จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. phiung_ay

    phiung_ay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +895
    สาธุค่ะ ^^
     
  2. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    แก้กรรมได้จริงหรือ

    เองไปสะเดาะเคราะ มันจะได้อะไร

    กระแสอยู่ที่จิต พลังงานอยู่ที่การกระทำ

    ถ้าเราบันทึกกระแสบุญบ่อยๆ และถ้าบันทึกตอนที่จิตนิ่ง

    พลังงานที่มีจะได้ไปได้ ถ้าจิตเราคิดถึงบุญตลอดเวลา

    กระแสกรรมก็จะเข้าไม่ได้ แต่ถ้าสวดไปด้วย คิดเรื่อยเปื่อยไปด้วย

    จะได้เพียงครึ่งเดียว ต้องจ่อเข้าไปจริงๆและถ้าจิตนิ่งๆ จริงๆ

    กระแสจิตและกระแสแห่งกรรมมัฏฐานจะเป็นสายใย

    เมื่อคิดถึงเมื่อไรจิตจะอยู่เลย อย่างนี้เรียกว่า

    การเบนกระแส แก้ไม่ได้ แต่เบนได้.

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ. กราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2013
  3. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อย่างนี้ต้อง ขยาย!
    โมทนาสาธุกับคุณก้องด้วยครับ
    กล่าวธรรมได้ถูกต้อง ชัดเจนดีมากทีเดียว
    เรื่องแยกกาย แยกจิตนี่! นับได้ว่าสำคัญยิ่งยวด
    สาธุๆๆ

    หากว่าง มาให้ธรรมาทานกับพวกเราอีกนะครับ
     
  4. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุกับคุณเมธญาด้วยครับ
     
  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ความจริงก็คือธรรมดา ธรรมดาก็คือความจริง

    ความจริงหรือธรรมดาเหล่านั้น ก็คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน
    เพราะทุกธรรมในโลกนี้ ย่อมหลีกหนีไม่พ้น กฎพระไตรลักษณ์ของพระพุทธองค์ไปได้
    หรือ...
    ความจริงหรือธรรมดาเหล่านั้น ก็คือ สรรพสิ่งใดๆ ล้วนย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไปแทบทั้งสิ้น
    ตราบใดที่พวกเรายังอยู่ในโลกวัฎสงสารนี้

    และทั้งหมดนี้ ก็คือ ความจริงหรือธรรมดาของเหล่าธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง

    แต่ถ้าหากผู้ใด ทำใจยอมรับกฎไตรลักษณ์ หรือความจริง หรือธรรมดา
    หรือยอมรับธรรมทั้งหลาย ทั้งปวงเหล่านี้กันได้ ย่อมไม่เป็นทุกข์ ฉันนั้นฯ

    เพียงแต่ผู้นั้น ย่อมรู้หรือเห็นตามความเป็นจริงๆของเหล่าธรรมนั้นได้ จะต้องใช้ปัญญา
    ปัญญาที่มาจากทางธรรม หรือที่ได้จากการภาวนา หรือภาวนามยปัญญา เท่านั้น
    แต่มิใช่ สุตมยปัญญา(การสดับตรับฟังหรือการศึกษาเล่าเรียน) หรือ จินตามยปัญญา(การนึกคิดหรือการตรึกตรอง)
    เพราะปัญญาทางอื่นนั้น ยังมีกิเลสปะปนอยู่มาก
    เพราะเวลาพิจารณาในธรรมนั้น จะต้องอาศัยจิตที่นิ่งสงบ จิตที่บริสุทธิ์ จิตที่ปราศจากกิเลสให้มากที่สุด เท่านั้น
    เราจึงจะเห็นธรรม หรือเห็นตามความเป็นจริงและถูกต้องตามนั้นๆได้

    ปล.กล่าวธรรมไม่ถูกต้อง ยกเว้น ไม่ถูกใจ ได้โปรดชี้แนะ หรือติ-ชมได้นะครับ

    ขอฝากจิตบุญทุกท่านว่า อย่าลืมเจริญสติภาวนาเป็นนิจ บ่อยแค่ไหน อยากจะตอบว่า..
    เท่าที่ลมหายใจ เข้า-ออก นั่นแหล่ะ! (ถ้าเป็นไปได้)
     
  6. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุกับคุณพี่ต้อยด้วยครับ
    ฟังแล้วได้ภูมิปัญญาขึ้นมามากเลยทีเดียวครับ
    ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงยิ่ง
     
  7. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คิดถึงเหมือนกันครับ
    และยังคิดถึงทุกท่าน วานๆยังหวานอยู่ด้วยครับ..อิอิ
    พี่ภูขำได้ตาหลอด มิมีไรเปลี่ยนแปลง คนเดิม หัวใจเดิมๆ
     
  8. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ขอแสดงความยินดีและอนุโมทนาจิตบุญดวงที่ 131,132 ครูเกษ ครูดาว ครูแนท และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ สาธุ สาธุ สาธุค่ะ
     
  9. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ต้องขยาย!
    ลูกคนนี้ขอกราบแทบเท้าของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ตราบจนดับขันธ์แห่งตน...สาธๆๆ
    _/l\_ _/l\_ _/l\_
     
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุกับคุณแนทด้วยครับ
    ตกลงหนุ่มเกาหลี เอ๊ย! คุณโมกขทรัพย์เนี๊ย ยังไม่หมดภาระทางโลก ใช่ไหม๊?
    แต่ถ้าหมดแล้ว กรุณามาช่วยงานพ่อ(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)ด้วย
    มาช่วยกันทำตามเจตนารมณ์ ตามความปรารถนาของหลวงพ่อฯหน่อยนะครับ
    สาธุๆๆ
     
  11. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ต้องขยาย!


