สัมมาสมาธิ แตกต่างกับ สมาธิทั่วไปอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 6 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การรู้โทสะ รู้โมหะ รู้โลภะ นั้นยังไม่ใช่ปัญญา
    ปัญญาต้องรู้ได้ นี้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ
    จึงรู้ได้ว่ามันไม่เที่ยง เป็นอนัตตาอย่างไร
    จึงจะเป็นวิปัสสนาญาณ

    รู้ว่านามและรูปเป็นอนัตตาก็ดี จะได้คลายความยึดมั่นถือมั่น สลัดคืนกิเลส..
    แต่การทราบว่า รูปนามมีการเชื่อมต่อกันทำงานอย่างไร ย่อมเข้าใจในอริสัจจสี่
    เห็นทุกข์(การเกิด) เหตุแห่งทุกข์(กิเลส) ความดับทุกข์(นิโรธ)และหนทางดับทุกข์(มรรค)
    การทราบหนทางดับทุกข์ (อริยมรรคองค์แปด สติปัฏฐานสี่) ย่อมเป็นจุดหมายของการปฏิบัติ

    วิปัสสนาญาณ 16

    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ หรือ สังขารปริเฉท ญาณหรือความรู้ความเข้าใจในรูปและนาม คือแยกออกด้วยความเข้าใจว่าสิ่งใดเป็นรูปธรรม อันสัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้ง๕ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย สิ่งใดเป็นนามธรรม อันเพียงสัมผัสได้ด้วยใจอย่างถูกต้อง เหล่านี้เป็นความเข้าใจขั้นพื้นฐานในการพิจารณาธรรมให้เข้าใจยิ่งๆขึ้นไป (เป็นการเห็นด้วยปัญญาว่า สักแต่ว่า นาม กับ รูป ไม่มีตัวตนแท้จริง) - เรียกง่ายๆว่าเห็น นาม รูป
    ๒. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หรือ สัมมาทัสสนะ ญาณที่เข้าใจในเหตุปัจจัย คือรู้เข้าใจว่านามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย พระอรรถกถาจารย์ในภายหลังๆเรียกว่าเป็น "จูฬโสดาบัน" คือพระโสดาบันน้อย ที่ถือว่าเป็นผู้มีคติหรือความก้าวหน้าอย่างแน่นอนในพระศาสนา (เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งหลายสักแต่ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัย) - เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้น
    ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณา พิจารณาเห็นการเกิด การตั้งอยู่อย่างแปรปรวน การดับไป คือเห็นด้วยปัญญา(ปัญญาจักขุ)ใน ความไม่เที่ยง,แปรปรวนและดับไปทั้งหลายตามแนวทางพระไตรลักษณ์นั่นเอง (เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งหลายสักแต่ว่า ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่เป็นแก่นแกนแท้จริง) - เห็นพระไตรลักษณ์
    ๔. อุทยัพพยญาณ (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเห็นการเกิดดับของขันธ์ ๕ หรือเบญจขันธ์ หรือการเห็นการเกิดดับของรูปและนามนั่นเอง คือพิจารณาจนเห็นตามความเป็นจริงในการการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ ๕ จนเห็นได้ด้วยปัญญา(ปัญญาจักขุ)ในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรมคือในขณะที่เกิดและค่อยๆดับสลายลงไป (เห็นและเข้าใจสภาวะธรรมดังกล่าวในแง่ปรมัตถ์ เช่นเห็นสังขารขันธ์ความคิดที่ผุดว่าเพราะสังขารนี้จึงเป็นทุกข์ ไม่ใช่รายละเอียดปลีกย่อยของความคิดนั้นๆ และไม่ปรุงแต่งต่อในสิ่งที่เห็นนั้นๆด้วยถ้อยคิดใดๆ ดังการปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น) - เห็นการเกิดดับของรูปและนาม หรือกระบวนธรรมของขันธ์๕ ทางปัญญา
    ๕. ภังคานุปัสสนาญาณ (ภังคานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเห็นการแตกดับ เมื่อเห็นการเกิดดับบ่อยๆ ถี่ขึ้น ชัดเจนขึ้น ก็จักเริ่มคำนึงเด่นชัดขึ้นด้วยปัญญา ในความดับไป มองเห็นเด่นชัดขึ้นที่จิตที่หมายถึงปัญญานั่นเอง ถึงการต้องดับสลายไปของนาม รูป หรือของขันธ์ต่างๆ การดับไปจะเห็นได้ชัด ถ้าอุเบกขา ที่หมายถึง การเป็นกลางวางทีเฉย รู้สึกอย่างไรไม่เป็นไร แต่ไม่เอนเอียงแทรกแซงด้วยถ้อยคิดปรุงแต่งใดๆ ก็จะเห็นการดับไปด้วยตนเองชัดแจ้งเป็นลำดับ โดยปัจจัตตัง - เห็นการดับ
    ๖. ภยญาณ(ภยตูปัฏฐานญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันมองเห็นสังขารหรือนามรูปว่า เป็นของที่มีภัย เพราะความที่ไปเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารหรือนามรูปต่างล้วนไม่เที่ยง ต้องแปรปรวน แตกสลาย ดับไป ไม่มีแก่นแกนตัวตนอย่างแท้จริง ถ้าไปยึดไปอยากย่อมก่อทุกข์โทษภัย เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด - เห็นสังขารเป็นของมีภัย ต้องแตกดับเป็นธรรมดา จึงคลายความอยากความยึดในสังขารต่างๆ
