ความเข้าใจผิดเรื่อง ต้องได้ทำฌานให้ได้ก่อนจึงจะสามารถทำวิปัสสนาจนบรรลุธรรมได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Ron_, 29 กรกฎาคม 2013.

  1. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573


    ไม่ต้องปฏิบัติใดๆ เพียงแค่ฟังแล้วคลายปมต่างๆ จะสามารถทำให้หลุดเป็นอิสระ ได้หรือไม่ ?[/QUOTE]

    การฟังอย่างเดียว จัดอยู่ในสัมมาทิฏฐิ เพื่อ การปรับทิฏฐินั้นให้ถูกต้องการ เพียงเท่านั้น ไม่สามารถเพียงพอได้ เนืองจาก

    นิโรธะ คามินี ปฏิปทา มีองค์ประกอบ 8 ซึ่ง สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นส่วนที่ อยู่ใน อริยะสัจ 4

    ดังนั้น เพียงฟังอย่างเดียว แล้วละได้ในขณะนั้น ก้อยังกังขาอยู่ เพราะในสมัยพระพุทธเจ้า ท่านมี เทศให้กับ ปุถุชน บางท่าน จนเกิดดวงตาธรรม เข้าบวชเพื่อปฏิบัติธรรมบนพื้นฐานมรรคมีองค์8 และฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าไปด้วย จนบรรลุ

    มีกรณี พระพุทธเจ้า เทศน์ให้ปุถุชนทั่วไปฟัง แล้ว เข้านิพพานทันที มีบ้างไม๊?

    (เพราะ มิฉะนั้น ไม่ว่า สุขวิปัสสโก ก้อ ต้องอาศัย ฌาน ขั้นต่ำ คือ ระดับ 2 เป็นต้นไป ทำการพิจารณา)
     
  2. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ==============

    หมายความว่า ก็จิตที่มันไม่หยุดนิ่งนั้น หากเราทรงสติไว้และตามรู้ทันจิตที่ไม่หยุดนิ่ง ในที่สุดเราก็จะเกิดปัญญารู้ทันอาการของจิตที่ไม่หยุดนิ่ง ปัญญาที่รู้ทัน นั่นแหละคือความก้าวหน้า สมดั่งที่ท่านว่า “ ถ้าให้มันหยุดนิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า”


    ทีนี้หาก กระผมเป็นท่านพระอาจารย์มั่น[กราบขออนุญาติอุปมาครับ ] กระผมจะแสดงธรรมต่อเนื่องว่า
    “ แต่ถ้าเมื่อใดที่จิตมันหยุดนิ่งถึงที่สุดแล้ว นั่นแหละจิตก็ถึงความก้าวหน้าถึงที่สุดแล้วเช่นกัน” ครับ สาธุ
     
  3. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ส่วนความคิดเห็นเรื่องนี้นั้น จากที่เจ้าของกระทู้ตั้งขึ้นมา
    ถือว่ามีประโยชน์ดีมากๆครับ ขออนุโมทนาครับ
    เรื่องฌาณและญาณ เพื่อการบรรลุธรรม สำหรับผู้ที่ศึกษามามากและปฏิบัติมามากย่อมเข้าใจ แจ่มแจ้ง แทงทะลุหมดสิ้น
    อนึ่งทั้งฌาณและญาณ ต่างก็หมายถึงการทรงสมาธิที่อาศัยอิงกันเกื้อกูลกัน ทั้งนี้เพราะอาศัยสติ เป็นรากฐานสำคัญ
    สุดท้ายปัญญาที่จะเกิดขึ้น เพื่อดับอวิชา ตัณหาอุปาทานทั้งหลาย ก็ต้องอาศัยรากฐานทั้งฌาณและญาณ ทั้งนั้นครับ
    ขอท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจเรื่องฌาณและญาณ ให้ดีนะครับว่าเป็นอย่างไรเเกิดขึ้นอย่างไรอิงกันอย่างไรเกื้อกูลกันอย่างไร