    อ้างอิง:
    สวัสดีคะ คุณครูเกษ คุณครูลูกพลัง และคุณครูปุ้ย
    ก่อนอื่นตูนขอขอบคุณธรรมเทศน์ ที่คุณครูเกษได้กรุณาส่งมาให้ตูนได้ฟังนะคะ
    การเกาะรูปพระก่อนนอน และหลังตื่นนอนนั้นตูนได้ทำปกติอย่างที่ครูเกษแนะนำคือก่อนนอนนึกถึงรูปพระจนเผลอหลับไป และก่อนตื่นนอนก็พยายามนึกถึงรูปพระก่อนที่จะตื่นนอน ซึ่งทุกวันนี้ตูนมีความรู้สึกว่าเป็นไปโดยไม่ต้องฝืนนะคะ จริงอย่างที่คุณครูลูกพลังสอนสอน นะคะ ทำ ๆๆๆๆๆๆ จนรู้สึกเป็นเรื่องปกตินนะคะ แต่แปลกนะคะคุณครูเกษ ตูนเคยพูดว่านอนไม่หลับและก็ฝันแปลกๆ แต่ตอนนี้ตูนนอนหลับและรู้สึกว่าหลับแต่จิตตูนไม่หลับ กับฝันเห็นผู้หญิงวัยกลางคนเดินมาหาตูนและครอบครัว ซึ่งผู้หญิงคนนี้สติไม่ค่อยจะดีนะคะ แก่นำรูปพระพุทธรูปมาขอแรกเงินเพื่อไปแลกอาหาร ซึ่งตูนและครอบครัวก็ได้ให้เงินกับหญิงคนนี้ เพราะว่าจิตสงสารนะคะ หลังจากนั้นก็สะดุ้งตื่นนะนะ แหมๆเป็นฝันที่มีความสุขนะคะ คุณครูเกษ
    คือ 1 ได้รับพระพุทธรูป 2 ได้อยู่พร้อมหน้าครอบครัว และ3 ได้เห็นรอยยิ้มของผู้หญิงคนนั้นชั่งมีความสุขเหมือนแก่มีเงินมหาศาลเพื่อนำไปซื้ออาหารนะคะ(ในฝันแก่บอกยังงัยนะคะ)
    ...

    อ้างอิง:
    สวัสดีครับ
    วันนี้มาเสริมให้หน่อยครับ
    เกี่ยวกับนิมิตจากสมาธิหรือนิมิตจากความฝันก็แล้วแต่(แม้นจะคมชัดเพียงใดก็ตามทีเถอะ)
    ก็ให้เพียงแค่รู้-วางเท่านั้นพอ อย่าไปปรุงแต่ต่อยอดใดๆออกไปอีก
    มีสติตามรู้ตามดูตั้งแต่เห็นเกิดจนดับไป ก็ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน สุดท้ายก็ว่างเปล่า ไม่มีตัวไม่มีตน(อนัตตา)
    (มิฉะนั้นเดี๋ยวจะกลายเป็น"ตูนน้อยผู้วิเศษ" หลงทางเสียเวลา หลงติดอภิญญาเสียมรรคผลนิพพาน)
    เหตุเพราะว่านิมิตเหล่านั้นๆ(แม้นบางเรื่องอาจจะจริงหรือเป็นเรื่องที่ดีก็ตามแต่)
    หากแต่ว่ามันมิใช่หนทางไปสู่การหลุดพ้น มิใช่การปล่อยวางลง
    หากแต่ดันเอามาแบกใส่บ่าใส่หัวให้มันหนักมากยิ่งขึ้น
    อริยมรรคก็คือหนทางเดินสู่การปล่อยวางหรือละวางลง
    สมมุติว่าเรามีเรื่องที่ถืออยู่(ยึดมั่นถือมั่น)ทั้งชีวิตเลย1ล้านเรื่อง
    เรายิ่งปฎิบัติไปๆเราก็จะพบว่า"เรื่องที่ยังยึดอยู่จริงๆแบบซีเรียสหรือแบบว่ายังวางไม่ลง"
    อาจจะมีอยู่จริงๆแค่เพียงไม่เกินสิบเรื่อง ส่วนที่เหลือก็สามารถที่จะวางได้หมด
    เราก็ต้องปฎิบัติไปเรื่อยๆ เพื่อวางมันให้ลง(แบบถาวรนะไม่ใช่วางชั่วคราวนะ)ทีละเรื่องสองเรื่องน่ะ

    สิ่งที่มนุษย์ต้องวางลงนั้น(เพื่อเข้าสู่นิพพาน-ดับหมดไม่เหลือเชื้อ) ก็มีดังนี้:-
    "ของกู"
    - อุปาทานโลกสมมุติ(สังคมโลก) เช่นความเป็นคนไทย, ความเป็นคนกทม., คนดี, คนเลว, ภาพพจน์ส่วนตัว,
    - อุปาทานหมู่สมมุติ(สังคมกลุ่ม) เช่นสมาชิกจิตเกาะพระ, สมาชิกบริษัทที่ทำงาน, ศิษย์เก่าโรงเรียน..., สมาชิกของหมู่เพื่อนๆ, ลูกศิษย์ลูกหา, สมาชิกของสมาคมใดๆ
    - อุปาทานสมมุติครอบครัว(สังคมครอบครัว) เช่นพ่อ แม่ พี่น้อง ญาติ ปู่ย่าตายาย ลูก หลาน เหลนโหลน สามี/ภรรยา (อีอุปาทานข้อนี้แหล่ะ..มันร้ายกาจที่สุด ที่อวิชชามันครอบอยู่เต็มๆหัวเลย แบบเราเองก็ไม่รู้ตัว มาหลายภพชาติแล้ว ตัดขาดหรือปล่อยวางยากส์! หลงกันทั้งบ้านทั้งเมืองทั้งคน/สัตว์/เทวดา/พรหม)
    - อุปาทานทรัพย์สิน เช่นเงินทอง บ้าน รถ ที่ดิน เพชรนิลจินดา แหล่งทำมาหาเงิน ของวิเศษ พระเครื่อง เหล็กไหล ฯลฯ
    - อุปาทานเครื่องประดับ/การแต่งกาย เช่นเสื้อผ้า นาฬิกา แหวน การปรุงแต่งเสริมความงามแก่ร่างกาย ฯลฯ
    "ตัวกู"
    - อุปาทานรูปขันธ์ เช่นร่างกายเรานี้ (ต้องอบรมด้วยอสุภะกรรมฐานเยอะๆจึงจะวางลงได้)
    - อุปาทานเวทนาขันธ์ เช่นความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉย (จากการกระทบโดยอายตนะต่างๆที่เข้ามา)
    - อุปาทานสัญญาขันธ์ เช่นความจำได้หมายรู้ (ก่อให้เกิดทิฏฐิมานะ, ปัญญา, วิชาความรู้ต่างๆ, ฯลฯ)
    - อุปาทานสังขารขันธ์ เช่นการนึกคิดปรุงแต่ง (ก่อให้เกิดการยึดมั่นถือมั่น, ก่อภพก่อชาติ, ฯลฯ)
    - อุปาทานวิญญาณขันธ์ เช่นวิญญาณธาตุรู้ การรับรู้ในสิ่งต่างๆที่เข้ามาหรือเกิดขึ้นจากภายในจิต
    Note:"นามธรรม"เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนมาก ต้องเข้าถึงด้วยสภาวะจิตที่ละเอียดอ่อนเฉกเช่นเดียวกัน
    การเดินมรรคก็คือการฝึกฝนที่จะละวางสิ่งต่างๆลง(ถอดถอนอุปาทานที่มันฝังแน่นในจิต) ตั้งแต่ของหยาบ==>ไปจนของละเอียด==>ไปจนนามธรรม==>ไปจนดับสิ้นไม่เหลือเชื้ออีกเลย(นิพพาน)
    ก็ให้ถามตนเองซะว่า"เราวางอะไรไปได้มากน้อยแค่ไหนแล้ว?"
    ก็ไม่เป็นไร.. หมั่นวางไปเรื่อยๆ.. วันนึง"มันก็ต้องหมดไปเองแหล่ะ หากเรายังไม่ยอมหยุดที่จะวาง"

