พระเสกน้ำมนต์เป็นพระธาตุ น่านับถือหรือน่าปราชิก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สมภพ, 21 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    ศรัทธาเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล
    คนที่ศรัทธา โดยมีอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ นำหน้าปัญญาก็มี กล่าวคือกลุ่มศรัทธาแบบนี้คงต้องใช้ รูป,แสง,สี,เสียง เข้าชักจูงจิตใจในเบื้องต้นก่อน ถึงจะรู้จักบาปบุญคุณโทษได้ในภายหลัง ส่วนจะขยายผลให้เกิด ศรัทธาในการปฎิบัติเพื่อนำตนให้พ้นจากทุกข์ได้หรือไม่นั้น

    เป็นเรื่องเจตนาของผู้ให้ ว่าท่านมีขีดจำกัดความสามารถในการเผยแพร่พระศาสนา ตามหลักธรรมคำสั่งสอนได้ถูกต้อง ตรงทางได้มากน้อยขนาดไหน? หรือไม่? อย่างไร? หลังจากที่มหาชนได้เห็นปาฎิหาริย์ดังกล่าวแล้ว

    ปาฎิหาริย์ เป็น เรื่องอจินไตย ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาให้ความสงสัย อยู่ในขอบเขตของ พุทธบริษัทที่ดี เพราะความปรารถนาดีของเราบางครั้ง อาจก่อให้เกิดผลเสียหาย

    สำหรับเรื่องนี้เราพิจารณาว่า หลังจากที่มหาชนได้เห็นปาฎิหาริย์แล้ว พระคุณท่านได้มีกิจกรรมอะไรที่ส่อแสดงให้เห็นถึง เจตนาในการนำญาติธรรมเหล่านั้น เข้าสู่แนวทางหลักขององค์พระศาสดา ที่ได้ทรงแสดงหลักธรรมคำสั่งสอนไว้แล้วอย่างไร หากเห็นว่าเป็นการน้อมลาภสักการะเข้ามาสู่ตนโดยถ่ายเดียว การแสดงปาฎิหารย์โดยเจตนาก็ดี หรือไม่เจตนาก็ดี ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

    หากเล็งเห็นว่าพระคุณท่านได้มีกิจกรรมอันประกอบไปด้วย สิ่งที่เป็นบุญกุศลสามารถชักจูงจิตใจให้ญาติธรรม เกิดศรัทธาในการประพฤติปฎิบัติ อันมี ทาน ศีล ภาวนา และปัญญา ถูกต้องตามหลักไตรสิขาแล้วไซร้ เราก็พิจารณาว่าการแสดงปาฎิหาริย์ดังกล่าว เป็นสิ่งที่ควรสรรเสริญ.

    เจริญในรสธรรม
     
  2. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    อนุโมทนาครับ


    อนุโมทนาครับ เห็นตามนั้น:cool:
     
  3. สมภพ

    สมภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    330
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +606
    ภิกษุที่เพ่งเทียนให้ติดให้ดับได้ แต่เป็นเทียนมายากล (ใส่ถ่านกดรีโมทย์)
    ภิกษุเอามือจุ่มในกรดไม่เป็นอะไร แต่เทราดพื้นปูนแล้วฟองฟู่ แต่เป็นกรดที่ฟองฟู่กับปูนเท่านั้น มือคนไม่เป็นไร

    แสดงเฉยๆ ไม่ได้พูดอะไร ไม่บอกว่าหลวงพี่เล่นกลเฉยๆ

    ไม่ถือว่าเป็นการอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตนหรือ?
    การอวด ไม่จำเป็นต้องพูดเสมอไป แต่มันหมายถึงการแสดงออกทั้งนั้น แต่ส่วนใหญ่มักเป็นการพูด

