พยากรณ์กรรม โดยยึดหลักธรรมคำสอนพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'บริการรับดูดวง' ตั้งกระทู้โดย รัตนชาติ, 7 มีนาคม 2011.

  1. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]มารีจัง-[/FONT]
    1.[FONT=&quot]สอบถามเรื่อง การเงินค่ะ มีเท่าไหร่ก็หมด แถมเป็นหนี้ด้วย เป็นกรรม หรือต้องทำอย่างไรคะ[/FONT]
    2.[FONT=&quot]เรื่องคู่ครองจะมีโอกาสมีคู่หรือเปล่าคะ หรือมีคู่อุปถัม หรือเปล่าคะ[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องของการเงินให้คุณขอขมาพระรัตนตรัย ชำระหนี้สงฆ์ แล้วอธิษฐานจิต ขออโหสิกรรม ทำบุญใส่บาตรพระทุกวันก็อธิษฐาน ยิ่งถ้าทำบุญกับพระธุดงค์หรือวัดป่ายิ่งดีใหญ่ ก่อนใส่บาตรส่งคาถาหลวงพ่อปานหรือคาถาเงินล้านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ซื้อที่ดิน อิฐ หิน ปูน ทราย กระเบื้อง บูรณะ ซ่อมแซม สวดมนต์รัตนสูตร ดูแลบิดามารดา ผู้มีพระคุณ ผู้มีศีล มีธรรม กตัญญู ชีวิตจะค่อย ๆ ดีเอง [/FONT]
    [FONT=&quot] สำหรับคู่ครองก็เคยผิดศีลข้อ3 เจ้าชู้ ทำให้คู่เสียใจ การที่มีคู่ผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย มีความขัดแย้ง บางครั้งจิตฟุ้ง หวาดกลัว ระแวง พยาบาท แค้นเคือง ขุ่นมัว หมั่นปฏิบัติ สมาทานศีล5 สวดมนต์ ทำสมาธิ บวชเนกขัมมะ ถือศีล กินเจ ทำบุญมาก ๆ สวดพาหุง อิติปิโส พระปริตร[/FONT]
    [FONT=&quot]ให้อ่านเรื่ององค์คุลิมาล แล้วอดทนปฏิบัติให้ได้[/FONT]
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> phodej[FONT=&quot]-[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]๑.เมื่อไหร่จะมีการงานการเงินที่มั่นคงเสียที[/FONT]
    [FONT=&quot]๒.ผู้หญิงที่รักอยู่ในตอนนี้จะได้แต่งกันหรือเปล่า หรือไม่ใช่เนื้อคู่ แล้วจะเจอเนื้อคู่จริงเมื่อไหร่[/FONT]
    [FONT=&quot]๓.ทำไมในชีวิตทำความดีอะไรมีแต่คนเบียดเบียนรังแกและขัดขวางอยู่เรื่อย จนตอนนี้เบื่อที่จะทำดีกับใครแล้วล่ะ[/FONT]
    [FONT=&quot]หมายเหตุ : ผมเคยทำความดีมาหมดทุกอย่างแล้วล่ะ ไม่ว่าจะเข้าวัดรักษาศีล[/FONT] [FONT=&quot]สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ บริจาคช่วยเหลืออะไรต่าง ๆ[/FONT] [FONT=&quot]และเดี๋ยวก็ยังบริจาคเลือดมาเกือบจะ ๕๐ ครั้งแล้ว ฯลฯ[/FONT] [FONT=&quot]แต่ดูเหมือนว่ายิ่งทำบุญให้ทานมากเท่าไหร่ชีวิตก็ยิ่งจะหมดเนื้อหมดตัวและตก[/FONT] [FONT=&quot]ต่ำลงเรื่อย จนสงสัยว่าถ้าทำดีได้ดีจริง[/FONT] [FONT=&quot]ป่านนี้ความดีที่ทำมาทั้งหมดมันควรจะส่งผลดีได้แล้ว แต่นี่มีแต่แย่ลงเรื่อย[/FONT] [FONT=&quot]ๆ จนแทบหมดเนื้อหมดตัวอยู่แล้วครับ[/FONT]
    [FONT=&quot]คุณอ่านเศษกรรมที่พระพุทธเจ้าต้องรับสิค่ะ สิ่งที่คุณบอกว่าคุณทำมาหมดแล้วนั้น ก็เป็นกุศลค่ะ ที่คุณจะได้รับ แต่อกุศลที่คุณทำไว้คุณก็ต้องได้รับเช่นกันค่ะ เวลาที่คุณทำกุศลต่าง ๆ ถ้าจะให้มีอานิสงค์มาก ผู้ให้-ผู้รับ เป็นผู้มีศีล (ลองหาอ่านดูนะค่ะ)[/FONT]
    [FONT=&quot] คุณสมาทานศีล5 สวดมนต์ ทำสมาธิ ขอขมาพระรัตนตรัย ทุกเช้า-เย็น ก่อนนอน ทุกวัน สวดมนต์ ธัมจักร พาหุง อิติปิโส ชินบัญชร พระปริตร แผ่เมตตา อธิษฐาน ขออโหสิกรรม พร้อมคำแปล[/FONT]
    [FONT=&quot] คุณต้องระวังเรื่องความคิด และคำพูดมาก ๆ คุณพูดอะไรคุณต้องรับผิดชอบ คุณอ่านเรื่องเศษกรรมที่พระพุทธเจ้าได้เคยพูดไว้สิ ท่านพูดว่าอะไรใครไว้ หรือกล่าวหาไม่เป็นจริง ท่านได้รับแบบที่ท่านพูดไว้ทั้งสิ้น ถ้าคุณคิดว่าสิ่งที่คุณทำดีนั้นทำให้หมดเนื้อหมดตัว ตกต่ำ คุณก็จะได้แบบนั้น คุณสวดพระปริตรและคาถาอื่น พร้อมคำแปลแล้วคุณจะรู้ว่ามีแต่สิ่งที่ดีให้ตนเอง คุณต้องเปลี่ยนในเรื่องความคิดก่อน คิดแง่บวก คิดดี พูดดี ทำดี 3 ประโยคนี้ พูดง่าย แต่ทำยากนะค่ะ มันละเอียดมากค่ะ เรื่องของกรรม คุณทำดีไปเรื่อย ๆ ด้วยจิตเมตตาจริง ๆ ไม่ต้องรอผล เป็นกำลังใจให้นะค่ะ อย่าท้อถอย ความดีทำยาก เห็นผลช้า แต่ความชั่วนั้นทำง่าย เห็นผลเร็ว อย่าได้ประมาทนะค่ะ[/FONT]
    [FONT=&quot] ส่วนเรื่องคู่นั้น เป็นสัญญากันค่ะ อยู่ที่เราคิด แต่เท่าที่คุณถามคำถามมา เหมือนคุณไม่แน่ใจในคู่ของคุณ ถ้าเป็นคู่กันจริงยังไงก็ต้องคู่กัน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็มีอันต้องจากกัน จะเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำร่วมกันมา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน [/FONT]
     
  2. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    การผ่าฝีด้วยศาสตรา คือ ตัดด้วยผึ่ง ด้วยศาสตรา ชื่อว่า สัตถัจเฉทะ.
    ได้ยินว่า ในอดีตกาลพระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชาในปัจจันต-
    ประเทศ พระโพธิสัตว์นั้นเป็นนักเลง ด้วยอำนาจการคลุกคลีกับคนชั่ว
    และด้วยอำนาจการอยู่ในปัจจัยตประเทศ เป็นคนหยาบช้า อยู่มาวันหนึ่ง
    ถือมีดเดินเท้าเปล่า เที่ยวไปในเนือง ได้เอามีดฆ่าฟันคนผู้ไม่มีความผิด
    ได้ไปแล้ว. ด้วยวิบากของกรรมอันลามกนั้น พระโพธิสัตว์นั้นไหม้ใน
    นรกหลายพันปี เสวยทุกข์ในทุคติ มีสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้น ด้วยวิบาก
    ที่เหลือ ในอัตภาพหลังสุดแม้ได้เป็นพระพุทธเจ้า หนึ่งก็ได้เกิดห้อพระ-
    โลหิตขึ้น เพราะก้อนหินที่พระเทวทัตกลิ้งใส่กระทบเอา โดยนัยดังกล่าว
    ในหนหลัง. หมอชีวกผ่าหนังที่บวมขึ้นนั้นด้วยจิตเมตตา. การทำพระ-



    โลหิตให้ห้อขึ้นของพระเทวทัตผู้มีจิตเป็นข้าศึก ได้เป็นอนันตริยกรรม.
    การผ่าหนังที่บวมขึ้นของหมอชีวกผู้มีจิตเมตตา ได้เป็นบุญอย่างเดียว.
    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
    เราเป็นคนเดินเท้า ฆ่าคนทั้งหลายด้วยหอก ด้วยวิบาก
    ของกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้อยู่ในนรกอย่างรุนแรง.
    ด้วยเศษของกรรมนั้น มาบัดนี้เขาจึงตัดหนังที่เท้าของเรา
    เสียสิ้น เพราะยังไม่หมดกรรม.

    ปัญหาข้อที่ ๙ มีวินิจฉัยต่อไปนี้.

    อาพาธที่ศีรษะ คือเวทนาที่ศีรษะ ชื่อว่า สีสทุกขะ ทุกข์ที่ศีรษะ.
    ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นชาวประมง ในหมู่บ้าน
    ชาวประมง. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกับพวกบุรุษชาวประมง ไปยัง
    ที่ที่ฆ่าปลา เห็นปลาทั้งหลายตาย ได้ทำโสมนัสให้เกิดขึ้นในข้อที่ปลาตาย
    นั้น แม้บุรุษชาวประมงที่ไปด้วยกัน ก็ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นอย่างนั้น
    เหมือนกัน. ด้วยอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔
    ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้บังเกิดขึ้นตระกูลศากยราช พร้อมกับบุรุษเหล่านั้น
    แม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับแล้ว ก็ยังได้เสวยความ
    เจ็บป่วยที่ศีรษะด้วยตนเอง และเจ้าศากยะเหล่านั้น ถึงความพินาศกันหมด
    ในสงความของเจ้าวิฑูฑภะ โดยนัยดังกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบท. ด้วย
    เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    เราเป็นลูกชาวประมงในหมู่บ้านชาวประมง เห็นปลา
    ทั้งหลายถูกฆ่า ได้ยังความโสมนัสดีใจให้เกิดขึ้น.



    เพราะวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะได้มีแก่เรา
    แล้ว ในคราวที่เจ้าวิฑูฑภะฆ่าสัตว์ทั้งหมด (คือเจ้าศากยะ)
    แล้ว.



    ปัญหาข้อที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

    การกินข้าวสารแห่งข้าวแดงในเมืองเวสาลี ชื่อว่า ยวขาทนะ การกินข้าวแดง.
    ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่งเพราะอำนาจชาติและ
    เพราะความเป็นอันธพาล เห็นสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าผุสสะ
    ฉันข้าวน้ำอันอร่อย และโภชนะแห่งข้าวสาลีเป็นต้น จึงด่าว่า เฮ้ย !
    พวกสมณะโล้น พวกท่านจงกินข้าวแดงเถอะอย่ากินโภชนะแห่งข้าวสาลีเลย.
    เพราะวิบากแห่งอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์จึงเสวยทุกข์อยู่ในอบายทั้ง ๔ หลายพันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้ถึงความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับ
    เมื่อทรงกระทำความอนุเคราะห์ชาวโลก
    เสด็จเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานีทั้งหลาย. สมัยหนึ่ง เสด็จ
    ถึงโคนไม้สะเดาอันสมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบ ณ ที่ใกล้เวรัญชพราหมณ-
    คาม. เวรัญชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อไม่อาจเอาชนะ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้โดยเหตุหลายประการ ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว
    กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเสด็จเข้าจำพรรษาในที่นี้แหละ
    ย่อมควร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำนิมนต์โดยดุษณีภาพ.
    ครั้นจำเดิมแต่วันรุ่งขึ้นไป มารผู้มีบาปได้กระทำการดลใจชาวบ้าน
    เวรัญชพราหมณคามทั้งสิ้น ไม่ได้มีแม้แต่คนเดียวผู้จะถวายภิกษาสักทัพพี
    หนึ่ง แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จเข้าไปบิณฑบาต เพราะเนื่องด้วยมาร
    ดลใจ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีบาตรเปล่า อันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมเสด็จ


    กลับมา. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จกลับมาอย่างนั้น พวกพ่อค้าม้า
    ที่อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ได้ถวายทานในวันนั้น จำเดิมแต่วันนั้นไป ได้
    นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร แล้วทำการแบ่งจาก
    ภิกษุทั้งหลาย. เทวดาในพันจักรวาลแห่งจักรวาลทั้งสิ้น พากันใส่ทิพโอชะ
    เหมือนในวันที่นางสุชาดาหุงข้าวปายาส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว
    พระองค์เสวยข้าวแดงตลอดไตรมาส ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อล่วงไป ๓
    เดือน การดลใจของมารก็หายไปในวันปวารณา เวรัญชพราหมณ์ระลึก
    ขึ้นได้ถึงความสลดใจอย่างใหญ่หลวง จึงถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มี
    พระพุทธเจ้าเป็นประธาน ถวายบังคมแล้วขอให้ทรงอดโทษ ด้วยเหตุนั้น
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
    เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระ-
    พุทธเจ้า พระนามว่า ผุสสะ ว่า พวกท่านจงเคี้ยว จงกินแต่
    ข้าวแดง อย่ากินข้าวสาลีเลย
    ด้วยวิบากของกรรมนั้น เราจึงได้เคี้ยวกินข้าวแดงตลอด
    ไตรมาส เพราะว่า ในคราวนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว
    จึงได้อยู่ในบ้านเวรัญชา.