    คราวนี้..เข้าใจแล้วใช่ไหม?ว่าทำไมไม่ให้เอา"นิมิต"เข้ามาแบกเทอร์นเอาไว้ใส่บนบ่า/บนหัวให้มันหนักยิ่งๆขึ้น..
    แค่วางสิ่งที่จิตมันดันหลงไป"อุปาทานเข้าไปยึด"ทุกวันนี้ก็แย่เลี้ยว.. หากแต่ดันจะไปแบกเอาเข้ามาเพิ่มอีกหรือ?
    มันจะต้องมีอัตราเร่งใน"การเอาออก"ให้มากกว่า"การเอาเข้า" มันจึงจะหมดสิ้นได้(ก่อนตายนะ-แล้วเราจะรู้ไหมว่าจะตายพรุ่งนี้?)

    วันนึงภายภาคหน้าเธอจะเข้าใจคำว่า
    "รู้-วาง ไม่ยึดติด" แบบแจ่มแจ้งเลยแหล่ะ
    วันนี้ก็ให้เดินมรรคไปเรื่อยๆ อย่าหยุดนะครับ

    ท่องไปๆ.."ทำทำทำ ทำทุกที่ แล้วก็ทำทำทำ"
    อ้อ..นอกจากท่องแล้วก็ต้องน้อมนำมาปฎิบัติอย่างเคร่งครัดด้วยนะครับ..
    สาธุครับ


    พี่ภูขอโมทนาสาธุกับคุณครูลูกพลัง ครูเกษ ครูแนท ครูปุ้ยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านด้วยนะครับ

    และอย่าลืมคุณแพทด้วยนะครับ เพราะเธอเป็นผู้ที่แนะนำคุณตูนเข้ามาเรียนจิตเกาะพระด้วยนะครับ
    สาธุๆๆ
     
  12. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    เห็นทุกข์ทำให้เกิดปัญญา

    [​IMG]


    “ทุกข์” เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์
    คนทั้งหลายพากันเกลียดกลัวทุกข์
    อยากหนีทุกข์ ไม่อยากให้มีทุกข์เลย
    ความจริงทุกข์นี่แหละจะทำให้เราฉลาดขึ้นล่ะ
    ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์
    สุขนั่นสิมันจะปิดหูปิดตาเรา มันจะทำให้ไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน
    ความสุขสบายทั้งหลาย...จะทำให้เราประมาท


    หลวงปู่ชา สุภทฺโท​
     
  13. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขยายนะ! ไม่ใช่โฆษณา
    คุณจุ๋มไทยแลด์ คุณจุ๋มเยอรมัน เธอทั้งสองมาช่วยรับคุณจุ่มUK เพราะชื่อเล่นเหมือนกัน

    นั่น! จิตบุญมันต้องอย่างนั้นสิ!
    ถือว่าหมดหน้าที่ของพวกเราแล้ว เพราะที่นี่ เน้นจิตรอด พอหลังจากนั้น ตัวใครตัวใครตัวมัน สติใครสติมัน ไปเจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญากันเอาเอง

    ที่นี่! เน้นเลี้ยงลูกแบบฝรั่ง (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)
    ถ้าครูไปตามดูเป็นร้อยดวงจิต มีหวังไม่ต้องเอาเวลาไปทำมาหากินกันแร๊ะ เพราะครูจิตเกาะพระ ไม่มีเงินเดือนจากบ้านรากแก่นฯ ฮ่าๆ (อดทนๆไว้)
    ครูจิตเกาะพระทุกท่าน ต้องทำหรือสร้างบารมีด้วยใจของตนเอง
    และไม่มีผู้ใด จะไปบังคับให้ท่านต้องมาเป็นครูสอนจิตเกาะพระหรือมาช่วยสงเคราะห์จิตที่ยังออกจากทุกข์เองไม่ได้

    ปล.จิตที่จะไปนิพพาน ต้องไม่แหน่มแน้ม
    ดั่งที่คุณจุ๋มเยอรมัน บอกว่า ไม่มีใครเอาควายไปนิพพานด้วยนะ!
     
  14. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    Power of yourself !