    การมุสา ไม่จำเป็นต้องเปล่งเสียงเสมอไป คนใบ้ก็มุสาได้ ด้วยเขียนหนังสือก็ดี ด้วยพยักหน้าส่ายหน้าก็ดี ด้วยชี้นิ้วก็ดี ฯ
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เล่นกล ผิด ศีล ข้อไหนหรอคับ
     
  5. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    น่าจะติดตรงเดียวกันกับ พระเกษม

    เข้าข่าย โลกาวิชะ ไหมน๊าาาาาาา

    ส่วนพระบัญญัติ ไม่โดนซักกระทงเดียว ปราชิก ไม่ได้
     
  6. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +215
    กรณีนี้คุณไปลอง-ไปดูมาด้วยตนเองหรือยังครับ???
    ไปทดสอบด้วยตนเองหรือไม่ว่าพระธาตุที่ว่าร่วงลงมาจริงหรือเล่นกล ไปมาเองหรือยัง???
     
  7. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    เจตนาเป็นตัวกำหนดกรรม ปราชิก ๔ มีเจตนาไปตัวแปรสำคัญ
    ใครเล่าจะรู้ดี นอกจากตัวของท่านเอง.
     
  8. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    กราบ

    กราบนมัสการ หลวงพี่ ยามคํ่าคืนครับ

    เดี๋ยวเช้า ออก บิณ ไม่ไหวนะครับ รักษาสุขภาพ เพื่ออยู่ เป้นเนื้อนาบุญ ปกป้องพระศาสนาต่อไป

    รักษาสุขภาพด้วยครับ


    นมัสการครับ
     
  9. โพชน์

    โพชน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +1,904
    นี่ ก็อีกกระทู้หนึ่งแระ เปิดประเด็นวิจารย์พระ คุณเป็นสังฆาธิการรึไง คุณมีสิทธิ์ใดชี้หรือบงชี้ ว่าท่านผิดไม่ผิดนะท เจตนาตั้งกระทูหาเรื่องให้สมาชิกออกความเห็นขัดกันสนุกๆไปวันรึ..ป่วนเวปจนผู้ดูแล สมาชิก ปวดกระบาลไปหมดนะ ไม่มีไรทำเหรอ..
     
  10. changnoy

    changnoy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +3
    การวิจารณ์พระด้วยจิตที่เมตตาเพื่อให้สงฆ์ดีขึ้นเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคน
     
  11. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    ปาราชิก มี 4 ข้อ อยู่ใน ศีล 227 ได้แก่
    1.เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)

    2.ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)

    3.พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน) หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์

    4.กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

    อุตริมนุษยธรรม แปลว่า ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือ ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง ได้แก่ คุณวิเศษซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สมารถมีหรือเป็นได้ มิใช่วิสัยของมนุษย์ทั่วไป แต่เป็นวิสัยของผู้บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว
    อุตริมนุสธรรมหมายถึงฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค และผล
    การที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ ตนได้บรรลุวิโมกข์ ได้สมาธิ สมารถเข้าสมาบัติได้ หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวดอุตริมนุสธรรม
    ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกผู้ที่ชอบอวดอ้างตนเหนือกว่าคนอื่นหรือทำอะไรที่แผลง ๆ ที่คนทั่วไปเขาไม่ทำกันว่า "อวดอุตริ" หรือ "อุตริ" เฉย ๆ

    หากขบวนการวิทยาศาสตร์ตรวจสอบแล้วว่าเป็น สิ่งที่มนุษย์ สร้างขึ้นโดยเจตนาก็ดี โดยไม่ใช่ของวิเศษขอตนเช่น มายากล นั้นเรียกว่า กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ ต้องปาราชิก
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ศีลของพระที่ท่าน ยมยักษ์ ยกมากล่าวไว้อย่างถูกต้องแล้วครับ



    อุตริมนุสธรรมหมายถึงฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค และผล
    การที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ ตนได้บรรลุวิโมกข์ ได้สมาธิ สมารถเข้าสมาบัติได้ หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวดอุตริมนุสธรรม

