อย่าดัดจริต..คิดว่าเก่ง เหนือผู้อื่น..เพราะภาษาบัญญัติ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย yutkanlaya, 8 กันยายน 2007.

  1. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ผู้เสวนาธรรม..ควรต้องใช้..ภาษา..ง่ายๆ..คำ ง่ายๆ..ให้เข้าใจกัน
    พระพุทธองค์ ทรงให้ หลักพื้นฐาน 3 ประการ ง่ายๆใน..การรักษาพระพุทธศาสนา
    ศีล
    สมาธิ
    ปัญญา

    พุทธบริษัทที่ดีทั้งหลาย
    เข้าถึง เข้าใจ ได้จริงแท้เพียงใด??
    เข้าถึงจิตใจ ได้ลึกซึ้ง เพียงใด??
    ทำการใดๆ กิจวัตรประจำวันใดๆ เป็นปรมัตต์(พูด ทำ จาก ใจบริสุทธิ์) หรือยัง??
    คิด
    พูด
    ทำ
    ตรงกันไหม???บนพื้นฐานไตรสิกขา???
    เข้าใจ เข้าถึง หลักไตรลักษณ์???อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ปัญญา
    อันว่าปัญญา นั้นสำคัญยิ่งนัก(บัวใต้ตม ยังเติบโต พ้นน้ำได้ ให้ดอกได้)
    แม้พระพุทธองค์ ยังสอนชัดๆ ไม่ให้ยึดติด ยึดมั่น ถือมั่น ว่าเหนือผู้อื่น ข่มผู้อื่น จึงกล่าวว่า
    "ผู้ใดเห็น ธรรม ผู้นั้นเห็น ตถาคต" (ให้ความสำคัญ พระธรรม มาก่อน พระองค์)
    เพราะทรงกลัวว่า พุทธบริษัทรุ่นหลังๆ จะไม่ใช้ปัญญา พิสูจน์ ธรรม ให้แจ้งจริง
    พระองค์ทรงกลัวว่า พุทธบริษัทรุ่นหลังๆ จะศรัทธา พระองค์ มากเกินไปจน งมงาย ชักจูงง่าย
    เมื่องมงาย จะไม่ใช้ปัญญา ของตัวเองปฎิบัติ เพื่อพิสูจน์ ธรรม ว่าจริงเท็จ เป็นอย่างไร???แล้วไม่แจ้งจริง
    พระพุทธองค์ จึงทรงตรัสไว้ง่ายๆว่า "ตน เป็นที่พึ่งแห่ง ตน"
    ด้วยทรงหวังว่า พุทธบริษัทรุ่นหลังๆ จะศึกษา และปฎิบัติ ด้วยตัวเอง ร้แจ้ง เห็นจริง
    อย่า..สักแต่ว่า ท่อง จำ คำหรูๆ ฟังดูเหมือน รู้ธรรมสูง แต่ไม่เข้าใจ เนื้อหา
    อย่า..อ้าง..ภาษาบัญญัติ แล้วคิดว่า ข้าเหนือกว่า..โดย ไม่เข้าใจ ไม่ปฎิบัติ บรรลุจริง
    ใช้คำง่ายๆ ภาษาง่ายๆ ปฎิบัติง่ายๆ อย่างเข้าใจ เข้าถึง ดั่งพระอริยสงฆ์
    เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่แหวน หลวงพ่อฤษีลิงดำ หลวงตามหาบัว ฯลฯ
    (good) (good) (good) (good) (good) (b-cap)
    ของแท้ ของจริง ต้องเสวนา ด้วยภาษา ง่ายๆ ให้เข้าใจ เข้าถึง โดยทั่วกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2007
  2. suwi

    suwi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    2,652
    ค่าพลัง:
    +18,543

    สาธุ
     
  3. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ภาษาธรรมะส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากภาษาบาลี ก็เลยทำให้ค่อนข้างยากในการทำความเข้าใจ ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติต้องมานั่งแปลอีกที ถ้าพูดกันเป็นภาษาไทยเลยผมว่าก็คงเข้าใจธรรมะกันได้ไม่ยาก

