วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 10 ตุลาคม 2004.

แท็ก: แก้ไข
  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,687
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    [​IMG]

    วิชชา ๘ พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

    1 วิปัสสนาญาณ
    [๑๓๑] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอ
    ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโต
    ขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสดไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็น
    ธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน
    แก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว
    สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบ
    แก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์
    แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดง
    ขาวหรือนวลร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม
    น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
    เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย
    กระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็น
    ประจักษ์ข้อก่อนๆ.

    2 มโนมยิทธิญาณ
    [๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด
    แต่ใจ คือนิรมิตรกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
    อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
    ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
    จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
    ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
    โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
    น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
    ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.


    3 อิทธิวิธญาณ
    [๑๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุ
    อิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏ
    ก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง
    แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
    เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ
    ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อ
    ผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้
    อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงา
    ชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือ
    ของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณ
    ชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
    ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
    เพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
    ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้
    ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป
    ในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
    ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดี
    ยิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.


    4 ทิพยโสตญาณ
    [๑๓๔] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อม
    ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุ อัน
    บริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียง
    กลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึง
    เข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง
    เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
    ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
    เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล
    และใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่
    เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.


    5 เจโตปริยญาณ
    [๑๓๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ
    เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิต
    ปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ
    ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจาก
    โมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็น
    มหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่น
    ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ
    ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น
    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตน
    ในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้า
    ไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
    จิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ
    ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
    หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจาก
    โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรรคต จิตมีจิตอื่น
    ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ
    ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
    หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
    ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.


    6 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    [๑๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
    สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ
    ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
    วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
    มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
    อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น
    มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
    อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
    พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจาก
    บ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม
    เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น
    ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้าน
    นั้นเราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้น
    มาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
    จิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้
    หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
    สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
    ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมาก
    บ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
    เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น
    แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่อนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
    ทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม
    ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร
    นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ข้อก่อนๆ.


    7 จุตูปปาตญาณ
    [๑๓๗] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของ
    สัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
    ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง จักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
    ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
    เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อม
    เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
    ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย
    เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
    เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
    ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนปราสาท
    ตั้งอยู่ ณ ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางพระนคร บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น จะพึงเห็นหมู่ชน
    กำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังสัญจรเป็นแถวอยู่ในถนนบ้าง นั่งอยู่ที่ทาง
    ๓ แพร่งท่ามกลางพระนครบ้าง เขาจะพึงรู้ว่า คนเหล่านี้เข้าไปสู่เรือน เหล่านี้ออกจากเรือน
    เหล่านี้สัญจรเป็นแถวอยู่ในถนน เหล่านี้นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางพระนคร ฉันใด ภิกษุ
    ก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่
    การงานตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย
    เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
    ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
    สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ
    ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย
    ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน
    พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
    กายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
    เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ
    ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ
    สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.


    8 อาสวักขยญาณ
    [๑๓๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
    ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้
    อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อม
    หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า
    หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
    เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขาใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว
    บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและ
    ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำ เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า
    สระน้ำนี้ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง
    ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้กำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น ดังนี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
    แล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน
    ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
    นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวสมุทัย
    นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ
    แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติ
    สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็น
    ประจักษ์ข้อก่อนๆ ดูกรมหาบพิตร ก็สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่า
    สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อนี้ ย่อมไม่มี.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Star Platinum

    Star Platinum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    357
    ค่าพลัง:
    +1,152
    วิชชาแปด

    1.วิปัสสนา_าณ _าณอันนับเข้าในวิปัสสนา
    2.มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ
    3.อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้
    4.ทิพโสต หูทิพย์
    5.เจโตปริย_าณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น
    6.ปุพเพนิวาสานุสสติ_าณ ระลึกชาติได้
    7.ทิพยจักษุ ตาทิพย์
    8.อาสวักขย_าณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

    วิชชาทั้งแปดนี้ ตรงกันข้ามกับอวิชชาแปด คือ
    1.ไม่รู้จักทุกข์
    2.ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งทุกข์
    3.ไม่รู้จักความดับทุกข์
    4.ไม่รู้จักทางถึงความดับทุกข์
    5.ไม่รู้จักอดีต
    6.ไม่รู้จักอนาคต
    7.ไม่รู้จักทั้งอดีตและอนาคต
    8.ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท คือไม่รู้จักกำหนดสภาวะน้ันๆ?โดยความเป็นเหตุเป็นผลแห่งกันและกันสืบเนื่องกันไป ดุจลูกโซ่เกี่ยวกันเป็นสายฉะนั้น

