พญานาคราช 4 ตระกูล นครคำชะโนด

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Ajarn Pithak, 23 พฤศจิกายน 2009.

  1. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    มาดิน้องรุ้ง ยินดีต้อนรับ
     
  2. angeltk229

    angeltk229 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,584
    ค่าพลัง:
    +6,912
    ไปเมื่อไหร่อ่ะน้องรุ่ง นัดกันไปป่ะแล้วไปเกี่ยวพี่ยาทีเดียวเลย

    พี่เก็บน้ำมนต์ไว้ให้น้องหลายวัดแล้วนะ ว่างๆนัดเจอกันแล้วมารับน้ำมนต์นะ หรือจะให้พี่ฝากน้องเทียนไปดี

    แต่แวะมาเจอกันก็ดี พาพี่ทัวร์กทม.เหมือนน้องเทียนอ่ะ
     
  3. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    พึ่งมาเห็นว่าคุณก็เข้ากระทู้นี้เหมือนกัน ยินดีต้อนรับนะค่ะ
     
  4. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    น้อมอนุโมทนาบุญกุศลกับน้องเทียนด้วยทุกประการจ๊ะ ขอให้เจริญยิ่งๆขึ้นไปทั้งทางโลกและทางธรรม โอกาสดีๆคงได้เจอกันอีกนะจ๊ะ ที่ไหนเดี๋ยวก็รู้ เห็นด้วยกับน้องเทียน พี่อุ้มก็เชื่อตามหลวงปู่ว่าศีลอยู่ที่เจตนาตัวเดียว บางครั้งเรากังวลกันมากไป ถามว่ารักษาศีลให้ได้บริสุทธิ์แม้จะเป็นเพียงข้อเดียวก็ยังถือว่าบริสุทธิ์นะ พี่อุ้มเคยกังวลเรื่องศีลมากจนกลายเป็นวิตกจริต แต่พอมาอ่านเจอ จริงๆแล้วศีลเขาก็มีไว้เพื่อให้เราระมัดระวังตัว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2010
  5. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    บอมสวัสดีจ๊ะ หายไปนานเลยนะ พี่อุ้มก็ไม่ค่อยได้เข้ามา ปล่อยน้องยาเฝ้าบ้านอยู่คนเดียว ถ้าว่างคุยเอ็มกับพี่อุ้มด้วยจ้้า รักและคิดถึงเสมอ หอยเป่าหื้อ
     
  6. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    โมทนาบุญทุกบุญที่น้องรุ้งได้ทำมาดีแล้วจ๊ะ พี่อุ้มตั้งใจว่าจะไปช่วงออกพรรษา แต่กำลังดูอยู่ว่าจะติดเรื่องงานหรือป่าว
     
  7. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    ยารู้จักอิ่งอ้อยป่ะ พี่อุ้มได้มาสี่ตัว ไว้จะรองเลี้ยงดู อิอิอิ กินเจหรือป่าวน้องรัก พี่อุ้มกินเจนะ แต่เมื่อวันก่อนไปวัดหลวงปู่มาที่เพชรบูรณ์หาไรกินไม่ได้ เจกระเด็น ตอนนี้มาเริ่มกิงใหม่ อิอิอิ
     
  8. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    น้องยา ออนเอ็มเข้ามาคุยกับพี่อุ้มหน่อยนะจ๊ะ หายไปไหนอ่ะ ทักไปก็ไม่ทักตอบ เรื่องเบี้ยหอยจะว่าไงอ่ะ
     
  9. Natthakorn

    Natthakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +7,078
    คงไม่ได้ไปอุดร พรุ่งนี้คงกลับสกลนครครับ

    ขอบพระคุณพี่ปราญช์มากครับ

    พี่ยาอยู่อำเภออะไรเหรอครับ

    ขอแวะมากระทู้นี้บ่อยๆก้แล้วกันนะครับ
     
  10. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    น้องรุ้ง พี่ยาเป็นคนหนองหานอุดรธานี แต่มาอยู่ในเมืองอุดร อะครับ และยินดีต้อนรับนะน้องรุ้ง
     
  11. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    บริโภคอย่างมีสติในดินแดนแห่งพระเจ้า

    ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 5 ในทางพุทธศาสนามีเนื้อความเกี่ยวกับการบริโภคอย่างมีสติ เราต้องบริโภคในวิถีที่จะไม่รับเอาสิ่งที่เป็นพิษหรือเป็นโทษ เช่น ความกลัวและความโกรธ เข้าสู่ตัวเรา