    แม้พระอรหันต์สุขวิปัสโก ท่านไม่มีอภิญญาใดๆ ท่านบรรลุธรรมได้ ด้วยความเป็นผู้ธรรมดาสามัญสาวกที่เคร่งครัดในศีล หมั่นพิจารณา กาย หมั่นพิจารณาจิตของตน มั่นพิจารณากฏไตรลักษณ์ ท่านก็หลุดพ้นทุกข์ได้ แต่อาการในการหมั่นพิจารณากาย จิต ของตนเป็นต้นนั้น เป็นอาการที่กำลังสร้างปัญญารู้แจ้งหลุดพ้น อาการดังกล่าว เป็นการเดินสมาธิฌาณและญาณประกอบกัน แต่เป็นแบบจากความไม่ต่อเนื่องเก็บเล็กผสมน้อย จนเมื่อฝึกฝนพิจารณาเป็นปรกติมีกำลังมาก จึงขยายเป็นความต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น จนที่สุดคือการมีสติปัญญาเกิดร่วมอยู่กับจิตเป็นปรกติไม่มีขาดได้ในที่สุดครับ

    ดังนั้นสิ่งที่กระผมกล่าวมาขอท่านทั้งหลายพึงพิจารณาด้วยเถิดครับ สาธุ
     
  4. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    มีสิ ท่านเทศน์ให้ ท่านพาหิยะ ฟังจนบรรลุอรหันต์ทันที หลังฟังเทศน์จบ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษา
    อย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็น
    สักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกร
    พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อ
    ทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
    ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
    ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
    ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
    ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาค

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=1607&Z=1698

    เอามาจากไหน? คิดเอาเองหรือเปล่าว่าพระอรหันต์สุขวิปัสสโกต้องอาศัยฌาน 2 ขั้นต่ำ ?

    ในพระอภิธรรมท่านบอกว่า แม้ระหว่างปฏิบัติธรรมไม่เคยได้ฌาน มาก่อน เวลาบรรลุธรรมจิตก็ต้องรวมอย่างต่ำเป็นปฐมฌาน (หรือฌาน 1)
     
  5. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ฌาน 2 ตามนิยาม ของหลวงปู่สรวงพูดถึงการทำรูปฌาน4 เป็นภาวะ ที่ไม่มีวิตก และ วิจารณ์ หรือ จิต คลายจาก สิ่งฟุ้งซ่านทั้งปวง และเข้าสู่ภาวะสงบ
    (หาอ่าน จากเมนู หลักข้างบนได้นะจ๊ะเคยเห็นอยู่ แต่เทศนาเต็มของท่านจริงมีอยู่ประมาณ 32 กัณท์)

    ด้วยภาวะ เช่นนี้ สามารถ ดำเนินการพิจารณา ได้พอประมาณ (จาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ/พระไตรปิฏก - สุขวิปัสสโก) โดยไม่ต้องมีฤทธิ์ หรือ การหยั่งรู้ใดๆ นำทาง ใช้ปัญญาจากสมอง พิจารณา เพื่อนำทางให้จิตเข้าสู่ภาวะหลุดพ้น อนึ่งปัญญาจากสมองนี้ มีมาได้หลายทาง เช่น จากการอ่าน การฟัง การสนทนากับกัลยาณมิตร ซึ่งอยู่ในการปรับสัมมาทิฏฐิ หากสัมมาทิฏฐิ นั้นถูกต้อง 100% ก้อจะหลุดพ้นแน่นอน แต่หากสัมมาทิฏฐินั้น ยังไม่บริบูรณ์ ก้อยังคงรอปรับต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบ
    (แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังคงต้องอยู่บนพื้นฐาน มรรคมีองค์ 8 หากไม่มีพื้นฐานนี้รองรับอยู่แล้วไซร้ ยังไม่เคยอ่านเจอในพระไตรปิฏกว่า พระพุทธเจ้า กล่าวว่า ไม่ต้องอาศัย หรือ ละการปฏิปทา เช่นนี้)