    ปัญหาข้อที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

    อาพาธที่หลัง ชื่อว่า ปิฏิทุกขะ ทุกข์ที่หลัง. ได้ยินว่า ในอดีต-
    กาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี สมบูรณ์ด้วยกำลัง ได้เป็นคน
    ค่อนข้างเตี้ย. สมัยนั้น นักต่อสู้ด้วยการต่อสู้ด้วยมวยปล้ำคนหนึ่ง เมื่อ
    การต่อสู้ด้วยมวยปล้ำกำลังดำเนินไปอยู่ในคามนิคม และราชธานีทั้งหลาย


     
  3. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้ทำพวกบุรุษล้มลง ได้รับชัยชนะ มาถึงเมืองอัน
    เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์เข้าโดยลำดับ ได้ทำพวกคนในเมืองแม้นั้นให้
    ล้มลงแล้ว เริ่มจะไป. คราวนั้น พระโพธิสัตว์คิดว่า ผู้นี้ได้รับชัยชนะ
    ในที่เป็นที่อยู่ของเราแล้วก็จะไป จึงมายังบริเวณพระนครในที่นั้น ปรบ
    มือแล้วกล่าวว่า ท่านจงมา จงต่อสู้กับเราแล้วค่อยไป นักมวยปล้ำนั้น
    หัวเราะแล้วคิดว่า พวกบุรุษใหญ่โตเรายังทำให้ล้มได้ บุรุษผู้นี้เป็นคนเตี้ย
    มีธาตุเป็นคนเตี้ย ย่อมไม่เพียงพอแม้แก่มือข้างเดียว จึงปรบมือบันลือ
    แล้วเดินมา. คนทั้งสองนั้นจับมือกันและกัน พระโพธิสัตว์ยกนักมวยปล้ำ
    คนนั้นขึ้นแล้วหมุนในอากาศ เมื่อจะให้ตกลงบนภาคพื้น ได้ทำลาย
    กระดูกไหล่แล้วให้ล้มลง. ชาวพระนครทั้งสิ้นทำการโห่ร้อง ปรบมือ
    บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยผ้าและอาภรณ์เป็นต้น. พระโพธิสัตว์ให้นักต่อสู้
    ด้วยมวยปล้ำนั้นตรง ๆ กระทำกระดูกไหล่ให้ตรงแล้วกล่าวว่า ท่านจงไป
    ตั้งแต่นี้ไปท่านจงอย่ากระทำกรรมเห็นปานนี้ แล้วส่งไป ด้วยวิบากของ
    กรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ที่ร่างกายและศีรษะเป็นต้น ในภพ
    ที่เกิดแล้ว ๆ ในอัตภาพหลังสุด แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้เสวยทุกข์
    มีการเสียดแทงที่หลังเป็นต้น. เพราะฉะนั้น เมื่อความทุกข์ที่เบื้องพระ-
    ปฤษฎางค์เกิดขึ้นในกาลบางคราว พระองค์จึงตรัสกะพระสารีบุตรและ
    พระโมคคัลลานะว่า จำเดิมแต่นี้ไป พวกเธอจงแสดงธรรม แล้วพระองค์
    ทรงลาดสุคตจีวรแล้วบรรทม. ขึ้นชื่อว่ากรรมเก่า แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่พ้น
    ไปได้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    เมื่อการปล้ำกันดำเนินไปอยู่ เราได้เบียดเบียนบุตรนัก-
    มวยปล้ำ (ให้ลำบาก)



    ด้วยวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง)
    จึงได้มีแก่เรา.
     
  4. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    การถ่ายด้วยการลงพระโลหิต ชื่อว่า อติสาระ โรคบิด. ได้ยินว่า
    ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี เลี้ยงชีพด้วยเวชกรรม
    พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อจะเยียวยาบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งผู้ถูกโรคครอบงำ
    จึงปรุงยาแล้วเยียวยา อาศัยความประมาทในการให้ไทยธรรมของบุตร
    เศรษฐีนั้น จึงให้โอสถอีกขนานหนึ่ง ได้กระทำการถ่ายโดยการสำรอก
    ออก เศรษฐีได้ให้ทรัพย์เป็นอันมาก. ด้วยวิบากของกรรมนั้น พระ-
    โพธิสัตว์จึงได้ถูกอาพาธด้วยโรคลงโลหิตครอบงำในภพที่เกิดแล้ว ๆ ใน
    อัตภาพหลังสุดแม้นี้ ในปรินิพพานสมัย จึงได้มีการถ่ายด้วยการลงพระ-
    โลหิต ในขณะที่เสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะกัมมารบุตรปรุงถวาย พร้อม
    กับพระกระยาหารอันมีทิพโอชะที่เทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นใส่ลงไว้. กำลัง
    ช้างแสนโกฏิเชือก ได้ถึงความสิ้นไป. ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระผู้มี-
    พระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเพื่อต้องการปรินิพพานในเมืองกุสินารา ประ-
    ทับนั่งในที่หลายแห่ง ระหายน้ำ ทรงดื่มน้ำ ทรงถึงเมืองกุสินาราด้วย
    ความลำบากอย่างมหันต์ แล้วเสด็จปรินิพพานในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง.
    แม้พระผู้เป็นเจ้าของไตรโลกเห็นปานนี้ กรรมเก่าก็ไม่ละเว้น. ด้วยเหตุ
    นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาบุตรของเศรษฐี ด้วย
    วิบากของกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา.



    พระชินเจ้าทรงบรรลุอภิญญาพละทั่งปวง ทรงพยากรณ์
    ต่อหน้าภิกษุสงฆ์ ณ อโนดาตสระใหญ่ ด้วยประการฉะนี้แล.
    อปทานฝ่ายอกุศล ชื่อว่าเป็นอันจบบริบูรณ์ ด้วยการตั้งหัวข้อ
    ปัญหาที่ท่านให้ปฏิญญาไว้ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
    กล่าวว่า อิตฺถ สุท อธิบายว่า ด้วยประการฉะนี้ คือ ด้วยนัยที่กล่าวไว้
    ในหนหลัง โดยประการนี้. ศัพท์ว่า สุท เป็นนิบาต มาในอรรถว่า
    ทำบทให้เต็ม. พระผู้มีพระภาคเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระมหา-
    กรุณาพระองค์นั้น ทรงเพียบพร้อมด้วยภาคยธรรม เป็นพระมหาสัตว์
    ผู้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ทรงประกอบด้วยคุณ มีอาทิอย่างนี้ว่า
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีภาคบุญ คือโชค ผู้หักราน
    กิเลส ผู้ประกอบด้วยภาคธรรมทั้งหลาย ผู้ทรงด้วยภาคธรรม
    ทั้งหลาย ผู้ทรงจำแนกธรรม ผู้คบแล้ว ผู้คายการไปในภพ
    ทั้งหลายแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.
    ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นท้าวสักกะยิ่งกว่าท้าวสักกะ ทรงเป็น
    พรหมยิ่งกว่าพรหม ทรงเป็นพระพุทธเจ้ายิ่งกว่าพระพุทธเจ้า เมื่อจะทรง
    ยกย่อง คือทำให้ปรากฏซึ่งพุทธจริยา คือเหตุแห่งพระพุทธเจ้าของ
    พระองค์ จึงได้ภาษิตคือตรัสธรรมบรรยาย คือพระสูตรธรรมเทศนา
    ชื่อว่า พุทธาปทานิยะ คือ ชื่อว่า ประกาศเหตุแห่งพระพุทธเจ้าแล.
    พรรณนาพุทธาปทาน
    ในวิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาอปทาน
     
  5. gerard300

    gerard300 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +12
    เรียนถามคุณปัตจะตัง ถ้าจะถือศีลห้า ต้องสวดสมาธารศีลทุกครั้งที่เริ่มถือหรอคะ แล้วถ้าระหว่างถือศีลศีลขาดต้องทำยังไงคะหรือปล่อยไป
    ตอนนี้ก็สวดมนต์ นั่งสมาธิเป็นบางโอกาส เหลือแต่ถือศีลค่ะยังไม่เคยลองทำ คิดว่าจะทำทุกวันพระค่ะ เลยมารบกวนถาม ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
     
  6. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    การสมาทานศีล5 ให้ลองกลับไปดูที่กระทู้แรก ๆ จะมีบอกวิธีการง่ายๆ และทำได้ทุกวันตลอดเวลา ยิ่งก่อนนอนยิ่งดีค่ะ เพราะเวลาเรานอนก็ไม่ผิดศีลแล้ว ตอนเช้าสมาทานศีล ถ้าในระหว่างวันอาจมีผิดศีลบ้าง แต่คงไม่ผิดทั้ง 5 ข้อ อาจประมาทผิดบ้างเพียงบางข้อ เราก็สมาทานศีล5 ทุกวัน ขอขมาพระรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ บทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แผ่เมตตาให้ตนเองและให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ขออโหสิกรรมกับผู้ใดที่เราเคยก่อเวรสร้างกรรมกับท่านทั้งหลาย ขอให้ร่วมอนุโมทนาบุญ ถ้ามีทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ ขอให้มีความสุข และมีจิตเมตตา หลังจากนั้นก็อธิษฐานจิต
     
  7. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    จากเศษกรรมที่พระพุทธเจ้าได้รับก่อนจะปรินิพพาน เราจะทราบว่าไม่ว่าจะเป็นมโนกรรม ความคิด วจีกรรม คำพูด กายกรรม การกระทำ ทุกอย่างเราต้องรับผิดชอบ เราคิดไม่ดีกับใครไว้อย่างไร เราก็จะได้รับแบบนั้น เราพูดไม่ดีกับใครอย่างไรไว้ เราก็จะได้รับแบบที่เราพุดไว้ เราทำกับใครไม่ดีไว้ เราก็จะไ้ด้รับเหมือนกับที่เราทำไม่ดีไว้ แต่ทุกวันนี้ก็มีคนเป็นจำนวนมากที่ยังหลงประมาทไม่เกรงกลัว หรือมีความละอาย ต่อสิ่งที่กระทำ สิ่งที่พูด สิ่งที่คิด มีทั้งตั้งใจ ไม่ตั้งใจ เจตนา และไม่เจตนา เพราะผลแห่งอกุศลกรรมที่ก่อยังมาไม่ถึง ยังเสวยผลแห่งกุศลกรรมอยุ่ เปรียบเหมือนการเห็นกงจักรเป็นดอกบัว (อันนี้มีเรื่องไว้จะมาลงให้อ่านกัน) ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ก็ยังตรัสถึงเรื่องความประมาท และเตือนให้ทุกคนจงระวัง อย่าได้ประมาทกับการดำเนินชีวิต เวลาผลแห่งอกุศลกรรมมาถึง เราจะได้รับทุกข์มากกว่าที่เราทำไว้หลายเท่านัก ทั้งมากกว่าและนานกว่า
    ถึงแม้ว่าความทุกข์และัปัญหาที่เราพบในขณะที่เราเป็นคนว่าทุกข์ทรมานมากแล้ว แต่ถ้าเปรียบกับนรกนั้นมันทุกข์ทรมานมากกว่า และไม่มีใครช่วยเราได้ หรือให้คำชี้แนะ คำปรึกษากับเราได้ หนีไปไหนก็ไม่ได้
    เืมื่อองค์คุลิมาลได้รับทุกขเวทนาจากการถูกขว้างปาสิ่งของใ่ส่ หัวแตก เจ็บเนื้อ เจ็บตัว จีงได้มาถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านตรัสว่าดีแล้ว ที่ได้รับในตอนนี้ ดีกว่าที่จะต้องไปรับในนรก จะได้รับทุกขเวทนามากกว่านี้หลายเท่า
    การที่เราได้รับการชดใช้ในขณะที่เป็นคนนี้ดีแล้ว ถ้าเรารู้และไม่ส่งจิตออกนอกกาย เราก็จะไม่ทุกข์ เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนว่า เืมื่อเราส่งจิตออกนอกกาย เราก็จะได้รับความทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 พฤษภาคม 2011
  8. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ถ้าเราคิดในแง่บวก คิดดี พูดดี ทำดี ผลที่เราจะได้รับก็จะมีแต่คนที่คิดดี พูดดี ทำดีกับเราเช่นกัน
     
  9. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ถ้าเราคิดในแง่บวก คิดดี พูดดี ทำดี ผลที่เราจะได้รับก็จะมีแต่คนที่คิดดี พูดดี ทำดีกับเราเช่นกัน
    เวลาแผ่เมตตาเราจะขอให้บุคคลใดหรือสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เราได้ก่อเวรสร้างกรรมไว้อโหสิกรรมให้เรา แต่ตัวเราก็ต้องอย่าลืมว่าเราก็ต้องอโหสิกรรมให้ผู้ที่มาก่อเวรสร้างกรรมกับเราด้วย เวรกรรมจะระงับได้ ด้วยการไม่จองเวรต่อกันและกัน อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน พวกเราสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านมีแต่พระเมตตา ไม่พยาบาท จองเวร ต่อผู้ที่กระทำต่อท่าน มีแต่ให้อภัย เมตตา สงสาร ผู้ที่ยังหลงผิด และยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ไม่มีสิ้นสุด
     
