ไปนิพพานไปยังไง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Giew, 2 เมษายน 2013.

  1. Giew

    Giew Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +34
    เราอยากรู้ว่าไปนิพานไปยังไง ปได้โดยวิธีไหน ไปแล้วจะเป็นยังไง แล้ทำยังไงเราถึงจะไปได้ครับ ช่วยแชร์ความคิดที่
     
  2. phataravudh

    phataravudh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +2,440
    กำจัดกิเลสให้หมดสิ้น เจริญวิปัสสนากรรมฐานให้ บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์เท่านั้น นิพพานคือภพที่ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในโลกมนุษย์ สวรรค์ พรหมโลก อีก คือหลุดพ้นจากการเกิด "แต่นิพพานไม่สูญนะ" อย่างพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ที่ท่านนิพพานไปแล้ว ท่านก็มาโปรดสัตว์โลกได้ ในสมาธิบ้าง ในนิมิตบ้าง หรือในพิธีกรรมต่างๆ ท่านก็มาได้ถ้าท่านจะมา คนที่มีทิพยจักขุญาณก็มองเห็นได้ ฆราวาสหลายคนที่ไม่ได้บวชพระ ก็เข้านิพพานได้ เช่นหม่อมหญิงวิภาวดี ท่านก็เข้านิพพาีนได้ และอีกหลายคนที่ไม่ได้กล่าวถึง

    เอาง่ายๆ คือ ไม่ง่าย และก็ไม่ยาก
    (1) รักษาศีลตามสถานะของตน
    (2)เจริญในมรรค 8
    ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือหลุดพ้นจากการเกิดได้แก่
    ๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔ หรือเห็นเหตุผลตามเป็นจริง แม้โดยประการที่ผ่อนพิจารณาลงดังกล่าวมาโดยลำดับ
    ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ ดำริ หรือคิดออกจากสิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์ ดำริในทางไม่พยาบาทมุ่งร้าย ดำริในทางไม่เบียดเบียน
    ๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียดให้แตกร้าวกัน เว้นจากพูดคำหยาบร้าย เว้นจากพูดเพ้อเจ้อไม่เป็นประโยชน์
    ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากการฆ่า การทรมาน เว้นจากการลัก เว้นจากการประพฤติผิดในทางกาม
    ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากมิจฉาอาชีวะ (อาชีพผิด) สำเร็จชีวิตด้วยอาชีพที่ชอบ
    ๖. สัมมาวายามะ เพียรพยายามชอบ คือเพียรระวังบาปที่ยังไม่เกิดมีให้เกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม แต่ให้เจริญยิ่งขึ้น
    ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกไปในที่ตั้งของสติที่ดีทั้งหลาย เช่น ในสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
    ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ คือ ทำใจให้เป็นสมาธิ (ตั้งมั่นแน่วแน่) ในเรื่องที่ตั้งใจจะทำในทางที่ชอบ มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นทางเดียว แต่มีองค์ประกอบเป็น ๘ และย่อลงได้ในสิกขา (ข้อที่พึงศีกษาปฏิบัติ) คือ

    (3.) ตัดสังโยชน์ 10 ให้ได้ ตัดได้เมื่อไร บรรลุอรหันต์เมื่อนั้น
    สรุปหัวข้อธรรมะ สังโยชน์ ๑๐

    สังโยชน์ ๑๐ ประการ ก็คือ
    ๑. สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะไม่ตาย ร่างกายสะอาด ร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา
    ๒. วิจิกิจฉา มีความสงสัยในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สงสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ ไม่ตกลงว่าจะยอมรับนับถือหรือไม่
    ๓. สีลัพพตปรามาส ไม่ตั้งใจรักษาศีลอย่างจริงจัง รักษาศีลประเภทหัวเต่า คือผลุบเข้าผลุบออก ประเดี๋ยวทรงตัวบ้าง ประเดี๋ยวไม่ทรงตัวบ้าง
    ๔. กามฉันทะ มีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ นี่เรียกว่าติดหลงใหลใฝ่ฝันอยู่ในกามารมณ์
    ๕. ปฏิฆะ มีอารมณ์ข้องใจไม่พอใจ คือมีความโกรธ มีความไม่พอใจอยู่เป็นปกติ ยังเหลืออยู่
    ๖. รูปราคะ มีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปที่เป็นวัตถุหรือรูปฌาน
    ๗. อรูปราคะ หลงใหลใฝ่ฝันในอรูป หรือสิ่งที่ไม่มีรูป หรืออรูปฌานว่าดีเลิศประเสริฐแล้ว
    ๘. มานะ ยังมีการถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา
    ๙. อุทธัจจะ ยังมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ไม่มั่นใจในตัวเองว่าเราจะไปนิพพานดีหรือไม่ไปนิพพานดี ไปได้แน่หรือไปไม่ได้แน่ เอาแน่นอนไม่ได้ คือ จิตใจขาดความเข้มแข็ง
    ๑๐. อวิชชา อวิชชานี้ยังมีความหลงใหลใฝ่ฝันในมนุษยโลก เทวโลกและพรหมโลก ยังเห็นว่ามนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก เป็นของดี ต้องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ

    รวมความว่าสังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ เป็นเครื่องดึงเราให้เวียนว่ายตายเกิด ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ไม่ใช่จากมนุษย์ตายเป็นมนุษย์ ตายจากมนุษย์เกิดเป็นมนุษย์ ไม่ใช่อย่างนั้น ตายจากมนุษย์แล้วอาจจะเป็นสัตว์นรกก็ได้ เป็นเปรตก็ได้ เป็นอสุรกายก็ได้ เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ได้ เป็นเทวดาหรือพรหมก็ได้ เป็นอะไรก็ได้สุดแล้วแต่ความดีหรือความชั่ว

    ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัท หรือบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรสามารถตัดสังโยชน์ได้ถึง ๑๐ ประการ พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า พระอรหันต์ เป็นผู้ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ก็รวมความว่าเราจะไม่พบกับคำว่า การเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน การเกิดเป็นมนุษย์เป็นเทวดาหรือพรหมไม่มีอีกแล้ว ไปอยู่นิพพานแห่งเดียว มีแต่ความสุขสำราญ ไม่มีความทุกข์เป็นที่ไป




    ( จากหนังสือ แนะวิธีหนีนรกแบบง่าย ๆ หน้า ๘ )
    หลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2013
  3. Mon Treal

    Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือนิพพาน.
    สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า
    ย่อมกล่าวซึ่งโรค (ความเสียดแทง) นั้น โดยความเป็นตัวเป็นตน
    เขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็น (ตามที่เป็นจริง)
    โดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว
    มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น (จากที่มันเป็นอยู่จริง) จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น.
    เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย (ที่เขาไม่รู้จัก) :
    เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์.
    พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ.
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความหลุดพ้นจากภพว่ามีได้เพราะภพ ;
    เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.
    ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพว่า มีได้เพราะวิภพ (ไม่มีภพ) :
    เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ยังสลัดภพออกไปไม่ได้.
    ก็ทุกข์นี้มีขึ้น เพราะอาศัยซึ่งอุปธิทั้งปวง.
    เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงไม่มี.
    ท่านจงดูโลกนี้เถิด (จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลายอัน
    อวิชชา (ความไม่รู้) หนาแน่นบังหนาแล้ว ;
    และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพอันเป็นแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไป
    จากภพได้ ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด อันเป็นไปในที่หรือในเวลาทั้งปวง
    เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง ;
    ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.
    เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้อยู่ ;
    เขาย่อมละภวตัณหา(ความอยากมีอยากเป็น)ได้
    และไม่เพลิดเพลินวิภวตัณหา(ความไม่อยาก) ด้วย.
    ความดับเพราะความสำรอกไม่เหลือ (แห่งภพทั้งหลาย)
    เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือนิพพาน.
    ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น.
    ภิกษุนั้น เป็นผู้ครอบงำมารได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว
    ก้าวล่วงภพทั้งหลายทั้งปวงได้แล้วเป็นผู้คงที่ (คือไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป), ดังนี้ แล.

    อุ.ขุ. ๒๕ / ๑๒๑ / ๘๔.
     
  4. Mon Treal

    Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    สิ้นนันทิ สิ้นราคะ ก็สิ้นทุกข์
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล
    ว่าไม่เที่ยง ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ (การเห็นอยู่
    โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น.
    เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
    (สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ);
    เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
    จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
    (นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย);
    เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ
    จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
    (ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย);
    เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
    กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.
    (นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).
    สฬา.สํ. 18/179/245-6


    นันทิ คือความเพลิน เพลินอะไรก็เพลินในอารมณ์ต่าง ต่าง แต่ละวัน หากเพลิน จิตก็จะสร้าง ภพ คือที่เกิด ถ้ายังเพลินต่อไปไม่ยอมหยุด จิตก็จะสร้าง ชาติ คือการเกิด แล้วเมื่อมีเกิด สิ่งที่จะตามมาคือ ชรา มรณะ....โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปปายาสะ
    เมื่อไม่มีเกิด ก็ไม่มีตาย..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2013
  5. Wild

    Wild Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +41
    ผมอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว - น่าจะมีคำตอบต่อข้อสงสัยได้บ้างครับ^^
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. Giew

    Giew Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +34
    ขอบคุณ ทุก คน สำหรับคนที่คิดดี ทำดี จะได้ดีครับ^^
     
  7. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    นิพพานเป็นชื่อชั้นของการปฏิบัติธรรมทางศาสนา ไม่มีใครไปนิพพานได้ แต่ถ้าปฏิบัติธรรมจนสำเร็จชั้นนิพพานย่อมสำเร็จได้ ดังนั้น คำว่า "ไปนิพพาน" เป็นการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง

    ในเมื่อ นิพพาน เป็นชื่อชั้นของการปฏิบัติธรรมทางศาสนา ทุกท่านจะสำเร็จนิพพานได้ ก็ต้องปฏิบัติธรรม จะปฏิบัติธรรมได้ก็ต้องรู้หลักธรรม ต้องรู้หลักปฏฺิบัติ
    ถ้ารู้ธรรม รู้วิธีปฏิบัติแล้ว และได้ปฏิบัติแล้ว ก็ย่อมบรรลุธรรมหรือบรรลุชั้นแห่งการปฏิบัติธรรมไปตามลำดับ หากเป็นในทางพุทธศาสนา ก็มีชื่อเรียกเป็นชั้นเป็นขั้น คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรห้นต์ นิพพาน ฯ
    ถ้าบรรลุอรห้นต์แล้ว ก็จะคาบเกี่ยวกับนิพพาน ร่างกายจะโปร่งแสง มองทะลุผ่านได้ เมื่อสำเร็จนิพพาน ก็จะสามารถกำหนดดับ และ เกิดได้ หมายความว่า จะสูญสลาย ไม่เกิดอีกก็ได้ หรือจะเกิดใหม่อีกก็ได้ อย่างนี้เป็นต้น
     
  8. Giew

    Giew Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +34
    phataravudh ตรงและถูกต้องใช้ได้เลย :cool: Mon Treal ขอบคุณสำหรับคำอธิบายครั
     
  9. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    รู้แล้ว ยังถาม ไช่มั้ยครับ
    หรือรู้ว่า คำตอบนี้ถูก ตามที่ตนเองเข้าใจ แล้วถามทำไมครับ
    ทั้งที่คำตอบ ไม่ไช่คำตอบที่ถูก แต่กลับตอบว่า ถูกต้องใช้ได้ โกหกหรือเปล่าครับ
    คำตอบที่ไช่คือ

    นิพพาน ตรงไปเลี้ยวซ้ายครับ :cool:
    คือคำตอบที่ถูก

    ที่เขาตอบคือ นิพพานคืออะไร แต่คุณถามคือ นิพพานไปยังไง ถูกเฉยเลย อุลต้ราแมนเซกะ งง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 เมษายน 2013
  10. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ตั้งกระทู้ขึ้นมาเอง แล้วก็ตอบเอง ตลกบริโภคหรือครับ
    ทำเป็นปาหี่หน้าม่าน หลอกเด็ก หรือครับ
    ไม่เนียนสักเท่าไหร่นะครับ
     
  11. phataravudh

    phataravudh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +2,440
    อารมณ์พระโสดาบัน

