เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันอังคาร ที่ 18 มีนาคม 2551
    ซับไพร์มทำให้ แบร์ สเติร์น เจ๊งได้อย่างไร
    Posted by บรรยง
    ปัญหาของสินเชื่อที่มีความเสี่ยง ได้นำไปสู่วิกฤติการเงินระดับโลก แต่ประเด็นที่ใหญ่กว่านั้นคือ ผู้เชี่ยวชาญยังไม่รู้ว่ามันจะสิ้นสุดเมื่อไร
    โดย Tami Luhby CNNMoney.com senior writer
    เมืองนิวยอร์ค (CNNmoney.com) มันเริ่มต้นเมื่อฤดูร้อนที่แล้ว เมื่อผู้กู้ยืมเริ่มผิดนัดชำระหนี้ จนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (16 มีค.) มันได้ทำให้เสาหลักที่มีอายุ 85 ปีล้มลง
    เหตุการณ์ก้าวมาสู่จุดนี้ได้อย่างไร ทำไมยอดยึดบ้านที่พุ่งสูงขึ้น จึงทำให้บริษัทแบร์ สเติร์น วาณิชธนกิจอันดับ 5 ของสหรัฐ ต้องบอกขายหุ้นในราคาถูกเพียง 2 เหรียญต่อหุ้น
    คำตอบเริ่มที่ Investment bank; พวกเขาขายหลักทรัพย์ที่ซับซ้อน ที่มีสินเชื่อรองรับ แต่มีความเสี่ยงสูงกว่าที่เขาคาดมาก เมื่อนักลงทุนตระหนักว่าธนาคารเหล่านี้ล้มเหลวในการจัดการความเสี่ยง จนเขาไม่สามารถตีราคาในหลักทรัพย์ที่ธนาคารเหล่านี้ขายได้ ทำให้ตลาดกู้ยืมชะงักงัน เพราะผู้คนกลัวว่าเขาจะไม่ได้เงินต้นคืน
    “เรามาถึงจุดที่ ฝ่ายต่างๆในระบบการเงินเริ่มไม่ไว้ใจกันและกัน” ลอเรนซ์ ไวท์ ศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ แห่ง ม. นิวยอร์ค กล่าว
    สิ่งเลวร้ายที่สุดคือ ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไรมันจะสิ้นสุดลง
    ทุกสัปดาห์ ดูเหมือนว่ามีสถาบันการเงินสะดุด และทางธนาคารกลางของสหรัฐ( FED) จะออกมาพร้อมแผนช่วยเหลือใหม่ๆ แต่ขนาดของปัญหาที่ทยอยเกิดขึ้น ทางFEDจะรับมือได้หรือไม่ เพราะปัญหาทุกวันนี้ ไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นกับธนาคารทั่วไป แต่ยังลามไปถึงสถาบันการลงทุน, เฮดจ์ฟันด์, บริษัทประกัน และผู้ให้สินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคาร
    ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้าน
    ต้นเหตุของปัญหามาจากความหลงใหลในความรุ่งเรืองของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อราคาบ้านพุ่ง และประเทศมีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง สถาบันการเงินต่างมุ่งไปในตลาดสินเชื่อ และเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของหลักทรัพย์ที่มีสินเชื่อรองรับ บริษัทต่างๆก็เริ่มลดมาตรฐานในการกู้ยืม พร้อมกับขยายเครดิตให้คนที่มีความน่าเชื่อถือทางการเงินที่ต่ำ
    แต่ผู้ให้สินเชื่อกลับไม่ได้มีระบบในการดูแลความเสี่ยงในตลาดขาลงที่ดีพอ สัญญาณที่ชี้ชัดคือ อัตราที่ต้องจ่ายสำหรับหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น จังค์บอนด์ กลับอยู่ใกล้เคียงกับ หลักทรัพย์ที่มั่นคงสูง
    “ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ มักมีใครบางคนไปทำให้ระบบจัดการความเสี่ยงยุ่งเหยิง” อมิยาโตร พอร์นานานดาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก ม. มิชิแกน ให้ความเห็น
    แรกๆ บางคนคิดว่าปัญหาจะจำกัดอยู่แต่ในธุรกิจสินเชื่อ แต่ภายในไม่กี่เดือนมันแพร่ออกไปเหมือนไฟป่า เพราะผู้คนไม่เชื่อมั่นใน Investment bank ในการจัดการความเสี่ยง นักลงทุนเริ่มลังเลใจที่จะลงเงินในหลักทรัพย์ ที่รองรับด้วยหุ้นกู้ของเทศบาลนคร, เงินกู้นักศึกษา, บัตรเครดิต หรือ แม้แต่สินเชื่อที่รัฐบาลให้การรับประกันด้วยเกรงว่าจะไม่ได้รับเงินคืน
    “สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เรารู้สึกว่าแผนกู้วิกฤติทั้งหมดของรัฐไม่ได้ผล” จอร์จ เซลูโกซ์ คณบดีของคณะบริหารที่ ม. เดซเซล “มันเป็นประเด็นของความเชื่อมั่นในตลาด เรื่องความสามารถของสถาบันที่จะได้รับเงินคืนจากที่ปล่อยกู้ไป”
    สถาบันการเงินตอนนี้ ต่างก็กลัวการปล่อยเครดิตให้สถาบันอื่นๆ ด้วยกลัวว่าหลักทรัพย์ค้ำประกันของเงินกู้จะด้อยค่าลง
    ศรัทธาที่เสื่อมถอยของเงินดอลลาร์
    เงินดอลลาร์ทำให้ปัญหาซับซ้อนขึ้น ค่าเงินที่ร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ทำให้ความน่าสนใจลดลง สำหรับนักลงทุนต่างชาติที่จะลงทุนในสินทรัพย์ของสหรัฐ และนั่นทำให้มันยากยิ่งขึ้นในการระดมทุนจากระบบ
    เมื่อปราศจากสภาพคล่อง ตลาดการเงินทั่วโลกกำลังพังทลาย ทำให้ FEDต้องอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยได้รับหลักทรัพย์ที่มีสินเชื่อด้อยค่าเป็นหลักประกัน
    วิกฤติได้ก้าวสู่จุดสูงใหม่อีกครั้ง เมื่อพฤหัสที่แล้วบริษัท แบร์ สเติร์น ต้องขาดทุนจากธุรกิจ Investment bank ในฐานะรายใหญ่ของผู้รับประกันการจำหน่ายหุ้นกู้ที่มีสินเชื่อค้ำประกัน และ ได้รับความเสียหายอย่างมากจากธุรกิจ ขณะที่ไม่ได้มีรายได้จากธุรกิจอื่นที่หลากหลายมารองรับ
    ลูกค้าเริ่มถอนเงิน หรือต้องการหลักทรัพย์ค้ำประกันมากขึ้นจาก แบร์ สเติร์น ทำให้บริษัทต้องหันไปขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง ในวันศุกร์ เจพี มอร์แกน เชส พร้อมธนาคารกลาง สาขานิวยอร์ค ก็ประกาศให้เงินทุนช่วยเหลือ
    สองวันต่อมา เจพี มอร์แกน ก็ประกาศว่าจะซื้อบริษัท แบร์ สเติร์น ซึ่งเคยรู้จักในฐานะบริษัทที่มีการบริหารความเสี่ยงได้อย่างยอดเยี่ยม ในราคาช็อกตลาด เพียง 2 เหรียญต่อหุ้น มีส่วนลดถึง 93% จากราคาปิดตลาด ณ วันศุกร์
    สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้ทำให้ทุกคนอุ่นใจขึ้น ตรงกันข้าม นักลงทุนบางส่วนได้มองหาสถาบันต่อไปที่จะล้ม โดยเล็งไปที่บริษัทเลย์แมน บาร์เดอร์ ซึ่งราคาหุ้นได้ลดลงกว่า 32% ในการซื้อขายวันจันทร์
    “เมื่อไรที่คุณเห็นธนาคารหนึ่งล้มลง ผู้ฝากเงินก็เริ่มกังวลว่า บางทีธนาคารฝั่งตรงข้ามของถนน ก็น่าสงสัยเช่นกัน ว่าจะล้มลงหรือไม่” ไวท์พูด “แน่นอน นั่นคือสิ่งที่ FED กังวลอยู่ตอนนี้”

    หมายเหตุ Investment bank ( IB ) หมายถึง บริษัทหรือหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่รับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์(หุ้น,หุ้นกู้) เป็นที่ปรึกษาในการควบรวมกิจการ ,จักองค์กรใหม่ รวมทั้งเป็นโบร์กเกอร์ให้นักลงทุนสถาบัน
    “A financial intermediary that performs a variety of services. This includes underwriting, acting as an intermediary between an issuer of securities and the investing public, facilitating mergers and other corporate reorganizations, and also acting as a broker for institutional clients.”
    หุ้นของบริษัทแบร์ สเติร์น ( BSC ) ร่วงลงจาก 159 เหรียญในปีที่แล้ว เหลือเพียง 2.84 เหรียญในวันที่มีข่าวเทคโอเวอร์ ล่าสุดวันอังคารที่ 18 มีนาคม 2008 หุ้น BSC ปิดที่ราคา 5.91 เหรียญ
    บทความข้างบน แปลและเรียบเรียงโดยเจ้าของบล็อก ถ้าอ่านแล้วเข้าใจยาก ขออภัยครับ
     
  2. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    อยากทราบว่า วิกฤตต่างๆเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไรบ้างครับ และเราควรจะเตรียมตัวอย่างไร
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันพุธ ที่ 20 สิงหาคม 2551
    ประเทศที่มีเงินเฟ้อ 9,000,000%
    Posted by บรรยง
    ถ้าคุณจะซื้อนิตยสาร FORTUNE ในประเทศซิมบับเว คุณต้องใช้เงิน 270,543,825,555 ดอลลาร์ซิมบับเว แต่คุณไม่ต้องกังวลว่าจะต้องใช้รถขนดินเพื่อขนเงินไปจ่ายหรอก ในเดือนกรกฎาคม คุณเพียงแค่ใช้ธนบัตรออกใหม่ 3 ใบๆละ 100 พันล้านเหรียญ ไปจ่ายก็พอ ( 100 พันล้านเหรียญซิมบับเว หรือเท่ากับ หนึ่งแสนล้านเหรียญซิมบับเว มีค่าประมาณ 61 บาทไทย )
    [​IMG]
    ธนบัตรใหม่ใบละ 100 พันล้านเหรียญซิมบับเว ( 100 billion Zimbabwean dollars)
    วิธีนี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลของนายโรเบิร์ต มูกาเบ ตัดสินใจแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่มากกว่า 9,000,000%เพื่อตัดปัญหาว่าต้องใช้เงินสดจำนวนมาก ซิมบับเวจึงแก้ปัญหาง่ายๆโดยออกธนบัตรใบที่ใหญ่กว่า แถมยังมีแผนระยะยาวว่าจะตัดเลขศูนย์ออกจากธนบัตรที่มีอยู่ เพื่อทำให้พันธบัตรใบละ 10 พันล้านเหรียญ กลายเป็นธนบัตรใหม่ใบละ 1 เหรียญ
    การแก้ปัญหาแบนี้ แสดงถึงความงี่เง่าของรัฐบาลที่ขาดประสบการณ์
    ข่าวจาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจเช้านี้ แจ้งว่า คนแก่ที่เอาเงินบำนาญไปฝากเมื่อ 10 ปีที่แล้ว พอมาถอนวันนี้ เหลือแค่เซ็นต์เดียว
    โดยอัตราเงินเฟ้อที่รัฐบาลประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 9,000,000% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์เดือนเดียวเงินเฟ้อพุ่งขึ้นถึง 100,000% ขนาดที่ว่าคุณขึ้นรถไปธุระ พอขากลับ ค่ารถจะเพิ่มขึ้น จากการที่เงินเฟ้อเพิ่มทุกนาที

    ถ้าจะมีใครสักคนที่สมควรถูกตำหนิสำหรับวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ก็เป็นนายมูกาเบ เองนั่นแหละ ภายใน 28 ปี เขาทำให้ประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยมั่งคั่งที่สุดในอัฟริกาย่อยยับด้วยวิธีโง่ๆหลายวิธี
    เขาสั่งยึดฟาร์มใหญ่ๆหลายแห่งแล้วแจกจ่าย เพื่อสร้างคะแนนนิยมให้แก่ประชาชนผู้ไม่รู้วิธีใช้ที่ดิน (ซิมบับเวเคยเป็นผู้ส่งออก ข้าวโพดและยาสูบรายใหญ่) ในปี 1998 เขาเข้าทำสงครามในคองโกใช้เงินวันละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวันเพื่อหวังเข้าครอบครองที่ดินและทรัพยากรจากคองโก แต่ล้มเหลว
    เมื่อคนซิมบับเวพยายามโหวตให้เขาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี เขากลับลงโทษประชาชนด้วยความรุนแรงและด้วยเศรษฐกิจที่ย่ำแย่

    ท่ามกลางความทุกข์ยากของประชาชน ที่หางานทำไม่ได้ เพราะธุรกิจต่างพากันล้มละลาย คนซิมบับเวต้องอพยพไปหางานทำในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อส่งเงินมาให้ครอบครัว แต่ก็ยังไม่วายถูกยักยอกโดยคนในรัฐบาล โรงเรียนและสถานพยาบาลอยู่ในภาวะล่มสลาย แต่ยังมีเงินเหลือพอให้ครอบครัวของ นายมูกาเบ ถลุง โดยนำไปซื้อคฤหาสถ์ ไปชอบปิ้ง และจ่ายเงินเดือนให้คนที่ยังจงรักภักดีในตัวเขา
    คำถามคือ ถ้าวันนี้ มีคนบอกคุณว่า จะให้มรดกคุณ คิดเป็นเงินหนึ่งแสนล้านเหรียญ และต้องบินไปรับที่ประเทศของเขา คุณจะตัดสินใจอย่างไร ผมขอแนะนำว่า ให้ถามให้แน่นอนเสียก่อนว่า เงินก้อนนั้น ต้องไม่ใช่เงินสกุลซิมบับเวนะ เพราะถ้าใช่ มันจะมีค่าเทียบเท่ากับเงินไทยแค่ 61 บาทเท่านั้นเอง
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปธน.ซิมบับเวเย้ยคว่ำบาตร-ช็อปปิ้งห้างหรูในฮ่องกง
    [​IMG]
    ประธานาธิบดีโรเบิร์ต มูกาบี

    สื่อฯท้องถิ่นฮ่องกงเผย ประธานาธิบดีโรเบิร์ต มูกาบี ผู้นำจอมเผด็จการของซิมบับเวเดินช็อปปิ้งซ้ือชุดสูทสากล และรองเท้าในร้านหรูหราในย่านเกาลูน หลังถูกนานาชาติคว่ำบาตร...

    ส่ือฯ ท้องถิ่นของฮ่องกงเผยเมื่อวันที่ 15 ส.ค.ว่า ประธานาธิบดีโรเบิร์ต มูกาบี ผู้นำจอมเผด็จการของซิมบับเว ไปเดินช็อปปิ้งซ้ือชุดสูทสากล และรองเท้าในร้านหรูหราในย่านเกาลูนในฮ่องกง โดยมีตำรวจหน่วยอารักขาบุคคลระดับวีไอพีตามคุ้มกันเข้มงวด

    ก่อนหน้านี้เขายังไปเที่ยวชมเทศกาล "เวิลด์ เอ็กซ์โป" ที่มหานครเซี่ยงไฮ้ในจีน แม้เขาและเหล่าคนใกล้ชิดถูกนานาชาติคว่ำบาตร รวมทั้งถูกชาติตะวันตกสั่งอายัดทรัพย์สินและห้ามการเดินทาง แต่จีนไม่ได้ร่วมคว่ำบาตรด้วย

    ข่าวแจ้งว่า น.ส.โบนา ลูกสาวของมูกาเบกำลังเรียนในคณะบัญชีที่มหาวิทยาลัยในฮ่องกง เขายังมีบ้านหรูในเขตนิว เทอร์ริทอรีส์ในฮ่องกง เมื่อปีท่ีแล้ว นางเกรซ ภริยาของมูกาเบจุดชนวนพิพาททางการทูต หลังทำร้ายร่างกายช่างภาพชาวอังกฤษคนหนึ่งที่ตามถ่ายภาพขณะไปช็อปปิ้ง แต่กลับไม่ถูกดำเนินคดีเพราะมีเอกสิทธิ์คุ้มครองในฐานะภริยาประธานาธิบดี

    อนึ่ง มูกาเบถูกกล่าวโทษว่าปกครองอย่างกดขี่ และผิดพลาดทำให้ประเทศล้มละลาย ทั้งท่ีซิมบับเวเคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของแอฟริกาตอนใต้.ปธน.ซิมบับเวเย้ยคว่ำบาตร-ช็อปปิ้งห้างหรูในฮ่องกง - ข่าวทั่วไทย - THZAA.COM - Discuz!
     
  5. ยังเลวอยู่มาก

    ยังเลวอยู่มาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +492
    เป็นกำลังใจให้ท่าน <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->k.kwan<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4126391", true); </SCRIPT> และท่าน <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ForeverYoung<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4125995", true); </SCRIPT> ครับ อ่านเพลินดี ได้ความรู้ดีครับ

     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มีสติ ไม่ประมาท ใช้เศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เก็งกำไร
    กินอยู่ประหยัด รู้จักเก็บออม ถ้ามีเงินเหลือกินเหลือใช้ ก็ให้กระจาย
    ความเสี่ยงในการลงทุน ถ้าไม่มีเงินเหลือๆก็สบายใจไปอีกแบบ แหะ แหะ
    ที่เหลือก็ตามดูโลกไป อะไรจะเกิดมันก็ห้ามไม่ได้ แต่เราผ่านโรคต้มยำกุ้ง
    มาแล้วก็ถือว่ามีภูมิต้านทานพอตัว คนเมกาน่าเป็นห่วงกว่าเราเยอะ
    บ้านเราเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ยังไงก็ยังพอมีกิน อากาศก็ไม่โหดร้ายเหมือนที่อื่น
    ดูๆแล้ว พวกเราก็ถือว่าโชคดีกว่าบ้านอื่นเยอะ ถ้าวิกฤติกระทบมาถึงบ้านเรา
    ก็คาดว่าท่านๆในรัฐบาลจะรับมือกับทุกปัญหาได้ หวังว่าอย่างนั้นนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2010
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    CRASH JP Morgan BUY SILVER !!!.......Update 1 for Dec 8, 2010


    โพสต์นี้พิมพ์ไว้ตั้งแต่เมื่อเช้าแต่ไม่เสร็จครับ เพราะมีธุระ "เร่งด่วน" จึงไม่ได้อยู่หน้าเครื่องทั้งวัน แล้วจะอัพเดตสถานการณ์ให้ในโพสต์ต่อๆไปครับ......