    ๗. อาทีนวญาณ (อาทีนวานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณคำนึงเห็นโทษ เมื่อเห็นสิ่งต่างล้วนต้องดับแตกสลายไปล้วนสิ้น จึงคำนึงเห็นโทษ ที่จักเกิดขึ้น ว่าจักเกิดทุกข์โทษภัยขึ้น จากการแตกสลายดับไปของสังขารหรือนามรูปต่างๆถ้าไปอยากหรือยึดไว้ เกิดสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในภพในชาติอันเป็นทุกข์อันเป็นโทษ - เห็นโทษ
    ๘. นิพพิทาญาณ (นิพพิทานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันคำนึงถึงด้วยความหน่าย จากการไปรู้ตามความเป็นจริงของสังขารหรือขันธ์๕ ว่าล้วนไม่เที่ยง แปรปรวน และแตกดับไปเป็นที่สุด ไม่สามารถควบคุมบังคับได้ตามปรารถนาเป็นที่สุด จึงเกิดความหน่ายต่อสังขารต่างๆเพราะปัญญาที่ไปรู้ตามความเป็นจริงอย่างที่สุดนี่เอง - ความหน่ายคลายความยึดความอยากหรือเหล่าตัณหาทั้งปวงจากการไปรู้ความจริง
    ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ (มุจจิตุกัมยตาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณหยั่งรู้ มีความหยั่งรู้ว่าต้องการพ้นไปเสียจากสังขารชนิดก่อทุกข์ คือ ปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารหรือขันธ์๕ที่ก่อให้เกิดทุกข์ (หมายถึงอุปาทานขันธ์๕) - ปรารถนาพ้นไปจากทุกข์
    ๑๐. ปฏิสังขาญาณ (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทางหลุดพ้นไปเสียจากภัยเหล่านั้น ดังเช่น โยนิโสมนสิการหรือปัญญาหยิบยกสังขารหรือขันธ์๕(นามรูป)ขึ้นมาพิจารณาโดยพระไตรลักษณ์ เพื่อหาอุบายที่จะปลดเปลื้องหรือปล่อยวางในสังขารหรือขันธ์๕เหล่านี้ เพื่อให้หลุดพ้นจากภัยเหล่านั้น - ทบทวนพิจารณา
    ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ (สังขารุเปกขาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลาง(อุเบกขา)ต่อสังขาร เมื่อรู้เข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงด้วยปัญญา เช่น สังขารอย่างปรมัตถ์แล้ว ก็วางใจเป็นกลางต่อสังขาร และกายสังขารได้ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ติดใจในสังขารทั้งหลาย จึงโน้มน้อมที่จะมุ่งสู่ความหลุดพ้นหรือพระนิพพาน - วางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งปวง
    ๑๒. อนุโลมญาณ (สัจจานุโลมิกญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเป็นไปโดยการหยั่งรู้อริยสัจ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลายแล้ว ญาณอันคล้อยตามอริยสัจย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ
    ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร หรือญาณอันเกิดแต่ปัญญาที่เป็นหัวต่อระหว่างภาวะปุถุชนและภาวะอริยบุคคล
    ๑๔. มรรคญาณ ญาณอันสำเร็จให้เป็นอริยบุคคลต่อไป
    ๑๕. ผลญาณ เมื่อมรรคญาณเกิดขึ้นแล้ว ผลญาณก็เกิดขึ้นเป็นลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้นๆในชั่วมรรคจิต ตามลำดับแต่ละขั้นของอริยบุคคล
    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่เกิดขึ้นเพื่อพิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และพิจารณานิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) เป็นอันจบกระบวนการบรรลุมรรคผลในขั้นหนึ่งๆคืออริยบุคคลขั้นหนึ่งๆ หรือถึงพระนิพพาน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2012
  2. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    น่าน! ได้ช่อง เอาซะเยอะเลย :cool:
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
      [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน
    ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการ
    อย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายใน
    บ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอ
    ที่ตั้งมั่น อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เอ็งอย่าเฉไฉ ในเมื่อกล้าพูดต้องกล้ารับ ไม่เกี่ยวกับว่าได้ช่องหรือไม่
     