    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปนี้ขอได้โปรดฟังคำแนะนำ อารมณ์ของพระโสดาบัน
    สำหรับวันนี้จะได้พูดถึงอารมณ์ของท่านที่ทรงความเป็นพระโสดาบัน ท่านทั้งหลายจะได้ทราบไว้ว่า คนที่เป็นพระโสดาบันแล้วมีอารมณ์เป็นยังไง ส่วนใหญ่คนทั้งหลายมักจะมีความรู้สึกว่า คนที่เข้ามาเจริญพระกรรมฐาน หรือสมถภาวนา หรือ วิปัสสนาญาณ และเริ่มเข้ามาเจริญแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องตัดหมดนั้นเป็นความรู้สึกผิดของท่านผู้มีความคิดอย่างนั้น
    ความจริงการเจริญพระสมณธรรมมีอารมณ์เป็นขั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่ทรงจิตเป็น ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิหรือ อัปปนาสมาธิ สำหรับอัปปนาสมาธินี้หมายถึงอารมณ์ฌาน ตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 8 อารมณ์ประเภทนี้จะระงับได้เพียงนิวรณ์ 5 ประการ แต่ก็เป็นเพียงระงับเท่านั้นไม่ใช่ตัด ถ้ายังมีความประมาทจิตคิดชั่ว ฌานก็สลายตัว เป็นอันว่าผู้ทรงฌานโดยเฉพาะอย่างยิ่งฌานโลกีย์ ยังไม่มีความหมาย ในการเจริญสมณธรรมในพระพุทธศาสนา ถึงแม้ว่าท่านผู้นั้นจะได้มโนมยิทธิก็ดี ได้อภิญญา 5 ในอภิญญา 6 ก็ดี ได้ 2 ในวิชชาสามก็ดี ก็ยังไม่มีความหมายในการตัดอบายภูมิ ท่านที่จะตัดอบายภูมิได้จริง ๆ ก็คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
    คำว่า พระโสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน
    ฉะนั้นพระโสดาบันก็ยังตัดอะไรไม่ได้หมด เป็นแต่เพียงว่ามีอารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้น แต่เพียงอย่างอยาบเท่านั้น อารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้นก็คือ 1. สักกายทิฏฐิ ที่มีความรู้สึกว่าสภาพร่างกายหรือว่าขันธ์ 5 เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มีในเรา เฉพาะอย่างยิ่งในด้านสักกายทิฏฐินี้ พระโสดาบันลดลงมาได้เพียงเล็กน้อย ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเราอยู่ แต่ทว่ามีอารมณ์ไม่ประมาท มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ที่ท่านกล่าวว่าบรรดาพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อย คำว่าสมาธิเล็กน้อย คือ อารมณ์สมาธิของท่านผู้เจริญฌานสมาบัติ มีอารมณ์ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ยังไม่ถึงฌาน 4 ก็สามารถจะเป็นพระโสดาบันได้
    สำหรับที่ว่ามีปัญญาเล็กน้อย ก็เพราะว่ายังไม่สามารถตัดขันธ์ 5 ได้เด็ดขาดด้วยกำลังของจิต ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา แต่ทว่าความรู้สึกของท่านมีความดีอยู่หน่อยหนึ่งว่าเราจะต้องตาย ยังไง ๆ ก็ต้องตายแน่ เหมือนกับที่เปสการีมีอารมณ์คิดถึงคำสั่งสอนของสมเด็จพระธรรมสามิสร ที่ทรงตรัสว่า
    ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่ามีความประมาทในการสร้างความดี
    นี่ความรู้สึกของพระโสดาบันในด้านสักกายทิฏฐิ มีอยู่จุดนี้เข้าใจไว้ด้วย มีคนพูดกันว่าถ้าเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จะต้องสามารถระงับทุกขเวทนาได้หมด ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ร้อน ไม่หนาว นี่ไม่ใช่ความจริง ร่างกายยังมีความรู้สึก ร่างกายยังมีมีจิตเป็นเครื่องรักษา ร่างกายยังมีวิญญาณรู้การสัมผัส ถึงแม้ว่าพระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดีก็ยังรู้สึก รู้สึกเจ็บ รู้สึกปวดเหมือนกัน
    นี่ว่ากันถึงอารมณ์ของพระโสดาบัน เมื่อจิตเข้าถึงพระโสดาบันแล้ว มีความไม่ประมาทในชีวิต มีความรู้สึกเสมอว่าเราจะต้องแก่ เราจะต้องตาย แล้วก็ขึ้นชื่อว่าความตายนี้ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่ใช่ว่าจะไปกำหนดอายุการตายว่าต้องตายเท่านั้นเท่านี้ จะตายตั้งแต่ความเป็นเด็ก หรือ ความเป็นหนุ่มเป็นสาว ความเป็นคนแก่ อาการที่จะตาย อาจจะด้วยโรคภัยไข้เจ็บ อาจจะตายด้วยอุบัติเหตุ หรือตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายดึก ตายหัวค่ำก็เอาแน่นอนไม่ได้
    ฉะนั้น พระโสดาบันจึงไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าถ้าเราจะตายก็เชิญ แต่เราจะตายอยู่กับความดี อารมณ์ของพระโสดาบันที่จะคัดค้านคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินศรีนั้นไม่มี คือว่าเป็นคนไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นี่เป็นอันดับที่ 2 ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา พระโสดาบันตัดสังโยชน์ตัวที่ 2 ได้ คือ ความสงสัย ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา ขึ้นชื่อว่าความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีในพระโสดาบัน เกิดขึ้นด้วยกำลังของปัญญา ที่พิจารณาหาความจริงว่า
    พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข
    และอันดับ 3 สีลัพพตปรามาส พระโสดาบันย่อมทรงศีลบริสุทธิ์ตามฐานะของตัว คำว่า ฐานะของตัวก็หมายความว่า ถ้าเป็นฆราวาสก็มีศีล 5 เป็นปกติ มีศีล 5 บริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา ไม่มีเจตนาในการทำลายศีล รักษาศีลบริสุทธิ์ ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้บุคคลอื่นทำลายศีล แล้วก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว เป็นอันว่าพระโสดาบันเป็นผู้มีความทรงอารมณ์อยู่ในศีลเป็นสำคัญ หนักหน่วงในเรื่องของศีล ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด
    ที่กล่าวมานี้หมายความว่า สังโยชน์ 3 ประการนี่ พระโสดาบันปฏิบัติมีจิตเข้าถึงตามนี้ นี่ก็พูดกันไปว่าก่อนที่จะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันจากโลกียะเป็นโลกุตตระ ตอนนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า โคตรภูญาณ ขณะเมื่ออารมณ์จิตของท่านผู้ปฏิบัติเข้าถึงโคตรภูญาณ
    คำว่าโคตรภูญาณ นี่ก็หมายความว่า จิตของท่านผู้นั้น ยังอยู่ในระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ
    แต่ทว่าอารมณ์ตอนนี้จะไม่ขังอยู่นาน บางท่านจิตจะทรงอยู่เพียงแค่ชั่วโมงหนึ่ง หรือไม่ถึงชั่วโมง และบางท่านก็อยู่ถึงอาทิตย์สองอาทิตย์ถึงเป็นเดือนก็มี สุดแล้วแต่ความเข้มแข็งของจิต ในช่วงที่จิตเข้าถึงโคตรภูญาณ ท่านกล่าวว่า ในขณะนั้นอารมณ์จิตของนักปฏิบัติ จะมีความรักพระนิพพานอย่างยิ่ง คือมีความรู้สึกอยู่เสมอว่ามนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่เป็นแดนแห่งความสุข ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ มันก็ทุกข์ตลอดเวลา ถ้าเกิดเป็นเทวดาก็พักทุกข์ชั่วคราว หรือ พรหมก็เช่นเดียวกัน ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีแล้วก็จะต้องจากเทวดา จากพรหมมาเกิดเป็นคนบ้าง บางรายก็เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นอันว่าเขตทั้ง 3 จุด ไม่มีความหมายสำหรับใจ
    จิตใจของท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงโคตรภูญาณ ใจมีความต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพานเป็นปกติ
    แต่ทว่าพอจิตพ้นจากโคตรภูญาณไปแล้ว ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบันเต็มที่ ที่เรียกว่า โสดาปัตติผล ตอนนี้อารมณ์จิตของท่านละเอียดขึ้นมานิดหนึ่ง นอกจากจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็มีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันเป็นของธรรมดา
    การนินทาว่าร้ายที่จะปรากฏขึ้นกับบุคคลผู้ใดกล่าวถึงเรา จิตดวงนี้มีความรู้สึกว่า ธรรมดาของคนที่เกิดมาในโลกมันเป็นอย่างนี้ ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้น การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเกิดขึ้น มีความรู้สึกหนักไปในด้านของธรรมดา แต่ทว่าธรรมดาของพระโสดาบัน ยังอ่อนกว่า ธรรมดาของพระอรหันต์มาก
    ฉะนั้น ท่านที่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน จึงยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า ท่านกล่าวไว้แล้วว่า พระโสดาบันมีสมาธิเล็กน้อย และก็มีปัญญาเล็กน้อย หากว่าท่านทั้งหลายจะถามว่า ถ้าคนยังมีความรักในเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีการอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลงก็ดูเหมือนว่าพระโสดาบันก็คือ ชาวบ้านธรรมดา
    แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ความรักในระหว่างเพศก็ดี ความอยากรวยก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี ของพระโสดาบันอยู่ในขอบเขตของศีล เรารักในรูปโฉมโนมพรรณ มีการแต่งงานกันได้ระหว่างสามีภรรยาของตนเอง ยอมเคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน จะนอกใจสามีและภรรยา ขึ้นชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร จะไม่มีสำหรับพระโสดาบัน จะทำให้ครอบครัวนั้นมีอารมณ์เป็นสุข