    แต่จริงๆแล้วคำธรรมะทั้งหลาย เช่น ขันธ์ โพชฌงค์ พระอรหันต์ พระอริยะ ฯลฯ ในสมัยก่อนนั้นคนในอินเดียเขาเข้าใจภาษาพวกนี้กันเป็นอย่างดี เนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งก็จะมีการทำสมาธิหรือการฝึกจิตกันอยู่แล้ว แต่ละคำก็มีความหมายเป็นกลางๆอยู่ บางทีศาสนาอื่นๆหลายๆศาสนาหรือลัทธิของหลายๆท่านที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธในอินเดียต่างก็ใช้คำเหล่านี้ไปอธิบายหลักคำสอนในศาสนาของตนก็มีเหมือนกันครับ (แต่แม้ว่าจะใช้คำเหมือนกัน แต่ความหมายน่าจะแตกต่างกันไปตามความเข้าใจของแต่ละบุคคลน่ะครับ)
     
  4. ZyTon

    ZyTon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +377
    ถูก แต่ว่าไม่ถูกทั้งหมด ลองเปิดพระอภิธรรมในพระไตรปิฎก แล้วจะรู้ว่าคำยากๆมีอยู่ในนั้นทั้งนั้น ถ้าผู้ไม่เรียนปริยัติมาก่อน ยากมากที่จะคาดเดาได้ เช่น ใน
    พระอภิธรรมปิฎกมีคัมภีร์ทั้งหมด ๗ คัมภีร์ ได้แก่

    ๑.ธรรมสังคณียปกรณ์
    ๒.วิภังคปกรณ์
    ๓.ธาตุกถาปกรณ์
    ๔.ปุคคลปัญญัติปกรณ์
    ๕กถาวัตตถุปกรณ์
    ๖.ยมกปกรณ์
    ๗.ปัฏฐานปกรณ์

    รวมหัวใจพระอภิธรรมปิฎก = จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    แค่คัมภีร์ก็ยากแก่การตีความของบุคคลทั่วไปแล้วละครับ

    ภาษาธรรมควรยึดไว้เนื่องจากเภาษาบาลี หรือภาษามคธ หรือภาษามาคธี นักปราชญ์ไทยโบราณเรียกว่า มคธภาษา เป็นภาษาถิ่นของชาวมคธในสมัยโบราณ คัมภีร์ไวยากรณ์ที่สำคัญคือ กัจจายน โมคคัลลาน และสัทนิติ อาจารย์ผู้รจนาไวยากรณ์บาลีกล่าวถึงความสำคัญของภาษาบาลีว่าเป็นภาษาที่มนุษย์พูดกันเมื่อสมัยเริ่มตั้งกัปป์พูดจากัน อาทิกัปปิกา
    ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้บันทึกหลักคำสอนในพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ ตามหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ภาษาบาลีเป็นภาษาสำคัญทางพุทธศาสนา ก็เพราะการทำสังคายนา หรือกลั่นกรองหลักคำสอนของพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา ซึ่งเกิดในสมัยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย หลังพุทธปรินิพพานแล้วประมาณ 433 ปีซึ่งจัดว่าเป็นภาษาตาย

    ภาษาโลกเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากเป็นภาษาเป็น และภาษาอภิธรรมล้วนมีความหมายลึกซึ้ง ดังนั้นจึงมีการนิยมสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎก เพื่อยึดหลักภาษาไว้ไม่ให้ผิดเพี้ยนจากนัยยะที่มี เพราะจะมีสัทธรรมปฏิรูปในโลกียะเข้ามาในยุคต่างๆอาจตีความนัยยะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสในความหมายโลกุตระแตกต่างกันไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2007
  5. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +1,763
    กำลังจะหลับ


    ที่จริงพระพุทธองค์ใช้ภาษาบาลีในการเผยแพร่ธรรม เพราะเป็นภาษาที่ง่าย เป็นภาษาชาวบ้าน พระพุทธองค์ทรงพระเมตตามาก คือใช้ภาษาที่เข้าถึงชาวบ้าน