    อ้างอิง: พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ.วิชชาแปดประการ.พิมพ์ครั้งที่สอง.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2542: 6-7

    เดี๋ยวมาโพสต์ต่อ ขอตัวไปอ่านหนังสือสอบก่อน
     
  3. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    :)
     
  4. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ความเห็นส่วนตัว ข้อหนึ่ง จึงน่าจะเป็นอารมณ์วิปัสสนาญาณเทียม ๆ
    ความเป็นจริงแล้ว จะเรียกว่าญาณ ก็ไม่น่าจะถูก เพราะวิชชาแปด
    ไล่มาจากข้อหนึ่งถึงข้อที่เจ็ด เป็นการบรรลุฌานโลกียฌานเท่านั้นเอง
    จึงเห็นว่าเท่าที่ปฏิบัติกันอยู่มีการคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงมาก สำคัญว่าฌาน เป็น ญาณ ผู้เขียนได้ยินเรื่องในทำนองนี้มาบ่อยครั้ง น้องๆจะคุยกันได้ญาณนั้นญาณนี้ นี่ไม่เท่ากับสำคัญตัวผิดไป ว่าตนเองบรรลุเป็นพระอริยบุคคล ไปเรียบร้อยส่วนข้อแปด อันนี้ได้หมายถึง ท่านนั้นพ้นไปจาก โลกียฌาน
    ย่อมทรงอารมณ์โลกุตตระฌานได้ ด้วยปัญญาญาณอันแท้จริง
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    วิชชา ๘ พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
     
  6. pukub

    pukub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2014
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +219
    มาจาก สามัญสูตรผลนะครับ
    เป็นบทที่พระเจ้าอชาตศัตรู ถามถึงว่ามีธรรมมะ ที่มันเห็นชัด ๆ ในปัจจุบันไหม
    คือ เท่าที่ฟังมามี แต่คุยเรื่อง โลกนี้ โลกหน้า จักรวาล และก็อะไรก็ไม่รู้ที่มันแสนจะไกลตัว
    มันมีอะไรที่มันเห็นชัด ๆ ใกล้ตัวบ้างไหม ที่มันเป็น สามัญผลที่เห็นประจักษ์

    หลังจากถามนักบวชนิกายดัง 6 นิกาย ก็ไม่ได้คำตอบตรงกับใจ
    สุดท้ายจึงเข้าไปหาพระพุทธเจ้า

    พระพุทธเจ้าก็ค่อย ๆ ตอบ จากง่าย ๆ ไปก่อน
    หลังจากนั้นก็ลึกขึ้นเรื่อย ๆ จนแจงได้แอกมาเป็นหลายหน้ากระดาษ
    หลังจบบทสนทนาแล้ว พระอชาตศัตรู ประกาศขอเป็นอุบาสก
    และสารภาพว่า ตนเคยหลงผิด อยากเป็นใหญ่ เลยทำให้ฆ่าบิดา (พระเจ้าพิมพิสาร)

    หลังจากที่พระเจ้าอชาตศัตรูไป พระพุทธเจ้าก็กล่าวกับพระสงฆ์ว่า
    แท้จริงแล้ว ถ้าพระอชาตศัตรูไม่ฆ่าบิดามาก่อน หากได้ฟังบทนี้แล้ว
    จะสำเร็จโสดาบันผลทันที แต่เพราะฆ่าบิดา เลยทำให้ได้แค่เป็นอุบาสก

    เรื่องนี้ น่าสนใจมากครับ หากได้อ่านทั้งหมดตั้งแต่ต้น
    เป็นพระสูตร top 1 ใน 10 พระสูตรที่ต้องอ่าน ในความเห็นผม

     
  7. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +385
    พระพุทธองค์ ทรงอธิบายไว้ชัด ครบถ้วนแล้วนี่ครับ คุณ Sriaraya5 เห็นว่าผิดตรงไหน ช่วยอธิบายทีครับ
     
  8. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    คนหมู่ มากเข้าใจ ว่าตนได้ญาณ แต่แล้วก็เสื่อม
    เพราะเป็นแค่ ฌาน ยังก้าวไปไม่ถึงญาณเพราะแปลคำสั่งสอน
    ของพระพุทธเจ้าไม่ออก จึงไม่มีญาณของความหลุดพ้น
     
  9. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    <iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/jKLWftuRBU0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  10. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +385


    พระสูตรนี้ ถ้าพระเจ้าอชาตศัตรู ไม่ทำกรรมหนัก ซะก่อน
    ฟังจบก็จะบรรลุธรรมทันที
    งั้นพระสูตรที่เห็นอยู่นี้ ก็พาให้บรรลุธรรมได้จริง