    เราทุกคนอยู่ใน สถานการณ์ที่ยากลำบาก เราพบว่าตัวเราถูกสร้างขึ้นจากกระบวนการผลิตที่ไม่มีสติและการบริโภคอย่าง ไม่มีสติ เราได้สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความรุนแรง ความเกลียด ความแบ่งแยก และความสิ้นหวัง ทุกวันนี้ความรุนแรงมีอยู่ทุกหนแห่ง ไม่เว้นแม้แต่ในครอบครัว เยาวชนของเรามีพฤติกรรมที่รุนแรง โดยที่เหล่าคุณครูต่างไม่รู้ว่าจะช่วยนักเรียนให้รับมือกับความโกรธและความ กลัวในตัวพวกเขาได้อย่างไร

    เรากำลังสร้างความรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติของเรา ขณะนี้เรากำลังเผชิญหน้ากับสภาวะโลกร้อนและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แม้แต่ดินแดนแห่งพระเจ้ายังเปลี่ยนแปลง แม้แต่ดินแดนบริสุทธ์แห่งพระพุทธองค์ก็เป็นอนิจจัง

    เมื่อเรามองอย่าง ลึกซึ้งเข้าไปในตัวเอง เราสามารถเห็นถึงองค์ประกอบต่างๆ ในดินแดนแห่งพระเจ้าซึ่งมีอยู่ ณ ที่นี่ ขณะนี้ ต้นสนซึ่งยืนตระหง่านอยู่บนภูเขานั้นช่างงดงาม มั่นคง และเขียวขจี สำหรับฉันต้นสนเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนแห่งพระเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนบริสุทธ์แห่งพระพุทธองค์ สำหรับฉัน ดินแดนแห่งพระเจ้าหรือดินแดนบริสุทธิ์แห่งพระพุทธองค์ไม่ใช่ความคิดที่เพ้อ ฝัน แต่คือความจริง ลูกที่น่ารักของเธอ ผู้ที่มีรอยยิ้มสดใสมอบให้แก่เธอก็เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนแห่งพระเจ้า เธอเองก็เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนแห่งพระเจ้าด้วยเช่นเดียวกัน แต่เป็นเพราะเธอไม่รู้วิธีที่จะดูแลดินแดนแห่งพระเจ้า เธอจึงยังคงทำร้ายดินแดนอยู่ ดินแดนแห่งพระเจ้านั้นเป็นดั่งของขวัญ หากเธอเปี่ยมไปด้วยสติและสมาธิ เธอจะสามารถสัมผัสกับดินแดนบริสุทธิ์แห่งพระพุทธองค์ได้ทันที ณ ที่นี่ ขณะนี้

    ในคำสอนของพระเยซู มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับชาวนาคนหนึ่งซึ่งได้ค้นพบขุมทรัพย์ในผืนดินเล็กๆ (แมทธิว 13:44-46) หลังจากการค้นพบขุมทรัพย์นั้น เขาได้แบ่งปันผืนดินชิ้นอื่นๆ ที่เขาเป็นเจ้าของให้กับผู้อื่น และเก็บไว้เพียงแต่ผืนดินที่มีขุมทรัพย์ นั่นหมายถึง เมื่อเธอมีสิ่งที่มีค่าอยู่กับตัวแล้ว เธอจะไม่ต้องการเป็นเจ้าของสิ่งอื่นใดอีก ด้วยการฝึกปฏิบัติอย่างมีสติ สมาธิ และ ปัญญา เราจะตระหนักได้ถึงความสุข

    เมื่อ เธอใช้ชีวิตด้วยพลังแห่งสติและสมาธิอย่างเต็มเปี่ยม ทุกย่างก้าวของเธอจะนำพาเธอไปสู่ดินแดนแห่งพระเจ้าหรือดินแดนบริสุทธิ์แห่ง พระพุทธองค์ การปฏิบัติซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากครูบาอาจารย์ของเราจะนำเราไปสู่ขุม ทรัพย์ เราไม่จำเป็นต้องวิ่งไล่ตามชื่อเสียง ความร่ำรวย อำนาจ หรือ กามารมณ์

    หากเราสามารถตระหนักได้ว่าแม่น้ำที่สวยงาม นั้นเป็นสมบัติของดินแดนแห่งพระเจ้า เราจะทำอย่างดีที่สุดเพื่อที่จะรักษาแม่น้ำ และไม่ปล่อยให้แม่น้ำได้รับมลพิษ หากเราตระหนักได้ว่าโลกใบนี้เป็นสมบัติของดินแดนแห่งพระเจ้า เราจะทะนุถนอมและรักษาโลกใบนี้ เพื่อที่เราจะได้เบิกบานกับโลกใบนี้ไปได้นานๆ และเยาวชนลูกหลานของพวกเราก็จะมีโอกาสได้เพลิดเพลินกับโลกใบนี้ด้วย

