ขอเชิญสนทนาธรรมครับ ท่านยมยักษ์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 16 มกราคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    คำถามเมื่อวันที่

    13-01-2012, 05:22 PM
    พระสงฆ์ที่นอกรีดในปัจจุบัน ที่เห็นคลิปก็เห็น อย่างพวกคุณนะละ ถามว่าเพราะอะไร ก็เพราะว่าสังคมปัจจุบันเนี่ยเราสนับสนุนกันเพื่อให้เรียน เพื่อสอบ พวกคุณเรียนเพื่อสอบหรือเปล่า สังคมนักบวชศาสนาที่ผ่านมา เราก็เรียนเพื่อสอบ ไม่ต้องเรียนสูงเลยนักบวชในศาสนา ศาสนามีบทเรียนบท ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ ก็คือการเรียน เรียนแล้วนำมา ปฏิบัติ เป็นผล ปฎิเวทะ ความสงบ แต่ทุกวันนี้เราเรียนแล้วสอบเฉยๆ แล้วไม่ได้ทำไม่มาปฏิบัติ ผลก็คือไม่มี ความสงบ ไม่มี ปฎิเวทะ มันก็เหมือนกับเรื่องของโลก ที่โลกเรียนแล้วเพื่อสอบ แต่ทำได้ไหม ทำไม่ได้ เรียนเพื่อเอามาสอบเฉยๆ พระก็เลยคล้อยตามชาวบ้าน แล้วพวกคุณจงจำไว้ว่า การทำแบบนี้เรียนแบบนี้ ศึกษาแบบนี้ เป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งปวง ธรรมมะแปลว่าอะไร คุณ อุรุเวลาเข้าใจไหม ธรรมมะแปลว่าเครื่องฟอกจิต

    13-01-2012, 05:28 PM
    คนศึกษาธรรมมะ คือคนที่มีเครื่องชำระล้างจิตให้ใสสะอาด คนที่ศึกษาธรรมมะ แต่ไม่ชำระล้างแสดงว่าเขา จำธรรมมะเรียนเพื่อสอบไม่ได้ลงมือทำ ถ้าเรียนแล้วทำนี่เขาจะมีเครื่องฟอกจิตนี้จะสะอาดเมื่อจิตสะอาดเขาก็จะไม่ทำชั่วไม่พูดชั่วไม่คิดชั่ว แต่ที่เขาเป็นอยู่ทุกวันนี้ก็เพียงเรียนแล้วจำทำไม่ได้ ผมเคยฟัง บทอยู่ศโลกบทนึ่งคือ รู้จริงไม่ต้องจำ ทำได้มีประโยชน์ รู้ไม่จริงถึงจำทำไม่ได้ มีแต่โทษ ถ้าอย่างนั้นพระหรือสังคมของนักบวชเนี่ย อนุวัติกับโลกไปหมดแล้ว แล้วคุณอย่าไปบอกว่าชั่วพระชั่ว คุณเคยเรียนพจนานุกรม หรือเปล่าเนี่ย มีพจนานุกรมไหม เปิดพจนานุกรมดูแล้วคุณจะรู้ว่า พระเนี่ย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ประเสริฐ ดีเลิส งามพร้อม พระชั่วไม่ได้ไอ ที่ชั่วนั้นมันไม่ใช่พระลูกชาวบ้านเข้ามาบวช

