด็จในกรม
    จากนั้นเสด็จในกรม จึงได้เดินทางต่อไป จนลุถึงริมฝั่งแม่น้ำยม ขณะนั่งพักช้างปล่อยช้างกินหญ้ากินน้ำอยู่นั่นเอง ก็เหลือบไปที่โคนต้นไม้ใหญ่ ใกล้กันนั้นเห็นชายแก่ชื่อเหมือนที่พบกันครั้งก่อนนั่งหลับตาสงบนิ่งอยู่ เสด็จในกรมจึงรีบตรงเข้าไปแสดงความเคารพ
    ผู้เฒ่าเหมือนลืมตาขึ้น แล้วบอกว่า "พรุ่งนี้เข้าไปหาท่านจึงจะพบ"
    เสด็จในกรมนั่งฟังโดยไม่ได้กล่าวอะไร ผู้เฒ่าเหมือนก็เอ่ยขึ้นอีกว่า "หลวงพ่อท่านไม่ชอบเจ้าชอบนาย"
    เสด็จในกรมนั่งเงียบฟังเฉยอยู่ ผู้เฒ่าเหมือนได้ล้วงลงไปในย่าม แล้วหยิบแหวนทองเหลืองออกมาจากย่าม แล้วส่งให้เสด็จในกรมแล้วพูดว่า
    "เก็บไว้ให้จงดี ฉันทำเตรียมไว้แต่ครั้งก่อน แต่ยังเป็นยามไม่เหมาะ จึงให้ไม่ได้"
    เสด็จในกรมรับแหวนจากมือผู้เฒ่า แล้วก้มลงพิจารณาแหวนนั้น เป็นแหวนทองเหลืองอมดำออกสีคล้ำๆ ตรงกลางแหวนมีเหล็กแร่สีดำ เป็นมันฝังอยู่เม็ดเล็กๆ หนึ่งเม็ด แล้วมีอักขระขอมลงด้วยเหล็กจารรอบๆ วง เสด็จในกรมตรัสว่า คงจะเป็น เหล็กไหล แล้วเงยหน้าขึ้นไปมองทางผู้เฒ่าเหมือน ปาฏิหาริย์ ผู้เฒ่าเหมือนหายไปจากตรงนั้นแล้ว รวดเร็วอย่างไม่คาดฝัน เสด็จในกรมถึงกับอุทานออกมา แล้วหันมามองทางนายหลิ่ม ซึ่งนั่งอ้าปากค้างอยู่
    เลียบฝั่งแม่น้ำยม อันแห้งขอดขึ้นไปทางเหนือเหมือนครั้งที่แล้ว มุ่งหน้าตรงเข้า วัดบางคลาน ทันที พบพระอยู่หน้าวัด เสด็จในกรมถามว่า หลวงพ่ออยู่หรือเปล่า ก็ได้รับคำตอบว่า อยู่ที่กุฏิพลางชี้มือไปที่กุฏิ เสด็จในกรมจึงมุ่งหน้าตรงไปที่กุฏิทันที แต่ก็พบกับความว่างเปล่า ไม่มีหลวงพ่อเงินบนกุฏิ ไม่มีหลวงพ่อเงินในบริเวณวัด พระเณรช่วยกันหาเป็นเวลานานก็ไม่พบหลวงพ่อ
    เสด็จในกรมนั่งคอยอยู่ที่กุฏิ จนเย็นเห็นว่าไม่พบแน่ จึงสั่งคนนำทางและนายหลิ่มให้เดินทางกลับในวันนั้น ข้ามแม่น้ำยมมายังฝั่งชุมแสง พักแรมอยู่ในละเมาะไม้ใกล้ชายฝั่ง แล้วตรัสกับนายหลิ่มว่า "พรุ่งนี้เช้ากลับแน่ พักนครสวรรค์สักสองคืนแล้วเข้ากรุง"
    เช้าวันรุ่งขึ้นในตอนสาย เสด็จในกรมถามหาสิ่งของที่ให้นายหลิ่มซื้อมาจากนครสวรรค์ เมื่อได้ของครบแล้ว บอกให้นายหลิ่มไปคอยที่ริมฝั่งแม่น้ำ แล้วเสด็จในกรมหายเข้าไปในป่าสักครู่ ก็ออกมาที่ริมฝั่งแม่น้ำยม ฝั่งตรงข้ามหน้าวัดในชุดชาวจีนหาบของสวมหมวกกุ้ยเล้ย บอกให้นายหลิ่มเดินตามหลังไปห่างๆ แล้วเสด็จข้ามแม่น้ำยม มุ่งไปยังวัดบางคลานทันที ถึงศาลาหน้าวัดเห็นพระแก่รูปร่างใหญ่โต ลักษณะท่าทางน่าจะเป็น หลวงพ่อเงิน นั่งหันหลังออกมาฝั่งที่ขึ้นไป ตัดสินพระทัยแน่นอนว่า ต้องเป็น หลวงพ่อเงิน แน่ จึงรีบวางหาบของแล้ววิ่งเข้าไปทางข้างหลัง เมื่อถึงจึงโอบมือรัดเอวเอาไว้แน่น พลางตรัสขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า
    "ได้หลวงพ่อแล้ว ได้หลวงพ่อแล้ว"
    หลวงพ่อหันหน้ามามอง แล้วเอ่ยขึ้นด้วยเสียงอันดังเช่นกันว่า
    "เสียท่าเขาแล้ว เสียท่าเขาเข้าแล้ว"
    เสด็จในกรมก้มเข้ากราบหลวงพ่อเงิน พอเงยหน้าขึ้นมาหลวงพ่อเงินได้พูดว่า
    "วันนี้เป็นยามดี ที่เราจะได้พบกับลูกศิษย์ท่านศุข นี่พยายามดีเหลือเกิน"
    จากนั้นหลวงพ่อเงินได้เดินนำเสด็จในกรมขึ้นไปบนกุฏิ เมื่อถึงบนกุฏิได้นั่งสนทนาถามถึงทุกข์สุขของหลวงพ่อศุขว่าเป็นอย่างไรบ้าง อยู่พอสมควร หลวงพ่อเงินก็เอ่ยขึ้นกับเสด็จในกรมว่า
    "คอยสักครู่เถอะ ฉันจะสรงน้ำก่อน"
    หลวงพ่อเงินพูดแล้วลุกขึ้นจากที่นั่งเดินหายเข้าไปในกุฏิ เป็นเวลาไม่กี่อึดใจ ก็ปรากฏเสียงดัง "กริ๊ก กริ๊กๆๆ" ขึ้นที่กาน้ำซึ่งวางอยู่ข้างเสากลางกุฏิ ทั้งเสด็จในกรมและนายหลิ่มหันไปที่กาน้ำนั้นทันที เสียง "กริ๊ก กริ๊ก กริ๊ก" ยังดังอยู่ต่อไป ทำความแปลกใจให้เสด็จในกรมอย่างยิ่ง จึงอดทนต่อความสงสัยต่อไปไม่ได้ ตรงเข้าไปที่กาน้ำนั้นทันที พลางเปิดฝาออกดูว่ามีสิ่งใดอยู่ภายใน ทันทีที่เสด็จในกรมเปิดฝาออกก็ถึงกับพรึงเพริดพระทัยแทบไม่เชื่อสายตาตนเอง ร้องเรียกว่า
    "ไอ้หลิ่มมาดูอะไรนี่ซิ" นายหลิ่มรีบตรงเข้าไปก้มมองดูในกา ถึงกับอ้าปากค้างพูดอะไรไม่ถูก เพราะว่าภาพที่ปรากฏในกาน้ำใบนั้นคือ
    ร่างของหลวงพ่อเงินขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย มือกำลังสรงน้ำถูเนื้อถูตัวอยู่อย่างขะมักเขม้น น้ำในกากระเพื่อมไปมา จนกระฉอกกระเด็นออกมานอกกาน้ำ
    เสด็จในกรมค่อยๆ ปิดฝากาลงอย่างฉงนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง พลางตรัสกับนายหลิ่มว่า
    "ไม่เสียเที่ยวที่มาเมืองพิจิตร หลวงพ่อท่านพูดไว้ถูกทีเดียวว่า จะได้ดูของแปลกๆ นอกเหนือจากท่านก็ให้มาที่นี่"


