กาลามสูตร ของแต่ละท่านเป็นแบบไหน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ต้นปลาย, 23 มกราคม 2012.

  1. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    หลักกาลามสูตร ของแต่ละท่าน เป็นแบบไหน
    และ ท่านเข้าใจกาลามสูตร มากน้อยแค่ไหน
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    คุณเจ้าของกระทู้ เชื่อพระพุทธเจ้า หรือเปล่าหละฮับ
     
  3. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    เชื่อ แต่ความเชื่อและเข้าข้างตัวเอง ของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ฮี้ ฮี้ ฮี้ ฮี้

    แล้ว ปะป๋า จะประกาศ "ความไม่เท่ากันนั้น" หรือ
    จะประกาศว่า "ความเสมอกัน" มีอยู่ สมดุลมีอยู่

    สันติมีอยู่ ละฮับ
     
  5. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ช่วยทำสันติ ให้ดูหน่อย
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    อ้าว ปะป๋า อยู่ดีๆจะ "อาศัยเชื่อ" เฉยเลย
     
  7. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    นิวรณ์ เชื่อพระพุทธเจ้า หรือเปล่าหละฮับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ต้องเข้าใจเรื่องความเชื่อและความรู้จริง ก่อนว่ามันไม่เหมือนกัน
    ก็จะเข้าใจเรื่องกาลามสูตรได้ ว่าเจตนาของคำสอนเพื่ออะไร
    ความเชื่อ ก็อย่างหนึ่ง (อย่าเชื่อ10อย่าง ตามหลักกาลามสูตร)
    ความรู้จริง ก็อย่างหนึ่ง เป็นผลจากการพิสูจน์ความเชื่อผ่านการกระทำ
    (การพิสูจน์ความเชื่อด้วยการทดลอง)

    ตราบใดที่รู้ตัวว่านั้นเป็นเพียงความเชื่อของเรายังไม่ใช่ความจริง/ความรู้จริงของเรา
    เมื่อเรารู้ชัดว่าเป็นเพียงความเชื่อ เราย่อมตระหนักว่ามันยังไม่ใช่ความจริงของเรา
    ไม่ใช่ความรู้จริงของเรา เราก็จะคลายออกไม่ยึดมั่นถือมั่นเอาความเชื่อนั้นเป็นสรณะ
    เพราะรู้ว่าความเชื่อในทิฏฐิเรามันยังเปลี่ยนแปลงได้กลับกลอกได้วันไหนที่
    รู้ความจริงในเรื่องนั้น ก็จะรู้ว่าความเชื่อกับความรู้จริงมันต่างกันก็ได้ หรือเหมือนกันก็ได้
    เพราะทิฏฐิ มุมมองตอนที่ไม่รู้ กับตอนที่รู้ มันไม่เหมือนกัน ตอนที่รู้จริงมันไม่ต้องใช้ทิฏฐิหรือจินตนาการ
    เพราะมันรู้จริงได้ด้วยประสบการณ์จริงของตนเอง
    คนที่รู้จริงในเรื่องเดียวกันก็จะรู้เหมือนๆกันไม่ได้รู้ผ่านทิฏฐิ
    แต่รู้ด้วยประสบการณ์ที่เป็นจริง

    พยายามอธิบายที่ตนเองเข้าใจมา แต่ไม่รู้คนอื่นจะเข้าใจไหม

    บทความประกอบความรู้ความเข้าใจ
    อย่าเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร)
    กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร

    1.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)

    2.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)

    3.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)

    4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)

    5.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)

    6.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)

    7.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)

    8.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)

    9.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)

    10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

    ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

    สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ

    ตัวอย่าง

    1.อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ทั้งหลาย

    2.อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" ตามกระแส

    3.อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย

    4.อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก

    5.อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา

    6.อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย

    7.อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต

    8.อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก

    9.อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
    10.อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้

    ที่มา : :: Buddha 4 u ::
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2012
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    แต่ความเชื่อก็มีประโยชน์ คือเป็นแนวทางให้เราใช้พิสูจน์
    ให้เราเดินตามเพื่อพิสูจน์ความจริง เพื่อจะได้เกิดเป็นประสบการณ์จริงในตัวเรา
    เพราะกว่าจะเป็นความเชื่อสากลนิยมได้ แปลว่าความเชื่อนั้นผ่านเหตุการณ์ผ่านกาลเวลา
    ผ่านการพิสูจน์จากคนอื่นๆมามาก มีคนพิสูจน์ผ่านมาแล้วก็บอกต่อๆกันมา
    ครูบาอาจารย์รู้แจ้งเห็นจริงแล้วสอนต่อๆกันมา เป็นแต่เราภูมิรู้ไม่ถึง ยังไม่มีประสบการณ์
    จึงไม่รู้จริง ได้เป็นเพียงชั้นของความเชื่อเท่านั้น เราจึงไม่ปฏิเสธความเชื่อ แต่รู้ว่าต้อง
    เปลี่ยนความเชื่อนั้นให้เป็นความรู้จริงด้วยวิธีการตามที่ผู้รู้สอนต่อๆกันมา แนะนำกันมา
    และรู้ว่า ถ้าเป็นเพียงความเชื่อประโยชน์ที่เกิดต่อเราเองยังไม่มีจริง ไม่ได้มีผลที่เป็นจริงสำหรับเรา
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ถ้า "เชื่อเอา" ก็ตอบว่า "ไม่"