  10. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    เมื่อเช้าได้ฟังข่าวเรื่องลูกช้างตกท่อ เนื่องจากออกมาขายอ้อยกับควานช้างที่จังหวัดชัยภูมิ ช้างร้องไห้เสียงดังด้วยความเจ็บปวด กว่าจะช่วยกันขึ้นมาได้ จิตรู้สึกเมตตาสงสารขึ้นมาจับใจ และยังมีเรื่องของแผ่นดินไหวที่ต่างประเทศ ผู้คนล้มตาย บ้านเรือนเสียหาย ทางภาคเหนือของประเทศไทยก็โดนพายุร้อนน้ำท่วม
    ชีวิตที่เกิดมาทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ มีแต่ความทุกข์ ความเจ็บ น้ำตาที่ไหลกับความทุกข์ ความเจ็บปวด จากการเวียนว่ายตายเกิดหลายภพหลายชาติ มากกว่ามหาสมุทร เมื่อมีการเกิด ก็มีความทุกข์ ความเจ็บ ความป่วย ความชรา ความตาย ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง การจองเวร พยาบาท อิจฉา ริษยา แก่งแย่ง แข่งขัน ชิงดีชิงเด่น ต่อสู้ คู่กันมาตลอดไม่มีวันสิ้นสุด เพื่อตนเองทั้งสิ้น ต้องการทุกอย่างเป็นของตนเอง สุดท้ายมาอย่างไร ก็กลับไปอย่างนั้น มาตัวเปล่า ก็กลับไปตัวเปล่า มีแต่ดวงจิต ดวงเดียว ที่เวียนว่ายในวัฏสงสาร (ปัจจุบัน เงิน อำนาจ กามราคะ เพื่อตนเอง ของตนเอง ต้องได้มาครอบครอง เป็นเจ้าของ ไม่ว่าด้วยวิธีใด)
    อย่างเช่นปฐมเหตุของการจองเวร พยาบาท ของ
    พระเทวทัตที่มีต่อพระพุทธเจ้าในชาติที่เกิดเป็นพ่อค้า เรื่องถาดทองคำ พระพุทธเจ้าไม่มีเจตนา แต่พระเทวทัตเองที่อธิษฐานจิตขอจองเวรและพยาบาทพระพุทธเจ้า
    เมื่อตอนที่พระเทวทัตป่วยใกล้จะตายก็สำนึกบาปที่กระทำไว้ต่อพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าไม่เคยโกรธ ถือโทษ จองเวร พยาบาท มีแต่พระเมตตา จึงต้องการไปพบพระพุทธเจ้าก่อนตาย ระหว่างการเดินทางถูกธรณีสูบ จึงไม่ได้พบพระพุทธเจ้า

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 พฤษภาคม 2011
  11. มารีจัง

    มารีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2007
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +351
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2011
  12. Pinbow

    Pinbow เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +297
    รบกวนด้วยค่ะ

    ชื่อ วันเดือนปีเกิด และคำถาม ได้ส่งทาง PM แล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
     
  13. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
     
  14. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ตรัสรู้ที่ต้นพระศรีมหาโพธิฺ

    สัปดาห์ที่ 1 : ธรรมที่ทรงพิจารณาขณะประทับอยู่<wbr>ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อตรัสรู้แล้วพระองค์ยังมิ<wbr>ได้ทรงเสด็จไปไหน ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข(ความสุ<wbr>ขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิ<wbr>เลส) สัปดาห์ที่ 1 พระองค์ประทับอยู่ที่ตนพระศรี<wbr>มหาโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม จากนั้น พระองค์ทรงเปล่งอุทาน 3 ยามแห่งราตรีตามลำดับ ดังนี้

    • ในปฐมยาม ทรงเปล่งอุทานว่า “เมื่อใดแลธรรมทั้ง หลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มี<wbr>ความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งสิ้นของพราหมณ์นั้<wbr>นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรมอันเป็นไปกับด้<wbr>วยเหตุ”
    • ในมัชฌิมยาม ทรงเปล่งอุทานว่า “เมื่อใดแลธรรมทั้ง หลายย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มี<wbr>ความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งสิ้<wbr>นของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งเหตุ<wbr>ปัจจัยทั้งหลาย”
    • ในปัจฉิมยาม ทรงเปล่งอุทานว่า “เมื่อใดแลธรรมทั้ง หลายย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มี<wbr>ความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมกำจั<wbr>ดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยกำจัดมืดให้<wbr>สว่าง ฉะนั้น”คำว่า ธรรมทั้งหลาย ในพุทธอุทานนี้ หมายถึง อริยสัจ 4 คำว่า มารและเสนามาร หมายถึง ชาติ ชรา มรณะ
    สัปดาห์ที่ 2 : เหตุการณ์ขณะประทับอยู่ที่บริ<wbr>เวณอนิมิสเจดีย์
    พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากสมาบัติ ในวันที่ 8 อันเป็นสัปดาห์ที่ 2 นับตั้งแต่ตรัสรู้ ทรงทราบความปริวิตกของเหล่<wbr>าเทวดาบางพวกว่า พระพุทธเจ้าประทับนั่งบัลลังก์<wbr>เดียวตลอด 7 วัน โดยไม่เสด็จลุกขึ้นนั้น พระองค์ทรงมีกิจที่จะต้องทำอี<wbr>กหรือหนอ เพราะยังไม่ทรงละความอาลัยในบั<wbr>ลลังก์ เมื่อจะทรงระงับความปริวิ<wbr>ตกของเทวดาเหล่านั้น จึงทรงเหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงแสดง ยมกปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้<wbr>าทรงกระทำ คือทรงบันดาลท่อน้ำท่<wbr>อไฟออกจากส่วนพระกายเป็นคู่ ๆ)
    พระศาสดาทรงระงับความปริวิ<wbr>ตกของเทวดาเหล่านั้นด้วยยมกปาฏิ<wbr>หาริย์นี้แล้ว จึงลงมาประ ทับยืนทางด้านทิศเหนือติดกับทิ<wbr>ศตะวันออก เยื้องบัลลังก์ไปเล็กน้อย ทรงพระดำริว่า เราแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณที่บั<wbr>ลลังก์นี้หนอ ทรงลืมพระเนตรแลดูบัลลังก์และต้<wbr>นโพธิ์ อันเป็นที่บรรลุผลแห่งบารมี<wbr>ธรรมทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็ญมาตลอดสี่อสงไขยยิ่<wbr>งด้วยแสนกัป ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบ ทรงยับยั้งอยู่ตลอด 7 วัน สถานที่นี้จึงมีชื่อเรียกว่า อนิมิสเจดีย์ ประเด็นสำคัญในที่นี้ก็คื<wbr>อการแสดงยมกปาฎิหาริย์ของพระพุ<wbr>ทธเจ้า
    สัปดาห์ที่ 3 : เหตุการณ์ขณะเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมเจดีย์
    ตามตำนาน อันหมายถึงพุทธประวัติฉบับต่าง ๆ เท่าที่หาได้ไม่มีกล่าวเหตุ<wbr>การณ์เอาไว้ กล่าวแต่เพียงว่า ในสัปดาห์ที่ 3 นับตั้งแต่ตรัสรู้ พระศาสดาทรงนิรมิตที่<wbr>จงกรมในระหว่างโพธิบัลลังก์ กับสถานที่ประทับยืน เสด็จจงกรมอยู่บนรัตนจงกรมอั<wbr>นยาวจากทิศตะวันออก จรดทิศตะวันตกระหว่างอนิมิสเจดี<wbr>ย์กับโพธิบัลลังก์ ทรงยับยั้งอยู่ตลอด 7 วัน สถานที่นี้จึงมีชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์
    สัปดาห์ที่ 4 : ธรรมที่ทรงพิจารณาขณะประทับอยู่ ณ รัตนฆรเจดีย์
    ในสัปดาห์ที่ 4 เทวดาทั้งหลายเนรมิตเรือนแก้<wbr>วทางทิศพายัพจากต้นโพธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขั<wbr>ดสมาธิ ณ เรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิ<wbr>ฎกและพระสมันตปัฏฐานอนันตนัย ซึ่งมีนัยไม่สิ้นสุดในพระอภิ<wbr>ธรรมนั้นโดยพิสดาร ทรงยับยั้งอยู่ตลอด 7 วัน สถานที่เช่นนั้นจึงมีชื่อเรี<wbr>ยกว่า “รัตนฆรเจดีย์” นักอภิธรรมทั้งหลายกล่าวว่า ที่ชื่อว่าเรือนแก้ว หมายถึงสถานที่ที่ทรงพิ<wbr>จารณาปกรณ์ทั้ง 7 มิใช่เรือนแก้วที่ทำด้วยแก้ว 7 ประการ
    สัปดาห์ที่ 5 : ธรรมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้<wbr>นขณะประทับอยู่ ณ ต้นอชปาลนิโครธ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจากรั<wbr>ตนฆรเจดีย์มาที่ต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทรซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้<wbr>ยงแพะ) ประทับเสวยวิมุตติสุข ณ สถานที่นั้นเป็นเวลา 7 วัน ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้หนึ่ง ผู้หุหุกชาติ ซึ่งมักขู่ตวาดผู้อื่นว่า “หึ หึ” ได้เข้ามาทูลถามพระองค์ถึ<wbr>งธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ พระองค์ทรงยกเอาธรรมที่ทำให้บุ<wbr>คคลเป็นสมณะมาตรัสตอบแก่พราหมณ์ แต่ทรงเปลี่ยนสำนวนใหม่ โดยเปลี่ยนจากสมณะมาเป็นพราหมณ์<wbr>ว่า “พราหมณ์ บุคคลใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องขู่ผู้อื่<wbr>นว่า หึ หึ ซึ่งเป็นคำหยาบ ไม่มีกิเลสอันย้อมจิต สำรวมดี ถึงที่สุดแห่งไตรเพท มีพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเป็นเครื่<wbr>องฟูขึ้นในโลกแท้สักน้อยหนึ่ง ควรกล่าวได้ว่า ตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม”
    ธรรมที่พระองค์ทรงพิจารณา ณ สถานที่นี้คือ “พราหมณธรรม” ธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์ พราหมณ์ในแนวคิดทางพระพุทธศาสนา หมายเอา:
    1) ผู้ที่ลอยบาปได้แล้ว
    2) ไม่กล่าวคำหยาบ
    3) ปราศจากกิเลสที่จะทำให้จิตชุ่ม
    4) สำรวมด้วยดี
    5) เรียนจบไตรเพท (จบความรู้ทางพระพุทธศาสนา)
    6) อยู่จบพรหมจรรย์
    7) ไม่มีกิเลสเป็นเหตุทำให้จิตฟูขึ<wbr>้น
    สัปดาห์ที่ 6 : ธรรมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้<wbr>นขณะประทับอยู่ ณ ต้นมุจลินท์
    ในสัปดาห์ที่ 6 ครั้นพระศาสดาเสด็จยับยั้ง ณ ต้นอชปาลนิโครธนั้น 7 วันแล้ว ก็เสด็จไปยังโคนต้นมุจลินท์ ณ ที่นั้น เมฆใหญ่ในสมัยที่ไม่ใช่ฤดูกาลตั<wbr>้งขึ้นแล้ว ฝนเจือด้วยลมหนาวตกตลอด 7 วัน พระยามุจลินทนาคราช ออกจากที่อยู่ของตน ไว้แวดวงพระวรกายของพระพุทธเจ้<wbr>าไว้ด้วยขนด 7 รอบ ได้แผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศี<wbr>ยรสถิตอยู่ ด้วยหวังในใจว่า ความร้อน สัมผัสแห่งเหลือบยุงลมแดดและสั<wbr>ตว์เลื้อย คลานทั้งหลาย อย่าได้เบียดเบียนพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้า พระองค์ได้เสวยวิมุตติสุขอยู่ ประหนึ่งว่าประทับอยู่ในพระคั<wbr>นธกุฎีที่ไม่คับแคบ
    ครั้นล่วง 7 วัน อากาศปลอดโปร่ง พระยามุจลินทนาคราชรู้ว่<wbr>าปราศจากฝนแล้ว จึ<wbr>งคลายขนดออกจากพระวรกายของพระพุ<wbr>ทธเจ้า จำแลงรูปของตนเป็นมาณพ ยืนประคองอัญชลีถวายนมั<wbr>สการพระผู้มีพระภาคเจ้าเบื้<wbr>องพระพักตร์พระผู้มีพระ ภาคเจ้า ณ สถานที่นี้ พระองค์ได้ทรงเปล่งอุทานว่า “ความสงัดเป็นสุข สำหรับบุคคลผู้มีธรรมอันเห็นแล้<wbr>ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความเป็นจริง ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งหลายเสี<wbr>ยได้ด้วยประการทั้งปวงเป็นสุ<wbr>ขในโลก ความนำอัสมิมานะ หรือความถือตัวออกไปเสียหมด เป็นสุขอย่างยิ่ง”
    สรุปหลักธรรมที่เกิดขึ้น ณ ต้นมุจลินท์
    1) ความสงัด (วิเวก)
    2) ความไม่เบียดเบียน (อหึสา)
    3) ความสำรวมระวังในสัตว์ทั้งหลาย (ปาณภูตสญฺญม)
    4) ความปราศจากราคะ (วิราค)
    5) ความก้าวล่วงพ้นกามทั้งหลาย (กามสมติกฺกม)
    6) การกำจัดอัสมิมานะ (อสฺมิมานวินย)
    สัปดาห์ที่ 7 : เหตุการณ์ขณะประทับอยู่ ณ ต้นราชายตนะ
    ในสัปดาห์ที่ 7 จากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจากควงไม้มุจลินท์ เข้าไปยังต้นราชายตนะ ประทับนั่งบัลลังก์เดียวเสวยวิ<wbr>มุตติสุข 7 วัน โดยลำดับกาลเพียงประมาณเท่านี้ ครบ 7 สัปดาห์บริบูรณ์ ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี<wbr>การสรงพระพักตร์ ไม่มีการบ้วนพระโอษฐ์ ไม่มีการปฏิบัติพระสรีระ ไม่มีกิจด้วยพระกระยาหาร ทรงยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุ<wbr>ขและผลสุขเท่านั้น
    ครั้นในวันที่ 49 อันเป็นวันสุดท้ายแห่งสัปดาห์ที<wbr>่ 7 ทรงประทับนั่ง ณ โคนต้นราชายตนะนั้น เกิดพระดำริขึ้นว่าจะสรงพระพั<wbr>กตร์ ท้าวสักกะจอมเทพได้นำผลสมออั<wbr>นเป็นยาสมุนไพรมาถวาย พระศาสดาทรงเสวยผลสมอนั้น ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงทรงได้ถ่ายพระบั<wbr>งคนหนัก
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะนั่นแหละ ได้ถวายไม้ชำระพระทนต์ชื่อว่<wbr>านาคลดา น้ำบ้วนพระโอษฐ์ และน้ำสรงพระพักตร์ถวายพระพุ<wbr>ทธองค์ พระศาสดาทรงเคี้ยวไม้<wbr>ชำระพระทนต์ แล้วบ้วนพระโอษฐ์ สรงพระพักตร์ด้วยน้ำจากสระชื่<wbr>อว่าอโนดาต แล้วคงประทับนั่งที่โคนไม้<wbr>ราชายตนะนั่นแหละ
    สมัยนั้น พาณิช 2 คนชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ เดินทางไกลมาจากอุกกลชนบทจะไปมั<wbr>ชฌิมประเทศด้วยเกวียน 500 เล่ม เทวดาผู้เป็นญาติสาโลหิ<wbr>ตของตนในชาติก่อนนั้นมากั้นเกวี<wbr>ยนไว้กล่าวว่า “ดู ก่อนท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้<wbr>ตรัสรู้ประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ ท่านทั้งสองจงไปบูชาพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้านั้น ด้วยสัตตุผงและสัตตุก้อนเถิ<wbr>ดการบูชาของท่านทั้งสอนนั้นจั<wbr>กเป็นไปเพื่อ ประโยชน์และความสุข แก่ท่านทั้งสองตลอดกาลนาน” พ่อค้าทั้งสองจึงถือเอาสัตตุก้<wbr>อนและสัตตุผงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี<wbr>พระภาค ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับสั<wbr>ตตุผงและสัตตุก้อน ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองด้<wbr>วยเถิด” ดังนี้แล้วน้อมถวายพระศาสดาแล้<wbr>วยืนอยู่
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงปริวิ<wbr>ตกว่า “พระตถาคตเจ้าองค์ก่อน ๆ ไม่ทรงรับด้วยพระหัตถ์เลย เราจะพึงรับสัตตุผงและสัตตุก้<wbr>อนด้วยอะไรหนอ ก็เพราะบาตรได้หายไปในวันรับข้<wbr>าวมธุปายาสของนางสุชาดานั่นเอง” ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง 4 ทรงทราบพระปริวิตกแห่งจิ<wbr>ตของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้<wbr>วยใจตนเองแล้ว เสด็จมาจากทิศทั้ง 4 ทรงน้อมบาตรอันสำเร็จแล้วด้<wbr>วยแก้วอินทนิลเข้าไปถวาย พระผู้พระภาคเจ้าทรงปฏิ<wbr>เสธบาตรเหล่านั้น ท้าวมหาราชจึงน้อมเข้าไปถวาย 4 ใบ อันเป็นบาตรที่สำเร็จด้วยศิลามี<wbr>สีเหมือนถั่วเขียวเข้าไปถวายเพื<wbr>่อจะทรง อนุเคราะห์ศรัทธาของท้<wbr>าวมหาราชทั้ง 4 พระองค์นั้น จึงทรงรับบาตรทั้ง 4 ใยวางซ้อน ๆ กันแล้วทรงอธิษฐานให้บาตรรวมเป็<wbr>นใบเดียวกัน บาตรแม้ทั้ง 4 ใบจึงไม่มีรอยปรากฏที่<wbr>ขอบปากบาตรรวมเป็นบาตรเดียวกั<wbr>นโดยประมาณบาตรขนาดกลาง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้บาตรอั<wbr>นสำเร็จด้วยศิลาใหม่เอี่ยมนั้น รับสัตตุผง สัตตุก้อนเสวยแล้วทรงกระทำอนุ<wbr>โมทนา
    ครั้งนั้นพ่อค้าทั้งสองได้<wbr>กราบทูลคำนี้กะพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธ เจ้าทั้งสองนี้ ขอถึงพระพุทธเจ้า และพระธรรมว่าเป็นสรณะ (ก็ในกาลนั้น ยังไม่มีพระสงฆ์) ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้<wbr>าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสกผู<wbr>้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พาณิชทั้งสองนั้น จึงได้ชื่อว่า “เทววาจิกอุบาสก” นับเป็นอุบาสกคู่แรกในโลก ในอรรถกถาพระวินัยปิฎก มหาวรรค ราชายตนกถากล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้<wbr>ประทานเกศธาตุแก่เขาทั้งสองคน พาณิชทั้งสองนั้น ราวกะว่าได้อภิเษกด้วยอมตธรรม รื่นเริงยินดี บรรจุพระเกศธาตุเหล่านั้นไว้<wbr>ในผอบทองคำ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้<wbr>วหลีกไป นำพระเกศธาตุไปบรรจุไว้ที่<wbr>พระเจดีย์ ที่นครของตนเอง (ในที่บางแห่งกล่าวว่า พระเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุนี้คื<wbr>อพระเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า)