    พลัง แห่งสติช่วยให้เราตระหนักรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา วิถีการบริโภคและการผลิตอาหารอาจเป็นวิถีที่โหดร้าย เรากำลังรับประทานแม่ของเรา พ่อของเรา ลูกหลานของเรา เรากำลังบริโภคโลกของเราอยู่ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าหากเราลดจำนวนการบริโภคเนื้อสัตว์ลงสักครึ่งหนึ่ง นั่นก็เพียงพอแล้วสำหรับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับโลกของเราใน ปัจจุบันนี้




    ธรรมบรรยายโดย ท่านติช นัท ฮันห์
     
  12. Ooood_sai

    Ooood_sai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2008
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +113
    เมื่อวานนี้ 16 ต.ค. 53 ผมและชาวคณะ soluna-mania ได้เดินทางไปทำบุญถวายสังฆทานที่วัดถ้ำสาริกา จ.นครนายก มาครับ เลยนำบุญมาฝากทุก ๆ ท่านกัน มีภาพบรรยากาศมาให้ดูกันด้วยครับ

    ฝนตกพร่ำ ๆ ตลอดการเดินทางเลยครับ ผมก็นำชุดสังฆทานกับชุดยาไป ส่วนพี่ชายผมเอารองเท้าไปถวายด้วย หลวงพ่อท่านได้ใช้สวมใส่เลย พี่ชายผมดีใจมากครับ บอกว่า เห็นประโยชน์ทันที :cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1551.JPG
      IMG_1551.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66.4 KB
      เปิดดู:
      57
    • IMG_1552.JPG
      IMG_1552.JPG
      ขนาดไฟล์:
      92.1 KB
      เปิดดู:
      60
    • IMG_1559.JPG
      IMG_1559.JPG
      ขนาดไฟล์:
      90.9 KB
      เปิดดู:
      56
    • IMG_1563.JPG
      IMG_1563.JPG
      ขนาดไฟล์:
      85.1 KB
      เปิดดู:
      53
    • IMG_1564.JPG
      IMG_1564.JPG
      ขนาดไฟล์:
      73.6 KB
      เปิดดู:
      61
    • IMG_1565.JPG
      IMG_1565.JPG
      ขนาดไฟล์:
      97.2 KB
      เปิดดู:
      69
    • IMG_1566.JPG
      IMG_1566.JPG
      ขนาดไฟล์:
      94.6 KB
      เปิดดู:
      64
    • IMG_1578.JPG
      IMG_1578.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78.3 KB
      เปิดดู:
      61
    • IMG_0230.JPG
      IMG_0230.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78.8 KB
      เปิดดู:
      76
    • IMG_0234.JPG
      IMG_0234.JPG
      ขนาดไฟล์:
      84.2 KB
      เปิดดู:
      60
  13. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    อนุโมทนาบุญ ครับ ผมก็ไปวันที่ 17 ต.ค. 53 มาอะที่จังหวัดนครนายก วัดหลวงพ่อปากแดง และไปเล่นน้ำที่วังตะไคร้ด้วยอะครับ
     
  14. Ooood_sai

    Ooood_sai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2008
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +113
    ผมไม่ได้เล่นน้ำอ่ะครับ แต่ไปนั่งเล่นหน้าเขื่อน ... เขื่อนปิดครับ ไม่ได้ปล่อยน้ำมา ที่วังตะไคร้น้ำเยอะไหมครับ ..
     
  15. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126

    น้ำเยอะครับ เช่าห่วงยางเล่นล่องแก่งเลย อิิอิอิ สนุกดีอะครับ คนเยอะมากๆเลย
     
  16. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    วิธีปฏิบัติเมื่อถูกด่าว่า
    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ffffcc"><td valign="center"> </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top">

    ปัญหา
    เมื่อเราถูกด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย เราควรจะปฏิบัติอย่างไร?