    13-01-2012, 05:34 PM
    ลูกชาวบ้านเข้ามาบวช พระพุทธเจ้าไม่ได้เรียกพระ พระองค์เรียกอะไร เรียกภิกษุ เรียกนักบวช เรียกสมาณะ แล้วจึงจะขยับ มาสู่การเป็นพระ ตั้งสามขั้น แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่ บวชวันเดียวก็เรียกพระเลย แล้วพอไปทำชั่วก็บอกว่าพระชั่ว พระองค์ไม่ได้เรียกอย่างนั้น ศาสนาไม่เรียกอย่างนั้น แต่พวกเราไปเรียกแบบนั้นแล้วสังคมของนักบวชเองก็เรียกแบบนั้นเพื่อจะยก ตัวเองเป็นผู้วิเศษ ที่จริงแล้วไม่ควรจะเรียกอย่างนั้น ควรจะเรีกว่าอะไร ภิกษุ ภิกษุมีคุณสมบัติอะไรตามพระบาลีเขาแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัตตะ ผมแปลว่าผู้ขอ ขอเขากินเนี่ยมันต้องลดความเย่อหยิ่ง จองหอง ยะโส อวดดี ทรนงลง ขออะไรใครจะได้มากิน จากภิกษุไม่ได้หยุดแค่นี้ต้องขยับขึ้นมาสู่ความเป็น นักบวช อันแปลว่า ละวาง ปล่อยเว้น ความชั่วทางกายวาจาใจ จากนักบวช ก็ขยับมาเป็น สมณะ อันแปลว่าสงบกาย สงบวาจา แล้วก็ สงบใจ

    13-01-2012, 05:53 PM
    จากสมาณะ ก็พัฒนาขึ้นมาสู่ความเป็นพระ ประเสริฐ ดีเลิส งามพร้อม จากพระก็ไม่ได้หยุดแค่นั้นพระพุทธเจ้าบอกว่าต้องพัฒนาขึ้นสู่ความเป็น อริยเจ้า ประเสริฐยิ่งกว่า ประเสริฐทั้งปวง ดีเลิสแล้วก็งามพร้อมยิ่งกว่าความดีเลิส งามพร้อมทั้งปวง นี่คือขั้นตอน ของบุคคลที่ อยู่ในพระพุทธศาสนา แต่ทุกวันนี้เราไม่ใช่พอบวชปุบ มั่วไปหมดเลย เป็นพระทั้งหมดพอทำชั่วก็เลยกายมาเป็นพระชั่ว บาป ใครที่พูดว่าพระชั่วเนี่ยบาป พระไม่ชั่วเกิดชาติหน้าจะไปเป็น เปรตปากเล็กเท่ารูเข็ม พระไม่ชั่ว ไอที่ชั่วเนี่ยลูกชาวบ้านเข้ามาบวชแล้วพยายามจะทำดี ในขณะที่เพียรพยายาม จะทำดีก็เพลอสติ ขาดสติไอการเพลอและ ขาดสติเนี่ยก็เลยทำผิดพูดผิดคิดผิดไงละ

    13-01-2012, 06:04 PM
    เลยทำผิดพูดผิดคิดผิดไงละ เป็นเหตุให้พูดผิด ทำผิด คิดผิด ยังไงก็ทำความเข้าใจตามนี้ แล้ว คุณ อุรุเวลา จะรู้ว่านักบวชสังคมของนักบวชเนี่ยเดี๋ยวนี้คล้อยตามเรื่องของสังคมโลกจนกระทั้งเสียรูปแบบของความหมายของนักบวชไปแล้วมันก็เลย จะเห็นภาพของเสียหายปรากฎขึ้นในศาสนา ไม่จบละถ้าตราบใดไม่แก้ไขการศึกษาพระศาสนาจริงๆแล้วนักธรรมตรีก็เอาตัวรอดแล้ว ถามว่าทำไมตัวอย่างเช่น เปิดหน้าแรกของธรรมะวิภาค เนี่ย สติความระลึกได้ สติสัมปะชัญญะ ความรู้ตัว อนิสงค์ของการฝึกสติสัมปะชัญญะ ทำพูดคิดไม่ผิดพลาด

