เรื่องเด่น ตามรอยหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ (กลุ่มหลวงพ่อเงิน)

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย เจ๊ตุ้ม, 16 มกราคม 2013.

  1. bhothale

    bhothale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    806
    ค่าพลัง:
    +2,583
    มาแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องรอยตะไบกัน...หวัดดีครับพี่สมฯ...

    เว้นว่างไม่ได้คุยกันนานเลยเนอะ..ช่วงติดภารกิจเอาใจช่วยกู้ชาติ
    สุดท้ายได้ทีมทหารบกเป็นแชมป์...มวลมหาประชาชนก็เลยไม่ต้องเชียร์อีก..ตอนนี้ก็ได้แต่คอยเฝ้าดูว่า..เขาจะปรับปรุงทีมชาติให้เข้ารูปเข้ารอยอย่างไร...เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้จัดการทีมคนต่อไปปู้ยี่ปู้ยำ ทำระกำกับชาติฯได้อีก....มาเข้าเรื่องที่อยากจะเสวนากับท่านพี่สมฯดีก่า....ก็เรื่องรอยตะไบไอ้ที่มีเกิดขึ้นอยู่ในรอยตอกง่ะ....อันนี้พูดถึงในกรณีทั่วๆไปก่อนนะ...ทีแรกผมก็ตั้งข้อสันนิษฐานว่าอาจเป็นไปได้ที่จะมีการตอกโค๊ดก่อนการตะไบ...แต่ในความเห็นของผมไม่ว่าจะตอกก่อนหรือหลังตะไบ...ในร่องโค๊ดก็ไม่ควรมีรอยตะไบ(ที่มีลักษณะ เหมือนกันกับที่อยู่นอกร่อง และอยู่สูงกว่าในร่อง) ..ถ้าให้เห็นภาพชัดๆ ก็ลองนึกถึงตอนสมัยเราเรียนศิลปะวิชาภาพพิมพ์ตอน ม.ต้น...(ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้เขายังมีอยู่ป่ะ) ที่เราต้องใช้เครื่องมือแกะไม้ตัววี แกะแผ่นไม้การฝีมือเป็นลวดลายรูปร่างต่างๆเพื่อเป็นแม่พิมพ์ก่อนนำไปใช้ลูกกลิ้งกลิ้งสีหมึกพิมพ์บนแผ่นไม้ เพื่อนำกระดาษมาแปะแล้วกลิ้งลูกกลิ้งทับเพื่อพิมพ์ลาย....จากหลักการนี้ในลักษณะเดียวกันกับการตะไบ ...ผมเลยขอแยกเป็น 2 กรณี
    1.ในกรณีที่พื้นก้นฐานพระมีระนาบค่อนข้างเรียบ รอยตะไบก็จะดูสม่ำเสมอ แบบนี้จะสังเกตได้ง่าย แม้ว่ารอยตอกโค๊ดจะไม่ได้ระนาบ (ตอกเอียงเทน้ำดหนักไปด้านใดด้านหนึ่ง)...
    2.ในอีกกรณีที่ก้นฐานพระไม่ราบเรียบมีรอยก้านช่อ...(เช่นของพี่mkw )ต้องส่องกันละเอียดยิ่งขึ้นเพราะรอยตะไบจะไม่สม่ำเสมอเป็นขนาดและลักษณะเดียวกันทั้งรอย มีตัวประกอบอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องให้ต้องพิจารณาเยอะขึ้น ..เช่นน้ำหนักและระนาบของการตอก น้ำหนักและทิศทางของการตะไบ...ฯลฯ เป็นต้น...ในกรณีหลังนี้ หากจะมีร่องรอยการตะใบอยู่ในร่องโค๊ด ถ้าร่องโค๊ดยิ่งลึก การตะไบที่ผิวย่อมต้องหนักและใหญ่มากก...แต่ถ้าร่องโค๊ดตื้น ก็จะเห็นรอยตะไบได้ลึกชัดเจนในระนาบเดียวกันกับพื้นผิว
    แต่ถึงอย่างไรลักษณะของรอยตะไบที่อยู่ในร่องโค๊ดยังๆ น้ำหนักก็ต้องไม่เหมือนกันกันที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิว เพราะจะถูกแรงกระทำที่น้อยกว่า .....ดังนั้นถ้าผมเห็นพระที่มีรอยตะไบอยู่ในร่องโค๊ด ที่มีน้ำหนักการตะไบ+ ขนาด รูปทรงสัณฐานรอยตะไบ เกือบเป็นเช่นเดียวกันกับที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวที่ไม่ใชในร่อง...จึงเป็นข้อสงสัยของผมครับ....ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้นนะครับซึ่ง ถ้าท่านใดเห็นว่ามีผิดพลาดอย่างไรก็ช่วยท้วงติงแลกเปลี่ยนความเห็นกันด้วยนะครับ