    พุทธดำรัสตอบ

    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่น
    จะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ
    คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑
    กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑
    กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑
    มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สามควรก็ตาม
    จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม
    จะกล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคายก็ตาม
    จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม
    จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะภายในกล่าวก็ตาม
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
    จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาลามก
    เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตา
    ไม่มีโทสะในภายในเราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
    และจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้
    ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้นดังนี้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายถึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แลฯ ”


    กกจูปมสูตร มู. ม. (๒๖๗)
    ตบ. ๑๒ : ๒๕๕-๒๕๖ ตท.๑๒ : ๒๐๖-๒๐๗
    ตอ. MLS. I : ๑๖๓-๑๖๔


    ที่มา...เนื้อหานำมาจากหนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
    โดย รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  17. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    “เขาด่าแล้วไม่โกรธ ว่ายากแล้ว เขาชมแล้วไม่ยิ้ม ยากยิ่งกว่า"
    <table align="center" border="1" cellpadding="0" width="725"><tbody><tr><td bgcolor="#ffffff"> <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ffffcc"><td valign="center"> </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top">

    "หญ้า แม้เป็นพืชต้นเล็กๆ แต่เพราะมีความทนทรหด จึงสามารถแพร่พันธุ์ไปได้ทั่วโลกฉันใด คนเราแม้กำลังทรัพย์ กำลังความรู้ ความสามารถจะยังน้อย แต่ถ้ามีความอดทนแล้ว ย่อมสามารถฝึกฝนตนเอง ให้ประสบความสุขความสำเร็จในชีวิตได้ฉันนั้น"

    ความอดทนคืออะไร ?
    ความ อดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม
    งาน ทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้ คุณธรรมอันนั้นคือ ขันติ
    ถ้าขาดขันติเสียแล้ว จะไม่มีงานชิ้นใดสำเร็จได้เลย เพราะขันติเป็นคุณธรราสำหรับทั้งต่อต้านความท้อถอยหดหู่ ขับเคลื่อนเร่งเร้าให้เกิดความขยัน และทำให้เห็นอุปสรรคต่างๆ เป็นเครื่องท้าทายความสามารถ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของงานทุกชิ้น ทั้งทางโลกและทางธรรม คืออนุสาวรีย์ของขันติทั้งสิ้น
    โดยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ยกเว้นปัญญาแล้ว เราสรรเสริญว่าขันติเป็นคุณธรรมอย่างยิ่ง” ลักษณะความอดทนที่ถูกต้อง

    ๑.มีความอดกลั้น คือ เมื่อถูกคนพาลด่า ก็ทำราวกับว่าไม่ได้ยิน ทำหูเหมือนหูกระทะ เมื่อเห็นอาการยั่วยุ ก็ทำราวกับว่าไม่ได้เห็น ทำตาเหมือนตาไม้ไผ่ ไม่สนใจใยดี ไม่ปล่อยใจให้เศร้าหมองไปด้วย ใส่ใจ สนใจ แต่ในเรื่องที่จะทำความเจริญให้แก่ตนเอง เช่น เจริญศีล สมาธิ ปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    ๒.เป็นผู้ไม่ดุร้าย คือ สามารถข่มความโกรธไว้ได้ ไม่โกรธ ไม่ทำร้ายทำอันตรายด้วยอำนาจแห่งความโกธนั้น ผู้ที่โกรธง่ายแสดงว่ายังขาดความอดทน มีคำตรัสของท้าวสักกะ เป็นข้อเตือนใจอยู่ว่า “ผู้ใดโกรธตอบผู้ที่โกรธก่อนแล้ว ผู้นั้นกลับเป็นคนเลวกว่า ผู้ที่โกรธก่อน ผู้ที่ไม่โกรธต่อบุคคลผู้กำลังโกรธอยู่ ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ชนะสงครามอันชนะได้ยากยิ่ง”

    ๓.ไม่ปลูกน้ำตาให้แก่ใครๆ คือ ไม่ก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือเจ็บแค้นใจจนน้ำตาไหลด้วยอำนาจความเกรี้ยวกราดของเรา

    ๔.มีใจเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ คือ มีปีติอิ่มเอิบใจเสมอๆ ไม่พยาบาท ไม่โทษฟ้า โทษฝน โทษเทวดา โทษโชคชะตา หรือโทษใครๆ ทั้งนั้น พยายามอดทนทำการงานทุกอย่างด้วยใจเบิกบาน

    ลักษณะความอดทนนั้น โบราณท่านสอนลูกหลานไว้ย่อๆ ว่า “ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง นอนนั่งสบาย” คน บางคนขี้เกียจทำงาน บางคนขี้เกียจเรียนหนังสือ บางคนเกะกะเกเร พอมีผู้ว่ากล่าวตักเตือนก็เฉยเสีย แล้วบอกว่าตนเองกำลังบำเพ็ญขันติบารมี อย่างนี้เป็นการเข้าใจผิด ตีความหมายของขันติผิดไป ขันติไม่ได้หมายถึงการตกอยู่ในสภาพใดก็ทนอยู่อย่างนั้น

