นักบวชคือผู้ที่คอรัปชันมากที่สุด

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 24 เมษายน 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    นั่งทุกวันก่อนนอน ทำไมยังยึดมั่นถือมั่นในรูปอยู่ละครับ แล้วเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญาญาณมันเกิดดับตอนไหนบ้างครับ
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมนั่งทุกวัน วันละหลายครั้ง ครั้งละนาน ๆ เกินหนึ่งชั่วโมง เห็นวิญญาณมันเกิดดับตลอด ไปเกิดกับรูปบ้าง เวทนาบ้าง สัญญาบ้าง สังขารบ้าง รู้ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ท่าน sutanon ไม่เห็นวิญญาณเกิดดับหรือครับ
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ธรรมอีกหนึ่งคำ "วิญญาณ" แปลว่าอะไรครับ ท่าน sutanon ท่าน ลมสุริยะ ช่วยตอบด้วยครับ คำถามที่สามแล้วครับ
     
  4. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    ----------------------------------

    แล้วมันยังไงหรือครับ จะบอกว่านั่นคือจิตเกิดดับหรือครับ
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ตอบเรื่อง"วิญญาณ" ก่อนครับ แปลว่าอะไรครับ ท่าน sutanon
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมถามคำถามที่สาม คำตอบมันมีอยู่ที่คำถามที่สองท่าน sutanon ยังตอบไม่ได้เลย ทั้งหมดแปลว่า จิต แปลว่า ใจ ครับ ผมไม่คุยต่อนะครับ
     
  7. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    --------------

    คุณอุรุเวลา
    ผมว่าคุณถามมั่วไปแล้ว แล้วถ้าผมถามคุณกลับไปบ้าง
    มันก็จะดูวุ่นวายไม่รู้จบ

    จริงอยู่ผมถามคุณไว้ก่อน เพราะนั่นคือคุณว่าผมยังยึดติดกับรูป
    นั่นก็เลยเป็นคำถาม ว่ายึดติดกับไม่ยึดติดมันยังไง

    ถึงได้มีกระบวนการนิพพานให้คุณได้ลำดับเหตุการณ์ไว้ด้วย
     
  8. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    งง.. นั่งสมาธิ แล้วจำเป็นต้องไม่ยึดมั่นถือมัื่่นอะไร

    คำว่าไม่ยึดมั่นถือมั่น คนที่เอามาใช้นี่ก็น่าจะเข้าใจในความหมาย
    ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนงี่เง่า ไร้ความรู้จริง ในสายตาคนอื่น

    บอกซ้ำอีกครั้งชัดๆ คำว่าไม่ยึดมั่นถือมั่น คือ
    ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีหรือไม่ก็ไม่ควรไปยึดติด
     
  9. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +215
    แหมทำเป็นไม่เห็น คนถามเป็นธรรมทาน
    ไม่บรรยายดันมาถามกลับ จิตใจอยากจะแค่เอาชนะรึ

    นี่รึธรรมะที่ท่านศึกษาซึมซับมา
    เสียเวลามาสนทนาจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2012
  10. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    เรื่องจิต ผมว่าคุณอุรุเวลา คงจะหลงทางซะแล้ว

    และก็คำว่ายึดมั่นถือมั่น ก็คงเช่นกัน
     
  11. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    -------------

    มีคนเคยอธิบายเอาไว้ และเปรียบเทียบได้ดีเกี่ยวกับวิญญาณ
    คุณอาจจะรู้ในแบบของคุณ แต่ผมก็จะเอาความรู้ของผมอธิบายให้เห็นชัดๆ

    จิต เปรียบเสมือน CPU คือประมวลผล
    วิญญาญ เสมือน memory คือหน่วยความจำ
    ร่างกาย เสมือน Hardware ร่างกายหรืออุปกรณ์

    จิตจะทำการประมวลผลต่างๆ ออกมาได้ก็ต้องมีหน่วยความจำมาก่อน
    ถ้าเราไม่มีประสบการณ์ มีหรือว่าอะไรคือซ้ายอะไรคือขวา
    อะไรคือถูก อะไรคือผิด และให้ร่างกายตอบสนองกับระบบปฏิบัติการของเรา