    13-01-2012, 06:09 PM
    เรียนแค่เนี่ย เป็นพระละเรียนแล้วทำตาม ไม่ต้องเรียนไปจนถึงมหาเปรียญด้วยซำ้ไป ไม่ต้องเรียนให้จบตรีโทเอกให้ ด้วยซำ้ไป ทำที่ตัวเองเรียน เพื่อเป็นประโยชน์เนี่ยเป็นพระได้แล้ว ยังงั้นอยากบอกทุกคนด้วยว่า ไอที่ ชั่วๆ นะไม่ใช่พระ ลูกชาวบ้านเข้ามาบวช ก็เลยเผลอทำผิดไปหน่อย ก็เลยทำความเสียหายให้กับศาสนา แต่ก็ไม่หมายถึงสังคมศาสนาจะมีแต่คนไม่ดี คนดียังมีอีกแยะ จบ แล้วคุณ
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมขออภัยงานเข้าสามวันติด ไม่มีเวลาตอบคำถามท่านยมยักษ์

    ท่านยมยักษ์พูดแค่สามในสี่ส่วน เอาวัตรปฏิบัติของนักธรรมฯ ที่มุ่งเรียนเพื่อเอาวุฒิฯมาสมัครงาน ผมก็มีเพื่อนที่จบด้านนี้มาหนึ่งคน ผมเรียกเพื่อนคนนี้ว่า "มหา" เขาจบนักธรรมเอาวุฒิฯมาสมัครงานเขาก็ได้งานทำ เป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง พวกเทวทัตก็อาศัยช่องทางนี้เหมือนกัน เรียนจบแต่ไม่ยอมสึก อาศัยผ้าเหลืองทำหากินต่อ มีเมีย มีบ้าน มีรถ มีไร่นา ฯลฯ แล้วชาวพุทธก็ไปสนับสนุนจนเต็บโตเป็นคนกลุ่มใหญ่ในศาสนาพุทธ

    มีพระสงฆ์ที่มีข้อวัตรดีงาม มีศีลไม่ขาดไม่ทะลุ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หรือที่รู้จักกันในนาม "พระป่า" เป็นพระสงฆ์ส่วนน้อยอีกส่วนหนึ่งที่ท่านยมยักษ์ไม่ได้พูดถึง หรือบางทีท่านอาจจะไม่เคยรู้จัก เพราะคนส่วนใหญ่ก็เป็นแบบท่าน รู้จักแต่พระรับเงิน ยินดีในไร่นา ที่ดิน ฯลฯ สนับสนุนพระสงฆ์ทุศีล ทำลายพระธรรม

    ไม่มีศาสนาพุทธในใจผมมานานแล้ว ผมมีแต่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะเท่านั้น
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระปุสสเถระทำนายภิกษุในอนาคตจะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา ที่ดิน ฯลฯ

