ตอนเราหลับจิตของเราไปอยู่ไหน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เด็กน้อย_, 30 มีนาคม 2012.

  1. เด็กน้อย_

    เด็กน้อย_ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    ตอนเราหลับจิตของเราไปอยู่ไหน พอตื่นรู้สึกตัวว่ามีชีวิตอีกครั้งแต่ตอนเราหลับเหมือนเราไปอีกที่หนึ่ง และบังคับไม่ได้คือความฝัน แต่อยากรู้ว่าจิตเราไปอยู่ที่ไหนเจ้าค๊ะ หรือว่ามันเหมืนคนตาย หรือคนขาดสติเจ้าค๊ะ
     
  2. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    เมื่อเรานอนหลับ (กายพักผ่อน ส่วนมากจิตไม่หลับ)
    จิตหรือเรา ก็ขึ้นอยู่กับว่าจิตหรือเรามีสมาธิหรือเปล่า
    ถ้าจิตมีสมาธิ มีสติเราจะไม่ฝัน เพราะจิตหลับ กายหลับลึก จิตจะเข้าสู่ภวังค์ เรียกว่าจิตตกภวังค์ หรือหลับลึก หลับจริงจะไม่ฝัน

    ที่เราฝันก็เพราะหลับไม่จริง หรือที่เรียกว่าครึ่งหลับครึ่งตื่นนั่นแหละจึงฝัน

    จิตมีสติ มีสมาธิ จะไม่ฝัน
    เมื่อร่างกายไม่มีการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และจิตไม่มีสติ ไม่มีสมาธิเป็นที่พึ่ง ที่อยู่่ จึงต้องหาที่พึ่ง ที่อยู่ โดยการออกจากภวังค์ไปหาที่จิตเคยเห็น เคยผ่าน ทั้งในอดีต และสิ่งที่คาดหวังในอนาคต ทำให้เป็นฝันนั่นแหละ ฯ
    เมื่อตื่นขึ้นร่างกายทำงานต่ออย่างสมบูรณ์ จิตก็กลับมาที่อารมณ์ทั้ง6 ที่เกิดขึ้นจากประสาทสัมผัสทั้งหกนั้น แล้ว ถ้าจิตติดใจก็จะเก็บไปฝัน วนเวียนอยู่อย่างนั้น ฯ

    ถ้าไม่อยากฝัน ก็ต้องทำสมาธิ ให้มีสติสมบูรณ์ เหมือนพระอรหันต์ทั้งหลาย (พระอรหันต์ไม่ฝัน เพราะท่านมีสติสมบูรณ์)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มีนาคม 2012
  3. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ขอขัดผมอ่านมา หลวงตามหาบัวท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านก็เคยฝันหนิครับ ผมอ่านมาอีกทีนะ
     
  4. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
  5. เด็กน้อย_

    เด็กน้อย_ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    สาธุเจ้าค๊ะ แล้วตัวเราเป็นของเรา ทุกอย่างเป็นของเราแต่ทำไมเราบังคับฝันไม่ได้เจ้าค๊ะ แต่หนูชอบฝัน เมื่อคืนหนูฝันเห็นเณรเต็มวัดเลยกำลังฉันข้าว หนูชอบฝันมากเหมือนได้ไปเที่ยวอีกที่หนึ่งเจ้าค๊ะ
     
  6. bestsu

    bestsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +617
    ผมคิดว่า...จิตที่ไม่ได้ฝึกสมาธิให้ดี ก็เหมือนกับคนง่อยเปลี้ย จะไปไหนล่ะครับ แรงจะลุกออกจากห้องยังไม่มี เช่นเดียวกับจิตที่ง่อยเปลี้ย จะให้ถอดออกจากกาย ก็ทำได้ยาก

    ผมว่ามันก็สิงอยู่ในกายเนื้อตามเดิมนะ เว้นจะออกไปได้เมื่อมีคนมาเข็นคนง่อยเปลี้ยนั้นออกไปสู่ภายนอก
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ขณะที่หลับสนิท จิตขณะนั้นเป็นภวังคจิต ภวังคจิตมีอารมณ์เดียวกับชาติที่แล้วก่อน
    ใก้ลจะตาย ภวังคจิต คือ จิตที่รักษาดำรงภพชาติไว้ เช่น เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็
    เป็นมนุษย์ไปจนกว่าจะตายแล้วเกิดใหม่ ก็แล้วแต่กรรมที่เราทำนำเกิดในภพภูมิไหน

    สำหรับคนที่รู้เรื่องอภิธรรม ก็มีรายละเอียดเยอะหน่อย

    ขณะที่นอนหลับสนิทจิตกระทำกิจภวังคกิจ เจตสิกที่เกิดร่วมกับภวังคจิตมีจำนวนแตก
    ต่างกันตามประเภทของบุคคล ถ้าเป็นภวังค์ของอเหตุบุคคล มีเจตสิกเกิดร่วมเพียง
    ๑๐ ประเภท คือ อัญญสมานเจตสิก เว้น วิริยะ ปีติ ฉันทะ ส่วนภวังคจิตของทวิเหตุ
    หรือติเหตุกบุคคล มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก
    ๒๐ ถ้าเป็นภวังคจิตของพระพรหมมีจำนวนเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากกว่านี้ ตามควร

    จิต ขณะหลับสนิท
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถ้าภาษาบ้านๆ เขาเรียกความฝันว่าโลกทิพย์ โลกจินตนาการของจิต ภวังค์จิต
    จิตมันสร้างมายาภาพ นึกคิด ไปตามสัญญาที่เก็บไว้ในดวงจิต แล้วแต่จะเป็นไป
    เวลาที่เราหลับจิตมันไม่ได้อยู่ในบังคับของเรา มันก็ฟรีสไตล์ไปตามเรื่องของมัน

