พุทธบารมีฯ เหตุ๑ กรณีหลวงพ่อฯลาพุทธภูมิ และกิจหลังจากนั้นฯ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย sravnane, 16 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    โมทนาด้วยครับสาธุ
     
  2. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    ผมเคยหล่อพระแม่ธรณีจีน และนาจามังกร 9 ตัว ที่ศาลเจ้านาจา จ.ชลบุรี ตอนนี้เสร็จแล้ว เลยเอาภาพมาให้ทุกท่านได้โมทนาบุญกันครับ
    ปล.ตอนนี้มีโครงการสร้างศาลให้พระแม่ธรณี เชิญทำบุญที่ศาลเลยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 08022007624.jpg
      08022007624.jpg
      ขนาดไฟล์:
      523.2 KB
      เปิดดู:
      101
    • 08022007625.jpg
      08022007625.jpg
      ขนาดไฟล์:
      481.7 KB
      เปิดดู:
      85
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2007
  3. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    โมทนาด้วยครับ สาธุ
     
  4. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    ธรรมจักรครับ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][​IMG]
    [​IMG]
    ธนิต อยู่โพธิ์ เรียบเรียง
    [/FONT]</TD></TR><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] .........................................................[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    ก่อนจะพูดถึงเรื่องธรรมจักร ข้าพเจ้าขอทบทวนฟื้นความจำเรื่องพุทธประวัติแก่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชน ซึ่งยังคงจำกันได้ดีว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประสูตินั้น มีพระคัมภีร์ทายลักษณะบอกไว้ว่า ท่านผู้ประกอบด้วยลักษณะของมหาบุรุษ 32 ประการ ย่อมมีคติเป็น 2 คือ ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบรรพชา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] พระเจ้าจักรพรรดิ มีสมบัติเป็นอย่างไรบ้าง ? เราลองพิจารณากันดู ตามคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิมีสมบัติสำคัญ เรียกว่ารัตนะ มี 7 อย่างคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว ขุนคลังแก้ว และขุนพลแก้ว ใน 7 อย่างนี้ จักรแก้วเป็นของสำแดงพระบรมเดชานุภาพสำคัญที่สุด และดูเหมือนจักรแก้ว หรือจักกรัตนะนี้แหละ ที่ เป็นเหตุให้ได้เชื่อว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จักกรัตนะ หรือจักรแก้ว หรือล้อแก้วนี้ ตามพระคัมภีร์บาลีบอกไว้ว่ามีกำพันซี่ มีกง มีดุม บริสุทธิ์ด้วยอาการทุกอย่าง เมื่อจักกรัตนะบังเกิดแก่พระราชาองค์ใด พระราชาองค์นั้นก็เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ท่านพรรณาไว้ว่า วันที่จักกรัตนะปรากฎนั้น เป็นวันเพ็ญอุโบสถ พระราชาทรงสรงพระเศียรและรักษาอุโบสถศีล เสด็จประทับอยู่บนราชอาสน์ ณ ประสาทชั้นบน แล้วจักรรัตนะก็ลอยจากจักกทหะ ในภูเขาวิบุลบรรพต มาปรากฎเฉพาะพระพักตร์ให้ทรงประจักษ์ว่า พระองค์เป็นราชาจักรพรรดิแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิก็จะเสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงทำอุตตราสงค์ แล้วทรงหยิบพระสุวรรณภิงคารด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประพรมน้ำในพระสุวรรณภิงคารลงบนจักกรัตนะด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วมีพระราชดำรัสว่า จักกรัตนะอันเจริญจงหมุนไป จักกรัตนะอันเจริญจงนำชัยชนะให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วจักกรัตนะนั้นก็หมุนไปทางทิศบูรพา หมุนไปทางทิศทักษิณ หมุนไปทางทิศปัศจิน หมุนไปทางทิศอุดร จักกรัตนะหมุนไปทางทิศใด พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจัตุรงคเสนาก็เสด็จตามไปด้วย จักกรัตนะหยุดอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิกับจัตุรงคเสนาก็พักอยู่ ณ ประเทศนั้นด้วย [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] (ซ้าย) ภาพสิงโตรองรับธรรมจักร เหนือบัวหัวเสา บนเสาศิลาอโศก ขุดพบที่ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี

    (ขวา) ภาพจำหลักเป็นดอกบัว และเสาธรรมจักร ที่กำแพงศิลาพระมหาสถูปสาญจี จะเห็นดอกบัวตูมสองดอกชูก้านออกมาจากฐานเหนือบัวคว่ำคล้ายรูประฆังคว่ำ แสดงให้เห็นว่า ยอดเสาศิลาอโศก ภาพซ้าย เมื่อยังสมบูรณ์ดีอยู่ ก็จะมีธรรมจักรประดิษฐานอยู่เหนือหัวสิงโตทั้งสี่ เช่นใน รูปขวา
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] บรรดาพระราชาผู้เคยเป็นปฏิปักษ์อยู่ในทิศนั้น ๆ ก็เข้ามาเฝ้าถวายการต้อนรับถวายความภักดี ยอมอยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพ พระเจ้าจักรพรรดิก็พระราชทานโอวาทด้วยศีลห้า (ซึ่งเรารู้จักกันดีแล้ว) เมื่อจักกรัตนะนำชัยชนะไปทั่วปฐพี มีมหาสมุทรเป็นแดนโดยรอบแล้ว ก็นำเสด็จกลับมายังราชธานี* จัก[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]กรัตตะหรือล้อแก้วนี้ในคัมภีร์อรรถกถา** พรรณานาขยายความออกไปอีกยืดยาว แต่พอสรุปกล่าวไว้ว่าจักกรัตนะนั้นมีรูปเหมือนล้อรถ ดุมเป็นแก้วอินทนิล ตรงกลางดุมส่องแสงซ่านออกเป็นวงกลมเหมือนพระจันทร์ทรงกลดรอบดุมเป็นแผ่นเงิน มีซี่กำล้วนแล้วด้วยแก้ว 7 ประการ ทั้งพันซี่ กำแต่ละซี่มีลวดลายประดับต่าง ๆ กัน ส่วนกงล้อเป็นแก้วประพาสสีสุกใส วงนอกของกงทุกระยะของกำ 10 ซี่ที่สอดเข้าไปนั้น มีท่อแก้วประพาฬติดอยู่ขอบนอกของกงทุกระยะ รวม 100 ท่อ เมื่อจักกรัตนะหมุนไปในอากาศท่อแก้วประพาฬเหล่านี้ จะกินลมเกิดเป็นเสียงไพเราะดุจเสียงปัญจดุริยางคดนตรี บนท่อแก้วประพาฬแต่ละอันมีเศวตฉัตรห้อยเฟื่องดอกไม้แก้วมุกดา เมื่อจักกรัตนะหมุนเวียนไปจะปรากฎคล้ายวงล้อ 3 อัน หมุนอยู่ภายในของกันและกัน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] แต่เท่าที่เห็นทำรูปกันไว้ ก็ทำเป็นอย่างล้อรถหรือล้อเกวียนนั่นเอง (ดูรูปขวามือ เพื่อเปรียบเทียบ)

    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]เมื่อได้พูดถึงจักกรัตนะ หรือล้อแก้ว ซึ่งเป็นสมบัติส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพสำคัญยิ่งของพระเจ้าจักรพรรดิ มาโดยสังเขปเช่นนี้ ก็พอจะนึกเห็นกันได้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิก็คือผู้ทำให้จักรหรือล้อหมุนไป ซึ่งในบางพระสูตรยังกล่าวเป็นตำนานไว้อีกว่า พระราชาจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยธรรมทรงเป็นธรรมราชา เป็นผู้ทำให้จักรหมุนไปโดยธรรม จักรนั้นอันสัตว์มนุษย์ไร ๆ ผู้เป็นปรปักษ์ (ต่อพระเจ้าจักรพรรด) จะหมุนไม่ได้

    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] เมื่อพระสิทธัตถะราชกุมารไม่ต้องพระประสงค์สมบัติจักรพรรดิ และทรงประปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า จึงเสด็จออกบรรพชาและทรงบำเพ็ญเพียร จนได้ตรัสรู้ "พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" พระองค์ก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือที่เราเรียกกันเป็นคำสามัญว่า "พระพุทธเจ้า" พระพุทธเจ้าได้โปรดประทานเทศนาเป็นครั้งแรกแก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์ คือพวกพระภิกษุ 5 องค์ ณ อิสิปตนะมิคทายวัน ในเมืองพาราณสี เมื่อวันอาสาฬหปุณณมี คือวันเพ็ญเดือน 8 เทศนาครั้งแรกนี้เรียกกันว่า "ปฐมเทศนา" และเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นปฐมเทศนานั้น เรียกว่า "ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร" แปลง่าย ๆ ก็ว่าพระสูตรว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าทรงหมุนล้อแห่งธรรมหรือธรรมจักร

    ..............................................................
    * ดู - มหาสุทสฺสนสุตฺต ทีฆนิกาย มหาวคฺค
    ** สุมงฺคลวิลาสินี ทุติยภาค น. 289 - 290
    [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    ธรรมจักรครับ (ต่อ)