    [๓๙๕] ฤาษีมีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ ได้เห็นภิกษุเป็นอันมาก ที่น่าเลื่อมใส
    มีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี จึงได้ถามพระปุสสเถระว่า ในอนาคต
    ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จักมีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร
    กระผมถามแล้วขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด?
    พระปุสสเถระจึงกล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
    ดูกรปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังคำของอาตมา จงจำคำของอาตมาให้ดี
    อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคต คือในกาลข้างหน้า ภิกษุเป็นอันมากจักเป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ
    โอ้อวด ริษยา มีวาทะต่างๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึง
    คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบา ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพ
    กันและกัน ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก
    ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้
    ให้เศร้าหมอง ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า มี
    กำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล
    ภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่
    เนื้อความ มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย
    ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา
    ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษ
    ผู้อื่น ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแก่การทะเลาะ
    วิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก
    กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดั่งพระ
    อริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด
    เหลาะแหละ ให้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสี
    งา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่ จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำ
    ฝาดเป็นของไม่น่าเกลียด พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วยินดียิ่งนัก
    เป็นธงชัยของพระอรหันต์ พอใจแต่ในผ้าขาวๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล
    เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็น
    ความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉา
    ชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยวคบหา
    ราชสกุลเป็นต้นเพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์ เที่ยวไป
    อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จัก
    ไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาว
    มิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย บางพวก
    ก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุ
    เหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย
    บริโภคผ้ากาสาวะ เมื่อทุกข์ครอบงำ ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่
    พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียงโอด
    ครวญอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ ได้เห็นผ้ากาสาวะ
    อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่นายโสณุตระพราน นุ่งห่มไปในคราว
    นั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมาย
    ว่า ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะ
    ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว
    ตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะ
    นุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์
    กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร
    ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจาก
    ราคะ มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ
    โดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้นเหมือน
    ไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น จักควรนุ่งผ้าห่มผ้ากาสาวะ
    อย่างไร อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีจิตใจชั่ว
    ร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่ มีเมตตาจิต แม้ภิกษุ
    ทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำ
    ตามความใคร่ ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟัง
    พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือน
    อย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์
    จักเป็นเหมือนม้าพิการไม่เอื้อเฟื้อนายสารถี ฉะนั้น ในกาลภายหลังแต่
    ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้.
    ครั้นพระปุสสเถระแสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้น ในกาลภายหลังอย่างนี้แล้ว เมื่อจะ
    ให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
    ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้
    ก่อน ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย
    มีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีล
    ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่าน
    ทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่
    ประมาทโดยความเป็นของปลอดภัย แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อ
    ทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.
     
  4. ไอ้นอกโลก

    ไอ้นอกโลก Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    572
    ค่าพลัง:
    +72
    มีเพื่อนบอกมาว่า"พระศาสดาทรงชนะทุกสิ่งด้วยความสงบ"ผมก็จะยึดตามพระพุทธองค์
     
  5. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    คุณก็พูดถูกแล้วนี่. ส่วนตัวผมก็ไม่ยินดีและเคยกล่าวธรรมเรื่อง พระรับเงินเป่าเสกเลขยัน พระกลุ่มนี้ผมไม่ได้ยินดียอมรับ และถกเถียงกันมานานแล้ว แต่คุณช่วยไปแก้ ที่ว่าผมยินดีที่พระรับเงินด้วยและ. จะบอกว่าผมนี่ละที่เป็นคนต่อต้านมานานกว่าคุณมากแล้ว. และมีเพียงไม่กี่คนด้วยขอบอกครับ กรุณาอย่าตัดสินใจเพียงชั่วอารมณ์หนึ่งคุณจะรู้สึกผิดในใจมากนะ ผมนี่ละตัวเป้งเลยในการต่อต้านนะขอบอกแสดงว่าคุณเพิ่งจะเข้ามาละสิ พระป่าทำไมหรือที่ไม่ได้พูดถึง และยังถากถางผมอีกว่าผมไม่ได้รู้จัก ไม่ดีมั้งมันเห็นตัวตนอยู่น่า อย่าตรึกไปตามอาการตัวเองสิ
     
  6. หน้าวัด

    หน้าวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2012
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +102
    ขอมอบให้ ไอ้่นอกโลกนะ

    นิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว
    วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง สรรพสิ่ง ผันแปร เกินแก้ไข
    ทุกสิ่งอย่าง ผ่านมา แล้วจากไป มันเป็นไป ตามกรรม ที่นำไป
    โลกเคลื่อนไหว แต่ใจ อย่าไหวหวั่น อย่าไปเต้น ตามมัน จะหวั่นไหว
    กำหนดจิต ดูกาย อยู่ภายใน สำรวมใจ มีสติ แล้ววิจารน์
    มีศรัทธา ปสาทะ อย่าละถอย จิตต้องคอย คุมไว้ ให้อาจหาญ
    ให้รื่นเริง พอใจ ในธรรมทาน จิตเบิกบาน ตื่นอยู่ รู้คืนวัน
    จงรู้กาย รู้จิต รู้คิดนึก จิตต้องฝึก ให้นิ่ง อย่าไหวหวั่น
    มีสติ รู้ธรรม ปัจจุบัน ว่าปล่อยวัน เวลา ให้ล่วงไป
    ชีวิตนี้ สั้นลง ทุกขณะ อย่าเลยละ ฝึกสติ เป็นนิสัย
    มีสติ อยู่กับกาย และกับใจ โลกเคลื่อนไหว ใจสงบ สยบมัน
    ถ้าหลงเดิน ตามโลก จะโศกเศร้า ทุกข์รุมเร้า เพราะโลก มันแปรผัน
    โลกเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนไป ทุกคืนวัน เกินตามทัน เพราะโลก มันผันแปร
    ความพอเพียง อยู่ที่ เราเพียงพอ อย่านอนรอ วาสนา ไม่เืีที่่ยงแท้
    พรสวรรค์ พรแสวง แหล่งตัวแปร อย่าท้อแท้ ตั้งใจ ทำให้จริง
    ความสำเร็จ ของชีวิต ที่คิดฝัน อยู่ที่ใจ เรานั้น เลิกร้องขอ
    เมื่อจิตใจ รู้สึก บอกว่าพอ ความสำเร็จ นั้นหนอ คือพอใจ...

    เครดิต รวี สัจจะ...
     
  7. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    มีคนด่าว่าผม ตลอดแต่ไม่มีสักครั้งแต่กลับไปทำอย่างพวกเขาอย่างนี้ไหมที่ทำตามพระองค์ มีแต่ขจรและใจดีดีเท่านั้น ที่ต้องใช้วิชา
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    นี่ไงท่านยมยักษ์เข้าใจผิด ผมไม่ได้ตัดสินอะไรเลย ท่านทั้งหลายตัดสินกันเอง ผมก็แค่เอาข่าวพระสงฆ์ทุศีลมาโพสต์ ผมก็บอกแล้ว่า ผมเป็นฆราวาส ไม่ใช่เรื่องของผมที่จะไปตัดสิน ผมบอกให้เป็นเรื่องของคณะสงฆ์
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสงฆ์ในสมัยพุทธกาล รู้ว่าพระพุทธเจ้าบัญญัติพระธรรมวินัยไว้ เมื่อทำผิดยังเอาความผิดที่สงสัยไปสอบถามกับพระพุทธเจ้าว่าผิดหรือไม่ แต่พระสงฆ์ในปจัจุบันทำผิดกับไม่ยอมรับ ไม่ยอมรับยังไม่พอเอากฏที่บัญญัติใหม่มาอยู่เหนือพระธรรมที่พระพุทธเจ้าบัญญิติไว้
     
  10. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    ถูกแล้วนี่ ผมไปยินดีส่วนใหนหรือ ผมว่าคุณอ่านอีกรอบที่ ผมส่งให้คุณนะ ว่าทำไมเพราะอะไร สิ่งที่ผมไม่ยินดีคือคุณไม่ควรนำภาพความเสียหายมาส่งต่อเท่านั้นเองคุณคิดอะไร ทำไมคุณยินดีหรือที่ให้คนทุกคนดูแค่คนๆๆ เดียวศาสนาเสื่อมไปเท่าไหร่ ทำไมคุณไม่ลองกระจายให้ดังไปทั้งสามโลกไปเลยละว่าศาสนามีแต่คนพวกนี้ พระดีๆๆมีแยะอยู่ปลาทูเน่าตัวเดียว คราวนี้เน่าทั้งเข่ง ผมไม่ยินดีให้ใครเอาของเสียมาเผยแผ่ มิควร คุณยังไม่แก้ต่างผมเลยนะข้อกล่าวหาผมนะ
     
  11. ลูกอิสระ

    ลูกอิสระ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +9
    อุรุเวลา รู้จักพี่ยมยักษ์ ดีพอแล้วหรือที่ไปว่าพี่เค้านะ
     