    [​IMG]
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.phichit.police.go.th/phothalay/PV2.htm

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ประวัติหลวงพ่อเงิน

    วัดท้ายน้ำ ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>หลวงพ่อเงิน เกิดที่บ้านบางคลาน หมู่ที่ 1 ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์ สำหรับวันเกิดของท่านนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดยืนยันได้แต่จากการสอบถามกับปีที่ท่านอุปสมบทแล้ว น่าเชื่อได้ว่า ท่านเกิดในปี พ.ศ. 2351 ค่อนข้างจะแน่นอน คุณลุงแปลก สุขนวล ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ทันรับใช้หลวงพ่อบอกว่า ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 ปีมะโรง พ.ศ. 2531 และมรณภาพเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแม เวลา 15.00 น. ตรงกับวันที่ 20 กันยายน 2462 รวมอายุได้ 111 ปี 90 พรรษา ( ถ้าท่านเกิดในปีฉลู จะมีอายุเพิ่มขึ้นอีก 3 ปี เป็น 114 ปี )
    สำหรับวันเกิดของท่าน หากมีหลักฐานอื่นใดที่เป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันได้แน่นอนก็จะทำให้ทราบอายุของท่านที่แท้จริงได้ถูกต้อง
    หมายเหตุ หลวงพ่อเงิน วัดคงคาราม หลวงพ่อเงิน วัดท้ายน้ำ และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) คือองค์เดียวกัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    ชาติภูมิ