    คีย์เวิร์ดสำคัญ จุดสำคัญอยู่ตรงนี้

    "ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
    เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมสด
    ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย
    กระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้
    เนื่องอยู่ในกายนี้ "


    จังหวะที่จิตตั้งมั่นเป็นกลางแล้วน้อมเข้าไปเห็น "ตามธรรม"
    ก็บรรลุธรรมกันได้ไม่ยาก
    แต่พระเจ้าอชาตศัตรู "จิตไม่อาจตั้งมั่นได้" เพราะได้ทำอนันตริยกรรม
    แม้ได้ยินได้ฟัง ถึงเนื้อธรรมที่พาให้น้อมไปเห็น
    ความไม่เที่ยงของกาย ใจ ก็ตาม

    ไม่ต่างจากคนสมัยนี้
    จะหาฟัง "คำของพระพุทธเจ้า" นั้นง่ายมาก
    มีน้อยคน ที่บรรลุธรรม จากการฟัง

    ความสำคัญ จึงมาอยู่ที่
    จิตคนยุคนี้ "ไม่ตั้งมั่นพอ"
    คราวนี้ ครูบาอาจารย์ ทำไง

    ก็บอกให้ลูกศิษย์ "ไปทำสมาธิ"
    จุดประสงค์เดียว คือให้จิต "ตั้งมั่น"
    แต่นักภาวนา ที่ห่างครู ไม่รู้ทาง
    แล้วศิษย์นักภาวนา ก็พากันตีจุดประสงค์กันผิด
    คิดว่า "ต้องสงบ เป็นฌาน"

    ให้ความสำคัญผิดที่ แล้วก็มาน้อยเนื้อต่ำใจ
    "ว่าตนไร้วาสนา"

    ธรรมะจริงๆมันง่ายแบบเหลือเชื่อ
    มันมีแค่
    "จิตตั้งมั่น เป็นกลาง"
    "น้อมเข้าไปดูธรรมชาติภายใน"
    "ก็จะเห็นความ ไม่เที่ยง เดี๋ยวมี เดี๋ยวหมด เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ"
    "จนคลายความยึด"
    "หมดความยึดถือก็หมดทุกข์"

    โดยไม่ต้องไปวิ่งไปฟังคำพยากรณ์ อาวุธวิเศษ จิตสัมผัส
    ไม่ต้องไปหาอาจารย์ทางภพภูมิ หรือ ทายพลังงานในกระโหลก
    และไม่ใช่ของการที่ต้องเข้าไปเห็น กิริยาจิต เห็นจิตหุบเข้า ขยายออก
    ให้ละเอียดละออ แต่อย่างใด ก็สามารถพ้นทุกข์กันไปได้
    อันนี้ผมฟันธง
     
  11. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +385
    แก้ซะจิครับ ว่าเข้าใจผิด พระสูตรข้างต้น ที่คุณ Sriaraya5 เข้าใจผิดว่า พระสูตรข้างต้นเป็น "อารมณ์วิปัสสนาญาณเทียม" จริงๆเป็นพระสูตร ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ไม่ใช่ของคนหมู่มากที่ไหน

    เข้าใจผิดแล้วแก้ไขได้คร้าาาบบบ
     
  12. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    พระไตรปิฎก ได้ยินมาฝรั่งเชื่อ 5 % เพราะเค้ามองในทำนองเทพนิยาย
    สำหรับผมเลือกที่จะเชื่อว่า จิตทำให้หลุดพ้นได้ละฤทธิ์มานานแล้ว
    จนมี ผู้ไม่รู้จักคำว่าอริยฤทธิ์ ที่ทำให้ทุกสิ่งอย่างเป็นอนัตตาแล้วไม่เสื่อมถอยกลับคืนมาได้อีกแล้ว มิจฉาจารย์ลวงหลอกไปกล่าวตู่ว่าเราไม่มีฤทธิ์คุณยังไม่เข้าใจอีกหรือ จิตที่เป็นวิปัสสนาญาณมรรคสมังคลีไปแล้ววิชชาอาสวักขยญาณ ญาณที่รู้ว่าละกิเลสได้แล้วเมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติ
    สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
     
  13. moonoiija

    moonoiija เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2014
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +198
  14. นายมาก