    คำว่าอุตริมนุสสธรรมในสิกขาบทนี้ หมายถึงคุณวิเศษที่ภิกษุเจริญกรรมฐานหรือเจริญสมาธิจิตจนได้บรรลุคุณธรรมวิเศษ อันได้แก่ ฌาน เช่น ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ฌาน (เช่น วิชชา ๓ อภิญญา ๖) มรรคภาวนา มรรคผล (โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล) วิมุตติ ปิติ หรือความยินดีในฌาน เป็นต้น


    ภิกษุอวดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีในตน ต้องปาราชิกเหมือนกัน เช่น ภิกษุประกาศตนว่าได้บรรลุอรหันต์หรือบรรลุอนาคามี เป็นต้น ต้องอาบัติแล้ว อนึ่ง การอวดคุณวิเศษนี้ เมื่อภิกษุกล่าวอวดอ้างไปแล้ว ผู้อื่นจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ไม่ถือเป็นสำคัญ เมื่อมีเจตนาที่จะอวด และผู้ฟังได้ฟังรู้เรื่อง ก็ถือว่าต้องอาบัติปาราชิก


    ตรงตัวแล้วครับ


    พระพุทธเจ้า วาง กฏ เอาไว้ดีแล้ว



    ภิกษุที่ประกอบไปด้วยลักษณะเหล่านี้ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก ตามสิกขาบทนี้ มี ๕ อย่าง คือ ภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะอวด ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้า ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑





    ดังนั้น ถ้าใคร นับถือ ศาสนาพุทธ ยังนับถือ พระพุทธเจ้า อยู่

    อย่าได้ไปคิด บััญญัติ สิกขาบท กฏ เพิ่มเข้ามาเองครับ


    เห็นมีแต่คนมีกิเลส คิดจะไปเพิ่ม โทษ ให้


    อยากรู้จริง พวกที่ อยาก บัญญัติ กฏ เพิ่มขึ้นมา

    ถ้าให้ไป อยู่ใน เพศ พระ จะ บวช อยู่ได้กี่วัน


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  13. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    แล้วคุณว่าไงละ เรื่องนี้ ผมก็เอามาจากข้อปาราชิก มี 4 ข้อ อยู่ใน ศีล 227

    ผมไป บััญญัติ เพิ่มข้อใหนหรือครับเนี่ย
     
  14. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    อยากรู้จริง ถ้าให้ไป อยู่ใน เพศ พระ จะ บวช อยู่ได้กี่วัน

    25 วันผมก็จะตายละบวชเท่านี้ คงพอ เพราะมันยาก 10 วันแรกก็อยากสึกแล้ว 15 วันหลังก็ ok
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  15. สมภพ

    สมภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    330
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +606
    เค้าคงไม่ได้ว่าคุณยมยักษ์ แต่อาจว่าผม

    ตกลงแล้ว ถ้าภิกษุหลอกคนว่าตนเหาะเหินเดินอากาศได้ แต่จริงๆทำไม่ได้ ต้องปราชิกหรือไม่
    หมายถึงคุณวิเศษประเภทที่มองเห็นเป็นรูปธรรมได้ ไม่ใช่นามธรรมเช่นการได้มรรคผลนั้น?
     
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ใช่ครับ ต้องปราชิก เว้นไว้แต่ บ้า หลงไม่มีสติ

    ลองไป ศึกษา อ่านเพิ่ม ตัว บท เต็มๆ ดูครับ


    พุทธบัญญัติไม่ให้ภิกษุอวด อุตริมนุษยธรรมคือคุณวิเศษหรือการบรรลุธรรมอย่างสูงที่เกินปกติของมนุษย์สามัญ เช่น สมาธิ ฌาน สมาบัติ มรรคผล ถ้าอวดโดยที่ตนไม่มีคุณวิเศษนั้นจริง คือหลอกเขา ย่อมต้องอาบัติปาราชิก ขาดจาความเป็นภิกษุ (วินย.1/227-231/165-171)