    แต่บางคนเคยฝึกสติฝึกสมาธิมาก่อน หรือมีของเก่าติดตัวมาเยอะ
    ก็มีโอกาสจะเข้าไปบังคับควบคุมจิตของตัวเองแม้ในความฝัน
    ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้ามีสติรู้ทันและปล่อยวางได้เห็นเป็นเรื่องธรรมดาก็ไม่มีอะไร
    แต่ถ้าไปหลงยึดมั่นถือมั่นเกิดทิฏฐิมานะเห็นเป็นเรื่องดีสูงส่ง จิตใจมันก็จะหลงในโลกความฝัน
    มากกว่าจะออกมารู้โลกความจริง
     
  9. เด็กน้อย_

    เด็กน้อย_ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    มีวิธีไหนบ้างที่ฝันแล้ว ต่อกันไปเรื่อยๆ เป็นเรื่องเดียวกันทั้งคืน




    ความฝัน
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    บทความนี้เกี่ยวกับความฝันในขณะที่นอนหลับ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ความฝัน (แก้ความกำกวม)


    ภาพของความฝันในงานศิลปะ
    ความฝัน คือความคิดตามธรรมชาติ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในสมองในยามหลับ โดยที่ผู้ฝันส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมได้ ความฝันของคนเรามักจะรวมถึงรูป รส กลิ่น เสียง และสิ่งที่เราสัมผัสได้ ความฝันมักเต็มไปด้วยความคิดในด้านต่างๆ ตั้งแต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงจนถึงเรื่องที่เหลือเชื่อ [1]
    หลายๆครั้งที่ความฝันเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกทั้งทางด้านจิตใจและทางด้านศิลปะให้แก่ผู้ที่ฝัน ตัวอย่างเช่น พอล แม็กคาร์ตนีย์ แห่ง วงเดอะบีทเทิลส์ ที่เล่าว่า ในวันหนึ่งเขาตื่นขึ้นมาพร้อมกับเสียงดนตรีของเพลง "Yesterday" อยู่ในหัวของเขา
    นักจิตวิทยาวิเคราะห์ว่า คนเรามักจะฝันถึงสิ่งที่ตนต้องการ แต่ไม่อาจครอบครองได้ หรือสิ่งที่คั่งค้างอยู่ในใจ ความฝันอาจเกิดได้จากอาการบางอย่าง เช่นรู้สึกหิวน้ำขึ้นมาก็อาจฝันไปว่าเดินอยู่ในทะเลทรายและกระหายน้ำเหลือเกิน ซึ่งเป็นความคิดธรรมชาติในยามหลับ [2]
    จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่เชื่อว่าคนทุกคนเฉลี่ยแล้วจะมีความฝันในปริมาณที่เท่ากัน ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ฝัน นั่นเป็นเพราะว่าความฝันของบุคคลนั้นจางหายไป เมื่อตื่นนอน ความฝันนั้นมักจะเลือนหายถ้าสถานะของการฝันของบุคคลนั้นค่อยๆเปลี่ยนจาก สถานะหลับนิ่ง (REM) ไปเป็นสถานะหลับลึก (delta) และตื่นนอน ในทางกลับกันถ้าบุคคลนั้นตื่นขึ้นมาในขณะที่อยู่ในสถานะ REM เช่นตื่นโดยนาฬิกาปลุก บุคคลนั้นมักจะจำเรื่องที่ฝันได้ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกความฝันที่จะถูกจำได้
     
  10. เด็กน้อย_

    เด็กน้อย_ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    ความฝันในสิ่งมีชีวิตอื่น

    จากการวิจัยพบว่าสัตว์ก็มีความฝันเช่นเดียวกับมนุษย์ โดยเมื่อสัตว์หลับอยู่ในสถานะ REM สัตว์จะมีความฝันเกิดขึ้น สัตว์ที่มีระยะของสถานะ REM นานที่สุดคือตัว อาร์มาดิลโล ที่มีลักษณะคล้ายตัวตุ่น สัตว์ที่มีความฝันบ่อยที่สุดคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ประเภทนกจากการทดสอบความฝันของแมวพบว่ามันมักจะฝันถึงการล่าเหยื่อโดยอ้างอิงจากลักษณะการเคลื่อนไหวของขาและร่างกาย ในขณะที่สุนัขได้มีการเคลื่อนไหวของช่วงขาในลักษณะของการวิ่งรวมถึงการเห่าในขณะที่นอนหลับ
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความคิดเห็นที่ 1 : (ประสงค์ มีนบุรี)


    ภวังคจิต
    คือจิตที่ไม่รู้อารมณ์ทั้ง 6 ทวาร
    เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดแล้ว มีภวังคจิตเกิดสืบต่อและมีจิตอื่น ๆ เกิดสืบต่อด้วย
    ในระหว่างนี้ (ยังไม่มีจุติเกิด) ภวังคจิตเกิดบ้างจิตอื่นเกิดบ้างสลับกันไป ๆ มา ๆ
    แม้ว่าจะหลับสนิทไม่รู้อารมณ์ทั้ง 6 ทาง
    แต่ภวังคจิตก็ยังรักษาความเป็นเช่นเดิม(คนเดิม)ไว้ได้
    เมื่อตื่นขึ้นมาความเป็นเช่นเดิม(คนเดิม) ก็ยังเหมือนเดิม
    ความเป็นคนเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลยนี่กระมังที่เป็นพื้นฐาน
    จนกว่าจะจุติคือพ้นหรือเคลื่อนหรือเปลี่ยนไปจากความเป็นเช่นเดิม
    เช่น จากปุถุชน เปลี่ยนเป็น พรหม
    หรือจาก ปุถุชน เปลี่ยนเป็น อริยะชน
    ตามความคิดเห็นของผมคืออย่างนี้ครับ​
    ความคิดเห็นที่ 4 : (Vicha)