    นายมาก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +13
    วิชชา๘ เป็นเหมือนสภาวะของมิติที่๕เลยครับ หรือมันคือการเข้าสู่มิติที่๕
    มีกายเป็นพลังงาน ได้ยินเสียงที่กายเนื้อธรรมดาไม่ได้ยิน ทำในสิ่งที่การเนื้อทำไม่ได้ หลุดจากขอบเขตของเวลา เห็นอดีต เห็นการเกิดดับ โอ้ววว
    มโน มโน มโน :eek:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2015
  15. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +385
    มันไม่ได้เกี่ยวว่า ฝรั่งเชื่อกี่เปอร์เซ็นต์ แต่มันเกี่ยวที่ว่า
    คุณ Sriaraya5 เห็นว่าพระสูตรที่พระพุทธองค์ ตรัสไว้ ผิดตรงไหน
    เพราะที่เห็นทั้งความหมายและอุปมา สมบูรณ์หมด

    การที่คุณ Sriaraya5 กล่าวว่า
    ข้อหนึ่ง "เป็นอารมณ์วิปัสสนาญาณเทียม ๆ"
    เห็นว่าไม่ตรงกับความจริง
    อยากถามคุณ Sriaraya5 ว่า ที่ว่า "ของจริงๆ"ต้องเป็นอย่างไรกันครับ
     
  16. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    เอาเป็นว่าถ้าผู้เจริญพระวิปัสสนา ยังไม่ข้ามโครตปุถุชนคนหนาไปได้
    วิปัสสนาก็ยังเป็นของเทียมเท็จ ท่านเปรียบโคตรภูญาณเปรียบเหมือนการโหนเชือกข้ามเหว จากฝั่งหนึ่งเป็นปุถุชนไปสู่อีกฝั่งที่เป็นภูมิของพระอริยะซึ่ง ณ จุดของโคตรภู เปรียบเสมือนเหวนั้น คือ ณ จุดนั้นถ้าข้ามโคตรภูญาณไปไม่ได้
    เชือกก็เวี่ยงกลับมาที่ฝั่งปุถุชนคนหนาแน่นไปด้วยกิเลส
     
  17. อณูธาตุ

    อณูธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +191
    วิปัสสนาญาณ
    ภิกษุบรรลุปฐมฌาน ... บรรลุทุติยฌาน ... บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌานอยู่ เธอนั่ง
    แผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
    ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอด
    ศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ
    แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรพราหมณ์ ภิกษุนั้นเมื่อจิต
    เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น
    ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล
    มีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง
    ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มิอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัย
    เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์
    แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดง
    ขาวหรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษผู้มีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า
    แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว
    สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวลร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้น ฉันใด ภิกษุก็
    ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่
    การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสะ เธอย่อมรู้ชัด
    อย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วย
    ข้าวสุกและขนมสดไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย และกระจัดกระจายเป็นธรรมดา
    และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญา
    ของเธอประการหนึ่ง.
    .
    .
    .
    จบโสณทัณฑสูตร ที่ ๔.
    -----------------------------------------------------

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๒๘๓๓ - ๓๔๗๗. หน้าที่ ๑๑๘ - ๑๔๔.
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    พระสูตรสำคัญ ที่ยืนยันพระพุทธองค์ทรงบรรลุ ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙
    แล้วจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้แล้ว
    "ดูกรอานนท์ ก็เรายังเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙
    ประการนี้ โดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ไม่ได้เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า
    ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
    ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรอานนท์
    ก็เมื่อใดแล เราเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ โดย
    อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตร-
    สัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
    พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ก็แหละญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า
    เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ"

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
     
  18. patdorn

    patdorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +227
    แม้นหากได้วิชชา3,และผู้ได้ปัญญวิมุติจักช่วยสืบต่อพระศาสนาในการสืบสายปฏิบัติเป็นพุบูชา ,ส่วนผู้ได้วิชชา8 ด้วยวาสนาปัญญาบารมีอันยิ่ง,อนุโมทนาสาธุครับ
     
  19. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +385
    ทำไมยกธรรมตนเหมือนพระพุทธองค์ล่ะครับ

    1 วิปัสสนาญาณ
    [๑๓๑] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอ
    ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโต
    ขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสดไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็น
    ธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน
    แก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว
    สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบ
    แก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์
    แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดง
    ขาวหรือนวลร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม
    น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
    เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย
    กระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็น
    ประจักษ์ข้อก่อนๆ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กุมภาพันธ์ 2015
  20. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ธรรมะมีอยู่ก่อนแล้ว
    ภูมิธรรมของพระศาสดาจะคล้ายกัน ซึ่งต่างกับภูมิธรรมของ
    พระสาวกอย่างสิ้นเชิง ภูมิพระศาสดาเรียนวิชาเป็นครูสอนโลก
    ผิดเป็นครู ผิดเป็นครู
     

แชร์หน้านี้

Loading...