    และประการที่ 2 พระโสดาบันยังมีความโกรธ ท่านโกรธจริง พูดเป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ ทำให้ไม่เป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ แต่ทว่าพระโสดาบันมีแต่อารมณ์โกรธ ไม่ประทุษร้ายให้เขามีการบาดเจ็บ และไม่ฆ่าคนหรือสัตว์ที่ทำให้ตนโกรธ ให้ถึงแก่ความตาย เป็นอันว่าความโกรธหรือความพยาบาทของท่าน อยู่ในขอบเขตของศีล จิตโกรธแต่ว่าไม่ทำร้าย คือ แตกต่างกับคนธรรมดาตรงนี้
    สำหรับด้านความหลงของพระโสดาบัน ที่ขึ้นชื่อว่าหลง เพราะยังมีความรักในเพศ ยังมีความอยากรวย เมื่อสักครู่นี้ข้ามคำว่าอยากรวยไป การอยากรวยของพระโสดาบัน คือ ต้องการความรวยในด้านสุจริตธรรมเท่านั้น เรียกว่า การทุจริตคิดร้ายคดโกงบุคคลอื่นใด ไม่มีในอารมณ์จิตของพระโสดาบัน ประกอบอาชีพด้วยความสุจริต เพราะอาศัยยังรักในความสวยสดงดงาม คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่าเพศยังมีอยู่ ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง เพราะว่ายังคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ยังมีของสวยของงาม การถือตัวถือตนแบบนี้ จึงเชื่อว่ายังมีความหลง แต่ความหลงของพระโสดาบันนั้น ไม่สามารถจะนำบุคลผู้นั้น ในเวลาแล้วไปสู่อบายได้
    จุดนี้ขอบรรดาท่านทั้งหลายผู้รับฟัง จงจำไว้ว่า ความจริงอารมณ์ของพระโสดาบันนั้น ไม่แตกต่างกับชาวบ้านธรรมดาเท่าไรนัก ชาวบ้านธรรมดา ยังมีความรักในเพศ ยังมีสามี ภรรยา แต่ทว่ายังมีการนอกใจภรรยา สำหรับพระโสดาบันไม่มี ชาวบ้านอยากรวยก็ยังมีการคบคิดกันคดโกง การโกงมีการยื้อแย่งฉกชิงวิ่งราวดูทรัพย์ สำหรับพระโสดาบันนี่ ถ้าต้องการรวยก็รวยด้วยการสุจริต หากินด้วยความชอบธรรม ต่างกันตรงนี้
    พระโสดาบันยังมีความโกรธ ชาวบ้านโกรธแล้วก็ปรารถนาจะประทุษร้าย ถ้ามีโอกาสก็ประทุษร้ายบุคคลที่เราโกรธ ถ้าสามารถจะฆ่าได้ก็ฆ่า สำหรับพระโสดาบันมีแต่ความโกรธ การประทุษร้ายไม่มี การฆ่าการประหารไม่มี นี่ต่างกันกับชาวบ้าน
    พระโสดาบันยังมีความหลง ตามที่ได้กล่าวมาด้วยอาการที่ผ่านมาแล้ว แต่ทว่าพระโสดาบันก็ไม่ลืมคิดว่า เราจะต้องตาย เมื่อเราตายแล้ว เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ตอนนี้พระโสดาบันไม่เสียใจ ไม่เสียดาย ถือว่าถ้าตายเราจะมีความสุข นี่ขอท่านทั้งหลายจำอาการอารมณ์จิตที่เข้าถึงพระโสดาบันไว้ด้วย
    ตอนนี้จะขอพูดอีกนิดหนึ่งถึงอารมณ์ความจริงของพระโสดาบัน ที่เรียกกันว่า องค์ของพระโสดาบัน
    คำว่า องค์ ก็ได้แก่ อารมณ์จิตที่ทรงไว้อย่างนั้นอย่างแนบแน่นสนิท นั่นก็คือ
    1.พระโสดาบันมีความเคารพในพระพุทธเจ้าอย่างจริงใจ ไม่คลายในความเคารพในพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะมีเหตุผลใด ๆ เกิดขึ้น ใครจะมาจ้างให้รางวัลมาก ๆ ให้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ แม้แต่พูดเล่นพระโสดาบันก็ไม่พูด ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าท่านมีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระอริยสงฆ์อย่างจริงใจ แต่ทว่าระวังให้ดี ถ้าพระสงฆ์เลว พระโสดาบันไม่ใส่ข้าวให้กิน
    ตัวอย่าง ภิกษุโกสัมพี มีความประพฤติชั่ว ตอนนั้นฆราวาสที่เป็นพระอริยเจ้านับหมื่น ไม่ยอมใส่ข้าวให้กิน เพราะถือว่าเป็นโจรปล้นพระพุทธศาสนา เป็นผู้ทำลายความดี ไม่ใช่ว่าเป็นพระอริยเจ้าแล้วละก็ จะเมตตาไปเสียทุกอย่าง ท่านเมตตาแต่คนดีหรือว่าบุคคลผู้ใดมีความประพฤติชั่วท่าน แนะนำแล้วสามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็เมตตา ถ้าเขาชั่วแนะนำแล้วไม่สามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็ทรงอุเบกขา คือ เฉยไม่สงเคราะห์ โปรดจำอารมณ์ตอนนี้ไว้ให้ดี
    2. ในประการต่อไป พระโสดาบันมีศีลบริสุทธิ์ ขอพูดย่อให้สั้น เพราะองค์ของพระโสดาบันก็คือ
    (1) มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
    (2) มีความเคารพในพระธรรม
    (3) มีความเคารพในพระอริยสงฆ์
    นี่จัดเป็นองค์ที่มี 3 ประการ
    (4) และสิ่งที่จะแถมขึ้นมาก็คือรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ทำทุกสิ่งทุกอย่างไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังความดีมีชื่อเสียงในชาติปัจจุบัน มีความรู้สึกต้องการอยู่อย่างเดียวว่าเราทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพานเท่านั้น อารมณ์จิตตอนนี้ขอบรรดาท่าพุทธบริษัทภิกษุ สามเณรทุกท่านต้องจำไว้ จงอย่าไปคิดว่าพระโสดาบันเลอเลิศไปถึงอารมณ์อรหันต์โดยมากมักจะคิดว่าอารมณ์ของพระอรหันต์เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ก็เลยทำกันไม่ถึง นี่เป็นการคิดผิด ความจริงการเป็นพระโสดาบันเป็นง่าย มีอารมณ์ไม่หนักที่หนักจริง ๆ ก็ คือ ศีลอย่างเดียว
    ต่อไปนี้ขอพูดถึงอาการของพระโสดาบันที่จะพึงได้ พระโสดาบันจัดเป็น 3 ขั้น คือ
    1.สัตตักขัตตุง สำหรับที่ท่านเป็นพระโสดาบันมีอารมณ์ยังอ่อน จะต้องเกิดและตายในระหว่างเทวดาหรือพรหมกับมนุษย์อีกอย่างละ 7 ชาติ เป็นมนุษย์ชาติที่ 7 และเข้าถึงความเป็นอรหัตผล
    2. ถ้ามีอารมณ์เข้มแข็งปานกลาง ที่เรียกกันว่า โกลังโกละ อย่างนี้จะทรงความเป็นเทวดาหรือมนุษย์อีกอย่างละ 3 ชาติครบเป็นมนุษย์ชาติที่ 3 เป็นพระอรหันต์
    3.สำหรับพระโสดาบันที่มีอารมณ์เข้มแข็งเรียกว่า เอกพิชี นั่นก็จะเกิดเป็นเทวดาอีกครั้งเดียว มาเกิดเป็นมนุษย์แล้วก็เป็นพระอรหันต์
    4.ที่พูดตามนี้ หมายความว่า ท่านผู้นั้นเมื่อเป็นพระโสดาบันแล้วเกิดใหม่ไม่ได้พบพระพุทธศาสนา จะต้องฝึกฝนตนเองอยู่เสมอทุกชาติ แต่ว่าความเป็นมิจฉาทิฏฐิในชาติต่อ ๆไป จะไม่มีแก่พระโสดาบัน เพราะว่า พระโสดาบันไม่มีสิทธิที่จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน จะเกิดได้แค่ช่วงแห่งความเป็นมนุษย์กับเทวดาหรือพรหมสลับกันเท่านั้น
    เป็นอันว่าพระโสดาบันนี่ ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดีแล้ว ก็มีความรู้สึกว่าเป็นของไม่ยาก
    หากว่าท่านจะถามว่า พระโสดาบันทั้งสัตตักขัตตุง โกลังโกละ และเอกพีชี มีอารมณ์ต่างกันอย่างไร
    ก็จะขอตอบว่า พระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุง มีจริยาคล้ายชาวบ้านธรรมดามาก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความรัก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความโลภ ในความโกรธ ในความหลง แต่ทว่าเป็นผู้มั่นคงในศีล ไม่ละเมิด
    สำหรับพระโสดาบันขั้นโกลังโกละ ขั้นโกลังโกละนี้มีอารมณ์เยือกเย็นมาก หรือว่ามีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย มีศีลมั่นคงมาก ความจริงเรื่องศีลนี่มั่นคงเหมือนกัน แต่ว่าจิตท่านเบาบางในด้านความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความคำนึงถึงอารมณ์อย่างนี้มีอยู่แต่ก็น้อย ถ้ามีคู่ครองเขาจะโทษว่า กามคุณท่านจะลดหย่อนลงไป ความสนใจในเพศ ความสนใจในความโลภ อารมณ์แห่งความโกรธ อารมณ์แห่งความหลงมันเบา กระทบไม่ค่อยจะมีความรู้สึก
    สำหรับพระโสดาบันขั้นเอกพีชี ในตอนนี้อารมณ์ของท่านผู้นั้น จะมีอารมณ์ธรรมดาอยู่มาก ขอท่านทั้งหลายโปรดอย่าลืมว่า พระอริยเจ้าจะเป็นฆราวาสก็ดี จะเป็นพระก็ดี จะเป็นเณรก็ดี จะเป็นคนมีจิตละเอียด ไม่ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และไม่ขัดคำสั่ง ไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบวินัยและกฏหมาย อันนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ที่ท่านทั้งหลายจะพึงทราบ
    สำหรับเอกพิชีนี่ ความจริงมีอาการจิตใจใกล้พระสกิทาคามี แต่ทว่าสิ่งที่จะระงับไว้ได้นั้น กดด้วยกำลังของศีล มีความรู้สึกว่าเราจะต้องประคับประคองศีลของเราให้แจ่มใสอยู่เสมอ มองดูความรักในระหว่าเพศ หรือว่าความร่ำรวย หรือว่าความโกรธ หรือหลงในระหว่างเพศ หลงในสภาวะต่าง ๆ เห็นว่าเป็นของไร้สาระ มีอารมณ์เบาในความปรารถนาในสิ่งนั้น ๆ แต่ทว่าก็ยังมีความปรารถนาอยู่
    เอาละ บรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู เมื่อพูดมาถึงจุดนี้ วันนี้คงไม่ได้อารมณ์แห่งการปฏิบัติ แต่ทว่าอารมณ์แห่งการปฏิบัติ ในความเป็นพระโสดาบันท่านฟังกันมาแล้วสองคืน ผมเองมีความรู้สึกว่า ท่านทั้งหลายคงจะรู้สึกว่าง่ายสำหรับท่าน แต่ถ้าหากว่าเห็นว่าอารมณ์ของพระโสดาบันยากนี่ ถ้าเป็นพระเป็นเณร ผมไม่ถือว่าเป็นพระเป็นเณร ผมถือว่าเป็นเถน เถนในที่นี้หมายความว่ามี สระเอ นำหน้า มีถอถุง และ นอหนู เขาแปลว่าหัวขโมย คือ ขโมยเอาเพศของพระอริยเจ้ามาหลอกลวงชาวบ้าน ตามปกติพระกับเณรนี่ต้องทรงศีลบริสุทธิ์อยู่แล้ว
    เอาละ พุดไปเวลามันเกินไป 1 นาที ก็ขอพอไว้แต่เพียงนี้ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจ ต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น จะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม นั่งก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นอนก็ได้ตามอัธยาศัย ทรงกำลังใจควบคุมความเป็นพระโสดาบันของท่านไว้ จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี


    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=195
     
  12. phataravudh

    phataravudh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +2,440
    อารมณ์พระสกิทาคามี


    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับวันนี้ก็จะขอนำเอาปฏิปทาในอนุสสติ 5 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปฏิปทาของพระสกิทาคามี มาแนะนำแก่บรรดาท่านทั้งหลาย เพราะว่าการปฏิบัติในด้านอนุสสติ 5 ประการนี้ ก็รู้สึกว่าจะเป็นปฏิปทาที่ได้กำไรมาก หรือ ว่าจิตเริ่มต้น ก็เริ่มต้นด้วยปฏิปทาของพระโสดาบัน
    แต่ว่าท่านทั้งหลายถ้าประสงค์จะรู้รายละเอียดในอารมณ์ของจิต ก็จงพากันศึกษาในด้านของอานาปานุสสติกรรมฐานประกอบ ถ้าเราจะพูดกันให้ละเอียดจนครบทุกจุด มันก็จะเป็นการเปลืองทรัพย์สินของบรรดาท่านทั้งหลาย ฉะนั้นหากว่าท่านอยากรู้อารมณ์ละเอียด ก็หันเข้าไปดูอานาปานุสสติกรรมฐาน
    สำหรับจุดนี้ก็จะพูดโดยเฉพาะอนุสสติ 5 ประการ ได้ผ่านปฏิปทาของพระโสดาบัน หรือ อารมณ์ของพระโสดาบันมาแล้ว สำหรับพระสกิทาคามีก็คงมีอารมณ์อยู่ในสังโยชน์ 3 ประการ เช่นเดียวกับพระโสดาบัน แต่ทว่าพระโสดาบันที่ผ่านมานี่ องค์สมเด็จพระชินศรีกล่าวว่ามีอารมณ์ถึง 3 ชั้น นั้นก็คือ พระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุงเป็นชั้นที่ 1 และพระโสดาบันขั้นโกลังโกละเป็นชั้นที่ 2 พระโสดาบันเอกพิชีเป็นชั้นที่ 3
    สำหรับพระโสดาบันขั้นเอกพิชีนี่ มีปฏิปทาคล้ายคลึงกับพระสกิทาคามี ฉะนั้นก่อนที่จะพูดถึงปฏิปทาถึงอารมณ์ของพระสกิทาคามี ซึ่งความจริงแล้วละสังโยชน์ได้ 3 เหมือนพระโสดาบัน แต่ทว่าอารมณ์ต่างกันอยู่นิดหน่อย ก่อนที่จะพูดเรื่องนั้นก็จะขอพูดระดับชั้นของจิตของพระโสดาบันเสียก่อน เพื่อความสะดวกแก่การจดจำ หรือ เพื่อความสะดวกแก่การกำหนดรู้ในจิตของท่าน สำหรับพระโสดาบันชั้น สัตตักขัตตุง ตอนนี้ท่านกล่าวว่ายังมีอารมณ์หยาบมาก ก็เหมือนกับเด็กที่จะสอนเดิน เหมือนกับคนเราที่เกิดมาแล้ว มีวัย 3 วัย คือ
    1. ปฐมวัย คือ วัยระหว่างเด็กระหว่างหนุ่ม ตั้งแต่เด็กถึงหนุ่ม
    2. มัชฌิมวัย คือ วัยกลางคน
    3. ปัจฉิมวัย คือ วัยแก่
    สำหรับพระโสดาบันก็เหมือนกัน ก็ต้องมีพระโสดาบันเด็กหรือหนุ่ม พระโสดาบันวัยกลางคน พระโสดาบันวัยแก่ แต่ไม่ใช่หมายถึงคนแก่ คือ อารมณ์จิตแก่
    สำหรับพระโสดาบันวัยหนุ่มก็ได้แก่สัตตักขัตตุง พระโสดาบันสัตตักขัตตุงนี้ จิตก้าวจากโลกียชนเข้ามาเป็นโลกุตตรชนใหม่ ๆ คำว่าโลกีย์นี่ก็หมายความว่า คนที่มีอารมณ์พ้นโลก จำให้ดีนะครับ
    คำว่า เป็นผู้มีอารมณ์พ้นโลก คือ อำนาจของปุถุชนที่มีอารมณ์เต็มไปด้วยอกุศลพ้นไปเสียแล้ว คำว่าโลกไม่สามารถจะดึงท่านผู้นี้ให้กลับไปใหม่ เหลือแต่อารมณ์ที่ทรงธรรม ตั้งแต่ธรรมชั้นหยาบจะก้าวเข้าไปสู่ความเป็นผู้มีธรรมละเอียด จนกระทั่งถึงที่สุด กล่าวคือ เป็นพระอรหันต์ เรื่องการถอยหลังลงไม่มีสำหรับพระโสดาบัน เพราะคำว่า พระโสดาบัน ท่านแปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน เป็นผู้ที่มีความหวังได้จริง ๆ ว่าจะถึงพระนิพพาน
    ตอนนี้ก็มาพูดถึงพระโสดาบันเด็กกันเสียก่อน พระโสดาบันเด็กถึงพระโสดาบันหนุ่มสาว ที่เรียกกันว่า สัตตักขัตตุง อันดับนี้ถ้าทรงเป็นพระโสดาบันอย่างนี้ จะต้องเกิดเป็นคนกับเทวดาอีกอย่างละ 7 ชาติ และชาติที่ 7 จะได้เป็นอรหันต์ สำหรับ โกลังโกละ จะเกิดเป็นคนกับเทวดาสลับกันไปสลับกันมา 3 ชาติ ชาติที่ 3 ของมนุษย์ครบถ้วนเป็นพระอรหันต์ สำหรับ เอกพิชี จะเกิดเป็นเทวดา อีกครั้งเดียวแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วก็เป็นพระอรหันต์ เหมือนกับพระสกิทาคามี นี่จะเห็นว่าระดับของพระโสดาบันมีระดับไม่เสมอกัน
    ฉะนั้น ขอพูดถึงระดับพระโสดาบันขั้นต้น ที่เรียกกันว่า สัตตักขัตตุง ตอนนี้จิตของท่านยังเป็นพระโสดาบันใหม่ อารมณ์เนื่องด้วยโลกียะยังมีความสัมพันธ์กันอยู่ หรือว่า กำลังหนักคือ กลิ่นคาวจากโลกียะยังติดอยู่มาก ยังมีอารมณ์หนักหน่วงอยู่ในความโลภ ยังมีอารมณ์หนักหน่วงอยู่ในความโกรธและก็ยังมีอารมณ์หนักหน่วงอยู่ในความหลง
    คำว่า หนักหน่วงในที่นี้หมายความว่า อารมณ์รักในความสวยสดงดงาม เช่น รักรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัส ยังมีอยู่ในใจมาก ยังมีความต้องการในทรัพย์สินมาก ยังหนักอยู่ในอำนาจของความโกรธ ยังมีความหลงคือ ยังมีความพัวพันอยู่ในเหตุทั้ง 3 ประการ ตามที่กล่าวมาแล้ว รวมความว่าสมาธิจิตดีตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป แต่กำลังละสักกายทิฏฐิเบาเกินไป
    ตามที่ท่านกล่าวว่า พระโสดาบันมีอธิศีลคือ ศีลยิ่งแต่ว่าสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย และอย่าลืมว่ามีความรักในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสก็จริงแหล่ แต่ทว่าไม่ยุ่งกับ กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ละเมิดศีล จิตใจยังหนักหน่วงอยู่ในความโลภ คือ อยากจะรวยแต่ไม่คดโกงใคร แต่ยังติดรวยอยู่มาก จิตใจยังหนักหน่วงอยู่ในความโกรธ คือ อารมณ์โกรธยังเต็มตัว แต่ไม่ทำอันตรายใคร เพราะเกรงว่าศีลจะบกพร่อง
    อารมณ์ยังติดอยู่ในความหลง คือ ดึงในทรัพย์สิน ดึงในร่างกาย ยังไม่คลายการดึง ยังคิดว่านั่นเป็นเรานี่เป็นเรา แต่ทว่าไม่ลืมความตาย ตอนนี้เราจะแยกใจออกมาได้ยากเพราะจิตยังหยาบอยู่มาก แต่ทว่ามีขอบเขตจำกัดดีกว่าปุถุชน ที่ทำตนให้อยู่ในขอบเขตของศีล ถึงจะรักก็ไม่ละเมิดศีล จะหลงในทรัพย์สินทั้งหลายก็ตามก็จริงแหล่
    แต่ทว่าไม่ลืมความตาย ไม่มีความประมาทในชีวิต อารมณ์จิตของพระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุงเป็นอย่างนี้ จึงต้องอบรมใจอีกถึง 7 ชั้น เป็นมนุษย์อีก 7 คราว ตายจากมนุษย์ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม พักร้อน พ้นจากกิจนั้นแล้วก็มาเกิดเป็นมนุษย์ สลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้จนกว่าจะครบ 7 หน ในคราวเป็นมนุษย์จึงจะได้อรหัตผล
    สำหรับพระโสดาบันขั้น โกลังโกละ ขั้นโกลังโกละนี้ มีจิตเบา เบาเพราะว่าอำนาจสักกายทิฏฐิ ที่ใช้ปัญญาเข้าไปพิจารณาร่างกาย ว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้ว ธรรมส่วนหนึ่งมันก็เกิด ว่าร่างกายของคนเรานี่เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก นี่ปัญญาเริ่มเพิ่มขึ้นมาหน่อยหนึ่ง เพราะไม่เป็นชิ้นเป็นท่อนเป็นอัน เต็มไปด้วยความสกปรก แต่ทว่าอาศัยกำลังฌานที่เข้าไม่ถึงฌาน 4 อารมณ์ตอนนี้จึงยังไม่ปักนัก ก็ชักจะเริ่มมีความรังเกียจในร่างกายว่า ร่างกายนี้มีสภาพไม่ทรงตัวแน่ เกิดแล้วก็แก่ แล้วก็เจ็บ แล้วก็ตาย บางทีก็ตายแต่ความเป็นเด็กก็มี
    ฉะนั้น ถ้าหากว่าจิตใจของเราที่จะเข้าไปผูกพันร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี หรือ ทรัพย์สินทั้งหลายเหล่าอื่นก็ดี จะมุ่งคิดประทุษร้ายบุคคลอื่นใดก็ดี มันก็ไร้ประโยชน์ มันไม่มีอะไรเป็นคุณ มันก็มีแต่โทษ เพราะกายเราก็ตาย กายเขาก็ตาย เมื่อกายเราเป็นทุกข์ กายเขาเป็นทุกข์ เราต้องการให้เขาทุกข์ มันก็ไม่เกิดประโยชน์ ไปทำให้เขาทุกข์ มันก็ซ้ำทุกข์เดิมของเขา เนื้อแท้จริงๆ เขาก็ทุกข์อยู่แล้ว ก็เป็นอันว่าจิตดวงนี้มันสลับกันไป เพราะกำลังฌานยังไม่มั่นคง
    ผมมีความเข้าใจว่าท่านพระโสดาบันที่เข้าถึงโกลังโกละอารมณ์จิตของท่านผู้นี้ จะต้องมีกำลังสูงกว่าปฐมฌาน ธรรมปิติจะเกิดขึ้นกับท่านมาก เพราะความวุ่นวายน้อยลง ก็เพราะมีความเมตตากรุณาทั้ง 2 ประการสูงขึ้น จิตมีความเอิบอิ่มด้วยธรรมปีติ ตอนนี้อย่างเลวที่สุด จิตของท่านโกลังโกละก็ต้องตั้งอยู่ถึงขั้นทุติยฌาน ฌานที่ 2 หรือว่า ฌานที่ 3 ฉะนั้นจึงสมารถมีกำลังกดความรักในเพศ กดความโลภ กดความโกรธ กดความหลง ให้เบาบางลง จิตตั้งตรงมีอารมณ์ว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา แต่ทว่าอารมณ์เผลอก็ยังมีอยู่นิดหนึ่ง บางครั้งมันก็เข้าไปเกาะติดในสภาพรูป เสียง กลิ่น รส และ สัมผัส แต่ทว่าอารมณ์ศีลมั่นคงยิ่งขึ้น จึงไม่ละเมิดศีล สำหรับโลภะ ความโลภ ความอยากรวยยังอยากมีเงินใช้ แต่ทว่าใจจะลำพองตะเกียกตะกายเกินพอดีไม่มี เห็นว่าการประกอบอาชีพเพียงเท่านี้ เป็นที่เพียงพอของเรา