    พระองค์ทรงสรรเสริญ ผู้ที่ใช้ภาษาธรรม ที่ชาวบ้านเข้าใจ และเข้าถึงธรรม คือพูดแล้วคนในกล่มคนนั้นๆ ฟังรู้เรื่อง (ใครมีปฏิสัมภิทา ก็โชคดี คือรู้จักใช้ภาษาให้เข้าถึงใจเขาได้)

    ที่นี้ ภาษาบาลีนี่ก็ยากอยู่สำหรับคนไทย แต่บางคำก็ง่าย ใช้แล้วเข้าใจกันได้เลย แต่บางคำก็ไม่คุ้นเคย

    บางคนไม่กล้าใช้คำอื่น เพราะกลัวจะแปลความผิด จะยิ่งเข้าใจกันผิด ก็เลยคงเดิมไว้ อาศัยว่าคำนี้ ถ้ายังยืนภาษาบาลีนี่ จะเข้าใจกันได้มากกว่า



    แต่บางคนทั้งบาลี ทั้งไทย พูดเหมือนจะรู้เรื่อง แต่ฟังไม่รู้เรื่อง มึนตึบ
    (b-ahh)

    บางทีปัญหาไม่ได้อยู่ที่ภาษาอย่างเดียว มันอยู่ที่ยกมาไม่ถูกกาละเทศะด้วย บางทียกพุทธพจน์มายิ่งทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิดไปถึงไหน เอาธรรมมาใช้ผิดแบบนี้ เป็นเรื่องเลวร้ายมากทีเดียว
    (b-ahh)


    คือว่า ภาษาง่ายนี่ หมายถึง พูดแล้ว กลุ่มคนกลุ่มนั้น ฟังแล้วง่ายสำหรับเขาด้วยนะ แบบนี้ ถูกกาละเทศะ แต่เราไม่เก่งแบบนั้น ก็แบบว่า อย่าพูดมั่ว มั่วให้น้อยหน่อย

    :)

    ส่วนของจริงนี่ ท่านพูดง่ายๆ ก็ธรรมแท้
    ก็ลูกศิษย์หลวงพ่อเทียน นี่เขาระดับสูงก็มี ดร. ก็มี แต่ท่านพูดแล้ว มันแจ่มแจ้ง นั่นล่ะ ของจริงอ่ะ ฟังแล้ว ก็เข้าใจ

    :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2007
  6. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ปัญญา ต่างกันที่ ตีความ
    ถ้าภาษา มันยากนัก
    ผู้รู้ ผู้เข้าใจ ก็ช่วยๆกันแปล
    ให้มันง่ายๆ ผู้อื่นจะได้เข้าใจ ร่วมกัน
    อย่างสมานฉันท์ ดีกว่าน่ะ ถ้าเข้าใจธรรม

    อย่าได้ ตำหนิ ติเตียน เพื่อทำลายกันเลย
    ติเพื่อก่อ นั้น สร้างสรรค์ ปัญญาญาณ ยิ่งนัก
    :) :) :) :) :) (good) (good) (good)
    ภาษาบาลียากๆ ให้พระสงฆ์ท่านใช้เทศน์เถอะ
    เหล่าฆราวาสทั้งหลาย ใช้คำง่ายๆ ดีกว่าน่ะ ว่ามั้ย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2007
  7. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ปกติแล้วการตอบคำถามของพระพุทธเจ้าท่านจะแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะน่ะครับ คือ
    1.คำถามที่ตอบได้ตรงๆเลย
    2.คำถามที่ต้องตอบแบบอุปมาอุปมัยด้วยการยกตัวอย่างเปรียบเทียบ
    3.คำถามที่ต้องย้อนถามตัวผู้ถามให้คิดเอง
    4.คำถามที่ต้องตอบด้วยการนิ่ง
     