    นี่คือคำอธิบายเกี่ยวกับจิตและวิญญาณ ที่ออกมาในเชิงรูปธรรม
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ปฏิจจสมุปบาท
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑/๓๐๔
    [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
    ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผู้ใดเข้าใจปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม

    ปฏิจจสมุปบาท(ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม) อนุโลม(ตามลําดับ)
    เพราะอวิชชา(ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์)เป็นเหตุ จึงมีสังขาร (ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่ากายสังขาร
    วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร)
    เพราะสังขารเป็นเหตุ จึงมีวิญญาณ (จักขุวิญญาณ[ตา] โสตวิญญาณ[หู] ฆานวิญญาณ[จมูก] ชิวหาวิญญาณ[ลิ้น] กายวิญญาณ[กาย] มโนวิญญาณ[ใจ])
    เพราะวิญญาณเป็นเหตุ จึงมีนามรูป (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔[ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม] และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย เรียกว่า นามรูป)
    เพราะนามรูปเป็นเหตุ จึงมีสฬายตนะ (อายตนะภายใน ๖ อย่าง อายตนะภายนอก ๖ อย่าง)
    เพราะสฬายตนะเป็นเหตุ จึงมีผัสสะ (จักขุสัมผัสส์ โสตสัมผัสส์ ฆานสัมผัสส์ ชิวหาสัมผัสส์ กายสัมผัสส์ มโนสัมผัสส์)
    เพราะผัสสะเป็นเหตุ จึงมีเวทนา (จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา)
    เพราะเวทนาเป็นเหตุ จึงมีตัณหา (รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา)
    เพราะตัณหาเป็นเหตุ จึงมีอุปาทาน (ความติดใจยึดมั่นอุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน)
    เพราะอุปาทานเป็นเหตุ จึงมีภพ (กามภพ[สัตว์ที่เกิดในกามภูมิ] รูปภพ[สัตว์ที่เกิดในรูปภูมิ] อรูปภพสัตว์ที่เกิดในอรูปภูมิ)
    เพราะภพเป็นเหตุ จึงมีชาต (ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิดเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ)
    เพราะชาติเป็นเหตุ จึงมีชรา(ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ) มรณะ(ความเคลื่อน ความแตกสลาย ความหายไป ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ) โสกะ(ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะของบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือ
    ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของ
    บุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว) ทุกข์(ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส) โทมนัส(ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส) อุปายาส( ความแค้นความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว)เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้
     
  14. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อายตนะภายใน ๖ อย่าง
    ๑. อายตนะ คือตา
    ๒. อายตนะ คือหู
    ๓. อายตนะ คือจมูก
    ๔. อายตนะ คือลิ้น
    ๕. อายตนะ คือกาย
    ๖. อายตนะ คือใจ

    อายตนะภายนอก ๖ อย่าง
    ๑. อายตนะ คือ รูป
    ๒. อายตนะ คือ เสียง
    ๓. อายตนะ คือ กลิ่น
    ๔. อายตนะ คือ รส
    ๕. อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
    ๖. อายตนะ คือ ธรรม

    หมวดวิญญาณ ๖
    ๑. จักขุวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยตา]
    ๒. โสตวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยหู]
    ๓. ฆานวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยลิ้น]
    ๕. กายวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยกาย]
    ๖. มโนวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยใจ]

    อุปาทาน ๔ อย่าง
    ๑. กามุปาทาน [ถือมั่นกาม]
    ๒. ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ]
    ๓. สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต]
    ๔. อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน]

    หมวดผัสสะ ๖
    ๑. จักขุสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยตา]
    ๒. โสตสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยหู]
    ๓. ฆานสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
    ๕. กายสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยกาย]
    ๖. มโนสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยใจ]

    หมวดสัญญา ๖
    ๑. รูปสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]

    หมวดเวทนา ๖
    ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา]
    ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยหู]
    ๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
    ๕. กายสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยกาย]
    ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ]

    หมวดตัณหา ๖
    ๑. รูปตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]

    อุปาทาน ๔ อย่าง
    ๑. กามุปาทาน [ถือมั่นกาม]
    ๒. ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ]
    ๓. สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต]
    ๔. อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน]
     