  12. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    เราแสดงธรรมเพื่อเรียนรู้ไม่ใช่เพื่อเอาชนะ ไม่มีใครชนะหลอกที่ชนะมันคือตรึกตามอาการ แต่ที่คุยกันเพื่อปรับปรุงผู้เข้ามาบวช บัณเฑาะก์ กะเทย และผู้บวชให้ก็เท่านั้น
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมไม่ได้ยินดีอะไรเลย พระเต้นแร้งเต้นกาผมเฉย ๆ พระผิดศีลผมก็เฉย ๆ ไม่เกี่ยวกับผม ผมเป็นแค่ฆราวาส ไม่เหมือนคนบ้างคน ศีลก็ไม่ครบเห็นแค่ข่าวแล้วไปด่าท่านไปตัดสินท่าน ผิดศีลหรือไม่ก็ไม่ชัดเจน จริงๆไม่จริงก็รู้ พระสงฆ์ทุศีลทำผิดเห็นด้วยภาพกลับบอกว่าปลาทูเน่าตัวเดียวช่วยกันปกปิด ท่านยมยักย์อย่าใจแคบสิครับ

    ผมก็แค่เอาหัวข่าวมาตั้ง แต่ผมไม่ได้พูดถึงข่าวเลย ผมยกพระสูตรมาโพสต์ตั้งหลายพระสูตร นี่คือเจตนาผม ผมต้องการให้คนสนใจพระธรรม ศึกษาพระธรรมบ้าง ไม่ใช้ไปสนับสนุนพระทุศีล
     
  14. หน้าวัด

    หน้าวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2012
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +102
    ไม่เข้าใจในเจตนาท่านกำลังจะบอกสิ่งใดเหมือนจะสื่อว่าใครคิดต่างคือผิด
     
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ในนี้ผมไม่รู้จักใครสักคน และผมก็ไม่ได้ว่าใครสักคน ท่านยมยักย์ผมก็ไม่ได้ว่า ผมก็บอกไปแล้วว่าผมจะอยู่เงียบ ๆ
    ท่านยมยักษ์เป็นคนตั้งคำถาม ผมก็ตอบก็เท่านั้น
     
  16. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่

    ปาราชิก มี ๔ ข้อ
    สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
    อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
    นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
    ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
    ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน) เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
    โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
    ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
    ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)
    อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)
    รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

    ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่
    ๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
    ๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
    ๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
    ๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

    สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้
    ๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
    ๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
    ๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
    ๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
    ๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
    ๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ
    ๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
    ๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
    ๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
    ๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
    ๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
    ๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
    ๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
    อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่
    ๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
    ๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
    นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่
    ๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
    ๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
    ๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน
    ๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
    ๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
    ๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
    ๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
    ๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
    ๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
    ๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
    ๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
    ๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
    ๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
    ๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี
    ๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
    ๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
    ๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
    ๑๘.รับเงินทอง
    ๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง
    ๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
    ๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
    ๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
    ๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
    ๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
    ๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
    ๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
    ๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
    ๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
    ๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
    ๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน
    ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่
    ๑.ห้ามพูดปด
    ๒.ห้ามด่า
    ๓.ห้ามพูดส่อเสียด
    ๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
    ๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน
    ๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
    ๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
    ๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
    ๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
    ๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
    ๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้
    ๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
    ๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
    ๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
    ๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
    ๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
    ๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
    ๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
    ๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น
    ๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
    ๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย
    ๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
    ๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
    ๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ ๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
    ๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
    ๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี
    ๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน
    ๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
    ๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี
    ๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ
    ๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
    ๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
    ๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร
    ๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
    ๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
    ๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
    ๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
    ๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง
    ๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
    ๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ
    ๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
    ๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน
    ๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
    ๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
    ๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
    ๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
    ๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
    ๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
    ๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
    ๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
    ๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
    ๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
    ๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
    ๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
    ๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
    ๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
    ๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
    ๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
    ๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
    ๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
    ๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
    ๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
    ๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
    ๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
    ๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
    ๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
    ๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
    ๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
    ๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
    ๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
    ๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
    ๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
    ๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
    ๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
    ๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
    ๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
    ๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
    ๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
    ๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
    ๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
    ๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
    ๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
    ๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
    ๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
    ๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
    ๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
    ๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
    ๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
    ๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
    ๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
    ๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ
    ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่
    ๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
    ๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
    ๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
    ๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า
    เสขิยะ สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่
    ๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
    ๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
    ๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
    ๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
    ๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
    ๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
    ๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
    ๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
    ๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
    ๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
    ๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
    ๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
    ๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
    ๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
    ๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
    ๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
    ๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
    ๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
    ๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
    ๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
    ๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
    ๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
    ๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
    ๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
    ๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
    ๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

    โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่
    ๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
    ๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
    ๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
    ๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
    ๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
    ๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
    ๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
    ๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
    ๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
    ๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
    ๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
    ๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
    ๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
    ๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
    ๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
    ๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
    ๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
    ๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
    ๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
    ๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
    ๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
    ๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
    ๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
    ๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
    ๒๕.ไม่ฉันดังซูด ๆ
    ๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
    ๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
    ๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
    ๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
    ๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน
    ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ
    ๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
    ๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
    ๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
    ๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
    ๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
    ๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
    ๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
    ๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
    ๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
    ๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
    ๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
    ๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
    ๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
    ๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
    ๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
    ๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

    ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
    ๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
    ๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
    ๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
    อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่
    ๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
    ๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
    ๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
    ๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
    ๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
    ๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
    ๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป

    ผมยกศีลมาแค่ 227 ข้อ จากศีลหลายพันข้อ ชาวพุทธหลายคนไม่รู้ว่าพระสงฆ์รับเงินไม่ได้ ใช้จ่ายเงินทองไม่ได้
     
  17. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    ใครคิดต่างนี่คืออะไรตรงใหนคิดต่างหรือ เพิ่งสมัครมาใหม่ร้อนๆๆเลยนะเนี่ยคุณ สงสัยมาเพื่อการนี้
     
  18. หน้าวัด

    หน้าวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2012
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +102

    ผมแค่สงสัยในเจตนาของคุณลูกอิสระ เหมือนจะบอกว่าอย่ายุ่งกับคุณยมยักษ์ทำนองที่ว่ารู้ไหมผมเป็นใครผมลูกใคร

    จะได้รู้ว่าจะตอบกระทู้ใครควรมีลูกคู่
     
  19. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    แล้วฉันไปสนับสนุนส่วนไหนหรือ ฉันไม่ยินดีที่คุณเอามาเผยแผ่ ส่วนไม่ดี ทำลายศาสนาฉันผิดส่วนไหนหรืออธิบายให้สาธุชนฟังหน่อยสิ ผมว่าคนเราทำผิดขอโทษไม่ใช่สิ่งผิดนะ และฉันก็ตัวเป้งเลยที่คอยดูแลพวกจริตผิดแปลกแนวทำไม่ถูกต้องกับศาสนา ใครด่า ใครว่า ก็มีแต่พวกฉันเท่านั้นที่ช่วยดูแลกันอยู่ แล้วฉันไปทำส่วนใหนผิดจริตคุณหรือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2012
  20. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    ผมไม่เคยรู้จักนะคุณ เขาอาจจะพูดว่าทุกครั้งที่เอาศาสนามาทำให้เสียหาย ผมจะออกมาพูดทุกครั้ง คุณเพิ่งสมัครวันนี้หรือ คนอย่างผมไม่มีลูกคู่หรืออวยให้หลอก เดี๋ยวก้มีคนมาพูดแทนเพราะเขาทนความแถ หลายๆๆคนที่คุยกับผมไม่ไหว พอเถียงแทนหน่อยก็บอกว่าเล่นพักเล่นพวก เข้าใจก็มันเป็นอยู่อย่างนี้เช่นนี้ มาตั้งแต่ปีที่แล้ว และหลายครั้งที่ถกเถียงกัน เป็นเรื่องธรรมดาเพราะเขายึดกันที่ความถูกต้องไงละ ไม่ใช่อวยให้กัน เข้าใจในที่นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...