  5. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อนุโมทนาเต้าเจี้ยว

    ตรง ๒ ญาณ แรก ที่กล่าวถึง จูฬโสดานั้น เพราะ

    กำหนดรู้รูปนาม รู้ความเป็นปัจจัยนั้น มันคลายสักกายทิฏฐิ และความเห็นผิดได้

    เป็นผู้มีทิฏฐิถูกต้อง เรื่องโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ดับสสัตทิฏฐิ และ อุเฉททิฏฐิ
     
  6. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    น่าน ขอเวลาเล่นตัวหน่อยก็ไม่ได้ ^^
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    การรู้โทสะ รู้โมหะ รู้โลภะ นั้นยังไม่ใช่ปัญญา[/U]

    ตรงนี้ก็ยอมรับมาพิจารณาอยู่

    แต่ว่า

    หากรู้ว่า มีโทสะ มีโลภะ มีโมหะ ได้บ่อยๆล่ะ
    เช่น วันนึงๆ จากไม่เห็นเห็นพวกนี้ แต่กลับเห็นได้มากขึ้น
    เห็นได้ถี่ขึ้นมันจะเรียกว่าอะไร

    เรียกว่าเห็นความเปลี่ยนแปลง ความไม่เที่ยงได้ไหม

    และความเห็นในความไม่เที่ยงเหล่านี้ จัดเป็น วิปัสนาภูมิได้หรือเปล่า

    และ โลภะ โทสะ โมหะ มันเกิดที่ไหน ใช่ที่จิตหรือเปล่า
    เห็นที่จิต ใช่เห็นถึงธาตุอย่างหนึ่งหรือเปล่า
    แล้วจะเรียกว่า ปัญญารู้ถึงธาตุได้ไหมทีนี้
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    หมดปัญญาแก้ต่างหรือ ถ้าไม่ยอมรับ ข้าจะได้รู้ไว้ว่า เอ็งมันกล้าพูดแต่ไม่กล้ารับ
    คนอื่นเขาจะได้ไม่เอาเยี่ยงอย่าง
    แต่ถ้ากล้ารับ ให้พิมพ์ขอขมาในนี้ ชัดๆ
     
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ธรรมต่างๆ ถ้าเดินมาถูกล้วนลงให้กัน
    ถูกกันคนละด้าน ก็เอามารวมกันให้ครอบคลุมก็เข้าใจได้รอบด้าน
     
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เป็นปัญญาซิ
    ขออภัยนะ ยกมาโดยไม่ได้อ้างอิงที่มา
    แต่ทำสีไว้แค่นั้น
     
  11. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    มีคำถาม คำว่า รู้ชัดว่าเราเดิน

    คำว่า เธอตั้งกายใว้ด้วยอาการใดๆ ก็รู้ชัดอาการนั้นๆ

    คำว่า ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายใน

    คำว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง


    ลุงอธิบายหน่อยสิ
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG]

    ป...ะ...ปะ...ป๊ะป๋า มาเองหรอเนี่ย

    นิวรณ์(5) ถอยปายเรยยยย ลูกสาว ป๊ะป๋ามาแว้ววววววววว

    ลูกสาวพระยามาราธิราช
    [​IMG]
    มี 3 คน คือ

    1.นางตัณหา(ความอยาก คือ อยากเป็น อยากไม่เป็น)

    2.นางอรตี(ความไม่พอใจ-ความโกรธ)