  15. ผู้ต่ำต้อย

    ผู้ต่ำต้อย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +12
    จิต เปรียบได้ดั่ง ซอฟต์แวร์
    CPU และ memory คือสมองส่วนประมวลผล และ ความทรงจำ
    Hardware คือร่างกาย กรรมดี และ กรรมไม่ดี คือตัวเราผู้ใช้คอม
    ว่าจะใช้ไปทางใหนมากกว่ากัน
     
  16. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    จิตและวิญญาณ มันก็ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง การทำสมาธิก็คือ การเอาจิตมารู้รูป(กาย) จิตรู้เวทนา(ความรู้สึกสุข ทุกข์ อุเบกขา) จิตรู้สัญญา(ความจำได้หมายรู้) จิตรู้สังขาร(การปรุงแต่ง ทางกาย วาจา ใจ)

    จิตจะปรุงแต่งไปกับ รูป เวทนา สัญญา สังขาร เวียนอยู่อย่างนี้เท่านั้น ไม่มีนอกเหนือไปจากนี้

    จิตไปปรุงแต่งหรือเพลินอยู่กับอะไรอยู่ จงมีสติรู้ทันจิต ดึงจิตกลับมารู้อยู่กับลมหายใจ(ลมหายใจเป็นส่วนหนึ่งของกาย) พระพุทธเจ้าสอนว่า หลงกาย ดีกว่าหลงจิต มีสติรู้อยู่กับกาย จะยืน นั่ง เดิน นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย มีสติรู้ทุกอิริยาบถ ได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญกายคตาสติ

    เมื่อจิตหลงไปคิดเรื่องอดีต อนาคต ก็มีสติรู้ทันรีบดึงกลับมาอยู่กับกาย ยืนก็รู้อยู่ว่ายืน นั่งก็รู้ว่านั่ง เดินอยู่ก็รู้อยู่ว่าเดิน นอนอยู่ก็รู้อยู่ว่านอน กินอยู่ก็รู้อยู่ว่ากินฯลฯ ไม่ใช่กินข้าวเช้าอยู่ แต่จิตไปคิดเรื่องงาน เมื่อวานทำงานผิด วันนี้ต้องโดนหัวหน้าตำหนิแน่ ทำยังไงดี ลาป่วยดีกว่า อ้างอะไรดี ปวดหัว ท้องเสีย ฯลฯ ปล่อยจิดปรูงแต่งไปเรื่อย ไม่มีสติดึงจิตมารู้อยู่กับการกิน แบบนี้เรียกว่าหลงจิต ถ้าไม่รีบดึงจิตกลับมารู้อยู่กับกาย จิตก็ปรุงแต่งไปต่อไปเรี่อย

    มีสติอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับงานการที่ทำ มีสติรู้ทุกอิริยาบถ ได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญกายคตาสติ
     
  17. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    ------------------

    ถ้าเข้าใจอย่างนี้ซะแต่แรก คุณคงไม่มาค้านผมว่าจิตมีเพียงหนึ่ง
    และเกิดดับตลอดเวลา อย่างที่เคยว่าไว้
     
  18. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    ----------------------------------

    แล้วจิตยังเกิดดับอยู่ตลอดเวลาหรือไม่
    ยังคิดว่าที่ดับไปนั่นคือจิตหรือแค่อารมณ์ปรุงแต่ง
     
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
    สติ [สะติ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).

    จิตรู้อยู่กับกายได้สักพัก จิตไปหลงสัญญา = จิตดับที่กาย เกิดที่สัญญา
    รู้ว่าจิดหลุดจากกายไปรู้อยู่กับสัญญา = มีสติ
    ดึงจิตที่อยู่กับสัญญา กลับมาอยู่รู้กับกาย = จิตดับที่สัญญา เกิดที่กาย

    จิตเกิดดับตลอดวันตลอดคืนครับ
     
  20. ทะเลลึก

    ทะเลลึก Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +80
    ทั้งสองคน ใช้ความรู้ที่กลั่นจากสมองมาวิวาทะกันในเรื่องที่มีมิติมากกว่าสมอง ผลก็คือ ไม่มีวันจบสิ้น ไม่มีวันเข้าใจกันและกันได้เลย โลกียะจะไปอธิบายโลกุตตระได้อย่างแจ่มชัดได้อย่างไรกันเล่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...