    สหัมบดีพรหมอาราธนาธรรม
    พอล่วงไป 7 วัน พระองค์เสด็จกลับมาประทับที่ต้<wbr>นอชปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงปริวิตกถึงความลึกซึ้<wbr>งของธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ เป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง รู้ตามได้ยาก จะรู้ได้เฉพาะคนที่ฉลาดเท่านั้<wbr>นหากจะได้แสดงธรรมไปก็จะมีแต่<wbr>ความเหนื่อย เปล่า ขณะนั้นมีคาถาอัศจรรย์ 1 คาถา เป็นคาถาที่พระองค์ไม่เคยได้ยิ<wbr>นได้ฟังมาจากที่ไหน เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า “อมตธรรม เราบรรลุได้ยากแสนยาก บัดนี้ไม่ควรจะประกาศ (อมตธรรมนั้น) เพราะธรรมนี้ ยากที่คนผู้มีราคะ โทสะ และโมหะ จะรู้ตามได้ง่าย ๆ”
    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิ<wbr>จารณาเห็นอยู่ดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่<wbr>อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม ความตรึกนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้<wbr>งปวงเคยประพฤติมาถึงอาการคื<wbr>อความไม่ประสงค์จะแสดง ธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
    ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบปริวิตกแห่งจิตของพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้าด้วยใจของตน แล้วทรงรำพึงว่า “ชาว เราผู้เจริญ โลกจักฉิบหายหนอ โลกจักวินาศหนอ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุ<wbr>ทธเจ้า ทรงน้อมพระทัยไปเพื่<wbr>อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมพระทัยไปเพื่<wbr>อทรงแสดงธรรม”
    ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทรงพาท้าวสั<wbr>กกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมมานรดี ท้าวปรินิมมิตวสวัตตี และท้าวมหาพรหมในหมื่นจั<wbr>กรวาลมาเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เบื้องพระพักตร์ แล้วพูดอาราธนาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้<wbr>าโปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรม ขอพระองค์ได้ทรงเปิดประตูแห่<wbr>งอมตธรรมนี้ เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุ<wbr>ลีในจักษุน้อยมีอยู่ เมื่อไม่ได้ฟังธรรม ย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี
    อุปนิสัยของสัตว์โลกกับธรรมชาติ<wbr>ของดอกบัว
    ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบคำทูลอาราธนาของพระพรหม และทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สั<wbr>ตว์ จึงทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยทิพยจั<wbr>กษุได้ทรงเห็นสัตว์ทั้<wbr>งหลายบางพวกมีธุลีคือ กิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัยอยู่
    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดี<wbr>พรหมว่า “เรา เปิดประตูอมตแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟังจงปล่อยศรั<wbr>ทธามาเถิด ดูก่อนพรหม เพราะเรามีความสำคั<wbr>ญในความยากลำบาก จึงไม่ทรงแสดงธรรมที่เราคล่<wbr>องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์”
    ดังนั้น จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ท่านผู้อ่านก็คงพอจะมองเห็นว่า การตัดสินพระทั<wbr>ยแสดงธรรมของพระองค์ครั้งนี้ นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคั<wbr>ญของการประกาศพุทธธรรม พระองค์มีความเมตตากรุณาต่อหมู่<wbr>สัตว์อย่างหาประมาณมิได้ การสอนของพระองค์นั้น ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นอั<wbr>นดับแรก ไม่ทรงสอนสิ่งที่พระองค์เห็นว่<wbr>ายาก แต่ทรงสอนเรื่องที่จะเกิ<wbr>ดประโยชน์แก่ผู้ฟังมากที่สุด เหตุการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเหตุการณ์ช่วงเสวยวิมุตติสุ<wbr>ข มีหลักธรรมหลายข้อที่อยู่ในช่<wbr>วงนี้ เช่น พราหมณธรรม อวิหิงสธรรม วิราคธรรม การประกาศหลักพุ<wbr>ทธธรรมของพระองค์เริ่มขึ้น เมื่อทรงตัดสินพระทัยที่<wbr>จะแสดงธรรมโปรดชาวโลก
    จึงกล่าวได้ว่า การเผยแผ่พุทธธรรม มีความสำคัญต่อการสืบทอดให้<wbr>ศาสนาคงอยู่ได้ พระองค์ทรงใช้สื่อบุคคล คือตัวพระองค์เองเป็นสื่<wbr>อในการสอนเบื้องแรก และก่อนที่พระองค์จะตัดสินพระทั<wbr>ยสั่งสอนเวไนยสัตว์ พระองค์ได้ทรงวิเคราะห์ผู้ที่<wbr>จะทรงโปรดโดยพิจารณาถึงระดั<wbr>บของบุคคลเหล่านั้น อย่างที่ทรงพิจารณาก่อนที่<wbr>จะทรงออกประกาศพระศาสนาว่า “สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็<wbr>มีที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็<wbr>มีที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มีที่มีอินทรีย์อ่อนก็มีที่มีอาการดีก็มีที่มีอาการทรามก็มีที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มีที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มีที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยก็มีมีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบลดอกปทุมในกอปทุมหรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริกที่เกิดแล้วในน้ำเจริญแล้วในน้<wbr>ำงอกงามแล้วในน้ำบางเหล่ายังจมในน้ำอันน้ำเลี้ยงไว้บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำบางเหล่<wbr>าตั้งอยู่พ้นน้ำอันน้ำไม่ติดแล้<wbr>ว[1]
    การพิจารณาของพระองค์สามารถแบ่<wbr>งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะของดอกบัว 4 เหล่า อันได้แก่
    1) ดอกบัวที่ยังอยู่พ้นน้ำ คือ บุคคลผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน เพียงแต่พอยกหัวข้อขึ้นแสดงเท่<wbr>านั้น เรียกว่า “อุคฆฏิตัญญู” เทียบกับบัวพ้นน้ำแต่พอรับสัมผั<wbr>สรัศมีตะวันก็จะบาน ณ วันนั้น
    2) ดอกบัวที่ยังอยู่ปริ่มน้ำ คือ บุคคลผู้สามารถรู้เข้าใจได้ ต่อเมื่อท่านอธิบายความพิ<wbr>สดารออกไป เรียกว่า “วิปจิตัญญู” เทียบกับบัวปริ่มน้ำจักบานต่อวั<wbr>นรุ่งขึ้น
    3) ดอกบัวที่ยังอยู่เสมอน้ำ คือ บุคคลผู้พอจะหาทางคอยชี้<wbr>แจงแนะนำใช้วิธีการยักเยื้องให้<wbr>เข้าใจได้ต่อ ๆ ไป เรียกว่า “เนยยะ” เทียบกับบัวงามใต้พื้นน้ำจั<wbr>กบานในวันต่อ ๆ ไป และ
    4) ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ คือ บุคคลผู้อับปัญญามีดวงตามืดมิด ยังไม่อาจให้บรรลุคุณวิเศษได้<wbr>ในชาตินี้เรียกว่า “ปทปรมะ” เทียบกับบัวจมใต้น้ำจักเป็นภั<wbr>กษาแห่งปลาและเต่า[2]
    เพราะฉะนั้นจะว่าไปบุคคลทั้ง 4 ประเภท พระองค์ทรงใช้เทคนิคในการสร้<wbr>างสาร (Message) ให้สอดคล้องและเหมาะสมแก่ระดั<wbr>บสติปัญญา ตลอดถึงการใช้กุศโลบายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเข้าใจหรือรู้<wbr>แจ้งในหลักธรรม นั่นเอง
     
  15. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    พระพุทธอุทาน

    เรื่องพระพุทธอุทานครั้งแรก:p:p
    :p:p

    พระพุทธอุทานที่ทรงเปล่งขึ้นเมื<wbr>่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ
    :p:p
    ยังประทับอยู่ ณ ภายใต้โพธิพฤกษ์ ครั้งที่ ๑ แบ่งเป็น ๓ ตอน:p:p
    :p:p

    ตอนต้นว่า:p:p
    ยทา หเว ปาตุ ภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พราหมฺณสฺส:p:p
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ:p:p
    แปลว่า:p:p
    เมื่อพราหมณ์เพียรพยายามเพ่งพิ<wbr>นิจอยู่ :p:p
    ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏแจ่มกระจ่<wbr>างขึ้น หมดความสงสัย:p:p
    เพราะรู้เห็นชัดว่า ธรรมส่วนที่เป็นผลจะตั้งอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยเหตุหนุน ดังนี้ :p:p
    :p:p

    บรรยายความ คำว่า พราหมณ์ ในพระอุทานนี้ เป็นนามใช้แทนพระองค์เอง
    :p:p
    พราหมณ์ แปลว่า ผู้กำจัดล้างบาป นักบุญนักหาความรู้เรื่<wbr>องภายในของตนเอง:p:p
    ดังพระวาจาที่ตรัสนี้ว่า :p:p
    อเนญฺชํ นหาตกํ พุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พราหมฺณํ:p:p
    เราเรียกยกย่องคนที่มีจิตใจไม่<wbr>หวั่นไหว ล้างกิเลสบาปธรรม:p:p
    บริสุทธิ์แล้ว รู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ดังนี้:p:p
    พราหมณ์ คือ พระอรหันต์ เฉพาะในที่นี้:p:p
    :p:p

    พระองค์ทรงสงสัยเรื่องอะไร
    :p:p
    และทรงพยายามเพียรเพ่งพินิ<wbr>จธรรมอะไรอยู่:p:p
    ความสงสัยนั้นจึงหมดสิ้นไปได้:p:p
    :p:p

    เข้าใจว่าพระองค์ทรงสงสัยตั<wbr>วของพระองค์เองว่า
    :p:p
    เราเป็นตัวสุขไม่ใช่ตัวทุกข์ แต่เพราะอะไรจึงแปรไปเป็นตัวทุ<wbr>กข์:p:p
    และเวียนตายเวียนเกิดไม่รู้จบสิ<wbr>้นลงได้:p:p
    :p:p