    ถ้าผู้อ่านท่านใดนั่งดูกราฟราคาคอมโมดิตี้ต่างๆ โดยเฉพาะแร่เงิน(SLV)และทองคำในคืนที่ผ่านมา อาจจะเข้าใจว่า "ญี่ปุ่นกำลังบุกเพิร์ลฮาเบอร์" เล่นกันแรงครับ ในความเห็นของผมมองว่าทองคำ "ลงน้อย" ครับ( ณ ปัจจัยพื้นฐานและสภาวะของตลาดปัจจุบัน) คือลดลงไป 1.59% ถ้าอ่านในรายละเอียดของกราฟจะเห็นการสู้รบที่รุนแรงในช่วง $1,420 และมีการหลุดลงมาเป็นช่วงๆ พอหลุดจากตรงนั้นได้ก็ยาวเลยครับมาติดอีกทีที่ $1,400 ซึ่งเป็นตัวเลขทางจิตวิทยาเท่านั้น ซึ่งก็หลุดลงมาอีกแล้วในขณะที่ผมกำลังนั่งพิมพ์อยู่คือเวลา 9.30am


    ในขณะที่แร่เงิน หรือ Silver โดนอัดลงไปกองกับพื้นคือทรุดลงไปถึง 4.75% ในช่วงข้ามคืน "ไม่ธรรมดาครับ" สำหรับการทำราคาในเบรคเดียว และทั้งหมดมีเพียงคำอธิบายสั้นๆตามเวบค้าโลหะว่าเป็นการ " Take Profit " ชัดเจนครับว่าเมื่อคืนนี้เป้าโจมตีจริงๆ ก็คือ SLV หรือ Silver ซึ่งผมถือว่าเป็นการ "ตอบโต้" ที่รุนแรงมากต่อความพยายามของฝั่งนักลงทุนรายย่อยในการรณรงค์เรื่อง "Crash JP Morgan BUY SILVER"


    [​IMG]


    ถ้าเป็นเพียง Take Profit หรือการขายทำกำไรตามข่าวจริง คำถามคือทำไมต้องเทคอะไรคืนเดียวขนาดนั้น แล้วยังเทคมาถึงเช้า ยังไม่เลิกเลยครับในตลาด Globex พาลให้ตลาดฮ่องกงในช่วงเช้าแตกตื่นเทขายตามกันไปอีก ก่อนที่จะตั้งสติกันได้อีกทีก็ในครึ่งหลังของตลาดแล้ว

    ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือการ "ทุบ" ราคาโลหะต่างๆ ลงเพื่อปิดสถานะช๊อตที่กำลังจะมาถึงในปลายเดือนนี้นั่นเองครับ เหตุผลที่ว่าทำไมต้องเอาลงเร็วและแรงขนาดนี้ก็เพราะว่า การเข้าช๊อตของกลุ่ม Commercial Banker นี้เค้าทำกันไม่ใช่ 1,000 หรือ 10,000 สัญญา ตัวเลข OI หรือ Open Interest ล่าสุดของ Silver ในตลาด Comex ของสหรัฐ ที่กลุ่ม Banker หรือขาใหญ่เหล่านี้มีภาระผูกพันธ์ในการช๊อตไว้ถึง 137,226 สัญญา หรือจะคูณออกมาเป็นเนื้อโลหะเงินที่สัญญาละ 100 ออนซ์ ก็จะตกอยู่ที่ 137,226,000 ออนซ์ หรือ 6,2375,454.5 กิโลกรัม หรือ 62,375.45 ตันครับ


    ( หกหมื่นสองพันสามร้อยเจ็ดสิบห้าจุดสี่ห้าตัน )


    ซึ่งต่อให้เอาแร่เงินที่ขุดขึ้นมาได้ทั้งปีมากองรวมกัน ณ ตอนนี้ ก็ไม่สามารถที่จะปิดสัญญาช๊อตเหล่านี้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และจนถึงนาทีนี้ Silver ที่พวกเค้าจะระดมมาส่งมอบได้จริงมีไม่ถึง 56% ที่ "ราคาปัจจุบัน" และสัญญาช๊อตเกือบทั้งหมดทำไว้ที่ราคาต่ำกว่า $25/ออนซ์ ก็คือเค้าต้องเข้าเนื้อประมาณ 5-6 ดอลล่าต่อออนซ์ ลองคูณดูครับว่าต้องโดน call margin เท่าไหร่ถ้าต้องโดนบังคับขายในตลาดฟิวเจอร์ และถ้ายิ่งมีการผิดสัญญาการส่งมอบ (Default) ในตลาดที่ต้องมีการส่งมอบจริง สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือตลาด Derivatives หรือตราสารอนุพันธ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจะ "ล่ม" ทันทีครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีประเด็นเรื่องการปั่นราคาโลหะต่างๆ โดยกลุ่มขาใหญ่ คือ JP Morgan และ HSBC แล้วไหนจะคดีที่กำลังคาอยู่ในศาลจากการฟ้องร้องของผู้ที่เสียหายจากการบิดเบือนราคาอีกประเด็นหนึ่ง

    เพราะฉะนั้น "หมด" ทางถอยแล้วครับ ก็เลยต้อง "ทุบกระจาย" อย่างที่เห็นที่เราเห็น แต่จะทำลงไปได้อีกเท่าไหร่ก็ต้องลุ้นกันต่อไปครับ แต่อย่างนึงก็คือเราทุกคนคงได้เห็น "ศักยภาพ" ของพวกเค้าแล้วนะครับ


    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัญญาทั้งหมดนี้มีกำหนดจะต้องปิดสัญญาส่งมอบภายในสิ้นเดือนธันวาคมนี้คือก่อนปีใหม่ และโดยธรรมเนียมบริษัทบิ๊กๆ เหล่านี้จะหยุดกันตั้งแต่ 24 ธันวาคมเป็นต้นไป หรือก็คือ Christmas Eve เพราะฉะนั้นพวกเค้า "จึงรอไม่ได้" จริงๆครับ


    [​IMG]


    โพสต์โดย What's going on in America
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ประเทศซิมบับเว
    <TABLE style="BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; WIDTH: 100%; POSITION: relative" align=center><TBODY><TR><TD style="VERTICAL-ALIGN: middle; WIDTH: 58%" align=middle></TD><TD style="VERTICAL-ALIGN: middle; WIDTH: auto" align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle><SMALL>ธงชาติ</SMALL></TD></TR></TBODY></TABLE>
    คำขวัญ: Unity, Freedom, Work
    (ภาษาอังกฤษ: เอกภาพ, อิสรภาพ, การงาน

    เพลงชาติ: Simudzai Mureza Wedu weZimbabwe (Shona)
    หรือ Kalibusiswe Ilizwe leZimbabwe (Ndebele)
    ("โปรดประทานพรแก่ดินแดนแห่งซิมบับเว")
    <TABLE class="infobox geography vcard" style="FONT-SIZE: 88%; WIDTH: 22em"><TBODY><TR><TD class=anthem style="LINE-HEIGHT: 1.2em; TEXT-ALIGN: center" colSpan=3></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 0em; PADDING-LEFT: 0em; PADDING-BOTTOM: 0.6em; PADDING-TOP: 0.6em; TEXT-ALIGN: center" colSpan=3>


    </TD></TR><TR class=mergedtoprow><TD colSpan=2></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ประเทศซิมบับเว (Republic of Zimbabwe) มีชื่อทางการคือสาธารณรัฐซิมบับเว เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ทวีปแอฟริกา อยู่ระหว่างแม่น้ำซัมเบซีและแม่น้ำลิมโปโป มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับประเทศแซมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศโมซัมบิก ทิศตะวันตกติดกับประเทศบอตสวานา และทิศใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ มีพื้นที่ประเทศ 390,580 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือ กรุงฮาราเร

    ชื่อประเทศ

    ชื่อซิมบับเวมาจากคำว่า "Dzimba dza mabwe" ซึ่งแปลว่าบ้านหินใหญ่ในภาษาโชนา<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP> ชื่อนี้ถูกนำมาจากเกรตซิมบับเวซึ่งเป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรเกรตซิมบับเว
    ภูมิศาสตร์

    ซิมบับเวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ถูกล้อมรอบด้วยประเทศแอฟริกาใต้ทางใต้โดยมีแม่น้ำลิมโปโปกั้นอยู่ บอตสวานาทางตะวันตก แซมเบียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และโมซัมบิคทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ซิมบับเวยังมีจุดที่ติดต่อกับประเทศนามิเบียทางตะวันตกอีกด้วย จุดที่สูงที่สุดของประเทศคือภูเขาเนียนกานี ซึ่งสูง 2,592 เมตร<SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP>
    เศรษฐกิจ

    การส่งออกแร่ธาตุ การเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นธุรกิจที่นำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ซิมบับเว<SUP class=reference id=cite_ref-FA_Canada_2-0>[3]</SUP> การทำเหมืองแร่ยังคงเป็นธุรกิจที่ให้กำไรมาก ซิมบับเวมีแหล่งทรัพยากรแพลทินัมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก<SUP class=reference id=cite_ref-nofix_3-0>[4]</SUP> ซิมบับเวเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปของแอฟริกาใต้<SUP class=reference id=cite_ref-AN_economy_4-0>[5]</SUP>
    ซิมบับเวมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีตลอดคริสตทศวรรษ 1980 (อัตราการเติบโตของจีดีพีร้อยละ 5.0 ต่อปี) และ 1990 (ร้อยละ 4.3 ต่อปี) อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจเริ่มถดถอยลงตั้งแต่ปี 2000 โดยลดลงร้อยละ 5 ในปี 2000, ร้อยละ 8 ในปี 2001, ร้อยละ 12 ในปี 2002, และร้อยละ 18 ในปี 2003<SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP> รัฐบาลซิมบับเวประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่างหลังจากล้มเลิกความตั้งใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาด เช่นปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงมาก และการขาดแคลนอุปทานของสินค้าต่าง ๆ การที่ซิมบับเวมีส่วนร่วมกับสงครามในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ระหว่างปี 1998 ถึง 2002 ทำให้ต้องสูญเสียหลายร้อยล้านดอลลาร์ออกจากระบบเศรษฐกิจ<SUP class=reference id=cite_ref-drained_6-0>[7]</SUP>
    เศรษฐกิจที่ดิ่งลงเหวนี้มีสาเหตุหลักมาจากการบริหารที่ล้มเหลวและการคอร์รัปชันของรัฐบาลมูกาเบ และการขับไล่ชาวไร่ผิวขาวกว่า 4,000 คนในระหว่างการจัดสรรที่ดินที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งในปี 2000<SUP class=reference id=cite_ref-Time-2002-02-18_7-0>[8]</SUP><SUP class=reference id=cite_ref-USAToday-2002-06-24_8-0>[9]</SUP><SUP class=reference id=cite_ref-BBC-2002-08-15_9-0>[10]</SUP> ซึ่งทำให้ซิมบับเวซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดกลับกลายเป็นผู้นำเข้าแทน<SUP class=reference id=cite_ref-nofix_3-1>[4]</SUP> ปริมาณการส่งออกยาสูบก็ลดลงอย่างมาก จากรายงานในเดือนมิถุนายน 2007 ของหน่วยปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ซิมบับเว ประมาณว่าซิมบับเวสูญเสียสัตว์ป่าไปถึงร้อยละ 60 ตั้งแต่ปี 2000 ในรายงานยังได้กล่าวเตือนอีกว่าการสูญเสียพันธุ์สัตว์ป่าและการทำลายป่าไม้อย่างกว้างขวางนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อธุรกิจท่องเที่ยว<SUP class=reference id=cite_ref-10>[11]</SUP>
    ปลายปี 2006 ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่เลวร้าย รัฐบาลเริ่มประกาศอนุญาตให้ชาวไร่ผิวขาวกลับมาสู่ที่ดินของตนอีกครั้ง<SUP class=reference id=cite_ref-indep_11-0>[12]</SUP> มีชาวไร่ผิวขาวเหลืออยู่ในประเทศประมาณ 400-600 คน แต่ที่ดินที่ถูกยึดคืนส่วนใหญ่นั้นกลายเป็นที่ดินเสื่อมสภาพและไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกต่อไป<SUP class=reference id=cite_ref-indep_11-1>[12]</SUP><SUP class=reference id=cite_ref-Meldrum-2005-05-21_12-0>[13]</SUP> ในเดือนมกราคม 2007 รัฐบาลยอมให้ชาวไร่ผิวขาวเซ็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว<SUP class=reference id=cite_ref-Timberg-WP-2007-01-06_13-0>[14]</SUP> แต่แล้วในปีเดียวกันรัฐบาลก็กลับขับไล่ชาวไร่ผิวขาวออกจากประเทศอีกครั้ง<SUP class=reference id=cite_ref-AP.2FWP-2007-02-05_14-0>[15]</SUP><SUP class=reference id=cite_ref-Chinaka-2007-08-08_15-0>[16]</SUP>
    อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32 ต่อปีในปี 1998<SUP class=reference id=cite_ref-Zimbabwe_inflation_at_11.2C200.2C000_16-0>[17]</SUP> จนถึงร้อยละ 231,000,000 ตามสถิติของทางการในเดือนกรกฎาคม 2008<SUP class=reference id=cite_ref-Zimbabwe_inflation_at_11.2C200.2C000_16-1>[17]</SUP> ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะเงินเฟ้อรุนแรง และทำให้ธนาคารต้องออกธนบัตรใบละ 1 แสนล้านดอลลาร์มาใช้<SUP class=reference id=cite_ref-17>[18]</SUP> <SUP class=reference id=cite_ref-18>[19]</SUP> ในเดือนพฤศจิกายน 2008 ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวพุ่งขึ้นสูงถึงร้อยละ 516 ล้านล้านล้านต่อปี และราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 1.3 วัน<SUP class=reference id=cite_ref-hyperzim_19-0>[20]</SUP> และนับเป็นภาวะเงินเฟ้อรุนแรงที่เลวร้ายเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์โลก รองจากวิกฤติเงินเฟ้อในฮังการีในปี 1946 ซึ่งราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 15.6 ชั่วโมง<SUP class=reference id=cite_ref-hyperzim_19-1>[20]</SUP>
    ประชากร

    ในปี 2008 ซิมบับเวมีประชากรประมาณ 11.4 ล้านคน<SUP class=reference id=cite_ref-CIA_The_World_Factbook_20-0>[21]</SUP> จากรายงานขององค์การอนามัยโลก อายุคาดหมายเฉลี่ยสำหรับผู้ชายชาวซิมบับเวคือ 37 ปี และสำหรับผู้หญิงคือ 34 ปี ซึ่งเป็นสถิติต่ำสุดของปี 2004<SUP class=reference id=cite_ref-21>[22]</SUP> อัตราการติดเชื้อเอดส์ ในประชากรระหว่างอายุ 15-49 ปี ถูกประมาณไว้ที่ร้อยละ 20.1 ในปี 2006<SUP class=reference id=cite_ref-UNAIDS_22-0>[23]</SUP>
    ประชากรประมาณร้อยละ 98 เป็นชาวพื้นเมืองผิวดำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโชนา (ประมาณร้อยละ 80-84) รองลงมาคือชาวเดเบเล (ประมาณร้อยละ 10-15)<SUP class=reference id=cite_ref-autogenerated1_23-0>[24]</SUP><SUP class=reference id=cite_ref-ethnic_24-0>[25]</SUP> ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากซูลูที่อพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังมีคนผิวขาวซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ
    ภาษาทางการคือภาษาอังกฤษ<SUP class=reference id=cite_ref-CIA_The_World_Factbook_20-1>[21]</SUP> แต่ภาษาที่ใช้มากได้แก่ภาษาโชนา และภาษาเดเบเล<SUP class=reference id=cite_ref-25>[26]</SUP>
    วัฒนธรรม

    ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ และมีภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ คือ Shona Sindebele ศาสนา ลัทธิผสม (ระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม) 50% ศาสนาคริสต์ 25% ความเชื่อดั้งเดิม 24% ศาสนาอิสลามและอื่น ๆ 1%

    ประเทศซิมบับเว - วิกิพีเดีย

    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ภาวะ เงินเฟ้อ หน้าตาเป็นยังไง?? ..มีคำตอบที่ประเทศซิมบับเวย์

    [​IMG]

    Everybody are billionaire....
    (ทุก ๆ คนเป็นเศรษฐีพันล้าน)

    [​IMG]

    To buy food in plastic packet......you have to spend at least 10 million
    (ซื้ออาหารสำเร็จรูป...คุณต้องจ่ายเงินอย่างน้อย 10 ล้าน)

    [​IMG]

    To buy vegetables.....5 million
    (ซื้อผัก...5 ล้าน)

    [​IMG]

    To buy Eggs...6000 million ....
    (ซื้อไข่ไก่...6000 ล้าน)

    [​IMG]

    To buy Chicken.....how many million?
    (ซื้อไก่...จะกี่ล้านละเนี่ย)

    [​IMG]

    If you want to eat in restaurant, please prepare the money........
    (ถ้าคุณต้องการจะไปกินอาหารในร้านอาหารล่ะก็...กรุณา เตรียมเงิน)

    [​IMG]

    After meal, have to drink...
    (หลังอาหาร ก้อต้องดื่ม)

    [​IMG]

    After getting montly salary.......you need to rent a taxi or lorry to bring back the money.....
    (หลังจากได้รับเงินเดือน...คุณจำเป็นที่จะต้องเช่าแท๊กซี่หรือรถบรรทุก เพื่อนำเงินกลับ)

    [​IMG]

    Young kid....already become millionaire
    (เด็กน้อย ก้อป็นเศรษฐีกันแล้ว)

    [​IMG]

    Nobody want to count the money, just weight it......
    (ไม่มีใครใช้การนับเงิน ต้องใช้การชั่งน้ำหนักเอา)

    [​IMG]

    Otherwise, this what you should do everytime you go to shop, market, bus station etc.....
    (ไม่งั้นคุณต้องนับตลอดเวลาเมื่อคุณไปร้านค้า ,ตลาด ,สถานีรถประจำทาง ฯลฯ)

    [​IMG]

    ใครใฝ่ฝันอยากมีเงินก้อนโต
    ฝันจะเป็นจริง

    ถ้าไปอยู่ที่ ซิมบับเวย์ !!
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR class=th_bd><TD width=100><CENTER>[​IMG]

    [​IMG]</CENTER>
    </TD><TD class=txt85b width=50><CENTER>แผนที่
    </CENTER>
    </TD><TD width=300><CENTER>สาธารณรัฐซิมบับเว
    Republic of Zimbabwe</CENTER>