    การจะโกรธชาวบ้านชาวเมือง คิดประหัตประหารนั้นไม่มี ก็ยังมีความโกรธอยู่ แต่คิดว่านี่ไม่น่าจะทำให้เราไม่ชอบใจ แต่ทว่าอาศัยที่เขาเป็นคนจัญไร เป็นคนเลว เราก็ไม่น่าจะโกรธตอบ แต่ก็กว่าจะมีความรู้สึกได้ก็ต้องใช้กำลังใจนิดหน่อย เมื่อใจมีเหตุมีผลมากขึ้น
    สำหรับด้านความหลงคิดว่า ร่างกายจะทรงตัว มีความรู้สึกน้อยไปด้วยอำนาจปัญญาดี อย่างนี้ท่านเรียกว่า โกลังโกละ
    สำหรับท่าน เอกพิชี ตอนนี้ท่านทั้งหลายกำลังใจขั้นเอกพิชีนี่ ตามความรู้สึกของผม คิดว่า ท่านผู้นั้นต้องมีกำลังใจทรงฌาน 4 เพราะว่าอะไร เพราะวาสนาบารมีอารมณ์จิตละเอียดมาก ถึงกับว่าถ้าตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นพรหมหรือเทวดา หมดบุญวาสนาบารมีมาเกิดเป็นคนอีกครั้งเดียวก้เป็นอรหัตผลเหมือนกับพระสกิทาคามี ตอนนี้ท่านเรียกกันว่าพระโสดาบันละเอียด
    ฟังให้ดีนะ สำหรับนักปฏิบัติ ถ้าจิตของท่านเข้าถึงอุปจารสมาธิ อันมีอารมณ์เป็นทิพย์
    ถ้าจะได้ยินเสียงของพระหรือ เทวดาหรือพรหม ที่เป็นพระอริยเจ้าตรัสว่า ท่านเวลานี้ท่านทรงอารมณ์เป็นพระโสดาบันละเอียดแล้ว ก็จงทราบว่าขณะนั้นท่านเป็นเอกพิชี อารมณ์ของเอกพิชีนี่ ที่ผมคิดว่า ท่านผู้นี้มีอารมณ์จิตของท่านเป็นผู้เข้าถึงฌาน 4 และก็ทรงฌาน 4 ได้ดีตามสมควร ก็เพราะว่าอารมณ์ของพระโสดาบันเข้าถึงขั้นเอกพิชีนี่ มีความรู้สึกพิเศษอยู่อย่างหนึ่งเอาเก็บไว้เป็นที่สังเกตว่า
    ความรู้สึกของพระโสดาบันขั้นเอกพิชี ยังเห็นคนสวย แล้วก็ยังเห็นความดีของทรัพย์สิน ยังรู้สึกมีความไม่พอใจ แต่ทว่ากำลังใจของท่าน ไอ้อารมณ์อย่างนี้มันน้อย ความรู้สึกอย่างหนึ่งมันเกิดขึ้นกับจิต ซึ่งซ้อนขึ้นมากับอุปสมานุสสติกรรมฐานนั่นก็คือคำว่า……ธรรมดา
    จุดนี้จุดธรรมดาเกิดขึ้นมาก เกิดอารมณ์กระทบขึ้นมา ก็รู้สึกว่านี่มันเป็นธรรมดาของโลก จิตเย็นทันที จะเห็นคนสวยสดงดงามเข้ามาถึง มองดูแล้วรู้สึกว่าเธอเป็นธรรมดา เราเป็นชายเห็นหญิงสาวสวยเราก็รู้สึกว่าธรรมดา ถ้าเป็นหญิงเห็นชายงามก็รู้สึกว่าธรรมดา ธรรมดาตรงไหนมองไปมันก็สวย ผิวสวยลักษณะทรวดทรงสวย เครื่องประดับสวย แต่ว่าธรรมดา
    ฉะนั้น อารมณ์ที่เกาะติดในกามฉันทะก็ดี ในความโลภในทรัพย์สินก็ดี ในความโกรธก็ดี ในความหลงก็ดี มันก็ติดอยู่แค่ผิว ๆ แค่หนังกำพร้านิดหนึ่ง จะว่าหนังกำพร้า หนังกำพร้าก็ไม่ติดมันอยู่แค่ปลายขน จิตกระทบจิตถูกเข้าหน่อยมันก็หล่น มองหน้าเขาว่าคนนี้เป็นนางงามประจำชาติ แต่มองปราดลงไปรู้สึกว่าเธอสวยชั่วขณะอารมณ์จิตเดียวสัก 1 วินาที ใจนี้มันจะคลายสลายความสวย จิตมันจะแทงทะลุเข้าไปถึงภายในของร่างกาย หรือว่าผิวพรรณทั้งหลายเหล่านี้ จะมีความเข้าใจว่ามันเต็มไปด้วยความสกปรก ไม่ทรงอยู่ในความสะอาด
    สำหรับทรัพย์สินทั้งหลาย มองแล้วก็รู้สึกว่าดีมีใช้มีกิน แต่ทว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อชีวิตมันสิ้นก็ไม่ได้เกิดประโยชน์ การเพ่งเล็งถึงโทษของบุคคลผู้ทำให้เกิดความช้ำใจ ก็ไม่ได้มองเห็นประโยชน์อะไรว่ามันจะเป็นคุณ เห็นว่าคนที่ทำใจเราให้สะเทือนใจนั้นมันเป็นความเข้าใจผิดของบุคคลทั้งหลายนั้น และมันก็เป็นภารกิจคือ ความชั่วของเราที่อยากเกิดมาในโลก เป็นอันว่าความรู้สึกธรรมดาเกิดขึ้นกับใจของพระโสดาบันขั้นนี้
    จำให้ดีนะครับ เรื่องอารมณ์นี้ต้องจำให้ดี จะได้รู้ตัวว่าเวลานี้เรามาถึงไหน ไม่ยังงั้นเดี๋ยวก็ดำน้ำกันเรื่อยไปหรือว่าคล้าย ๆ กับเอาผ้าดำมาผูกตามันไม่เกิดประโยชน์ เป็นอันว่าจุดนี้แหละเป็นจุดของพระโสดาบันขั้นเอกพิชี
    ต่อไปนี้ก็พูดกันถึงในด้าน สกิทาคามี ตอนถึงพระสกิทาคามีนี่ อารมณ์สบายเสียแล้ว เพราะย่ำต๊อกมาจากเอกพิชีหมด ระดับคุณค่าของเอกพิชีพระโสดาบันขั้นเอดพิชีกับพระสกิทาคามีมีค่าเท่ากัน นั่นก็คือ เกิดเป็นเทวดา พรหม 1 ชาติ และก็มาเกิดเป็นมนุษย์เป็นอรหันต์เลย ง่ายนิดเดียว มีค่าเท่ากันเหมือนกัน จะมีอะไรต่างกันตรงไหน
    แต่ทว่าสำหรับพระสกิทาคามีนี่ มีปัญญาละเอียดขึ้นกว่าพระโสดาบันหน่อยหนึ่ง สำหรับเรื่องศีลนี้ไม่ต้องพูดกัน มั่นคงมาตั้งแต่สัตตักขัตตุง ตอนนี้ทั้งเอกพิชีและสกิทาคามีนี้ เพราะอาศัยอารมณ์ละเอียดมาจากเอกพิชี จึงใช้ปัญญาที่มีความหลักแหลม เพราะอาศัยจิตทรงฌาน 4
    คำว่าฌาน 4 มาจากไหน ก็มาจากการพิจารณาขันธ์ 5 พิจารณาศีล พิจารณาโทษของความรัก พิจารณาโทษของความโลภ พิจารณาโทษของความโกรธ พิจารณาโทษของความหลง
    เมื่อจิตมีอารมณ์เงียบเยือกเย็นลง จิตก็ก้าวเข้าไปสู่ถึงฌานสมาบัติทีละน้อยละน้อย โดยที่ไม่ต้องไปนั่งฝึกให้มันมีอาการเคร่งเครียด อารมณ์สมาธิกับวิปัสสนาญาณคือ ใช้อารมณ์พิจารณาสังโยชน์ 3 ประการ หรือโดยเฉพาะพิจารณาโทษของความรักในระหว่างเพศ การมีคู่ครอง เห็นว่า รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ หาสาระประโยชน์ไม่ได้ ไม่มีการทรงตัว
    และประการที่ 2 ทรัพย์สินทั้งหลาย ไม่มีใครสามารถจะแบกจากโลกอื่นได้ ตาย…ทำเสียเกือบตาย เหน็ดเหนื่อยเกือบตาย ตายแล้วก็หมดสิทธิ์ ไม่มีสิทธิ์ที่จะครอง แม้แต่ร่างกาย
    เรื่องของความโกระนี้ไซร้เป็นปัจจัยยั่วให้เกิดความทุกข์ ไม่มีความสุข ไม่มีความปรารถนา และก็เป็นอันว่า ถ้าจิตเราจะหลงร่างกายกายานี้ มันก็ไม่เป็นประโยชน์ มันก็จะถูกทำลายอยู่ทุกขณะ ในที่สุดก็สลายตัวไป อารมณ์รักในกายมันก็เบา รักกายเรามันเบารักกายคนอื่นก็เบา เห็นโทษของการครองคู่ อยู่ด้วยกันในฐานะสามีภรรยา ตอนนี้ระวังให้ดีนะ ถ้ามีสามีภรรยาและก็บางทีเขาคิดว่านอกใจเขา นาน ๆ จะมีความรู้สึกสักครั้ง แล้วก็หายเร็ว นี่เป็นเรื่องของพระสกิทาคามี
    พระสกิทาคามีมีอารมณ์ละเอียดจิตเข้าถึงฌาน 4 เห็นโทษของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือ รูปสวยไม่จริง ปัญญามาก เสียงเพราะไม่จริง รสอร่อยก็ไม่จริง กลิ่นหอมก็ไม่จริง สัมผัสที่เกิดประโยชน์ก็ไม่จริง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้สร้างความอิ่ม มันสร้างความหิว มาในด้านของความโกรธก็ไม่มีความหมาย จะยึดถือร่างกายก็ไร้ประโยชน์
    แต่ว่าจิตระวังมีจิตตัวหนึ่ง ที่เขาเรียกว่ากิเลสที่เป็นอนุสัย ท่านที่มีกำลังใจเข้าถึงพระสกิทาคามีนี่ เห็นโทษของกามคุณมาก เห็นโทษของความโลภมาก เห็นโทษของความโกรธมาก เห็นโทษของขันธ์ 5 มาก จนกระทั่งมีอารมณ์ละเอียด ดับสนิท ความคิดจะรักในระหว่างเพศไม่มี เฉย ๆ แล้วก็ความโลภโมโทสัน อยากจะร่ำรวยมันไม่มี เฉย ๆ สบาย ๆ
    และความโกรธคิดประทุษร้ายเขาไม่มี มันจะเป็นยังไงก็ช่าง ด่าก็ช่าง ว่าก็ช่าง เฉย ๆ สบาย ถ้าจิตจะติดกายติดใจของเรามันไม่มี มันไม่มีเป็นส่วนมาก แต่บางขณะมันมีเพราะว่าสิ่งทั้งหลายทั้งหมดที่กล่าวมานี่ มันเป็นอนุสัย มันมีความละเอียดคล้ายกับตะกอน น้ำที่มีตะกอน ถ้าเอาสารส้มไปแกว่งมันไปนอนอยู่ในตุ่ม
    ตะกอนมันขุ่นก็จริงแหล่ แต่ทว่ามันไม่มากวนน้ำ น้ำใสสะอาดใจโปร่ง ตะกอนเหล่านั้นเหมือนกิเลส ใจเหมือนกับน้ำที่ถูกสารส้มแกว่งแล้ว แต่ทว่าในบางขณะที่จิตมีอารมณ์ละเอียด มีจิตสบายมีอารมณ์เป็นสุขไม่ว้าวุ่นกับอะไร บางครั้งความรู้สึกความพอใจในเพศ ความพอใจในทรัพย์สิน คิดว่าใครเขาว่าเราประทุษร้ายให้เราเจ็บใจ มันเกิดขึ้นมานิดหนึ่ง มันกระตุ้นจิตขึ้นมานิดกหนึ่ง แล้วก็สลายตัวไปโดยฉับพลันอย่างนี้เป็นอาการของพระสกิทาคามี
    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับเวลาที่จะพูดกันมันก็หมดเสียแล้ว หวังว่าบรรดาท่านทั้งหลายคงมีความเข้าใจ เพราะมันเป็นของไม่ยาก ต่อแต่นี้ไปขอสาวกขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จงตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าเวลานั้นท่านจะเห็นว่าเป็นการสมควรสำหรับท่าน สวัสดี