    ที่ข้าพเจ้านำเอาเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ และจักกรัตนะหรือจักรแก้ว หรือล้อแก้ว มากล่าวนำไว้ยืดยาว ก็โดยประสงค์จะให้เป็นที่กำหนดหมายรู้ไว้ ว่าพระเจ้าจักรพรรดินั้นทรงมีจักกรัตนะเป็นเครื่องมือแผ่พระบรมเดชานุภาพ ส่วนพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสเทศนาครั้งแรก ก็ทรงใช้ธรรมจักรเป็นเครื่องมือแผ่พระธรรม เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบกันจักกรัตนะนั้นได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า พระราชาจักรพรรดิทรงทำให้หมุน สัตว์มนุษย์ไร ๆ ที่เป็นปรปักษ์ (ต่อพระราชาจักรพรรดิ) จะหมุนไม่ได้ ธรรมจักรก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าทรงมนุนใครอื่นหมุนไม่ได้ เช่นที่กล่าวไว้ในตอนท้ายธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีเรื่องพวกเทวดาประกาศก้องได้ยินเสียงตั้งแต่ภาพพื้นดินต่อ ๆ ขึ้นไปถึงพรหมโลกว่า "ธรรมจักรประเสริฐ ยิ่ง ที่สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก หมุนกันไม่ได้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนุนได้แล้ว ณ อิสิปตนะมิคทายวัน ในนครพาราณสี" ตามที่กล่าวนี้ ก็คงเห็นกันได้แล้วว่า พระพุทธเจ้า แม้จะได้ทรงสละความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จออกทรงผนวชและตรัสรู้แล้ว ก็ยังนำเอาลักษณะกิริยาหมุนจักรของจักรพรรดิมาใช้ในการประกาศพระธรรม แสดงให้เห็นว่า ในครั้งกระนั้น ความเชื่อในเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิหมุนจักกรัตนะมีอยู่ในหมู่ประชาชนชาวอินเดียโดยทั่วไป หรืออย่างน้อย ก็มีอยู่ในหมู่ชนชาวอินเดียตอนกลาง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมจักร จึงมีข่าวเล่าลือกระฉ่อนไปโดยกว้างขวางอย่างรวดเร็ว เรียกจักรของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมจักร มิใช่จักกรัตนะอย่างของพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าจะตั้งเป็นปัญหาว่า พระพุทธเจ้าทรงหมุนธรรมจักร อย่างไร ? เป็นเรื่องต้องพูดกันต่างหาก หวังว่าบรรดาท่านนักธรรมะทั้งหลาย ย่อมทราบกันดีอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจะขอนำไปกล่าวในโอกาสอื่น จะไม่นำมากล่าวในที่นี้ และจะพิจารณาธรรมจักรเฉพาะทางวิชาโบราณคดีและศิลปต่อไป
    [​IMG]
    รูปที่ 1
    ภาพสิงโตรองรับธรรมจักร เหนือบัวหัวเสา บนเสาศิลาอโศก ขุดพบที่ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตรนี้ บรรดาพุทธศาสนิกชนทุกสมัยถือเป็นเหตุการณ์สำคัญอย่างยิ่งตอนหนึ่งในพุทธประวัติ ซึ่งเรียกกันว่า"ปาง" เช่นเดียวกับอีก 3 ตอน คือ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ และปางปรินิพพาน ครั้งภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว จึงได้มีผู้สร้างรูปแสดงเรื่องตามปางเหล่านี้กันขึ้น แต่การที่จะสร้างพระรูปพระพุทธองค์ซึ่งเป็นที่เคารพขึ้นในประเทศอินเดียสมัยนั้น เป็นของต้องห้าม บรรดาศิลปินของอินเดียจึงคิดหาวิธีสร้างเป็นรูปภาพแสดงเรื่องราวตามปางเหล่านั้นขึ้นแทน โดยไมทำเป็นพระรูปพระพุทธองค์ ในเรื่องนี้สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนำเอาแนวความคิดของนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสมาอธิบายไว้ว่า "มูลเหตุของรูปภาพในพระพุทธศาสนา ศาสตราจารย์ฟูแชร์ตรวจหลักฐานที่มีอยู่เห็นว่า เดิมจะเกิดขึ้น ณ ที่บริโภคเจดีย์ 4 แห่ง คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ก่อนที่อื่น ด้วยมีเงินตอกตราเป็นรูปดอกบัวเป็นเครื่องหมายที่ประสูติ รูปต้นโพธิ์เป็นเครื่องหมายที่ตรัสรู้ รูปธรรมจักรเป็นเครื่องหมายที่ปฐมเทศนา และรูปสถูปเป็นเครื่องหมายที่ปรินิพพาน ปรากฎว่าเป็นของเก่าก่อนเจดีย์วัตถุของพระเจ้าอโศกมหาราช ช้านาน......ครั้นต่อมาตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชยกพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นศาสนาสำหรับประเทศ และสร้างเจดีย์วัตถุใหญ่โตต่าง ๆ อันประกอบด้วยฝีมือช่าง พวกช่างเอาเครื่องหมายในเงินตรานั้นมาคิดประกอบเป็นลวดลายของเจดียสถาน ในสมัยนั้นยังห้ามมิให้ทำพระพุทธรูปจึงทำดอกบัวเป็นเครื่องหมายปางประสูติ บัลลังก์กับต้นโพธิ์เป็นเครื่องหมายปางตรัสรู้ ธรรมจักรกับกวางเป็นเครื่องหมายปางปฐมเทศนา พระสถูปเป็นเครื่องหมายปางปรินิพพาน" ล้อธรรมจักรที่นักปราชน์ทางโบราณคดีได้พบว่ามีอายุเก่าที่สุด เข้าใจว่า ธรรมจักร เครื่องหมายพระสัทธรรม ทำลอยตัว ซึ่งประดิษฐานอยู่เหนือสิงโต 4 ตัวหันหน้าออกสู่ทิศทั้งสี่ บนฐานกลมเหนือบัวหัวเสาศิลาของพระเจ้าอโศกมหาราช สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโศก เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 3 (ดูรูปที่ 1)
    [/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]รูปที่ 2 แผนผังพระมหาสถูปที่สาญจี
    อัณฑะ เดิมก่ออิฐ ต่อมาก่อแผ่นหินหุ้ม เมื่อ พ.ศ. 493
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] แต่ต่อมาได้หักพังตกจมดินอยู่ที่ตำบลสารนาถ ใกล้เมืองพาราณสี เพิ่งขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2447 แต่วงล้อธรรมจักรหักเสียหาย ที่ฐานกลมรองรับเหนือบัวหัวเสา ตรงเท้าสิงโตทั้งสี่ลงมานั้น มีวงล้อจำหลักอีก 4 วง ประจำทั้งสี่ด้าน ระหว่างวงล้อ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]จำหลักเป็นรูปสัตว์คั่นช่วงล้อละตัว รวม 4 ตัว คือ รูปช้าง รูปวัว รูปม้า และสิงโต* ภาพของสัตว์ทั้งสี่นี้มองเห็นว่ามิได้ยืนนิ่ง แต่มีท่าวิ่งหรือเดินทุกตัว อันแสดงให้เห็นว่าวงล้อเหล่านั้นกำลังหมุน มิได้หยุดเฉย ซึ่งรัฐบาลอินเดียสมัยนี้ ได้นำรูปบัวหัวเสามีสิงโต 4 ตัวนี้มาใช้เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศอินเดียในปัจจุบัน กับมีเสาสิงโตทรงธรรมจักร เรียกว่า สิงหสตัมภะ ตั้งอยู่ริมประตูหรือโดรณด้านใต้ของพระมหาสถูปสาญจี อีกเสาหนึ่ง (ดูรูปที่ 2 ) ต่อจากสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชมาก็มีล้อธรรมจักรซึ่งนำหลักอยู่เหนือเสาประต ูหรือโดรณของพระมหาสถูปสาญจี มีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 4 - 5 คือ ราว 2000 กว่าปีมาแล้ว[/FONT]
     
  6. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    ธรรมจักรครับ (ต่อ)

    [​IMG]
    รูปที่3 ปางประทานปฐมเทศนา ศิลปสมัยคันธาระ (พ.ศ. 500 - 1050)
    ต่อมาในสมัยคันธาระ (พ.ศ. 500 - 1050) เมื่อศิลปินเชื้อสายกรีกได้คิดสร้างพระรูปพระพุทธองค์ขึ้นโดยตรงแล้ว จึงสร้างรูปปางปฐมเทศนาเป็นรูปพระพุทธองค์ทรงห่มคลุมทั้งสองพระอังสา ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนพระแท่นผันพระพักตร์ก้มต่ำไปทางขวา พระหัตถ์ขวาทรงถือธรรมจักรอยู่ระดับพระชานุ กำลังทรงยื่นธรรมจักรนั้นให้แก่พระปัญจวัคคีย์ซึ่งนั่งอยู่ข้างพระแท่น ด้านขวา 2 องค์ อีก 3 องค์นั่งอยู่ทางซ้ายของพระแท่น ที่หน้าพระแท่นมีรูปกวางหมอบ 1 ตัว หันหัวเหลียวหลัง (ดูรูปที่ 3)
    [​IMG] [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]รูปที่4 รูปที่5
    ปางประทานปฐมเทศนา ศิลปสมัยอมรวดี ปางปฐมเทศนา สมัยคุปตะ (พ.ศ.850 - 1150)
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] แต่ต่อมาในสมัยอมรวดี (พ.ศ. 700 - 850) ทำพระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธองค์ทรงห่มอุตตราสงค์เปิดพระอังสาขวา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนพระแท่น ยกพระหัตถ์ขวา ซึ่งแบฝ่าพระหัตถ์หันออกข้างนอกในระดับพระอังสา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายหันฝ่าพระหัตถ์เข้าเป็นท่าทรงกำจีวรอยู่ระดับพระอุระซ้าย พระปัญจวัคคีย์นั่งอยู่ทางเบื้องขวาพระแท่น 2 องค์ ทรงเบื้องซ้าย 3 องค์ ที่หน้าพระแท่นมีกวาง 2 ตัวหันหน้าเข้าหากัน (ไม่มีธรรมจักร) (ดูรูปที่ 4) แต่พระพุทธรูปปางนี้ ในสมัยคุปตะ (ระหว่าง พ.ศ. 850 - 1150) ทำเป็นรูปพระพุทธองค์ประทับนั่งบนพระแท่น ทรงห้อยพระบาททั้งสองลงอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง (ดูรูปที่ 5) นั่งขัดสมาธิบ้าง ทรงยกพระหัตถ์ขวาจีบเป็นวง หมายถึงธรรมจักร และพระหัตถ์ซ้ายจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นท่ากำลังทรงหมุนอยู่ตรงพระอุระ และมีรูปธรรมจักรหันทางแบนออก อยู่ ณ บัวเบื้องล่างใต้พระบาทลงมา [/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]รูปที่ 6 ปางปฐมเทศนา ศิลปสมัยคุปตะ[/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]หรือถ้าทำเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ก็ทำรูปธรรมจักรหันด้านสันกงออกบ้าง (ดูรูปที่ 6) หันทางส่วนแบนออกบ้าง มีรูปคนนั่งประนมมือตรงหน้าพระแท่นหันด้านข้างออกอยู่สองฟากธรรมจักร ข้างละ 3 คน รวม 6 (กล่าวกันว่าที่ทำเป็น 6 คนนั้นเป็นรูปพระปัญจวัคคีย์ 5 องค์ กับรูปคนสร้างพระพุทธรูปปางนี้อีก 1 จึงเป็น 6 คน) เบื้องหน้าธรรมจักรออกมา มีกวางหมอบเหลียวหลังข้างละตัว นอกนั้นก็มีลวดลายประดับบ้าง ทำเป็นภาพประกอบบ้าง ต่าง ๆ กันออกไป ที่มีรูปกวางอยู่ด้วย ก็เพื่อให้ผู้ดูทราบได้ว่ากำลังทรงประทาน ปฐมเทศนา ในมิคทายวัน แต่ที่สำคัญก็คือรูปธรรมจักร จำหลักบนแผ่นหิน ทำเป็นภาพลายนูนต่ำบ้าง นูนสูงบ้าง และมีภาพจำหลักอื่นประกอบ หรือจำหลักประกอบกับภาพอื่น มีภาพพระพุทธองค์ทรงประทานเทศนา เป็นต้น ที่ปรากฎว่าจำหลักเป็นธรรมจักร หรือรูปวงล้อลอยตัวโดยเฉพาะเช่นล้อธรรมจักรที่พบในประเทศไทย ก็คงมีแต่ธรรมจักรเหนือหัวสิงโต 4 ตัว ซึ่งขุดพบที่สารนาถ และธรรมจักร บนสิงหสตัมภะ ที่สาญจี [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]........................................[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]* บางท่านอธิบายว่าสัตว์ทั้งสี่นี้ เป็นสัตว์ประจำทิศสี่ ในคัมภีร์ไตรภูมิฉบับรัชกาลที่ 1 มีกล่าวว่า สระอโนตมีทางน้ำไหลออก 4 ทิศ ทิศตะวันออกไหลออกจากปากราชสีห์ ทิศตะวันตกไหลออกจากปากช้าง ทิศเหนือไหลออกจากปากม้า และทิศใต้ไหลออกจากปากโค เรื่องนี้คงมาจากแนวทางคิดเดียวกัน [/FONT]
     