  8. กายในกาย

    กายในกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +1,265
    ผมเห็นด้วยกับ จขกท. ในระดับของผมคือ ไม่ได้เรียนพระธรรมมาเลย คำหลายคำ ฟังแล้วไม่เข้าใจ เพียงอยากให้ผู้มีความรู้ในคำศัพท์ถ้าได้พูดถึงคำศัพท์ที่ยาก ๆ ที่อ่านแล้วไม่เข้าใจได้โดยตรง โปรดต่อความหมายเพิ่มมาด้วยครับ ถือว่าเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ไม่เข้าใจอย่างผม จะได้เข้าใจครับ
     
  9. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    ถ้าไม่รู้ความหมายของคำไหน อาจเป็นเพราะเป็นคำที่คนนิยมใช้
    เมื่อพูดแล้วคนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าหมายถึงอะไร
    ถ้าอยากรู้ความหมายก็ให้ค้นหาโดยใช้เวป www.google.com
    บางทีก็จะเจอ link ไปหน้าเวปที่แปลความหมายคำนั้นตรงๆเลยก็มีครับ
    เปรียบไปก็เหมือนกับการเรียนภาษาอังกฤษ ตอนแรกๆจะมีคำที่ไม่รู้อยู่มาก
    มองไปทางไหนก็งงว่าประโยคนี่แปลว่าอะไร แต่พอลองหาๆจำๆไปเรื่อยๆ
    ต่อมาจะแทบจะไม่ต้องใช้ dictionary ช่วยแปลเลย

    ถ้าคำไหนหาแล้วไม่รู้จริงๆ ให้โพสถามไว้ในกระทู้ เดี๋ยวก็มีผู้รู้ใจดีมาตอบให้ครับ
     
  10. ฟิล์มนรกภูมิ

    ฟิล์มนรกภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +669

    ก็ดีนะฮะคะ แต่พวกบ้าไม่เชื่อกัน ดูถูกธรรมะ ที่ธรรมดา ชอบทดสอบ ชอบลองภูมิ มันก็เลยต้องมีพูดปริยัตินะฮะคะ แหม นู๋เห็นนะฮะคะ บางคนพูดง่ายๆ ก็หม้ายเชื่อ พูดยากๆ ก็ไม่เข้าใจ


    สุดท้ายไปเชื่อคนมีฤทธิ์ฮ่ะ เช่น หลวงหนุ่ย ชอบกันน้ากกกกกก


    นะฮะคะ..
     
  11. ฟิล์มนรกภูมิ

    ฟิล์มนรกภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +669

    อูยย คุณน้องเข้าในภาษาปฏิบัติแล้วนี่นะฮะคะ ไม่เปงรายนะฮะคะ พวกเรามีสองสายไงคะ ปริยัติ ปฏิบัติ มันมีทั้งสายอภิญญา สายปัญญา มันก็คนละภาษากันใช่มั้ย


    นะฮะคะ..
     
  12. magic_storm

    magic_storm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +3,053
    ครับ ผมก็คิดเหมือน คุณโอมครับ...

    แต่แปลกนะครับ ทำไมประเทศเราไม่สวดมนต์เป็นภาษาไทยกันนะ (ผมคิดแทนว่า อาจคิดว่าถ้าสวดเป็นภาษาไทยมันจะไม่ขลัง...อิอิ)
    บางทีถ้าเราใช้ภาษาไทย เราอาจจะเข้าใจธรรมะมากขึ้นกว่านี้ ซึ่งตอนนี้บางครั้งผมก็จะสวดมนต์เป็นภาษาไทยแล้ว
    ผมเคยทราบมาว่า ถ้าเราสวดแบบนกแก้วนกขุนทอง โดยที่ไม่รู้ความหมายเลย ก็จะไม่ได้ผลอะไร เพราะการสวดเป็นการทำความเข้าใจกับธรรมะของพระองค์ที่มีในคำสวดนั้น เพราะฉะนั้นเวลาสวดต้องทำความเข้าใจกับความหมายไปด้วยนะครับ แล้วจะได้ผลมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นการสวด อาฏานาฏิยปริตร ก็เป็นการพูดถึงอาญาสวรรค์ เป็นต้น