    ผู้ที่ฟังอย่างเดียว แล้วหลุดพ้น โดยไม่ต้องอาศัยปฏิปทาใดๆ นั่นเพราะเขามีบารมีเก่า มาเกื้อหนุนอยู่เยอะมาก ใช่ว่า ทุกคนจะเป็นเช่นนั้น ไม่ (กรณีตัวอย่างที่ยกมานั้น เป็นกรณีศึกษาที่ดีอันหนึ่ง แต่ใช่ว่าจะใช้ได้กับทุกคน เป็นเพียงอุทาหรณ์ว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้และสิ่งนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ สิ่งนั้นมีอยู่ และ/หรือสิ่งนั้นไม่มีอยู่ สิ่งนั้นนำมาใช้ได้และสิ่งนั้นนำมาใช้ไม่ได้ เนื่องด้วยปัจจัยประกอบใดบ้าง?)

    http://www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-pahiya-tarujeeriya.htm
    อ่านแล้วสนุกดี อิอิ ท่านพาหิยะ เคยปฏิธรรมมาก่อนถึง 2 หมื่นปีแหนะ เคยอธิษฐานขอเป็นอรหันต์ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2013
  6. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    การปฏิบัติธรรมที่ว่า ต้องถึงฌาน 2 ก่อนแล้วจึงทำวิปัสสนาได้ ที่หลวงปู่สรวงเทศน์ ก็เป็นหนทางหนึ่งที่ทำได้ ไม่ได้ผิดอะไร เพราะเป็นทางเลือกหนึ่งในการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม

    แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องทำตามนั้นเสมอไป เหมือนเช่นที่คุณ ตั้งฉากยกมาว่า ทุกคนไม่จำเป็นต้องเหมือนพระพาหิยะ ใช่ไหม เช่นกัน คนที่จะบรรลุธรรมก็ไม่จำเป็นต้อง ได้ฌาน 2 ก่อนจึงสำเร็จเสมอไป เหมือนกัน

    เพราะตามที่บันทึกในพระไตรปิฎก การสามารถทำได้หลายแนวทาง (แต่ต้องอยู่ในขอบเขตมรรค 8 สติปัฏฐาน 4)

    การสรุปว่า ต้องอย่างต่ำฌาน 2 เท่านั้นจึงสำเร็จ หรือ ต้องไม่ได้ฌานเท่านั้นจึงสำเร็จ จึงไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะไม่ได้เป็นสำหรับทุกคน
     
  7. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    หลายคนเอาแต่ปฏิบัติโดยไม่ศึกษาตำรา โดยเฉพาะอภิธรรม จึงมักสับสนระหว่างสมถะกับฌาน

    จึงขอยกนิยามจากพระอภิธรรมมาดังนี้

    [๖๙] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.

    [๗๐] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=598&Z=847

    ส่วนฌานนั้นหมายเอาจิตที่ประกอบด้วยองค์ฌาน
    [๗๒๑] ฌาน ๔ คือ
    ๑. ปฐมฌาน
    ๒. ทุติยฌาน
    ๓. ตติยฌาน
    ๔. จตุตถฌาน
    [๗๒๒] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
    อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ
    วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
    ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
    [๗๒๓] ทุติยฌาน เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าไปสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุทุติยฌาน อันเป็น
    ไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    แก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทา-
    *ทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต
    มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่
    สัมปยุตด้วยฌาน
    [๗๒๔] ตติยฌาน เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย
    จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ
    ตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิต
    เป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ใน
    สมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า
    ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
    [๗๒๕] จตุตถฌาน เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มี
    ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท
    ในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด
    ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน
    ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=8618&Z=8653

    โดยสรุปคือ
    - สมถะ มีความหมายกว้างกว่าฌาน การทำสมถะ ไม่ได้หมายความว่าจิตต้องเป็นฌานเสมอไป
    - ฌาน เป็นส่วนหนึ่งของสมถะ
    - การปฏิบัติธรรมให้บรรลุธรรม พระพุทธเจ้าบอกให้เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วยปัญญาอันยิ่ง
    - ขณะบรรลุธรรมจิตต้องรวมเป็นฌานเสมอ แม้ว่าก่อนหน้านั้น จะไม่เคยเข้าฌานมาก่อนเลยก็ตาม
     