    ภวังค์จิต จะอธิบายในแง่การมีสติของผู้ปฏิบัติธรรม
    ผู้ที่มีสติดี มีสติต่อเนื่อง เมื่อจะนอนกำหนดสติรู้อยู่ (อาจจะเป็นอานาปานะสติ หรือยุบหนอ พองหนอ
    หรือกำหนดฐานใดฐานหนึ่งของสติปฏาน 4) ความรู้สึกจะน้อยๆ ๆ แต่มีสติอยู่ พอถึงจุดหนึ่งก็จะ วูบ
    ลงภวังค์ ถ้ายังไม่หลับสนิท ก็จะขึ้นมารับอารมณ์ที่น้อยๆ อยู่แล้วลงภวังค์ไปใหม่อีกครั้ง จนหลับสนิท
    สำหรับผู้ที่เข้าสมาธิ(ตั้ง สมถะ และ วิปัสสนาสมาธิ(ลักขณูฌาน) ที่ได้สมาธิมาก่อน) กำหนดกรรมฐาน
    จนอารมณ์นั้นน้อยลงๆ ก็จะลงภวังค์เข้าสู่อัปปนาสมาธิทันที่ แต่ถ้าผู้ที่ผึกจนชำนาญ
    เพียงน้อมใจก็ลงภวังค์เข้าสู่อัปนาสมาธิทันที
    ความคิดเห็นที่ 5 : (Vicha)


    ต่ออีกนิด สำหรับผู้ไม่กำหนดสติก่อนนอน อารมณ์เบรอแล้วเผลอหลับไป
    ไม่เห็นรอยต่อการลงภวังค์หลับ
    หมายเหตุ ตรงวูบลงภวังค์จะหลับ หรือขึ้นภวังค์ที่ตื่น นี้และเป็นช่วงที่ผู้ฝึกถอดจิตใช้ในการฝึก
    แต่ต้องระวัง อาจจะเป็นความฝันก็ได้ ต้องพิจารณาให้รอบคอบ
    (ข้อมูลของข้าพเจ้าอาจผิดพลาดก็ได้นะครับ)
    ความคิดเห็นที่ 8 : (ประสงค์ มีนบุรี)


    ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมครับ
    ภวังคจิต คือหน้าที่หรือกิจของจิต ที่รู้อารมณ์หน้าที่หนึ่ง
    ถ้าแบ่งหน้าที่ของจิตออกเป็น 2 หน้าที่คือ
    1.หน้าที่รู้อารมณ์ที่เป็นวิถี
    2.หน้าที่รู้อารมณ์ที่ไม่ใช่วิถี

    หน้าที่รู้อารมณ์ที่เป็นวิถี เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ฯ คิดนึก ฝัน
    หน้าที่รู้อารมณ์ที่ไม่ใช่วิถี เช่น ไม่เห็น ไม่ได้ยินฯ ไม่คิดนึก ไม่ฝัน

    ภวังคจิต คือ 2.หน้าที่รู้อารมณ์ที่ไม่ใช่วิถี

    ภวังคจิตรู้ได้ยาก เช่น ขณะหลับสนิทไม่ฝัน ขณะนั้นไม่รู้อะไรเลย
    ถ้ามีแต่จิต อย่างนี้ตลอด ก็เจริญสติปัฏฐานไม่ได้

    ผมคิดว่า คนส่วนมากไม่ค่อยเข้าใจ ภวังคจิต
    ผมเคยคิดว่า ขณะอยู่คนเดียว แล้วมีความคิดนึกแปลก ๆ
    แล้วมีความรู้สึกเบาสบายร่างกาย คือ ภวังคจิต

    หรือทำสมาธิแล้ว เกิดเห็นภาพนิมิตต่าง ๆ
    มีความเบาสบายของร่างกาย คือ ภวังคจิต

    เมื่อได้ฟัง/อ่าน เรื่อง วิถีจิต ความเห็นก็เปลี่ยนไปครับ

    ภวังคจิต หรือ มโนวิญญาณธาตุ สันตีรณะ มหาวิบาก รูปวิบาก อรูปวิบาก
    มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ผู้สนใจสามารถค้นหาได้ จากตำราต่าง ๆ ครับ​
    002112 -
     
  12. เด็กน้อย_

    เด็กน้อย_ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    ทางพระพุทธศาสนา พูดอย่างไรกับความฝันบ้างเจ้าค๊ะ


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=5YWq_9yMyRI&feature=fvwrel"]???????????????????????????????.flv - YouTube[/ame]
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถ้าจิตมันมีสมาธิมากตั้งมั่นจดจ่อในเรื่องเดียว มันก็จะฝันอยู่เรื่องนั้นเรื่องเดียว
    จนกว่าจิตมันจะปล่อยวางออกไปเอง

    แต่ถ้าจิตไม่มีสมาธิ ฟุ้งซ่านขาดสติ มันคิดเรื่อยเปื่อยไปหลายๆเรื่องสลับกันบ้าง
    แต่ไม่มีน้ำหนักเพราะจิตมันขาดกำลังไม่ต่อเนื่อง

    พวกที่จิตมีสมาธิมากๆ ก็พวกที่ชอบคิดค้นวิจัย แก้โจทย์คณิตศาสตร์ นักแต่งเพลง นักเขียน
    นักดนตรี พวกที่ชอบเพ่งเป็นเรื่องๆ พวกนี้จิตมันจะทำงานจดจ่อต่อเนื่องในเรื่องเดียว
    ตอนตื่นก็คิดเรื่องนั้น ตอนหลับจิตมันก็ยังคิดเรื่องนั้น ตื่นมาก็ยังคิดเรื่องเดิมต่อเนื่อง
    จนกว่ามันจะคิดออกหรือไขปัญหาได้ จิตมันถึงจะหยุดจดจ่อในเรื่องนั้น ก็มี

    จิตที่มันทำงานเองพ้นจากความคิดควบคุมของเรา มันถึงจะสร้างสรรค์งานได้อย่างเป็นอิสระ

    มีความคิดนอกกรอบ เป็นมีความเป็นอัจฉริยะในตัวมันเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2012
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <CENTER>พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ภวังค์ ดู ภวังคจิต