    </TD><TD align=middle width=101></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=headline style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px solid; BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px solid" width="100%" bgColor=#cccccc><TBODY><TR><TD>ข้อมูลทั่วไป</TD></TR></TBODY></TABLE>ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ มีอาณาเขต
    ทิศเหนือติดกับแซมเบีย
    ทิศตะวันออกติดกับโมซัมบิก
    ทิศตะวันตกติดกับบอตสวานา
    ทิศใต้ติดกับแอฟริกาใต้
    พื้นที่ 390,580 ตารางกิโลเมตร
    เมืองหลวง กรุงฮาราเร (Victoria)
    ภูมิอากาศ พื้นที่สูงในแถบตะวันออกและทุ่งหญ้าสูงทางตอนใต้จะมีฝนตกมากและอากาศเย็นกว่าพื้นที่ต่ำ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง12-13 องศาเซลเซียสในฤดูฝน และ24 องศาเซสเซียสในฤดูร้อน สำหรับพื้นที่ต่ำโดยปกติอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกประมาณ 6 องศาเซสเซียส อุณหภูมิในฤดูร้อนแถบหุบเขาแซมเบซิ และลิมโปโป อยู่ที่ 32-38 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน ลดลงจากตะวันออกไปยังตะวันตก ภูเขาแถบตะวันออกได้รับปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 เซนติเมตรในแต่ละปี ในขณะที่กรุงฮาราเร ได้รับปริมาณน้ำฝน 81 เซนติเมตร และ บูลาวาโย ได้รับปริมาณน้ำฝน 61 เซนติเมตร ภาคใต้และภาคใต้ฝั่งตะวันตกได้รับปริมาณน้ำฝนเพียงเล็กน้อย ฤดูร้อนที่มีฝนจะเริ่มจากปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม ระหว่างช่วงอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะมีฝนตกและอุณหภูมิลดลง ฤดูหนาวและแห้งแล้ง เริ่มจากกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนสิงหาคม
    จำนวนประชากร 13.3 ล้านคน (2550)
    ศาสนา Syncretic (ผสมผสานระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม) 50% คริสต์ 25% ความเชื่อดั้งเดิม 24% อิสลามและอื่นๆ 1%
    ภาษา ภาษาอังกฤษศาสนา ลัทธิผสม (ระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม) 50% ศาสนาคริสต์ 25% ความเชื่อดั้งเดิม 24% ศาสนาอิสลามและอื่น ๆ 1%
    ระบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีพรรคการเมืองหลายพรรค ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
    ประธานาธิบดี นาย Robert Gabriel Mugabe (ขึ้นดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2530 ก่อนหน้านี้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2523 - 2530)
    นายกรัฐมนตรี นาย Morgan Tsvangirai
    รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Simbarashe S. MumBengegwi

    <TABLE class=headline style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px solid; BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px solid" width="100%" bgColor=#cccccc><TBODY><TR><TD>การเมืองการปกครอง</TD></TR></TBODY></TABLE>1. ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
    บริเวณประเทศซิมบับเวในปัจจุบัน ในอดีตคือดินแดน Southern Rhodesia ซึ่งถูกเจ้าอาณานิคม (อังกฤษ) รวมเข้ากับ Northern Rhodesia (ปัจจุบันคือแซมเบีย) และ Nyasaland (ปัจจุบันคือมาลาวี) และก่อตั้งขึ้นเป็นสหพันธรัฐแอฟริกากลาง (The Central African Federation) ในปี 2496 (1953) โดยสหพันธรัฐแอฟริกากลางนี้มีกรุง Salisbury (ปัจจุบันคือกรุงHarare) เป็นเมืองหลวง ภายหลังจากการได้รับเอกราชของมาลาวีและแซมเบีย สหพันธรัฐแอฟริกากลางนี้ ก็ล่มสลาย ดินแดน Southern Rhodesia จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น Rhodesia โดยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลผิวขาวของนาย Ian Smith ซึ่งได้ประกาศแถลงการณ์อิสรภาพฝ่ายเดียว (Unilateral Declaration of Independence - UDI) ในปี 2508 (1965) โดยมีจุดยืนคือ การประกาศเอกราชจากอังกฤษ
    คนผิวดำในซิมบับเว ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีกระบวนการต่อต้านการปกครองของคนผิวขาวในรูปแบบของกองกำลังทหาร คือ สหภาพชาวแอฟริกันแห่งชาติซิมบับเว (The Zimbabwe African National Union - ZANU) ซึ่งนำโดยนาย Robert Mugabe กลุ่ม ZANU นับเป็นศูนย์รวมการต่อสู้ทางการเมืองของชาวผิวดำในซิมบับเว และใช้การเคลื่อนไหวต่อต้านการปกครองของอังกฤษด้วยขบวนการแบบกองโจร ในปี 2522 (1979) รัฐบาลอังกฤษได้จัดประชุมหลายฝ่ายในกรุงลอนดอน ผลการประชุมนำไปสู่การเลือกตั้งในปี 2523 (1980) ซึ่งกลุ่ม ZANU (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ZANU-PF - Zimbabwe African National Union-Patriotic Front) ภายใต้การนำของ Robert Mugabe ที่ได้รับชัยชนะและเข้าครองอำนาจการบริหารประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2523 (1980)
    หลังจากซิมบับเวได้รับเอกราชจากอังกฤษตั้งแต่ปี 2523 (1980) นาย Robert Mugabe ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2523-2530 และนาย Mugabe ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ ตั้งแต่ปี 2530
    ภายใต้การปกครองของ Mugabe นั้น ซิมบับเวประสบปัญหาภายในอย่างรุนแรงทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและสังคม อันมีสาเหตุหลักมาจากนโยบายปฏิรูปที่ดินของรัฐบาล Mugabe ซึ่งยึดที่ดินทำกินคืนมาจากคนผิวขาว (ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 75 ของที่ดินทั้งประเทศ) เพื่อมาจัดสรรให้คนผิวดำที่ไร้ที่ทำกิน การปฏิบัติของนโยบายนี้ นำไปสู่การบุกรุกที่ดินดดยการใช้ความรุนแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 40 คน และเกษตรกรผิวขาวกว่า 100 ครอบครัวต้องอพยพออกจากที่ดิน (ตัวเลขทางการ) นโยบายปฏิรูปที่ดินนี้นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนและวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรงและกว้างขวาง ได้แก่ ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างคนผิวดำและคนขาว การอพยพละทิ้งถิ่นทำกินของชาวซิมบับเว การลดลงอย่างรวดเร็วของผลิตผลทางการเกษตร การล่มสลายของ agriculture-based economy ภาวะเงินเฟ้อ และการขาดแคลนอาหาร
    ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ประเทศตะวันตก นำโดยสหรัฐฯและสหภาพยุโรป ได้ดำเนินมาตรการ Smart/Targeted Sanctions เพื่อต่อต้านและกดดันรัฐบาล Mugabe ประกอบด้วย การเพิกถอนสมาชิกภาพของซิมบับเวในเครือจักรภพชั่วคราวโดยไม่มีกำหนด การห้ามการเดินทางเข้าประเทศและการอายัดทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศตะวันตกของ Mugabe พรรคพวกและเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เป็นที่สังเกตว่าการกดดันของประเทศตะวันตกไม่อาจทำให้วิกฤตการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในซิมบับเวบรรเทาลงได้ ซิมบับเวได้ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศเครือจักรภพในเดือนธันวาคม 2546 และฝ่ายรัฐบาลซิมบับเวได้ใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกายและจับกุมผู้นำฝ่ายต่อต้านและนักเคลื่อนไหวกว่า 40 คน ในเดือน มีนาคม 2550 (2007)

    2. สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
    ซิมบับเวจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปของสถาบันการเมืองหลักของประเทศ ได้แก่ ประธานาธิบดี สมาชิกรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาท้องถิ่น เมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551 ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปรากฏว่า ประธานาธิบดี Robert Mugabe ผู้นำพรรค ZANU-PF (Zimbabwe African National Union-Patriotic Front) ได้คะแนนเสียงร้อยละ 43.2 และนาย Morgan Tsvangirai ผู้นำพรรค MDC (Movement for Democratic Change) ได้คะแนนเสียงร้อยละ 47.9 ซึ่งถือว่าไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง จึงต้องมีการเลือกตั้งรอบที่ 2 ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551
    ในช่วง 3 เดือนระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่ 1 และ 2 นั้น ได้มีการใช้กำลังโดยฝ่ายรัฐบาลของ ประธานาธิบดี Mugabe (State-Sponsored Violence) ข่มขู่ประชาชนที่สนับสนุนฝ่ายค้านอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเขตชนบท มีรายงานผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้กว่า 60 คน และผู้สูญหายกว่า 30,000 คน
    นาย Tsvangirai ผู้นำฝ่ายค้านแถลงถอนตัวจากการเลือกตั้งรอบที่ 2 เพื่อประท้วงการใช้ความรุนแรงข่มขู่ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านของระบอบ Mugabe โดยฝ่ายค้านยืนยันว่า มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 85 คน และผู้สูญหายมากกว่า 200,000 คน ผลการเลือกตั้งรอบที่ 2 ปรากฏว่าประธานาธิบดี Mugabe ที่ลงแข่งขันเพียงผู้เดียวได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ด้วยคะแนนร้อยละ 85.5 โดยมีประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 42.4 ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนผู้ที่เลือก ปธน Mugabe เมื่อเดือนมีนาคม และได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งแล้วเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2551 ท่ามกลางความคลางแคลงใจของชาวซิมบับเวและนานาชาติ
    หลังจากการเลือกตั้ง นาย Tsvangirai ได้เดินทางออกนอกซิมบับเวไปอาศัยอยู่ใน
    ประเทศบอตสวานา ในระหว่างนั้น ได้มีความพยายามในการคลี่คลายปัญหาในซิมบับเวโดยนานาชาติและประเทศแอฟริกันอื่นๆ ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยประเทศที่ต่อต้านการครองอำนาจของ ปธน Mugabe อย่างชัดเจนและมีมาตรการคว่ำบาตรซิมบับเว ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ และกลุ่ม EU ประเทศมหาอำนาจกลุ่มเหนือ นำโดยสหรัฐฯ ได้เสนอให้ชุมชนโลก ในนามขององค์การระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหประชาชาติ สหภาพแอฟริกา และ G8 กำหนดมาตรการลงโทษระบอบ Mugabe เช่น คว่ำบาตรการค้าอาวุธและการเดินทางของเจ้าหน้าที่อาวุโสของซิมบับเว แต่ประเทศกลุ่มใต้ นำโดย รัสเซีย จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ยังลังเลต่อมาตรการคว่ำบาตร โดยให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการแทรกแซงกิจการภายในของซิมบับเว ในขณะที่แอฟริกาใต้มีท่าทีเป็นกลาง (ซึ่งมีนัยว่าสนับสนุน Mugabe) โดยอ้างการดำเนินนโยบายตามหลัก Quiet Diplomacy
    สหภาพแอฟริกา ได้มีมติภายหลังการประชุม AU Summit ที่อิยิปต์เมื่อกลางเดือน กรกฎาคม 2551 ให้นาย Mugabe และ Tsvangirai เจรจากันเพื่อตั้งรัฐบาลแห่งชาติ (Power-Sharing/ Unity Government) ในขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศ SADC (Southern African Development Community) ก็กดดันให้นาย Tsvangirai เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อให้สถานการณ์สงบ
    ภายหลังการเจรจากว่า 6 เดือน นาย Tsvangirai ประกาศว่าตนและพรรค MDC-T (แยกตัวออกมาจากพรรค MDC) จะเข้าร่วมกับนาย Mugabe และพรรค ZANU-PF จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยนาย Mugabe ยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและประมุขของรัฐ และคุมกำลังทหาร ส่วนนาย Tsvangirai ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2552)
    หลังการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ปธน Mugabe ยังคงมีอำนาจทางการเมืองในซิมบับเว นักวิเคราะห์คาดว่า ปธน จะ อยู่ในอำนาจต่อไปอีกนาน ในขะเดียวกัน นรม Tsvangirai และ พรรค MDC ก็ต้องการที่จะรักษาสภาะรัฐบาลแห่งชาตินี้ไว้ให้นานที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นอีกหากรัฐบาลแห่งชาติล้มเหลว ในปัจจุบัน หลายประเทศได้ทยอยเพิ่มเงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ซิมบับเวแล้ว อย่างไรก็ตาม นานาชาติยังไม่วางใจในเสถียรภาพของรัฐบาลแห่งชาติ และประเทศตะวันตก โดยเฉพาะสหภาพยุโรปยังไม่ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรซิมบับเว


    <TABLE class=headline style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px solid; BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px solid" width="100%" bgColor=#cccccc><TBODY><TR><TD>เศรษฐกิจการค้า</TD></TR></TBODY></TABLE>ข้อมูลเศรษฐกิจ/การค้า (ประมาณการปี 2550)
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทย 245.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
    รายได้ประชาชาติต่อหัว 113 ดอลลาร์สหรัฐ (ไทย 3,724 ดอลลาร์สหรัฐ)
    การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ -12.6 (ไทย ร้อยละ 4.9)
    อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 11.2 ล้าน (ไทย ร้อยละ 2.3)
    อัตราการว่างงาน ร้อยละ 80 (ไทย ร้อยละ 1.4)
    เงินทุนสำรอง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทย 106.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
    อุตสาหกรรมที่สำคัญ เหมือนแร่ (ถ่านหิน ทอง ทองคำขาว ทองแดง นิกเกล ดีบุก) ดินเหนียว สินแร่ เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์จากไม้ ปูนซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย เสื้อผ้าและรองเท้า อาหาร เครื่องดื่ม
    ดุลการค้ากับไทย ปี 2551 ไทยและซิมบับเวมีมูลค่าการค้า 58.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 22.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยนำเข้า 36.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเสียเปรียบดุลการค้า 13.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    สินค้าส่งออกที่สำคัญของซิมบับเว ฝ้าย ยาสูบ ทองคำ ทองคำขาว โลหะผสมของเหล็ก สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม
    สินค้านำเข้าที่สำคัญของซิมบับเว เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง
    ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ(สถิติปี 2551)
    ซิมบับเวส่งออกไป แอฟริกาใต้ 33.8% สาธารณรัฐคองโก 8.3% ญี่ปุ่น 8.1% บอตสวานา 7.4% เนเธอร์แลนด์ 5.2% จีน 5.5% อิตาลี 4.1% แซมเบีย 4.1%
    ซิมบับเวนำเข้าจาก แอฟริกาใต้ 50.7% จีน 8.7% สหรัฐอเมริกา 4.5% บอตสวานา 4.3%
    หน่วยเงินตรา ดอลลาร์ซิมบับเว (Zimbabwean dollar - ZWD) ล้มละลาย ปัจจุบันใช้ดอลล่าร์สหรัฐ

    1. ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของซิมบับเว
    - วิกฤตการณ์ในทุกมิติของประเทศส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมของซิมบับเวล่มสลาย
    ภายใต้การปกครองของ Mugabe เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง เกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (ปัจจุบันระดับอัตราเงินเฟ้อทางการในซิมบับเวประมาณร้อยละ 11.2 ล้าน) การขาดแคลนอาหาร และวิกฤตการว่างงานอย่างรุนแรง ในปัจจุบันมีประชากรเพียงร้อยละ 20 ของประเทศเท่านั้นที่มีงานประจำ
    - เมื่อปลายเดือน ธันวาคม 2551 รัฐบาลซิมบับเวยกเลิกการใช้เงินสกุล”ดอลลาร์ซิมบับเว” (ซึ่งล่าสุดรัฐบาลได้พิมพ์ธนบัตรมูลค่า 100 Trillion Zimbabwe Dollar ออกใช้เท่ากับว่าเงินซิมบับเวดอลลาร์แทบจะไม่มีค่ามากไปกว่ากระดาษ) และอนุญาตให้ใช้เงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะ ดอลลาร์สหรัฐฯ และแรนด์แอฟริกาใต้ในท้องตลาดได้ รวมทั้งจ่ายเงินเดือนเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจเริ่มทรงตัว ประชาชนเริ่มมีกำลังซื้อ และเริ่มมีเงินไหลเข้าสู่ระบบ
    -รัฐบาล Mugabe มีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน การเลือกตั้งที่ผ่านมาของซิมบับเวถูกประณามจากชาติตะวันตกว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม มีการแทรกแซงจากรัฐบาลและการโกงการเลือกตั้ง มีรายงานข่าวถึงการก่อความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาครัฐที่กระทำต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง
    - ระบบเศรษฐกิจที่ล่มสลาย ความยากจน และการจำกัดสิทธิเสรีภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ชาวซิมบับเวจำนวนกว่า 3 ล้าน 4 แสน คนได้อพยพออกนอกประเทศ โดยส่วนใหญ่อพยพอย่างผิดกฏหมายไปยังประเทศแอฟริกาใต้
    - ประเทศซิมบับเวกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคอหิวาตกโรค (Cholera) อย่างต่อเนื่อง โดยเชื้ออหิวาตกโรคได้แพร่กระจายทั่วประเทศซิมบับเว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วประมาณ 3,700 คน และมีผู้ติดเชื้อกว่า 80,000 คน เชื้ออหิวาตกโรคได้แพร่กระจายในแหล่งน้ำธรรมชาติของภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ ที่สำคัญได้แก่แม่น้ำ Limpopo ซึ่งกั้นพรมแดนซิมบับเวและแอฟริกาใต้ ผู้ป่วยจำนวนมากเดินทางออกจากซิมบับเวเพื่อไปรักษาตัวในประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นพาหะนำโรคโดยเชื้ออหิวาตกโรคได้ลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านของซิมบับเว ได้แก่ แอฟริกาใต้ บอตสวานา โมซัมบิก และแซมเบียด้วย
    - อหิวาตกโรคเป็นโรคติดต่อทางน้ำ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรง แม้ว่าอหิวาตกโรคเป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต แต่ก็สามารถรักษาได้ด้วยยา สาเหตุที่เกิดการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคในซิมบับเวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากซิมบับเวมีระบบการจัดการน้ำและสุขอนามัยสาธารณะที่ต่ำกว่ามาตรฐานเป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับโครงสร้างของระบบการแพทย์ และโรงพยาบาลของซิมบับเวไม่มีประสิทธิภาพ สภาวการณ์ความไม่สงบทางการเมืองและความล่มสลายทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ซิมบับเวขาดบุคลากรทางการแพทย์ ยารักษาโรค และงบประมาณที่จะจัดการกับวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ระบบการรักษาพยาบาลของซิมบับเวล้มเหลว โรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุด 4 แห่งของซิมบับเว ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ โรงพยาบาลหลายแห่งปิดทำการเนื่องจากแพทย์และพยาบาลประท้วงหยุดงาน ระบบการจัดการน้ำสะอาดและการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลจากร่างกายของผู้ป่วยล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคสูงสุดนั้น (ธันวาคม 2551) รัฐบาลต้องหยุดจ่ายกระแสน้ำประปาในกรุงฮาราเร เนื่องจากไม่มีเงินซื้อสารเคมีสำหรับบำบัดน้ำเสีย มีการไหลนองของสิ่งปฏิกูลตามท้องถนน
    - รัฐบาลซิมบับเวได้ร้องขอความช่วยเหลือจากองค์การระหว่างประเทศเช่น UN WHO UNICEF Amnesty International และ International Committee of the Red Cross สิ่งที่ซิมบับเวต้องการรับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ได้แก่ ยารักษาโรค อุปกรณ์การแพทย์ และเงินสำหรับจ่ายให้แก่แพทย์และพยาบาล
    - เมื่อวันที่ 29 มกราคม 52 รัฐบาลไทย ได้มอบเงินช่วยเหลือแก่ซิมบับเว เป็นจำนวน15,000 ดอลลาร์
    สหรัฐ ผ่านสภากาชาดไทย เพื่อประสานงานมอบให้แก่สภากาชาดสากลต่อไป โดยเบิกจ่ายจากงบความช่วยเหลือ
    ให้แก่มิตรประเทศที่ประสบภัยพิบัติ ของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อแสดงถึงน้ำใจของไทยตามหลักมนุษยธรรม
    สากล และเพื่อตอกย้ำสถานภาพความเป็นประเทศผู้ให้ของไทย ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ ใน
    ยามคับขัน
    - ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2552 นี้ กระทรวงการต่างประเทศในนามรัฐบาลไทยจะบริจาคสิ่งของจำพวกอาหาร ยา อุปกรณ์การศึกษา การกีฬาของไทยแก่ซิมบับเว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนซิมบับเว เป็นมูลค่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ แก่รัฐบาลซิมบับเว
    <TABLE class=headline style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px solid; BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px solid" width="100%" bgColor=#cccccc><TBODY><TR><TD>ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐซิมบับเว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    1. ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

    ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
    ไทยและซิมบับเวได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2528 โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีเขตอาณาครอบคลุมซิมบับเว ส่วนซิมบับเวได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตซิมบับเวประจำมาเลเซียมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย และแต่งตั้งนายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ซิมบับเวประจำประเทศไทย
    ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ไทย–ซิมบับเว เป็นไปอย่างราบรื่นแต่แต่ค่อนข้างห่างเหินและไม่ค่อยมี การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างกัน และนโยบายไทยต่อซิมบับเวนั้นอิงอยู่กับท่าทีและมติของสหประชาชาติ
    ปัจจุบันมีคนไทยในกลุ่มธุรกิจร้านอาหารและเป็นคู่สมรสกับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ซิมบับเวและชาวซิมบับเวประมาณ 8 คนโดยส่วนใหญ่มีอาชีพแม่บ้าน ค้าเครื่องประดับ และทำงานธุรกิจร้านอาหาร

    ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
    การค้าระหว่างไทยกับซิมบับเวยังมีมูลค่าไม่มากนัก โดยในปี 2551 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน รวมทั้งสิ้น 58.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 22.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยนำเข้า 36.12 ล้านดอลาร์สหรัฐ (ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 13.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ทั้งนี้ เนื่องจากไทยนำเข้าวัตถุดิบประเภทด้ายและเส้นใยจากซิมบับเวเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีการนำเข้าแร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ และสินแร่โลหะ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์จากซิมบับเวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ซิมบับเวนำเข้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบเพียงเล็กน้อยจากประเทศไทย เนื่องจากซิมบับเวมีตลาดนำเข้าสินค้าที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าซิมบับเวจะประสบปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยมากนัก เห็นได้จากมูลค่าการค้ารวมตลอด 5 ปีที่ผ่านมาระหว่างสองประเทศนั้นมีความคงที่และต่อเนื่องมาโดยตลอด
    ภาคธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพในซิมบับเวเมื่อสถานการณ์ในซิมบับเวสงบแล้ว ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร เหมืองแร่ธาตุ การจียระไนเพชร ร้านอาหารไทย

    ความตกลงที่สำคัญกับประเทศไทย
    - ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543)

    การแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญ

    ฝ่ายไทย
    ระดับราชวงศ์
    - ยังไม่เคยมีการเสด็จฯ เยือนซิมบับเว
    ระดับรัฐบาล
    - วันที่ 15 - 17 สิงหาคม 2537 นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนซิมบับเว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความสัมพันธ์ด้านการเมือง และขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน รวมทั้งความช่วยเหลือทางวิชาการภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการของไทย และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในภาครัฐและเอกชน และได้เข้าพบหารือกับนาย Simon Muzeda รองประธานาธิบดีคนที่ 1 นาย N.M. Shamuyarira รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนาย S.K. Moya รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์
    ฝ่ายซิมบับเว
    ระดับรัฐบาล
    - ประธานาธิบดี Robert Mugabe เยือนไทยในลักษณะ Working Visit วันที่ 1 - 5 ตุลาคม 2544
    - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของซิมบับเว เดินทางมากับคณะเยือนไทยเป็นการส่วนตัวของ ประธานาธิบดี Robert Mugabe ระหว่างวันที่ 25 มกราคม - 5
    กุมภาพันธ์ 2545

    ****************************

    มิถุนายน 2552

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2010
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แฮคเกอร์วิกิลีกส์เปิดฉากแก้แค้น ถล่มเว็บ "วีซ่า-มาสเตอร์การ์ด" จนออฟไลน์
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>9 ธันวาคม 2553 08:42 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    เอเอฟพี - เว็บไซต์ของบริษัทเครดิตการ์ดยักษ์ใหญ่ ทั้งวีซ่า และมาสเตอร์การ์ด ถูกถล่มจนไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยฝีมือของผู้สนับสนุนเว็บจอมแฉวิกิลีกส์ ซึ่งยังพุ่งเป้าการโจมตีไปที่ซาราห์ แพลิน นักการเมืองสายอนุรักษ์นิยมจากพรรครีพับลิกัน และวุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ อีกรายด้วย

    เว็บไซต์ visa.com ไม่สามารถเข้าถึงได้เมื่อเวลา 16.00 น.ของวันพุธ (8) ตามเวลาท้องถิ่น หรือราว 4.00 น.วันนี้ (9) ตามเวลาของไทย เมื่อสมาชิกจำนวนหนึ่งของกลุ่มแฮคเกอร์ที่รู้จักกันในชื่อ "แอนโนนิมัส" เปิดฉากโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งพวกเขาเรียกว่าเป็น "ปฏิบัติการทวงแค้น"

    กลุ่มแอนโนนิมัสประกาศทางทวิตเตอร์ของพวกเขาที่ @Anon_Operation ซึ่งระบุถึงเป้าหมายในการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งนี้ ว่า "TARGET: WWW.VISA.COM :: FIRE FIRE FIRE!!! WEAPONS" โดยเมื่อผ่านไปแล้ว 2 ชั่วโมงครึ่ง เว็บไซต์ visa.com ก็ยังไม่สามารถเข้าได้

    ส่วนเว็บไซต์ mastercard.com ก็ถูกโจมตีก่อนหน้าในวันเดียวกัน หลังจากระงับการให้เงินสนับสนุนเว็บไซต์จอมแฉรายนี้

    อย่างไรก็ตาม หลายชั่วโมงหลังการโจมตีเว็บไซต์ของวีซ่า ทวิตเตอร์ฟีดของ @Anon_Operation ก็ถูกระงับชั่วคราว เช่นเดียวกับหน้าเฟซบุ๊กของ "ปฏิบัติการทวงแค้น" ก็ไม่สามารถเข้าดูได้เช่นกัน

    ด้านโฆษกของเครือข่ายสังคมออนไลน์ดังกล่าวชี้แจงว่า ทางองค์กรจะดำเนินการต่อเนื้อหา ที่พบเองหรือมีรายงานมาว่าเป็นการส่งเสริมการกระทำผิดกฎหมาย เมื่อถูกถามว่าหน้าเฟซบุ๊กของกลุ่มแฮคเกอร์นั้นถูกลบไปแล้วหรือไม่

    ขณะที่สมาชิกของกลุ่มแอนโนนิมัส ซึ่งออนไลน์คุยกับนักข่าว ระบุว่าจะโจมตีใครก็ตามที่ต่อต้านวิกิลีกส์ โดยยังจะขยายการโจมตีไปถึงเว็บไซต์ของแพลิน และโจ ลีเบอร์แมน วุฒิสมาชิกอิสระ ซึ่งนั่งเก้าอี้คณะกรรมการด้านความมั่นคงแห่งมาตุภูมิด้วย

    ทั้งนี้ แพลินเคยกล่าวว่า จูเลียน แอสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์นั้นเป็นพวกต่อต้านอเมริกันที่มือเปื้อนเลือด และยังตั้งข้อสงสัยว่าทำไมเขาถึงไม่ถูกไล่ล่าอย่างเร่งด่วนเหมือนที่สหรัฐฯ ดำเนินการกับผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์ หรือตอลิบาน

    เว็บไซต์ SarahPac.com ของเธอ ถูกโจมตีทางไซเบอร์โดยคนกลุ่มเล็กๆ ของกลุ่มแอนโนนิมัส โดยไม่สามารถใช้งานได้อยู่ประมาณ 6 นาที นอกจากนี้ ข้อมูลส่วนตัวเครดิตการ์ดของแพลิน และสามีของเธอก็ถูกรบกวนด้วย

    ยิ่งไปกว่านั้น สมาชิกกลุ่มแอนโนนิมัสยังถล่มเว็บไซต์ของลีเบอร์แมน ซึ่งเพิ่งออกมาเรียกร้องให้บริษัทธุรกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ เพิกถอนความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่วิกิลีกส์ อันเป็นข้อเรียกร้องที่มีผู้ปฏิบัติตามอย่างกว้างขวาง

    Around the World - Manager Online -
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิกิลีกส์ แฉ จีนกุตัวเลขศก. และว่าที่ปธน. ชอบหนังฮอลลีวู้ด
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>8 ธันวาคม 2553 16:41 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=left border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=460 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=460>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>Wikileaks.org ซึ่งเปิดตัวมาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 มีสมาชิกใน Wikileaks เข้ามาเผยแพร่บทความเปิดโปงความลับและเรื่องอื้อฉาวต่างๆ จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก ขณะเดียวกันก็ถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาลในหลายประเทศแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญฯ พบว่าหลายครั้งมีบทความที่ไม่น่าเชื่อถือปะปนอยู่ด้วยเช่นกัน (ภาพเอเยนซี)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>เอเยนซี - วิกิลีกส์ เผยข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติมุมมองบางอย่าง ของสี จิ้นผิง และหลี่ เค่อเฉียง สองว่าที่ผู้นำจีนที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีทั้งสอง ในปี 2555 หลังจากวาระของหู จิ่นเทา และสมาชิกพรรคอีก 7 คน สิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่ง และสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ที่เปิดเผยต่อทูตสหรัฐฯ ในอดีตที่ผ่านมา ของว่าที่ผู้นำทั้งสอง

    ข้อมูลจากบทสนทนานี้ เป็นบทสนทนาส่วนตัว ระหว่างสี จิ้นผิง และหลี่ เค่อเฉียง กับ คลาร์ก ที รานดท์ จูเนียร์ (Clark T. Randt Jr.,) ทูตสหรัฐ ประจำกรุงปักกิ่ง ในปี 2550 และคงทำให้บรรดาผู้นำจีนคนอื่นๆ ระมัดระวังในการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะก่อนจะถึงช่วงที่มีการเปลี่ยนกลุ่มการนำในจีนปี พ.ศ. 2555

    ข้อมูลออนไลน์ชิ้นหนึ่งเปิดเผยว่า นายสี จิ้นผิง รองประธานาธิบดีจีนคนปัจจุบัน เป็นแฟนภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด โดยเฉพาะเรื่อง "Saving Private Ryan," แต่ไม่ชอบภาพยนตร์แนวประวัติศาสตร์ของจีนอย่าง "Crouching Tiger, Hidden Dragon," and "Curse of the Golden Flower." ซึ่งข้อมูลได้อ้างคำกล่าวแสดงความเห้นของสีว่า "ภาพยนตร์อเมริกัน มีแบ่งข้างระหว่างความดีความชั่วชัดเจนเห็นง่าย และธรรมะชนะอธรรมเสมอ" จากข้อมูลฯ นายสี่ ยังชื่นชอบภาพยนตร์เรื่อง "The Departed" และ มีดีวีดีที่รอดูเรื่อง Flags of Our Fathers,"

    ส่วนในมุมมองทางการเมืองนั้น นายสี ยอมรับว่าประชาชนยังไม่พอใจกับวิธีการทำงานของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่พรรคฯ แต่กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่สมาชิกจำนวนมากถึง 70 ล้านคน ปัญหาก็มากตาม

    ข้อมูลกล่าวว่า นายสี ให้การสนับสนุนจริงจังกับนักธุรกิจเอกชน ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับปัญหาช่องว่างของรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเขตตะวันออกที่ร่ำรวย กับฝั่งตะวันตกที่ยากจน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แฟ้มภาพ(ซ้าย)รองประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และ(ขวา)นายหลี่ เค่อเฉียง รองนายกรัฐมนตรีจีน (ภาพเอเยนซี)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> บันทึกของท่านทูต รานดท์ ที่เผยบทสนทนาระหว่างร่วมรับประทานอาหารกับนายสี ที่บ้านพักของฑูตสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่งนี้มีขึ้นในช่วงที่ สี จิ้นผิง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ของมณฑลเจ้อเจียง ผู้อำนวยการคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนมณฑลเจ้อเจียง และก่อนหน้าที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ใน 7 เดือนต่อมา โดยได้เป็นรองประธานกรรมาธิการทหาร ตำแหน่งอันสำคัญยิ่งของผู้นำจีนทุกคนก่อนจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำสูงสุด

    นอกจากนี้ ในคืนถัดจากนั้น นายหลี่ เค่อเฉียง ซึ่งเป็นผู้อำนวยการคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนมณฑลเหลียวหนิง ยังได้มาทานอาหารเย็นที่บ้านพักฯ ท่านทูตสหรัฐฯ ซึ่งบันทึกสนทนาที่วิกิลีกส์เผยนี้ อ้างว่า นายหลี่ กล่าวถึงตัวเลขจีดีพีของจีน เป็นเรื่องที่กุขึ้นเอง เชื่อถือไม่ได้ นอกจากนี้ นายหลี่ยังมีความคิดสนับสนุนการค้าเสรี และหลักการนิติรัฐ รวมถึงกังวลต่อรายได้ของชาวมณฑลเหลียวหนิง และภูมิใจกับโครงการย้ายชาวสลัมกว่า 1.2 ล้านคน ไปอยู่ในอาคารสงเคราะห์ที่รัฐจัดให้ โดยตระหนักดีว่า แม้ชาวเหลียวหนิงจะไม่พอใจสวัสดิการการศึกษา สาธารณสุข และประเด็นที่อยู่อาศัย แต่เรื่องที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่โกรธคือปัญหาคอร์รัปชั่น ซึ่งหลี่ ยอมรับว่า บางครั้งต้องอาศัยการหาข้อมูลของเพื่อนฝูง เพราะไม่สามารถหาได้จากช่องทางสื่อสารของรัฐ

    วิกิฯ พูดถึง นายหลี่ ว่าเป็นคนมีอารมณ์ขัน เขินที่จะกล่าวถึงกิจกรรมยามว่าง เป็นคนชอบเดิน และเป็นกิจกรรมที่กำหนดอยู่ในชีวิตแต่ละวันเลยทีเดียว และเคยพูดว่า ชอบเมืองโอคลาโฮมา สหรัฐฯ ซึ่งเขาเคยเดินทางไปเยือนเมื่อปี 2544

    อีกข้อมูลจากทูตรานดท์ ในเดือนเมษายน ปี 2551 กล่าวว่า ประธานาธิบดี หู จิ่นเทา มีส่วนในนโยบายรักษาความสงบในทิเบต ที่เกิดขึ้นในปีนั้น

    ส่วนบันทึกการทูตในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วอีกชิ้นที่ถูกนำมาเปิดเผย ระบุว่า กรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์มีการปกป้องผลประโยชน์ของพวกพ้องและเครือญาติ โดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยว่า การกระทำเหล่านั้นขัดขวางการปฏิรูปเศรษฐกิจ

    รายงานข่าวกล่าวว่า แม้ว่าเนื้อหาที่เปิดเผยนี้จะไม่ได้เผยทัศนคติของว่าที่ผู้นำทั้งสองชัดเจนนัก แต่ก็แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่เปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ

    ทางการจีน และสหรัฐฯ ได้ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นใดๆ สำหรับกรณีของวิกิลีกส์นี้ โดยจีนแถลงเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เพียงหวังว่าเนื้อหาเหล่านั้น จะไม่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>China - Manager Online -
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    "ศุภวุฒิ"คาดปีนี้ธปท.ขาดทุนต่อ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>8 ธันวาคม 2553 09:17 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    "ศุภวุฒิ" เห็นด้วย กับการแทรกแซงเงินบาท พยุงเงินทุนไหลเข้าช้าลง แต่ระบุ เงินบาท ควรแข็งค่าขึ้นในลักษณะที่ผู้ส่งออกปรับตัวได้ พร้อมประเมิน ปีนี้ธปท. ขาดทุนต่ออีกหลายหมื่นล้าน แนะรัฐบาล ใช้แผนบริหารจัดการเก็บภาษีเหมือนบราซิลได้

    นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ และประธานสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การที่เงินไหลเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ และส่วนใหญ่ลงในตราสารหนี้ของรัฐบาล ทำให้รัฐบาลกู้เงินมากขึ้นในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งจะเห็นว่าช่วงแรกที่เงินไหลเข้ามาในปีนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล 10 ปี โดยผลตอบแทนลดลงจาก 4% เหลือ แค่ 3% กว่า ๆ ส่วนข้อเสียถ้าเงินไหลเข้ามามากก็ทำให้สภาพคล่องเยอะ มีโอกาสเงินฟ้อได้

    ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทมีผลค่อนข้างชัดเจน เพราะช่วงหลังในปีนี้มีเงินทุนไหลเข้ามาเป็นหมื่นล้านเหรียญซึ่งจะกระทบอย่างแน่นอน และยังมีผลกระทบต่อเอเชียเพราะเงินจะไหลเข้าทั่วเอเชีย ทำให้การส่งออกสุทธิของเราต้องปรับตัวลดลงอย่างแน่นอน ดังนั้น เรื่องการดูแลแก้ไขคงต้องประเมินสถานการณ์ ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยกับการเข้าไปแทรกแซงทำให้เงินทุนไหลเข้ามาในระดับที่ช้าลงบ้าง เพราะการที่สหรัฐฯ ดำเนินนโยบายด้วยการพิมพ์ดอลลาร์ออกมาเยอะอย่างนี้ไม่ใช้กลไกตลาดเสรี แต่เป็นการที่สหรัฐฯต้องการจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจภายในแล้วมาเพิ่มความเสี่ยงให้เรา ซึ่งถ้าเราปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าตามธรรมชาติจะทำให้การแข็งค่าค่อนข้างเร็ว ทำให้ผู้ส่งออกโดยเฉพาะที่เป็นคนไทยปรับตัวได้ลำบาก ดังนั้น ควรจะแข็งค่าขึ้นในลักษณะที่ผู้ส่งออกปรับตัวได้