    แต่ถ้า "เชื่อไหม" ถ้าตอบว่า "ไม่" ก็โง่เต็มทนสิฮับ

    ฮี้ ฮี้ ฮี้ ตกลง งง ไหม
     
  11. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    เชื่อเลย นี่เขลา
    ไม่เชื่อ นี่โง่
    ไม่เชื่อและ ลงมือทำ นี่ใช้ได้
    ลงมือทำแล้วเชื่อ เขาเรียกได้ปัญญา เห็นทุกข์


    อนุโมทนา คุณ K
    ลงมือ
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    กั๊กๆ

    ป๊ะป๋า ลงมือทำ แล้วยัง วิ่งกลับไป เชื่อ อีกหรือฮับ

    หลังลงมือทำแล้วนะนั่น ยังต้อง อาศัย การเชื่อ อีกหรือฮับ

    เอ หรือ ว่า ป๊ะป๋า ตอนก่อนลงมือทำนี่กลับไม่เชื่อ ถ้าเชื่อ
    ป่านนี้สำเร็จไปแล้ว

    ฮี้ ฮี้ ฮี้ ฮี้ ตกลง งง ไหมฮับ

    ถ้า งง ส่งมาเลย ที่ว่า 2 หนะ(f)<!-- google_ad_section_end -->
     
  13. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    เชื่อ เพราะลงมือแล้วเห็น มันเลิกเพ้อเจ้อไปเอง
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เลิกเพ้อ เพราะเกรงว่า จะชื่อว่าไม่รู้ ก็ไม่ได้ใช่ไหมฮับ ป๋า

    เลิกเพ้อ เพราะเกรงว่า จะถูกคนปองร้าย ก็ไม่ได้ใช่ไหมฮับ ป๋า

    เลิกเพ้อ เพราะเกรงว่า จะถูกคนอ้างอิงภายหลังให้เสียหาย ก็ไม่ได้
    ใช่ไหมฮับ ป๋า

    ตอนฟังธรรม หากไม่เชื่อ ความเลื่อมใสไม่เกิด การปฏิบัติจะเกิดไหม ฮับ ป๋า

    ตอนฟังธรรม หากเกรงนู้นนั่นนี่ เลยเชื่อ ปฏิบัติเท่าไหร่ก็ไร้ผลใช่ไหมฮับป๋า

    ฮี้ ฮี้ ฮี้ ฮี้
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ขออนุญาติ สรุป นิดหน่อย

    "กาลามสูตร" นั้น จริงๆ แล้วชื่อ "เกสปุตตสูตร"

    สันนิฐานว่า เพื่อเอามาแสดงเชิงแก่งแย่ง เป็น ธรรมเทศนาเชิงแก่งแย่ง และ
    ความที่คำว่า กาลามะ มันคล้องจองกับคำว่า กะลา( แสลงไทย ที่แปลว่า โง่)
    ก็เลยทำให้เกิดการบิดเบือน ชื่อพระสูตร เป็นการกร่อน สัทธรรม แต่ต้น

    เป้าหมายคือ เอาไปพูดเรื่อง ใช้เชื่อ หรือ ไม่ใช่เชื้อ พูดง่ายๆ คือ เอามา
    เป็นเครื่องมือ ห้ามไม่ให้ไปเชื่อ ซึ่งเป็น ธรรมเชิงแก่งแย่ง

    แท้จริงแล้ว พระพุทธองค์ตรัสประกอบแต่เพียงว่า ให้พิจารณา คุณ และ โทษ
    ก่อน คือ ให้ฟังนั่นแหละ แต่ฟังแล้ว ให้พิจารณาว่ามันเป็น คุณ หรือ เป็น
    โทษ หากสมาทานมา ถ้าเป็นโทษ ก็พึงละเสีย แต่ถ้าเป็น คุณ ก็พึงรับไว้

    เมื่อพิจารณาสิ่งที่ฟัง ด้วยหลักคุณและโทษ ก็จะทำให้ทราบว่า คำสอนที่ได้รับ
    มานั้น ทำไมทำให้เกิดความสับสน คลางแคลง( อันนี้ เหตุของการตรัสพระสูตร)
    ต่อๆกันมานั้น มันมีเหตุเกิดมาจากอะไร