    ปาราชิกกัณฑ์
    ความหมาย คำว่า ปาราชิก มาจากคำว่า ปราชย แปลว่า ปราชัย หรือ พ่ายแพ้ คำว่าปาราชิก เป็นคำกลาง ๆ ใช้ในความหมาย ๓ ความหมาย คือ ๑. ถ้าเป็นคุณบทของอาบัติ หมายถึง อาบัติ แปลว่าอาบัติที่ทำให้ผู้ต้องให้พ่ายแพ้ (จากหมู่คณะ) คือ อาบัติปาราชิก ๒. ถ้าเป็นคุณบทของบุคคล หมายถึงบุคคลหรือภิกษุผู้ต้องอาบัติ แปลว่า ผู้พ่ายแพ้ หรือ บุคคลผู้พ่ายแพ้จากหมู่คณะหรือขาดจากความเป็นภิกษุสงฆ์ เป็นผู้พ่ายแพ้จากหมู่สงฆ์ คือ ผู้ที่ต้องอาบัติปาราชิกนี้แล้วจะต้องสึกไปสถานเดียว ดังนั้นท่านจึงเปรียบบุคคลผู้ต้องอาบัติปาราชิกนี้ไว้ว่า เหมือนตาลยอดด้วนที่ไม่สามารถจะแตกยอดออกใบออกผลได้อีก หรือเหมือนศิลาแท่งทึบที่แตกกระจายเป็นผุยผงไปแล้วไม่สามารถนำมาทำเป็นก้อนได้ดังเดิม เป็นต้น ๓. ถ้าเป็นคุณบทของสิกขาบทหรือวินัย แปลว่า สิกขาบทที่ปรับด้วยอาบัติปาราชิก หรือ อาบัติหมวดปาราชิก คือ สิกขาบทที่ว่าด้วยปาราชิกนั่นเอง อาบัติปาราชิกนี้มี ๔ สิกขาบท คือ ๑. ภิกษุเสพเมถุน ต้องอาบัติปาราชิก ๒. ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ให้ ได้ราคา ๕ มาสก ต้องปาราชิก ๓. ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องปาราชิก ๔. ภิกษุอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง ต้องอาบัติปาราชิก ๓.๑ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุน มูลบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ อนุบัญญัติ ก. อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ อนุบัญญัติ ข. อนึ่ง ภิกษุใดถึงพร้อมด้วยสิกขาบทและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ สิกขาบทนี้มีปฐมเหตุในการบัญญัติถึงสามครั้ง โดยพระบัญญัติครั้งแรกนั้นเรียกว่า มูลบัญญัติ (บัญญัติเดิม) ส่วนการบัญญัติซ้ำสิกขาบทนั้นอีกในครั้งต่อ ๆ มา (จะกี่ครั้งก็ตาม) เรียกว่า อนุบัญญัติ เหมือนกันทั้งหมด สารัตถะในปฐมปาราชิก ๑)



    ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง พระบัญญัติ : อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็น อย่างประเสริฐ ….ฯลฯ………….(ข้อควา(เหมือนอนุบัญญัติ) อนุบัญญัติ : อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถน้อมเข้ามาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้เห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งเอาความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้นได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้นได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่าๆ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ(จริงๆ )


