เรียนถามท่านผู้หยั่งรู้ฟ้าดินทุกท่าน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิหคอิสระ, 18 สิงหาคม 2012.

  1. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318
    1...อารมณ์ตั้งแต่ฌาณ 1ถึงฌาณ8แต่ละอารมเปนไงต่างกันยังไง

    2...แล้วถ้าสมมุติเราถึงฌาณ5 ถ้าเลิกนั้งสมาธินานๆๆ ฌาณจะหายไหม

    3...แล้วการนั้งสมาธิให้ได้ฌาณกับได้ญาณมั่นต่างกันยังไง แล้วนั้งแบบถึงได้ฌาณ นั้งแบบไหนถึงได้ญาณ

    4...แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเราเหมาะกับวิธีแบบไหน

    5..แล้วญาณกับฌาณมันเกี้ยวข้องกันยังไง

    6..นั้งสมาธิถึงขั้นไหนกระดูกถึงจะเป็นแก้ว


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2012
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    กระดูกเป็นแก้ว = คิดยังไงก็ไม่ได้ อยากก็ไม่ได้ ไม่อยากก็ไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีทั้งหมดข้างต้น จะได้
     
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    หากผมกล่าวว่า ฌาณ ๔ ได้มีกล่าวไว้มากมายแล้ว คือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกคตา

    พอนิ่งสงบจนถึงที่สุดแล้ว สภาวะตื่นตัวจะเกิดขึ้น เปรียบเหมือนกับการหันไปอีกด้าน

    เป็นเข้าไปในจิต มีคำบอกกล่าวไว้ว่า " จิตในจิต " สภาวะนั้นเมื่อมีการทรงตัวอยู่เสมอ

    แม้จะไม่ได้นั่งกรรมฐานอยู่ก็ตาม แต่สามารถทรงอารมณ์ฌาณได้นาน เป็นการเจริญฌาณ ๕

    ความนิ่งสงบจะเกิดอยู่เนืองๆ แม้แต่อากาศโดยรอบก็สามารถนิ่งสงบราวกับไม่เคลื่อนไหว

    การพัฒนาของฌาณจะก้าวหน้าขึ้นตามสภาวะที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่ฌาณ ๕ เกิดขึ้นนั้น ผู้ที่ปฎิบัติส่วนใหญ่

    จะมีญาณเกิดขึ้นมาตามแต่กำลังของจิต สาเหตุที่มีเกิดขึ้นนั้นเพียงเพื่อให้ได้รู้ได้เห็นเพื่อละวาง

    ยอมรับ รับรู้ความเป็นไปของการมีชีวิต จากที่เริ่มตั้งแต่ เกิด จนกระทั้ง ตาย ไปในที่สุด

    เมื่อนั้นเองที่กระดูกจะเป็นแก้ว เมื่อหยุดการปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง ไม่อาลัยอาวรณ์ต่อการมีชีวิต

    รู้เห้นความเป้นจริงของการมีชีวิต ย่อมเห้นเหตุที่ก่อให้มีการเกิด แล้วจึงดับเหตุนั้น

    สาธุครับ
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ที่เข้ามานี่น่ะ สงสารนะ มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา นั้นน่ะ ปฐมฌาน เข้าใจผิด พูดผิด มันบาป
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ไม่ใช่ผู้หยั่งรู้ แต่ขอนำพระวจนะที่เกี่ยวข้องมาฝาก พระวจนะ" อานนท์ มรรคใดปฎิปทาใด เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้ามีอยู่ การที่บุคคลจะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่างปฎิปทานั้น แล้ว จักรู้จักเห็นหรือว่า จักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เช่นเดียวกับบุคคลไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่น ยืนต้นอยู่ เสียก่อน แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น.............อานนท์ มรรคและปฎิปทาเพื่อละเสียซึ่งอารัมภาคิยสังโยชน์ห้า นั้นเป้นอย่างไรเล่า .................อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากอุปธิ เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง ก็สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รุป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน เธอตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศรเป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น(ให้ยืมมา)เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตนเธอดำรงจิตด้วยธรรม(คือขันธิ์ห้า)เหล่านั้น(อันประกอบด้วยลักษณะ11ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตะธาต(คือนิพพาน)ด้วยการกำหนดว่า นั่น สงบระงับ นั่นปราณีต นั่นเป็นธรรมชาติที่เป็นที่สงบระงับแห่ง สังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนแห่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป้นความดับเป็นนิพพาน ดังนี้ เขาดำรงอยู่ในวิปัสนาญาน มีปฐมฌานเป็นบทนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพาน ในภพนั้นมีการไม่เวียนกลับ จากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะธัมราคะ ธัมนันทิ(อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตะธาตุ) อานนท์ แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฎิปทาเพื่อละเสีย โอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2012
  6. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    กขจท เขาถาม ทำไมคุณไม่ตอบ คุณจะมาหาเรื่องผมทำไม ปฐมฌาณแล้วต่อไปเป็นอย่างไร