  8. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    สมถะกรรมฐาน
    วิปัสสนากรรมฐาน
    สองสิ่งนี้ต้องอาศัยร่วมกันขาดออกจากกันไม่ได้ใช่หรือไม่ นักปฏิบัติธรรมต้องตอบได้

    นิวรณ์5
    วิตกวิจารณ์วิจิกิจฉา
    สองสิ่งนี้เป็นเครื่องขัดขวางการบรรลุธรรมใช่หรือไม่

    ฌาณและญาณ หากฝึกจนชำนาญแล้วแม้ในขณะทำกิจใดๆทุก อิริยาบทใดๆ ผู้ฝึกฝนมาดีแล้วย่อมทำให้เกิดและรักษาฌาณและญาณไว้เป็นปรกติได้เสมอ ใช่หรือไม่ครับ

    นักปฏิบัติต้องตอบได้ บางเรื่องที่ไม่มีในตำรา หรือหาอ่านได้ยาก ต้องอาศัยการปฏิบัติเท่านั้นจึงทราบคำตอบครับ จึงควรลองพิจารณาดูให้ถี่ถ้วนครับ สาธุ
     
  9. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ไม่ได้บอกนะครับว่าตอนบรรลุไม่เกิดฌาน
    แต่ในตำราท่านว่า ระหว่างปฏิบัติ ต้องมีสมาธิไม่ฟุ้งซ่าน แต่ไม่จำเป็นต้องทำสมาธิถึงขั้นฌาน เมื่อถึงเวลาที่บรรลุธรรม ถ้าไม่เคยได้ฌานมาก่อนเลย จิตจะรวมตัวเป็นปฐมฌานเองในขณะที่บรรลุ
     
  10. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    สุกขวิปัสสกบุคคล ผู้มีวิปัสสนาญาณอันแห้งแล้งจากโลกียฌาน เป็นผู้ที่ไม่เคยได้เจริญสมถภาวนาจนบรรลุถึงฌานธรรมเลย บุคคลจำพวกนี้เวลาเจริญวิปัสสนาภาวนา จึงไม่สามารถกำหนดเพ่งฌานได้ ได้แต่กำหนดเพ่งรูปนามที่เป็นกามธรรมเพียงอย่างเดียว ถึงกระนั้นเมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น ก็ย่อม บริบูรณ์ และพร้อมมูล ด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ เหตุนี้จึงจัดว่าเป็น ปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิตเสมอไปสกทาคามิมัคค อนาคามิมัคค อรหัตตมัคค ของสุกขวิปัสสกบุคคล ก็จัดเข้าเป็นปฐมฌานด้วยกันทั้งสิ้นดังมีหลักฐานใน อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงไว้ว่า

    วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ ฯ
    ตามธรรมเนียมของวิปัสสนา มีหลักอยู่ว่า มัคคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนาภาวนาล้วน ๆ ก็ย่อมประกอบด้วยปฐมฌาน

    ส่วนใครที่คิดว่า คนที่ไม่ได้ฌาน แล้ว ทำวิปัสสนา เป็นจำพวกที่มีน้อย มีไม่กี่คน ทำได้ยาก ต้องดูหลักฐานจากตำราดูนะครับ ในพระไตรปิฎกระบุว่า สมัยพุทธกาล พระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุติ หรือ สุขวิปัสสกะ (ไม่ได้ทำฌานในขณะปฏิบัติ ถึงฌานแค่ขณะบรรลุธรรมเท่านั้น) มีถึง 64% เลยทีเดียว

    ๑๑. พระอริยที่เป็นสุกขวิปัสสกบุคคล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปัญญาวิมุตติ นั้นมีจำนวนมากกว่า พระอริยที่เป็นฌานลาภีบุคคล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจโตวิมุตติ นั้นมากมาย ดังใน สังยุตตพระบาลี แสดงไว้ว่า