    “พวกที่จน ก็ทนจนต่อไป ไม่ขวนขวายทำมาหากิน จัดเป็นพวกตายด้าน”
    “พวกที่โง่ ก็ทนโง่ไป ใครสอนให้ก็ไม่เอา จัดเป็นพวก ดื้อด้าน”
    “พวกที่ชั่ว แล้วก็ชั่วอีก ใครห้ามก็ไม่ฟัง จัดเป็นพวก ดื้อดึง”
    ลักษณะที่สำคัญยิ่งของขันติ คือ ตลอดเวลาที่อดทนอยู่นั้น จะต้องมีใจผ่องใส ไม่เศร้าหมอง

    เราสรุปลักษณะของขันติโดยย่อ ได้ดังนี้
    ๑.อดทนถอนตัวหรือหลีกเลี่ยงจากความชั่วให้ได้
    ๒.อดทนทำความดีต่อไป
    ๓.อดทนรักษาใจไว้ไม่ให้เศร้าหมอง


    ประเภทของความอดทน
    ความอดทนแบ่งตามเหตุที่มากระทบได้เป็น ๔ประเภทคือ

    ๑.อดทนต่อความลำบากตรากตรำ เป็นการอดทนต่อสภาพธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศ ความหนาว ความร้อน ฝนตก แดดออก ฯลฯ ก็อดทนทำงานเรื่อยไป ไม่ใช่เอาแต่โทษเทวดาฟ้าดิน หรืออ้างเหตุเหล่านี้แล้วไม่ทำงาน

    ๒.อดทนต่อทุกขเวทนา เป็นการอดทนต่อการเจ็บไข้ได้ป่วยความไม่สบายกายของเราเอง ความปวด ความเมื่อย ผู้ที่ขาดความอดทนประเภทนี้ เวลาเจ็บป่วย จะร้องครวญคราง พร่ำเพ้อรำพัน หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ผู้รักษาพยาบาลทำอะไรไม่ทันใจหรือไม่ถูกใจ ก็โกรธง่ายพวกนี้จึงต้องป่วยเป็น ๒ เท่า คือ นอกจากจะป่วยกายที่เป็นอยู่แล้ว ยังต้องป่วยใจแถมเข้าไปด้วย ทำตัวเป็นที่น่าเบื่อหน่ายแก่ชนทั้งหลาย

    ๓.อดทนต่อความเจ็บใจ เป็นการอดทนต่อความโกรธ ความไม่พอใจ ความขัดใจ อันเกิดจากคำพูดที่ไม่ชอบใจ กิริยามารยาทที่ไม่งาม การบีบคั้นทั้งจากผู้บังคับบัญชาและลูกน้อง ความอยุติธรรมต่างๆ ในสังคม ระบบงานต่างๆ ที่ไม่คล่องตัว ฯลฯ
    คนทั้ง หลายในโลกแตกต่างกันมากโดยอัธยาสัยใจคอ โอกาสที่จะได้อย่างใจเรานั้นอย่าพึงคิด เพราะฉะนั้น เมื่อเริ่มเข้าหมู่คนหรือมีคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ให้เตรียมขันติไว้ต่อต้านความเจ็บใจ

    ๔.อดทนต่ออำนาจกิเลส เป็นการอดทนต่ออารมณ์อันน่าใคร่น่าเพลิดเพลินใจ อดทนต่อสิ่งที่เราอยากทำ แต่ไม่สมควรทำ เช่น อดทน ไม่เที่ยวเตร่ ไม่เล่นการพนัน ไม่เสพสิ่งเสพย์ติด ไม่รับสินบน ไม่คอรัปชั่น ไม่ผิดลูกเมียเขา ไม่เห่อยศ ไม่บ้าอำนาจ ไม่ขี้โอ่ ไม่ขี้อวด เป็นต้น

    การอดทนข้อนี้ทำได้ยากที่สุด โบราณเปรียบไว้ว่า “เขาด่าแล้วไม่โกรธ ว่ายากแล้ว เขาชมแล้วไม่ยิ้ม ยากยิ่งกว่า”