    ก็ขอความกรุณาท่านผู้รู้ อย่าใช้ภาษายากๆในการสอนผู้ไม่รู้ด้วยนะครับ เพราะจะเป็นการเสียเวลาและเปล่าประโยชน์ ซึ่งจะไม่เป็นการดีต่อทั้งคนสอนและคนเรียนนะครับ

    สาธุๆ
     
  13. ฟิล์มนรกภูมิ

    ฟิล์มนรกภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +669

    ก็ดีมากเลยนะฮะคะ แต่ต้องให้ชาวพุทธรู้จักให้เกียรติ์กันก่อนนะฮะคะ ไม่ใช่เห็นเป็นฆราวาสไม่ห่มเหลือง พูดธรรมะ ธรรมดา เรียบง่าย ดั้นไปดูถูกเขาเอานะฮะคะ


    ใครจะไปรู้ พระศรีอาร์ฯ ไม่ห่มเหลือง มาพูดธรรมด้า ธรรมดา พูดไปสอนไป ทั้งภาษาง่าย ภาษายาก ภาษาเทคนิค ศัพท์เฉพาะ


    แหมมันดื้อด้านกันนัก สอนยังไงก็หม้ายเชื่อ


    เลยไม่พูดแระ เอาภาพมาให้ดูเฉยๆ ซะง้านนน


    สินะฮะคะ อย่าดื้นด้านนะฮะคะ..
     
  14. phanphen

    phanphen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2007
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +47
    ปฎิบัติ คือ หนึ่งเดียว ไม่แยกชาติ ภาษา
    พึงไม่ประมาท
     
  15. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +1,763
    ภาษาบาลีนั้น ต้องคงเดิม คำสอนของพระพุทธองค์ นั้นต้องคงภาษาเดิม
    เพราะหากเผยแพร่ไปประเทศไหน แล้วก็ตาม
    พระผู้ทรงคุณวุฒิประเทศไหนก็ตาม อาจตีความบิดเบือนได้
    ดังนั้น พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่เก่งมากๆ จะเป็นผู้ตีความ แล้วทำกันหลายองค์ เพื่อให้บิดเบือนน้อยที่สุด

    หากมีเหตุไม่ลงกัน ก็เอาต้นฉบับ มาตีความอีกที ว่าใครตรงกว่า



    ส่วนพระอรหันต์แล้วนั้น ก็มีภาษาของตัวเป็นแบบฉบับ ท่านไม่ชอบสอนยากหรอก สอนให้ง่ายแหละ แต่ก็ต้องมีเอกลักษณ์ของตัวเอง มันฝืนไม่ได้ เป็นวาสนานะ แต่ไม่ต้องห่วง ความเข้าใจถูกตรงนั้น อาจมีแบบส่วนตัวอยู่ แต่ก็ไม่ได้มีอะไรเป็นอุปสรรค บางท่าน พูดง่ายๆ ง่ายจนนึกไม่ถึง (หลวงพ่อเทียนไง)

    ภาษาของพระบางท่าน ดูยากนะ ดูสูง แต่อ่านจริงๆ ท่านเอาของยากมาพูดให้ง่ายก็มี ปู่มั่นไง ท่านพุทธทาส ก็เอาของยากมาพูดให้ง่าย

    เราเอง ถ้าจะพยายามเข้าใจคำสอนนั้น มันก็เป็นหน้าที่เราส่วนนึง คือทำจิตให้แยบคาย ในการรับรู้ด้วย


    การแยกเป็นกลุ่ม เป้นสาย บางที ก็เพราะเราชอบที่ว่า อาจารย์ท่านนี้ท่านนั้น เราชอบ ท่านนี้ท่านนั้นเราไม่ชอบ บางทีก็เป็นเพราะตัวเราเองก็มี


    :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2007
  16. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +1,763
    วุ้ย

    มาโผล่อยู่คนเดียว ...งั้นบ่นต่อ

    เห็นชื่อที่ตั้งกระทู้นี้ แล้วคิดถึงปมที่ทำให้มันเกิดกระทู้นี้ขึ้นมา

    ..