    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=196
     
  13. phataravudh

    phataravudh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +2,440
    อารมณ์พระอนาคามี


    ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย และบรรดาพระภิกษุสามเณรทั้งหลาย สำหรับเวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานพระกรรมฐาน สมาทานศีลแล้ว วันนี้จะได้ศึกษาในเรื่องของ อนาคามีผล
    สำหรับวันก่อนได้น้อมนำเอาอารมณ์ตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกิทาคามี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระโสดาบันก็ตั้งแต่สัตตักขัตตุง โกลังโกละ เอกพิชี และสกิทาคามีมาพูด สำหรับวันนี้จะนำเอา อารมณ์ของพระอนาคามี มาพูด แต่ก่อนที่จะพูดอารมณ์ของพระอนาคามี ความจริงถ้าอารมณ์จิตของบรรดาท่านทั้งหลายเข้าถึงพระสกิทาคามีแล้ว การทรงอารมณ์ของพระอนาคามีผลเป็นของไม่ยาก เพราะว่าเป็นการศึกษามาตามลำดับ
    ก่อนที่จะพูดในอารมณ์ของพระอนาคามี ก็จะขอน้อมนำเอาไปปฏิบัติ ที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์สอนไว้มาแนะนำกันเสียก่อน แต่ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าปฏิบัติไม่ถูกหลัก ไม่ถูกเกณฑ์ ไม่ถูกแผน ผลแห่งการบรรลุมันก็ไม่มี วิธีปฏิบัติที่ปฏิบัติกันมา จะต้องทำแบบนี้ ไปดูในวิปัสสนาญาณ 9 ข้อที่ 8 ท่านเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ แต่ว่าข้อที่ 9 นั้นท่านเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ คำว่า สัจจานุโลกมิกญาณ นั้น ไม่มีญาณเฉพาะสำหรับตน เป็นการปฏิบัติ คือ คำนึงจิตและพิจารณาย้อนไปย้อนมา
    สมมุติว่าท่านทั้งหลายกำลังเจริญสมาธิจิต เริ่มตั้งแต่ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือว่าถือนิมิตในกสิณ เช่นเราเคยเจริญอานาปานุสสติหรืออนุสสติมาก่อน แล้วไปจับพุทธานุสสติ และไปจับธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ หรือว่าเล่นกสิณกองใดกองหนึ่ง
    วิธีปฏิบัติเขาทำแบบนี้ พอเริ่มต้นเข้ามาเขาต้องจับอารมณ์ต้นก่อน เช่น เจริญอานาปานุสสติก่อน ก็ต้องจับอานาปานุสสติให้มีอารมณ์ถึงที่สุดที่เราได้มาแล้ว แล้วก็ปล่อยอารมณ์จิตให้มันทรงตัวอยู่ในอารมณ์นั้นให้สบาย เมื่อจิตมีความสบายถึงที่สุด ทรงอารมณ์ถึงที่สุดแล้วก็เคลื่อนไปจับกองที่ 2 กองที่ 3 กองที่ 4 กองที่ 5 ตามลำดับ แต่ละกองนั้น ๆ ก่อนที่จะเคลื่อนไป ให้จิตเข้าถึงจุดสูงสุดตามกรรมฐานกองต้นเสียก่อน เมื่อจับไปตามลำดับถึงที่สุดแล้ว จึงค่อยทำต่อกองทีทำต่อใหม่ กองที่ทำต่อใหม่นั้น เราจะใช้เวลาเพียงนิดเดียว อารมณ์ก็จะทรงตัว
    ทั้งนี้เพราะว่ากรรมฐานทั้ง 40 กองก็ดี มหาสติปัฏฐานสูตรก็ดี มีอารมณ์เหมือนกัน เช่นเราทรงสมาธิจิตในด้านอานาปานุสสติถึงฌาน 4 หรือว่าฌาน 1 หรือว่าฌาน 2 หรือว่าฌาน 3 ก็ตาม เริ่มต้นเราก็จับอานาปานุสสติให้เข้าทรงฌานถึงที่สุดตามที่เราจะพึงทำได้ในวันนั้น เราปล่อยจิตให้ทรงอยู่ให้อารมณ์สบาย เมื่อจิตเป็นสุขดีแล้ว ขยับเข้าไปกองที่ 2 หรือ กองที่ 3 แต่ละกองจะใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที อารมณ์ก็จะทรงตัวตามนั้น
    เป็นอันว่าถ้าทำอย่างนั้น ก็ชื่อว่าเราใช้วิธี สัจจานุโลมิกญาณ อนุโลมคือเดินตั้งแต่ต้นเข้าไปถึงปลาย บางทีก็จับตั้งแต่ปลายเข้ามาหาต้น จิตทรงอารมณ์ได้ตามปกติ สม่ำเสมอกันทุกจุดอย่างนี้ จะมีอารมณ์ไม่เคลื่อนจากสมาธิทุกกอง ไม่ใช่ทำกองนี้ได้ ไปกองหน้าทิ้งกองหลัง อันนี้ใช้ไม่ได้ เขาต้องเก็บไปตั้งแต่ต้น
    ถ้าหากว่าสมมุติว่าทุกท่านทรงกรรมฐานทั้งหมดได้ 40 กอง เวลาเราจับตั้งแต่ต้น 1 ถึง 40 มิต้องใช้เวลาตลอดคืนหรือ ผมก็จะขอตอบให้ท่านทราบว่าอย่างช้าที่สุดกรรมฐาน 40 กองนี่ เราจะเรียงตามลำดับให้ทรงฌานถึงที่สุดไม่เกิน 15 นาที แต่ผมว่ามันไม่ถึงนา ผมไม่เคยทำถึงนี่ เมื่อกองแรกเราคล่อง กองอื่นมันก็เหมือนกัน
    กรรมฐาน 40 กอง ถ้าจะเปรียบกับเรากินข้าว ถ้าเราเคยกินข้าวด้วยมือ เขามาให้กินข้าวด้วยช้อน มันก็เป็นของไม่ยาก ถ้าเคยกินข้าวด้วยช้อนสังกะสี เปลี่ยนมาเป็นช้อนส้อมมันก็ไม่หนัก มันจะเกะกะอยู่นิดเดียว ข้อนี้ฉันใด แม้การเจริญพระกรรมฐานซึ่งมีการเปลี่ยนอารมณ์ก็เหมือนกัน การเปลี่ยนอารมณ์เข้าไปหาอารมณ์แต่ละกอง แต่ทว่าอารมณ์จริง ๆ คือ สมาธิ มันอันเดียวกัน นี่จุดหนึ่งนะครับ
    และอีกจุดหนึ่งถ้าเราจะเดินด้านวิปัสสนาญาณ เวลานี้จะพูดกันถึงพระอนาคามี แต่ทว่าก่อนที่เราจะใช้อารมณ์จับพระอนาคามี แต่ทว่าก่อนที่เราจะใช้อารมณ์จับพระอนาคามีในเวลาสงัด หรือ เวลาไหนก็ตาม เราก็ต้องนั่งไล่เบี้ยมาตั้งแต่พระโสดาบันก่อน คำว่าไล่เบี้ยมานี่เป็นการสอบสวนอารมณ์จิตของเรา ว่าอารมณ์จิตเดิมที่เราไล่เบี้ยมานี่เป็นการสอบสวนอารมณ์จิตของเรา ว่าอารมณ์จิตเดิมที่เราไล่เบี้ยตั้งแต่พระโสดาบันน่ะ มันทรงตัวแล้วหรือเปล่า ถ้าพระโสดาบันกับพระสกิทาคามียังไม่ทรงตัว เราก็อย่าพึ่งไปยุ่งกับอนาคามีผลหรือว่าจะเป็นอนาคามีมรรค ต้องจับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปตามขั้นตามระยะ มีอารมณ์ทรงตัวเห็นว่าจิตทรงแน่แล้ว จึงจะก้าวเข้าไปสู่ข้อหน้าต่อไป เท่านี้เราก็ใช้วิธีสัจจานุโลมิกญาณ
    อันดับแรกเริ่มต้นเมื่อหาที่สงัดได้ คำว่าสงัดมันจะสงัดเสียง หรือ ไม่สงัดก็ช่าง แต่ทำใจของเราให้สงัดในนิวรณ์ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า บรรดาพระสมณะอยู่ที่ไหน ที่นั่นย่อมสงัด คือ มีพราหมณ์ถามพระพุทธเจ้าว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายต้องการที่สงัดใช่ไหม คือ ต้องอยู่ในป่าชัฏ ต้องการอยู่ในป่าช้า ต้องการอยู่ในเขา ต้องการอยู่ในบ้านที่ปราศจากผู้คน แต่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดากลับทรงตรัสว่า
    "พราหมณะ ดูก่อนพราหมณ์ พระอริยเจ้าจะอยู่ในป่าก็ดี อยู่บนยอดเขาก็ดี อยู่ในถ้ำก็ดี อยู่ป่าชัฏก็ดี อยู่บ้านว่างจากคนก็ดี หรือว่าอยู่ในบ้านก็ดี อยู่บ้านว่างจากคนก็ดี พระอริยเจ้าทั้งหมดนี้ย่อมมีอารมณ์สงัด ไม่ว่าที่ใดก็สงัดหมด เพราะว่าอารมณ์ของทุกท่านสงัดจากกิเลสเสียแล้ว
    นี่เป็นอันว่า คำว่าสถานที่สงัด คือ เราใช้อารมณ์สงัดจะไปนั่งคิดว่าที่นั้นต้องไม่มีเสียง ที่นี่ต้องไม่มีเสียง เราคิดหรือว่า เวลาที่เราจะตายน่ะเราจะหาที่สงัดได้ เราต้องพร้อมใจไว้เสมอว่า เวลาที่เราจะตาย อาจจะมีเสียงเครื่องขยายเสียงทั้งด้านข้าง ด้านซ้าย และด้านขวา ใกล้ ๆ เราอาจจะมีใครกำลังทะเลาะกันอยู่ก็ได้ หรือ อาจจะมีใครเขามานั่งด่าเราอยู่ใกล้ ๆ ก็ได้ เราต้องเตรียมใจไว้ ถ้าอาการอย่างนั้นมันปรากฏ เราจะไม่เอาจิตของเราเข้าไปยุ่งกับเสียงกับอารมณ์ต่าง ๆ ทำจิตของเราให้สงัดจากเสียง เรื่องของเขาก็เรื่องของเขา เรื่องของเราก็เรื่องของเรา
    นี่เป็นอันว่าที่สงัดของเราไม่ใช่หมายความว่าสงัดเสียง ไม่ใช่หมายความสงัดจากอาการกายกรรม คือ การทำงานต่าง ๆ ที่สงัดของเรา คือ ใช้อารมณ์จิตสงัดจากนิวรณ์ 5 ประการและก็สงัดจากกิเลสด้วย
    จำให้ดีนะครับ ต้องถอยหน้าถอยหลัง เล่นกันไปแบบนี้ให้มันช่ำมันชอง ตอนนี้เราจะก้าวเข้าไปสู่ พระอนาคามีผล เราก็มานั่งนึกดูตอนต้นว่า โอ้หนอ….เวลานี้เรามีความเสียดายอะไรบ้าง ถ้าพ่อเราจะตายแม่เราจะตาย เมียเราจะตาย ผัวเราจะตาย ลูกเราจะตาย เพื่อนเราจะตาย ตัวเราจะตาย ของเราต้องสลายไป เรามีความรู้สึกว่าห่วงใยจุดใดบ้าง ถ้าปรากฏว่ามีอารมณ์ยังห่วงอยู่
    สมมุติว่าคิดว่าเขาจะตาย เราจะร้องไห้เราจะเสียใจ เราจะมีอารมณ์ว้าเหว่ ถ้าเราจะตาย เราสงสารคนที่อยู่ข้างหลัง ไม่มีใครประคับประคอง ไม่มีใครเลี้ยงดูเกื้อหนุนให้เธอมีความสุข ถ้าอารมณ์ยังมีอย่างนี้ก็เสร็จ ถ้องใช้อารมณ์จิต ใช้ปัญญาต่อว่าจิต ว่าเอ็งนี่มันเลวเกินไป ทำไมเธอลืมความจริงเสียแล้วหรือว่า คนทุกคน สัตว์ทั้งหมด วัตถุธาตุทั้งหมด มันมีอนิจจังเป็นเบื้องต้น อันดับแรกมันไม่มีความทรงตัวคือ ไม่เที่ยง และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ทำไมเธอไม่รักษาสัจธรรมอันนี้ไว้
    สัจจานุโลมิกญาณ อนุโลมถอยหน้าถอยหลังเรื่องอริยสัจ คือ ของจริงที่พระอริยเจ้าทรงไว้ จงเตือนใจว่าเจ้าจงอย่าลืมความจริงว่า ญาติผู้ใหญ่ของเรามี ถอยหลังไปตามลำดับนับหาที่สุดไม่ได้ แต่ว้าญาติทุกคนของเราท่านไม่มี เวลานี้บางคนมีชื่อแต่ไม่มีตัว และก็ส่วนใหญ่ทั้งหมดหายไปทั้งตัวและชื่อ คือนั่นท่านตาย และเราจะทรงอยู่ได้ยังไง ท่านทั้งหลายเหล่านั้นเวลาตายท่านห่วงเรารึเปล่า ท่านอาจจะห่วง นั่นมีประโยชน์อะไรสำหรับเราบ้าง เมื่อท่านตายไปแล้ว ประโยชน์ที่ดีจริง ๆ ตามสัจธรรมนั่นก็คือว่า ท่านเป็นผู้ใหญ่เป็นต้นตระกูลของเรา แต่ท่านก็ตาย ในเมื่อต้นตระกูลตายแล้วก็ปลายตระกูล มันจะทรงอยู่ได้ยังไง มันก็ต้องมีสภาวะการตายเหมือนกัน นี่มันเป็นยังงี้ คิดให้มันลงตัว