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  17. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    ปราชิก แน่นอน อยู่แล้ว ครับคุณวิเศษแต่ทำไม่ได้ ก็ปาราชิก
    แต่สมัยนี้ คงไม่มีใครกล้าไปจับสึกหลอก เพราะไม่มีผู้กล้าไง
    หากอยู่ยุคสมัย อโศกมหาราช จีวร กับบาตรคงกองเป็นภูเขา
    สมัยนี้คงยาก ยังไงก็ได้กับตัวเองทั้งนั้น น่าจะเน้นเรื่องคำสอนในศาสนาดีกว่าไปเน้นเรื่องวัตถุเงินตราสอนให้หลงเสียเวลา ผู้สอนไม่ซื่อตรงต่อพระพุทธเจ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คำว่าอุตริมนุสสธรรมในสิกขาบทนี้ หมายถึงคุณวิเศษที่ภิกษุเจริญกรรมฐานหรือเจริญสมาธิจิตจนได้บรรลุคุณธรรมวิเศษ อันได้แก่ ฌาน เช่น ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ฌาน (เช่น วิชชา ๓ อภิญญา ๖) มรรคภาวนา มรรคผล (โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล) วิมุตติ ปิติ หรือความยินดีในฌาน เป็นต้น


    ภิกษุอวดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีในตน ต้องปาราชิกเหมือนกัน เช่น ภิกษุประกาศตนว่าได้บรรลุอรหันต์หรือบรรลุอนาคามี เป็นต้น ต้องอาบัติแล้ว อนึ่ง การอวดคุณวิเศษนี้ เมื่อภิกษุกล่าวอวดอ้างไปแล้ว ผู้อื่นจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ไม่ถือเป็นสำคัญ เมื่อมีเจตนาที่จะอวด และผู้ฟังได้ฟังรู้เรื่อง ก็ถือว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว แต่ถ้าหากพูดแล้วผู้ฟัง ฟังไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบความหมายของคำพูดนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย และถ้าภิกษุรูปนั้นพูดบอกคุณวิเศษซึ่งไม่มีในตนของภิกษุรูปอื่นให้แก่บุคคลอื่น ถ้าเขาเข้าใจคำพูดของภิกษุนั้นว่าหมายถึงภิกษุใด ภิกษุนั้นก็ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฏ


    ภิกษุผู้พูดอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริงและต้องอาบัตินั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ คือ ๑. เบื้องต้นเธอรู้ว่าตนเองจักกล่าวเท็จ ๒. กำลังกล่าวเท็จอยู่ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓. ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่าตนกล่าวเท็จแล้ว


    ภิกษุที่ประกอบไปด้วยลักษณะเหล่านี้ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก ตามสิกขาบทนี้ มี ๕ อย่าง คือ ภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะอวด ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้า ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑


    ตัวอย่างจตุตถปาราชิกสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงวินิจฉัยไว้ในวินีตวัตถุมีทั้งหมด ๖๐ เรื่อง เช่น เรื่อง ภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ มีภิกษุรูปหนึ่งประกาศว่าได้บรรลุอรหัตตผล เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ ต่อมาเกิดความกังวลใจว่า ต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ ทรงวินิจฉัยว่า เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ และตัวอย่างอีกเรื่อง คือ เรื่อง พยากรณ์มรรคผล ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดว่า กระผมก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น ต่อมาเกิดความกังวลใจว่า ต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ ทรงวินิจฉัยว่า เธอต้องอาบัติปาราชิก ๒) สารัตถะแห่งจตุตตถปาราชิก บทบัญญัติในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ นี้ ได้แสดงถึงเจตนารมณ์ในการที่จะมุ่งประโยชน์เพื่อสังคมคือ การที่ทรงห้ามมิให้พระสงฆ์อวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง อุตริมนุสสธรรมก็คือคุณวิเศษต่าง ๆ เช่น ฌาน สมาบัติ มรรคผล เป็นต้นที่ไม่มีจริง คือ การหลอกคนอื่น ถือว่าเป็นอาบัติร้ายแรงที่สุดคือปาราชิก ขาดจากความเป็นพระทันที แต่ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นการหลอกลวง คือมีคุณวิเศษนั้นจริง ๆ แต่ถ้าพูดเพื่อต้องการอวดกับอนุปสัมบัน คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นพระภิกษุหรือภิกษุณีด้วยกันแล้ว ท่านก็ปรับโทษ แต่เบาลงมาได้แก่อาบัติปาจิตตีย์ เหตุผลที่ทรงห้ามนั้นดูได้จากเหตุเกิดขึ้นก่อนที่จะทรงบัญญัติสิกขาบทเหล่านี้ ซึ่งการอวดเพื่อให้คนอื่นเห็นว่าตนเองมีคุณวิเศษเหนือกว่าคนอื่น เพื่อต้องการลาภ สักการะนั้น ถือว่าเป็นการไม่สมควร นอกจากที่ทรงห้ามเพื่อมิให้พระสงฆ์ต้องการลาภสักการะแล้ว แต่พิจารณาลงไปถึงเจตนารมณ์ที่ลึกซึ้งได้ว่า การที่ทรงห้ามนั้นก็เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนไปตื่นเต้นหลงใหลกับสิ่งที่คิดว่าสูงส่งเกินวิสัยของตน แล้วหันไปพึ่งพิงหรือฝากความหวังไว้กับบุคคลอื่น สิ่งอื่นจนละเลยหรือทอดทิ้งความเพียรพยายามที่จะทำตามเหตุผลที่เป็นวิสัยของตน หรือเป็นคนที่หวังพึ่งบุคคลอื่นจนไม่คิดที่จะสร้างตนเองให้เป็นที่พึ่งของตน เป็นต้น ซึ่งเจตนารมณ์ที่คำนึงถึงสงฆ์ ตามหลักการของพระพุทธศาสนานั้น การดำรงอยู่แห่งธรรมวินัยเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกนั้น ขึ้นอยู่กับสงฆ์เป็นการส่วนรวม มิได้ขึ้นอยู่กับสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงฝากพระศาสนาไว้กับคณะสงฆ์โดยส่วนรวม มิได้ฝากไว้กับรูปใดรูปหนึ่ง และทรงมุ่งหมายให้ประชาชนทำนุบำรุงพระสงฆ์ในฐานะที่พระสงฆ์เป็นสงฆ์ หรือเป็นภิกษุรูปหนึ่งที่เป็นตัวแทนของสงฆ์ การอวดคุณวิเศษของพระภิกษุ ย่อมทำให้ประชาชนรวมจุดความสนใจไปที่ภิกษุนั้น และหันไปทุ่มเทความอุปถัมภ์บำรุงให้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการเด่นดังเฉพาะรูป เฉพาะบุคคล ซึ่งไม่ส่งผลต่อคณะสงฆ์โดยส่วนรวมเลย แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าความดีงามความสามารถของภิกษุรูปนั้น แสดงออกในฐานะบุคคลผู้มีชื่อนี้โดยเฉพาะ เป็นพวกกลุ่มนั้นกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ภิกษุนั้นจะเจริญเติบโตขึ้น แต่เป็นการเจริญเติบโตส่วนตัวหรือเฉพาะกลุ่มของตัวที่บั่นรอนให้สงฆ์ส่วนใหญ่อ่อนแอลง