  7. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    ธรรมจักรครับ (ต่อ)

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] ธรรมจักรที่พบในประเทศไทยส่วนมากจำหลักลอยตัว และจำหลักทั้งสองด้าน มีอยู่อันหรือสองอันที่จำหลักด้านเดียวเช่นที่ในวัดมหาธาตุจังหวัดเพชรบุรี ล้อธรรมจักรที่พบและรู้จักกันในประเทศไทยนั้น เข้าใจว่าเริ่มแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งโปรดให้ขุดแต่งบูรณะพระปฐมเจดีย์ในรัชกาลที่ 4 ปรากฎว่าได้ขุดพบธรรมจักรหรือวงล้อศิลา ในบริเวณพระปฐมเจดีย์ เป็นจำนวนหลายอัน ซึ่งบางอันแตกหัก ชิ้นส่วนสูญหายไป ที่ยังอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์ดีก็มี แต่ละอันมีลายประดับมากบ้างน้อยบ้าง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงนิพนธ์ถึงธรรมจักรหรือวงล้อเหล่านี้ไว้ในเรื่องพระปฐมเจดีย์ มีความตอนหนึ่งว่า "เขาขุดได้จักรศิลาที่คนแต่ก่อนทำบูชาพระไว้ในวัดเก่า ๆ จมอยู่ใต้ดินมีหลายอัน นี่ก็รู้ได้ว่าแต่ก่อนนั้นเห็นจะเป็นเมืองใหญ่โต ไพบูลย์ด้วยโภไคยไอศวรรย์สมบัติเป็นเเมืองอันพระมหากษัตริย์ได้ครอบครอง เห็นท่านผู้เป็นเจ้าของจักรสำคัญคิด ว่าสมบัติของเรานี้วิจิตรโตใหญ่อยู่แล้ว ยังขาดอยู่แต่จักรแก้วยังหามีไม่ จึงได้ทำจักรศิลาบูชาพระรัตนตรัยในเพลานั้น ด้วยมุ่งหวังหาผลเป็นสำคัญของท่านผู้ครอบครองแผ่นดิน อีกอย่างหนึ่งจะทำไว้ให้เห็นว่าเมืองนี้เป็นสุทัศนเทพนคร เมื่อถึงศาสนกาลนี้ได้มีนามกรว่าเมืองกุสินารา เป็นมงคลประเทศปรากฎเล่าลือมาจนกาลบัดนี้ ว่าเป็นที่เกิดที่มีแห่งพระเจ้าจักรพรรดิมาแต่ก่อน จักกรัตนะจึงได้ซุกซ่อนลับจมอยู่ใต้ดิน"* ธรรมจักรหรือวงล้อเหล่านี้ ต่อมาได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ บ้าง จัดตั้งแสดงไว้ที่ระเบียงด้านตะวันอตกองค์พระปฐมเจดีย์บ้าง เก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานฯ พระปฐมเจดีย์บ้าง เมื่อฟูแนโร (L. Fournerau) นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ได้มาพบวงล้อหรือจักรศิลานี้ในปี พ.ศ. 2438 ก็ได้นำรูปไปพิมพ์ลงในหนังสือเรื่อง "ประเทศสยามโบราณ" (Le Siam ancien) และอธิบายไว้ว่า วงล้อเหล่านี้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงจักรหรือล้อรถของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ แต่ลาจองเกียร์ (L. de Lejonquiere) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง "โบราณสถานในประเทศสยาม" (Le domaine archeologique du Siam) ไม่เชื่อว่าวงล้อเหล่านี้เป็นล้อรถ เพราะเหตุว่าไม่มีการเจอะเป็นรูที่ดุมเลย เขาคิดว่าคงจะเป็นใบเสมามากกว่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพตรัสเล่าไว้ว่า "ศิลากงจักรนี้ ไม่ปรากฎว่ามีในประเทศพม่า รามัญ หรือเขมร แม้ในประเทศสยามก็พบแต่ที่จังหวัดนครปฐม กับได้ยินว่ามีทางจังหวัดนครราชสีมาบ้าง แต่จังหวัดอื่นหาปรากฏว่ามีไม่"**
    [/FONT]
    [​IMG] [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]รูปที่ 7 รูปที่ 8
    ธรรมจักรศิลา วัดคลองขวาง ธรรมจักรหินทรายแดง
    ตำบลเมืองเสนา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี( จำหลักด้านเดียว )
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    ที่ว่ามีทางจังหวัดนครราชสีมานั้น ปัจจุบันอยู่ที่วัดคลอง ( ดูรูปที่ 7 ) ตำบลเมืองเสมา ในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา กับได้พบที่วัดพริบพรี และวัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรีด้วย ( ดูรูปที่ 8 ) และต่อมาเมื่อกรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งโบราณสถานในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2506 ก็ได้พบธรรมจักรหรือวงล้อศีลาอีก 3 อัน และมีอยู่อันหนึ่งยังครบถ้วนสมบูรณ์ดี กับพบจำหลักไว้ที่หินตั้งในจังหวัดกาฬสินธุ์อีกแห่งหนึ่ง วงล้อศิลาหรือธรรมจักรดังกล่าวนี้ท่านศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ อธิบายไว้ว่า "เนื่องจากได้ค้นพบรูปกวางใกล้กับรูปวงล้อศิลาเหล่านี้จึงทำให้คิดกันว่า วงล้อเหล่านี้คงหมายถึงธรรมจักร ซึ่งพระพุทธองค์ทรงหมุน ( คือสั่งสอน ) เมื่อประทานปฐมเทศนา ณ มฤคทายวัน"***
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][​IMG]
    รูปที่ 9
    ธรรมจักรศิลา สมัยทวารดี พุทธศตวรรษที่ 11 - 16
    ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
    กำด้านหน้าที่เห็นอยู่นับได้ 36 ซี่ แต่ด้านหลังนับได้ 35 ซี่
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]ธรรมจักรหรือวงล้อที่ทำด้วยศิลาตามที่พบเห็นแล้วนั้น มีขนาดต่าง ๆ กัน อันใหญ่ที่สุดวัดผ่านศูนย์กลาง 1.95 เมตร เวลานี้จัดตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( ดูรูปที่ 9 ) อันเล็ก ๆ ก็มีอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์หลายล้อ แต่ชำรุดทุกล้อ และมีอยู่ล้อหนึ่ง ( ชำรุด ) เวลานี้อยู่ในพิพิธภัณฑสถานฯ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี วัดผ่านศูนย์กลาง 45 เซนติเมตร[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][​IMG] [​IMG]
    รูปที่ 10 รูปที่ 11
    ธรรมจักรศิลา ศิลปสมัยทวารวดี ธรรมจักร พบที่จังหวัดนครปฐม
    พุทธศตวรรษ ที่ 11 - 12 ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์
    ขุดพบที่เมืองเก่า อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] ธรรมจักรทั้งล้อใหญ่ล้อเล็กมีลวดลายประดับตามซี่กำวงล้อ วงดุม และฐานที่ตั้ง จำหลักและประดิษฐ์ลายไว้ต่างๆ กัน บางวงล้อก็ฉลุทะลุเป็นช่องโปร่งระหว่างซี่กำ เช่นธรรมจักรอันหนึ่งซึ่งขุดพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ( ดูรูปที่ 10 ) และของส่วนพระองค์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ( ดูรูปที่ 11 )**** แต่ส่วนมากมิได้ฉลุให้ทะลุ ที่น่าสังเกตก็คือ ซี่กำของวงล้อหรือธรรมจักรนั้นมีจำนวนต่าง ๆ กัน และเนื่องจากวงล้อแต่ละอันมีจำนวนซี่กำแตกต่างกันนี้เอง จึงชวนให้นักธรรมะชาวไทยขบคิดหาหลักธรรมต่าง ๆ เข้าประกอบ เพื่อหาคำอธิบาย เช่น วงล้อมีกำ 8 ซี่ ก็ว่าหมายถึงอริยมรรค 8 วงล้อที่มีกำ 12 ซี่ ก็ว่าหมายถึงอาการ 12 ที่กล่าวว่า "ทฺวาทสการํ" ไว้ในธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ที่มีกำ 16 ซี่ ก็ว่าหมายถึงโสฬสธรรมหรืออาการ 16 ของอริยสัจสี่ แต่ธรรมจักรหรือวงล้อศิลาที่พบมาแล้วนั้น มิได้มีแต่ล้อที่มีจำนวนกำเพียง 8 ซี่ 12 ซี่ และ 16 ซี่เท่านั้น หากแต่มีจำนวน 14 ซี่ก็มี, 17 ซี่ก็มี, 18 ซี่ก็มี, 21 ซี่ก็มี, 22 ซี่ก็มี, 24 ซี่ก็มี, 26 ซี่ก็มี, 32 ซี่ก็มี, 35 ซี่ก็มี มิหนำซ้ำวงล้ออันเดียวกัน แต่ทำซี่กำแต่ละด้านจำนวนไม่เท่ากันก็มี

    ................................................................................................................
    * เรื่องพระปฐมเจดีย์ ฉบับกรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ พ.ศ. 2506
    ** เชิงอรรถ (1) ในตำนานพระพุทธเจดีย์ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2503 น. 94
    *** ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 ตีพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2506 น. 46 - 47
    **** ธรรมจักรศิลา ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
    มีจารึกอริยสัจภาษาบาลี ดูในประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 ตีพิมพ์ครั้งที่ 2
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD align=middle><HR color=#dddddd SIZE=1></TD></TR><TR><TD align=middle>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    ธรรมจักรครับ (ต่อ)