    อิเมสํ หิ สารีปุตฺต ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ สฎฺฐิ ภิกฺขู เตวิชฺชา สฏฺฐิ ภิกขู ฉฬาภิญฺญา สฏฺฐิ ภิกฺขู อุภโตภาควิมุตฺตา อถ อิตเร ปญฺญาวิมุตฺตา

    ดูกร สารีบุตร ในพระภิกษุ ๕๐๐ องค์, ๖๐ องค์ เป็นเตวิชชบุคคล, ๖๐ องค์เป็นฉฬาภิญญาบุคคล, ๖๐ องค์เป็นอุภโตภาควิมุตติบุคคล เหลือนอกนั้นทั้งหมดเป็นปัญญาวิมุตติบุคคลดังนั้นจึงได้กล่าวว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลเพราะเห็นอนิจจัง และเพราะเห็นอนัตตามีมากกว่าผู้ที่เห็นทุกขัง เพราะผู้ที่เห็นทุกขังเป็นผู้ที่บุพพาธิการแต่ปางก่อนยิ่งด้วยสมาธิ

    http://www.reocities.com/SouthBeach/terrace/4587/9page131-140.htm

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย . . . สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้ สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1003&Z=1058

    [๑๓๗] . . . บุคคลผู้ได้ปัญญาเห็นแจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญา แต่ไม่ได้เจโตสมถะเป็นภายใน เป็นไฉน

    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล แต่ไม่ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือสหรคตด้วยอรูป บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นเป็นผู้ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรมกล่าวคืออธิปัญญา แต่ไม่ได้เจโตสมถะเป็นภายใน

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=36&A=3659&Z=4544
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 พฤศจิกายน 2013
  11. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    เพิ่มเติมข้อมูล พระพุทธพจน์จาก ปุตตสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัย
    นี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
    ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แต่หาได้ถูกต้อง
    วิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายไม่
    บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างนี้แล ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=2363&Z=2420

    อรรถกถาปุตตสูตรกล่าวไว้ว่า
    บทว่า สมณปุณฺฑริโก ได้แก่ สมณะดังบัวขาว. ธรรมดาบัวขาวเกิดในสระมีใบ ๙๙ ใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพสุกขวิปัสสกผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนด้วยบทนี้. ด้วยว่าพระขีณาสพสุกขวิปัสสกนั้น ชื่อว่าสมณะดังบัวขาว เพราะท่านยังมีคุณยังไม่บริบูรณ์ โดยที่ฌานและอภิญญาไม่มี.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=87
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2013
  12. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ในพระไตรปิฎกแบ่งพระอรหันต์เป็น 2 ประเภทคือ
    1. ปัญญาวิมุตติ
    2. อุภโตภาควิมุตติ

    1) ปัญญาวิมุตตินั้น นิยามคือ ผู้ที่ไม่ได้ฌาน หรือ ได้สูงสุดแค่รูปฌาน 4 (ไม่ได้วิโมกข์ 8) แล้วบรรลุอรหันต์ ซึ่งจากนิยามแบ่งเป็น
    1.1 สุกขวิปัสสโก (ศัพท์ตามอรรถกถา) คือ ผู้ที่ไม่เคยได้ฌานในระหว่างปฏิบัติ แล้วบรรลุอรหันต์ (ถึงปฐมฌานแค่ตอนบรรลุ)
    1.2 ผู้เคยได้ฌานมาก่อนสูงสุด แค่ ฌาน 1 ในระหว่างที่ปฏิบัติแล้วบรรลุอรหันต์
    1.3 ผู้เคยได้ฌานมาก่อนสูงสุด แค่ ฌาน 2 ในระหว่างที่ปฏิบัติแล้วบรรลุอรหันต์
    1.4 ผู้เคยได้ฌานมาก่อนสูงสุด แค่ ฌาน 3 ในระหว่างที่ปฏิบัติแล้วบรรลุอรหันต์
    1.5 ผู้เคยได้ฌานมาก่อนสูงสุด แค่ ฌาน 4 ในระหว่างที่ปฏิบัติแล้วบรรลุอรหันต์