    วิธีฝึกให้มีความอดทน
    ๑.ต้อง คำนึงถึงหิริโอตตัปปะให้มาก เมื่อมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอย่างเต็มที่ ความอดทนย่อมจะเกิดขึ้น ดังตัวอย่างในเรื่องของพระเตมีย์ใบ้
    เมื่อ ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ มีอยู่ชาติหนึ่ง พระองค์เกิดเป็นโอรสกษัตริย์นามว่าพระเตมีย์ ขณะอายุได้ ๖-๗ ขวบ ได้เห็นพระราชบิดาสั่งประหารโจรโดยใช้ไฟครอกให้ตาย ด้วยบุญบารมีที่ทำมาดีแล้ว ทำให้พระเตมีย์ระลึกชาติได้ว่าภพในอดีตพระองค์ก็เคยเป็นกษัตริย์ และก็เคยสั่งประหารโจร ทำให้ต้องตกนรกอยู่ช้านาน จึงคิดว่า ถ้าชาตินี้เราต้องเป็นกษัตริย์อีก ก็ต้องฆ่าโจรอีก แล้วก็จะตกนรกอีก
    ตั้งแต่ วันนั้นมา พระเตมีย์จึงแกล้งทำเป็นใบ้ ทำเป็นอ่อนเปลี้ยเสียขาไม่ขยับเขื้อนร่างกายพระราชบิดาจะเอาขนมเอาของเล่นมา ล่อ ก็ไม่สนใจ จะเอามดมาไต่ ไรมากัด เอาไฟมาเผารอบตัวให้ร้อน เอาช้างมาทำท่าจะแทงก็เฉย ครั้งถึงวัยหนุ่ม จะเอาสาวๆ สวยๆ มาล่อ ก็เฉยเพราะคำนึงถึงภัยในนรก หิริโอตตัปปะเกิดขึ้นเต็มที่ จึงมีความอดทนอยู่ได้
    นานวันเข้าพระราชบิดาเห็นว่า ถ้าเอาพระเตมีย์ไว้ก็จะเป็นกาลกิณีแก่บ้านเมือง จึงสั่งให้คนนำไปประหารเสียนอกเมือง เมื่อออกมาพ้นเมืองแล้ว พระเตมีย์ก็แสดงตัวว่าไม่ได้พิการแต่อย่างใด มีพละกำลังสมบูรณ์พร้อม แล้วก็ออกบวช ต่อมาพระราชบิดา ญาติพี่น้อง ประชาชนก็ได้ออกบวชตามไปด้วยและได้สำเร็จฌานสมาบัติกันเป็นจำนวนมาก