    ถ้าจะพากเพียรขบคิดหาหัวข้อธรรมเข้าประกอบคำอธิบายให้ลงตัวได้ จำนวนเท่ากับซี่กำของวงล้อนั้น ๆ ก็เชื่อว่าคงจะพากเพียรขบคิดค้นหากันจนได้ แต่ก็คงจะเลอะเทอะเลื่อนลอยไม่เป็นหลักเกณฑ์ที่จะพึงยึดถือให้เกิดสาระอันใด ข้าพเจ้าเข้าใจว่าช่างที่สร้างกงล้อหรือธรรมจักรศิลานี้ขึ้นไว้ อาจจมิได้มุ่งหมายจะทำซี่กำให้มีจำนวนเท่ากับหลักธรรมข้อนั้นข้อนี้ หากแต่คงคิดประดิษฐ์ให้เป็นเครื่องหมายแทนพระธรรมจักร ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเทศนา และพระธรรมจักรที่พระพุทธเจ้าโปรดเทศนานั้น ก็ตรัสไว้ตรงตัวอยู่แล้วว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต ซึ่งแปลว่าได้ว่าพระสูตรว่าด้วยการหมุนล้อแห่งธรรม หมายความว่าธรรมจักร หรือล้อรถแห่งธรรมนั้นมิได้ตั้งอยู่เฉย ๆ แต่หมุนเวียนไป ซึ่งในพระสูตรนั้นเองก็บอกไว้แล้วว่า "ธรรมจักรประเสริฐยิ่ง ที่สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก หมุนกันไม่ได้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมุนได้แล้ว" เมื่อช่างมาประดิษฐ์สร้างขึ้นเป็นวงล้อ เป็นสัญญลักษณ์ประทานปฐมเทศนา ก็คงมุ่งหมายให้คนดูเห็นว่า ล้อกำลังหมุนไป เมื่อวงล้อมันหมุน สายตาของเราที่มองดูอยู่ก็จะเห็นจำนวนของซี่กำแตกต่างกันไป สุดแต่สายตาจะกำหนดได้ แต่การเขียนภาพหรือทำรูปซึ่งเป็นของตั้งอยู่กับที่ จะทำให้เห็นเป็นหมุนได้อย่างไร เขาคงคิดกันมาแล้ว ข้อนี้ถ้าพิจารณาโดยอาศัยหลักศิลปทางจิตรกรรม และประติมากรรมเข้ามาประกอบกับข้อความในพระบาลีที่กล่าวข้างต้น และสังเกตให้ดี จะเห็นลายกระหนกที่ขอบกงชั้นนอกของธรรมจักรหรือวงล้อศิลาบางอันช่างเขาทำอย่างมีความหมาย คือทำเป็นลายกระหนกเอนลู่ไปมารอบ ๆ วง แสดงว่า ล้อ หรือธรรมจักรนั้นกำลังหมุนไป มิได้หยุดนิ่ง อาจหมุนเป็นอนุโลมปฏิโลมก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเทียบล้อวงล้อที่บัวหัวเสาของของพระเจ้าอโศก จะเห็นท่าทางของสัตว์ทั้งสี่กำลังวิ่งและเดิน เมื่อสัตว์เหล่านั้นต่างวิ่งและเดิน วงล้อหรือธรรมจักรจะตั้งอยู่นิ่ง ๆ ได้อย่างไร จำจะต้องหมุนไปด้วย

    [​IMG] [​IMG]
    รูปที่ 12 รูปที่ 13

    ธรรมจักรศิลาแลง ธรรมจักรหินทราย
    พิพิธภัณฑสถานฯ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] ธรรมจักรหรือวงล้อศิลา ทำลอยตัว ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นของทำด้วยหินแลงก็มี ทำด้วยหินทรายก็มี แต่เป็นส่วนน้อย เท่าที่พบเห็นก็มีอยู่ 2 - 3 อัน และไม่มีลวดลายจำหลักอันใด นอกจากสกัดให้เป็นรูปวงล้อ มีดุม มีกำและมีกง เช่นที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์ ( ดูรูปที่ 12 ) และในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( ดูรูปที่ 13 ) แต่ก็ล้อธรรมจักร ส่วนมากเท่าที่พบในจังหวัดนครปฐมและจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นของทำด้วยหินปูนสีเขียวแก่ อย่างที่เรียกว่า bluish limestone ( ดูรูปที่ 14 - 20 ) ธรรมจักรที่ทำด้วยหินปูนสีเขียวแก่นี้ ได้เคยสืบหาแหล่งหินกัน และเข้าใจว่าเป็นเนื้อหินที่หาได้จากบริเวณเขาตกน้ำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี กับบริเวณห้วยชินสีห์ จังหวัดราชบุรี และบริเวณเทือกเขาในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ที่ว่าหาได้จากบริเวณนั้นบริเวณนี้ เพราะไม่แต่จะหาหินชนิดนั้นได้จากภูเขา หากแต่มีหินชนิดดังกล่าวเป็นแผ่นหินลอยตัวอยู่ตามพื้นดินที่ราบในบริเวณนั้นๆ เช่นล้อธรรมจักที่วัดคลองขวาง ตำบลเมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา ( ดูรูปที่ 7 ) ก็คงทำจากแผ่นหินที่หาได้ในลำห้วยแถวตำบลเมืองเสมา อำเภอสูงเนิน นั่นเอง และขอบอกกล่าวไว้เสียเลยว่า เนื้อหินของธรรมจักรที่วัดคลองขวาง เมื่อเปรียบเทียบกับธรรมจักรที่พบในจังหวัดนครปฐมแล้ว เห็นได้ว่าฝีมือช่างและเนื้อหินต่างกัน เพราะทำจากหินและฝีมือช่างต่างถิ่นกัน หินปูนดังกล่าวนี้ นอกจากนำมาจำหลักเป็นล้อธรรมจักรแล้วยังใช้จำหลักเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ด้วย คงจะเนื่องด้วยเนื้อหินชนิดนี้อ่อน แกะจำหลักได้ง่าย และธรรมจักรที่ขุดพบในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้พบทั้งฐานและเสาศิลา จึงเข้าใจกันว่า ล้อธรรมจักรที่เห็นกันมา แต่เดิมคงจะตั้งอยู่บนยอดเสา หน้าพระสถูป ( ดูรูปที่ 1,2 และ 27,28 เปรียบเทียบ )
    [/FONT]
    [​IMG][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    รูปที่ 14
    ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
    รอบดุมจำหลักเป็นบัวรวน กงโดยรอบเป็นลายก้านขด
    [/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]รูปที่ 15
    ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
    รอบดุมจำหลักบัวกลีบเตี้ย กงเป็นลายประจำยาม
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    [​IMG]
    รูปที่ 16
    ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    [​IMG]
    รูปที่ 17
    ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
    บัวรอบดุมไม่มีเกสร วงล้อเป็นลายเนื่องและเส้นลวด
    บัวรองทำเป็นกลีบยาวคล้ายกาบหอยแคลง
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    [​IMG]
    รูปที่ 18
    ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
    ลวดลายรอบดุมและที่กงจำหลักเป็นลายบัวรวนแข้งสิงห์
    ฐานรูปสี่เหลี่ยมเจาะรู
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    [​IMG]
    รูปที่ 19
    ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
    ลายรอบดุน จำหลักเป็นลายกลีบบัว ( ธรรมดา )
    ส่วนลายขอบกง จำหลักเป็นรูปบัวฟันยักษ์
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]

    [​IMG]
    รูปที่ 20
    ธรรมจักรหินปูน พิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
    ที่กงล้อจำหลักเป็นลายก้านขด


    [/FONT] ​
     
  9. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    รอยพระบาทพระเจ้าอยู่หัวครับใครเคยเห็นมังเอ่ย

    [​IMG]
    ประวัติความเป็นมา
    รอยพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลเดชมหาราช

    [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="19%">[​IMG]</TD><TD vAlign=top width="81%">ในวันที่ ๒๗ ก . ย . ๒๕๒๕ ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช องค์จอมทัพไทย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
    , สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและพระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดดามาตุ เพื่อเยี่ยมเยือนทหารหาญ และ ราษฎร ณ ฐานปฏิบัติการ ดอยพญาพิภักดิ์ บนดอยยาว อ . เทิง จว . เชียงราย และในวโรกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาพระราชทาน ประทับรอยพระบาทของพระองค์ ลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร ์ ที่เตรียมไว้ เพื่อเป็น มิ่งขวัญแก่ทหารกล้าทั้งปวง นับตั้งแต่ บัดนั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันรอยพระบาทคู่หนึ่ง ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลารอยพระบาท กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๗ ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี เพื่อเป็น ที่เคารพสักการะของกำลังพลคู่กับอนุสาวรีย์ผู้เสียสละ สืบต่อไป อีกคู่หนึ่งเก็บรักษาไว้ที่จังหวัดเชียงราย ของ พคท . ในเขตภาคเหนือ จากนั้นได้ขยายการต่อสู้เรื่อยมา โดยในวันที่ ๑๐ พ . ค . ๒๕๑๐ ได้มีการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาล ที่ บ.ห้วยชมภู ต .ยางฮอม อ . เทิง จว . เชียงราย ( เป็นครั้งแรกในเขตพื้นที่ดอยยาว
     
  10. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    ธรรมจักรครับ (ต่อ)

    ล้อธรรมจักรที่ทำด้วยหินปูนสีเขียวแก่ดังกล่าว มีลวดลายจำหลักอยู่ทั่วไป ทั้งที่วงรอบดุม ที่กำและที่กง โดยปกติที่วงรอบดุมจะมีรูปจำหลักเป็นเม็ดกลม ๆ เรียกว่า ลายเนื่อง โดยรอบ คงจะสมมติเป็นเกสรบัว แล้ววงถัดออกมา จำหลักเป็นกลีบบัวธรรมดาบ้าง บัวรวนบ้าง บัวฟันยักษ์บ้าง วงถัดออกมาจำหลักเป็นลายเนื่องโดยรอบอีก ถัดออกมาจำหลักเป็น ซี่กำ โคนใหญ่ปลายย่อม ให้เห็นซี่เป็นรูปกลมบ้าง เป็นเหลี่ยมบ้าง และที่วงล้อเบื้องล่างจำหลักเป็น บัวคว่ำหัวหงาย มี ลายก้านขด ต่อขึ้นไปเป็นรูป 3 เหลี่ยม บางล้อก็มีรูปเทวดาหรือกษัตริย์ทรงมงกุฎโผล่พระพักตร์เพียงอุระ สองหัตถ์เกาะอยู่ขอบราวกลีบบัว คล้ายโผล่บัญชร ( ดูรูปที่ 21 )