    [​IMG]
     
  15. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=1q29vCpZ4TQ]บัวแล้งน้ำ หญิง ธิติกานต์ อาร์ สยาม - YouTube[/ame]
    ตราบใด ที่เรายังลมหายใจ
    ยังมีเลือดเนื้อ กระดูกเอ็นยังยึดกันอยู่ ยังไม่แยกแตกดับ
    ยังมีความรู้สึก นึกคิดใดๆ ก็ปล่อยมันไปตามธรรมชาติ
    เพียงเราให้มีสติระลึกรู้ตัวมากๆ เข้าไว้ก่อน
    คอยหมั่นเจริญสติภาวนาแบบพระอริยเจ้า ท่านทำให้กับพุทธบริษัทดูเป็นตัวอย่างไปแล้ว

    แค่แยกกาย แยกจิตให้เด็ดขาดจริงๆ
    ที่เราเคยหลงไปยึดติด ยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์
    และทำให้ได้ก่อนตายด้วย
     
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ลูกคนนี้ขอกราบแทบเท้าหลวงพ่อฯ..ด้วยเศียรเกล้า...สาธุๆๆ
    ขออนุโมทนาสาธุ กับคุณพี่มาลินีด้วยครับ

    เอ๊า เมื่อกายถูกเผาทิ้งไปแล้ว ดูสิว่าจิตมันจะไปทางไหน
    ขอให้พวกเรารีบๆฝึกการไปของจิต(จุติ)กันตั้งแต่ยังมีลมหายใจ
    หรือก่อนที่ขันธ์ของตน จะแตกดับ

    ว่าแต่ว่า ถ้าคนเราไม่มีอัตตา มานะกันแล้วเนี๊ย ดูสิว่า เราจะเอาอะไร๊ ไปโกรธกัน ไปงอนกัน ไม่ยินดีกัน ไม่พอใจกันอีก
    เห็นมีแต่ ชื่อของคุณพี่พอใจคนเดียว ฮ่าๆ

    ปล. ป๊าดดดโธ่! นึกว่าไม่มีคนโพสต์ นึกว่าผมโพสต์อยู่คนเดียว ก็เลยโพสต์ซะสะใจโก๋เลย เห่อๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กุมภาพันธ์ 2013
  17. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    สวัสดีครับครูวิทย์
    แน่ใจนะว่า เรือลำนี้จะไม่จม แน่ใจนะ!

    สงสัยเรือลำนี้ ทำมาจากโฟมแน่ๆเลย ฮ่าๆ
    ว่าแต่ว่า เรายังมีเรือกี่ลำ?


     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,438
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    จิตบุญดวงที่ ๑๓๒

    ==========================
    ขอโมทนากับจิตบุญ ๑๓๒ และครูผู้สอนทุกๆท่านด้วยค่ะ:cool:chearr
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,438
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    อานิสงส์ถวายข้าวพระพุทธรูป
    หลวงพ่อฤาษีลิงดํา





    ผู้ถาม “กระผมไม่กล้าถวายข้าวพระข้าวเจ้า ถวายผลไม้แทนได้ไหมครับ...”

    หลวงพ่อ “ถ้าบังเอิญชาตินี้ไปนิพพานไม่ได้ ชาติหน้ามีแต่ลูกไม้กิน”

    ผู้ถาม “อย่างนั้นถวายข้าวด้วยดีกว่าครับ แต่บางทียังถวายไม่เสร็จเลย แมวกินเสียก่อนแล้ว อย่างนี้จะว่ายังไงครับหลวงพ่อ”

    หลวงพ่อ “อ๋อ...นี่เป็นลูกศิษย์พระ ลูกศิษย์พระมีทั้งแมว มีทั้งหนู มีทั้งมด มีทั้งจิ้งจก นั่นลูกศิษย์ของท่านนะ”

    ผู้ถาม “อ้อ...ต้องให้โอกาสเขาบ้างนะ”

    หลวงพ่อ “ใช่ เรานี่ไปแย่งเขากินนะ แต่ความจริงการถวายข้าวพระ จะเป็นอาหารหรือว่าเป็นลูกไม้ก็ตาม พระพุทธรูปท่านไม่ได้ฉัน แต่เป็นการบูชาความดีของพระพุทธเจ้า ถ้าเป็นกรรมฐานเขาเรียก “พุทธานุสสติกรรมฐาน” สูงมาก ไม่ใช่ต่ำ ถ้าเวลาเราถวายบางทีเราควบทั้งสามอย่างเลย ทั้งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เขาว่า

    “อิมัง สูปะพยัญชนะ สัมปันนัง” แล้วก็ลงท้ายด้วย “พุทธัสสะ ธัมมัสสะ สังฆัสสะ” ใช่ไหม ที่ลงตอนท้ายนี่เป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ถือว่าเป็นกรรมฐาน และถือว่าเป็นฌานด้วย เพราะจิตเราห่วงอยู่เสมอว่า วันพรุ่งนี้เราจะเอาอะไรถวาย ตัวคิดตัวนี้เป็นฌานก็ทรงตัว อันนี้เป็นการปฏิบัติกรรมฐานในพุทธานุสสติกรรมฐานโดยไม่รู้สึกตัว

    ฉะนั้น ทุกคนทุก ๆ วัน ควรจะถวายข้าวพระ และก็กับข้าวมาก ๆ อย่าใช้ถ้วยเล็ก ๆ นะ ถ้วยโต ๆ มีกับประเภทไหนที่เราชอบใจมากก็บอก นี่เอาถวายพระพุทธ กันคนอื่นไว้”

    ผู้ถาม “ทีนี้ญาติโยมเอาถ้วยตะไลเล็ก ๆ ถวายล่ะครับ”

    หลวงพ่อ “อันนี้ไม่เป็นไร อยู่ที่จิตใจ จิตตั้งใจจะถวาย ตัวที่นึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์ ตัวนี้สำคัญเป็นฌาน”

    ผู้ถาม “คือคงคิดว่า องค์หล่อท่านเล็ก ๆ ก็เลยถวายถ้วยเล็ก ๆ ถ้าถ้วยใหญ่กลัวจะตกใจ ดีไม่ดีหล่นไปในขันน้ำว่ายไม่ได้ตาย เดี๋ยวพระพุทธรูปตาย เลยต้องเอาถ้วยเล็ก ๆ”

    หลวงพ่อ “เล็กหรือใหญ่ไม่สำคัญ สำคัญที่นึกอยู่เสมอว่า ตอนเช้าเราจะถวายข้าวพระพุทธรูป ตัวนี้สำคัญมาก การนึกถึงพระพุทธรูปเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน เมื่อถึงเวลา จิตมันคิดก็เป็นฌาน “ฌานัง” แปลว่า การเพ่ง ตัวเพ่งตัวนี้ตั้งใจ