    ๒.ต้อง รู้จักเชิดอารมณ์ที่มากระทบนั้นให้สูงขึ้น คือ นึกเสียว่า ที่เขาทำแก่เราอย่างนั้นน่ะดีแล้ว เช่น เขาด่า ก็นึกเสียว่าดีกว่าเขาตี เขาตีก็นึกเสียว่าดีกว่าเขาฆ่า เมียที่มีชู้ยังดีกว่าเมียที่ฆ่าผัว ผัวมีเมียน้อยก็ยังดีกว่าผัวที่ฆ่าเมียเพราะเห็นแก่หญิงอื่น ถ้าเปรียบกับการชกมวย การสู้แบบนี้ก็คือการหลบหมัดของคู่ต่อสู้ โดยวิธีหมอบลงต่ำให้หมัดเขาคร่อมหัวเราไปเสีย เราไม่เจ็บตัว ตัวอย่างในเรื่องนี้ ดูได้จากพระปุณณะเถระ
    พระปุณณะเดิมเป็นชาวสุนาปรันตะ ไปค้าขายที่เมืองสาวัตถีได้ฟังเทศน์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงออกบวช
    ครั้น บวชแล้วการทำสมาธิภาวนาไม่ได้ผล เพราะไม่คุ้นกับสถานที่ ท่านคิดว่าภูมิอากาศที่บ้านเดิมของท่านเหมาะกับตัวท่านมากกว่า จึงทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รับสั่งถามว่า
    “เธอแน่ใจหรือ ปุณณะ, คนชาวสุนาปรันตะนั้นดุร้ายมากนักทั้งหยาบคายด้วย เธอจะทนไหวหรือ”
    “ไหวพระเจ้าข้า”
    “นี่ปุณณะ ถ้าคนพวกนั้นเขาด่าเธอ เธอจะมีอุบายอย่างไร”
    “ข้าพเจ้าก็จะคิดว่าถึงเขาจะด่าก็ยังดีกว่าเขาตบต่อยด้วยมือพระเจ้าข้า”
    “ถ้าเผื่อเขาต่อยเอาล่ะ ปุณณะ”
    “ก็ยังดีพระเจ้าข้า ดีกว่าเขาเอาก้อนดินข้วางเอา”
    “ก็ถ้าเขาเอาก้อนดินขว้างเอาล่ะ”
    “ข้าพระองค์ก็จะคิดว่า ก็ยังดีพระเจ้าข้า ดีกว่าเขาเอาไม้ตะพดตีเอา”
    “เออ ถ้าเผื่อเขาหวดด้วยตะพดล่ะ”
    “ก็ยังดีพระเจ้าค่ะ ดีกว่าถูกเขาแทงหรือฟันด้วยหอกดาบ”
    “เอาล่ะ ถ้าเผื่อคนพวกนั้นเขาจะฆ่าเธอด้วยหอกด้วยดาบล่ะ ปุณณะ”
    “ข้าพระองค์ก็จะคิดว่า มันก็เป็นการดีเหมือนกัน พระเจ้าข้า”
    “ดีอย่างไร ปุณณะ”
    “ก็ คนบางพวกที่คิดอยากตาย ยังต้องเสียเวลาเที่ยวแสวงหาศัสตราวุธมาฆ่าตัวเอง แต่ข้าพระองค์ มีโชคดีกว่าคนพวกนั้น ไม่ต้องเสียเวลาไปเที่ยวหาศัสตราวุธอย่างเขา”
    “ดีมาก ปุณณะ เธอคิดได้ดีมาก เป็นอันตกลง เราอนุญาตให้เธอไปพำนักทำความเพียร ที่ตำบลสุนาปรันตะได้”
    พระปุณณะกลับไปเมืองสุนาปรันตะแล้ว ทำความเพียร ในไม่ช้าใจก็หยุดนิ่ง เข้าถึงพระธรรมกายไปตามลำดับ จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    นี่คือเรื่องของพระปุณณะ นักอดทนตัวอย่าง ซึ่งอดทนได้โดยวิธีเชิดอารมณ์ที่มากระทบนั้นให้สูงขึ้น

    ๓.ต้อง ฝึกสมาธิมากๆ เพราะทั้งขันติและสมาธิเป็นคุณธรรมที่เกื้อหนุนกัน ขันติจะหนักแน่นก็ต้องมีสมาธิมารองรับ สมาธิจะก้าวหน้าก็ต้องมีขันติเป็นพื้นฐาน ขันติอุปมาเหมือนมือซ้าย สมาธิอุปมาเหมือนมือขวา จะล้างมือ มือทั้งสองข้างจะต้องช่วยกันล้าง จึงจะสะอาดดี
    มีตัวอย่างของผู้มีความอดทนเป็นเลิศอีกท่านหนึ่ง คือ พระโสมสนาคเถระ
    พระ โสมสนาคเถระ เป็นพระที่ทำสมาธิจนสามารถระลึกชาติได้แต่ยังไม่หมดกิเลส วันหนึ่งท่านนั่งสมาธิอยู่กลางแจ้ง พอถึงตอนเที่ยงแดดส่องเหงื่อไหลท่วมตัวท่าน พวก
    ลูกศิษย์จึงเรียนท่าน ว่า “ท่านขอรับ นิมนต์ท่านนั่งในที่ร่มเถิด อากาศเย็นดี” พระเถระกล่าวตอบว่า “คุณ ฉันนั่งในที่นี้ เพราะกลัวต่อความร้อนนั่นเอง” แล้วมานั่งพิจารณาอเวจีมหานรกเรื่อยไป เพราะเคยได้ตกนรกมาหลายชาติ เห็นว่าความร้อนในอเวจีที่เคยตก ร้อนกว่านี้หลายร้อยหลายพันเท่า ท่านจึงไม่ลุกหนี ตั้งใจทำสมาธิต่อไป จนในที่สุดได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
    พวกเราก็มีข้อคิดเตือนใจอยู่ว่า
    “ที่อ้างร้อนนัก หนาวนัก ขี้เกียจภาวนา ระวัง จะไปร้อนหมกไหม้ในอเวจี หนาวเสียดกระดูกในโลกันต์”