    และก็ในเมื่อเราจะตายแล้ว เรามีอะไรเป็นที่พึ่ง พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระธรรมวินัย พระวินัยเป็นคำสั่ง พระธรรมเป็นคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งและก็ทรงสอนให้เราละชั่ว ประพฤติดีนะ เราทรงตัวได้แล้วหรือยัง ฝ่าฝืนพระธรรมวินัยตอนไหนบ้าง ค้นคว้าในจิตของตัว ถอยหน้า ถอยหลัง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีลของเราบริสุทธิ์พร้อมมูลแล้วหรือยัง นี่เป็นเรื่องของพระโสดาบัน ก้าวมาถึงพระสกิทาคามี โลภะความโลภของเรานี่ มันลดตัวลงไปจริง ๆ หรือเปล่า หรือว่ายังมีความทะเยอทะยานอยู่ โทสะความโกรธมีกำลังหนักหรือว่ามีกำลังเบา ถ้าหากว่าโลภะความโลภยังมี โทสะความโกรธยังมี โลภะความโลภในจิตของพระอนาคามี คือ ความอยากรวยมันต้องน้อย เรามีความรู้สึกว่ามียังไง กินยังงั้น มีแบบไหนใช้อย่างนั้น การประกอบอาชีพเป็นของปกติ ในเมื่อร่างกายยังมีชีวิต มันก็ต้องหากินหาใช้ ได้มากพอใจ ได้น้อยพอใจ แล้วก็คิดขึ้นว่าของที่ได้มาทั้งมากทั้งน้อย ตายแล้วเอาไปไม่ได้เลย จิตมีความสุข
    โทสะความโกรธ โกรธเขาทำไม เรามันเกิดมาให้เขาด่า เกิดมาให้เขานินทา เกิดมาให้เขาใช้ เกิดมาเพื่อความป่วยไข้ไม่สบาย เกิดมาเพื่อความแก่ เกิดมาเพื่อความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เกิดมาเพื่อตาย ในเมื่ออาการอย่างนี้มันเป็นปกติที่เราจะพึงรับ ทำไมเราจะไปสนใจในมัน ถ้าตายเมื่อไหร่ นั่นเราจะมีความสุข คือ เรามีหวังพระนิพพาน เราจะไปนิพพานแดนอมตะที่หาความทุกข์มิได้ ที่ทวนถอยหลังอารมณ์ของเราเข้าไว้ในจิตมันทรงตัว
    ด้านสมาธิก็ฝึกซ้อมไว้เป็นปกติ เวลาฝึกซ้อมไม่ต้องไปนั่งหลับตา หลับตามันไม่เก่ง ลืมตาอยู่อย่างนี้แหละให้จิตมันทรงตัว ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาและความเป็นจริง เห็นอะไรเข้าตายหมด เห็นคนคนตาย เห็นสัตว์สัตว์ตาย เห็นวัตถุธาตุวัตถุธาตุพัง แล้วก็นึกว่าเราจะต้องตายเหมือนกัน นี่ต้องถอยหน้าถอยหลัง จะไปก้าวแต่ข้างหน้า แล้วไม่เหลียวหลัง
    ท่านทั้งหลายที่ระงับความวุ่นวายของจิตไม่ได้นั้นน่ะ เขาเรียกว่า สีลัพพตปรามาส เป็นผู้ลูบคลำในศีล จิตตปรามาส ลูบคลำในสมาธิ ปัญญาปรามาส ลูบคลำในวิปัสสนาญาณ ทำเท่าไร ๆ ก็ไม่พ้นความวุ่นวายของจิต มีอารมณ์หุนหันพลันแล่นโฉงเฉงโวยวายปราศจากเหตุผล คนประเภทนี้ทำกี่แสนกัปก็ลงนรก เพราะสักแต่ว่าปฏิบัติ สักแต่ว่าประพฤติ ไม่รู้จักที่จะพิจารณาจิตของตัวเองว่ามันดีหรือชั่ว นี่ถอยหลังไปถอยหลังมากันแค่นี้แหละ
    ความจริงเขาถอยกันเป็นปกติ ย้อนไปย้อนมา สิ่งที่เราละได้แล้ว มันละจริงหรือไม่ อารมณ์สมาธิที่ทรงได้แล้วทรงจริงหรือไม่ อย่าไปหาที่สงัด อย่าไปหาที่สงัดความวุ่นวาย จงหาความสงัดใจ คือ ใจสงัดจากกิเลส นี่มันถึงจะถูก
    เป็นอันว่าต่อไปนี้ เหลือเวลาอีก 8 นาที ก็มานั่งคุยกันถึงเรื่องความเป็นพระอนาคามี ไม่ยาก ไม่เห็นมีอะไรยาก กามฉันทะเราเบามาจากพระสกิทาคามีแล้ว และก็ฌานสมาบัติอารมณ์ฌาน การที่จะก้าวเข้าถึงพระสกิทาคามี อย่างน้อยกำลังจิตของเราจะต้องทรงฌาน 3 หรือดีไม่ดีก็ต้องทรงฌาน 4 ไม่ยาก
    ต่อไปนี้เราก็มาเอากันจริงจัง กามฉันทะความใคร่ในรูปสวย นั่งนึกถึงรูปใครเขามันสวย ที่ว่ารูปสวย สวยจริงหรือไม่จริง สะอาดหรือว่าสกปรก เสียงเพราะ เสียงสร้างคนให้ไม่แก่ ไม่ตายได้ไหม กลิ่นหอม กลิ่นกันความทรุดโทรมของร่างกาย กันความตายได้หรือเปล่า รสอร่อยของอาหาร อาหารที่ว่าดีวิเศษ มีวิตามินดี ไอ้ยังโน้นก็ดี ยังนี้ก็วิเศษที่หมอเขาแนะนำ และไปดูหมอที่แนะนำเราซิ ว่าหมอน่ะแก่เป็นไหม หมอป่วยเป็นไหม หมอตายเป็นไหม ถ้าหมอมีความรู้ดี ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามคำแนะนำของหมอ หมอก็ต้องไม่แก่ หมอก็ต้องไม่ป่วย หมอก็ต้องไม่ตาย แต่ตามข่าวที่ทราบมา หมอในประเทศไทยตายไปแล้วนับล้าน ๆ คนนั่นเพราะว่าอะไร เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันดีนะ มันอาจจะดีจริงเพียงแค่ประทังชีวิตให้ทรงอยู่ แต่ทว่าเปล่า จะกันแก่ กันตายน่ะมันไม่ได้
    ในเมื่ออาหารทุกอย่างไม่สามารถจะยับยั้งให้คนทรงชีวิตอยู่ได้ ร่างกายของคนแต่ละคนเต็มไปด้วยความสกปรก นอกจากสกปรกแล้ว ก็ยังหาทางสลายตัวไปในที่สุด เป็นอันว่ามันสกปรกด้วย มันก็ไม่ใช่เราด้วย เอาจิตน้อมมาอย่างนี้เราสกปรก เขาสกปรก และมานั่งดูคำว่าเราว่าเขาอยู่ที่ไหน ร่างกายนี้เป็นเรารึ ร่างกายโน้นเป็นของเขาหรือ
    เป็นอันว่าร่างกายทั้งสองประการนี้ ไม่มีเรา ไม่มีเขา มันเป็นบ้านเช่าที่แสนจะสกปรก เป็นบ้านเช่าที่มีแต่ความผุพังไปตามปกติ ไม่ช้าเรากับมันก็จากกัน แล้วจิตใจของเรานั้นจะไปผูกพันด้วยโลกียวิสัย กามราคะปรารถนาความเป็นคู่ครองซึ่งกันและกัน มันจะเกิดประโยชน์ตรงไหน คนที่รักจะเริ่มรักใคร ต้องเริ่มรักคนสวย เริ่มรักคนงาม มีการเยื้องกราย กริยาวาจาดีทุก แต่ไอ้ตัวดีตัวนั้นน่ะมันดีนานไหม ไม่นาน ร่างกายก็สวยไม่นาน จริยาวาจาของแต่ละบุคคลมันก็ไม่อ่อนหวานอ่อนช้อยจริง ๆ มันยังมีโมโหโทโส มีความเลวประจำอยู่ในจิต มีความโลภ มีความโกรธ มีความหลง
    ตัวทั้งหลายเหล่านี้เป็นปัจจัยของความทุกข์ ถ้าเราอยากคือ ตัณหา อยากได้มาเราก็อยากได้ทุกข์ เราก็ต้องตัด ตัดด้วยกำลังของศีลบริสุทธิ์ ตัดด้วยกำลังของอารมณ์สมาธิ ที่เห็นว่าร่างกายของคนและสัตว์สกปรก และมีการสลายตัวไปในที่สุด ให้จิตมันทรงตัวอยู่แบบนี้ ในที่สุดมันก็จะเบื่อ เห็นคนเป็นซากศพ
    อันนี้มาในด้านความโกรธ ในสมัยเป็นพระสกิทาคามี เราโกรธหน่อยหนึ่ง แล้วก็ให้อภัย มาด้านถึงอนาคามี ก็ตัดให้มันพังสลายไปเสียเลย วิธีตัดทำยังไง ใช้ กสิณ 4 สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือ ว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมตตาพรหมวิหาร 4 นั้นดีที่สุด เพราะมีอารมณ์เบา นั่งคิดไว้เสมอว่าเรากับเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร่างกายมันไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร ถ้าเราจะโกรธคนที่โกรธเรา เราก็จะเลวกว่าเขา ตามที่พระพุทธเจ้าว่า และการโกรธมันทำให้เราหนุ่มขึ้นหรือเปล่า การโกรธทำให้เราสวยขึ้นไหม ความโกรธทำให้เราอิ่มเอิบขึ้นหรือเปล่า ความโกรธทำให้จิตเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
    เป็นอันว่าความโกรธ โทสัคคิ ไฟ คือ โทสะสร้างความเร่าร้อนให้แก่จิต โกรธง่ายแก่เร็ว โกรธบ่อยแก่บ่อย มันแก่ลงไปทุกวัน ในที่สุดมันก็พัง และความโกรธมันเผาผลาญร่างกาย เผาทั้งกาย เผาทั้งใจ ใจมีความเร่าร้อน เมื่อโกรธเขา ในเร่าร้อน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่ช้ามันก็โทรม ไม่ช้ามันก็ตาย แล้วคนที่เราจะโกรธ เราโกรธทำไม อยากจะฆ่าเขาอย่างนั้นหรือ ถ้าเราไม่ฆ่า เขาตายไหม เป็นอันว่าเราไม่ฆ่าเขาก็ตาย ถ้าเราจะแกล้งเขามีทุกข์ ถ้าเราไม่แกล้ง เขาจะมีทุกข์ไหม เขาก็มีทุกข์อยู่แล้ว และในที่สุดเขาจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ความปรารถนาจะไม่สมหวัง ในเมื่อมันเป็นอย่างนี้ เราจะโกรธเพื่อประโยชน์อะไร เราต้องการปัจจัยของความสุข ความโกรธ เป็นปัจจัยเข้าสู่อบายภูมิ
    ฉะนั้น เราก็ยึดมั่นพรหมวิหาร เมตตาความรัก กรุณาความสงสาร เห็นใครเขาโกรธเขา เราก็สงสารว่าพิโธ๋เอ๋ย ไม่น่าจะโง่เลย มาโกรธเราเข้า เขาก็หมดมิตรที่ดี คือ เราไปคนหนึ่ง แล้วก็นอกจากเรา เพื่อของเรา ญาติของเรา ลูกของเรา หลานของเรา ก็เป็นศัตรูเขาไปด้วย ช่วยเขาให้มีความทุกข์ใจมากที่สุด ฉะนั้นเรื่องความโกรธ เมื่อเขาโกรธมันไม่ดี เราก็ไม่โกรธเขาเช่นเดียวกัน เขาจะโกรธมาช่างเขา เราไม่โกรธไป
    จงดูตัวอย่างองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา ที่ นางมาคันทิยา จ้างคนด่าพระพุทธเจ้าก็ไม่โกรธ พราหมณ์มาด่าต่อหน้าธารกำนัล พระพุทธเจ้าก็ไม่โกรธ จิญจมาณวิกา แกล้งกล่าวหาว่า พระองค์ทำให้เธอท้อง พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้โกรธ พระเทวทัต ทำอันตรายพระพุทธเจ้าทุกอย่าง พระพุทธเจ้าก็ไม่โกรธ เพราะว่าพระองค์ไม่โกรธ อารมณ์พระองค์จึงมีความสุข แล้วก็พระองค์ไปนิพพาน คนที่โกรธพระพุทธเจ้ายั่วให้พระพุทธเจ้าโกรธ ทุกท่านไปอเวจีทั้งหมด
    เอาละ บรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคต ความจริงการศึกษาเข้ามาระดับนี้ มันสบาย ๆ ไม่มีอะไรมาก เพราะ เข้าถึงจุดจะเข้าพระนิพพานอยู่แล้ว วันนี้หมดเวลา ขอบรรดาท่านสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วทุกท่าน จงตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น อยู่ในอิริยาบถที่ท่านเห็นว่าสบาย กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าท่านจะเห็นว่าเวลานั้นควรจะเลิก สวัสดี
     