    คำถามเรื่องสังกัจจายน์ทุ่งน้อยของพี่สมฯ ผมขอติดไว้ก่อนนะครับ...ยังไม่ชัวร์เดี๋ยวเพี้ยน
     
  2. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    ว่างจัด ไปเจอในเฟสเลยหยิบมาองค์นึงครับ มองศิลป์ในการสร้างเลยอดใจไม่อยู่ ออกความเห็นได้นะครับของผมเอง ขออภัยครับรูปใหญ่เกิน ใช้ไอแพดย่อรูปไม่เป็นครับแถมลงได้ทีละรูป
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      439.8 KB
      เปิดดู:
      505
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2014
  3. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    หลังครับ ผิวหิ้งซะด้วย(คิดเอาเอง)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      403.6 KB
      เปิดดู:
      53
  4. chush

    chush เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2012
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +145
    ส่องหลวงปู่ยามเย็น ก่อนดูบอลครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3719.JPG
      IMG_3719.JPG
      ขนาดไฟล์:
      621.4 KB
      เปิดดู:
      51
    • IMG_3732.JPG
      IMG_3732.JPG
      ขนาดไฟล์:
      614.6 KB
      เปิดดู:
      49
    • IMG_3734.JPG
      IMG_3734.JPG
      ขนาดไฟล์:
      208.2 KB
      เปิดดู:
      70
  5. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    ฐานครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171.9 KB
      เปิดดู:
      61
  6. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    รส พระ. ทำ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.9 KB
      เปิดดู:
      463
  7. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    ภาพที่ให้มาน้อยไปครับ และต้องคมชัดมากกว่านี้ครับ. ดูจากเนื้อและเศียรด้านหลัง ต้องบอกว่าเนื้อยังไม่เก่าที่จะเข้าไปอยู่ในยุคของหลวงปู่ครับเศียรด้านหลังลู่เข้าท้ายทอยเป็นลักษณะพระที่สร้างใหม่รวมถึงคราบที่พบ สนิมไม่เห็น เนื้อตึงๆ เกินจะเป็นหล่อโบราณครับ
     
  8. watcharadect

    watcharadect สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +5
    รบกวน ขอความรู้หลวงพ่อเงินองค์นี้หน่อยครับ ขอบคุณมากครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      396.2 KB
      เปิดดู:
      108
    • 001.jpg
      001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      504.6 KB
      เปิดดู:
      81
    • 02.jpg
      02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      408.3 KB
      เปิดดู:
      83
    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      509.4 KB
      เปิดดู:
      69
    • 04.jpg
      04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      209.2 KB
      เปิดดู:
      66
    • 05.jpg
      05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      309 KB
      เปิดดู:
      71
  9. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    หาองค์ใหม่ดีกว่าครับ แบบนี้พบตามตลาดทั่วไปครับ
     