    มันก็มีเหตุเกิดมาจาก วิตก3 กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก

    ทำให้ พรหมณ์ที่ผ่านเมืองกาลามโคตรนั้น ต่างก็ยกคำตนว่าเลิศกว่า คณะที่
    ผ่านไปตะกี้ๆ เหตุเพราะ กาม พยาบาท และ วิหิงสา เป็นมูล เลยทำให้
    เกิดความคลางแคลงสับสน

    แล้วพระพุทธองค์ ก็สรุปปิดท้ายพระสูตรว่า สมณะคณะของพระพุทธองค์ปราศ
    จาก วิตก3 ดังกล่าว จึงมีความอุ่นใจ 4 ประการ คือ ปราศจากโลภะ(กามวิตก)
    ปราศจากโทษะ(พยาบาทวิตก) ปราศจากการเบียดเบียน(วิหิงสาวิตก) มี ความ
    ผ่องใส (น่าเลื่อมใส อัน ควรฟัง ควรสดับ ควรทำให้แยบคาย )

    * * **

    ก็จะเห็นว่า หากพระสตรนี้ ถุกใช้ในชื่อ กาลามสูตร ช่วงเนื้อหา
    หลักของพระสูตรจะอันตรธานทันที ไม่ถูกยกกล่าวเป็นแน่แท้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2012
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ทีนี้ ลองกลับไป พิจารณาที่มาของการยก กาลามสูตร

    ไม่แปลกเลย ถ้า จะเกิดการ สับสน ขึ้น

    เพราะ ชื่อ กาลามสูตร เนี่ยะ มันเกิดมาจาก การแก่งแย่ง เป็นทุน

    ใครสมาทานมากล่าว ก็รับรองได้เลย งง เป็นอานิสงค์
     
  17. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    กลามสูตร เขาบอกว่า อย่าเชื่อโดยสัญญา และให้ทันสัญญา
    และเมื่อได้เห็น สัญญาขาด เหลือ แต่สัจจะ เป็นเรื่องๆไป

    คือไม่เอาตัวเองเข้าไปร่วมกับสัญญา แต่ให้เป็น คนดูสัญญา แล้ว เมือมันสายัญ บางคนก็มืดไป ก็เป็นการพิสูจกลามสูตรได้ การฟังธรรมเราเชื่อ เชื่อแบบนี้เชื่อ ใช่ๆๆ โอ้มันใช่ๆๆ แล้วจบเลยเหรอ โอ้ มีปิติกับธรรมจังเลย เหมือนแมวอิ่ม และขี้เกียจจับหนูแล้ว
    หากฟังธรรมและศรัทธามากเกินไป ก็จะเพ้อเกินไป ทั้งๆ ที่ใจยังเหมือนเดิม
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    เกสปุตตสูตร
    [๕๐๕] ๖๖. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท
    พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของพวกกาลามะชื่อว่า เกสปุตตะ
    พวกชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตร
    ทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จมาถึงเกสปุตตนิคมโดยลำดับ ก็กิตติศัพท์อัน
    งามของพระสมณโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
    พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... ทรงเบิกบานแล้ว ทรงจำแนกธรรม
    พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย
    พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
    เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะใน
    ท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อม
    ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปาน-
    *นั้น ย่อมเป็นความดีแล ครั้งนั้น ชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้เข้าไป
    เฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ
    ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมมือ
    ไปทางพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและ
    โคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งเฉยๆ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    เมื่อต่างก็นั่งลงเรียบร้อยแล้ว จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า มีสมณ
    พราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศ
    แต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น
    พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม
    ถึงพราหมณ์พวกนั้น ก็พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตนเท่านั้น ส่วนวาทะของ
    ผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า พวก
    ข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่าน
    สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร
    กาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่าน
    ทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย
    ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำ
    สืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้าง
    ตำรา อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดย
    ความตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าได้
    ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้
    เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
    ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
    เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรม
    เหล่านั้นเสีย ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็น
    ประโยชน์ พวกชนกาลามโคตรต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
    พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิต
    อันความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
    สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภ ย่อม
    ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
    กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโกรธเมื่อเกิดขึ้น
    ในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์ ฯ
    กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ มีจิต
    อันความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
    สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อม
    ชักชวนผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
    กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความหลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่ง
    ไม่เป็นประโยชน์ ฯ
    กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ มีจิต
    อันความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
    สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้หลง ย่อม
    ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
    กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ
    กา. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า ฯ
    พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ
    กา. มีโทษ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ
    กา. ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
    เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ
    กา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อ
    ทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้ ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชน
    ทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้
    ฟังมา ... อย่าได้ยึดถือโดยนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้
    ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน
    ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์
    เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้ว
    นั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่าน
    ทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือ
    ว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่า
    นี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้
    ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่าน
    ทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะ
    สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่โลภเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดเพื่อ
    ประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ฯ
    กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำ
    มีจิตไม่ถูกความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
    สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่
    โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ
    กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความไม่โกรธ เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อ
    สิ่งไม่เป็นประโยชน์ ฯ
    กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ
    มีจิตไม่ถูกความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
    สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โกรธ
    ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ
    กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความไม่หลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อ
    สิ่งไม่เป็นประโยชน์ ฯ
    กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่หลง ไม่ถูกความหลงครอบงำ
    มีจิตไม่ถูกความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
    สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่
    หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ
    กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ
    กา. เป็นกุศล พระเจ้าข้า ฯ
    พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ
    กา. ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ
    กา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
    ความสุขหรือหาไม่ ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ
    กา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
    ความสุข ในข้อนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้ ฯ
    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
    มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้
    ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือ
    โดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดย
    ตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตน อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่า
    ผู้พูดสมควรเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
    เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรม
    เหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้
    บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่าน
    ทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เรา
    จึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ปราศจากความ
    โลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติ
    มั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
    ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอด
    โลก ทั่วสัตว์ทุกข์เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอัน
    ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
    อยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วย
    อุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน
    ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า
    ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่
    หาประโยชน์มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
    อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่
    เศร้าหมองอย่างนี้มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการใน
    ปัจจุบันว่าก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็นเครื่อง
    ให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจ
    ข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดี
    ทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่
    ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าเมื่อ
    บุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใครๆ ไหนเลยทุกข์
    จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๓ นี้ พระอริย
    สาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็น
    ตนว่าเป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๔ นี้ พระอริย
    สาวกนั้นได้แล้ว ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้
    มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่มีเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้ว
    อย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน ฯ
    กา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น
    อย่างนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิต
    ไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้
    ท่านย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบัน ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
    พระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระองค์โปรดทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก
    ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=4930&Z=5092
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2012
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ม่ายช่ายหรอกคร้าบ ป๊ะป๋า ไม่ใช่เรื่อง สัญญง สัญญา อะไรเลย