    ถ้านึกถึงพระธรรมด้วย พระสงฆ์ด้วย เป็นธัมมานุสสติด้วย สังฆานุสสติด้วย ถ้าทำอย่างนี้เสมอ ๆ ตายแล้วตกนรกไม่เป็น”

    ผู้ถาม “ถวายข้าวพระพุทธรูป กับถวายข้าวพระสงฆ์ อย่างไหนอานิสงส์มากกว่ากันคะ”

    หลวงพ่อ “การถวายข้าวพระพุทธรูป ถ้าเป็นเจตนาเพื่อเป็นพุทธบูชาจริง ก็เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตั้งใจถวายพระสงฆ์และตั้งใจถวายจริง ๆ เป็นวัตถุทานด้วย เป็นสังฆานุสสติกรรมฐานด้วย

    แต่อย่าลืมว่าถวายแก่พระพุทธเจ้ามีอานิสงส์มากกว่าถวายพระสงฆ์เยอะ แต่ว่าเวลานี้ถ้าไม่ถวายพระสงฆ์ เกิดไปชาติหน้าอดข้าว เดี๋ยวหนูเกิดไปชาติหน้า ถ้าพูดเขาไม่ให้กินต้องนั่งเฉย ๆ เดี๋ยวเขาก็ให้กิน”

    ผู้ถาม (หัวเราะ)

    หลวงพ่อ “ถวายพระพุทธเจ้าเป็นพุทธบูชาเฉย ๆ ยังไม่ถือเป็นทาน เราจะมีทรัพย์สิน มีเสื้อสวม มีผ้านุ่ง มีบ้านอยู่ นั่นเป็นอานิสงส์ของทานการให้ ถ้าเราบูชาพระพุทธเจ้าจัดเป็นพุทธบูชาเฉย ๆ นึกถึงความดีของท่าน ไม่ถือว่าเป็นทาน อานิสงส์ได้คนละอย่าง

    “พุทธบูชา มหาเตชะวันโต” การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดชมีอำนาจมาก นั่นหมายความว่า ถ้าเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมมีรัศมีกายสว่างไสวมาก เทวดาหรือพรหมนี่เขาไม่ดูเครื่องแต่งตัว เขาดูแสงสว่างออกจากกาย

    “ธัมมบูชา มหาปัญโญ” การบูชาพระธรรม มีปัญญามาก คือใคร่ครวญในพระธรรมจนเกิดปัญญา จ ิตเป็นสมาธิ

    “สังฆบูชา มหาโภคะวโห” สงเคราะห์พระสงฆ์ เกิดไปรวยมาก เพราะเราใช้วัตถุเป็นเครื่องหมาย อานิสงส์ต่างกัน แต่ต้องทำ 3 อย่าง ไม่งั้นหลวงพ่ออด”

    ผู้ถาม (หัวเราะ) “หลังเพลก็ถวายได้ใช่ไหมคะ”

    หลวงพ่อ “ได้ถือเป็นการบูชานะ ไม่ใช่ถวายทาน ไม่จำกัดเวลานะ”

    ผู้ถาม “จัดอาหารไปเลี้ยงพระที่วัด และได้จัดอาหารถวายพระพุทธรูป ลาแล้วก็เอาให้ลูกกิน รวมทั้งครอบครัวด้วย เอามากินที่บ้าน จะมีบาปหรือไม่คะ..”

    หลวงพ่อ “ชักสงสัยนะ ความจริงถวายพระพุทธรูปแล้ว อย่าเอามาดีกว่า เวลาที่วางไปแล้วเรากล่าวเป็นสังฆทานนี่ ใช่ไหม...ทีหลังถวายพระพุทธรูปที่บ้านดีกว่าไม่มีเรื่องดี หรือว่าถ้าถวายพระพุทธรูปแล้ว ก็เก็บถวายพระในตอนเพลจะได้อานิสงส์อีก”

    ผู้ถาม “ที่บ้านหนูทำบุญบ้าน นิมนต์พระ 9 องค์ แล้วถวายข้าวพระพุทธด้วย เสร็จแล้วก็เอามาทาน จะได้ไหมคะ”

    หลวงพ่อ “สาธุ...ทีหลังอย่าทำก็แล้วกันนะ”

    ผู้ถาม “ต้องชำระหนี้สงฆ์ใช่ไหมคะ.....”

    หลวงพ่อ “พระยายมท่านตอบว่า “หมิ่นไป” ท่านบอกว่า “ควรจะถวายพระเอาไปวัด”

    ผู้ถาม “แล้วในเวลาเพลแล้วเล่าคะ”

    หลวงพ่อ “เพลแล้วก็เป็นเรื่องของพระไป ถ้าถวายพระแล้วท่านไม่เอา ก็ใช้ได้เลย”

    ผู้ถาม “เอาหญ้าที่วัดไปทำยาที่บ้านเป็นไรไหมคะ”

    หลวงพ่อ “ไม่เป็นไร เจ้าของพระศาสนาบอกเองนะ พระก็สงเคราะห์คนได้เหมือนกัน”

    ผู้ถาม “ถ้าชำระหนี้สงฆ์แทนคนอื่นได้ไหมคะ คือพี่ชายหนูบวชแล้วพอสึกก็เอาของวัดมาบ้าน”

    หลวงพ่อ “ตอนที่ชำระให้เขารู้ไหม”

    ผู้ถาม “ก็ไม่ทราบค่ะ คือหนูจ่ายแทนแล้วไปบอกเขาได้ไหมคะ”

    หลวงพ่อ “ได้เลย...ต้องให้เขารู้ด้วยนะ”