  10. watcharadect

    watcharadect สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณมากครับ
     
  11. psom

    psom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,903
    ค่าพลัง:
    +8,391
    ครับท่าน พี่ bhothale

    *****
    :cool::cool::cool::cool::cool:
    จากการสังเกต ทั้งในเวป ประมูล ร้านต่างๆทั้งเล็กใหญ่ รวมทั้งเฟส กลุ่มต่างๆ พบว่า:โค็ต กลมสวย ลึกมี มิติ ธรรมชาติ ของการตอก(เคยพบโค็ตหล่อ..แต่หาภาพไม่เจอ) โลหะสนิมดูงาม เป็นที่หมายปอง สูงกว่า แบบตอกโค็ตติดรอยตะไบ แต่ทั้งสองแบบ ก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ที่มิได้ แสร้ง ทำให้ดูใช่ ทั้งที่ มิใช่

    ยังต้องเพียรศึกษาข้อมูลกันต่อไป

    ******
    :cool::cool::cool::cool::cool:
     
  12. psom

    psom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,903
    ค่าพลัง:
    +8,391
    ยามเย็นครับ
    [​IMG]
     
  13. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    ยามเช้าครับ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      169.7 KB
      เปิดดู:
      619
  14. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    อีกที่นะครับเผื่ใครเล่นเฟส เสิร์ทหาได้เลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      335 KB
      เปิดดู:
      133
  15. dต่อ

    dต่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +364
    วันดีๆ กับหลวงปู่องค์เดิม

    ยังไม่มีองค์ใหม่ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    ซักรูปก่อนนอน
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      291.1 KB
      เปิดดู:
      573
  17. psom

    psom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,903
    ค่าพลัง:
    +8,391
    ชมบอล /ส่องปืนครับ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2014
  18. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา ครูอาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา ปัญญาวุฒิ กเร เตเต ทินโนวาเท นมามิหัง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ให้โอวาท ผู้ทำให้ปัญญาเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.1 KB
      เปิดดู:
      533
  19. เจ๊ตุ้ม

    เจ๊ตุ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,607
    บอกอย่างไม่อายว่าลอกเค๊ามาครับ เป็นข้อมูลที่น่าสนใจ จากคมชัดลึกครับ ขอบคุณที่มาครับ

    มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลหะผสมในวงการพระเครื่อง ที่ผู้เขียนได้พยายามหาความกระจ่างมาโดยตลอด เกี่ยวกับโลหะบางชนิดที่วงการพระเครื่องเรียกขานกัน เนื่องจากในสมัยก่อนที่ยังไม่ได้เข้าวงการพระ ผู้เขียนเคยได้ยินว่า มีธาตุโลหะอัลปาก้าทองฝาบาตร โลหะขันลงหิน ฯลฯ แต่ก็ไม่เข้าใจ มาได้ยินการเรียกชื่อโลหะเหล่านี้อีกครั้ง เมื่อได้เข้ามาสัมผัสวงการพระ และหาผู้ที่สามารถคลี่คลายข้อข้องใจนี้ไม่ได้ เพิ่งมาได้รับความกระจ่างแจ้งเมื่อได้พูดคุยกับ คุณศิริชัยยิ้มตระการ เจ้าของโรงงานอรุณชัยการช่าง และบริษัท อรุณชัยเมดดัลเลี่ยน จำกัด จ.ชลบุรีโดยท่านได้ให้ข้อมูลว่า


    โลหะทองเหลือง เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี โดยมีสัดส่วนทองแดง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ สังกะสี ๒๕ เปอร์เซ็นต์


    ส่วน ทองฝาบาตร คือทองเหลืองที่ผ่านการปั๊ม (พระที่ทำด้วยทองเหลืองด้วยกรรมวิธีปั๊ม) เพียงแต่เขามาเรียกให้โก้ๆ เท่านั้นเองเพื่อจะได้จำหน่ายพระในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากคนทั่วไปไม่รู้ว่า แท้ที่จริงก็คือทองเหลืองล้วนๆ นั่นเอง