    ภวังคจิต จิตที่เป็นองค์แห่งภพ,
    ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น
    แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับหมดไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม
    ภวังคจิต นี้ คือมโน ที่เป็นอายตนะที่ ๖ หรือมโนทวาร อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน ยังไม่ขึ้นสู่วิถีรับรู้อารมณ์ (เป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ)
    พุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา” มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติของมันเอง มิใช่เป็นสภาวะที่แปดเปื้อนสกปรก หรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่ แต่สภาพเศร้าหมองนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามา ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้;
    จิตที่ประภัสสรนี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ได้แก่ภวังคจิต

     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ลีลาปรินิพพาน



    “พระปัจฉิมวาจา”


    ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า



    “ดูก่อนภิกษุทั้งกลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้ง หลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต”


    ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้วเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้วเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้วทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติแล้วเข้า วิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณณัญจายตนสมาบัติแล้วเข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้วเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญยายตนสมาบัติแล้วทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ


    ครั้งนั่นท่านพระอานนท์ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วหรือ ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่าอานนท์ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จปรินิพพาน ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ


    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วเข้าเนวสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้วเข้าอากิจจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตน สมาบัติแล้วเข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้วเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตน สมาบัติแล้วเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้วเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้วเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้วเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้วเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้วเข้าจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากจตุตถฌานแล้วเสด็จปรินิพพานในลำดับ (แห่งการพิจารณาองค์จตุตฌานนั้น)



    -->> จะเห็นว่าพระมหาสติของพระพุทธเจ้าทรงบริบูรณ์อยู่ครบถ้วนทุกระยะตลอดเวลาด้วยอนุปุพพปฏิปทา (การปฏิบัติตามลำดับ) ในอนุปุพพวิหาร ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับนับตั้งแต่รูปฌาน 4 ขึ้นไปสุดอรูปฌาน 4 (สมาบัติ 8 ) ต่อขึ้นไปอีกถึงนิโรธสมาบัติ เป็นอนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 ทรงเข้าถึงสภาวะสงบประณีตสุดยอดแล้วทรงถอนย้อนกลับลงมาพิจารณาองค์ฌานแต่ละองค์ตั้งแต่ฌาน 8 ลงมาถึงฌาน 1 และทรงเข้าฌานที่สูงขึ้นไปตามลำดับอีกวาระหนึ่งจนถึงจตุตถฌาน (ฌาน 4) พิจารณามรรคผลแห่งจตุตถฌาถ่องแท้แล้วออกจากจตุตถฌาน ทรงอยู่ที่ระหว่างรูปฌาน และอรูปฌาน (ระหว่างฌาน 4 และฌาน 5) และระหว่างฌานกับ ญาณ คือ ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคและนิพพานเป็นญาณวิปัสสนา) ดุจเป็นเส้นทางสายกลาง เป็นมัชฌิมมรรค หรือมัชฌิมาปฏิปทา ทรงหยั่งลงสู่ภวังค์เป็นภวังคจิตที่เป็นอัพยากฤต พื้นฐานจิตกลาง ๆ ปราศจากอารมณ์และไร้แล้วซึ่งกิเลสทั้งหลายทั้งปวงอันเป็นปัจจัยแห่งสังขารขันธ์
    จึงดับสิ้นขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และสังขาร 3 คือ วจีสังขาร กายสังขาร จิตตสังขาร ไม่มีเหลือเลย เข้าสู่ปรินิพพาน เป็นปรินิพพานอายตนะด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ) เป็นที่สุด
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    8ocdj:

    ขณะจิตทั้ง ๑๗ ขณะ เป็นคำสอนที่ละเอียดสุขุมมากอย่างหนึ่งในพระอภิธรรม จะนำมาอธิบายแต่โดยย่อ ดังนี้

    ขณะจิตที่ ๑ อตีตภวังค์
    เป็นภวังคจิตที่กระทบกับอารมณ์ทั้ง ๕ มีรูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในปัจจุบันเป็นครั้งแรก
    การที่จะเข้าใจอตีตภวังค์ก็จำต้องเข้าใจลักษณะของภวังคจิตเสียก่อน ภวังคจิตหมายถึงจิตที่ทำหน้าที่รักษาภพชาติ
    คือรักษาผลของกรรมที่ถือกำเนิดมาในภพชาตินั้น ๆ และรักษารูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานให้ดำรงอยู่ในอาการปกติ
    เช่น รูปที่เกิดจากการหายใจเข้าออกเป็นต้น

    ภวังคจิตมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่รักษาสืบเนื่องมาแต่ภพก่อน ซึ่งเรียกว่าอารมณ์เก่าหรืออดีตอารมณ์
    ได้แก่ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และคตินิมิตอารมณ์ หรือเรียกสั้นๆ ว่ากรรม กรรมนิมิต และคตินิมิต
    อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ซึ่งจิตเริ่มรับมาแต่ปฏิสนธิวิญญาณปรากฏขึ้นแล้วดับลงไป ต่อจากนั้น คือในทันใดนั้น
    ปฐมภวังค์ คือ ภวังคจิตดวงแรกที่เกิดขึ้นในภพใหม่ก็จะเกิดขึ้นรับอารมณ์นั้นสืบต่อจากปฏิสนธิวิญญาณ
    แล้วภวังคจิตดวงอื่น ๆ ก็จะเกิดขึ้นรับอารมณ์เช่นเดียวกันนี้เรื่อยไปจนกว่าจะสิ้นชีวิต

    ในช่วงระหว่างปฏิสนธิกับจุติในภพชาติหนี่ง ๆ ภวังคจิตจะทำหน้าที่รับอตีตารมณ์
    (คือ กรรม กรรมนิมิต หรือคตินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง) เรื่อย ๆ ไป ถ้าไม่มีอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันชาติ
    มากระทบภวังคจิตให้ไหวเปลี่ยนไปรับอารมณ์ใหม่ที่มากระทบนั้นแล้ว จิตจะคงรับอารมณ์เก่าเป็นภวังคจิต
    รักษาภพชาติของตนอยู่สืบไป ภวังคจิตเช่นนี้เองที่เรียกว่า อตีตภวังค์ จิตในขณะนี้ยังไม่ขึ้นสู่วิถี
    ยังเป็นวิถีมุตตจิต คือจิตที่พ้นจากวิถีอยู่ ยังไม่ได้ขึ้นสู่วิถี