    ผู้ถาม “กราบเรียนหลวงพ่อที่เคารพ ลูกมีความไม่สบายใจเกี่ยวกับของใส่บาตรหลายประการ วันหนึ่งแม่ทำกับข้าวเสร็จก็ใส่บาตร แต่ไม่บอกลูก ลูกก็เลยกินก่อนพระ วันที่สองแม่แบ่งไว้ถวายพระ ลูกไม่รู้นึกว่าแบ่งให้หนู หนูก็เลยกินไปอีก แม่เจี๊ยวจ๊าวเป็นการใหญ่หาว่ากินก่อนพระ ก็เกิดความไม่สบายใจขึ้นมา อยากจะขอโทษ แม่จะให้อภัยหรือเปล่าเจ้าคะ เพราะไม่รู้และไม่เจตนา”

    หลวงพ่อ “ไม่เจตนามันกินยังไงนะ ต้องหลับกิน ไม่เจตนา เราก็หาของมาแทนซิ ไม่มีอะไร พระท่านไม่ได้ว่า แม่จะได้ไม่สะดุดใจ กินอะไรเข้าไปบ้างจำได้ไหม ไปซื้อของอย่างนั้นมาให้แม่เพื่อถวายพระ หมดเรื่องกัน แม่จะได้ถวายพระต่อไป”

    **********************************************
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,438
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    พระพรหมโมลี
    (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)


    "ข้าพเจ้า ผู้มีน้ำใจศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะให้พระสัทธรรมคำสั่งสอนแห่งสมเด็จพระชินวรโลกนาถศาสดาถาวรตั้งมั่น อยู่ชั่วกาลนาน จึงได้อุตสาหรจนา (โลกทีปนี. มุนีนาถทีปนี, วิปัสสนาทีปนี, โลกนาถทีปนี, ภาวนาทีปนี,โพธิธรรมทีปนี, ภูมิวิลาสินี, วิมุตติรัตนมาลี, กรรมทีปนี,วิปัสสนาวงศ์) ขึ้น แล้วได้ประสบบุญกุศลซึ่งอำนวยผลประโยชน์ให้อันใด ด้วยเดชะแห่งบุญกุศลนั้น ขอสรรพสัตว์จงประสบความสุขสำรวญจงทั่วกัน"
    พระพรหมโมลี
    (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)


    โพธิธรรมทีปนี:

    ปลาติดเบ็ด
    แม้ว่าประชาสัตว์ทั้งหลาย จักได้ประสบกับความทุกข์ยาก ได้รับความลำบากต่างๆ นานา เพราะตัณหาเป็นเหตุดังกล่าวมา ถึงกระนั้นก็ยังพากันหลงงมงายดิ้นรนกระเสือกกระสนไปตามบัญชาแห่งตัณหา ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งตัณหา ฉะนั้นจึงมีอุปมาที่ท่านกล่าวไว้ว่ามัจฉาคือปลา ได้เห็นเหยื่อซึ่งเกี่ยวอยู่ที่ปลาเบ็ด มีความรู้อยู่แต่เพียงว่าต้องการจะกินเหยื่อเท่านั้น หาได้รู้ถึงอันตรายที่ตนจะพึงได้รับแต่อย่างใดไม่ เมื่อกินเหยื่อเข้าไปถูกเบ็ดเกี่ยวปาก ย่อมได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส และยิ่งกว่านั้นคือยังถูกมนุษย์ที่ตกเบ็ดนำเอาไปฆ่าแล้วต้มแกงกินเป็นอาหาร เสียอีก ข้อนี้ย่อมเปรียบได้กับประชาสัตว์ทั้งหลาย เห็นเหยื่อแห่งตัณหาคือความสุขอันอิงด้วยอามิส ก็ให้มีอาการดิ้นรนกระเสือกกระสนเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขนั้น โดยหารู้ไม่เลยว่าตนจะต้องถูกตัณหาพาไปฆ่าต้มแกงให้ได้รับความทุกข์ ต้องเกิดต้องตายภายในหม้อแกงใหญ่ กล่าวคือวัฏฏสงสารอันมีอยู่มากมายหลายภูมิ อีกไม่รู้ว่าสัีกกี่แสนกี่โกฏิครั้ง
    และ ที่น่าหนักใจยิ่งขึ้นไปอีกก็คือว่า ประชาสัตว์ทั้งหลายแม้จะถูกตัณหาพาไปฆ่าแกง ให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในหม้อแกงใหญ่กล่าวคือวัฏฏสงสาร จนนับภพนับชาติไม่ถ้วนก็ตามที ถึงกระนั้นก็หาได้มีจิตใจเบื่อหน่ายในชาติในภพแม้แต่น้อยไม่ ยังมีความยินดีพอใจอยู่ในชาติในภพของตนด้วยกันทั้งสิ้น อย่าว่าแต่จะมีจิตยินดีพอใจในภพชาติที่ดีๆ เช่น ติดอย่ในภพแห่งมนุษย์ ภพแห่งเทวดาและภพแห่งพระพรหมเลย แม้แต่ภพแห่งเดียรัจฉาน ประชาสัตว์ทั้งหลายก็ยังมีจิตคิดอยู่ พึงดูตัวอย่าง เช่น เหล่ากิมิชาติคือหมู่หนอน ซึ่งอยู่ในหลุมอุจจาระนั่นสิ เขาก็ย่อมมีความยินดพอใจติดอยู่ในภพชาติของเขา ซึ่งเป็นภพชาติที่เลวทรามต่ำช้าตามสายตาของมนุษย์เรา แต่หมู่หนอนเขาจะได้คิดอย่างนี้ก็หาไม่ เขาย่อมยินดีพอใจในความเป็นอยู่ของเขา เช่นเดียวกับเราผุ้เป็นมนุษย์เหมือนกัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตัณหาบันดาลให้เป็นไป ฉะนั้นตัณหาจึงเป็นยางเหนียวทำให้สัตว์มีจิตติดอยู่ในภพในชาติตลอดไป
    **พึง จำไว้ง่ายๆ ว่า สัตว์บุคคลทั้งหลายที่เกิดมาย่อมมีตัณหาเป็นเพื่อนสนิท คอยบำรุงบำเรอให้หลงติดเพลิดเพลิน จึงทำให้ไม่เบื่อหน่ายต่อการเกิดอยู่ในภาพต่างงๆ ซึ่งเป็นมูลฐานแห่งความทุกข์ทั้งปวง ซ้ำยังไม่สามารถมีปัญญามองเห็นว่า บรรดาความทุกข์ต่างๆ ที่ตนได้ประสบนั้นมันเนื่องมาจากตัณหาเป็นต้นเหตุ ซึ่งในกรณีนี้ ย่อมมีอุปมาเสมือนหนึ่งเป็นสุนัขซึ่งเพลิดเพลินง่วนอยู่กับซากกระดูกวัวที่ ไม่ีเนื้ออย่างไม่เบื่อหน่าย โดยอาศัยน้ำลายแห่งตนเองฉันนั้น สัตว์บุคคลทั้งหลายที่กำลังเสวยกามคุณอารมณ์และมีความอดทนต่อความทุกข์ต่างๆ ที่ตนได้ประสบอยู่โดยไม่มีความเบื่อหน่ายนั้น ก็เพราะอำนาจแห่งน้ำลาย กล่าวคือตัณหาที่อยู่ในขันธสันดานของตนนั่นเอง ตัณหานี่แหละเป็นเพื่อนสนิทและเป็นมิตรที่ชั่วร้าย ซึ่งมีปกติคอยฉุดชักสัตว์บุคคลทั้งหลายไม่ให้หลุดพ้นออกจากกองทุกข์ใน วัฏสงสารได้ สมดังพระพุทธฎีการที่ตรัสไว้ว่า