    วิตก วิจารย์หายไป เหลือปิติ สุข เอกคตา ปิติหายไป เหลือสุข เอกคตา

    สุขหายไป จนเหลือเอกคตา นี่ใช่ฌาณ ๔ ไหมครับ ในเมื่อมีอธิบายไว้แล้ว

    แค่นำมาเกริ่นพอเป็นลำนำคงเพียงพอแล้ว และ คุณตอบ จขกท ด้วยสิครับ

    สาธุครับ
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผมสงสารคุณ กลัวลงนรก
     
  8. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    บอกตัวคุณเองเถอะครับ ผมไม่สนใจ นรก หรือ สวรรค์ หลอกครับ

    แล้วไม่อายผู้คนที่เข้ามาพบเห็นหรือครับ ที่ตามราวีผมอยู่ตลอดเวลาน่ะ

    สาธุครับ
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ศึกษามายังไง ปฏิเสธ นรก สวรรค์ เสียอีกเล่า
     
  10. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คำไหนที่ปฎิเสธไม่ทราบครับ ผมยังไม่ได้บอกว่าไม่มีเลย เพียงแต่บอกว่าไม่สนใจ

    ภาษาแค่นี้ยังอ่านคาดเคลื่อนเลย แล้วในพระไตรปิฎกที่เรียนจะไม่คาดเคลื่อนหรือครับ

    ถามตนเองก่อนดีไหมครับ ความหมายแค่นี้ยังไม่เข้าใจเลย แล้วในพระไตรปิฎกยากกว่านี้อีก

    สาธุครับ
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ---อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่ง วิตก วิจาร จึงเข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจ ในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก มีผุดขึ้น ไม่มี วิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่----(ข้อความต่อมามีเนื้อความเหมือนตอนที่กล่าวถึงปฐมฌาน ข้างบนนั้น ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่า ปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้นแม้ข้อความที่ละเปยยาลไวิในตอน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน ก็พึงทราบโดยนัย นี้ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง จนกระทั่งถึงข้อความว่า)........อานนท์ แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฎิปทา เพื่อละเสียซึ่ง โอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.......................อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเพราะ ความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติและ สัมปชัญญะ และ ย่อมเสวยสุขด้วย นามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติ สุขดังนี้ เข้าถึง ตติยฌานแล้วแลอยู่...(มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน)...อานนท์แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป้นปฎิปทา เพื่อละเสียโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น...................อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อนเข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.........(มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน)อานนท์ แม้นี้แลก็เป็นมรรค เป็นปฎิปทา เพื่อละเสียโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2012
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผมไม่สนใจ นรก หรือ สวรรค์ หลอกครับ

    กระทู้ข้างบน
     
  13. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ก็ถูกแล้วไงครับ ก็ผมไม่สนใจ นรก หรือ สวรรค์ ผมบอกไหมว่าไม่มีอยู่จริง

    บ่งบอกว่าไม่ได้อ่านเลยที่ผมโพสไป เพียงแค่จะหาเหตุให้ถกเถียง

    กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมสนอง คุณเต็มใตยอมรับแล้วใช่ไหมครับ

    กับการกระทำที่คุณทำอยู่ บอกเตือนหลายครั้งว่าให้หยุด แต่ไม่ยอมเข้าใจ

    สาธุครับ
     
  14. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    หากคุณ ลุงหมาน ต้องการถกเถียง ขออย่าได้ถกเถียงในกระทู้ผู้อื่นเลยครับ