    สำหรับโลหะที่เรียกว่าขันลงหิน นั้นเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก โดยมากโลหะขันลงหินจะนิยมใช้ทำระฆัง เนื่องจากเวลาเคาะเสียงจะดังกังวาน ไพเราะเสนาะหู แต่มีข้อเสีย คือ ใช้เชื่อมไม่ได้เนื่องจากโลหะทุกชนิดที่ผสมด้วยดีบุกจะแตก เมื่อมีการเชื่อมเกิดขึ้น ดังนั้นระฆังส่วนมากท่อนล่างจะเป็นขันลงหิน ส่วนท่อนบนจะเป็นทองเหลือง



    โลหะอีกชนิดหนึ่งที่วงการพระพูดถึงเสมอคือ นวโลหะ ตามสูตรโบราณ หมายถึงโลหะ ๙ ชนิดที่หลอมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ประกอบด้วยโลหะ ๕ ชนิด เรียนว่าเบญจโลหะ ได้แก่ เหล็ก ปรอท ทองแดง เงิน ทองคำ (ทองเป็นเกล็ดหรือทองเป็นก้อนซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ) ถ้าเพิ่มอีก ๒ ชนิด คือ เจ้าน้ำเงิน (แร่ผสมชนิดหนึ่งมีพลวงเป็นส่วนผสมหลักสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี รวมเป็น ๗ ชนิด เรียกว่า สัตตโลหะ (สัตตะ=เจ็ด) และถ้าเพิ่มอีก๒ ชนิด คือ ชิน (โลหะผสมชนิดหนึ่งประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้ทำพระเครื่อง) และบริสุทธิ์ (คือทองแดงบริสุทธิ์) รวมเป็น ๙ ชนิด เรียกว่า นวโลหะ (นวะ=เก้า)


    พระเครื่องที่สร้างด้วย เนื้อนวโลหะ แบบโบราณนั้นสร้างได้ยากมาก เพราะส่วนมากผู้สร้างพระมักจะหาโลหะสำคัญบางชนิดไม่ได้ เช่น ชิน (ดีบุกผสมกับตะกั่ว) เจ้าน้ำเงิน (คนส่วนมากไม่ทราบว่าเป็นโลหะอะไร) จึงทำให้ยุคหลังๆ การสร้างพระเนื้อนวโลหะ มักจะไม่เต็มสูตร


    เหรียญเนื้อนวโลหะ ที่เรียกกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ผสมด้วยโลหะ๙ ชนิดแบบสมัยก่อน อย่างเช่น เจ้าน้ำเงิน ก็ไม่มีใครทราบว่าเป็นโลหะอะไร มีลักษณะแบบไหน ถามหาผู้รู้ก็ไม่มีใครทราบ


    นอกจากนี้ส่วนผสมหลัก คือ ทองคำ ก็มีราคาแพงมากเวลาทำเหรียญเนื้อนวโลหะโดยทั่วไปจึงไม่มีใครใส่ทองคำกันแล้ว


    ดังนั้นทุกวันนี้เหรียญเนื้อนวโลหะจะมีส่วนผสมเพียง๓ อย่างเท่านั้น คือ ทองแดง ๘๕ เปอร์เซ็นต์ เงิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ สังกะสี ๕ เปอร์เซ็นต์



    ส่วนโลหะที่เรียกกันว่าอัลปาก้า นั้น คือโลหะผสมระหว่างทองแดงกับนิกเกิลโดยยึดสัดส่วนเหมือนทองเหลืองคือ ทองแดง๗๕ เปอร์เซ็นต์ นิเกิล ๒๕ เปอร์เซ็นต์


    สำหรับเหรียญพระที่ทำด้วยเนื้ออัลปาก้านั้นทางโรงงานสมัยใหม่จะเรียกว่าเหรียญนิกเกิล