    ประชา สัตว์ซึ่งมีตัณหาเป็นเพื่อนสนิท ย่อมท่องเที่ยวไปสู่ภพต่างๆ จากความเป็นอยู่ในภพนั้นๆ ไปยังภพนั้นๆ แล้วไม่สามารถก้าวพ้นไปจากวัฏสงสารอันยาวนานได้ ทั้งนี้ก็เพราะค่าที่ตนเป็นผู้มีตัณหาเป็นเพื่อนสนิท

    ข้อ ความอันค่อนข้างจะยืดยาวที่กล่าวมานี้ ต้องการที่จะชี้ให้ทราบพอเป็นเค้าว่า ตัณหาเป็นทุกขสมุทัย คือเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง แต่ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายจักได้เห็นตามความปรารถนาเช่นว่ามาหรือเปล่าก็ไม่ ทราบ เพราะดูรู้สึกว่ามีเนื้อหาความลึกลับกระท่อนกระแท่นพิกลอยู่ แต่จะอย่างไรก็ดี ขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายได้รับทราบไว้ในที่นี้ ให้เป็นที่แน่นอนเด็ดขาดโดยง่ายๆ ว่าตัณหาเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ก็แล้วกัน
    **เมื่อ ได้ทราบว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ ก็คือตัว "ตัณหา" อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ดังนี้แล้ว ต่อจากนี้เราก็ควรจะหยิบยกเอาตัวตัณหาขึ้นมาพิจารณาดูว่า

    **ที่ว่าตัณหาๆ นั้นเป็นประการใด?
    ตัณหา อันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์นั้น มีอยู่ ๓ ประการคือ
    ๑. กามตัณหา ได้แก่ ความยินดีติดใจในอารมณ์ทั้งหลาย ซึ่งเกี่ยวกับเบญจกามคุณ แต่ไม่ประกอบด้วยสัตตทิฐิ ความเห็นว่าเที่ยงและอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ เมื่อจำแนกโดยอารมณ์แล้ว ก็มีอยู่ ๖ ประการคือ

    ๑. รูปตัณหา = ความติดใจในรูป
    ๒. สัททตัณหา = ความติดใจในเสียง
    ๓. คันธตัณหา = ความติดใจในกลิ่น
    ๔. รสตัณหา = ความติดใจในรส
    ๕. โผฏฐัพพตัณหา = ความติดใจในสัมผัส
    ๖. ธัมมตัณหา = ความติดใจในธัมมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)

    บรรดา "ตัณหา" ความยินดีพอใจในอารมณ์ ทั้ง ๕ ข้างต้น คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหาเหล่านี้ จำเป็นต้องอธิบาย เพราะเป็นที่เข้าใจได้ง่าย แต่สำหรับ "ธัมมตัณหา" นั้นมีอธิบายว่า ในขณะนึกถึงธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล เช่นโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น และในขณะนึกถึงธรรมที่เป็นฝ่ายโลกียกุศล เช่น สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ฌาน อภิิญญาเป็นต้น หรือนึกถึงการเห็น การได้ยิน การรู้รส การสัมผัสถูกต้องที่เป็นฝ่ายกามวิบากหรือนึกถึงบัญญัติต่างๆ แล้ว มีความยินดีพอใจเกิดขึ้น เช่นนี้เรียกว่า "ธัมมตัณหา"


    **อนึ่ง ความยินดีติดใจในการเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานก็จัดว่าเป็นธัมมตัณหาได้เหมือนกัน ในกรณีนี้มีสาธกบาลีแสดงไว้ว่า ธมฺมราเคน ธมฺมนนฺทิยาติ ปททฺวเยหิ สมถวิปสฺสนาสุ ฉนฺทราโค วุตฺโต สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงกล่าวถึงความยินดีที่ติดใจ ในการเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน โดยบททั้ง ๒ ว่า ธมฺมราค ธมฺมนนฺทิ ดังนี้ ซึ่งหมายความว่า )ฉันทราคะคือความยินดีติดใจในสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ก็ชื่อว่า "ธัมมตัณหา"

    ๒. ภวตัณหา ได้แก่ ตัณหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับสัสตทิฐิ โดยอาศัย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หมายถึงมีความเห็นว่า รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสเป็นธรรมชาติเที่ยงแท้ยั่งยืนตั้งอยู่เป็นนิตย์ ไม่เข้าใจว่ามีภาวะเกิด -ดับเป็นธรรมดา เมื่อจะพรรณนาตามที่ท่านแสดงไว้ในสุตตันตมหวรรค อรรกถาแล้ว "ภวตัณหา" นี้ก็มีอยู่ ๕ อย่างคือ