    และพระองค์ทรงเพียรเพ่งพินิจพิ<wbr>จารณาเรื่องซึ่งพัวพันอยู่กับจิ<wbr>ต
    :p:p
    ส่วนที่สำคัญๆ คือ จิตผู้รู้ อารมณ์ต่างๆในภายนอกซึ่งเป็นสิ่<wbr>งที่ถูกรู้:p:p
    อายตนะวิถีทางเครื่องต่อเครื่<wbr>องดักอารมณ์ เช่น ตา หู จมูก เป็นต้น:p:p
    กิริยากรรมของจิตหรือพลั<wbr>งงานของจิตเกิดขึ้นในเมื่อพัวพั<wbr>นกับอารมณ์:p:p
    เช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นต้น:p:p
    พร้อมด้วยกิเลสเครื่องเศร้<wbr>าหมองแห่งจิตใจในเมื่อรวมกันเข้<wbr>ากับอารมณ์:p:p
    จิตก็แปรรูปเป็นลักษณะอาการต่<wbr>างๆ:p:p
    เหมือนน้ำที่ถูกประสมให้แปรสี<wbr>กลิ่นรสไปเป็นต่างๆตามวัตถุที่<wbr>ประสม ฉะนั้น:p:p
    :p:p

    แล้วทรงทยอยแยกส่วนสำคัญๆนั้<wbr>นออกไปเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม
    :p:p
    เป็นเหตุผลอุดหนุนซึ่งกันและกั<wbr>นให้เป็นไป:p:p
    เปรียบเหมือนเครื่องยนต์หรื<wbr>อเครื่องจักร หรือคั่นบันไดที่หนุนกันขึ้นไป ฉะนั้น:p:p
    :p:p

    ย่อใจความลงเป็นวัฏฏะ ๓ หรือ สังสารจักร คือ กิเลส กรรม วิบาก
    :p:p
    หมุนเวียนเป็นเหตุผลของกันเป็<wbr>นอย่างนี้ คือ:p
    :pกิเลส เช่น ตัณหา เป็นต้น กดดันให้เกิด กรรม:p:p
    กรรมแยกออกเป็น ๒ คือ กุศลกรรม อกุศลกรรม:p:p
    :p:p

    กรรม ย่อมกดดันให้เกิด วิบากผล
    :p:p
    กุศลกรรม มีวิบากผลเป็นสุข เกิดภพชาติใหม่ในสุคติ:p:p
    คือ มนุษย์โลก สวรรค์ พรหมโลก:p:p
    ส่วนอกุศลกรรม มีวิบากผลเป็นทุกข์ เกิดภพชาติใหม่ในทุคติอบายภูมิ:p:p
    คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน:p:p
    :p:p

    เมื่อได้วิบากผลเกิดชาติใหม่<wbr>เพราะอาศัยกุศลกรรมอกุศลกรรมนั้<wbr>นแล้ว
    :p:p
    ตัววิบากผลนั้น ก็กดดันให้เกิดกิเลสอีก:p:p
    จัดว่าวิบากกลับเป็นเหตุให้เกิ<wbr>ดกิเลสอีกต่อไป :p:p
    :p:p

    อย่างอัตภาพร่างกายของคนทุ<wbr>กคนเป็นวิบากผลของกรรมในชาติหลั<wbr>ง
    :p:p
    กลับเป็นเหตุให้เกิดกิเลส กิเลสนั้น สร้างกรรมต่อไปอีก:p:p
    :p:p

    อำนาจ ๓ ประการนี้ หมุนเวียนเป็นเหตุผลของกันและกั<wbr>น
    :p:p
    เหมือนลูกล้อที่หมุนกลิ้งอยู่ ฉะนั้น:p:p
    จึงได้นามว่าวัฏฏะ วัฏฏะแปลว่า หมุนเวียน หรือ สังสารจักร:p:p
    เที่ยววนเวียนเหมือนมดเที่<wbr>ยววนเวียนไต่ปากขันน้ำไม่รู้<wbr>จบสิ้นลงได้ ดังนี้:p:p
    :p:p

    วัฏฏะ ๓ นี้ จัดเป็น อริยสัจจ์ ๒ คือ ทุกข์ กับ สมุทัย
    :p:p
    กรรม กับ วิบากผล เป็น ทุกข์อริยสัจจ์:p:p
    กิเลส เป็น สมุทัยอริยสัจจ์ เพราะเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด:p:p
    เป็นภาคโลกียธรรม สมุทัยวารฝ่ายเกิดอนตฺตา:p:p
    :p:p
    คำว่า ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะรู้แจ้งชัดซึ่งธรรมเป็<wbr>นไปกับด้วยเหตุ:p:p
    หรือเพราะรู้เห็นชัดว่าธรรมส่<wbr>วนที่เป็นผลจะตั้งอยู่ได้<wbr>เพราะอาศัยเหตุนั้น:p:p
    ทรงหมายเอา ทุกข์อริยสัจจ์ กับ สมุทัยอริยสัจจ์ ดังว่ามานั้นแล:p:p
    เป็นเนื้อความในพระอุทานตอนที่ ๑ ดังนี้ฯ
    พระอุทานตอนที่ ๒ ว่า:p:p
    ยทา หเว ปาตุ ภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พราหฺมณสฺส:p:p
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ:p:p
    แปลว่า:p:p
    เมื่อพราหมณ์เพียรพยายามเพ่งพิ<wbr>นิจอยู่:p:p
    ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏแจ่มกระจ่าง ความสงสัยทั้งปวงหมดสิ้นไป:p:p
    เพราะรู้แจ้งชัดว่า ธรรมที่เป็นตัวผลหมดสิ้นไป เพราะสิ้นไปแห่งเหตุ ดังนี้

    บรรยายความ พระองค์ทรงสงสัยอะไรอยู่:p:p
    และทรงเพียรพยายามเพ่งพินิ<wbr>จธรรมอะไรอยู่:p:p
    ความสงสัยนั้นจึงหมดสิ้นไปได้:p:p
    :p:p

    เข้าใจว่าพระองค์ทรงสงสัยเรื่<wbr>องกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นสมุทัยเหตุให้ทุกข์เกิด:p:p
    ว่าเพราะอะไรกิเลสมันจึงเกิดได้ ทำอย่างไรกิเลสจึงดับลงได้:p:p
    แล้วทรงพยายามเพ่งพินิจหาทางออก:p:p
    :p:p

    จึงทรงเห็นว่า เพราะอวิชชา ความโง่ ไม่รู้ความจริงแห่งทุกข์:p:p
    แล้วทรงกำหนดพิจารณาเรื่องของทุ<wbr>กข์ ทั้งส่วนที่เป็นนามและรูป:p:p
    (ปริญฺเญยฺย นามญฺจ รูปญฺจ):p:p
    จนปรากฏตามความเป็นจริ<wbr>งตามสภาพว่าเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา:p:p
    ไม่ควรต้องการยึดถือเข้าไว้:p:p
    นี่เป็นทางให้ละกิเลสตัณหาได้ เมื่อปฏิบัติตามทางนี้ กิเลสตัณหาก็หมดสิ้น
    ไม่ใช่จิตดับ จิตไม่เคยดับ จิตเป็นอสังขตธรรม ไม่ใช่สังขารธรรม:p:p
    :p:p

    ถ้าสมมุติว่าจิตดับ
    :p:pความบริสุทธิ์ที่เป็นตัวนิ<wbr>โรธหรือสันตินิพพานจะอยู่กั<wbr>บอะไร ก็พลอยดับไปด้วย:p:p
    เหมือนความบริสุทธิ์สะอาดของผ้<wbr>าอยู่กับผ้า:p:p
    ไฟไหม้ผ้าหมดแล้ว ความบริสุทธิ์ยังจะมีอีกหรือ ฉันใด:p:p
    :p:p

    นิโรธหรือสันตินิพพาน ก็เป็นคุณภาพ คือ ความบริสุทธิ์ของจิต:p:p
    จิตเป็นอสังขตะปราศจากเหตุ เป็นอมตธรรม คือ ธรรมทรงตัวไม่ตาย ฉะนั้น:p:p
    :p:p

    พระอุทานตอนที่ ๒ นี้เป็นเรื่องทรงทำธุระในอริยสั<wbr>จจ์ ๒ คือ มรรค กับ นิโรธ:p:p
    จิตบริสุทธิ์ถึงขีดสุด พ้นจากอำนาจวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก:p:p
    กิเลสดับ ทุกข์ดับไปจากจิต จิตออกนอกโลก คือ โลกุตตระ:p:p
    ตรงกับคำในพระอุทานตอน ๒ นี้ว่า ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวที:p:p
    เพราะรู้แจ้งชัดว่า ธรรมที่เป็นผลหมดสิ้นไปแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งเหตุ ดังนี้:p:p
    :p:p

    พระอุทานตอน ๓ ว่า:p:p
    ยทา หเว ปาตุ ภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พราหมฺณสฺส:p:p
    วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ:p:p
    แปลว่า:p:p
    เมื่อพราหมณ์เพียรพยายามเพ่งพิ<wbr>นิจอยู่ ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏแจ่มกระจ่<wbr>างขึ้น
    :p:pย่อมกำจัดมารและเสนามารซึ่งตั้<wbr>งประชิดอยู่ให้หมดสิ้นไปได้:p:p
    เหมือนอาทิตย์อุทัยขึ้นเด่<wbr>นดวงโชติช่วงรัศมี กำจัดความมืดที่คลุมกลบ:p:p
    ทำพื้นพิภพให้สว่างกระจ่างจ้า แสดงสรรพวัตถุต่างๆให้ปรากฏชัด ฉะนั้น ดังนี้:p:p
    :p:p

    พระพุทธอุทานตอนที่ ๓ นี้ เข้าใจว่าพระองค์ทรงเสร็จกิจ:p:p
    ไม่มีอะไรอีกที่จะต้<wbr>องทรงพยายามเพ่งพินิจในอริยสั<wbr>จจ์ ๔ เหล่านี้:p:p
    ได้วิมุตติความหลุดพ้นโดยสิ้<wbr>นเชิงเป็นสันตินิพพาน:p:p
    บรรลุผลถึงที่สุดจุดจบ โดยพระญาณ ๓ ที่เป็นไปแล้ว ในอริยสัจจ์ ๔ อย่างนี้คือ:p:p
    :p:p

    สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ:p:p
    ทุกข์ พึงกำหนดรู้ความจริง กำหนดรู้แล้ว:p:p
    สมุทัย พึงละเสียให้หมดสิ้น ละหมดแล้ว:p:p
    นิโรธ พึงทำให้แจ้งปรากฏขึ้น ทำให้แจ้งแล้ว:p:p
    มรรค พึงเจริญขึ้นให้สมบูรณ์ ได้เจริญขึ้นแล้ว:p:p
    โดยประการดังนี้ฯ:p:p
    :p:p
     
  16. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    เรื่องพระพุทธอุทานครั้ง

    พระพุทธอุทานทรงเปล่งขึ้นเมื่<wbr>อตรัสรู้ใหม่ๆ
    ยังไม่เสด็จออกจากจังหวั<wbr>ดขอบเขตโพธิพฤกษ์ อีกเรื่องหนึ่ง คือว่า

    ยตฺถ อาโป จ ปฐวี เตโช วาโย น คาธติ น ตตฺถ สุกฺกา โชตนฺติ
    อาทิจฺโจ น ปปฺกาสติ น ตตฺถ จนฺทิมา ภาติ ตโม ตตฺถ น วิชฺชติ ดังนี้
    แปลว่า
    น้ำ ดิน ไฟ ลม ไม่หยั่งลงหรือไม่มีในที่ใด
    ดวงดาวดารากร ที่แสดงตัวโชติช่วงก็ไม่มีในที่<wbr>นั้น
    อาทิตย์ซึ่งเป็นแดนซ่านออกแห่<wbr>งรัศมีก็ไม่มีในที่นั้น
    จันทร์ซึ่งให้ความสว่างก็ไม่มี<wbr>ในที่นั้น
    เมฆหมอกก็ไม่มีเสียอีกด้วยในที่<wbr>นั้น ดังนี้

    ข้อความในพระอุทานนี้ ทำความเข้าใจอย่างตื้นๆไว้ก่<wbr>อนว่า
    หมู่ดาวต่างๆก็ดี ดวงอาทิตย์ก็ดี ดวงจันทร์ก็ดี เมฆหมอกก็ดี
    สิ่งเหล่านี้เราจะเห็นด้วยตาได้<wbr>ทุกคน ในเมื่อเงยหน้ามองขึ้นไปข้<wbr>างบนจากพื้นพิภพ
    ที่พูดกันว่ามองดูฟ้า เมื่อเราเห็นอะไรแล้ว จะเป็นเมฆหมอกก็ดี ดวงจันทร์ก็ดี
    ดวงดาวทั้งหลายก็ดี ดวงอาทิตย์ก็ดี ในเวลาใด กลางคืนหรือ กลางวัน

    ตามความหมายในพระอุทานนี้

    สิ่งที่เราเห็นนั้นมีพวกธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประสมอยู่หมดสิ้นทั้งนั้น
    ธาตุ ๔ ประกอบกันอยู่ไม่มากก็น้อย
    ธาตุดินเป็นส่วนใหญ่ น้ำ ไฟ ลม เป็นส่วนน้อยก็ได้

    เช่น พิภพที่เราเกิดอาศัย เราเห็นหยาบๆ
    ธาตุดิน น้ำ ลม เป็นส่วนมาก แต่ไฟเป็นส่วนน้อย
    พิภพที่เราเกิดอาศัยก็เป็<wbr>นดาวดวงหนึ่งในหมู่ดาวทั้งหลาย

    ไฟเป็นส่วนใหญ่ดินลมเป็นส่วนน้<wbr>อย น้ำไม่มีก็ได้ เช่น ดวงอาทิตย์

    ประกอบกันอย่างไร มากน้อยเท่าใดก็ตาม
    สิ่งที่เราเห็นนั้นไม่พ้<wbr>นจากธาตุ ๔ ไปได้เลย
    ถ้าพวกธาตุ ๔ ไม่มีจะปรากฏให้เราเห็นไม่ได้