    อานิสงส์การมีความอดทน
    ๑.ทำให้กุศลธรรมทุกชนิดเจริญขึ้นได้
    ๒.ทำให้เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
    ๓.ทำให้ตัดรากเหง้าแห่งความชั่วทั้งหลายได้
    ๔.ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ทุกอิริยาบท
    ๕.ชื่อว่าได้เครื่องประดับอันประเสริฐของนักปราชญ์
    ๖.ทำให้ศีลและสมาธิตั้งมั่น
    ๗.ทำให้ได้พรหมวิหารโดยง่าย
    ๘.ทำ ให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย “บุคคลอดทนต่อคำของผู้สูงกว่าได้ เพราะความกลัว อดทนถ้อยคำของผู้เสมอกันได้ เพราะเหตุแห่งความแข่งดี ส่วนผู้ใดในโลกนี้ อดทนต่อคำของคนเลวกว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า ความอดทนนั้นสูงสุด”

    (พุทธพจน์) มีความอดทน


    “เขาด่าแล้วไม่โกรธ ว่ายากแล้ว เขาชมแล้วไม่ยิ้ม ยากยิ่งกว่า"</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  18. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    อย่าโกรธเมื่อใครติเตียนพระพุทธเจ้า
    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr align="center" bgcolor="#ffffcc"><td valign="center"> </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    อย่าโกรธเมื่อใครติเตียนพระพุทธเจ้า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นอาจกล่าวติเตียนเรา
    ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์.
    ท่านทั้งหลายไม่พึงผูกอาฆาต ขุ่นเคือง ไม่พอใจในบุคคลเหล่านั้น.
    เพราะถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคือง
    หรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา
    ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์นั้น,
    อันตรายเพราะความโกรธเคืองนั้น ก็จะพึงเป็นของท่านทั้งหลายเอง.
    ถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคือง หรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา
    ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์
    จะรู้ได้ละหรือว่า คำกล่าวของคนเหล่าอื่นนั้น
    เป็นคำกล่าวที่ดี (สุภาษิต) หรือไม่ดี (ทุพภาษิต) ?
    "ไม่ทราบ พระเจ้าข้า."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงชี้แจง (คลี่คลาย) เรื่องที่ไม่เป็นจริง
    ให้เห็นว่าไม่เป็นจริง ในข้อที่คนเหล่าอื่นกล่าวติเตียนเรา
    ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ ให้เขาเห็นว่าข้อนั้นไม่จริง ข้อนั้นไม่แท้
    ข้อนั้นไม่มีในพวกเรา ข้อนั้นไม่ปรากฏในพวกเรา ดังนี้."

    พรหมชาลสูตร ๙/๓


    อย่าดีใจตื่นเต้นเมื่อใครชมเชยพระพุทธเจ้า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นอาจกล่าวชมเชยเรา
    ชมเชยพระธรรม หรือชมเชยพระสงฆ์
    ท่านทั้งหลายไม่พึงแสดงความชื่นชมโสมนัส
    หรือความรู้สึกตื่นเต้นในบุคคลเหล่านั้น
    เพราะถ้าท่านทั้งหลายมีความชื่นชมโสมนัส
    มีความตื่นเต้นในบุคคลที่กล่าวชมเชยเรา
    ชมเชยพระธรรม หรือชมเชยพระสงฆ์
    อันตรายเพราะเหตุนั้น ก็จะพึงเป็นของท่านทั้งหลายเอง.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงรับรองเรื่องที่เป็นจริง ให้เห็นว่าเป็นจริง
    ในข้อที่คนเหล่าอื่นกล่าวชมเชยเรา ชมเชยพระธรรม หรือชมเชยพระสงฆ์
    ให้เขาเห็นว่าข้อนั้นจริง ข้อนั้นแท้
    ข้อนั้นมีในพวกเรา ข้อนั้นปรากฏในพวกเรา ดังนี้."

    พรหมชาลสูตร ๙/๔

    จากหนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
    ย่อความจากประไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม"
    โดยคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ


    จาก...ลานธรรมจักร
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  19. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    มาแจมด้วยคนครับ.....
     
  20. พี่ทิดศิษย์มีครู

    พี่ทิดศิษย์มีครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2008
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +2,794
    ใกล้ถึงวันออกพรรษาแล้ว เหล่าบรรดาผู้มีเมตตาจิตที่นี่คงถึงวันชุมนุมกันของบรรดาเหล่าผู้บำเพ็ญพรต อาตมาขออนุโมทนาใว้ล่วงหน้าจ้ะ

    ธ.โชติกะภิกขุ

    ฝากใว้กับภาพดวงธรรมปรากฏขณะอฐิฐานจิตส่งวิญญาณโยมมารดาเมื่อวันที่๓ต.ค.ที่ผ่านมาขณะท่าเพิ่งหมดลมหายใจออกไปจากกรรมฐาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...