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    บิดาของหลวงพ่อเงินเป็นชาวบางคลาน มารดาเป็นคนบ้านแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร มีพี่น้องทั้งสิ้นรวม 6 คน ดังนี้
    1. ตาพรหม เป็นพี่ชายคนโต
    2. ยายทับ ( ไม่ทราบนามสกุล )
    3. ตาทอง หรือ ตาภุมรา เป็นนายกองส่วยรัชชูปการ และเป็นหมอใหญ่ที่เชี่ยวชาญในวิชาการแพทย์แผนโบราณในสมัยนั้น มีชื่อเสียงโด่งดังมาก การที่มีชื่อเสียงโด่งดังในทางหมอและเก็บส่วยน้ำผึ้งนี้ จึงได้มีชื่อใหม่ว่า “ กุมรา ”
    4. หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ
    5. ตาหลำ ( ไม่ทราบนามสกุล )
    6. ยายรอด ( ไม่ทราบนามสกุล )
    เมื่อหลวงพ่อเงินอายุได้ 3 ขวบ ตาช้างซึ่งเป็นลุงของหลวงพ่อเงินได้นำเอาหลวงพ่อเงินไปเลี้ยงไว้ที่กรุงเทพ ฯ ด้วย ต่อมาเป็นวันเดือนปีใดไม่ทราบ หลวงพ่อเงินได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดตองปุ ( ปัจจุบันคือวัดชนะสงคราม จังหวัดพระนคร ) เมื่ออายุ 12 ขวบ แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นอุปัชฌาย์ พออายุได้ 20 ปี บิดา มารดา และบรรดาญาติพี่น้องมีความประสงค์จะให้หลวงพ่ออุปสมบท แต่หลวงพ่อไม่ยอมบวช เพราะเกรงว่าอายุของท่านจะไม่ครบบริบูรณ์จริงบรรดาญาติก็อนุโลมตาม จนกระทั่งหลวงพ่ออายุได้ 22 ปี ตรงกับ พ.ศ. 2373 แลได้กำหนดวัดอุปสมบทในปีนี้
    จากปีที่อุปสมบทดังกล่าวนี้เอง ทำให้ค่อนข้างแน่ใจว่าท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2351 ซึ่งเชื่อถือได้มากกว่าปีอื่น ๆ




    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>http://www.phichit.police.go.th/phothalay/PV2_1.htm


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=44>คาถาบูชาหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ

    วัดท้ายน้ำ ( วัดเก่าหลวงพ่อเงิน ) อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร




    </TD></TR><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    ให้ตั้ง นะโมฯ 3 จบ แล้วสำรวมจิตกล่าวคาถา



    สิทธิพุทธัง กิจจังมะมะ ผู้คนไหลมา นะชาลีติ
    สิทธิธัมมัง จิตตังมะมะ ข้าวของไหลมา นะชาลีติ
    สิทธิสังฆัง จิตตังมะมะ เงินทองไหลมา นะชาลีติ
    ฉิมพลี มหาลาภัง ภะวันตุเม




    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>วันนมัสการหลวงพ่อเงิน วันอังคาร วันพฤหัสบดี วันศุกร์ พร้อมด้วยดอกบัวหรือดอกมะลิ 9 ดอก หมาก 3 คำ จัดใส่พาน และธูป 9 ดอก เทียน 1 คู่ ให้ตั้งจิตอธิษฐานขอบารมีพุทธคุณของหลวงพ่อเงินคุ้มครอง ป้องกันภัยจากโจรผู้ร้าย ตลอดจนค้าขายของดีเลิศมีเมตตามหานิยม พุทธคุณของหลวงพ่อเงินเป็นที่รู้จักและเคารพนับถือของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะวัตถุมงคล อาทิเช่น รูปหล่อลอยองค์หลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา ไข่ปลาหน้าจอบ หน้าจอบเล็ก ตะกรุด และความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำมนต์ เป็นต้น ยังมีความอภินิหารอีกมากสุดที่จะนำมากล่าวนี้</TD></TR><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD vAlign=top>คาถาหลวงพ่อเงิน สำหรับคงกระพัน
    ว่าดังนี้ พระพุทธัง พระเจ้าคงหนัง พระธัมมัง พระเจ้าคงเนื้อ พระสังฆัง พระเจ้าคงกระดูก โอม เพชรคงคา ตรีคงสวาหะ

    คาถาหลวงพ่อเงิน เวลาเดินทางไปไหนใช้ภาวนา
    “ สุสูสัง อะระหัง ภคะวา ”
    บทนี้ใช้สำหรับเมตตา หรือเวลาสูบบุหรี่ ว่าดังนี้ “ มัคคะยาเทวัง ”

    ยาหลวงพ่อเงิน เป็นยากลางบ้าน ใช้เป็นยาถ่ายก็ได้ใช้ได้หลายชนิด เครื่องยาดังนี้
    1. ขมิ้นอ้อย 5 แว่น ลงพระเจ้า 5 พระองค์ คือ นโมพุทธายะ ชิ้นละ 1 ตัว จะเป็นตัวขอมหรือตัวไทยก็ใช้ได้ ในขนุน 7 ใบ ลง สะทะวิ ปิปะสะอุ ใบมะกา 1 กำ ขี้กำฝอยกลางบ้าน 1 กำมือ เกลือ 3 หยิบ ต้มรับประทานท่านว่าหายแลฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...