    [​IMG]
    รูปที่ 21
    ธรรมจักรหินปูน ขุดพบในโบราณสถาน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
    ที่ฐานจำหลักเป็นรูปเทวดาหรือกษัตริย์โผล่บัญชร หัตถ์ทั้งสองเกาะราวกลีบบัว
    ที่ฐานรองรับสี่เหลี่ยมมีจารึกคาถาภาษาบาลี ( ดูรปที่ 25 )
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    ปลายกำด้านติดกับ ท้องกง แต่ละซี่จำหลักเป็นกระหนกคล้าย บัวหัวเสา รับท้องกง วงถัดออกมาเป็นท้องกง จำหลักเป็น เส้นลวด เสียรอบหนึ่ง ถัดออกมาก็จำหลักเป็น รักร้อยประเภทกลีบบัว เป็นวงไปโดยรอบบ้างเป็น ลายก้านขด ชั้นเดียวหรือสองชั้นบ้าง เป็น ลายก้านต่อดอก บ้าง แล้วจำหลักเป็น เส้นลวด คั่น วงขอบนอกของกงจำหลักลายคล้าย กระหนกเปลว บ้าง เป็น เม็ดบัว บ้าง เป็นรูปอื่น ๆ บ้าง แต่ธรรมจักรบางอันก็จำหลักละเอียดประณีตกว่าที่กล่าวมานี้มาก เช่น ธรรมจักรศิลาอันใหญ่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำหลักลวดลายละเอียดหลายวงหลายชั้น* และที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ธรรมจักรทุกล้อ จำหลักเป็นฐานที่ตั้งติดอยู่ในบัว แต่บางล้อก็ทำเป็นแกนคล้ายกับจะเสียบตั้งลงในฐานะรองรับอันอื่น ฐานที่ตั้งติดล้อนั้น บางอันก็จำหลักเป็นบัวหงายบัวคว่ำ บางอันที่เป็นบัวหงายก็จำหลักกลีบบัวเสียยาวเฟื้อยมองดูคล้ายหอยแคลง ( ดูรูปที่ 17 ) บางอันก็ทำเป็นลายก้านขดคู่ บางอันก็ทำเป็นลวดลายอย่างอื่น และบางอันก็ทำเป็นลายกระหนกสูงขึ้นมาปิดซี่กำด้านล่างจนถึงขอบดุม มีล้อธรรมจักรอยู่ 2 ล้อ ที่ฐานด้านตั้งทำเป็นรูปเทวดานั่งขัดสมาธิราบ มือทั้งสองถือก้านชูดอกตูมข้างละดอกยกขึ้นเหนือบ่าทั้งสอง ซึ่งท่านผู้รู้บางท่านอธิบายว่าเป็นรูปอรุณเทพบุตร ( ดูรูปที่ 22 ) และมีอยู่ล้อหนึ่งที่ข้างทั้งสองของอรุณเทพบุตรนั้นจำหลักเป็นรูปคนแคระหรือกุมภัณฑ์ เอาหลังยันแบกขอบล่างของวงล้อข้างละคน ( ดูรูปที่ 23 )


    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][​IMG] [​IMG]
    รูปที่ 22 รูปที่ 23
    ธรรมจักรหินปูน พิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์ ธรรมจักรหินปูน ที่ฐานรองมีรูปอรุณเทพบุตร
    กงล้อ จำหลักเป็นลายก้านขอ ที่ฐานรองรับทำเป็น และมีคนแคระหรือภุมภัณฑ์ แบบอยู่สองข้าง
    รูปเทวดาถือดอกบัว หรืออรุณเทพบุตร..........................................................................
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]กับมีฐานของธรรมจักรชิ้นแตกหัก แต่ตรงที่เป็นรูปอรุณเทพบุตร หรือบางท่านว่าเป็นรุปครุฑ ถือดอกบัว ยังอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งอยู่ที่ระเบียงพระปฐมเจดีย์อีกชิ้นหนึ่ง ( ดูรูปที่ 24 ) กับขุดพบที่เนินโคกเจดีย์ ทางทิศตะวันออกของเมืองเก่ากำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม อีกล้อหนึ่ง ที่ฐานศิลา 4 เหลี่ยมจารึกคาถาภาษาบาลี ( ดูรูปที่ 21 และ 25 ) ว่า


    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][​IMG] [​IMG]
    รูปที่ 24 รูปที่ 25
    ฐานธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต ฐานรองรับธรรมจักรศิลารูปที่ 21
    พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม มีจารึกคาถาภาษาบาลี ดูคำอ่านด้านล่าง
    รูปเทวดาหรือบางท่านว่าเป็นรูปครุฑถือดอกบัว ขุดพบที่โบราณสถานเมืองกำแพงแสน
    ............................................................................ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] สจฺจกิจฺกตญาณํ จตุธา จตุธา กตํ
    ติวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ธมฺมจกฺกํ มเหสิโน
    แปลว่า ธรรมจักร ของพระ (พุทธเจ้า) ผู้แสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่ ทำ (ซี่กำ) ให้เป็นสี่ ๆ (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีญาณรู้สัจจะ รู้ที่ควรทำ รู้ที่ทำแล้ว หมุนไป 3 รอบ จึงเป็นอาการ 12

    ที่ข้าพเจ้านำเรื่องลวดลายจำหลักในธรรมจักรศิลามากล่าวโดยสังเขป ก็เพื่อเป็นแนวให้ท่านผู้สนใจใช้เป็นข้อสังเกตเมื่อพบเห้น ลักษณะของลวดลายในล้อธรรมจักรดังกล่าวนี้ นักโบราณคดีวินิจฉัยกันว่าธรรมจักรในเมืองไทย เป็นของทำขึ้นในสมัยทวารวดี ( พุทธศตวรรษที่ 11 - 16 ) เพราะส่วนใหญ่คล้ายกับลวดลายสมัยราชวงศ์คุปตะในอินเดีย ถ้ากระนั้นก็แสดงว่าได้มีผู้นำเอาแบบอย่างวัฒนธรรมของอินเดียโบราณ เข้ามาสู่ดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ภาคนี้ อย่างน้อยก็ในสมัยราชวงศ์คุปตะครองประเทศอินเดีย ระหว่าง พ.ศ. 850 - 1150 หรือถัดมายังมีธรรมจักรศิลาชิ้นสำคัญอีกล้อหนึ่ง แต่น่าเสียดายที่แตกชำรุดและบางส่วนหายไป เดี๋ยวนี้เก็บรักษาล้อธรรมจักรนี้ไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์
    [/FONT]
     
  11. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    ธรรมจักรครับ (ต่อ)

    ธรรมจักรล้อนี้มีที่น่าสังเกตคือ ฐานสำหรับตั้งจำหลักเป็นดอกบัวใหญ่คล้ายบัวหัวเสา ทำแย้มกลีบกางออกอย่างแบบบัวกระจับ รองรับวงล้อ บนดอกบัวใหญ่นั้นจำหลักรูปนางกษัตริย์นั่งขัดสมาธิราบ ที่กล่าวว่านางกษัตริย์ ก็เพราะในรูปมีศิราภรณ์ สองหัตถ์ประคองพระอุทร มีช้างสองเชือกยืนอยู่บนกลีบบัวดอกเดียวกันนั้นด้วยข้างละตัว ต่างชูงวงลือเต้าน้ำเทลงมายังนางกษัตริย์ ( ดูรูปที่ 26 ) ล้อธรรมจักรนี้ ถ้าว่าในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ก็ควรได้รับพิจารณาอย่างยิ่ง จึงขอนำข้อคิดเห็นมากล่าวต่อไป

    [​IMG]
    รูปที่ 26
    ธรรมจักรหินปูน (ชำรุด) พิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
    เบื้องล่างจำหลักเป็นนางกษัตริย์ประทับนั่งบนดอกบัวใหญ่
    มีช้างสองเชือกชูงวง ถือเต้าน้ำเทลงมา
    ( เปรียบเทียบกับภาพลายเส้นแสดงส่วนสมบูรณ์ ดูรูปด้านล่าง )