    ป๊ะป๋า ลองไปหา พระสูตรเต็ม อ่านดู

    แล้วจะรู้เลยว่า เนื้อหาหลัก เนื้อหาที่เป็น การปฏิบัติ นั้น จะคน
    ละเรื่องกับประเด็น "เชื่อ หรือ ไม่เชื่อ"

    พระพุทธองค์ตรัสถึง เครื่องมือที่เลิศกว่านั้น คือ ให้พิจารณาอย่างไร
    แสดงให้เห็นกันไปเลยว่า คำสอนแบบใด มีเหตุเกิดจากเหตุใด

    ซึ่งก็เขาหลักทั่วไปของพุทธ คือ เข้าเรื่อง พิจารณาคุณ และ โทษ หาก
    คุณแม้เกิดชั่วคราวก็ถือว่าเป็นโทษ หลังจากนั้นก็ให้เห็น อุบายนำออก ซึ่ง
    ก็จะเห็นว่า วิตก3ถูกนำออก หรือ กิเลส3ถูกนำออก

    ถ้าธรรมเหล่าใด ประจักษ์ด้วยตนเองว่าเป็นกุศล ผู้รู้ไม่ติเตียน ก็พึงรับธรรมนั้น

    สัญญาใดเป็นกุศล จะไปละทำไมละฮับ ก็ทำไปสิ ไม่ใช่เรื่องต้องไปทงไปทันสัญญา
    อะไรหรอกฮับ คนละเรื่องแล้วหละ
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    [317] กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 (หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร — how to deal with doubtful matters; advice on how to investigate a doctrine, as contained in the Kalamasutta)
    1. มา อนุสฺสเวน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา — Be not led by report)
    2. มา ปรมฺปราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา — Be not led by tradition)
    3. มา อิติกิราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ — Be not led by hearsay)
    4. มา ปิฎกสมฺปทาเนน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ — Be not led by the authority of texts)
    5. มา ตกฺกเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก — Be not led by mere logic)
    6. มา นยเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน — Be not led by inference)
    7. มา อาการปริวิตกฺเกน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล — Be not led by considering appearances)
    8. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว — Be not led by the agreement with a considered and approved theory)
    9. มา ภพฺพรูปตาย (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ — Be not led by seeming possibilities)
    10. มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา — Be not led by the idea, ‘This is our teacher’)

    ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
    สูตรนี้ ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาวเกสปุตตนิคม

    A.I.189 องฺ.ติก. 20/505/241.

     

แชร์หน้านี้

Loading...