    สมัยก่อน ชอบอ่านหนังสือของท่านเชอเกียม ตรุงปะ มากๆ อ่านแทบทุกเล่ม

    จำข้อความนึงได้

    ทำนองว่า แม้นตัวเราเอง เจอพระรูปนึง ที่ถูกใจ เปี่ยมไปด้วยศรัทธาในตัวท่าน เฝ้าติดตามท่าน ท่านพูดอะไรนี่ถูกใจไปหมด ท่านอยู่ไหน เราอยู่นั่น
    แต่พอเวลาผ่านไป ที่ถูกใจก็เริ่มไม่ถูกใจ ขี้เกียจไปหา พูดอะไรก็เบื่อ นานเข้าก็เลิกหา ทั้งที่ ท่านก็เป็นของท่านแบบเดิม

    แต่เราเป็นแบบไหน เราหาใจของเราพบไหม


    อาจจะไม่เกี่ยวกับปมที่ทำให้เกิดกระทู้นี้ก็ได้ ..เขียนเล่นๆ

    :)
     
  17. หมูอวตาร

    หมูอวตาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +65
    คุณ yutkanlaya จขกท เองก็ใช่ย่อยเมื่อไร ใช้ศัพย์แสงชวนงงเหมือนกัน
    ตัวอย่าง http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=87373&page=5

    หากมีสัมมา เป็น ปรมัตต์ แล้ว

    มี พรหมวิหาร เป็นฐานแล้ว
    การจะหว่านปุ๋ย ลงที่นาใด
    ก็ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์
    ง่ายๆได้ด้วย

    สังคหวัตถุสี่ ภาษาดีๆนี่เอง
    (sing) (sing) (sing) (b-2love)
    โยนหินลงทะเล คลื่นย่อมแผ่ไป ในโมเลกุลน้ำ ได้ไพศาลนัก

    บอกตามตรงผมอ่านแล้วงง ไม่ทราบว่าจะสื่ออะไร
    จะเรียกว่า
    ดัดจริตได้หรือเปล่า?
    ตอบด้วยก็ดีนะครับ
     
  18. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ของแท้ ของจริง ต้องเสวนา ด้วยภาษา ง่ายๆ ให้เข้าใจ เข้าถึง โดยทั่วกัน[/COLOR][/SIZE][/B][/
    แล้วข้อความข้างบนนี้ เป็นการบัญญัติ เพราะความดัดจริต คิดว่าเก่งเหนือผู้อื่นหรือเปล่าขอรับ
     
  19. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    หลักการสอน ข้อแรกคือ อนูปวาโท ไม่ว่าร้ายใคร ถ้าธรรมใดแสดงเพื่อทะเลาะเบาะแว้ง ก็อย่าแสดงดีกว่า
     
  20. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ที่ตั้งกระทู้ ให้ดูรุนแรง แสดงให้เห็นว่า
    มนุษย์ทั่วไป ชอบดู ชอบรู้ ชอบเห็น
    ชอบการขัดแย้ง การถกเถียง มันส์ในอารมณ์
    เมื่อมีอารมณ์ รัก อิจฉา โกรธ หลง คงอยู่เสมอ
    นั่นคือมี ความยึดมั่น ถือมั่น ถือตัว ถือตน ของฉัน ของเธอ
    ชอบ แยกหมู่ แยกพวก แยกเขา แยกเรา แยกเชื้อ แยกชาติ เสมอ

    และนั่นแสดงถึงกิเลส ที่เกาะติด จิตใจมนุษย์เสมอ แม้เว็บ ธรรม
    นั่นแสดงว่าผู้เข้ามาค้นคว้าธรรม ยังน้อมนำกิเลสจิต ติดมาเพื่อหาธรรม ไม่หวังทำให้หลุดพ้น

    ย่อมหมายถึงว่า เสวนาธรรม ด้วยขาด มุทิตา อุเบกขา ธรรม จึงทำให้ขาด สมานตัตตา สมานฉันท์ นั่นเอง..เอวัง
    :) :) :) :) :) (b-cap)(b-cap) (good) (good)
    กุศโลบาย คือ อุบาย ที่มี กุศล :) :) :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2007

แชร์หน้านี้

Loading...