    ขณะจิตที่ ๒ ภวังคจลนะ
    มีความเคลื่อนไหวของภวังคจิต หรืออาการที่ภวังคจิตเคลื่อนไหว เป็นภวังคจิตที่เกิดต่อจากอตีตภวังค์
    มีอาการไหวคลายจากอารมณ์เก่า แต่ยังคงเป็นภวังคจิตอยู่นั่นเอง แต่ต่างกับอตีตภวังค์ตรงที่มีการกระทบกับอารมณ์ใหม่
    แล้วเกิดความไหวขึ้น จิตดวงนี้ก็จัดเป็น วิถีมุตตจิต คือจิตที่ยังไม่ขึ้นสู่วิถีเช่นกัน

    ขณะจิตที่ ๓ ภวังคุปัจเฉทะ
    เป็นภวังคจิตที่เริ่มตัดขาดอารมณ์เก่า กำลังจะเตรียมตัวขึ้นสู่วิถีจิต คือภวังคจิตที่เริ่มปล่อยอารมณ์เก่า
    จนขาดจากอารมณ์เก่าที่ตรงกับภังคขณะ (ขณะดับ) ของจิต แต่จิตในขณะนี้ยังรับอารมรมณ์เก่าอยู่ จึงยังไม่เป็นจิตที่ขึ้นสู่วิถี

    ขณะจิตที่ ๔ ปัญจทวาราวัชชนะ
    เป็นอเหตุกจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ใหม่ที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น และ กาย
    ให้รู้ว่าอารมณ์ที่มากระทบนั้น เป็นอารมณ์ที่มาจากทวารไหน เพื่อเป็นปัจจัยให้สัญญาณแก่วิญญาณทางทวารนั้น ๆ

    ปัญจทวาราวัชชนจิตนี้ เป็นจิตที่รับอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันเป็นครั้งแรกในวิถีหนึ่ง ๆ
    จึงนับเป็นจิตดวงแรกที่ขึ้นสู่วิถีรับอารมณ์ใหม่ เป็นปัจจัย (เหตุหนุน) แก่จิตดวงต่อ ๆ ไปให้รับปัญจารมณ์นั้นไปจนสุดวิถี

    8ocdj:

    ขณะจิตที่ ๕ ปัญจวิญญาณ
    คือ จิต ๕ ดวงที่เกิดขึ้นรับปัญจารมณ์ดวงใดดวงหนึ่งตามสมควรแก่อารมณ์ที่มากระทบในขณะนั้นคือ
    ๑. จักขุวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับรูปารมณ์ คือเห็นรูป
    ๒. โสตวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับสัททารมณ์ คือฟังเสียง
    ๓. ฆานวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับคันธารมณ์ คือสูดกลิ่น
    ๔. ชิวหาวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับรสารมณ์ คือรู้รส
    ๕. กายวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับโผฏฐัพพารมณ์ คือรู้สัมผัสทางกายทวาร และอารมณ์เพื่อทำกิจในการเห็นหรือการได้ยินเป็นต้น

    เมื่อปัญจวิญญาณ อันเป็นขณะจิตดวงที่ ๕ ดับลง
    ขณะจิตที่ ๖ คือ สัมปฏิจฉันนะ ก็เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ ที่ได้เห็นหรือได้ยินเป็นต้น
    และส่งมอบอารมณ์นั้นต่อไปให้กับสันตีรณะ เมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับลง
    ขณะจิตที่ ๗ คือ สันตีรณะ ก็เกิดขึ้นเพื่อไต่สวนอารมณ์ที่ได้รับมาจากสัมปฏิจฉันนะ
    เพื่อให้รู้ว่าอารมณ์ที่ได้รับนี้ดีหรือไม่ดีประการใด ถ้าเป็นอติอิฏฐารมณ์คืออารมณ์ที่ดียิ่ง
    โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากจิตก็เกิดขึ้นทำหน้าที่พิจารณาไต่สวนอารมณ์นั้น
    ถ้าเป็นอิฏฐมัชฌัตตารมณ์คืออารมณ์ดีปานกลาง อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากจิตก็เกิดขึ้นทำหน้าที่รับอารมณ์นั้น
    แต่ถ้าเป็นอนิฏฐารมณ์คืออารมณ์ไม่ดี อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากจิตก็ทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาอารมณ์นั้น
    แล้วดับไปพร้อมกับส่งมอบให้กับโวฏฐัพพนจิต

    เมื่อสันตีรณจิตดับลง
    ขณะจิตที่ ๘ โวฏฐัพพนจิต ก็เกิดขึ้นทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจ คือ ตัดสินอารมณ์ว่าจะให้เป็นกุศลหรืออกุศลต่อไป
    เมื่อโวฏฐัพพนจิตดับลงแล้ว ขณะจิตที่ ๙ คือ ชวนะ ก็เกิดขึ้น

    ขณะจิตที่ ๙ คือ ชวนะ
    ทำหน้าที่ชวนกิจ คือเสวยหรือเสพรสของอารมณ์ที่โวฏฐัพพนจิต ได้ตัดสินแล้วนั้น
    โดยความเป็นกุศลชวนะหรืออกุศล ชวนะจิตดวงนี้เรียกชวนจิตเพราะทำหน้าที่เสพรสแห่งอารมณ์ที่เป็นกุศลอกุศล
    หรือบุญบาปที่ปรากฏขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย ข้อนี้หมายความว่า บุญหรือบาปจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องเข้าถึงชวนจิตเสียก่อน
    เว้นไว้แต่ชวนจิตของพระอรหันต์ที่จัดเป็นกิริยาชวนะ เพราะเป็นจิตที่พ้นจากอารมณ์ที่พ้นจากกรรมอันเป็นกุศลหรืออกุศลแล้ว