    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]ภาพลายเส้นแสดงส่วนสมบูรณ์ของธรรมจักรหินปูน รูปที่ 26[/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]ภาพนางกษัตริย์นั่งบนดอกบัวใหญ่ มีช้างสองเชือกชูงวงถือเต้นน้ำเทลงมา
    ภาพลายเส้น ขยายจากรูปที่ 26 ( เปรียบเทียบรูปที่ 29 และรูปที่ 31 )
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] รูปจำหลักเป็นนางกษัตริย์นั่งบนดอกบัวใหญ่ และมีช้างสองเชือกยืนอยู่ 2 ข้าง ต่างชูงวงยกเต้าน้ำเทรพลงมายังนางกษัตริย์ที่ล้อธรรมจักรดังกล่าวนี้ ศิลปินผู้สร้างและผู้แกะจำหลักในถิ่นนี้ จะคิดขึ้นเองหรือได้แบบอย่างมาจากไหน ? เราควรจะลองค้นคว้าหาแหล่งที่มาของแนวความคิดและแบบอย่างกันดู จะค้นคว้าได้อย่างใด ? ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ได้มีผู้นำเอาแบบอย่างวัฒนธรรมอินเดียโบราณเข้ามาสู่ดินแดนภาคนี้ เราจึงลองพากันเดินทางไปสืบดูในดินแดนนั้นบ้าง บางทีอาจพบแนวความคิดดังกล่าว และสมมติว่าเรามีโอกาสได้เดินทางไปชมและนมัสการปูชนียสถานในอินเดียตอนกลาง ผ่านไปนมัสการปูชนียสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่โพธิคยา แล้วไปสารนาถที่ทรงประทานปฐมเทศนา แล้วผ่านลึกเข้าไปตอนภาคกลางของประเทศไปดูภารหุต และวกลงไปนครอุชเชนีโบราณ แล้วค่อย ๆ เลี้ยวลงทางตะวันตกเฉียงใต้เข้าไป จะพบบรรดาปูชนียสถานโบราณ ณ บริเวณสาญจี ซึ่งมีพระมหาสถูป มีกำแพงศิลาและมีประตูหรือโดรณทำด้วยหิน ตั้งตระหง่ายประจำอยู่ทั้งสี่ทิศ ประกอบด้วยพระสถูปใหญ่น้อยและปูชนียสถานอื่น ๆ อีกมากมายมีภาพจำหลักเป็นคนและสัตว์ เป็นลายประดับ เป็นชาดกบางเรื่องและเป็นสัญญลักษณ์แสดงปางต่าง ๆ ในพุทธประวัติบางตอน ซึ่งนักค้นคว้าทางโบราณคดีค้นพบว่าพระมหาสถูปสาญจีนั้น แรกสร้างขึ้นไว้ในสมัยราชวงศ์เมารยะหรือโมริยะ ครองประเทศอินเดีย ราวระหว่าง พ.ศ. 220 หรือ พ.ศ. 230 ถึงราว พ.ศ. 356 ซึ่งตั้งนครหลวงอยู่ ณ นครปาฏลิบุตร ราชวงศ์เมารยะนี้มีพระมหากษัตริย์ที่นักประวัติศาสตร์รู้จักพระนามกันดี 3 พระองค์ คือ พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้ตั้งราชวงศ์เมารยะ พระเจ้าพินทุสาร ซึ่งมีฉายาว่า อมิตตฆาฏ และพระเจ้าอโศก มหาราช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภกพระบวรพุทธศาสนา พระมหาสถูปสาญจีก็ดี ภาพจำหลักเป็นสัญญลักษณ์ที่ช่างศิลปชาวอินเดียนำมาใช้แสดงเป็นปางต่าง ๆ ในพุทธประวัติก็ดี นักประวัติศาสตร์ และโบราณคดีลงความเห็นกันว่า ได้สร้างขึ้นและนำมาใช้ในรัชสมัยพระเจ้าอโศก มหาราช ซึ่งเสวยราชย์ในระหว่าง ปี พ.ศ. 270 ถึง 311* สถานที่ซึ่งเรียกว่า สาญจี นั้นเป็นเนินเขา ในคัมภีร์มหาวงศ์ ซึ่งเป็นพงศาวดารของลังกา เรียกเนินเขาสาญจีว่า เจติยคิรี ปัจจุบันอยู่ในแคว้นโภปาล มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าโอศก ครั้งดำรงตำแหน่งรัชทายาทและเสด็จไปยังนครอุชเชนี ระหว่างทางได้หยุดประทับพักอยู่ ณ คฤหาสน์ของเศรษฐีผู้หนึ่งในเมืองวิทิศา ( คือเมือง Besnagar ปัจจุบัน ) ได้ทอดพระเนตรเห็นลูกสาวเศรษฐีผู้นั้นทรงสิริโฉมงดงาม ก็ทรงสิเนหา และได้ทรงอภิเษกกับธิดาของเศรษฐีผู้นั้น เป็นมเหสีองค์แรก ต่อมาพระมเหสีองค์นี้มีพระนามว่า วิทิศา - มหาเทวี 3 องค์ เป็นโอรส 2 ชื่อ อุชเชนิยะ กับ พระมหินท์ ** ส่วนธิดา คือ นางสังฆมิตตา ครั้นพระเจ้าอโศกได้เสวยราชย์สืบราชสมบัติต่อมาพระเจ้าพินทุสาร พระราชบิดา และได้ทรงอุปถัมภ์พระบวรพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ทรงเป็นอุปถัมภกทำตติยสังคายนาซึ่งจัดให้มีขึ้น ณ กรุงปาฏลิบุตร พระมหินท์ ราชโอรสก็เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา และพระราชบิดได้โปรดให้ทรงเป็นหัวหน้านำคณะสมณฑูตไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในลังกาทวีป ซึ่งในตำนานกล่าวว่า ก่อนพระมหินทเถระจะไปลังกานั้น ได้เสด็จไปเยี่ยมโยมมารดาที่เจติยคิรี ใกล้เมืองวิทิศา และได้พักอยู่ในวิหารอันโอ่อ่าที่โยมมารดาได้สร้างขึ้นที่นั่น ณ บริเวณเนินเขาสาญจี ซึ่งเรียกว่า เจติยคิรี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงสร้างหลักศิลาจารึกพระราชโองการของพระองค์ ตลอดจนทรงก่อสร้างอนุสรณสถานอื่น ๆ ไว้ ณ เนินเขานั้นด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ก่อนหน้านั้นหรือระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าอโศกว่า "ได้ทรงทำให้ชมพูทวีป ( คืออินเดีย ) งดงามด้วยพระสถูปเจดีย์ชั่วพริบตา ด้วยอานุภาพของพวกยักษ์" ตำนานทางพระพุทธศาสนาก็กล่าวว่า พระเจ้าอโศกได้ทรงสร้างพระสถูปเจดีย์จำนวนถึง 84,000 ในดินแดนประเทศอินเดีย และอาฟกานิสถาน แม้ตำนานจะกล่าวจำนวนไว้ดูจะมากเกินไป แต่ก็แสดงว่าได้ทรงสร้างไว้มากมายรวมทั้งที่สร้างมหาสถูปสาญจีในแคว้นโภปาลดังกล่าวด้วย แต่เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว อำนาจของพระราชวงศ์เมารยะก็เสื่อมลง มหาอาณาจักรของราชวงศ์เมารยะก็แตกแยกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย กษัตริย์พระองค์สุดท้ายในราชวงศ์เมารยะ ทรงพระนามว่า พฤหัทรถ ก็ถูกเสนาบดีมีนามว่าปุษยมิตร ซึ่งเกิดในสกุลพราหมณ์ ปลงพระชนม์เมื่อราว พ.ศ. 356 แล้วปุษยมิตรก็ขึ้นครองราชสมบัติและตั้งราชวงศ์ใหม่ชื่อ ราชวงศ์ศุงคะ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] พระเจ้าปุษยมิตร แห่งราชวงศ์ศุงคะ ขึ้นครองราชสมบัติ ณ นครปาฏลิบุตร ราวระหว่าง พ.ศ. 356 - 392 มีตำนานกล่าวว่า ทรงเป็นศัตรูจองล้างจองผลาญพระพุทธศาสนา เช่นที่กล่าวไว้ในคัมภรีย์มัญชุศรีมูลกัลป ว่า นาศยิษฺยติ ตทา มุธา วิหารํ ธาตุวรํ สตธา ภิกฺษวะ ศีลสมฺปนฺนมฺ ฆาตยิษฺยติ ทุรฺติ แปลว่า "ครั้งนั้น ผู้โฉดเขลา จักทำลายวิหารที่ประดิษฐานพระบรมธาตุให้ย่อยยับหาประโยชน์มิได้ จักฆ่าพระภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์" และว่าพระเจ้าปุษยมิตรทรงกำหนดวางสินบนเป็นค่าศีรษะพระภิกษุสงฆ์ไว้ด้วย ดังมีกล่าวในคัมภรีย์ทิวยาวทาน ว่า โย เม ศฺรมณศิโร ทาสยติ, ตสฺยาหํ ทินารฺศตํ ทาสยามิ แปลว่า "ผู้ใดนำศีรษะสมณะมาให้แก่เรา เราจะให้รางวัลหนึ่งร้อยทินาร์แก่ผู้นั้น" นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวแย้งว่า ข้อความในคัมภีร์ทั้งสองนี้ ดูจะเป็นคำปรับปรำพระเจ้าปุษยมิตรเกินไป แต่ก็มีความจริงอยู่ว่า พระเจ้าปุษยมิตรนั้นมีพระชาติกำเนิดเป็นพราหมณ์และทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ ทั้งปรากฏว่าภายหลังปราบดาภิเษกแล้ว ก็ได้โปรดให้รื้อฟื้นความเชื่อถือและลัทธิพิธีสมัยพระเวทขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นการตรงข้ามกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่โปรดอุปถัมภ์บำรุงพระบวรพุทธศาสนา จึงเป็นธรรมดาที่พระภิกษุสงฆ์ และชาวพุทธศาสนิกจะพากันไม่พอใจ จึงได้มีข้อความปรากฏในพระคัมภีร์ดังกล่าว
    ............................
    * ปีเสวยราชย์และสวรรคตของพระเจ้าอโศกมหาราชนี้ กำหนดตามเลขคริสต์ศักราช ในหนังสือ History of Fine Art in Indes & Ceylon ของ Vincent A. Smith โดยใช้เกณฑ์ 543
    ** นักปราชญ์ฝรั่งบางท่านกล่าวว่า บางตำนานอ้างว่า พระมหินท์เป็นพระอนุชา ของพระเจ้าอโศก
    [/FONT]
     
  12. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    ธรรมจักรครับ (ต่อ)

    พระเจ้าปุษยมิตร แห่งราชวงศ์ศุงคะเสวยราชย์อยู่ ณ นครปาฏลิบุตร ราว 26 ปี ก็สวรรคต พระราชโอรสพระนามว่า อัคนิมิตร ซึ่งดำรงตำแหน่งอุปราช ผู้สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายตะวันตก มีนครวิทิศาเป็นเมืองหลวง ได้เสวยราชย์สืบต่อจากพระเจ้าปุษยมิตร แล้วพระเจ้าวสุมิตรราชโอรสพระเจ้าอัคนิมิตร และพระเจ้าภาคภัทร เสวยราชย์ต่อกันมา กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้ก็ประสบชะตากรรมคล้ายคลึงกับกษัตริย์องค์สุดท้าย ของราชวงศ์เมารยะ คือทรงอ่อนแอและเสื่อมอำนาจลงจนกลายเป็นหุ่นให้เสนาบดีพรามหณ์ในสกุล กาณวะ จับเชิดอยู่ตลอดเวลา แต่คงครองราชย์ต่อมาจนราว พ.ศ. 500 หรือ 510 ก็สิ้นราชวงศ์ศุงคะ ในรัชกาลหลัง ๆ แห่งราชวงศ์ศุงคะ นับแต่พระเจ้าอัคนิมิตรมา เป็นระยะเวลาที่มีประโยชน์ดีแก่บรรดาพุทธศาสนิก ด้วยมิได้แสดงว่าทรงเป็นศัตรูจองล้างจองผลาญพระพุทธศาสนา จึงปรากฏว่ามีพุทธศาสนิกก่อสร้างปูชนียสถานที่สำคัญ ๆ ณ บริเวณ สาญจี ตลอดจนที่ภารหุตขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก และพระสถูปองค์ที่ 2 กับ ที่ 3 ณ บริเวณเนินเขาสาญจี ก็กล่าวกันว่าได้สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ศุงคะในระยะนี้ด้วย นักปราชญ์ทางโบราณคดีได้สอบสวนค้นคว้าแล้วลงความเห็นกันว่า พระสถูปที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างไว้แต่เดิมนั้น ก่อด้วยอิฐและก็เล็กกว่าปัจจุบันตั้งครึ่ง แต่พระมหาสถูปสาญจีปัจจุบันนี้วัดผ่านศูนย์กลางกว้างถึง 121 ฟุตครึ่ง สูงราว 77 ฟุตครึ่ง เป็นของเสริมสร้างจากองค์เดิมโดยก่อพอกทับด้วยศิลา พร้อมทั้งกำแพงศิลาที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งสูง 11 ฟุต ก็เปลี่ยนจากของเก่าที่ทำไว้ด้วยไม้ และประตูหรือโดรณที่ทำด้วยศิลาทั้งสี่ทิศก็ว่าได้สร้างขึ้นในสมัยนี้ด้วย ( ดูรูปด้านล่าง )

    [​IMG]
    พระมหาสถูป ที่สาญจี
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] เขาลงความเห็นกันว่า สิ่งก่อนสร้างเพิ่มเติม ณ พระมหาสถูปสาญจีนี้ ตกอยู่ในระยะระหว่าง พ.ศ. 400 ถึง 500 แต่ท่าน Sir Marahall กล่าวว่า ประตูทั้งสี่ทิศของพระมหาสถูปกับประตูเดี่ยวของพระสถูปที่ 3 รวม 5 ประตู นั้นจะต้องสร้างขึ้นถัดกันมาในระยะเวลา 20 - 30 ปี และประตูทิศใต้ของพระมหาสถูปซึ่งสร้างขึ้นก่อนประตูอื่นทั้งหมด มีจารึกบอกนามผู้บริจาคไว้บนคานศิลาที่ขวางเสาเหนือช่องประตูว่า อานันทะ ผู้เป็นหัวหน้าบรรดาช่างฝีมือ ของกษัตริย์ ศรีศาตะกรรณิ แห่งแคว้นอันธระ ซึ่งมีอำนาจครอบครองอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำกฤษณา และโคทาวารีในอินเดียภาคใต้และปรากฏว่า เป็นผู้กำจัดอำนาจของกษัตริย์ราชวงศ์ศุงคะ กับอำมาตย์สกุลกาณวะให้สูญสิ้นไปจากอินเดีย เมื่อราว พ.ศ. 500 หรือ 510 ถ้ากระนั้น ประตูหรือโดรณที่พระมหาสถูปสาญจีก็อาจสร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 500 ถึง 550 ก็เป็นได้[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][​IMG] [​IMG]
    รูปที่ 27 รูปที่ 28
    ธรรมจักร ที่สถูปสาญจี คริสต์สตวรรษที่ 1 (บน) ธรรมจักรเป็นเครื่องหมายทรง
    ทำเป็นรูปวงล้อกำลังหมุนอยู่บนเสมา ประทานปฐมเทศนา ภาพจำหลักที่
    เครื่องหมายทรงแสดงปฐมเทศนา ประตูสถูปที่สาญจี หมายเลข 3