เพราะจะเกิดการเปรียบเทียบว่า พระสงฆ์รูปนั้นรูปนี้มีความสามารถพิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ จึงทุ่มเทการอุปถัมภ์บำรุงให้เฉพาะบุคคล ในขณะที่สงฆ์ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ในที่สุดคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ก็อยู่ไม่ได้ มีตัวอย่างพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล เมื่อความดีเด่นและความสามารถพิเศษของท่านปรากฏเป็นที่รู้ขึ้น และในเมื่อความสนใจต่อตัวท่านเปลี่ยนจากความสนใจในฐานะภิกษุรูปหนึ่ง กลายไปเป็นความผูกพันในตัวบุคคล พร้อมกับมีลาภผลติดตามมา ตัวท่านกลายเป็นที่รวมความสนใจแทนสงฆ์ หรือเป็นเหตุให้ความสนใจต่อภิกษุส่วนมากและความสำคัญของสงฆ์ลดลง ท่านก็หลีกออกไปเสียจากที่นั้น ผลเสียของการอวดอุตริมนุสสธรรมที่มีจริง การบอกอุตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่ชาวบ้าน ก็มีผลเสียหลายประการ เช่น ๑) ประชาชนเกิดความตื่นเต้น ระดมความสนใจมาที่บุคคลคนเดียว บางคนไม่รู้ไม่เข้าใจก็จะเกิดดูถูกดูแคลนสงฆ์กลุ่มอื่น ผิดบ้าง ถูกบ้าง ส่งผลเสียต่อคณะสงฆ์และพระศาสนาโดยส่วนรวม ๒) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าใจผิดว่าบรรลุแล้วอวดได้ ที่สำคัญที่สุดคือผู้ที่มีไม่มีความละอายก็จะถือโอกาสอวดด้วย ประชาชนก็ไม่รู้ว่าอันไหนแท้ อันไหนเทียม เกิดความสับสนปนเปกันวุ่นวาย ๓) ชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธาต่างๆ กันออกไป และผู้ที่บรรลุธรรมวิเศษก็มีบุคลิกลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป บางองค์บรรลุธรรมแล้ว สอนไม่ได้ เหมือนกับพระปัจเจกพุทธเจ้าก็มี หรือบางองค์ไม่ได้เป็นผู้บรรลุธรรม แต่พูดเก่ง สามารถเล่าได้เหมือนกับว่าตนเองได้บรรลุแล้ว หรือบางองค์บุคลิกลักษณะไม่ค่อยน่าเลื่อมใส แต่กลับบรรลุธรรมก็มี เหมือนอย่างพระลกุณฏกภัททิยะ ผู้มีรูปร่างเตี้ยค่อม จนถูกพระหนุ่มเณรน้อยล้อเลียนอยู่เสมอ พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงช่วยอนุเคราะห์ ในกรณีอย่างนี้ เมื่อท่านบรรลุจริง แต่เมื่ออวดแล้วกลับจะทำให้คนไม่เชื่อ หรือถ้าเชื่อเข้าก็จะทำให้คลายความเลื่อมใสในพระศาสนาลงไป ส่วนคนที่ไม่ได้จริง แต่พูดคล่อง หลอกเก่ง ลักษณะดี กลับจะนำฝูงชนไปสู่ทางผิดได้เป็นอันมาก ๔) เมื่อท่านที่บรรลุจริง สอนเก่ง อวดแล้วสอนบ้าง ท่านที่บรรลุจริง สอนไม่เป็น แล้วพูดออกมาบ้าง ท่านที่ไม่รู้จริงสำคัญตนผิดคิดว่าบรรลุแล้วเที่ยวบอกเล่าไว้บ้าง ท่านที่ไม่บรรลุแต่ชอบพูดหลอกลวงเขาไปบ้าง ต่อไปหลักพระศาสนาก็จะสับสนปนเปฟั่นเฟือน ไม่รู้ว่าอันใดแท้อันใดเทียม เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า การอวดอุตริมนุสสธรรมนั้น ก่อให้เกิดกับผลเสียต่อส่วนรวม คือ คณะสงฆ์และพระศาสนาเป็นอันมาก เพราะฉะนั้นพระองค์จึงทรงห้ามอวด เพราะการที่จะยืนยันถึงคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นไม่จำเป็นต้องอวดอุตริมนุสสธรรม และผู้ที่บรรลุอริยผลแล้วนั้น ท่านจะไม่อวด การที่จะยืนยันถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าในฐานะเป็นพุทธสาวก ก็คือ การมุ่งปฏิบัติตามคำสอนขององค์พระบรมศาสดาอย่างซื่อตรง แล้วจะได้ประสบผลได้ด้วยตนเอง และเมื่อจะถ่ายทอดสั่งสอนธรรม ก็ให้ถ่ายทอดสั่งสอนให้ตรงกับคำสอนของพระศาสดา หรือสอนตัวพระพุทธศาสนาแท้ๆ จึงจะทำให้การดำรงเอกภาพแห่งคำสอนและเอกภาพแห่งพระพุทธศาสนาไว้ได้