  14. phataravudh

    phataravudh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +2,440
    อารมณ์พระอรหันต์[/B]

    โอกาสนี้บรรดาท่านสาธุชนพุทธบริษัท และพระโยคาวจรทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล พากันสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลายโปรดตั้งใจสดับคำ การศึกษาซึ่งจะแนะนำในด้าน อรหัตผล
    สำหรับภาคนี้เป็นภาคของ พระอรหัตผล ท่านทั้งหลาย คงจะยังไม่ลืมว่า ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สำหรับพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีเป็นผู้ทรง อธิศีล คือ มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย แต่ทว่าเป็นผู้มีความมั่นคงในศีล
    สำหรับพระอนาคามีเป็นผู้ทรง อธิจิต นี่หมายความว่าศีลของท่านบริสุทธิ์ถึงศีล 8 และก็มีจิตทรงสมาธิมั่นคงถึงฌาน 4 อย่าลืมว่าจริยาคือ อาการของพระอนาคามี ท่านผู้ทรงความเป็นพระอนาคามีนั้น จะมีศีล 8 เป็นปกติ จะสมาทานหรือไม่สมาทานไม่มีความสำคัญ ผู้มีศีลไม่ได้ถือว่า จะต้องมานั่งสมาทานกันทั้งวันทั้งคืน ศีลที่มีจริง ๆ อยู่ที่ตัวเว้น เราไม่สมาทานเลย แต่ว่าเราเว้น ที่เขาเรียกกันว่า วิรัติ
    คำว่าวิรัติ แปลว่าเว้น เว้นจากความชั่ว 5 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล 5 เว้นจากความชั่ว 8 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล 8 ฉะนั้นท่านที่ทรงความเป็นพระอนาคามี จะมีศีล 8 เป็นปกติ เพราะว่าศีลเป็นศีลพรหมจรรย์ จะเห็นว่าพระอนาคามี หมดกามฉันทะ หมดความโกรธ พยาบาท และปฏิฆะ คือ อารมณ์ที่ไม่พอใจ อารมณ์ที่สะดุดใจให้ไม่สบายเกิดขึ้น เป็นความขัดข้องไม่มีในพระอนาคามี
    สำหรับพระอรหันต์เป็นผู้ทรง อธิปัญญา รวมความว่าพระอรหันต์นี้ทรงครบศีลก็บริสุทธิ์ สมาธิก็ทรงตัวตั้งมั่น ปัญญาก็รอบรู้จริง ๆ สำหรับการปฏิบัติ เท่าที่ผมอธิบายมารู้สึกว่ามันเยิ่นเย้อเกินไป แต่ว่านั่นเป็นแนวแห่งคำสอน วิธีปฏิบัติจริง ๆ นี่ไม่มีใครเขามุ่งพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ก็ขึ้นต้นกันจริง ๆ ก็มุ่งอรหัตผลกันเลย เพราะว่าการมุ่งอรหัตผลนี้ เขาถือว่าอย่างเลวที่สุดจิตจะจับไว้เฉพาะพระโสดาบันก่อนเป็นอันดับแรก เพราะว่าเป็นของง่าย
    ความจริงการทรงพระโสดาบัน ไม่มีอะไรจะยาก เพียงทรงศีลบริสุทธิ์ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์เราก็เป็นมนุษย์ไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าร่างกายเป็นมนุษย์ เขาก็ถือว่า มนุสสเปโต คือ ร่างกายเป็นมนุษย์แต่ใจเป็นเปรต
    มนุสสติรัจฉาโน ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ทว่าจิตใจเป็นสัตว์เดรัจฉาน
    มนุสสนิรโย ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่จิตใจเป็นสัตว์นรก ตายแล้วก็ไปตามนั้น
    คำว่า มนุษย์ แปลว่า ผู้มีใจสูง หมายความว่า บุคคลผู้นั้นเป็นผู้ทรงศีล 5 ประการหรือว่าทรงกรรมบถ 10 โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านถือว่า ผู้ใดทราบกรรมบท 10 ผู้นั้นมีความเป็นมนุษย์สมบูรณ์ เพราะว่ากรรมบถ 10 เป็นธรรมให้บุคคลเกิดเป็นมนุษย์
    เป็นอันว่าตอนนี้เรามาพูดกันถึงอรหัตผล ก็ขอย้อนต้นไปถึงปลาย อันดับแรกการที่จะเข้ามาเจริญพระกรรมฐาน ก็ต้องใช้อารมณ์อย่างหนึ่งที่เราทิ้งไม่ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา เป็นพระพุทธเจ้าแล้วท่านยังไม่ละ พระอรหันต์ทุกองค์ที่ทรงความเป็นอรหันต์แล้วไม่ละ นั้นก็คือ สมถภาวนา 3 ประการ ได้แก่
    1. อานาปานุสสติกรรมฐาน การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เพื่อความอยู่เป็นสุขของเรา เพราะเป็นการระงับทุกขเวทนา
    2. กายคตานุสสติ สำหรับสมถะพิจารณาเห็นว่า ร่างกายมันเป็นของสกปรกโสโครกไม่ทรงตัว
    3. ขอแถมนิด พระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดี ไม่ลืมความตาย
    เป็นอันว่าถ้าบรรดาท่านทั้งหลายทรงอารมณ์ทั้งสามประการนี้ทรงตัว คำว่าทรงตัวท่านเรียกกันว่าฌาน คำว่าฌานคือ อารมณ์ชิน
    ความเป็นอรหันต์อยู่ตรงไหน
    อันดับแรกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาสักกายทิฏฐิ พิจารณาร่างกายคือ ขันธ์ 5 ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง 5 อย่างนี้ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ไปลงกับสมถะคำที่เรียกว่า ตาย สมถะเห็นว่าร่างกายตาย
    วิปัสสนาเห็นว่ากายพัง เราไม่มีอำนาจควบคุมกายให้ทรงตัว กายมันจะแก่ เราห้ามแก่ไม่ได้ กายมันจะป่วยเราห้ามป่วยไม่ได้ กายมันจะตายเราห้ามตายไม่ได้
    เขาทำกันยังไง วิธีเขาทำเขาใช้ปัญญานั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ นอนอยู่ ทำกิจการงานอยู่ มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าคนที่มีอิริยาบถอย่างเรา ๆ นี่ท่านตายไปแล้วนับไม่ถ้วนในสถานที่ที่เรานั่งอยู่ เรายืนอยู่ เราเดินอยู่หรือเราอาศัยอยู่ ในสถานที่ที่ตรงนี้เคยมีคนตายแล้ว สัตว์ตายแล้วนับไม่ถ้วน
    ถ้าหากว่าเราตายแล้วเกิดจะมีผลอะไร ดูผลของการเกิด เกิดอยู่ในท้องแม่ก็ทุกข์ ออกมาจากท้องแม่เป็นเด็กช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ก็ทุกข์ เป็นเด็กโตขึ้นไปหน่อยทุกสิ่งทุกอย่างต้องอาศัยแม่ อาการที่เราอาศัยท่าน ท่านมีเมตตาก็จริงแหล่แต่ทว่าสิ่งที่เราปรารถนามันไม่ค่อยจะสมหวัง เราก็เป็นทุกข์ โตขึ้นมาแล้วพ้นจากอกพ่ออกแม่ก็ต้องประกอบกิจการงานหนัก งานทุกอย่างเป็นปัจจัยของความทุกข์
    เราก็มาพิจารณาไปว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราโดยนำเอา สักกาทิฏฐิ กายคตานุสสติ และอสุภกรรมฐาน มาควบหาความเป็นจริง ว่าร่างกายไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่เป็นแท่งทึบ ร่างกายนี้แบ่งเป็นอาการ 32 เต็มไปด้วยความสกปรก ถ้าเราปรารถนาในการมีคู่ครองมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เราอยู่ตัวคนเดียวเราก็เป็นทุกข์ ถ้าเรามีคู่ครองก็เพิ่มทุกข์อีก
    มาด้านความโทสะความโกรธ พออนาคามีตัดได้ด้วยอาศัย พรหมวิหาร 4 กับสักกายทิฏฐิ ควบกันตามที่ได้อธิบายมาแล้ว นี่ต้องใช้ปัญญานะ จะไปนั่งภาวนาอยู่เฉย ๆไม่ได้
    เมื่อถึงอนาคามีแล้ว ความเป็นอรหันต์เก็บเล็กเก็บน้อยเป็นของสบาย ๆ ใช้ปัญญาว่ารูปฌานและอรูปฌาน เป็นบันไดสำหรับก้าวเข้าไปสู่พระนิพพาน เราจะไม่หยุดอยู่แค่นี้
    มานะการถือตัวถือตน ไปถืออะไรกันตรงไหน ถือนี่มันถือกาย หรือถือความเลว ถือชาติตระกูล ถือฐานะ ถือวิชาความรู้ ไอ้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่ทรงตัว จะไปถืออะไรกัน คนกับสัตว์มีสภาวะเท่ากัน ถ้าเรายังเห็นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์ขี้เรือนเป็นที่น่ารังเกียจ เวลานั้นชื่อว่าเรายังเป็นผู้ตัดมานะไม่ไม่ จำให้ดีนะเท่านี้นะ ทำใจให้มันลงตัว
    และอุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่านนี่ หมายความว่าอารมณ์เราจับนิพพานตรงหรือเปล่า โลภะความโลภมีในจิตหรือเปล่า ราคะความกำหนัดยินดีมีในอารมณ์หรือเปล่า จิตเรายังนึกถึงว่านั่นเป็นเรา นี่เป็นของเราอยู่หรือเปล่า ถ้ายังมีอยู่ยังตัดไม่ได้อารมณ์ต้องเบาในสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งหมดจิตกำหนดเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่าง อย่างนี้ชื่อว่าตัดอุทธัจจะ คือ อารมณ์ฟุ้งซ่านได้
    แล้วก็อวิชชา มันไม่มีอะไร อวิชชานี่แปลว่า ไม่รู้ เหลือนิดเดียวอวิชชา ที่อารมณ์จิตคิดว่า การทรงเป็นพระอนาคามียังดี เกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็หมดกัน อย่างนี้เราตัดทิ้งมันไป ตั้งใจเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์ พอจิตเข้าถึงอรหัตผล จิตใจของเราจะมีอาการของความเบา ไม่มีความรู้สึกหนักในกรณีทั้งปวง จะมีอารมณ์โปร่ง มีใจเป็นสุข
    เท่านี้แหละบรรดาท่านทั้งหลาย เป็นอาการที่การปฏิบัติตนให้เข้าถึงอรหัตผล ผมพูดมาน่ะมันยาวเกินไป แต่ความจริงการปฏิบัติ เขาปฏิบัติกันแบบนี้ เขาลัด ประเดี๋ยวหนึ่งถึง เอาละเวลาก็หมดลงเสียแล้ว ขอความสุขสวัสดิ์จงมีแด่ท่านทั้งหลายสวัสดี

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=198
     
  15. toseal

    toseal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +618
    ถ้าไปถามพระพุทธเจ้าคงไม่ตอบหรอกครับ
     
  16. Mon Treal

    Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    เจ้าของกระทู้คงทราบดีนิพพานไม่ได้ ด้วยการไป
    แต่ในกายยาววา หนาคืบ กว้างศอกท่ีมีใจครองนี่แหละ คุณหยิบมรรคแปดมาปฏิบัติเดี๋ยวเจอนิพพานแน่ ทีนี้ช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ห้า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
    ขอโมทนา สาธุ กับทุกทุกจิตท่ีเป็นกุศล

    ปัญหา จงแสดงลักษณะของพระนิพพานว่ามีอย่างไรบ้าง ?

    พุทธดำรัส ตอบ “ดิน น้ำ ลม ไฟ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด สงสารทั้งหลายยอมกลับแต่ที่นี้ วัฏฏะย่อมเป็นไปในที่นี้ นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่นี้”

    สรสูตรที่ ๗ ส.สํ. (๗๑)
    ตบ. ๑๕ : ๒๒ ตท. ๑๕ : ๒๑
    ตอ. K.S. I : ๒๓
    เกวัฏฏะ! เรื่องเคยมีมาแล้ว : ภิกษุรูปหนึ่ง ในหมู่ภิกษุนี้เอง เกิด
    ความสงสัยขึ้นในใจว่า “มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิท
    ไม่มีเศษเหลือ ในที่ไหนหนอ” ดังนี้.


    (ความว่า ภิกษุรูปนั้นได้เข้าสมาธิ อันอาจนำไปสู่เทวโลก ได้นำเอา
    ปัญหาข้อที่ตนสงสัยนั้นไปเที่ยวถามเทวดาพวกจาตุมมหาราชิกา, เมื่อไม่มีใคร
    ตอบได้ ก็เลยไปถามเทวดาในชั้นดาวดึงส์,เทวดาชั้นนั้นโยนให้ไปถามท้าวสักกะ,
    ท้าวสุยามะ, ท้าวสันตุสิตะ, ท้าวสุนิมมิตะ, ท้าวปรนิมมิตวสวัตตี, ถามเทพพวก
    พรหมกายิกา, กระทั่งท้าวมหาพรหมในที่สุด, ท้าวมหาพรหมพยายามหลีก
    เลี่ยงเบี่ยงบ่ายที่จะไม่ตอบอยู่พักหนึ่ง แล้วในที่สุดได้สารภาพว่าพวกเทวดาทั้งหลาย
    พากันคิดว่าท้าวมหาพรหมเอง เป็นผู้รู้เห็นไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ที่จริงไม่รู้ใน
    ปัญหาที่ว่ามหาภูตรูปจักดับไปในที่ไหนนั้นเลย. มันเป็นความผิดของภิกษุนั้นเอง
    ที่ไม่ไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ในที่สุดก็ต้องย้อนกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า).

    เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้นได้กลับมาอภิวาทเรา นั่ง ณ ที่ควร แล้วถามเรา
    ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิท
    ไม่มีเศษเหลือ ในที่ไหน?” ดังนี้.

    เกวัฏฏะ ! เมื่อเธอถามขึ้นอย่างนี้ เราได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า แน่ะ
    ภิกษุ ! เรื่องเก่าแก่มีอยู่ว่า พวกค้าทางทะเล ได้พานกสำหรับค้นหาฝั่งไปกับ
    เรือค้าด้วย. เมื่อเรือหลงทิศในทะเล และแลไม่เห็นฝั่ง พวกเขาปล่อยนก
    สำหรับค้นหาฝั่งนั้นไป. นกนั้นบินไปทางทิศตะวันออกบ้าง ทิศใต้บ้าง ทิศ
    ตะวันตกบ้าง ทิศเหนือบ้าง ทิศเบื้องบนบ้าง ทิศน้อย ๆ บ้าง. เมื่อมันเห็น
    ฝั่งทางทิศใดแล้วมันก็จะบินตรงไปยังทิศนั้น, แต่ถ้าไม่เห็น ก็จักบินกลับมาสู่เรือ
    ตามเดิม. ภิกษุ ! เช่นเดียวกับเธอนั้นแหละ ได้เที่ยวหาคำตอบของปัญหานี้
    มาจนจบทั่วกระทั่งถึงพรหมโลกแล้ว ในที่สุดก็ยังต้องย้อนมาหาเราอีก.

    ภิกษุ ! ในปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคำถามขึ้นว่า “มหาภูตสี่
    คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมเหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือในที่ไหน?” ดังนี้เลย,
    อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า:“ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้
    ในที่ไหน? ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม
    ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน? นามรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือในที่ไหน? ดังนี้
    ต่างหาก.

    ภิกษุ ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้:“สิ่ง” สิ่งหนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้
    แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ,
    นั้นมีอยู่. ใน “สิ่ง”นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง”
    นั้นแหละความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม
    ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูปย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ.
    นามรูป ดับสนิทใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ, ดังนี้”.

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------
    บาลี เกวัฏฏสูตร สี. ที. ๙/๒๗๗/๓๔๓. ตรัสแก่เกวัฏฏะคหบดี ที่ปาวาริกัมพวัน เมืองนาลันทา.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2013
  17. mabucha

    mabucha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +329
    นิพพานไปได้ด้วยการละ
    จะละได้ต้องรู้แจ้ง เห็นจริง
    รู้แต่ยังไม่แจ้ง เห็นแต่ยังไม่จริง
    ก็รอชาติต่อไปเด้ออค่าเด้ออ.อิอิ.
     
  18. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    อุลต้ราแมนเซกะองค์ปฐมจักวาลผู้เป็นใหญ่กว่า จะพูดว่า

    นิพพาน มีแต่คนอยากไป และหาทางไป แต่ก็ไม่รู้ว่านิพพานอยู่หนแห่งใด
    นิพพานมีแต่คนอยากไปดู รู้ เห็น สัมผัส แต่ที่สุด ก็ไม่กล้าไป

    มีใคร จะแสดงความคิดเพิ่มเติมมั้ยครับว่า ทำไม อยากไป แต่ ไม่กล้าไป(ที่ไม่ได้ไป ที่ไม่ถึง ส่วนมากเลย ทำไมไม่กล้าครับ)
     
  19. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ใครที่ปฏิบัติมาหลายปี แต่ไม่ถึงนิพพาน ไม่รู้นิพพานสักที (คำตอบอยู่ในใจพวกเขาเหล่านั้น คือ ไม่กล้านั่นเอง จริงครับ ) เพราะอะไร ลองตอบมาให้คนอื่น ฟังหน่อยสิครับ
     
  20. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    นิพพาน ไปด้วย ปัญญา เท่านั้น ครับ
    ไม่มีปัญญา ไปนิพพานไม่ได้ ครับ หรือมีใคร จะแย้งครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...