    2) อุภโตภาควิมุตินั้นคือผู้ที่ได้ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน (วิโมกข์8) อันเป็นเจโตวิมุติ ในระหว่างที่ปฏิบัติแล้วบรรลุอรหันต์ อันเป็นปัญญาวิมุติ

    http://www.84000.org/tipitaka/read/?36.2/40-41

    นิยามวิโมกข์ 8 และ อุภโตภาควิมุติ
    http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=10&item=66&items=1&preline=0&pagebreak=1

    ข้อมูลเพิ่มเติม
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CA%D8%A1%A2%C7%D4&detail=on
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2013
  13. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ความคิดเห็นของผมนะครับ ว่า
    บุคคลสมัยพุทธกาล อินทรีกล้ามาก
    เหมือนเพียงฟังธรรมแล้วบรรลุ
    แต่จริงๆแล้ว พวกเขาได้เจริญองค์มรรคครบถ้วนโดยไม่รู้ตัวจน ปริ่มๆอยู่
    การเทศนาของพุทธองค์จึงทำให้ล้นออก
    แต่สมัยนี้ กิเลสมันมากมาย ไปตามวัตถุนิยม
    ความเื้อื้อเฝื้อหายไปหมด เพื่อนบ้านไม่รู้จักกัน
    พี่น้องไม่คุยกัน พ่อแม่ลูกหลานไม่เห็นอดเห็นใจกัน
    มรรคก็เลยปฏิบัติได้ยาก ที่เคยมีมันก็เสื่อมลงเสื่อมลง

    สมัยนี้ฟังธรรม ก็เลยไม่บรรลุ เพราะขาดสมาธิ ขาดสติ
    ห่วงแต่เงิน ห่วงแต่งาน ห่วงๆๆๆๆนู่นนี่นั่น อยากได้สารพัด
    ถ้าพูดถึงว่า จะมีพระมาเทศ บุคคลสมัยก่อน เขาเข้ามาฟังกันเยอะ
    เพราะเหมือนของที่ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆบ่อยๆ ประกอบกับไม่มีอะไรจะทำมากนัก
    เสร็จจากทำไร่ไถ่นาปลูกข้าวหาปลา ก็ว่างๆ ไม่รู้ทำอะไี
    แต่สมัยนี้ คนมันไม่ว่าง ไม่มีเวลา พอได้ยินว่าพระจะเทศก็เบือนหน้าหนี
    พอมาฟังเทศก็ไม่เข้าหู คิดไม่ออก สมาธิไม่พอ
    นี่ มันเป็นอย่างนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2013
  14. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    คนสมัยก่อนเจอพระพุทธเจ้า ก็ไม่ได้สนใจทุกคนนะครับ

    พระพุทธศาสนาปรากฏเป็นลัทธิหนึ่งในหลายลัทธิสมัยนั้น

    บางคนเจอพระพุทธเจ้าก็เป็นเหตุให้พุ่งหลาวลงนรกอเวจีก็มีตัวอย่างมากมายเช่น เทวทัต เป็นต้น

    เราเกิดมาในยุคนี้นับว่า มีข้อดีบางอย่างกว่าสมัยพุทธกาลคือเราสามารถ
    ศึกษาพระพุทธพจน์ได้อย่างไม่ลำบากเพราะมีสื่อมากมายทั้งอินเตอร์เนท คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วว่าคำสอนใดพระพุทธเจ้าตรัสสอน หรือไม่ตรัสสอน และ ท่านตรัสสอนอย่างไรที่ไหน ได้อยากสะดวกมากมาย

    กิเลสและธรรมเป็นของประจำโลกทุกยุคทุกสมัย

    อย่างไรก็ตาม ธรรมะเป็นอกาลิโก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ตราบใดยังมีการปฏิบัติธรรมโดยชอบ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์
     

แชร์หน้านี้

Loading...