    นับตั้งแต่ขณะจิตที่ ๙ ถึงขณะจิตที่ ๑๕ ทั้ง ๗ ขณะจิตนี้จิตทำหน้าที่เพื่อเสวยรสของอารมณ์เป็นชวนกิจอย่างเดียว
    ในกามชวนะนี้มีขณะจิตเกิดได้ทั้ง ๗ ขณะ เมื่อชวนจิตทำหน้าที่เสวยรสแห่งอารมณ์ไปแล้ว ๗ ขณะ ก็ดับลง

    ต่อจากนั้นขณะจิตที่ ๑๖ และที่ ๑๗ ก็เกิดขึ้นรับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะ เพื่อหน่วงอารมณ์นั้นลงสู่ภวังค์ตามเดิม
    เรียกจิตทั้ง ๒ ดวงนี้ว่า ตทาลัมพนจิต

    ขณะจิตที่ ๑๖ และ ๑๗ คือ ตทาลัมพนจิต
    เกิดเพื่อรับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะตามสมควรแก่อารมณ์ และจะต้องเกิดขึ้น ๒ ครั้ง หรือ ๒ ขณะเสมอไป
    เท่ากับอายุของอารมณ์ที่ดำรงอยู่ได้ เมื่อถึงขณะจิตที่ ๑๗ พอดี ก็เป็นอันสุดวิถีจิตในวิถีหนึ่ง ๆ

    ต่อจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของภวังคจิตเกิดขึ้นตามธรรมชาติต่อไป

    คำอธิบายเพิ่ม ขณะจิต จิตเกิด/ดับ 17 ดวง
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จิตและกลไกการทำงานของจิต (Mind power mechanism):
    จิตตามหลักพุทธมาจากการแบ่งมนุษย์ออกเป็นส่วนๆดังนี้
    ๑. นาม คือสิ่งที่ไม่มีตัวตน ได้แก่
    ๑.๑ วิญญาณ คือ การรับรู้อารมณ์ที่มากระทบทางทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ๑.๒ สัญญา คือ การที่จำอารมณ์จากข้อ ๑.๑ ได้
    ๑.๓ สังขาร คือ การคิดถึงเกี่ยวกับอารมณ์จากข้อ ๑.๑
    ๑.๔ เวทนา คือ การเกิดความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือ กลางๆกับอารมณ์ในข้อ ๑.๑
    ๒. รูป คือร่างกายที่มีตัวตน ประกอบด้วย ของแข็ง ของเหลว แก๊ส พลังงาน หรือที่เรียกกันว่า ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ
    สภาพแวดล้อมที่จิตทำงานอยู่
    ๑. ปัญจทวาร จิตจะตื่นจากภวังค์ขึ้นสู่วิถีและรับอารมณ์จากภายนอกที่ผ่านเข้ามาทางทวาร จิตในภาวะตื่นตัวเรียกว่า วิถีจิต
    ๒. มโนทวาร จิตจะตื่นจากภวังค์แต่ไม่รับอารมณ์จากภายนอกเหมือนข้อ๑ แต่จะรับอารมณ์จากภายใน(ธรรมารมณ์) ได้แก่มโนภาพและจินตภาพ ที่เก็บไว้ ตัวอย่างเช่น ขณะที่เราคิดถึงเรื่องในอดีต การคิดอย่างลึกซึ้งอย่างมีสมาธิ เป็นต้น
    ๓. ภวังค์ จิตจะนิ่งอยู่ในฐานเดิม ไม่รับรู้อารมณ์ภายนอกใดๆ แต่รับและดับอารมณ์ภายในเป็นปกติ (จิตอยู่โดยไม่มีอารมณ์ใดๆไม่ได้) อารมณ์ภายในได้แก่ พลังกรรมที่ก่อนิมิตและคตินิมิต ตัวอย่างเช่น ตอนที่เรานอนหลับโดยไม่ฝัน หรือตอนสลบ