    อย่างไรก็ตามผู้เขียนยังไม่สิ้นความสงสัย เนื่องจากเคยได้ยินมาว่ามี โลหะอัลปาก้าเปลือย หรือเนื้อช้อนส้อมอีกชนิดหนึ่ง จึงได้ถามคุณศิริชัยว่า คือเนื้อโลหะชนิดใด ได้รับตอบว่า คือ โลหะผสมระหว่างทองแดง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ นิกเกิล ๒๕ เปอร์เซ็นต์ โรงงานปั๊มพระสมัยก่อน เวลาปั๊มพระแล้วแม่พิมพ์มักจะแตกบ่อยๆ หากมีส่วนผสมของนิกเกิลมากเท่าใด เนื้ออัลปาก้าจะแข็งมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงได้ลดสัดส่วนของนิกเกิลลงเหลือ ๑๗ เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้โลหะผสม (อัลปาก้า) นิ่มขึ้น เป็นการรักษาแม่พิมพ์ให้ทนทานยิ่งขึ้น จะได้ปั๊มเหรียญจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม


    คุณศิริชัยบอกด้วยว่า โลหะอัลปาก้า หากมีทองแดงเพิ่มมากขึ้นจะทำให้อัลปาก้ามีสีออกเหลืองมากยิ่งขึ้นตามสัดส่วนของทองแดง จึงป็นที่มาของ เนื้อช้อนส้อม หรือ อัลปาก้าเปลือย โดยปกติจะเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง๘๓ เปอร์เซ็นต์ กับนิกเกิล ๑๗ เปอร์เซ็นต์


    สมัยก่อนวงการพระยังไม่นิยมเหรียญพระเนื้ออัลปาก้าเปลือยเพราะเนื้อเหรียญออกเหลืองๆ ไม่สวยงามจึงแก้ไขด้วยการนำไปชุบนิกเกิล ทำให้เหรียญมีสีขาวแวววาวน่าดูขึ้น


    มาถึงสมัยนี้ความนิยมเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเหรียญเนื้ออัลปาก้าเปลือยมีความคมชัดลึกมากกว่าเหรียญเนื้ออัลปาก้าชุบนิกเกิล อีกทั้งในการพิจารณาพระแท้-เก๊ เหรียญเนื้ออัลปาก้าเปลือยจะดูได้ง่ายกว่าเหรียญเนื้ออัลปาก้าชุบนิกเกิลจึงทำให้ทุกวันนี้ นักสะสมเหรียญพระเปลี่ยนมานิยมเหรียญเนื้ออัลปาก้าเปลือยมากกว่าเหรียญเนื้ออัลปาก้าชุบนิกเกิล การเช่าบูชาเหรียญเนื้ออัลปาก้าเปลือย จึงมีราคาค่านิยมสูงกว่าเหรียญเนื้ออัลปาก้าชุบนิกเกิลเช่น เหรียญหลวงพ่อทวด วัดช้างให้รุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ ปี ๒๕๐๘ และ เหรียญหลวงพ่อทวด วัดช้างให้พิมพ์พุทธซ้อน ปี ๒๕๐๙


    ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนที่ได้ฐานข้อมูลมาจากคุณศิริชัย ยิ้มตระการ เจ้าของโรงงานอรุณชัยการช่าง และบริษัท อรุณชัยเมดดัลเลี่ยน จำกัด จ.ชลบุรีท่านผู้อ่านหรือนักสะสมเหรียญท่านอื่นๆ อาจจะมีความคิดเห็นแตกต่างไปจากนี้ก็ได้
     
  20. SURHASIT

    SURHASIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    1,670
    ค่าพลัง:
    +2,774
    สวัสดีครับพี่ๆทุกๆท่าน ไม่ได้เข้าห้องนี้มานาน องค์นี้เป็นอีกองค์ในรอบหลายๆเดือนเลยครับ ติชมได้ครับผม
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...