    "ค่าเงินบาทที่แข็งจริง ๆ คือค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อน อเมริกาคือคนที่พิมพ์เงินออกมาเยอะ เพราะธนาคารกลางบอกมาเลยว่าจะต้องการพิมพ์ออกมาเยอะ อันนี้ไม่ใช่กลไกตลาด แต่เป็นกลไกของเบอร์นันเก้ที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจอเมริกา ต้องเข้าใจว่าต้นต่อของปัญหามาจากธนาคารกลางสหรัฐมี 2 บทบาท อย่างแรกคือเป็นธนาคารกลางของสหรัฐ และสุดท้ายเป็นธนาคารกลางของโลก ซึ่งตำแหน่งที่สองที่ได้รับมาเองโดยไม่ได้มีการแต่งตั้ง คือการแต่งตั้งตัวเองเพียงแต่ตอนนี้เขาเน้นไปที่หน้าที่แรกมากกว่าคืออยากให้เศรษฐกิจอเมริกาฟื้น ส่วนถ้าจะพิมพ์ดอลลาร์เข้ามาในโลกมากเกินไปเข้าไม่ได้ทุกข์ร้อน แต่ประเทศที่ทุกร้อนมากที่สุดคือประเทศเรา ซึ่งเศรษฐกิจร้อนแรงอยู่แล้ว" นายศุภวุฒิ กล่าว

    นายศุภวุฒิ กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่ถามว่าทำไมไม่ตรึงค่าเงินอย่างที่จีนทำ คือให้อัตราแลกเปลี่ยนเราคงที่ โดยแบงก์ชาติสหรัฐพิมพ์เท่าไหร่เราก็พิมพ์เท่านั้นทำอย่างนี้ก็ทำให้บาทไม่แข็ง บาทแข็งจะทำให้บาทแพงขึ้นจะทำให้ราคาบาทไม่แพงขึ้นต้องพิมพ์บาทเข้าไปในระบบ ในทางตรงกันข้ามเงินดอลลาร์มันกำลังถูกลงก็ต้องซื้อเข้ามาเก็บเพื่อพยุงดอลลาร์นั่นคือข้อเสนอแต่ปัญหาคือแบงก์ชาติถ้าทำอย่างนี้งบดุลแบงก์ชาติจะพัง

    "ถ้าทำอย่างนี้แบงก์ชาติจะสร้างหนี้เป็นเงินบาทและสร้างสินทรัพย์เป็นเงินดอลลาร์ แต่ทุกคนรู้ว่าบาทมีแต่จะแข็งดอลลาร์มีแต่จะอ่อน ในที่สุดก็พังเพราะมีทรัพย์ถือมีแต่ความเสื่อมแต่มีหนี้สิ้นที่มีราคาเพิ่ม ปีที่แล้วแบงก์ชาติขาดทุนดอกเบี้ยซื้อ เงินต้นไม่ต้องพูดถึงขาดทุนแน่ ๆ ปีที่แล้วขาดทุนไปแล้ว 10,000 ล้านบาท ปีนี้คงจะขาดทุนอีกหลายหมื่นล้านบาท คำถามคือแบงก์ชาติจะขาดทุนเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างนี้หรือ" นายศุภวุฒิ กล่าว

    ทั้งนี้ จึงต้องกลับมาพูดเรื่องแคปิตอลคอนโทรลมาควบคุมให้เงินทุนไหลเข้าชะลอลง คือเมื่อจุดตั้งต้นคืออเมริกาจะพิมพ์เงินออกมาเยอะ และจะทำให้ประเทศเกิดใหม่อย่างเอเชียมีปัญหาโดยเฉพาะทำให้มีปัญหาเงินเฟ้อกันทั่วหน้า ผมว่าเรามีสิทธิและจำเป็นที่จะต้องควบคุมมาตรการการไหลเข้าของเงินทุน ซึ่งในหลักการที่ถูกต้องในมุมของผมคือ เก็บภาษีเหมือนบราซิล

    อย่างไรก็ตามกรณีของไทยตอนนี้ ถ้าทำแบบบราซิลคือเก็บภาษีเลย จะเก็บการซื้อขายหุ้น 2% และเก็บภาษีการซื้อขายจากพันธบัตร 6% อย่างที่บราซิลทำอยู่ในปัจจุบันก็ได้ โดยหลักการแล้วถูกต้องกว่า แต่ไทยทำอย่างนี้ต้องผ่านกฎหมาย
    Mutual Fund - Manager Online -
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สคฝ.ผนึกพันธมิตรทั่วโลก รับมือระบบการเงินเปลี่ยน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>2 ธันวาคม 2553 21:43 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ผนึกสถาบันประกันเงินฝากทั่วโลก แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเงิน หวังปรับตัวเท่าทันสถานการณ์ พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินโลก

    นายสิงหะ นิกรพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เปิดเผยว่าการดำเนินนโยบายต่างๆ ในปัจจุบันของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ได้มีการประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากได้เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือระหว่างสถาบันประกันเงินฝากทั่วโลกหรือ International Association of Deposit Insurers (IADI )และยังได้มีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกลุ่มสมาชิก ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Asia Pacific Regional Committee (APRC) ที่มีสถาบันประกันเงินฝากประเทศญี่ปุ่นเป็นประธาน

    โดยการร่วมมือกันนี้ทำให้สถาบันฯมีช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ ประสบการณ์กับประเทศสมาชิกรวมทั้งได้เข้าร่วมฝึกอบรมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ด้วยเสมอ โดยในปัจจุบันประเทศที่มีระบบคุ้มครอง เงินฝากมีทั้งสิ้น 106 ประเทศ โดยประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บังกาเทศ อินเดีย และมีอีก 19 ประเทศอื่นๆ ที่กำลังมีแผนจะจัดตั้งหรือกำลังศึกษาระบบดูแลผู้ฝากเงินต่อไป

    สำหรับภารกิจความสำคัญของระบบคุ้มครองเงิน ฝากในทุกประเทศนั้น คือหน้าที่หลักในการให้ความคุ้มครองผู้ฝากในสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ระบบ โดยจะทำหน้าที่จ่ายคืนเงินให้ผู้ฝากตามวงเงินที่กำหนดอย่างรวดเร็วเมื่อ สถาบันการเงินถูกปิดกิจการ โดยผู้ฝากไม่ต้องรอการชำระบัญชี ทั้งนี้ สถาบันประกันเงินฝากในแต่ละประเทศอาจมีบทบาทและอำนาจหน้าที่แตกต่างกันไป บางประเทศสถาบันประกันเงินฝากจะทำหน้าที่ให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินเป็นหลัก ขณะที่บางประเทศ สถาบันประกันเงินฝากสามารถทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการ เงินที่ประสบ

    ทั้งนี้ กิจกรรมสำคัญในปี 2554 สถาบันคุ้มครองเงินฝากไทย จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประเทศสมาชิกสถาบันประกันเงินฝากในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก APRC (Annual Meeting & International Conference) ครั้งที่ 9 ประจำปี 2554 โดยได้เชิญผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ จำนวน 20 แห่ง จาก 15 ประเทศเข้าร่วมในครั้งนี้ ซึ่งการที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพนี้ จะเป็นโอกาสในการแนะนำและทำให้สถาบันเป็นที่รู้จักของสถาบันประกันเงินฝาก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการประสานงานระหว่างกันต่อไป
    Mutual Fund - Manager Online - ʤ
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทองคำร่วงจากความหวังศก.ฟื้น

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    ราคาทองคำล่วงหน้าในสหรัฐ ร่วงหนัก ท่ามกลางความหวังถึงสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้น หากสภาผ่านร่างขยายเวลาลดภาษี ซึ่งอาจช่วยลดการว่างงานลงมา
    <!--<iframe scrolling="no" src="fullURLmain/include/adsense/indetail.php" frameborder="0" height="266" width="250"></iframe>--><SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20101206/show_ads_impl.js"></SCRIPT>ราคาทองคำ ซื้อขายล่วงหน้าเดือน ก.พ.ที่ตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ ปิดซื้อขายวานนี้ (8 ธ.ค.) ร่วงลง 28.80 ดอลลาร์มาอยู่ที่ 1,383.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังนักลงทุนพากันเทขายทำกำไร จากการทะยานขึ้นที่แข็งแกร่งเมื่อเร็วๆ นี้
    ตลาดยังได้รับแรงกดดัน จากความหวังที่มีมากขึ้นถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ด้วยเทรดเดอร์ พากันคาดการณ์ถึงการฟื้นตัวในระดับที่รวดเร็วขึ้น หากสภาคองเกรส สหรัฐ อนุมัติแผนขยายเวลาลดหย่อนภาษี ที่เอื้อต่อการสร้างงาน
    ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐ ระบุว่า แผนดังกล่าวจะช่วยหนุนเศรษฐกิจ ขณะนักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งชี้ว่า หากสภาอนุมัติแผนนี้ จะทำให้เกิดการการสร้างงานมากขึ้นในปี 2554 และ 2555
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 8 ธันวาคม 2553 19:40

    กลุ่มหนุนวิกิลีกส์ตอบโต้สวีเดน

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    <!-- Begin Media Content --><SCRIPT type=text/javascript>$(function() {$('#media-content').tabs();});</SCRIPT><!-- Media Picture content --><!-- Begin More Pics-->[​IMG]
    ภาพสเกตช์จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ ขณะปรากฎตัวต่อศาลเวสมินเตอร์
    ผู้สนับสนุนวิกิลีกส์ ตอบโต้ที่ออกหมายจับ "จูเลียน อัสซานจ์"แฮกเว็บ'อัยการ-ธนาคารสวิส'อัยการสวีเดน
    <!--<iframe scrolling="no" src="fullURLmain/include/adsense/indetail.php" frameborder="0" height="266" width="250"></iframe>--><SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20101206/show_ads_impl.js"></SCRIPT> แพนด้าแลบส์ ศูนย์วิจัยของแพนด้า ซีเคียวริตี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ รายงานว่า เว็บไซต์ aklagare.se ของอัยการสวีเดน ล่มซึ่งเกิดจากฝีมือของสมาชิกกลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่า "อะนอนิมัส"
    การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากศาลอังกฤษปฏิเสธการขอประกันตัวนายจูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ ที่เข้ามอบตัวต่อตำรวจอังกฤษ เพื่อสู้คดีทางเพศตามหมายจับของสวีเดน
    นายฌอง ปอล คอร์แรล นักวิจัยการคุกคามของแพนด้าแลบส์ กล่าวว่า กลุ่มอะนอนิมัส เรียกการโจมตีครั้งนี้ว่า "ปฏิบัติการแก้แค้นให้อัสซานจ์" โดยเหล่าสมาชิกเจาะเข้าระบบของเว็บไซต์อัยการสวีเดน เพย์พัล ผู้ให้บริการรับชำระเงินออนไลน์ในเครืออีเบย์ และธนาคารไปรษณีย์สวิส ซึ่งสองรายหลังระงับการทำธุรกรรมทางการเงินของวิกิลีกส์ หลังจากเว็บไซต์แห่งนี้นำเอกสารลับทางการทูตของสหรัฐออกมาเผยแพร่จำนวนกว่า 250,000 ชิ้น
    นอกจากเพย์พัล และธนาคารไปรษณีย์สวิสแล้ว ล่าสุด มาสเตอร์การ์ด อิงค์ เครือข่ายชำระเงินรายใหญ่อันดับสองของโลก และ วีซ่า ยุโรป ผู้ให้บริการชำระเงินในเครือวีซ่า อิงค์ เพิ่งประกาศระงับการทำธุรกรรมการเงินกับวิกิลีกส์เช่นกัน

    นายคอร์แรล กล่าวว่า การโจมตีที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสงครามออนไลน์ ระหว่างผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านวิกิลีกส์ โดยวิกิลีกส์เองก็โดนเจาะระบบหลายครั้ง และบริษัทสหรัฐหลายแห่งก็เริ่มถอนการสนับสนุนเว็บไซต์แห่งนี้
    นักวิจัยของแพนด้าแลบส์กล่าวว่า การโจมตีแบ่งเป็นสองฝ่าย โดยกลุ่มอะนอนิมัส เป็นฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของข่าวสารและสื่อ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเรียกตัวเองว่าเป็นพวกรักชาติ และพยายามปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐ
    นายคอร์แรล ยอมรับว่า เป็นเรื่องยากที่จะระบุว่ารัฐบาลสหรัฐอยู่เบื้องหลังการโจมตีเว็บไซต์วิกิลีกส์หรือไม่ มีแค่การคาดเดาเนื่องจากยังไม่มีใครออกมาแสดงตัว มีเพียงแฮกเกอร์รายหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า "เจสเตอร์" อ้างว่าเป็นผู้เจาะระบบวิกิลีกส์ แต่เจสเตอร์ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อาจเป็นกลุ่มผู้รักชาติก็ได้
    วิกิลีกส์ ถูกเจาะระบบตั้งแต่นายอัสซานจ์เผยแพร่เอกสารลับเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บีบให้เว็บไซต์แห่งนี้ต้องเปลี่ยนที่อยู่และผู้ให้เช่าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตหลายครั้ง

    ออสเตรเลียยื่นมือช่วยอัสซานจ์
    นายเควิน รัดด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า นักการทูตของออสเตรเลียจะให้การช่วยเหลือนายอัสซานจ์ หลังจากนายอัสซานจ์ วิพากษ์รัฐบาลประเทศบ้านเกิดอย่างเผ็ดร้อนว่า คอยแต่เอาอกเอาใจศัตรูของเขาอย่างน่าละอาย อันเป็นการโจมตีนางสาวจูเลียน กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย และรัฐบาลของเธอ ที่สนับสนุนข้อกล่าวหาของสหรัฐว่า การเผยแพร่ข้อมูลลับทางการทูตเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
    นายรัดด์ กล่าวว่า นายอัสซานจ์ติดต่อกงสุลใหญ่ออสเตรเลียในกรุงลอนดอน และขอความช่วยเหลือด้านกงสุล ซึ่งทางการรับปากว่าจะให้ความช่วยเหลือเหมือนกับที่ช่วยเหลือชาวออสเตรเลียทุกคน โดยเจ้าหน้าที่กงสุลออสเตรเลียไปศาลในวันที่นายอัสซานจ์ขึ้นศาลกรุงลอนดอนเมื่อวันอังคาร (7 ธ.ค.) ขณะนี้นายอัสซานจ์อยู่ในความควบคุมของศาลลอนดอน เพื่อรอขึ้นศาลครั้งใหม่ในวันที่ 14 ธ.ค. โดยไม่ได้รับการประกันตัว
    นายมาร์ก สตีเฟน ทนายความชาวอังกฤษของนายอัสซานจ์เผยว่า จะยื่นขอประกันตัวอีกครั้ง ขณะนี้ลูกความสบายดี หลายคนเชื่อว่าคดีนี้มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง นายอัสซานจ์ จะได้รับการปล่อยตัวและพิสูจน์ว่าไม่มีความผิด ขณะที่หนังสือพิมพ์ในสวีเดนอ้างคำกล่าวของอัยการว่า คดีของนายอัสซานจ์ ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว และไม่เกี่ยวข้องกับการที่วิกิลีคส์เปิดเผยข้อมูลลับ
    ล่าสุด หนังสือพิมพ์ซิดนีย์มอร์นิงเฮรัลด์รายงานว่า ข้อมูลที่วิกิลีกส์เผยแพร่ กล่าวถึงนายรัดด์ ว่า เป็นคนกระด้างและหุนหัน ขณะดูแลนโยบายต่างประเทศเมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายรัดด์ เผยกับสถานีโทรทัศน์เซเวนเน็ทเวิร์กว่าไม่สนใจ และเชื่อว่าเนื้อหาในข้อมูลคงเขียนถึงเขาเลวร้ายกว่านี้

    สหรัฐยันไม่เกี่ยวจับ"อัสซานจ์"
    กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ แถลงว่า สหรัฐไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมายของอังกฤษ กรณีการจับกุมนายอัสซานจ์ หลังจากเขาไปมอบตัวต่อสก็อตแลนด์ยาร์ด และถูกพาขึ้นศาลในกรุงลอนดอน ผู้พิพากษาปฏิเสธให้ประกันตัว หลังจากนายอัสซานจ์ให้การว่าจะต่อสู้กับกระบวนการส่งตัวเขาไปยังสวีเดน อันเป็นเหตุให้พิจารณาได้ว่า เขาอาจหลบหนีถ้าได้รับการประกันตัว
    นายพี.เจ.โครวลีย์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ระบุว่า คดีนี้เป็นเรื่องระหว่างอังกฤษกับสวีเดน ส่วนสหรัฐจะเดินหน้าสืบสวนด้วยตัวเองต่อไป และไม่ยอมตอบคำถามที่ว่า สหรัฐกำลังดำเนินการให้อังกฤษตัวนายอัสซานจ์ไปให้สหรัฐในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนด้วยหรือไม่
     
  17. ForeverYoung

    ForeverYoung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +135
    ปัญหาหนี้สินของประเทศไอร์แลนด์
    เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    ในเดือนพฤศจิกายน 2010 นี้ถือได้ว่านอกจากเรื่องมาตรการเพิ่มปริมาณเงินนอกรอบรอบที่ 2 (quantitative easing 2 หรือ QE2) ของธนาคารกลางสหรัฐแล้ว เรื่องที่กระทบต่อการลงทุนและระบบเศรษฐกิจโลกอีกเรื่องหนึ่งคือปัญหาหนี้ สาธารณะของประเทศไอร์แลนด์ ผมจึงขอนำเอาเรื่องของไอร์แลนด์มาพูดคุยกันในครั้งนี้ครับ

    ไอร์แลนด์นั้นเป็นประเทศเล็กที่เคยถูกยึดครองโดยอังกฤษและมีปัญหาความรุนแรง จากความแตกแยกทางศาสนามาโดยตลอด แต่ต่อมาก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจจนได้รับ สมญานามว่าเป็น Celtic Tiger หรือเป็นเสือทางเศรษฐกิจคล้ายคลึงกับที่ไทยเราเองก็เคยมองตัวเองว่าจะเป็น เสือตัวใหม่ของเอเชียเมื่อ 15 ปีก่อน ไอร์แลนด์จึงกลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเฉพาะทางที่ต้อง อาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ กล่าวคือไอร์แลนด์พยายามส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง

    ความทะเยอทะยานและความเชื่อมต่อโลกาภิวัตน์ที่สมบูรณ์ของไอร์แลนด์ทำให้นาย ธนาคารของไอร์แลนด์ฉกฉวยโอกาสในการขยายธุรกิจทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบธนาคารของไอร์แลนด์ล้มละลายลงอย่างไม่เป็นท่าใน ปี 2008 ซึ่งรัฐบาลไอร์แลนด์ก็ได้พยายามเผชิญปัญหาแบบตรงไปตรงมา โปร่งใสและเป็นมืออาชีพมากที่สุด กล่าวคือสอบถามและสั่งการให้ธนาคารเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับความเสียหายทั้ง หมดไม่ต้องให้ปกปิด พร้อมกันนั้นก็ยังจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มาให้คำปรึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาแบบเปิดเผยและตรงไปตรงมา กล่าวคือเมื่อทราบจากนายธนาคารว่ามีหนี้เสีย ซึ่งน่าจะทำให้เกิดความเสียหายประมาณ 5,000 ล้านยูโร ก็รีบประกาศให้ทราบโดยทั่วกันในทันทีและรัฐบาลรีบจัดการกับความเสียหายดัง กล่าวและให้นำความเสียหายดังกล่าวมาคำนวณเป็นการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลใน ทันที เพื่อรัฐบาลจะได้ออกพันธบัตรกู้เงินเพื่อรับผิดชอบความเสียหายอย่างครบถ้วน ในขณะเดียวกันก็ดำเนินการลดรายจ่ายด้านอื่นๆ ของรัฐบาล เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ารัฐบาลจะยังรักษาวินัยทางการคลังได้อย่างสมบูรณ์ เช่นแต่ก่อน

    ในช่วงแรกไอร์แลนด์จึงได้รับการตอบสนองที่ดีจากนักลงทุน เพราะรัฐบาลไอร์แลนด์สร้างความน่าเชื่อถือ โดยเผชิญปัญหาอย่างตรงไปตรงมา เปิดเผยว่า แก้ปัญหาอย่างเด็ดขาดและครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่สิ่งที่ทำให้ไอร์แลนด์ตกอยู่ในภาวะลำบากในขณะนี้คือ เมื่อเวลาผ่านไปปรากฏว่าความเสียหายจากหนี้เสียของภาคธนาคารนั้นเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ อย่างไม่น่าเชื่อ กล่าวคือ เมื่อปี 2008 รัฐบาลประกาศว่าความเสียหายทั้งหมดเท่ากับ 5,000 ล้านยูโร แต่ต่อมาต้องประกาศความเสียหายเพิ่มเติมทุกปีจนกระทั่งล่าสุดในปีนี้ ต้องยอมรับว่าอาจมีความเสียหายเพิ่มเติมที่ค้นพบในปี 2010 นี้อีก 30,000 ล้านยูโรและเมื่อรวมความเสียหายทั้งหมดที่ประกาศออกมาในช่วง 2008-2010 นั้นรวมทั้งสิ้นกว่า 50,000 ล้านยูโร กล่าวคือความเสียหายทั้งหมดที่คาดการณ์ใหม่นั้นมากกว่าความเสียหายที่ประกาศ ในครั้งแรกประมาณ 10 เท่าตัว หากคิดเป็นภาระที่ชาวไอร์แลนด์ต้องแบกรับก็เท่ากับ 50,000 ยูโรต่อ 1 ครอบครัว (กว่า 2 ล้านบาท) ดังนั้นไอร์แลนด์จึงต้องรับภาระที่หนักหน่วงอย่างยิ่งจากวิกฤติเศรษฐกิจรอบ นี้ นอกเหนือจากการที่เศรษฐกิจไอร์แลนด์นั้นได้หดตัวลงอย่างต่อ เนื่องนับจากปี 2008 คือ หดตัวลง 3.5% ในปี 2008 7.6% ในปี 2009 และน่าจะหดตัวอีก 0.3% ในปี 2010 นี้

    แต่สิ่งที่ทำให้เกิดความปั่นป่วนในไอร์แลนด์อย่างมากในขณะนี้นั้นสืบเนื่อง มาจากการที่นายกรัฐมนตรีเยอรมัน (นาง Angela Merkel) ผลักดันข้อเสนอในการสร้างกลไกแก้ปัญหาการขาดวินัยทางการคลังในกลุ่มประเทศอี ยู โดยให้ยอมรับหลักการว่านักลงทุนเอกชนที่เข้ามาซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศ ที่มีปัญหาต้องมีส่วนรับความเสียหายจากการปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศดัง กล่าวด้วย เพื่อไม่ให้เป็นภาระรับผิดชอบของกองทุน 750,000 ล้านยูโรที่จัดตั้งรวมกันระหว่างอียูกับไอเอ็มเอฟเพียงอย่างเดียว กล่าวคือนายกรัฐมนตรีเยอรมันถูกกดดันทางการเมืองให้กระจายภาระรับผิดชอบให้ กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนไม่ใช่ต้องเป็นความรับผิดชอบของประเทศที่มีสถานะ ทางการเงินที่แข็งแรง (เช่นเยอรมัน) เพียงฝ่ายเดียว

    Angela Merkel ผลักดันข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นและได้รับการยอมรับจากอียูในวันที่ 29 ตุลาคมและต่อมารัฐมนตรีคลังของฝรั่งเศสกล่าวสนับสนุนข้อเสนอของเยอรมันโดย เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการร่วมรับผิดชอบความเสียหายของผู้ถือ พันธบัตรรัฐบาลที่มีปัญหา สิ่งที่ตามมาคือดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลไอร์แลนด์ (อายุ 3 ปี) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องกัน 13 วันจาก 4.7% ในวันที่ 30 ต.ค.มาเป็น 7.7% ในวันที่ 12 พ.ย.หรือดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 3.09% ในระยะเวลาเพียง 13 วัน ทำให้ในที่สุดอียูต้องร่วมกันออกแถลงการณ์ให้เกิดความชัดเจนว่าข้อเสนอที่ กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณานั้นจะนำมาใช้ในอนาคตในอีก 2 ปีข้างหน้ามิได้ใช้กับนักลงทุนที่ถือพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในขณะนี้

    ในช่วงเดียวกันนั้นตลาดก็เริ่มหวั่นไหวกับหนี้สาธารณะของประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาอยู่แล้วคือกรีก โปรตุเกสและสเปนดังปรากฏในตาราง

    ทั้งนี้จากแบบสอบถามของ Bloomberg ที่ถามนักลงทุน 1,030 คนเมื่อวันที่ 8 พ.ย. พบว่านักลงทุน 71% เชื่อว่ารัฐบาลกรีกจะพักชำระหนี้ ตามด้วยรัฐบาลไอร์แลนด์ ที่นักลงทุน 51% เชื่อว่าไอร์แลนด์จะพักชำระหนี้ โดยในกรณีของไอร์แลนด์นั้นปัจจุบันออกพันธบัตรไปแล้วประมาณ 75,000-80,000 ล้านยูโรโดยผู้ซื้อพันธบัตรรายใหญ่ที่สุดคือธนาคารกลางของยุโรป (ประมาณ 15,000-18,000 ล้านยูโร) ในขณะที่ธนาคารในประเทศยุโรปถือประมาณ 10,000 ล้านยูโร นักลงทุนต่างชาติถือประมาณ 40,000 ยูโรและธนาคารไอร์แลนด์เองถือพันธบัตรไอร์แลนด์อีก 10,000 ล้านยูโร

    ความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกรณีของไอร์แลนด์ ทำให้กลุ่มประเทศอียูพยายามให้ไอร์แลนด์เข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก อียู เพื่อที่จะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่า ไอร์แลนด์จะไม่ต้องพักชำระหนี้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลไอร์แลนด์ยืนยันว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องขอความช่วยเหลือดังกล่าว จนในที่สุดในการประชุมรัฐมนตรีคลังของอียูเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ก็มีการเจรจากันอีกรอบและมีแนวโน้มว่า ไอร์แลนด์จะยอมให้อียูและไอเอ็มเอฟเข้ามาช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารที่มี ปัญหาของไอร์แลนด์ โดยทั้งสององค์กรเริ่มเข้ามาตรวจสอบบัญชีและคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร พาณิชย์ของไอร์แลนด์แล้ว
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันอาทิตย์ ที่ 28 พฤศจิกายน 2553
    ผลกระทบจากการย่อยยับค่าเงินเหรียญสหรัฐ ..เงินเฟ้อโลกพุ่ง
    Posted by indexthai

    [​IMG]
    ผู้คนรู้แต่ว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย พังทลาย แต่ไม่รู้ถึงสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลาย มีแต่ “ความเห็น”ว่าเป็นผลมาจากบริโภคนิยม มักง่าย ใช้จ่ายเกินตัว เป็นตรรกะทางนามธรรมมากกว่าจะเป็นตรรกะทางรูปธรรม ที่เฉพาะเจาะจงต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
    ไม่มีตลาดทุนและตลาดเงินใดไม่ถูกปั่น มีการสวมรอยปั่นขึ้น-ปั่นลง ปั่นขึ้นก็เป็นประโยชน์ต่อคนปั่น ปั่นลงก็เป็นประโยชน์ต่อคนปั่น กองทุนโลกเป็นผู้ที่มี ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจ ในกลไกเศรษฐกิจโลกดี เป็นผู้ที่ควบคุมความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกไว้ในกำมือ
    ผู้คนรู้เรื่องและจำเรื่อง Great Depression ระหว่างปี 1929-1932 ที่เกิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ นำความถดถอยมาสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริการุนแรง ไม่ใครพูดถึงว่ามาจากอะไร แท้ที่จริงแล้วมีต้นเหตุมาจากการพังทลายของตัวตลาดหุ้นนั่นเอง ดัชนีดาวโจนส์ตกต่ำถึง 89 เปอร์เซ็นต์
    แต่ผู้คน ไม่รู้เรื่องการพังทลาย(ปั่น)ของตลาดแนสแดกซ์ระหว่างปี 2000-2003 เช่นกัน
    [​IMG]
    ดัชนีแนสแดกซ์ ดัชนีดาวโจนส์
    ตลาดแนสแดกซ์ถูกโจมตีเมื่อ 1999 ซึ่งเป็นปีที่มีการปรับปรุงตัวหุ้นที่ใช้คำนวณดัชนีแนสแดกซ์ โดยมีการเพิ่มตัวหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูง 3-4 ตัวเข้าไปในการคำนวณดัชนี เช่นหุ้นไม่โครซอฟท์ ทำให้ดัชนีมีความเบี่ยงเบนสูง อ่อนแอสูง และถูกปั่นได้ง่าย
    ดัชนีแนสแดกซ์ถูกลากจากระดับ 2,500 จุด ไปสูงสุดที่ต้นปี 5,000 จุด แล้วถล่มทุบลง ทำให้ดัชนีตกลงถึง 78 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าตกแรง ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ตก 38 เปอร์เซ็นต์
    การโจมตี ที่ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาย่อยยับอย่างรุนแรง คือการโจมตีตลาดแนสแดกซ์ในปี 1999 โดยกลุ่ม World Fund ทำให้เกิดความเสียหายมากกว่า 7.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้คนสหรัฐตายทั้งเป็นกันทั่วประเทศ และทั้งโลก
    การโจมตี World Trade Center (WTC) เดือนกันยายน 2001 โดยกลุ่มผู้ก่อการร้าย ทำความเสียหาย 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ มีผู้เสียชีวิต 3,000 คน
    [​IMG]
    ผู้คนไม่รู้เรื่องนี้ เพราะดูและเชื่อแต่ดัชนีดาวโจนส์กันแต่อย่างเดียว แต่จากแผนภูมิที่นำเสนอข้างต้น เปรียบเทียบระยะเวลาเดียวกัน โดยปรับฐานเมื่อ 1/2/1998 = 100 เท่ากัน ทำให้เห็นภาพความแตกต่างที่ชัดเจน แสดงให้เห็นถึงการพังทลายของดัชนีแนสแดกซ์อย่างมีนัยสำคัญ
    การพังทลายของตลาดหุ้นแบบรุนแรง เกิดเวลาใด เกิดเมื่อ 80 ปีที่แล้ว หรือเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ จะเกิดกับประเทศใด ไม่ว่าประเทศเจริญแล้วอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศที่ไม่เจริญอย่างประเทศศรีลังกา ล้วนนำความย่อยยับมาสู่ประเทศนั้น
    ขณะนี้ ตลาดหุ้นประเทศศรีลังกากำลังอยู่ในช่วงนำพาประเทศตนเองเข้าสู่ไอเอ็มเอฟ
    ตลาดหุ้นไทย เป็นต้นเหตุให้ประเทศไทยต้องเข้าไอเอ็มเอฟมาแล้ว 2 ครั้ง ดูแผนภูมิการพังทลายของตลาดทุนและตลาดเงิน จนทำให้ประเทศไทยต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟ 2 ครั้งที่นี่

    ..............
    .
    [​IMG]
    การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐระหว่างปี 2000-2002 ทำให้เงินไหลออกมาท่วมโลก
    ทำให้ตลาดหุ้นโลกระหว่างปี 2001- 2007 สูงขึ้นถึง 463 เปอร์เซ็นต์
    จากนั้นก็พังทลายลงระหว่างปี 2008
    การพังทลายของตลาดหุ้นประเทศต่างๆ(ตลาดหุ้นโลก) ปี 2008 รุนแรง
    มีผลให้มีประเทศต่างๆต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟแล้วประมาณ 20 ประเทศ ที่นำแผนภูมิมานำเสนอนี้ ก็ 8 ประเทศแล้ว
    .
    [​IMG]
    ตัวอย่างประเทศที่เข้าไอเอ็มเอฟปี 2008 ที่เป็นผลมาจากการพังทลายของตลาดหุ้น
    .
    [​IMG]
    ตัวอย่างประเทศที่เข้าไอเอ็มเอฟปี 2010 ที่เป็นผลมาจากการพังทลายของตลาดหุ้น
    ..
    ผลที่เกิดจากการพังทลายของตลาดหุ้น
    ความเชื่อมั่นตกลง
    ทุนสำรองลด (เงินไหลออก) ถ้าลดลงมาก ก็ต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF
    ค่าเงินเสียหาย (ดู 3 แผนภูมิค่าเงินเหรียญสหรัฐถัดไป)
    สภาพคล่องเสียหาย
    ธุรกรรมภาคการผลิตจริงและภาคการเงินมีปัญหาล้มละลายและถูกปิดตัว
    เกิดหนี้เสีย (สหรัฐมีหนี้สาธารณะสูงกว่า 14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ)
    คนตกงานมาก
    มูลค่าหลักประกันลดลง
    เงินเฟ้อสูงขึ้น (มีแผนภูมิราคาทองคำ น้ำมัน ยางพารา ประกอบ )
    ประเทศ สหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบดังกล่าวครบถ้วน ค่าเงินเหรียญสหรัฐตกลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลต่างๆ ภาคการเงินและภาคการผลิตจริงล้มลงทั้งประเทศ คนตกงานเพิ่มขึ้น เกิดเป็นหนี้ เสียท่วมประเทศ
    .
    ค่าเงินเหรียญสหรัฐ
    [​IMG]
    ค่า เงินเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับ 6 สกุลเงินที่ 1 ได้แก่ KRW(เกาหลีใต้) SGD(สิงคโปร์) BAHT(ไทย) AUD(ออสเตรเลีย) EURO(ยุโรป) NZD(นิวซีแลนด์) ค่าเงินเหรียญสหรัฐตกอยู่ระหว่าง 20-55 เปอรเซ็นต์
    ค่าเงินบาทติดอยู่ในกลุ่มที่แข็งค่าขึ้นแรง และแกว่งตัวสูง
    [​IMG]
    ค่า เงินเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับ 6 สกุลเงินที่ 2 ได้แก่ HKD(ฮ่องกง) INR(อินเดีย) TWD(ไต้หวัน) JPY(ญี่ปุ่น) PHP(ฟิลิปปีนส์) และ IDR(อินโดนีเซีย) โดยอ่อนตัวลงประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์
    น่า สังเกต ค่าเงิน HKD ฮ่องกง ผูกระดับการคงที่กับค่าเงินเหรียญสหรัฐไว้ได้เหนียวแน่น แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่า HKD ฮ่องกงอ่อนผิดจริง ก็ยังรักษาระกับค่าเงินของตัวเองไว้ได้ น่าเป็นเรื่องที่ต้องตืดตามดู ติดตามศึกษาต่อไป
    ค่าเงินของฟิลิปปินส์ และของอินโดนีเซีย แกว่งตัวค่อนข้างแรง และไม่ได้แข็งค่ามากเหมือนค่าเงินของไทย
    .
    [​IMG]
    ค่าเฉลี่ยเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อดูค่าเงินเหรียญสหรัฐเฉลี่ยเทียบกับ 12 สกุลเงินข้างต้น ช่วง 7 ปีที่ผ่านมา พบว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐตกต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ และตกลงต่ำสุดถึง 25 เปอร์เซ็นต์ในต้นปี 2008
    .
    [​IMG]
    ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ไม่ได้เป็นประปัญหาต่อประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพราะประเทศต่างๆทั่วโลกใช้เงินเหรียญสหรัฐเป็นตัวกลางในการทำธุรกรรม
    5 ปีที่เห็น ทุนสำรองของอเมริกาน้อยกว่าประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ทุนสำรองของประเทศไทยเพิ่มขึ้นแบบผิดปกติได้
    แม้ว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ต้องเข้าไอเอ็มเอฟ แต่ความเสียหายทางเศรษฐกิจของอเมริกา อันเป็นผลมาจากการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ ก็ท่วมท้น และกระทบไปทั่วโลก
    ข่าว ความเสียหายด้านเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา 2-3 ปีนี้ คงผ่านตาผู้อ่านบ้าง เช่น ยอดยึดบ้านในสหรัฐทำลายสถิติ Chryslerประกาศปิดสายการผลิตทั้งหมด KPMGยักษ์ใหญ่วงการบัญชีถูกฟ้องนับพันล้านเหรียญ ประธานเฟรดดี้ แม็คดับปริศนา คาดฆ่าตัวตาย Citibankธนาคารที่ตายแล้ว AIGเตรียมขายหุ้นAIA รัฐสภาสหรัฐเตรียมแผนสำหรับการล้มของธนาคารขนาดใหญ่ การล่มสลายของ Lehman Brothers และ Merrill Lynch ฯลฯ
    รายงานตัวเลขหนี้เสียและหนี้สาธารณะของประเทศสหรัฐอเมริกาสูงถึง 14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
    ผลของการพังทลายของตลาดหุ้นแนสแด็กซ์ ที่ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายตามมา ทำให้เงินเฟ้อโลกพุ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
    .
    เงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินของโลก
    เมื่อสกุลเงินของโลกเสียหาย
    ความเสียหายก็ย่อมเกิดกับโลกทั้งโลก
    ภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นกับโลกรุนแรง
    เห็นได้จาก...
    .
    [​IMG]
    ราคาทองคำพุ่งจาก 259 มาเป็น 1,410 เหรียญต่อเอานซ์ เพิ่มขึ้น 441 เปอร์เซนต์ ราคาแร่และโลหะอื่นๆก็เพิ่มขี้นในแนวทางเดียวกัน
    ราคาน้ำมันพุ่งจาก 18 มาเป็น 144 เหรียญต่อบาร์เรล สูงขึ้น 683 เปอร์เซนต์
    ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูงทั่วโลก
    [​IMG]
    ที่ประเทศไทย ราคาสินค้าเกษตร ไม่ว่าข้าวโพด ถั่วหลือง ถั่วเขียว สูงขึ้นทั่วหน้า
    ราคายางสูงขึ้นจาก 18 มาเป็นกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัม
    ราคามันสำปะหลังสูงขึ้นจาก 0.50 มาเป็นกว่า 2.50 บาทต่อกิโลกรัม
    แต่ราคาปุ๋ย ราคาเคมีภัณฑ์ ราคาเวชภัณฑ์ ราคาเครื่องจักร์ ราคาพลังงาน ก็สูงขึ้นเช่นกัน
    .
    การ ที่ราคาของเงินของประเทศต่างๆ ตลาดหุ้นประเทศต่างๆ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของโลกสูงขึ้น และตกต่ำลง ผันผวนสูง เป็นปรากฏการณ์ที่เงินเฟ้อสูง หาใช่เพราะสินค้าต่างๆเหล่านั้นขาดแคลน หรือมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น แต่เป็นเพราะการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐต่างหาก
    [​IMG]
    [​IMG]