    กลไกของจิตตามหลักอภิธรรม และตัวอย่างการทำงานของจิตขณะกินมะม่วง (Mechanism)
    เมื่อมีสิ่งมากระทบกับทวารทั้งห้า อารมณ์ที่เป็นพลังงานจะเข้าไปกระตุ้นภวังคจิต (จิตตอนหลับ)
    - อดีตภวังคะ คือตอนที่ภวังคจิตถูกอารมณ์กระทบครั้งแรก (ตอนตื่นจากหลับ)
    - ภวังคจลนะ คือตอนที่ภวังคจิตเริ่มเคลื่อนไหว (ตอนงัวเงียหลังจากตื่น)
    - ภวังคปัจเฉทะ คืออาการไหวตัวของภวังคจิตสิ้นสุด (ตอนตาสว่างหายงัวเงีย)
    - อาวัชชนะ คือตอนที่จิตพุ่งไปรับอารมณ์ (ตอนหันไปมองทางเสียงมะม่วงตก)
    - ปัญจวิญญาณ คือตอนที่จิตรับรู้ชนิดและลักษณะของอารมณ์ (ตอนที่รู้ว่าเป็นมะม่วง)
    - สัมปฏิจฉันนะ คือตอนที่จิตเป็นวิบากเข้ารับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ (ตอนลุกไปเก็บมะม่วง)
    - สันตีรณะ คือตอนที่จิตเป็นวิบากตรวจตราอารมณ์ (ตอนที่ตรวจดูและรู้ว่ามะม่วงสุก)
    - โวฏฐัพพนะ คือตอนที่จิตตัดสินอารมณ์ว่าดีหรือไม่ดี (ตอนที่หยิบมะม่วงมากิน)
    - ชวนะ คือตอนที่จิตเสวยผลการตัดสินเจ็ดขณะ (ตอนที่เคี้ยวมะม่วงให้แหลก)
    - ตทาลัมพณะ คือตอนที่จิตรับเอาผลการตัดสินมาเสวยต่อจากชวนะอีกสองขณะ (ตอนที่กลืนมะม่วงที่เคี้ยวแหลกแล้ว)
    หลังจากนั้นจิตจะกลับเข้าสู่ภวังค์ตามเดิมรออารมณ์อื่นมากระทบแล้วจะขึ้นสู่วิถีรับอารมณ์เช่นนี้อีกวนเวียนไปเรื่อยๆ
    หมายเหตุ
    จิตที่อยู่ในสภาวะภวังคจิตแต่ทำหน้าที่เป็น จุติจิต เป็นจิตดวงสุดท้ายในขณะที่ตาย และ ปฏิสนธิจิต เป็นจิตดวงแรกที่เกิดขึ้นในภพใหม่ด้วยพลังกรรมนิมิตและคตินิมิตร
    อารมณ์ (อาเวค = emotion) หมายถึงภาวะกระทบกระเทือนใจ เช่น โกรธ, กลัว, ดีใจ, ใคร่, ขำ, รัก มีนิยามต่างจาก อารมณ์ (อาลัมพณะ) ในเชิงศาสนาพุทธ ซึ่งจะหมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้ โดยอาศัยทวารได้แก่
    1.ตารับรู้รูป
    2. หูหรับรู้เสียง
    3. จมูกรับรู้กลิ่น
    4. ลิ้นรับรู้รส
    5. กายรับรู้การสัมผัส
    6. สมองรับรู้มโนภาพ
    สภาพจิตตามการแบ่งของนักจิตวิทยาและศาสนา
    ๑.จิตไร้สำนึก (Unconscious mind) ตรงกับ จิตหลับหรือภวังคจิต
    ๒. จิตกึ่งสำนึก หรือ จิตใต้สำนึก (Subconscious mind) ตรงกับจิตฝัน (Dreaming mind), จิตที่ถูกสะกด, และจิตที่อยู่ในสมาธิขั้นสูง
    ๓. จิตสำนึก (Conscious mind) ตรงกับ จิตตื่นหรือวิถีจิต, จิตลอย(Drifting mind), จิตคิด(Thinking mind), และ จิตนิ่ง(Concentrating mind)
    ๔. จิตเหนือสำนึก (Superconscious mind) ตรงกับ จิตทำงานหรือมโนมยิทธิ (Psychokinetic mind), และจิตอภิญญา (Extrasensorily Perceiving mind, ESP)