    3.นางราคะ(ความใคร่-ความรัก-ความโลภ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2012
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ไม่มีอธิบายอะไร เอ็งอย่ามาทำเป็นเด็กอ่านหนังสือไม่ออกตอนนี้

    มีสองสถานให้เอ็งคือ ยอมรับว่ากล่าวผิด กับยอมรับว่าไม่รับผิดชอบคำพูดตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2012
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    รู้แล้วไม่ลงมือ ก็เป็นโลกีย์ปัญญา
    ข้ามโคตรแล้วก็เป็นโลกุตตรปัญญา
     
  15. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    [๗๒๗] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ฯ


    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดิน โดยความเป็นของ
    ไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็น
    ทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด
    ไม่กำจัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดย
    ความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์

    ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญา
    ได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัด
    ได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณา
    เห็นกายโดยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการ

    พิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ

    """"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

    นี้ตอบ คำที่ว่า พิจารณากายในกาย หมายถึงอะไร

    ทรงชี้ลง ปรมัตถ์ธรรม

    ทีนี้ลุงขันธ์สัญญาใจกับนายหลงอยู่นะ อย่าลืม ^^
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ให้เอ็ง ยอมรับ 2-3 ครั้งเอ็งไม่กล่าวในสิ่งที่เอ็งพูดมา กลับยกเรื่องอื่นมาก็เท่ากับว่า ไม่มีการยอมรับเกิดขึ้น
    และไม่สามารถแย้งการกระทำของตนได้
    ข้าก็จะถือว่า เอ็งหมดสภาพ เป็นโมฆะบุรุษ ที่ไม่มีแม้กระทั่ง สปิริต ที่จะยอมรับความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย
     
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คนกระจอก ไม่กล้ารับผิด ข้าไม่ขอสนทนาด้วย

    ขอตัว
     
  18. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อิริยาบถบรรพ

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางแห่งลมอัสสาสปัสสาสะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางแห่งอิริยาบถ จึงตรัสว่า ปุน จปรํ อีกอย่างหนึ่งดังนี้เป็นต้น.

    ในอิริยาบถนั้น พึงทราบความว่า แม้สัตว์ดิรัจฉาน เช่นสุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น เมื่อเดินไปก็รู้ว่าตัวเดิน ก็จริงอยู่ แต่ในอิริยาบถนั้น มิได้ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น เพราะความรู้เช่นนั้น ละความเห็นว่าสัตว์ไม่ได้ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ไม่ได้ ไม่เป็นกัมมัฏฐาน หรือสติปัฏฐานภาวนาเลย.

    ส่วนการรู้ของภิกษุ (ผู้เจริญกายานุปัสสนา) นี้ ย่อมละความเห็นว่าสัตว์ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ได้ เป็นทั้งกัมมัฏฐาน และเป็นสติปัฏฐานภาวนา และคำที่ตรัสหมายถึง ความรู้ชัดอย่างนี้ว่า ใครเดิน การเดินของใคร เดินได้เพราะอะไร.

    แม้ในอิริยาบถอื่น มีการยืนเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
    จะวินิจฉัยในปัญหาเหล่านั้น คำว่า ใครเดิน ความว่า ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ เดิน.
    คำว่า การเดินของใคร ความว่า ไม่ใช่การเดินของสัตว์ หรือบุคคลไรๆ เดิน.
    คำว่า เดินได้เพราะอะไร ความว่า เดินได้เพราะการแผ่ไปของวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต.

    เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ คือจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ก็ทำให้เกิดวิญญัติ ความเคลื่อนไหว การนำสกลกายให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่าเดิน.
     
  19. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    โอ้โห วัยรุ่นใจร้อนน่าดู

    ใจเย็ลสิเจ็ดประหลาดกังหน้ำ

    นี่ก็ยกมาแสดงให้อยู่ ว่าหมายถึงอะไร

    มันไม่ใช่ไปรู้รูปนั่ง รูปเดินแค่นั้น อย่างที่เข้าใจหรอก ^^
     
  20. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    โอ้โห วัยรุ่นใจร้อนน่าดู :cool:

    ใจเย็ลสิเจ็ดประหลาดกังหน้ำ

    นี่ก็ยกมาแสดงให้อยู่ ว่าหมายถึงอะไร

    มันไม่ใช่ไปรู้รูปนั่ง รูปเดินแค่นั้น อย่างที่เข้าใจหรอก ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...