    แต่ธาตุ ๔ ที่ออกจากพระอุทานนี้ก็ดี ที่เรียกใช้กันอยู่ในพระพุ<wbr>ทธศาสนาก็ดี
    ไม่ใช่เป็นความรู้ที่แคบ มิได้หมายความว่าในโลกมีแต่ ๔ ธาตุเท่านั้น

    ธาตุ ๔ นี้เป็นชื่อรวมแห่งธาตุต่<wbr>างๆในโลก ซึ่งมีลักษณะสัณฐานคล้ายคลึงกัน
    เรียกเต็มคำว่า อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ดังนี้

    ในพวกอาโปธาตุ ธาตุน้ำ
    มีลักษณะเอิบอาบหลั่งไหลไปมาได้<wbr>โดยลำพังตนเองในเมื่อพื้นระดั<wbr>บไม่เสมอ
    อย่างนี้เรียกว่าน้ำ
    แต่อาจจะแยกส่วนต่างๆที่<wbr>ประกอบกันอยู่ออกไปเป็นชื่อต่<wbr>างๆอีกก็ได้
    ตามลักษณะอาการที่แตกต่างของมัน เช่น น้ำทะเลมีธาตุเกลือประกอบด้วย

    ในพวกปฐวีธาตุ ธาตุดิน
    รูปเป็นก้อน มีลักษณะแข็งตั้งนิ่งไม่เอิ<wbr>บอาบไหวตัวเหมือนน้ำ อย่างนี้เรียกว่าดิน
    แต่อาจแยกออกเป็นส่วนต่างๆในพื้<wbr>นดินที่ประกอบกันอยู่ออกไป
    มีชื่อต่างๆได้อีกหลายร้อยอย่าง เพราะดินพิสดารมากกว่า น้ำ ไฟ ลม
    เช่น ทอง เงิน เหล็ก เป็นต้น แยกออกไปๆ มีชื่อต่างๆ
    ขึ้นตามลักษณะของส่วนที่ได้ในที<wbr>่สุด น่าจะเห็นว่าไม่รู้ว่าดินอยู่ที<wbr>่ไหน

    ในพวกเตโชธาตุ ธาตุไฟ
    คือ ความร้อน รู้ได้ด้วยกายสัมผัส ไม่ใช่วิสัยของตา
    ที่เราเห็นด้วยตานั้น เป็นเปลวไฟซึ่งประกอบอยู่กับเชื<wbr>้อเท่านั้น ตัวไฟอยู่ที่ความร้อน

    ในพวกวาโยธาตุ ธาตุลม
    ได้แก่ อากาสธาตุ เฉพาะส่วนที่ห่อหุ้มตัวพิภพอยู่<wbr>รอบ เป็นปรมาณูละเอียด
    ดูด้วยตาไม่เห็น มันคุมตัวกันอยู่มีระดับอย่างน้<wbr>ำ
    ถ้ามีที่ว่างอยู่ในระดับของมัน มันดันเข้าไป
    อย่างลมหายใจของเรา ดันเข้าไป ปอดหุบหีบไล่กลับออกมา

    ประกอบด้วยวัตถุธาตุนานาประการ มีแก๊สเป็นส่วนมาก
    เป็นทั้งคุณทั้งโทษ สำหรับชีวิตร่างกายคน เพราะเราอยู่ได้ด้วยอาหารกั<wbr>บลมหายใจ
    และเพราะอยู่ในอากาศมันเคลื่<wbr>อนไหวไปมาได้ในเมื่อเตโช ความร้อน
    เข้ารังควานขับไล่ ถูกตัวเราหรือเห็นใบไม้ไหว จึงใช้เรียกกันว่า วาโย ลม
    วายะ ศัพท์ เป็นคำกิริยา แปลว่า พัด คือ ลมพัด
    ใช้เป็นนามก็ได้ กิริยาศัพท์ก็ได้ อย่าง วาโย วายติ แปลว่า ลมพัด

    ลมหรืออากาศที่ว่ามานี้ สมัยปัจจุบันเรียกกันว่า อีเธอร์
    เป็นส่วนหนึ่งของพิภพที่เราเกิ<wbr>ดอาศัยอยู่ ห่อหุ้มอยู่ภายนอกโดยรอบ
    เหมือนเปลือกลูกมะพร้าว ที่ห่อหุ้มกะลาไว้ภายในของมัน ฉะนั้น ดังนี้

    ธาตุ ๔ ที่ว่ามานี้
    ธาตุไฟเป็นธาตุสังหารล้างผลาญ เข้ากับ ดิน น้ำ ลม ไม่ได้ ก่อการจลาจล
    พระพุทธเจ้าจึงตรัสยกเอาไฟเปรี<wbr>ยบด้วยกิเลสว่า
    ราคคฺคี โทสคฺคี โมหคฺคี ไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ
    ส่วนน้ำ ดิน ลม เข้ากันได้ดี ฯ


    เมื่อพระอุทานแสดงว่า
    ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ หมู่ดาวทั้งหลาย เป็นพวกธาตุ ๔ ทั้งนั้น แล้ว
    ก็ควรคิดต่อไปว่า ดาวธรรมดาที่เราเห็นกันอยู่<wbr>นอกจากดาวหางแล้ว
    ก็ปรากฏเป็น ๒ ชนิด
    ชนิดหนึ่งเรียกว่า ดาวทอง ชนิดหนึ่งเรียกว่า ดาวเงิน
    ดาวทองนั้นเป็นดวงไฟที่มีรัศมี<wbr>ในตัวซ่านออกจากตัว เป็นดวงอาทิตย์
    ส่วนพวกหนึ่งเป็นดาวเงินไม่มีรั<wbr>ศมีในตัว ต้องอาศัยรัศมีของดวงอาทิตย์ส่<wbr>องให้สว่าง
    เช่น ดาวพิภพของเรา และดาวพิภพพระจันทร์ พิภพพระอังคาร เป็นต้น

    ส่วนดาว ๒ ประเภทนี้
    ส่วนพวกดวงอาทิตย์ไม่ต้องพูดถึง
    เพราะเป็นเตโชธาตุ ธาตุดินและธาตุน้ำคงรวมอยู่ไม่<wbr>ได้
    จะรวมอยู่ได้ก็คงเป็นอะไรชนิ<wbr>ดหนึ่ง ใครๆก็ยังรู้ไม่ได้

    แต่ส่วนดาวเงิน เช่น ดาวพิภพเรา หรือ พระอังคาร
    คงมากไปด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำและลม(อากาศธาตุ)
    หากมีได้เป็นได้ดังคิดเห็นนี้ พวกคนและสัตว์คงมีแน่ๆ
    แต่จะเป็นรูปร่างสัณฐานอย่<wbr>างไรรู้ไม่ได้

    เพราะกำเนิด ๓ ในโลกพิภพของเราปรากฏอยู่ คือ
    สงฺเสทชะ เกิดด้วยของหมักหมมแช่ดองอบอุ่<wbr>นด้วยความร้อน
    เช่น ยุงและแมลงต่างๆ จำพวกหนึ่ง

    อณฺฑชะ เกิดเป็นฟองไข่แล้วแตกออกเป็นตั<wbr>วตามพันธุ์ เรียกทวิชาชาติ
    เช่น ไก่ เป็ด และนก เป็นต้น จำพวกหนึ่ง

    ชลมฺพุชะ หรือ คพฺภเสยฺยกะ เกิดด้วยต่อมน้ำกาม
    ต่อมน้ำกามที่ว่านี้คือ ตัวพืชภาพ หรือพืช เท่ากับเมล็ดพืชของพฤกษาชาติ
    และติณชาติ มาจากชายผู้เป็นบิดา จัดว่าบิดาเป็นผู้ให้กำเนิด มารดาเป็นผู้เลี้ยง
    นามสกุลตกอยู่กับบิดา มารดาไม่มีส่วน
    แต่ส่วนพระคุณนั้น มารดามีพระคุณมากกว่าบิดา จึงยกมารดาขึ้นหน้าเพื่อให้รู้<wbr>สึกตัว
    ว่า มาตาปิตโร แม่พ่อ แต่ไทยพวกเราพูดกลับเสียว่าพ่<wbr>อแม่ดังนี้

    ตัวพืชภาพหรือพืชที่ว่านี้ สมัยปัจจุบันเขาเรียกว่า ตัวสเปอรมา
    ส่วนพระพุทธเจ้าของเราตรัสเรียก คันธัพพะ (คนธรรพ) ตามพระบาลีว่า

    ยโต จโข ภิกฺขเว มาตาปิตโรจ สนฺนิปติตา โหนฺติ
    มาตาจ อุตุนยีโหติ คนฺธพฺโพจปจฺจุปฏฺฐิโต โหติ
    เอวํ ติณฺณํ สนฺนิปาตา คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ โหติ ดังนี้
    แปลว่า
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดความพร้อมเพรียง ๓ ประการเหล่านี้ คือ
    ๑. มารดาบิดา เข้ารวมกันด้วย
    ๒. มารดามีฤดูถึงเวลาด้วย
    ๓. คันธัพพะ ตัวสเปอรมาหรือตัวพืชภาพมี<wbr>ปรากฏอยู่ด้วย เมื่อนั้นตั้งครรภ์ขึ้น ดังนี้

    จำพวกหนึ่งจำพวกนี้เกิดด้วยน้<wbr>ำกาม หรือ คพฺภเสยยกะ
    นอนในท้อง คือ เกิดในท้องแม่

    กำเนิด ๓ ที่ยกมาพูดนี้ สมบูรณ์อยู่ในดวงดาว คือ โลกพิภพที่เราเกิดอาศัยอยู่นี้
    ดวงอื่นๆที่มีธาตุ ๔ คล้ายคลึงกับโลกเราก็อาจมีกำเนิ<wbr>ด ๓ ได้เหมือนกันใช่ไหม?

    ควรคิดคืบหน้าต่อไปอีกว่า พระพุทธองค์ทรงคิดนึกอะไรอยู่
    จึงทรงเปล่งอุทานออกมาเป็นเนื้<wbr>อความเนื่องด้วยธาตุ ๔ ดังว่านั้น
    ข้อนี้ทายพระทัยได้ยาก อยู่ในความสามารถของคนแต่ละบุ<wbr>คคล

    พระองค์ทรงเปล่งอุ<wbr>ทานวาจาออกมาเป็นเรื่องธาตุ ๔ นั้น
    เราก็คิดเห็นว่าพระองค์ทรงคิ<wbr>ดเรื่องธาตุ ๔ อยู่เป็นเบื้องต้นแล้ว ณ ภายใน
    จึงเปล่งอุทานออกมาเป็นธาตุ ๔ ณ ภายนอก แต่ทรงคิดอย่างไร แนวไหนรู้ได้ยาก

    จิตของพระองค์เป็นพุทโธ ผู้รู้ รู้อริยสัจจ์ แจ่มกระจ่างชัด
    ไม่มีอวิชชากำกับ อวิชชาดับแล้ว
    คนสามัญก็มีจิตเป็นผู้รู้ แต่ไม่รู้อริยสัจจ์ มีอวิชชากำกับ

    มีจิตเป็นผู้รู้ ก็ต้องมี สิ่งที่ถูกรู้ คืออารมณ์ต่างๆ ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ เป็นคู่กัน
    สิ่งที่ถูกรู้ คือ อารมณ์ต่างๆ นั้นเป็นโลก ประมวลอยู่ในธาตุ ๔

    จิตของคนที่รู้อารมณ์แล้วไม่ติด เพราะความบริสุทธิ์ อวิชชาดับ
    กิเลสตัณหาอุปาทานไม่มี เป็นพุทโธ หรือพุทธะนั้น
    จำพวกนี้อยู่เหนืออารมณ์อยู่<wbr>นอกอารมณ์ คือ อยู่เหนือโลก อยู่นอกโลก
    เป็นพระอรหันต์ เช่นพระพุทธเจ้าของเรา เป็นต้น

    ส่วนจิตคือผู้รู้ของคนที่รู้<wbr>อารมณ์แล้ว ติดอยู่ในอารมณ์นั้น
    ไม่ว่าเป็นอารมณ์ที่เป็นบุญหรื<wbr>อเป็นบาป เพราะอวิชชากำกับไม่บริสุทธิ์
    ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส เช่นตัณหาอุปาทานเป็นต้น
    เป็นพวกอวิชชาสามัญชนคนหนาด้<wbr>วยกิเลส
    อยู่กันกับอารมณ์รวมอยู่กั<wbr>บอารมณ์ คือ เป็นโลก อยู่ในโลก ติดโลก ชาวโลก
    อารมณ์หรือโลกก็ประมวลอยู่ในรู<wbr>ปธาตุ ๔ นั้นเอง

    สรรพวัตถุสิ่งซึ่งเหตุปัจจั<wbr>ยประกอบขึ้นอันมีชื่อต่างๆบนพื้<wbr>นพิภพ
    เช่น กะบิลไม้ กะบิลหญ้า เป็นต้น
    ล้วนเป็นพวกธาตุ ๔ ประกอบด้วยธาตุ ๔ นับเนื่องในธาตุ ๔ ทั้งนั้น

    แม้อัตภาพร่างกายของคน และอัตภาพร่างกายของสัตว์
    พร้อมทั้งเคหาสถานที่อยู่อาศัย บ้านเมือง และเครื่องอุปโภคใช้สอย
    เครื่องบริโภค อาหารของกินที่มวลมนุษย์สร้างขึ<wbr>้น
    ทุกสิ่งทุกอย่างประกอบด้วยธาตุ ๔ นับเนื่องในธาตุ ๔
    เป็นพวกน้ำ พวกดิน พวกไฟ พวกลม ทั้งนั้น ไม่นอกไปจาก ๔ ประการนั้นเลยฯ

    จิต คือ ผู้รู้ ที่ติดอารมณ์อยู่ในโลก โดยอำนาจอวิชชาตัณหาอุปาทาน
    เป็นพวกสัตว์โลก ชาวโลก คือ สามัญชนมวลมนุษย์ทั้งหลาย
    ตลอดถึงสรรพสิงสาราสัตว์ทั้<wbr>งหลายบรรดามีอยู่บนพื้นพิภพนี้