    http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%98_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3_-_%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99_-_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81



    ดังนั้น ถ้าใคร นับถือ ศาสนาพุทธ ยังนับถือ พระพุทธเจ้า อยู่

    อย่าได้ไปคิด บััญญัติ สิกขาบท กฏ เพิ่มเข้ามาเองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พุทธพจน์ เรื่องไม่ควรดูถูกดูหมิ่นของ ๔


    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นของ ๔ อย่างว่าเป็นของเล็กน้อย คือ
    (1) อย่าดูถูก ดูหมิ่นกษัตริย์ว่ายังทรงพระเยาว์
    (2) อย่าดูถูก ดูหมิ่นงูว่าตัวเล็ก
    (3) อย่าดูถูก ดูหมิ่นไฟว่าเล็กน้อย
    (4) อย่าดูถูก ดูหมิ่นภิกษุว่ายังหนุ่มอยู่

    ของ ๔ อย่างนี้ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อยไม่สำคัญเพราะ
    (1) พระมหากษัตริย์แม้ยังทรงพระเยาว์ แต่ก็มีพระราชอำนาจมาก ลงพระราชอาญาอย่างหนักได้
    (2) งูพิษแม้ตัวเล็ก ก็กัดคนให้ตายได้
    (3) ไฟเพียงเล็กน้อย ก็อาจเผาบ้านเรือนผลาญชีวิตคนได้
    (4) พระภิกษุแม้ยังหนุ่มน้อย แต่เป็นผู้มีศีล ผู้ใดประทุษร้ายต่อภิกษุผู้มีศีล ผลแห่งกรรมชั่วย่อมแผดเผาผู้นั้น

    สุดท้ายครูบาอาจารย์ท่านว่า
    - อย่าดูถูก ดูหมิ่นว่าศีลแม้แต่ข้อเล็กข้อน้อย
    - อย่าดูถูก ดูหมิ่นดูหมิ่นกิเลสแม้แต่จุดเล็กๆน้อยๆ
    เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การเสื่อมของคุณธรรมและความดีที่สู้รักษามา


    พุทธพจน์ เรื่องไม่ควรดูถูกดูหมิ่นของ ๔ อย่างว่าเป็นของเล็กน้อย|Buddha said that Never underestimate four things as the trivial.



    (4) พระภิกษุแม้ยังหนุ่มน้อย แต่เป็นผู้มีศีล ผู้ใดประทุษร้ายต่อภิกษุผู้มีศีล ผลแห่งกรรมชั่วย่อมแผดเผาผู้นั้น
     
  20. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    เห็นเขาเอาไปตรวจสอบ เป็นแค่กาก พลอย เศษแก้วหาซื้อได้ตลาด ไม่ต้องไปถึงวัดหลอก ไปหาแถวสำเพง พระธาตุที่ไหว้กันอยู่หาซื้อได้ง่ายๆ ไม่กี่บาท เฮะ ๆ ใครโกหกผมครั้งเดียวความเชื่อถือก็จบแล้ว มันหมดความรู้สึกน่าเชื่อถือ ผมมองว่าใครสอนดีมากกว่าเสกของได้ แต่หากเห็นกับตาว่าลอยตัวได้ เออ พอหน้าไหว้หน่อย เห็นโม้ทั้งนั้น เก่งอย่างนั้นเก่งอย่างนี้ เสกนั้นขายดี ปลุกเสกไม่มีจน เฮะ ๆ เห็นจนอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้ช่วยอะไรเลย

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=BHPj5OMg44A&feature=related"]?????????????????????????? ???????????????? ??????????????????? - YouTube[/ame]
     

แชร์หน้านี้

Loading...