    การ แก้ที่ปลายเหตุของปัญหาและผิดทิศทาง คือไม่แก้ที่ ต้นเหตุอะไรที่ทำให้สภาพคล่องของอเมริกาเสียหาย เช่นการออกเครื่องมือ CDOs (Collateralized debt obligations) คือธุรกรรมการกู้เงินเพื่อมาปล่อยกู้ต่อ CDS (Credit default swap) คือธุรกรรมการค้ำประกันเงินกู้ ทำให้เกิดความเสียหาย ซ้อนความเสียหายมากกว่าเดิม ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศยากจนใหม่ไปแล้ว
    .
    ตัวอย่างเรื่องคล้ายกันที่เกิดกับประเทศไทย คือ ความเสียหายจากการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ปลายเหตุและผิดทิศทางเช่นกัน ทำให้ประเทศไทยเสียหายอย่างเหลือเชื่อ
    http://t.co/hktaflT
    .
    เวรกรรมประเทศไทย ราคาพลังงานและอัตราการโฆษณาสินค้าเป็นต้นเหตุสำคัญของสูงขึ้นของเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการพังทลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐอยู่แล้ว การนำปตท.และเครือญาติของปตท.เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น มาขูดรีดราคาน้ำมันชาวบ้าน เอาอสมท.เข้าตลาดหุ้น แล้วมาเพิ่มอัตราโฆษณาสินค้า ซ้ำเติม ทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยสูงมากขึ้นขึ้นไปอีก
    .
    อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น สูงแล้วสูงเลย ยากที่จะทำให้ต่ำลงได้ เป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังยิ่ง
    .
    ผู้ เขียนติดตามนี้ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี บิลล์ คลินตัน และจอร์จ ดับเบิลยู. บุช เกิดเป็นทุกข์เข็ญลำเค็ญของคนอเมริกันอย่างแท้จริง รุนแรงขนาดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นประธานาธิบดีผิวสี แต่คำว่า “Change” ของประธานาธิบดีบารัค เฮส.โอบามา เป็นคำที่ดี เพียงแต่ไม่รู้ว่าจะ Change ตรงไหนเท่านั้น มันจึงเป็นแค่คำที่ลอยอยู่ในพิภพแต่อย่างเดียว อีกหน่อยประธานาธิบดีบารัค เฮส.โอบามานั่นเองจะถูก Changed
    .
    เงิน ทุนที่อยู่ตามธนาคารกลางต่างๆทั่วโลก ไม่ได้เป็นของประเทศนั้น ส่วนใหญ่เป็น เงินของ World Fund กองทุนโลกมั่งคั่งขึ้นกลุ่มเดียว เขาจะย้ายเงินทุนเข้า-ออกไปไหน อย่างไร ก็ทำได้โดยสะดวก แต่ประเทศท้องถิ่นจนลงแต่อย่างเดียว
    วอร์เรน บัฟเฟตต์ มั่งคั่งจากสิ่งผิดปกติของโลกทุนนิยม แต่คนอเมริกันโดยรวมยากจนลงทั่วหน้า
    .
    มูลค่า การซื้อขายกระดาษในตลาดทุนสูงกว่ามูลค่าการซื้อขายสินค้าจริงมาก “ปัญหาของเศรษฐกิจของโลก” ไม่ได้เกิดจากธุรกรรมการซื้อขายจริง แต่เกิดจากธุรกรรมการซื้อขายกระดาษ เกิดการสวมรอยปั่นขึ้นปั่นลงได้สะดวก แบบไม่ต้องมีโกดังเก็บใบหุ้น เหมือนต้องมีโกดังเก็บสินค้าทั่วไปแต่อย่างใด
    .
    ทั้งอเมริกาและไทย และหลายประเทศทั่วโลก ต่างมีตลาดหุ้นเป็นต้นเหตุความยับเยินทางเศรษฐกิจแบบเดียวกัน
    .
    ................................................................
    ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2010
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันเสาร์ ที่ 13 พฤศจิกายน 2553
    เงินท่วมประเทศ บาทแข็งค่า แต่ประเทศยากจนลง
    Posted by indexthai
    [​IMG]
    ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
    เรื่องเงิน ไม่ต่างไปจากเรื่องน้ำ น้ำแล้งก็ไม่ดี น้ำท่วมก็ไม่ดี เงินแห้งและเงินท่วมก็ไม่ดีเช่นกัน
    ปริมาณเงินของระบบ พอดี พอดี จึงจะดี

    [​IMG]
    ภาพตลาดหุ้นไทยย้อนหลัง 35 ปี ตั้งแต่เปิดตลาดหุ้น – ถึงปัจจุบัน
    เมื่อก่อนไม่มีตลาดหุ้น ประเทศไทยไม่เคยต้องเข้าไอเอ็มเอฟ ตั้งแต่เปิดตลาดหุ้นมา ประเทศไทยต้องเข้าโครงการณ์ไอเอ็มเอฟมาแล้ว 2 ครั้ง
    [​IMG]
    การเข้าไอเอ็มเอฟครั้งแรก การพังทลายของตลาดหุ้นไทยในปี 2521-2525 ทำให้เงินทุนไหลออกจากบาท จนทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศลดลงถึงขีดอันตราย ทำให้เศรษฐกิจของระบบเสียหาย จนต้อง “ลดค่าเงินบาท” และเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟเป็นครั้งแรก
    [​IMG]
    การเข้าไอเอ็มเอฟครั้งครั้งที่ 2 การพังทลายของตลาดหุ้นไทยในปี 2537-2540 ทำให้เงินทุนไหลออกอย่างหนัก ทำให้ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศลดลงรุนแรง ทำให้เศรษฐกิจของระบบเสียหายหนักกว่าเดิม จนต้อง “ลอยค่าเงินบาท” ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินต่อไอเอ็มเอฟเป็นครั้งที่ 2
    [​IMG]
    การพังทลายที่รุนแรงของตลาดหุ้น เป็นต้นเหตุของค่าเงินพังทลายด้วย เกิดที่ประเทศใดก็เป็นแบบเดียวกันทุกประเทศ ทุกประการ แม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่มาของสภาพคล่องเสียหาย และเกิดหนี้เสีย ภาพนี้ แสดงถึงการพังทลายแบบผิดปกติ ของตลาดหุ้นแนสแดกซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา หากแยกดูเช่นนี้ จะไม่เห็นถึงความแตกต่าง
    [​IMG]
    แต่เมื่อนำดัชนีทั้ง 2 มาปรับฐานให้เท่ากันที่ 100 ในวันที่ 1/2/1998 เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จึงเห็นการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดแนสแด็กซ์ผิดปกติได้ชัดเจน มีการสวมรอยปั่นขึ้นและปั่นลง
    สหรัฐอเมริกาได้ความเสียหายทางเศรษฐกิจ จากการที่ตลาดหุ้นแนสแดกซ์ถูกโจมตีระหว่างปี 1999 – 2002 มากกว่าการที่ตึก World Trade Center(WTC) ถูกโจมตีในช่วงปลายปี 2001 มีการโจมตีตลาดแนสแดกซ์ก่อนการโจมตี WTC
    การพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาปี 2543-2545 (2000-2002) ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัญพังทลาย ทำให้เงินทุนไหลออกจากดอลลาร์อย่างหนัก ทำให้เศรษฐกิจของอเมริกาเสียหาย เกิดหนี้เสียท่วมท้น กลายเป็นประเทศยากจนใหม่ไปแล้ว
    ขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก ปริมาณเงินเหรียญสหรัฐมีส่วนแบ่งของสกุลเงินโลกมากที่สุด ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ กล่าวได้ว่า เงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินของโลกได้
    [​IMG]
    แสดงความเสียหายของค่าเงินเหรียญสหรัฐหลังการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ ค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลงรุนแรง เมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างๆแทบทุกสกุล เสียหายเป็นประวัติการณ์ เช่น ตกลง 36 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินยูโร หรือ ตกลง 16 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินบาท
    [​IMG]
    ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทย เพิ่มขึ้นหลังการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 และค่าเงินบาทก็แข็งขึ้นในเวลาเดียวกันนี้
    เงินที่ไหลออกจากดอลลาร์ หมายความว่ามีการทิ้งเงินสกุลดอลลาร์ไปถือเงินสกุลอื่น และสินทรัพย์ในเงินสกุลอื่น ส่งผลให้ “ราคา” เยน ปอนด์ หยวน ฯลฯ หุ้นประเทศต่างๆ สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ สูงขึ้น ทุนสำรองของประเทศต่างๆสูงขึ้น
    [​IMG]
    การที่ค่าเงินบาทสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา หาใช่เพราะการขาดความเชื่อมั่นต่อเงินเหรียญสหรัฐ ที่ทำให้เงินไหลเข้าไทยแต่อย่างเดียวไม่ การเข้ามาเก็งกำไรในตลาดเงินและตลาดทุนมีส่วนทำให้เงินไหลเข้าประเทศไทย รุนแรง
    การเปิดตลาดอนุพันธ์ในตลาดหุ้นไทย คือตลาดขึ้นก็สามารถทำกำไรได้ ตลาดตกก็สามารถทำกำไรได้ ไม่มีทางขาดทุน ส่งผลให้มีการเข้ามาหาประโยชน์ในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น
    การเก็งกำไรและการปั่นจะเกิดใน 2 ตลาดเสมอ คือเก็งกำไรทั้งในตลาดทุนและตลาดเงินพร้อมกัน แรงเก็งกำไรรุนแรงมาก ปริมาณเงินที่ใช้ในการเก็งกำไร มากกว่าธุรกรรมภาคการผลิตจริง 2-5 เท่า และสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา การซื้อขายกระดาษทองคำ (Gold Futures) มีมูลค่าการซื้อขายสูงกว่าการซื้อขายทองคำจริงประมาณ 10 เท่า ทำให้ฟองสบู่ของประเทศไทย พองแล้วแตก พองแล้วแตก ทุกๆ 10-15 ปี
    นั่นคือ เมื่อเงินทุนไหลเข้า ก็จะไหลเข้าทั้งในตลาดเงิน(พันธบัตร)และตลาดทุนพร้อมกันทั้ง 2 ตลาด เมื่อเงินทุนไหลออก ก็จะไหลออกจากตลาดเงินและตลาดทุนพร้อมกันทั้ง 2 ตลาด ตลาดหุ้นตกมาก ทุนสำรองลดมาก กระทั่งต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟนั่นเอง
    [​IMG]
    วันที่ 19 ธันวาคม 2549 หรือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ทางการได้ออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ เงินทุนไหลเข้า เป็นเครื่องชี้บอกว่า เงินทุนได้ท่วมประเทศไทยแล้ว มาตรการดังกล่าวประสบความล้มเหลวในวันแรก ทำให้หุ้นตกกว่า 100 จุด ต้องยกเลิกมาตรการดังกล่าวในวันเดียว เป็นการยอมจำนนต่อปัญหาเงินทุนไหลเข้า เสมือนเขื่อนที่พังทลายลง ทำให้เงินทุนไหลเข้าไทยรุนแรงมากกว่าเดิมอีก
    วันที่ออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซนต์ ทุนสำรองการเงินตราระหว่างประเทศสุทธิของไทยอยู่ที่ 74 พันล้านเหรียญสหรัฐ
    ต้นเดือนพฤศจิกายน 2553 ทุนสำรองเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 186.41 พันล้านเหรียญสหรัฐ
    เงินท่วมประเทศไทยมา 4 ปีแล้ว และท่วมไทยรุนแรงมากขึ้นทุกวัน
    เงินทุนไหลเข้าอย่างผิดปกติ ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศผิดปกติไปหมด เกิดผลดี-ผลเสียอย่างผิดปกติ
    เกิดผลดีอย่างผิดปกติ
    ผู้นำเข้ามีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ..และ
    ทำให้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับต่ำ
    เกิดผลเสียอย่างผิดปกติคือ
    ผู้ส่งออกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
    คนฝากเงินได้รับดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราต่ำอย่างผิดปกติ
    คนกู้เงินก็ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้อัตราสูงอย่างผิดปกติ
    ธนาคารมีกำไรจากดอกเบี้ยน้อย จึงคิดหากำไรจากค่าธรรมเนียมต่างๆมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารสูงขึ้น
    แม้ว่าเงินเฟ้อจะต่ำ แต่ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่า ส่งผลให้ดอกเบี้ยผู้ฝากเงินติดลบ ซึ่งติดลบติดต่อกันมาหลายปีแล้ว เป็นความเสียหายของระบบที่มีมูลค่าสูงมาก
    และนอกจากนี้
    เมื่อผู้ส่งออก ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ก็จะกดดันราคารับซื้อสินค้าที่ต่ำลง โดยเฉพาะกับราคาสินค้าเกษตร
    ดีอย่างผิดปกติ และเสียอย่างผิดปกติ ไม่ใช่เรื่องที่ดี
    เป็นผลเสียมากกว่ามะเร็งร้าย มะเร็งร้ายจะรู้ตัวเมื่อใกล้ตาย แต่แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เงินท่วมหนัก ก่อความเสียหายรุนแรงกว่าน้ำท่วม เงินท่วม ไม่ได้เป็นผลร้ายเฉพาะคน หรือเฉพาะพื้นที่ แต่ก่อความเสียหายให้ทั้งระบบ ต่อคนทุกคน หรือต่อทั้งประเทศ ทำให้ประเทศไทยยากจน ทุกข์เข็ญลำเค็ญลงมากกว่าเดิม
    ประเทศไทยแก้แต่ปลายเหตุของปัญหาอยู่เช่นเดิม ทำให้ประเทศไทยเสื่อมทรุดลงตลอดเวลา ที่ยากจนอยู่แล้ว ก็จะยากจนลงไปอีก
    ประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มยากจนลงเมื่อเปิดตลาดหุ้นประมาณกว่า 100 ปีมานี้ ตลาดหุ้นทำให้วอร์เรน บัฟเฟตต์รวยที่สุดในโลก แต่ทำให้คนอเมริกายากจนลงทั้งประเทศ
    .
    เรื่องในเนื้อหาสาระที่คล้องจองกัน..
    เงินท่วมโลก ..แต่โลกยากจนลง:
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันเสาร์ ที่ 23 ตุลาคม 2553
    กลไกค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้อ(กรณีที่ประเทศไทย)
    Posted by indexthai