    อวัยวะส่วนต่างๆในอัตภาพร่<wbr>างกายของเขาทุกคนทุกอัตภาพ
    แสดงบอกความต้องการอารมณ์อยู่ทุ<wbr>กคนทุกตน
    มีตาไว้ทำไม มีไว้ต้องการดูรูป
    มีหูไว้ทำไม มีไว้ต้องการฟังเสียง
    มีจมูกไว้ทำไม มีไว้ต้องการดมกลิ่น
    มีลิ้นไว้ทำไมเกะกะช่องปาก บ๊ะของสำคัญ
    มีไว้สำหรับลิ้มรสรู้รสแห่งสิ่<wbr>งต่างๆ เช่น รสอาหาร เป็นต้นนั้นซิ
    ผิวหนังมีประโยชน์อะไร มีประโยชน์มาก
    เป็นกายประสาทต้องการโผฏฐั<wbr>พพารมณ์ โผฏฐัพารมณ์ เครื่องสัมผัสทางกาย
    กบ อึ่งอ่าง ร้องบอกเหตุฝนจะตกเพราะมันรู้ด้<wbr>วยความสังเกตที่ผิวหนังของมัน
    อารมณ์ต่างๆ มี รูปารมณ์ เป็นต้น ในวิถีทางต่างๆมี ตา เป็นต้น
    ดังว่ามานี้ล้วนเนื่องด้วยธาตุ ๔ ที่จิตต้องการทั้งนั้น

    อารมณ์ต่างๆที่เข้ามาโดยวิถี<wbr>ทางทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทางใดทางหนึ่ง
    แล้วเกิดเป็นอุคคหนิมิตเป็นภพติ<wbr>ดอยู่ในใจ ณ ภายใน
    โดยอำนาจกิริยากรรมของจิต คือ สัญญาอุปาทาน

    ที่พูดกันว่าอารมณ์อดีต อารมณ์อนาคต และอารมณ์ปัจจุบันเฉพาะหน้า
    อารมณ์ของผู้รู้หรืออารมณ์ของจิ<wbr>ตที่ว่ามานี้
    ล้วนผลิตออกจากธาตุ ๔ ทั้งนั้น ไม่นอกไปจากธาตุ ๔ เลย

    สรุปแล้ว เห็นมีอยู่ ๒ เป็น ๒ เท่านั้น คือ
    อารมณ์เนื่องด้วยรูปธาตุ ๔ คือ โลก เป็นโลก
    ถ้าพูดตามทางอริยสัจจ์ ก็เป็น ตัวทุกข์ เพราะในโลกไม่มีอะไรเที่ยงถาวร
    อารมณ์หรือโลกเป็นภาคที่ถูกรู้<wbr>ของจิต นี้จัดเป็น ๑

    จิตผู้รู้โลก ต้องการโลก ติดอยู่ในโลก โดยอำนาจอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    เรียกว่าสัตว์โลก นี้จัดเป็น ๑
    (สัตว์คำนี้เป็นคำกิริยา สัตว์แปลว่าติดข้อง คือติดอยู่ในโลก หรือ ติดอยู่ในอารมณ์ )

    พูดสั้นๆอีกว่า ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ หรือ จิต กับ อารมณ์ เท่านั้น
    รู้แล้วติดเพราะต้องการ เป็นพวกสัตว์โลก
    ถ้ารู้แล้วไม่ติดไม่ต้องการ เป็นพวกออกนอกโลก อยู่เหนือโลก
    คือ พระพุทธเจ้าของเราและพระอรหันต์<wbr>พุทธสาวกทั้งหลาย โดยประการดังนี้ฯ
     
  17. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    พระพุทธอุทานครั้งที่ ๓

    พระพุทธอุทานทรงเปล่งขึ้นเมื่<wbr>อตรัสรู้ใหม่ๆ
    ยังไม่เสด็จออกจากจังหวั<wbr>ดขอบเขตโพธิพฤกษ์ อีกเรื่องหนึ่งมีดังนี้

    ยทา จ อตฺตนา เวทิ มุนิ โมเนน พราหฺมโณ อถรูปา อรูปาจ สุขทุกฺขา ปมุญฺจติ ดังนี้
    แปลว่า
    เมื่อใดพราหมณ์ผู้มุนี ได้รู้จักตน พบตน ด้วยความเป็นผู้นิ่งสงบ
    หรือด้วยปัญญาอันเกิดแต่ความนิ่<wbr>งสงบ
    เมื่อนั้นพราหมณ์นั้นย่อมพ้<wbr>นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์ได้
    ดังนี้

    บรรยายความ
    คำว่าพราหมณ์ในพระอุทานนี้ เป็นคำใช้แทนตัวพระองค์เอง ดังที่ได้พูดแล้วในข้อ ๑๑
    คำว่า มุนิ หมายถึง อาการจิตที่นิ่งสงบเป็นสมาธิจิต แต่ใช้เป็นนามของนักปราชญ์
    เข้าใจว่า อาการจิตที่นิ่งสงบนั้น เป็นคุณสมบัติของนักปราชญ์
    ไม่พูดพล่ามในเมื่อไม่มีเหตุ<wbr>การณ์อะไรที่จะต้องพูด รู้จักเวลากาลที่ควรพูดและไม่<wbr>ควรพูด
    อีกประการหนึ่ง ความนิ่งสงบเป็นบ่อเกิดแห่งปรั<wbr>ชญาณ คือ บ่อเกิดแห่งปัญญา
    คำว่า มุนิ มุนี จึงมีความหมายเป็นนามของนั<wbr>กปราชญ์

    ข้อความในพระอุทานนี้ แสดงให้เห็นเป็นเรื่องของคนเข้<wbr>าใจผิด
    ที่ไปหลงยึดถือในสิ่งที่ผิด โดยความเข้าใจว่าถูก
    คือ ยึดถือปัญจขันธ์ว่าเป็นอัตตาตั<wbr>วตนโดยความเข้าใจผิด
    เพราะยังไม่เห็นยังไม่พบอัตตาที<wbr>่แท้จริง ก็งมถือผิดๆอยู่ตลอดกาล


    ปัญจขันธ์ หรือขันธ์ ๕ นั้นคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    รูปร่างกาย จัดเป็น รูปขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูป
    ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ นั้น เป็นนามขันธ์
    เรียกสั้นๆว่า พวกนาม หรือ พวกอรูป คือ ไม่ใช่พวกรูป
    ขันธ์ ๕ นี้คุมกันเข้าก็เป็นอัตภาพร่<wbr>างกายของคนทุกคนตลอดถึงร่<wbr>างกายสัตว์ชาวโลก

    พวกสามัญชนมวลมนุษย์ยึดถือเอาขั<wbr>นธ์ ๕ นี้เป็นอัตภาพตัวตน
    เพราะไม่เห็นอื่นนอกไปจากนี้ที่<wbr>จะเป็นอัตตาตัวตนได้
    แปลว่า ยังไม่รู้จักตัวเอง ยังไม่พบอัตตาตัวตน


    เมื่อพระพุทธเจ้า ผู้รู้จักแล้ว พบแล้ว ตรัสสอนว่า
    ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ปล่อยวางเสีย

    คนฟังไปเข้าใจเสียว่า พุทธศาสนาไม่มีตัวตน ยิ่งจะหนักเข้าไปอีก
    ก่อนนั้นความมืดมนมันหนาเพี<wbr>ยงสองวา อีคราวนี้น่าจะถึงสองแสนสี่หมื่<wbr>นวา


    ขันธ์ ๕ ที่เป็นอัตภาพร่างกายของคนนั้น
    เมื่อพินิจพิจารณาลงไปให้ละเอี<wbr>ยดทั่วถึงแล้วก็เห็นเป็นโลก เป็นอารมณ์
    เป็นทุกข์อริยสัจจ์ เนื่องกับธาตุ ๔ น้ำ ดิน ไฟ ลม ดังพูดแล้วในข้อ ๑๒
    เป็นพวกที่ถูกรู้ ของผู้รู้คือ จิต แปลว่า มันเป็นอารมณ์ของจิตซึ่งเป็นผู้<wbr>รู้หมดทั้งนั้น


    รูปขันธ์ข้อต้น มียนต์กลไกพิสดารมาก
    ประกอบด้วยอวัยวะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นเครื่องดักอารมณ์
    รูปขันธ์ที่ว่านี้ก็เป็นธาตุ ๔ มาจากธาตุ ๔ ส่วนใหญ่
    ภายนอกเป็นอารมณ์ของจิตเพราะเป็<wbr>นพวกถูกรู้
    ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ นั้น
    เป็นกิริยากรรมการกระทำของจิ<wbr>ตเนื่องด้วยอารมณ์ที่เข้<wbr>ามาโดยวิถีทางทั้ง ๕
    เช่น ตา หู เป็นต้น ซึ่งเนื่องด้วยธาตุ ๔ ภายนอกเหมือนกัน

    สรุปรวมแล้วก็เป็น ๒ เท่านั้น คือ จิต กับ อารมณ์
    อารมณ์เป็นพวกถูกรู้ เนื่องด้วยรูปธาตุ ๔ คือ น้ำ ดิน ไฟ ลม
    ภายนอกเป็นโลก เป็นทุกข์อริยสัจจ์

    จิต เป็นผู้รู้อารมณ์ รู้โลก รู้ทุกข์

    จิตที่เป็นผู้รู้นั้นเมื่อเกิ<wbr>ดปัญญา รู้ความจริงของอารมณ์แล้ว
    ไม่ติดในอารมณ์ ไม่มีกิเลส คือ ตัณหาอุปาทาน
    เป็นจิตบริสุทธิ์ คือ ผู้รู้บริสุทธิ์ชั้นพุทธะ นี้แหละเป็นอัตตาตัวตนไม่มี<wbr>การยึดถือ

    ที่ไปเข้าใจว่า ขันธ์ ๕ คือ อัตภาพร่างกาย ยึดมั่นถือมั่นเอาเป็นอัตตาตั<wbr>วตนนั้น
    เป็นความเข้าใจผิดเพราะฤทธิ์อวิ<wbr>ชชา
    การยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตัวตน ก็คือ ยึดถืออารมณ์ ติดอารมณ์
    นับว่ายึดติดแน่นอยู่ในโลก จมปุกอยู่ในกองทุกข์
    ตกอยู่ในอำนาจ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบากนั้นเอง ไม่ใช่อัตตาตัวตนจริงๆ
    เห็นได้ชัดๆ จิตที่เป็นผู้รู้ รู้แล้วไม่ติดไม่ยึดถือ
    มีความบริสุทธิ์เป็นพุทธะต่<wbr>างหากเป็นอัตตาตัวตน


    แต่ผู้ยึดถืออัตตาผิดดังว่านั้น จะไปพูดกับเขาว่าอัตตาตัวตนไม่<wbr>มีนั้นไม่ได้
    คือ ใช้คำปฏิเสธว่าไม่มีนั้นไม่ได้
    ต้องใช้คำปฏิเสธว่าไม่ใช่จึ<wbr>งจะถูก
    เพราะสิ่งที่เขายึดถืออยู่นั้<wbr>นมี ถ้าไม่มีกิริยายึดถือจะประกอบกั<wbr>บอะไร

    สิ่งที่ยึดถือนั้นมีจริงๆแต่ว่<wbr>ามันไม่ใช่

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสปฏิเสธขันธ์ ๕ กับพวกพระปัญจวัคคีย์ผู้ยึดถื<wbr>อขันธ์ ๕ เป็นอัตตา
    ด้วยคำว่า อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตน
    จะพูดว่าตัวตนไม่มีไม่ได้<wbr>เพราะเขายึดถืออยู่

    อย่างคนที่ถือธนบัตรปลอมหรื<wbr>อทองวิทยาศาสตร์ เข้าใจว่า ธนบัตรแท้ ทองแท้
    เราเป็นผู้รู้จักธนบัตรดี ทองดี ชำนาญเห็นเข้าแล้ว
    เมื่อจะเปลื้องความเข้าใจผิด ความโง่เขลาของเขา
    เราจะพูดกับเขาว่า ธนบัตรไม่มีนั้นไม่ได้ ของมีอยู่ในตัวเขา จะว่าไม่มีอย่างไร
    ต้องพูดว่าธนบัตรทองคำที่ถืออยู<wbr>่นั้นไม่ใช่ของแท้ เป็นของปลอมแปลงต่างหาก
    ดังนี้จึงจะถูก

    เพราะฉะนั้นที่เข้าใจกันว่า พระพุทธศาสนาไม่มีตัวตน โดยยึดคำว่า อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตน
    ที่พระพุทธเจ้าตรัสในอนัตตลั<wbr>กขณสูตรเป็นหลักอ้างนั้น
    ต้องถือว่าไม่รู้จักภาษาคำพู<wbr>ดหรือฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดี<wbr>ยด

    ในพระพุทธศาสนามีทั้ง ๒ อย่าง คือ ตัวตนก็มี ไม่ใช่ตัวตนก็มี
    ดื่นดาษอยู่ในพระบาลีที่มานั้<wbr>นๆฯ

    เมื่อเข้าใจว่าอัตตาตัวตนมี<wbr>ในพระพุทธศาสนาดังว่ามานี้แล้ว
    ควรหวนไปตรวจคิดถึงข้<wbr>อความในพระพุทธอุทานนี้เสียใหม่ ทรงเปล่งออกมาว่า
    เมื่อใดพราหมณ์มุนีได้รู้จักตน หรือได้พบตนด้วยอำนาจปัญญาอั<wbr>นเกิดจากสมาธิจิต
    เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมพ้นจากรูป อรูป สุข และทุกข์ได้
    ดังนี้

    อัตตาตัวตนได้แก่ จิตผู้รู้บริสุทธิ์ถึงขีดสุด
    ดับสมุทัย คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน
    ดับทุกข์ คือ อารมณ์ต่างๆ ดับหมด เป็นสันตินิพพาน
    จิตเป็นเอกภาพว่าง ไม่มีนิมิตหมาย
    อนารมฺมณํ ไม่ใช่พวกอารมณ์ ออกนอกอารมณ์ ไม่มีอารมณ์
    อารมณ์เป็นตัวทุกข์ อารมณ์เป็นโลก เนื่องด้วยธาตุ ๔ ดังกล่าวแล้ว