    . (ล่าง) ต้นโพธิ์และบัลลังก์
    เป็นเครื่องหมายตรัสรู้
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] เสาประตูหรือโดรณทั้งสี่ทิศนั้นจำหลักภาพไว้เต็มไปหมด รวมทั้งภาพชาดกบางเรื่อง และภาพสัญญลักษณ์ในพุทธประวัติบางตอน เช่น ภาพธรรมจักร สมมติเป็นปางปฐมเทศนา ( ดูรูปที่ 27 ) ภาพบัลลังก์และต้นพระศรีมหาโพธิ สมมติเป็นปางตรัสรู้ ( ดูรูปที่ 28 ) ภาพพระสถูป สมมติเป็นปางปรินิพพาน และประตูหรือโดรมทิศตะวันออกกับทิศเหนือของพระมหาสถูปสาญจีนั้น จำหลักภาพเป็นใบบัวและดอกบัว ทั้งบานและตูมผุดพ้นขึ้นมาจากหม้อน้ำ และมีบัวบานใหญ่ดอกหนึ่ง ชูดอกเด่นอยู่ตรงกลาง บนดอกบัวนั้นทำเป็นรูปนางกษัตริย์ประทับนั่งพับพระบาทขวาอยู่บนดอกบัว ห้อยพระบาทซ้ายลงมาวางอยู่บนใบบัว หัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระเขลาซ้าย ส่วยหัตถ์ขวาถือก้านชูดอกบัวตูมอยู่ระดับเหนืออังสาขวา มีช้างสองเชือกยืนอยู่บนดอกบัวบานเชือกละดอก ขนาบอยู่ 2 ข้าง แต่ละเชือกชูงวงถือเต้าน้ำเทลงมาบนเศียรของนางกษัตริย์ ( ดูรูปที่ 29 ) [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][​IMG]
    รูปที่ 29
    ปางประสูติ จำหลักไว้บนประตู หรือโดรณทิศตะวันออก
    ของพระมหาสถูปสาญจี ( ดูภาพลายเส้นด้านล่าง )
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC][​IMG]
    แสดงรายละเอียดของรูปที่ 29 จำหลักเป็นนางกษัตริย์
    นั่งบนดอกบัวใหญ่ มีช้างสองเชือกชูงวงถือเต้าน้ำเทลงมา ( เปรียบเทียบรูปที่ 26 )
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] รูปนางกษัตริย์ประทับนั่งบนดอกบัว มีช้างสองเชือกชูงวงถือเต้มน้ำเทลงบนพระเศียรนี้ นักปราชญ์ทางโบราณคดีชาวอังกฤษและฝรั่งเศสชื่อ มาร์แชล และฟูแชร์ ลงความเห็นกันว่า เป็นภาพพระนางศิริมหามายากำลังประสูติพระบรมโพธิสัตว์ กล่าวคือสมมติเป็นภาพปางประสูติในเรื่องพุทธประวัติ ในสมัยที่อินเดียมีข้อห้ามมิให้สร้างรูปเคารพดังกล่าวมาข้างต้น ช่างศิลปจึงสร้างรูปแบบนี้ขึ้นแทน นอกจากทำเป็นภาพพระนางศิริมหามายาประทับนั่งบนดอกบัว มีช้างสองเชือกชูงวงยกเต้าน้ำเทลงมาแล้ว มีบางภาพทำเป็นพระนางศิริมหามายาประทับยืนบนดอกบัวบ้าง เช่นภาพจำหลักที่โดรณทิศเหนือพระมหาสถูปสาญจี บางภาพก็จำหลักจำเพาะรูปหม้อน้ำมีดอกบัวทั้งบานและตูมชูก้านและดอกขึ้นมา ไม่มีรูปพระนางศิริมหามายาและช้าง 2 เชือก แต่คงสมมติหมายรู้กันว่าเป็นภาพแสดงสัญญลักษณ์ปางประสูติเช่นกัน เมื่อได้มาชมภาพจำหลัก ณ โดรณของพระมหาสถูปสาญจีเช่นนี้แล้วก็ชวนให้คิดไปว่า ที่นี่แล้วกระมังที่ช่างศิลปที่นครปฐมโบราณของเรา ได้แบบอย่างมาทำขึ้นในธรรมจักรศิลาดังกล่าวข้างต้น[/FONT]
     
  13. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    ธรรมจักรครับ (ต่อ)

    ลายจำหลักที่ธรรมจักรศิลาชักพาให้ข้าพเจ้าเล่าประวัติราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์โบราณ ที่เคยมีพระบรมเดชานุภาพครอบครองอินเดียตอนภาคกลาง และเลยพาท่านท่องเที่ยวไปชมภาพจำหลักที่ประตูหรือโดรณของพระมหาสถูปสาญจีในประเทศอินเดีย คราวนี้เรากลับมาช่วยกันพิจารณาภาพจำหลักที่ล้อธรรมจักร ในพิพิธภัณฑสถานฯ พระปฐมเจดีย์ของเรา เปรีบเทียบกันดูอีกครั้ง ณ ตอนล่างของธรรมจักรศิลาล้อนั้น จำหลักเป็นดอกบัวใหญ่ บนดอกบัวจำหลักรูปนางกษัตริย์ประทับนั่งขัดสมาธิราบ สองหัตถ์ประคองพระอุทร มีช้างสองเชือกยืนอยู่บนกลีบบัวดอกเดียวกัน ข้างละเชือกชูวงถือเต้าน้ำเทลงมายังนางกษัตริย์ จะเป็นไปได้ไหมที่เราจะสร้างจินตนาการของเราให้ล่องลอยไปว่า ในสมัยโบราณประมาณสองพันปีมาแล้ว มีพุทธศาสนิกชนคนใดคนหนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่ง เดินทางจากนครปฐมโบราณไปสู่ดินแดนอินเดีย เพื่อไปนมัสการปูชนียสถานในพระพุทธศาสนา และได้เดินทางไปจนถึงพระมหาสถูปสาญจี หรือตรงกันข้าม มีบุคคลซึ่งเป็นพ่อค้าคหบดี ชาวเดินเรือ หรือ พระภิกษุสงฆ์ ผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่ง ซึ่งเคยเห็นพระมหาสถูปสาญจี ได้เดินทางจากอินเดีย มาสู่ดินแดนแห่งนครปฐมโบราณ มาบอกเล่าเก้าสิบให้ทราบต่อ ๆ กันมาว่า ที่พระมหาสถูปสาญจี มีประตูหรือโดรณทำด้วยศิลาและจำหลักภาพเป็นรูปล้อธรรมจักร จำหลักภาพเป็นบัลลังก์และต้นพระศรีมหาโพธิ จำหลักเป็นรูปพระนางศิริมหามายาประทับนั่งบนดอกบัว มีช้างสองเชือกยืนบนดอกบัวชูงวงถือเต้าน้ำเทลงมายังพระองค์ และช่างศิลปสมัยนั้นก็จดจำไว้ แล้วนำมาจำหลักลงไว้ในล้อธรรมจักรดังที่เห็นกันอยู่ในบัดนี้ แต่ช่างนำมาไม่ถนัด ว่าที่พระมหาสถูปสาญจี เขาทำรูปพระนางศิริมหามายาประทับนั่งอยู่บนดอกบัวคนละดอกกับช้างสองเชือก หากแต่สดับตรับฟังมาว่า ช้างสองเชือกก็ยืนอยู่บนดอกบัวด้วยเหมือนกัน หรืออาจเป็นเพราะเนื้อที่บนล้อธรรมจักรนั้นจำกัดอยู่ ช่างสมัยนครปฐมโบราณจึงจำหลักรูปพระนางศิริมหามายา กับช้างสองเชือกอยู่บนดอกบัวใหญ่ดอกเดียวกัน ดังท่านจะเห็นได้ที่ธรรมจักรศิลาในพิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์บัดนี้ ( ดูภาพลายเส้นเขียนจากลายธรรมจักรเปรียบเทียบ กับภาพจำหลักปางประสูติ ณ พระมหาสถูปสาญจี )
    [​IMG]
    รูปที่ 30