    เขามาขอถามเพื่อความเข้าใจ ไม่ควรที่จะทำให้เนื้อที่นั้นต้องเลอะเทอะ

    สาธุครับ
     
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ----อานนท์ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูป สัญญา เสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฎิฆะสัญญา เพราะความไม่ใส่ใจซึ่ง นานัตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุดดังนี้แล้วแลอยู่ ในอากาสานัญจายตนะ มีธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน(ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป้นทุกข์ เป็นโรคเป็นหัวฝี เป็นลูกศรเป้นความยากลำบากเป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น(ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลายเป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรม(ขันธิ์ทั้งสี่)เหล่านั้น(อันประกอบด้วยลักษณะ11ประการ มีอนิจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตะธาตุ(คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า นั่นสงบระงับ นั่นปราณีต นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่ง สังขารทั้งปวง เป้นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวงเป็นที่สิ้นไปแห่ง ตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้ เธอดำรงอยู่ใน วิปัสนาญานมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจธัมราคะ ธัมนันทิ(อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตะธาตุ) นัน้นั้น นั่นเอง อานนท์ แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฎิปทา เพื่อละเสีย โอรัมาคิยสังโยชน์ห้านั้น.......................อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุพราะผ่านพ้น อากาสานัยจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญานไม่มีที่สิ้นสุด แล้วแลอยู่...(ข้อความตรงละเปยยาล ไว้นี้มีข้อความเหมือนที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึงเรื่อง อากาสาณัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสาณัญจายตนะ มาเป็นวิญญานัณจายตนะ เท่านั้นแม้ในตอน อากิญจัญญายตนะ ที่ละไว้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้ จนกระทั่งถึงข้อความว่า)...อานนท์ แม้นี้แล ก้เป็นมรรค เป็นปฎิปทา เพื่อละเสีย โอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น...............อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเพราะผ่านพ้น วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า อะไรอะไรไม่มี ดังนี้แล้วแลอยู่....(มีเนื้อความเต็มดุจในตอนอากาสาณัญจายตนะ)...อานนท์ แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฎิปทา เพื่อละเสีย อารัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น---ม.ม13/157-161/156-158.=====(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2012
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผมไม่ได้ทำกระทู้เขาเทอะ ผมมาทำความสะอาดด้วยซ้ำไป
    คุณเองต่างหากที่มาทำให้เลอะเทอะ ไม่รู้แล้วทำเป็นอวดรู้เลอะเทอะไหม
     
  17. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    งั้นคุณก็ตอบคำถามของ จขกท สิครับ ไม่เห็นจำเป็นจะต้องมาวุ่นวายกับผมเลย

    ผู้อ่านเขามีสมองพิจารณาครับ ว่าอะไรควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ มีแต่คุณนั่นแหละ

    ที่ไม่รู้จักพิจารณา ว่าอะไรเป้นประโยชน์ หรือ ไม่เป็นประโยชน์

    สาธุครับ
     
  18. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ขออนุญาตินะคะ

    บางทีถ้าคุณมีความรู้จริง ก็ควรเรียบเรียงคำพูดให้ถูกต้อง
    การพูดอธิบายแบบสับสน ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปได้ค่ะ

    บางทีการตรวจทานก่อนส่ง
    หรือส่งโพสท์ไปแล้ว มาแก้ไขบ้างก็ได้นะคะ
    อย่าไปยึคว่าการแก้ไขใหม่แล้ว จะทำให้ดูไม่ดีเหมือนไม่รู้จริง
    เพราะเป็นการให้ธรรมทานที่อ่านแล้วกระจ่าง จึงจะไม่เกิดโทษแก่ตนเอง
    และผู้อื่นนะคะ
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ยังไม่ได้อ่านกระทู้ จขกท.
    ก็คุณสั่งสอนมันไม่ถูกเรื่อง ก็เข้ามาเตือน มาทำความสะอาด
    มีประโยชน์ซิ ผู้อ่านจะได้ไม่จำในสิ่งที่คุณพูดหลอกลวง ทำเป็นผู้รู้
     
  20. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ที่ผมได้โพสนั้น เป็นเช่นนั้นจริงๆ ผมไม่ทราบว่าจะอธิบายอย่างไร ในเมื่อเป็นเช่นนั้น

    ผมก็อธิบายเช่นนั้น แบบนั้น จึงไม่จำเป็นต้องแก้ไขครับ หากอ่านแล้วไม่เข้าใจ

    ผมก็คงช่วยไม่ได้ครับ ตัวอย่าง ฌาณ ๔ ที่มีบอกกล่าวไว้นั้น ต้องมี วิติ วิจารณ์ ปิติ สุข เอกคตา

    แต่ตั้งแต่ฌาณ ๕ นั้นมีแต่เอกคตาที่ทรงอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ตามสภาวะที่นื่งสงบ

    จนแม้แต่แสงแดด อากาศ สายลม ก็ดูเหมือนจะสงบไปด้วย การเคลื่อนไหวมีแต่เชื่องช้าลง

    แตกต่างจากที่เคยพบเห็น ผมจึงอธิบายไปตามนี้ จะให้อธิบายอย่างไรในเมื่อเป้นอยู่เช่นนี้

    สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...