    สันตินิพพานซึ่งเป็นอัตตาตั<wbr>วตนอยู่นอกโลกเหนือโลก

    ข้อความตอนปลายที่แสดงผลไว้ว่า
    ย่อมพ้นจากรูป อรูป สุขและทุกข์ได้ ในเมื่อพบเห็นตนแล้วนั้น
    รูป อรูป สุขและทุกข์ในที่นี้คือ ปัญจขันธ์ หรือขันธ์ ๕ เป็นอัตภาพร่างกาย
    ที่โลกสามัญชนมวลมนุษย์ยึดถือว่<wbr>าเป็นอัตตาตัวตน โดยความเข้าใจผิด
    เพราะไม่เห็นอื่นนอกไปจากนี้

    ส่วนท่านผู้ที่ถึงสันตินิพพาน เห็นตน พบตน แล้วปัดทิ้งไปแล้ว
    ไม่ใช่อัตตาตัวตนโดยประการดังนี<wbr>้ ฯ

    เบญเอย เบญจขันธ์
    สิ่งสำคัญ ไม่เห็น มีที่ไหน
    พิจารณา ตรวจตรา หาทั่วไป
    ส่วนใดๆ ก็ไม่เห็น เป็นทนทาน

    โลกไม่ เฉลียว เพ่งพินิจ
    เพราะฤทธิ์โง่ วนวง ในสงสาร
    เอาเป็นตัว เป็นตน ว่าทนทาน
    ต้องทนทุกข์ ดักดาน อยู่นานเอยฯ


    ทุกข์เอย ทุกขัง
    ใครได้ฟัง นึกได้ ไม่ประสงค์
    แต่ยึดเหนี่ยว เกี่ยวพัน ทุกข์มั่นคง
    ไม่จำนง ปล่อยปลด ลดเสียมั่ง

    ทุกข์หนัก ทุกข์แรง มันแผลงฤทธิ์
    อวิชชา คลุมมิด ทั้งหน้าหลัง
    เกลียดทุกข์ ขังทุกข์ ทุกข์ก็ประดัง
    เฝ้าแต่นั่ง ครวญคราง ไม่วางเอยฯ
     
  18. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    วันวิสาขบูชา

    ความหมายของ วันวิสาขบูชา

    คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6


    การกำหนด วันวิสาขบูชา

    วันวิสาขบูชา ตรง กับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

    อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด
    วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่<wbr>ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่<wbr>อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

    ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

    วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุ<wbr>ทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถี<wbr>ชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนั<wbr>บเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่

    1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

    เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกู<wbr>ลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมั<wbr>ยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริ<wbr>ยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

    เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึ<wbr>งอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิ<wbr>มาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุ<wbr>ทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็<wbr>ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสั<wbr>มมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระ ราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุ<wbr>ตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์<wbr>อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์<wbr>ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็<wbr>นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอั<wbr>ศจรรย์และเปี่ยมล้น ด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิ<wbr>วาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส

    2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุ<wbr>ทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

    หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็<wbr>นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้<wbr>เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

    สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้<wbr>นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็<wbr>นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ

    <wbr>
    <wbr>
    ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้<wbr>งของตนเองและผู้อื่นได้
    ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดั<wbr>บของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็<wbr>นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้<wbr>งหลาย
    ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุ<wbr>ทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มี<wbr>พระชนมายุได้ 35 พรรษา


    3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้<wbr>าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้<wbr>างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

    เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้<wbr>และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนั<wbr>ก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้<wbr>งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้<wbr>านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุ<wbr>นทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมื<wbr>องกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน

    เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิ<wbr>มโอวาทว่า "ดู ก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสั<wbr>งขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่<wbr>อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอั<wbr>นเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์<wbr>ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ<wbr>์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
    หลักธรรมที่สำคัญใน วันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

    ใน วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่<wbr>นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติ<wbr>ในวันวิสาขบูชา ได้แก่

    1. ความกตัญญู

    คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู<wbr>้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้<wbr>นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

    ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุ<wbr>พการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่<wbr>งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึ<wbr>งควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวที<wbr>ด้วยการทำนุบำรุงพระ พุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สื<wbr>บไป

    2. อริยสัจ 4

    คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้<wbr>ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

    ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้<wbr>องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชี<wbr>วิตประจำวัน เช่น การพลัดพลาดจากสิ่งที่เป็นที่รั<wbr>ก หรือ ความยากจน เป็นต้น

    สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิ<wbr>ดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

    มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ


    3. ความไม่ประมาท

    คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้<wbr>เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิ<wbr>ดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิ<wbr>กชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุ<wbr>ทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ
     
  19. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    "เราเเสวงหานายช่างผู้สร้างเรื<wbr>อน คือ ตัณหา เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวสังสารวัฏไม่รู้ต่<wbr>อกี่ชาติ การเกิดบ่อยๆเป็นทุกข์"


    "ดูกร นายช่าง เราพบท่านเเล้ว ท่านจักสร้างเรือนเเก่เราไม่ได้<wbr>อีก โครงสร้างเรือนของท่าน เราได้ทำลายลงเเล้ว ยอดเรือน คืออวิชชา เราก็กำจัดเสียสิ้น
    จิตของเราบรรลุพระนิพพานถึ<wbr>งความสิ้นไปเเห่งตัณหาเเล้ว จักปรุงเเต่งมิได้อีก"
    ชาติปิทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์,
    ชะราปิทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,
    มะระณัมปิทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์,
    โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุ<wbr>ปายาสาปิทุกขา, แม้ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์,
    ปิเยหิ วิปปะโยโคทุกโข, ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่พอใจก็เป็นทุกข์,
    ยัมปิจฉัง นะละภะะติ ตัมปิทุกขัง, ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ก็เป็นทุ<wbr>กข์,
    สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธาทุกขา, ว่าโดยย่ออุปปาทานขันธ์ 5 ก็เป็นทุกข์,
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นไฉน
    คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
    เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑
    เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
    เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑
    เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑
    เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม
    มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
    จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

    _ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
    สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
    เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย
    ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
    เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิง
    หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล
    สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
    เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ฯ


     
  20. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ถ้ำอินทสาละ ใกล้เวทยิกบรรพต ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ อัมพสณฑ์ อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ

    ท้าวสักกะ (พระอินทร์) ใคร่จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงเรียกปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์มา ชวนให้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยกัน ปัญจสิขะบุตร ถือพิณสีเหลืองเหมือนผลมะตูมไปด้วย เมื่อถึงที่ประทับแล้ว ท้าวสักกะจึงให้ปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์ หาทางทำความพอพระทัยให้พระผู้มีพระภาคก่อนจะเข้าเฝ้า

    ปัญจสิขะบุตร ถือพิณเข้าไปยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่งไม่ไกลไม่ใกล้เกินไป ดีดพิณกล่าวคาถาเกี่ยวด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และถาม

    พระ พุทธเจ้าทรงตรัสชมแก่ปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์ว่า เสียงพิณกับเพลงขับเข้ากันได้ดี แล้วตรัสถามว่า คาถาเกี่ยวกับพระพุทธเป็นต้นนี้ แต่งไว้แต่ครั้งไร ปัญจสิขะบุตรกราบทูลว่า ตั้งแต่ครั้งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำ...เนรัญชรา

    ครั้นได้โอกาส ท้าวสักกะพร้อมบริวารก็เข้าไปเฝ้า เมื่อได้ตรัสสันโมทียกถาพอสมควรแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงเปิดโอกาสให้ท้าวสักกะกราบทูลปัญหาได้

    ถาม เทวา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และหมู่สัตว์เป็นอันมากอื่น ๆ ถูกอะไรผูกมัด แม้ตั้งใจจะไม่จองเวร ไม่ใช้อาชญา ไม่มีศัตรู ไม่เบียดเบียน อยู่อย่างไม่มีเวร แต่ก็ต้องจองเวร ใช้อาชญา มีศัตรู เบียดเบียน และอยู่อย่างมีเวร

    ตอบ มีความริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่องผูกมัด

    ถาม มีความริษยา และความตระหนี่เกิดจากอะไร?

    ตอบ เกิดจากสิ่งเป็นที่รัก และสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เมื่อไม่มีสิ่งอันเป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก ก็ไม่มีความริษยาและความตระหนี่

    ถาม สิ่งเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักเกิดจากอะไร?

    ตอบ เกิดจากความพอใจ เมื่อไม่มีความพอใจก็ไม่มีสิ่งที่เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก

    ถาม ความพอใจเกิดจากอะไร?

    ตอบ เกิดจากความตรึก (วิตก) เมื่อไม่มีความตรึกก็ไม่มีความพอใจ

    ถาม ความตรึกเกิดจากอะไร?

    ตอบ เกิดจากปปัญจสัญญาสังขานิทาน คือส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลส (ตัณหา ความทะยานอยาก, มานะ ความถือตัว, ทิฐิ ความเห็น) เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

    ถาม ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร ทำให้ถึงความดับ ส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า?

    ตอบ โสมนัส (ความดีใจ) โทมนัส (ความเสียใจ) อุเบกขา (ความวางเฉย) มีอยู่สองอย่าง อย่างหนึ่งควรซ่องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรซ่องเสพ คือเมื่อซ่องเสพโสมนัส เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งกุศลธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นไม่ควรซ่องเสพ...ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นควรซ่องเสพ ธรรมที่ควรซ่องเสพนั้นคือที่มีวิตก (ความตรึก) วิจาร (ความตรอง) ที่ไม่มีวิตกวิจาร ที่ไม่วิตกวิจารแต่ประณีตขึ้นไปกว่า (หมายถึงความโสมนัสเป็นต้น อันเกิดจากเพราะเนกขัมมะบ้าง เพราะวิปัสสนาบ้าง เพราะอนุสติบ้าง เพราะปฐมฌาน เป็นต้นบ้าง) ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้ชื่อว่าปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควรที่ให้ถึงความดับ ส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า

    ถาม ภิกษุปฏิบัติอย่างไรจึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมปาติโมกข์ (ศีลที่เป็นใหญ่เป็นประธาน)

    ตอบ ความประพฤติทางกาย (กายสมาจาร) ความประพฤติทางวาจา (วจีสมาจาร) และการแสวงหา (ปริเยสนา) อย่างหนึ่งควรซ่องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรซ่องเสพ คือเมื่อซ่องเสพความประพฤติทางกายเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นไม่ควรซ่องเสพ ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นควรซ่องเสพ ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมปาติโมกข์

    ถาม ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ (คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

    ตอบ อารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นมีสองอย่าง อย่างหนึ่งควรซ่องเสพ อีกอย่างไม่ควรซ่องเสพ (พอตรัสถึงเพียงนี้ ท้าวสักกะก็กราบทูลว่าเข้าใจความหมายที่ว่าไม่ควรซ่องเสพและความซ่องเสพ นั้นกำหนดด้วย เมื่อซ่องเสพและอกุศลธรรมหรือกุศลธรรมจะเจริญกันแน่)

    ถาม สมณพราหมณ์ทั้งปวง มีวาทะ มีศีล มีฉันทะ มีจุดหมายปลายทางอย่างเดียวกันใช่หรือไม่?

    ตอบ ไม่ใช่ เพราะโลกมีธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่าง ๆ กัน สัตว์ยึดถือธาตุอันใดก็กล่าวเพราะยึดถือธาตุอันนั้นว่า นี้แลจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ

    ถาม สมณพราหมณ์ทั้งปวง มีความสำเร็จ มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องยึด (โยคักเขมี) เป็นพรหมจารี มีที่สุดส่วนล่วงใช่หรือไม่ (คำว่าส่วนล่วงหมายถึง ‘เด็ดขาด’ ไม่กลับกำเริบหรือแปรปรวนอีก)

    ตอบ ไม่ใช่ จะมีความสำเร็จ เป็นต้น ส่วนล่วงก็เฉพาะผู้ที่พ้นแล้วจากตัณหา (ความทะยานอยาก) เท่านั้น

    ท้าว สักกะจึงกราบทูลว่า ตัณหาอันทำให้หวั่นไหวเป็นโรค เป็นหัวปี เป็นลูกศรย่อมฉุดคร่าบุรุษเพื่อให้เกิดในภพนั้น ๆ ถึงความสูงบ้าง ต่ำบ้าง ครั้นแล้วได้แสดงความพอใจที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบปัญหาแก้ความสงสัยได้ เท่าที่เคยไปถามพราหมณ์เหล่าอื่นแทนที่จะได้คำตอบ กลับย้อมถามว่าเป็นใคร ครั้นรู้ว่าเป็นท้าวสักกะ ก็กลับมาถามปัญหายิ่ง ๆ ขึ้นอีกว่า ‘ทำกรรมอะไรไว้จึงเกิดเป็นท้าวสักกะ’ ก็ตอบไปตามที่ได้ฟัง ได้เล่าเรียน สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็อิ่มเอิบใจว่าได้เห็นท้าวสักกะ ได้ถามปัญหา และท้าวสักกะได้ตอบแก่เรา ท้ายสุดกลายเป็นสาวกของข้าพระองค์ไป...

    ครั้นแล้วท้าวสักกะได้กล่าวสุภาษิตอีกหลายประการ ในที่สุดได้เอามือลูบแผ่นดินแล้วเปล่งอุทานว่า...

    “นโมตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” รวมสามครั้ง

    ที่ นำเอาพระสูตรนี้มากล่าวไว้ ก็เพราะอยากให้ท่านทั้งหลายที่มีความใคร่รู้เรื่องความยิ่งใหญ่ของเทวดาและ พระพุทธเจ้า โดยชี้ให้เห็นว่าในพระพุทธศาสนา เทวดาเหล่านั้นยังต่ำกว่าพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาตรัสรู้

    พระบรมศาสดา เป็นพุทธะ!

    เป็นผู้ตรัสรู้หมดกิเลส มีความบริสุทธิ์สะอาดกว่าเทวดาทั้งปวง!
     

แชร์หน้านี้

Loading...