    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>.
    [​IMG]
    เงินทุนไหลเข้า เมื่อมาแลกเป็นบาท ทำให้บาทแข็งขึ้น ทำให้เงินเฟ้อต่ำลง ดอลลาร์เข้าไปอยู่ในแบงก์ชาติ ทำให้ทุนสำรองสูงขึ้น บาทออกมาอยู่ในระบบ ท่วมระบบ ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับต่ำ
    .
    เอ็นทรีนี้ เน้นด้านเงินทุนไหลเข้า (หากปัจจัยเป็นไปในทางตรงกันข้าม จะทำให้เงินทุนไหลออก)
    การแข็งค่าเงิน อัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้อ เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน มีต้นเหตุจากเรื่องเดียวกัน
    การทำธุรกรรมในประเทศ กำหนดให้ใช้สกุลเงินบาท เมื่อเงินทุนไหลเข้า จึงนำไปแลกเปลี่ยนเป็นบาท (นำไปซื้อบาท) ซื้อมากๆ ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น เงินบาทแข็งขึ้น คือเงินเฟ้อต่ำลง
    ดอลลาร์เข้าไปอยู่ในธปท.มาก เห็นได้จากทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น
    ทำให้บาทออกมาอยู่ในระบบมากขึ้น บาทอยู่ในระบบมากๆ ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับต่ำ
    สาเหตุที่เงินทุนไหลเข้า และทุนสำรองสูงขึ้น
    1) ได้ดุลทางธุรกรรม Peal trade หรือธุรกรรมการซื้อขายจริง
    เช่น
    ได้ดุลการค้า (ส่งออก มากกว่านำเข้า)
    ได้ดุลการท่องเที่ยว (คนเข้ามาเที่ยวประเทศไทย มากกว่าคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ)
    ได้ดุลการลงทุน (ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย มากกว่าคนไทยนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ)
    ได้ดุลการกู้เงิน (กู้เงินจากต่างชาติ มากกว่าต่างชาติมากู้เงินจากไทย)
    ได้ดุลบริจาค (ต่างชาติบริจาคให้ไทย มากกว่าไทยบริจาคให้ต่างชาติ) ฯลฯ
    การไหลเข้าออกของเงินทุนในส่วนนี้จะทำให้ปริมาณทุนสำรองเพิ่ม-ลดไม่มาก
    2) ได้ดุลจากการเข้ามาเก็งกำไร Paper trade หรือการซื้อขายกระดาษในตลาดหุ้น
    เช่น
    ได้ดุลจากการเข้ามาเก็งกำไรในตลาดพันธบัตร
    ได้ดุลจากการเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้น
    การไหลเข้า-ออกของเงินทุนในส่วนนี้จะทำให้ปริมาณทุนสำรองเพิ่ม-ลดสูงมาก
    เป็นเหตุให้เงินทุนสำรองเพิ่ม-ลดสูง แบบผิดปกติมาก
    ข้อที่ 3 เกิดการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจและนโยบายที่ไม่ถูกต้อง
    การนำ Maintenance margin และ forced sell มาใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2536 ทำให้ SET ขึ้นสูงสุดในต้นปี 2537 แล้วเทขายหุ้นและบาทออกมา
    การเปิดกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปี 2528 “คนปั่นหุ้น – กองทุนโลก” มองออกว่า จะสามารถทำความเสียหายให้ประเทศไทยสูงได้ จะส่งผลให้ตลาดทุนและตลาดเงินเสียหายสูงได้ กองทุนโลกสามารถทำกำไร ทั้งขาขึ้นและขาลงของตลาดหุ้น-ตลาดเงินได้
    การเปิดตลาดอนุพันธ์ในปี 2547 เพิ่มความเป็นอบายมุขให้ตลาดหุ้นมากขึ้น “ตลาดอนุพันธ์คือการซื้อขายตัวเลข” ของสินค้าเกษตร ตัวเลขดัชนีตลาดหุ้น ตัวเลขราคาหุ้นเป็นตัวๆ ตัวเลขราคาทองคำ ฯลฯ สามารถทำกำไรได้ทั้ง 2 ขา ทั้งขาขึ้นและขาลง และทำกำไรได้ดีมาก ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าอย่างมีนัยสำคัญ
    ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการปรับปรุงการคำนวณดัชนี NASDAQ ในปี 1999 ทำให้ดัชนีเกิดความเบี่ยงเบนสูงขึ้น ทำให้ NASDAQ ขึ้นสูงสุดในต้นปี 2000 แล้วจากนั้นจึงเทขายหุ้นออกมา แล้วค่าดอลลาร์ก็พังทลายตามตลาดหุ้นในเวลาต่อมา
    การขึ้น-ลดดอกเบี้ย การออกไปโร้ดโชว์ มีส่วนให้เงินทุนไหลเข้า
    ผลกระทบจาก เงินทุนไหลเข้า บาทแข็งค่า ดอกเบี้ยติดลบ เงินเฟ้อต่ำ
    ผลดี ผู้นำเข้าได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน คือใช้บาทน้อยลงในการซื้อดอลลาร์ไปชำระค่าสินค้า เงินเฟ้อจะอยู่ระดับต่ำ เพราะการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เช่นราคาน้ำมันมีต้นทุนที่ต่ำลง
    ผลเสีย ผู้ส่งออกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน คือเอาดอลลาร์มาแลกได้บาทน้อยลง คนฝากเงินรับดอกเบี้ยฝากต่ำ คนกู้เงินจ่ายดอกกู้สูง ดอกเบี้ยติดลบ คือดอกเบี้ยฝากต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ผู้ใช้บริการธนาคาร ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสูงขึ้น เมื่อธนาคารมีรายได้จากดอกเบี้ยน้อยลง จึงต้องมาหารายได้จากค่าธรรมเนียม ทำให้ค่าธรรมเนียมต่างๆสูงขึ้น ราคาสินค้าส่งออกจะถูกกดดันราคาให้ต่ำลง
    รัฐบาลชวลิต-ชวน2 ประเทศไทยประสบภาวะเงินแห้งประเทศ บาทอ่อนค่า
    รัฐบาลอภิสิทธิ์ เผชิญกับภาวะเงินท่วมประเทศ บาทแข็งค่า
    ทุนสำรองสูง ทำให้สภาพคล่องของระบบสูง หรือเงินท่วมระบบ
    ทุนสำรองต่ำ ทำให้สภาพคล่องของระบบต่ำ หรือเงินแห้งจากระบบ
    สภาพคล่องของระบบสูงเกินไป ไม่ใช่เรื่องที่ดี
    สภาพคล่องของระบบต่ำเกินไป ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี
    สภาพคล่องพอดีพอดี จึงจะดี
    พบว่าสภาพคล่องเริ่มท่วมประเทศไทยตั้งแต่ปี 2549
    การมีตลาดหุ้น ทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกก่ออันตรายต่อระบบเศรษฐกิจสูง
    การไม่มีตลาดหุ้น ทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุน ก่ออันตรายต่อระบบเศรษฐกิจได้น้อย

    ตลาดหุ้นที่สูงขึ้น จะถูกสวมรอยปั่นให้สูงมากขึ้นไปอีก
    จากนั้น จะมีการเทขายหุ้นออกมารุนแรง ระบบเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่วงจรเสียหาย
    ความเชื่อมั่นจะตกลง เงินทุนจะไหลออก ค่าเงินบาทจะตกลง สภาพคล่องจะลดลง ดอกเบี้ยสูงขึ้น
    เงินเฟ้อสูงขึ้น ธุรกิจล้มละลาย เกิดเป็นหนี้เสียสูง ทุนสำรองที่ลดลงมาก ทำให้ต้องเข้าไอเอ็มเอฟ
    ตลาดหุ้น ทำให้ประเทศไทยเข้าไอเอ็มเอฟมาแล้ว 2 ครั้ง
    .....................................................
    ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจ ความเป็นไปของเศรษฐกิจมหภาค ไทย และโลก
    [​IMG]
    ปี 1999 แนสแดกซ์มีการนำหุ้นที่มีมูลค่าสูง เพิ่มเข้าไปในการคำนวณดัชนี ทำให้แนสแดกซ์เกิดความเบี่ยงเบนสูงขึ้น (มีค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานสูง) จะอ่อนแอสูง ทำให้ปั่นได้ง่าย มีการปั่นแนสแดกซ์ขึ้นไปสูงมากในต้นปี 2000 เปรียบเทียบกับดาวโจนส์ พบว่าแนสแดกซ์ขึ้นและตกแรงกว่าดาวโจนส์ อย่างผิดปกติ
    .
    [​IMG]
    ต้นปี 2000 แนสแดกซ์ตกแรงมาก ตกถึง 78 เปอร์เซนต์ หุ้นตกแรงทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐไม่ได้รับความเชื่อมั่น หรือค่าเงินเหรียญสหรัฐจะตกลงตามการตกลงของตลาดหุ้นแนสแดกซ์ ไหลออกไปถือสกุลเงินอื่นและสินทรัพย์ในเงินสกุลอื่น จะเห็นว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินแทบทุกสกุล ไม่ว่าเงินยูโร เงินเย็น และเงินบาท
    .
    [​IMG]
    เงินเหรียญสหรัฐที่ไหลออกไปถือสกุลเงินอื่นและสินทรัพย์ในเงินสกุลอื่น ทำให้ทุนสำรองของประเทศต่างๆสูงขึ้น ค่าเงินสูงขึ้น ตลาดหุ้นสูงขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น ตลาดหุ้นโลก(G91-Index) ขึ้น 6 ปีติดต่อกัน 463 เปอร์เซนต์ ไปสูงสุดที่ปลายปี 2007 แล้วจึงพังทลายลง(ทุบลง)ตลอดปี 2008 (2008 Effect) ตกลง 62 เปอร์เซนต์ เป็นวงจรของความเสียหาย ระหว่างปี 2008-2010 มีประเทศต่างๆเข้าโครงการณ์ไอเอ็มเอฟมากกว่า 10 ประเทศ
    .
    [​IMG]
    ทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศของประเทศต่างๆ ไม่ได้เป็นของประเทศใด แต่เป็นของกองทุนโลก ที่ผัดเปลี่ยนหมุนเวียน เคลื่อนย้ายไปปั่นตลาดหุ้นและตลาดเงินในประเทศต่างๆ ทำให้ทุนสำรองรวมสูงขึ้นตลอดเวลา ทำให้ทุกวันนี้เงินทุนท่วมโลกแล้ว จุดเริ่มต้นเงินทุนท่วมโลกเริ่มใรปี 2000 คือในปีที่ตลาดหุ้นแนสแดกซ์ของอเมริกาพังทลายนั่นเอง
    .
    [​IMG]
    ประเทศจีนมีการผูกค่าเงินไว้ตายตัว เมื่อตลาดหุ้นแนสแดกซ์พังทลาย ทำให้หยวนอ่อนผิดจริงทันที กองทุนโลกกระโจนเข้ามาซื้อเงินหยวนอย่างสนุกสนาน กระทั่งกลางปี 2005 เงินหยวนหมดไปจากธนาคารกลางของจีน จึงยอมให้เงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้น กองทุนโลกหลังจากได้รับชัยชนะจากการไล่ซื้อเงินหยวนแล้ว จึงหันมาไล่ซื้อตลาดหุ้นจีน
    ตลาดหุ้นจีนเริ่มสูงขึ้นช่วงกลางปี 2005 และสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพิ่มขึ้น 500 เปอร์เซนต์ในช่วงเวลา 2 ปีครึ่ง แล้วก็พังทลายลง(ถูกทุบลง)พร้อมกันกับทั้งโลกในปี 2008 พังทลายลง 72 เปอร์เซนต์
    จีนพยายามจะกลับไปผูกค่าเงินไว้อีก ในช่วงกลางปี 2008 แต่แล้วก็ไปไม่รอด มีการไล่ซื้อหยวน จนหยวนต้องแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในกลางปี 2010
    .
    [​IMG]
    เงินทุนเริ่มไหลเข้าประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญในปี 2002-2003 หลังการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ในปี 2000 ประกอบกับประเทศไทยมีการเปิดตลาดอนุพันธ์ สินค้าตลาดอนุพันธ์คือการซื้อขายตัวเลข ไม่มีสินค้าจริง ไม่มีโกดังในการเก็บสินค้า สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง กำไรแน่นอน และกำไรดีมาก ใช้เงินประกันสัญญาเพียว 10 เปอร์เซนต์ แต่ซื้อขายสินค้าในตลาดอนุพันธ์ได้ 100 เปอร์เซนต์ ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าอย่างรุนแรง เมื่อปี 2008 ที่ตลาดหุ้นโลกพังทลาย พบว่าเงินทุนไหลออก สังเกตได้ที่ทุนสำรองปี 2008 ตกลง
    .
    [​IMG]
    เงินทุนไหลเข้า ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ปี 2001 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 45.80 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ปลายเดือนตุลาคม 2010 อยู่ที่ 29.80 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การเป็นราคาทองคำอนุพันธ์ การขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ก็ทำให้บาทแข็งค่าขึ้นด้วย
    .
    j[​IMG]peg9
    เงินได้ท่วมระบบตั้งแต่ปี 2006 สังเกตได้จากวันที่ 19 ธ.ค.06 ได้มีการออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์เงินทุนไหลเข้า ออกมาตรการได้วันเดียว ตลาดหุ้นพังทลายลง 108 จุด ต้องยกเลิกมาตรการดังกล่าวในวันเดียว บอกว่าเฉพาะการลงทุนหุ้น ไม่มีการกันสำรอง ก็เข้าทางกองทุนโลกโดยตรง
    .
    [​IMG]
    การพังทลายของตลาดหุ้นยุโรประหว่างปลายปี 2007 ถึงต้นปี 2009 ผู้เขียนเรียกว่า 2008 Effect ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐแข็งขึ้นตลอดปี 2008
    .
    [​IMG]
    การพังทลายของตลาดหุ้นยุโรประหว่างปลายปี 2007 ถึงต้นปี 2009 ผู้เขียนเรียกว่า 2008 Effect ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐแข็งขึ้นตลอดปี 2008
    .
    [​IMG]
    ตลาดหุ้นเวียตนาม เป็นตลาดเปิดใหม่ ตลาดหุ้นเปิดใหม่จะถูกลากขึ้นไปเชือดแบบนี้ทุกประเทศ ส่งผลให้ค่าเงินดองพังทลายตามมา เป็นรูปแบบเดียว(Patterns) กับที่เกิดขึ้นกับทุกประเทศ
    .
    [​IMG]
    ปี 2008 มี 4 ประเทศ ตลาดหุ้นพังทลาย ค่าเงินท้องถิ่นพังทลาย ทุนสำรองหมดประเทศ ต้องเข้ารับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ
    .
    [​IMG]
    ตลาดหุ้นประเทศเกิดเก่า ก็พังทลายเช่นกัน ปี 2009 – 2010 มีอีกประมาณ 10 ประเทศต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟ
    ธนาคารกลางยุโรปอัดฉีดเงิน 7.5 แสนล้านล้านเหรียญ ไอเอ็มเอฟช่วย 2.5 แสนล้านเหรียญ แก่สถาบันการเงินที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง
    .
    [​IMG]
    ตลาดหุ้นไทยเปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการปี 2518 ถูกลากไปเชือดในช่วงแรกเช่นเดียวกัน มีการลดค่าเงินบาท ลดแล้ว ลดอีก และต้องเข้าไอเอ็มเอฟเป็นครั้งแรก
    เมื่อก่อนไม่มีตลาดหุ้น ไม่เคยต้องเข้าเอ็มเอฟ พอเปิดตลาดหุ้นไม่กี่ปี ต้องเข้าไอเอ็มเอฟ
    กิจการของของ 25 ไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ 25 แห่ง ถูกธปท.เข้าควบกิจการ(ยึด) รู้จักกันในชื่อ ฑโครงการณ์ 4 เมษา
    ตลาดหุ้นคือต้นเหตุ การผันผวนของทุนสำรองฯ สภาพคล่อง ค่าเงิน อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ และการล้มละลายชาติ

    [​IMG]
    หลังต้องเข้าไอเอ็มเอฟ ครั้งแรก มีการออกเครื่องมือที่ขาดความเข้าใจ มาแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ คือ “กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน” ส่งผลให้เกิดความล่มจมของประเทศชาติแบบสุดกู่ในเวลาต่อมา เมื่อตลาดหุ้นพังทลายในปี 2537 ทำให้สภาพคล่องหดหาย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูอัดฉีดสภาพคล่องให้สถาบันที่ขาดสภาพคล่องแบบบ้าเลือด ตัวเลขทางบัญชี อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู สูงกว่า 30 เท่า ไอเอ็มเอฟบอก น้อยๆหน่อย
    มีการผูกค่าเงินบาทไว้ตายตัว เมื่อตลาดหุ้นตก ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งผิดจริง กองทุนโลกพากันถล่มขายบาทกันอย่างสนุกสนาน การนำ Maintenance และ Forced sell มาใช้ในตลาดหุ้นเมื่อปี 2536 ทำให้มีการบังคับขายหุ้นนักลงทุน ซ้ำเติมให้หุ้นตกหนักลงไปอีก
    กระทั่งทุนสำรองแทบหมด จึงยอมแพ้ ยอมจำนน ยอมยกธงขาว ยอมลอยค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 สิ้นเดือนกรกฎาคม 2540 ทุนสำรองเหลือเพียง 1,144 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยที่ก่อนหน้านั้นมีสูงถึง 39,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
    วิกฤติเศรษฐกิจ มีต้นเหตุจากตลาดทุน แล้วก็มาจบลงที่ตลาดเงินตราและตลาดเงินทุกรอบ
    ธปท.โง่มาก ธปท.โง่เอง เกิดความเสียทางเศรษฐกิจรุนแรงสุดกู่เป็นประวัติการณ์ถึง 4 เรื่อง
    ไม่สามารถปกป้อง ค่าเงินบาทไว้ได้ (1)
    ไม่สามารถฟื้นฟู สถาบันการเงินตามปรัชญาที่ตั้งไว้ได้ (2)
    ก่อให้เกิดหนี้สาธารณะกว่า 1.44 ล้านล้านบาท (3)
    สมบัติของประเทศตกเป็นของต่างชาติ แทบหมดประเทศ (4)
    .
    [​IMG]
    ตลาดหุ้นตกแรงระหว่างปี 2537 – 2539 ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย เห็นได้จากดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล 1 วัน มีแนวโน้มสูงขึ้น ยิ่งผูกค่าเงินไว้ด้วย ยิ่งมีการเทขายบาทออกมามาก คนซื้อดอลลาร์บาท ได้กำไรกันทั่วหน้า
    กระทั่งมีการลอยค่าเงินบาทวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รวมทั้งมีการปิดสถาบันการเงิน ทำให้ระบบการเงินเกิดอัมพาต สภาพคล่องเสียหายหนัก ดอกเบี้ยสูงถึง 26 – 27 เปอร์เซ็นต์
    เงินทุนเริ่มไหลเข้าต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อลอยค่าเงินบาท จนถึงทุกวันนี้ และสภาพคล่องเริ่มท่วมประเทศตั้งแต่ปี 2549 แล้ว
    .
    [​IMG]
    รัฐบาลอภิสิทธิ์ เพิ่มสินค้าตลาดอนุพันธ์ คือเปิดซื้อขายทองคำลาวงหน้า 50 บาท และ 10 บาท มีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% 2 ครั้ง รวมทั้งตลาดหุ้นออกไปโร้ดโชว์ต่างประเทศบ่อยครั้งมาก ทำให้ทุนสำรองสูงมากขึ้นไปอีก เงินท่วมประเทศมากขึ้นไปอีก
    .
    [​IMG]
    รัฐบาลอภิสิทธิ์ เพิ่มสินค้าตลาดอนุพันธ์ คือเปิดซื้อขายทองคำลาวงหน้า 50 บาท และ 10 บาท มีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% 2 ครั้ง รวมทั้งตลาดหุ้นออกไปโร้ดโชว์ต่างประเทศบ่อยครั้งมาก ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    .
    [​IMG]
    การขึ้นเพิ่มสินค้า ทองคำล่วงหน้า 10 บาท สินค้าอนุพันธ์ 3 สิงหาคม 2553 แสดงให้เห็นว่าบาทแกว่งค่าแข็งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
    .
    j[​IMG]
    การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2553 แสดงให้เห็นว่าบาทแข็งค่าขึ้น
    .
    [​IMG]
    ความเสียหายที่ต่อเนื่อง ทำให้สินทรัพย์ของคนไทยตกเป็นของกองทุนหลายสัญชาติจนแทบหมดน ธนาคารกสิกรไทยเหลือเป็นของคนไทย 4.89 เปอร์เซ็นต์
    .
    [​IMG]
    ประเทศไทย เกิดการเพิ่มความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมากขึ้น ตลอดเวลา ú.<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    เป็นความเข้าใจผิดสุดกู่ ที่อาร์เจนตินา มีการผูกค่าเงินไว้ที่ 1 เปโซ เท่ากับ 1 ดอลลาร์ ส่งผลให้อาร์เจนไตน์เปโซแข็งผิดจริง ทำให้มีการเทขายอาร์เจนตินาเปโซ เงินทุนไหลออกจากอาร์เจนตินา กระทั่งต้องเข้าไอเอ็มเอฟ และลอยค่าเงินต้นปี 2002 ทุกวันนี้อาร์เจนไตน์เปโซก็ยังอ่อนค่าลงต่อเนื่อง มันคือภาวะยากจนลงของอาร์เจนตินา
    .
    ดูกราฟที่ใหญ่ขึ้น
    http://picasaweb.google.com/lh/sred...39969&authkey=Gv1sRgCI7_5pjLx4_MCw&feat=email
    .
    .........................................................................
    ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...