    จิตไร้สำนึก(Unconscious mind) ทำงานลึกลงไปในฐานสมอง ขณะที่จิตสำนึกทำงานบริเวณสมองค่อนไปด้านหน้า(Cerebral cortex) จิตไร้สำนึกจะทำงานเกี่ยวกับข้อมูลความทรงจำและพลังงาน
    การนอนหลับ ส่วนของสมองที่ชื่อ Hypothalamus มีศูนย์ควบคุมการตื่นและการหลับ ในขณะหลับ สมองจะปล่อยคลื่นความถี่ต่ำขนาด 0-3 ไซเคิ้ลต่อวินาที เรียก คลื่นDelta หากมีความวิตกกังวล ความถี่สูงขึ้นไประหว่าง 14-28 ไซเคิ้ลต่อวินาที ซึ่งเรียกว่า คลื่นBeta
    ในภาวะนี้จิตไม่ขึ้นสู่วิถีรับอารมณ์ภายนอก รับเฉพาะอารมณ์ภายใน คือ กรรม(การกระทำทั้งดีและไม่ดี) กรรมนิมิต(เครื่องมือที่ใช้กระทำกรรม) คตินิมิต(ภาพของภพภูมิที่จิตจะไปปฏิสนธิ อาจจะเป็นสุคติ หรือ ทุคติ)
    จิตฝัน (Dreaming mind) อยู่ในระหว่างระดับจิตไร้สำนึกและกึ่งสำนึก มีสิ่งเร้าเล็ดลอดมากระตุ้นจิตไร้สำนึกผ่านทวารต่างๆได้ แล้วจิตเกิดตื่นขึ้นในแดนไร้สำนึก แต่ร่างกายยังอยู่ในสภาวะหลับ จิตจะเล่นไปตามมโนภาพของความทรงจำที่ฝังอยู่ ซึ่งบางครั้งจะกระตุ้นให้สมองทำงานและสั่งอวัยวะอื่นทำงานโดยที่ยังไม่รู้สึกตัว เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "การละเมอ" แต่ถ้าสิ่งเร้ากระตุ้นแรงขึ้น จิตก็อาจจะเคลื่อนไปสู่แดนสำนึก ทำให้คนเราตื่นจากภาวะหลับ ในบางครั้งจิตเป็นอิสระจากมิติแห่งกาลเวลา เราก็จะสามารถฝันถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้
    จิตสำนึก (Conscious mind) จิตที่เคลื่อนมาอยู่บริเวณทวารทั้งห้า(ปัญจทวาร) และ มโนทวาร จิตจะอยู่ในวิถีที่รับอารมณ์ภายนอกผ่านปัญจทวารบ้าง ถ้าไม่มีอารมณ์เหล่านั้นมากระทบ จิตก็จะหันไปรับธรรมารมณ์เก่าๆ จากมโนทวารบ้าง แต่ถ้าจิตเพลินกับธรรมารมณ์ต่างๆจนไม่ยอมรับอารมณ์ที่ผ่านทางปัญจทวาร ก็จะเกิดอาการ "ใจลอย" หรือ "ฝันกลางวัน" เป็นลักษณะจิตลอย
    จิตลอย (Drifting mind) จิตลอยอยู่ในแดนสำนึก รับรู้อารมณ์ที่ผ่านมาทางปัญจทวารอย่างไม่เลือก ไม่มีระเบียบ ไม่ตั้งใจ ไม่มีจุดหมาย อารมณ์ใดปรากฏทางทวารใด ก็รับรู้ เมื่อมีอารมณ์อื่นกระทบทวารอื่นหรือทวารเดิม ก็หันไปรับรู้อารมณ์ทางทวารนั้นต่อไป ฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ เมื่อมีการควบคุม จิตจะเปลี่ยนไปอยู่ในสถานะ จิตคิด
    จิตคิด (Thinking mind) จิตจะรับรู้อารมณ์จำนวนจำกัดเท่าที่จำเป็นชุดหนึ่งอย่างตั้งใจและมีจุดหมายปลายทางที่แน่นอน มีการควบคุมให้จิตดำเนินไปตามทางที่แน่นอน มีการเลือกสรรและจำกัดจำนวนอารมณ์ มีการตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้า การคิดมีแบบต่างๆดังต่อไปนี้
    ก.คิดตาม เช่นตอนดูหนัง ที่เรารับรู้เหตุการณ์ที่ปรากฏตามลำดับ
    ข.คิดค้น เริ่มเมื่อเราเริ่มคิดว่า อะไร ใคร ที่ไหน เท่าใด อย่างไร เป็นต้น
    ค.คิดสร้าง คือจิตที่พยามยามสร้างจินตภาพต่างๆขึ้นมา
    - คิดสร้างตาม อาศัยเค้าโครงของสิ่งที่เคยรับรู้มา แล้วนำมาคิดทบทวนจนเกิดความเข้าใจ
    - คิดสร้างด้วยตัวเอง คิดสร้างจินตภาพใหม่โดยใช้จินตภาพเก่าๆเป็นเครื่องมือ สร้างสรรสิ่งใหม่ๆ
    ง.คิดหาเหตุเมื่อ มีประสบกับผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
    จ.คิดหาผล คือคิดคาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อทราบเหตุและปัจจัย
    ฉ.คิดวิเคราะห์ คือการคิดแยกแยะหาส่วนประกอบต่างๆอย่างละเอียด
    ช.คิดสังเคราะห์ คือการคิดหาลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ แล้วรวมเป็นหมวดหมู่
    ซ.คิดเปรียบเทียบ คือการเอาลักษณะของสิ่งตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปมาเทียบกัน
    ฌ.คิดตัดสิน คือการคิดเลือกสิ่งที่ถูกพิจารณามาจากการคิดอื่นๆแล้ว
    จิตนิ่ง (Concentrating mind) เป็นจิตที่อยู่ในแดนสำนึก เน้นมากกว่าจิตคิด เนื่องจากบังคับให้รับรู้เพียงอารมณ์เดียว ซึ่งคนส่วนใหญ่ จิตจะอยู่ในสถานะจิตลอย ซึ่งบังคับให้อยู่ในสถานะจิตนิ่งได้ยาก การบังคับให้จิตอยู่ในสถานะนี้จึงต้องทำสมาธิ หรือทำสมถะ
    จิตกระทำการ (Psychokinetic mind) หมายถึงการใช้พลังจิตทำงานโดยตรง ทางพุทธศาสนาคือ มโนมยิทธิ
    จิตอภิญญา (ESP mind) ถูกอธิบายอย่างละเอียดในหนังสือชื่อทิพยอำนาจของพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ตั้งแต่ลักษณะธรรมชาติของจิตตั้งแต่ทำสมาธิขั้นแรกจนถึงหลุดพ้นทุกขั้นญาณ โดยมีผลพลอยได้เป็น ทิพยจักขุ ทิพยโสต เจโตปริยญาณ อนาคตังสญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น
    [​IMG]
    รูปภาพ Mandala ถูกออกแบบมาเพื่อชี้นำการมองของมนุษย์ เพื่อช่วยสร้างสมาธิ โดยการทำงานของประสาทตาและสมอง​
    โดยปกติสมองซีกซ้ายของคนเราจะทำงานเรื่องการคิดคำนวณ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล และการรับรู้ที่เป็นลำดับ ส่วนสมองซีกขวาจะควบคุมการรับรู้ทางด้านอารมณ์ จิตใจ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อเริ่มมองภาพ Mandala สมองซีกซ้ายซึ่งทำงานเด่นกว่าซีกขวา จะพยายามวิเคราะห์ แยกแยะ นับ ในลักษณะเรขาคณิต ว่อกแว่ก ถ้าเราพยายามโฟกัสไปยังศูนย์กลาง สมองซีกขวาจะเริ่มมีอิทธิพลสูงขึ้นจนมากกว่าสมองซีกซ้าย เราจะไม่สนใจการตรวจสอบใดๆโดยสมองซีกซ้ายอีก และดิ่งสู่ความสงบ และมีสมาธิได้ง่าย ([SIZE=-2]ภาพและเรื่องได้จากหนังสือเทคนิคการสร้างสมาธิของสำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท[/SIZE])

    Tteen.net : Religion :
     
  18. เด็กน้อย_

    เด็กน้อย_ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    พูดแล้วมองเห็นภาพเลยเจ้าค๊ะ ถ้าเราอยากกินโค๊ก กินน้ำแดงทุกวันเรา มีความอยากในสิ่งนั้น เราก็จะฝันถึงสิ่งนั้น บ่อย ๆเจ้าค๊ะ
     
  19. คนสร้างทาง

    คนสร้างทาง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +6
    กายหลับ จิดหลับ ตัวรู้คือ สติ
    พระอรหันต์ฝันครับ
     
  20. เด็กน้อย_

    เด็กน้อย_ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0

    พยายามทำความเข้าใจอยู่เจ้าค๊ะ แต่กำลังนึก ถึงโคลน ที่อยู่ในนำ้ ใช่ไหม
    จิตคือนำ้ที่สะอาด โคลนคือสิ่งสกปรกแห่งจิต หากมีใจขุ่นมั่วเหมือนโคลนมันฝุ้งในนำ้
    จนน้ำมืดดำด้วยโคลน เด็กคือน้ำที่สะอาด แสดงว่าเราอย่าเอาโคลนมาไว้ในนำ้ใช่ไหมเจ้าคะ
    เราถึงไม่ฝัน ถ้าเรามีความอยากเราก็ฝัน แสดงว่าเราฝันไม่ดีใช่ไหมเจ้าค๊ะ แต่บางทีเราก็ฝันร้าย จนฉี่ลาดเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...