    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]ภาพลายเส้น รูปที่ 30[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]อธิบายรูปที่ 30
    ภาพดินปั้น ปางประสูติ หรือ คชลักษมี สมัยทวารวดี
    ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
    .........................
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]1. นางกษัตริย์ประทับนั่งขัดสมาธิราบ สองหัตถ์ประคองอุทร หรือถือก้านดอกบัวตูมข้างละดอก จะเห็นดอกบัวตูตั้งขึ้นเบื้องปฤษฎางค์เหนืออังสา
    2. ช้างสองเชือกยืนเครื่องคชาธารชูงวงถือเต้าน้ำยื่นไปยังนางกษัตริย์ และคว่ำเต้าน้ำเทลงมา เห็นเป็นสายเต้าละ 4 สาย
    3. แส้จามรี 2 แส้ ตั้งด้ามลง อยู่ระหว่างช้างกับนางกษัตริย์ ข้างละแส้
    4. ขอช้าง 2 ขอ ปักปลายลง ด้ามตั้งขึ้น ข้างละขอ
    5. วัชระ 2 อัน ตั้งอยู่ 2 ข้าง
    6. พวงประคำ หรือพวงมาลัย หรือบ่วงเชือกบาศ 2 พวง หรือ 2 บ่วง อยู่ 2 ข้าง
    7. สังข์ 2 ตัว ตั้งหงายข้างละตัว
    8. ปลา 2 ตัว หันหัวลงล่าง อยู่ข้างละตัว
    9. ฉัตร 2 ฉัตร วางหงาย ด้ามตั้งขึ้นไปเกือบชนกับด้ามแส้จามรี ข้างละฉัตร
    10. พัดโบก หรือวาลวิชนี 2 อัน ตั้งปักตัวพัดลง ชูด้ามขึ้น ข้างละอัน
    11. เต้าน้ำเบื้องล่าง รองรับดอกบัวอยู่ตรงกลาง
    12. วงดอกบัวบานมีกลีบซ้อนแบบมองเห็นจากเบื้องบน อยู่ตรงกลาง รองรับอาสนะกลีบบัวของนางกษัตริย์
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]4 มุมของดินปั้น มีเสี้ยวกลีบบัวแบบบัวฟันยักษ์ มุมละเสี้ยว[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    [​IMG] [​IMG]
    รูปที่ 31 ภาพลายเส้น
    คชลักษมี หรือปางประสูติ นายจำรัส เกียรติก้อง
    ทำด้วยดินเผา พบที่บริเวณ วาดจากรูปที่ 31 และเติมเส้นจุด
    เมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้เห็นว่า เมื่อสมบูรณ์คงจะมีรูปเช่นนี้
    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] นอกจากภาพจำหลักที่ธรรมจักรศิลาดังกล่าวมาแล้ว ยังได้พบภาพคล้ายคลึงกันนี้ ซึ่งทำเป็นภาพดินปั้นบ้าง หินปูนสีเขียวแก่บ้าง อีกหลายชิ้น แต่ชิ้นที่สมบูรณ์ทำด้วยดินปั้นแผ่นสี่เหลี่ยม ยาว 21 เซนติเมตร กว้าง 14.5 เซนติเมตร เก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีป้ายบอกไว้ว่า "ศิลปสมัยทวารวดี ได้มาจากพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม" ( ดูรูปที่ 30 ) ภาพดินปั้นแผ่นนี้ นาย เจ. เจ. โบเลส ( J. J. Boeles ) เรียกไว้ในบทความเรื่อง "กษัตริย์ศรีทวารวดี และเครื่องราชกกุธภัณฑ์" ในจดหมายเหตุของสยามสมาคม เล่ม 42 ภาค 1 ประจำเดือนเมษายน ค.ศ. 1964 ( พ.ศ. 2507 ) ว่าเป็น "คชลักษมี" โดยอธิบายว่าเป็นภาชนะเครื่องสำอางสำหรับใส่แป้งและน้ำมันหอม ซึ่งกษัตริย์สมัยทวารวดีโปรดให้ทำขึ้นเป็นราชูปโภค นอกจากนี้ ยังมีภาพปั้นดินเผา ( ชำรุด ) ขนาดย่อม ๆ อีกหลายชิ้น ซึ่งพบที่บริเวณเมืองเก่า อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ทำเป็นรูปสตรีถือดอกบัวสองมือ และมีช้างสองเชือกอยู่สองข้างซ้ายขวา ( รูปที่ 31 ) น่าจะแสดงว่าในสมัยครั้งกระโน้น คงจะมีผู้รู้จักความหมายของภาพลักษณะนี้กันอยู่แล้ว ช่างในสมัยนั้นจึงนิยมปั้นและแกะสลักภาพแบบนี้ขึ้นไว้ อย่างไรก็ตาม ภาพดินปั้นก็ดี ภาพปั้นดินเผาก็ดี ภาพจำหลักที่ธรรมจักรศิลาดังกล่าวมาข้างต้นก็ดี ถ้าพิจารณาเปรียบเทียบกับภาพจำหลักที่เสาประตูหรือโดรณของพระมหาสถูปสาญจีแล้ว เข้าใจว่าเกิดขึ้นจากความคิดแนวเดียวกัน ซึ่งนายฮาเวลล์ ได้อธิบายไว้ว่า "บรรดาสัญญลักกษณ์ของพระพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นของที่ ( แรก ) บัญญัติกันขึ้นในพระพุทธศาสนา แต่เป็นสมบัติทั่วไปของศาสนาแบบอินโดอารยันทุกศาสนา การยืมสัญญลักษณ์ของกันและกันไปใช้นี้ จะเห็นได้ เช่น ในแผ่น ( ศิลาจำหลัก ) ต่าง ๆ แสดงรูปพระนาง ( ศิริมหา ) มายา พระพุทธมารดาประทับนั่งหรือยืนบนดอกบัวซึ่งชูดอกขึ้นมาจากเต้าน้ำ ส่วนด้านข้างมีช้างโสรจสรงพระนางจากเต้าน้ำที่ถืออยู่ในงวง เป็นการแน่นอนตาม ม. ฟูแชร์กล่าวไว้ว่า ภาพนี้ช่างประติมากรรมเขาใช้เป็นเครื่องหมายปางประสูติพระพุทธองค์ มีกาลอุบัติอันน่ามหัศจรรย์ที่ได้เห็นกันทุก ๆ เวลาเช้า มาหลายชั่วอายุของศิลปิน แต่สมัยก่อนพุทธกาลแล้ว เช่นแสงเงินแสงทองที่เรียกว่า อุษา โผล่ขึ้นมาจากมหาสมุทร และดอบบัวพระหรหมา ซึ่งสมมติเป็นบัลลังก์ของพระผู้สร้าง ขยายกลีบแย้มบาน อุษาสมมติเป็นนางฟ้าผู้เปิดประตูสวรรค์ และเธอจะได้รับการโสรจสรงจากช้างของพระอินทร์ กล่าวคือ เมฆฝน ครั้งตนมาในสมัยพุทธกาลความหมายของนิยายดังกล่าวนี้เปลี่ยนแปลงไป พระพรหมาก็ถูกปลดออกจากบัลลังก์ นางอุษาก็กลายเป็นพระพุทธมารดาผู้มีพระนามว่า มหามายา ตามความหมายของคำ แปลว่าความยั่วยวนใหญ่ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์โศกที่พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแห่งความรอดพ้นไว้ ในศิลปของอินเดียยุคหลัง ๆ มาสมมติว่า อุษา หรือ มหามาย นี้เป็นนางลักษมี ว่าเป็นเทพธิดาแห่งความสว่างไสวของวัน ผู้ทำให้พระพิษณุองค์สวามีทรงชื่นบานพระทัย เมื่อทรงมีชัยชนะการต่อสู้กับบรรดาผีร้ายแห่งความมืดของราตรี แล้วทรงน้ำอมฤตที่ทรงกวนได้จากเกษียรสมุทรมาพร้อมกับองค์ลักษมีด้วย"[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] ถ้าภาพดินปั้น ( ดูรูปที่ 30 ) หมายถึงปางประสูติ จะเป็นไปได้ไหม ที่มีภาพราชกกุธภัณฑ์และเครื่องราชูปโภคบางอย่าง เช่น ฉัตร และพัดโบก กลับหงาย และห้อยลง มีคั่นฉัตรตั้งขึ้น ซึ่งสมมติเป็นนิมิตว่ากุมารที่ประสูติออกมาจะไปอยู่ครองเศวตฉัตร คือเป็นเครื่องหมายแห่งมหาภิเนษกรมณ์[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] เรื่องความหมายของภาพจำหลักที่ธรรมจักรศิลา จะเป็นสัญญลักษณ์ ปางประสูติ ในพุทธประวัติดังกล่าวมา หรือจะเป็นคชลักษมี เช่นบทความของนายโบเลส ก็สุดแต่ผู้รู้จะวินิจฉัยลงความเห็นกันต่อไป แต่ถ้าเป็นภาพแสดงสัญญลักษณ์ปางประสูติในพุทธประวัติ ธรรมจักรศิลาล้อนั้น ( ดูรูปที่ 26 ) ก็เป็นสมมติที่มีค่าเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในทางศิลปและโบบราณคดี เพราะนำเอาสัญญลักษณ์ถึง 2 ปาง คือ ปางประสูติและปางประทานปฐมเทศนา ( คือตัวธรรมจักร ) มารวมไว้ในวัตถุชิ้นเดียวกัน. (จบ)[/FONT]
    [​IMG]
     
  14. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    อยากไปๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆปางอุ๋ง

    เมื่อไหร่จามีจัดไปที่นี่มั่งจัง ไม่รู้ว่าจะมีรอยพระบาทให้เรากราบไหว้รึป่าวนะ
    แต่ถึงไม่มีก็ไม่แน่นะ ถ้าไปจริงๆท่านอาจจะมาเหยียบไว้ให้เราก็ได้นะ คิคิ^^
    สาธุ ๆ ขอให้มีด้วยเทอญ จาได้ไป
    สรุป ก็อยากไปอะ คิคิ^^
    04452_3.jpg 04452_4.jpg 04452_5.jpg 04452_6.jpg
    04452_7.jpg 04452_9.jpg 04452_14.jpg 04452_15.jpg
    04452_21.jpg 04452_22.jpg 04452_23.jpg 04452_24.jpg
    04452_26.jpg 04452_28.jpg 04452_29.jpg 04452_30.jpg
    04452_31.jpg 04452_33.jpg 04452_34.jpg 04452_37.jpg
    04452_40.jpg 04452_43.jpg
     
  15. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    ไม่มีโครงการดำน้ำกราบรอยพระบาทมั่งหรอครับ อิอิ^^
    ถ้ามีคงเป็นทริปที่แปลกและสนุกมีสีสันนะครับ (เป็นคณะแรกเลยก็ว่าได้)
    04213_1.jpg 00169_3.jpg 00169_4.jpg 00169_5.jpg
    00170_1.jpg 00170_2.jpg 00170_13.jpg 00170_14.jpg
    00170_15.jpg 00170_17.jpg 04211_1.jpg
     
  16. Vipinda

    Vipinda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    238
    ค่าพลัง:
    +5,066
    ทำบุญที่ภูกระดึง น้อมถวายเป็นพุทธบูชาฯ วันที่3

    SSL10151.JPG SSL10153.JPG SSL10158.JPG
    พระบาทระหว่างไปน้ำตกโผนพบ ถวายทองคำดอกไม้ธูปเทียนบูชารอยพระบาทน้อมถวายเป็นพุทธบูชาฯ
    (f) (f) (f) (f) (f) (f) (f) ​
     
  17. Vipinda

    Vipinda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    238
    ค่าพลัง:
    +5,066
    ทำบุญที่ภูกระดึง น้อมถวายเป็นพุทธบูชาฯคับ

    SSL10165.JPG 100_5108.JPG 100_5112.JPG
    100_5114.JPG SSL10175.JPG
    น้ำตกโผนพบ[​IMG] ถวายดอกไม้ธูปเทียนทองคำปัจจัยเครื่องหอมประทีปหอมบูชารอยพระบาทรอยพระนั่งบ่อน้ำมนต์
    (f) (f) (f) (f) (f) (f) (f) (f) ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กุมภาพันธ์ 2007
  18. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    โมทนาด้วยครับสาธุ
     
  19. ศิษโมกคัลลานะ

    ศิษโมกคัลลานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +4,317
    โมทนาครับ สาธุ
     
  20. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    ถวายปัจจัย แผ่นทอง,แผ่นเงิน ร่วมหล่อพระประธานหน้าตัก 80 นิ้ว สร้างพระอุโบสถ ณ วัดลางวา จ.ราชบุรี พร้อมทั้งโมทนาบุญทุกอย่างในพระศาสนานี้ น้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อความเจริญตั้งมั่นแห่งพระศาสนา และเพื่อพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ขอท่านทั้งหลายจงโปรดโมทนาบุญเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ท่านทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ

    :cool: :cool: :cool: :cool: :cool: :cool: :cool:
    (verygood) (verygood) (verygood) (verygood)
    (b-oneeye) (bb-flower (b-oneeye) ​

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...