    ๑. มีความยินดีพอใจในกามภพ คือการได้ไปอุบัติเกิด ณ กามาวจรภูมิ ซึ่งได้แก่

    มนุษย์โลก หรือมนุสสภูมิ

    เทวโลกชั้นที่ ๑ คือ จาตุมหาราชกาภูมิ

    เทวโลกชั้นที่ ๒ คือ ตาวติงสาภูมิ

    เทวโลกชั้นที่ ๓ คือ ยามาภูมิ

    เทวโลกชั้นที่ ๔ คือ ตุสิตาภูมิ

    เทวโลกชั้นที่ ๕ คือ นิมมานรตีภูมิ

    เทวโลกชั้นที่ ๖ คือ ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ

    ๒. มีคววามยินดีพอใจใน รูปภพ คือการได้ไปอุบัติเกิด ณ รูปภูมิหรือรูปพรหมโลก ซึ่งได้แก่

    พรหมโลกชั้นที่ ๑ คือ พรหมปาริสัชชาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๒ คือ พรหมปุโรหิตาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๓ คือ มหาพรหมาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๔ คือ ปริตตาภาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๕ คือ อัปปมาณาภาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๖ คือ อาภัสสราภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๗ คือ ปริตตสุภาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๘ คือ อัปปมาณสุภาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๙ คือ สุภกิณหกาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๑๐ คือ เวหัปผลาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๑๑ คือ อสัญญสัตตาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๑๒ คือ อวิหาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๑๓ คือ อตัปปาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๑๔ คือ สุทัสสาภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๑๕ คือ สุทัสสีภูมิ

    พรหมโลกชั้นที่ ๑๖ คือ อกนิฏฐกาภูมิ

    ๓. มีความยินดีพอใจใน อรูปภพ คือการได้ไปอุับัติเกิด ณ อรูปภูมิ หรืออรูปพรหมโลก ซึ่งได้แก่

    อรูปพรหมโลกชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนภูมิ

    อรูปพรหมโลกชั้นที่ ๒ คือ วิญญานัญจายตนภูมิ

    อรูปพรหมโลกชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนภูมิ

    อรูปพรหมโลกชั้นที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

    ๔. มีความยินดีพอใจในญานสมบัติ คือการได้รูปฌานและอรูปฌาน

    ๕. มีความยินดีพอใจในสัตตทิฐิ คือความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลยนี้ มีอัตตามีตัวมีตนอยู่ และตัวตนนี้ไม่สูญหายไป ถึงแม้จะตายก็ตายไปแต่ร่างกายเท่านั้น หรือความเห็นว่าตัวตนที่มีอยู่ในร่างกายของมนุษย์นี้ เมื่อมนุษย์ตายแล้ว ตัวตนนั้นก็ไปเกิดเป็นมนุษย์อีก ตัวตนที่มีในร่างกายของสัตว์เดียรัจฉานเมื่อตายไปแล้ว ตัวตนก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานเช่นนั้นอีก ไม่เปลี่ยนแปลงเที่ยงแท้อย่างนั้นตลอดกาล

    ๓. วิภวตัณหา ได้แก่ ตัณหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับ "อุจเฉททิฐิ" โดยอาศัยอารมณ์ทั้ง ๖ หมายถึงความเห็นว่า สิ่งที่มีชีิวตและไม่มีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ มีตัวตนอยู่ และตัวตนนี้ย่อมสูญหายไปไม่สามารถที่จะตั้งอยู่ได้ตลอดกาล หรือมีความเห็นว่า ไม่ว่าใครๆ ทั้งสิ้น เมื่อตายแล้วก็สูญหายไป ขาดสูญอย่างแน่ๆ ไม่เกิดต่อไปอีก ! ก็อุทเฉททิฐิหรือความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วสูญสิ้นนี้ แยกออกเป็น ๗ สาขาด้วยกันคือ

    ๑. เห็นว่า อัตตาซึ่งมีรูปประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน - น้ำ - ลม -ไฟ และเกิดขึ้นจากมารดาบิดา ตายแล้วสูญ
    ๒. เห็นว่า อัตตาอื่นซึ่งเป็นทิพย์ คือพวกเทวดาในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นตายแล้วสูญ
    ๓. เห็นว่า อัตตาอื่นที่เป็นทิพย์ มีรูปสำเร็จด้วยใจ ซึ่งได้แก่รูปพรหมทั้งหลายที่สถิตอยู่ ณ รูปพรหมโลก ตายแล้วสูญ
    ๔. เห็นว่า อัตตาอื่นที่บรรลุอรูปฌานที่ ๑ คืออรูปพรหมที่สถิตอยู่ ณ อากาสานัญจายตนภูมิ ตายแล้วสูญ
    ๕. เห็นว่า อัตตาอื่นที่บรรลุอรูปฌานที่ ๒ คือ อรูปพรหมที่สถิตอยู่ ณ วิญญาณัญจายตนภูมิ ตายแล้วสูญ
    ๖. เห็นว่า อัตตาอื่นที่บรรลุอรูปฌานที่ ๓ คืออรูปพรหมที่สถิตอยู่ ณ อากิญจัญญายตนภูมิ ตายแล้วสูญ
    ๗. เห็นว่า อัตตาอื่นที่บรรลุอรูปฌานที่ ๔ คืออรูปพรหมที่สถิตอยู่ ณ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ซึ่งเป็นอรูปพรหมโลกชั้นสูงสุด ตายแล้วสูญ

    รวม ความว่าตัณหาทั้ง ๓ ประการ คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ดังกล่าวนี้ เป็นสภาพที่ยังจิตแห่งประชาสัตว์ทั้งหลายให้คิดสะดุ้งดิ้นรนขวักไขว่ พยายามขวนขวายประกอบกรรมต่างๆ ต้องประสบความเหนื่อยยากชุลมุนวุ่นวาย อันเป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์ในไตรภพคือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ การที่ประชาสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่พ้นจากความทุกข์ คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ และมรณทุกข์ เป็นต้น ก็เพราะตัณหาทั้ง ๓ นี้เป็นต้วการ เป็นต้นเหตุ ! ดังนั้นสมเด็จพระสรรเพชญสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงแสดงว่า ตัณหานี้เป็นตัว "ทุกขสมุทัย" ซึ่งเป็นเหตุ เป็นแดนเกิดความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้


    *******************************
    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2013

แชร์หน้านี้

Loading...