ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039

    ขอกราบโมทนาบุญทั้งหมดทั้งมวลกับทุกๆท่านด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ผิดวัตถุประสงค์จริงๆ ครับ เพียงแต่เห็นมา เลยนำมาลงประดับความรู้ไว้ เพื่อให้รู้ว่าของดีคู่แผ่นดินยังมีอยู่ แต่หลายครั้ง ในงานบุญของทุนนิธิฯ ผมก็จะมีพระเครื่องสกุลต่างๆ ของวังหน้า ที่ผ่านการตรวจทานเรียบร้อยทั้งนอกทั้งในแล้ว นำติดมือไปแจกกันเสมอ และให้ฟรีๆ โดยไม่คิดมูลค่า โดยงานที่ผ่านมาก็หยิบพระพิมพ์สมเด็จองค์น้อยที่เรียกว่าพระสมเด็จพิมพ์ "แป้งกระแจะ หรือ กระแจะจันทร์" ติดมือไป สัก 50 องค์ แจกในงานไปสักสี่สิบกว่าองค์ คงเหลืออยู่นิดนึง เก็บไว้เป็นขวัญถุงไว้แจกลูกหลานต่อไป พระพิมพ์สกุลนี้ ในท่าพระจันทร์ผมเดินเก็บหมดเพราะเห็นแล้วว่ามีรังใหญ่อยู่เจ้าเดียว องค์ละ 5.-เอามาที 400 องค์ ของดีทั้งนั้น สัมผัสแรกก็บอกได้เลยว่าเป็นของดีเลยคว้าหมดนี่ก็แจกฟรีไปเป็นร้อยองค์แล้ว เพราะเห็นท่านกลิ้งอยู่ที่กระบะข้างทางเดินริมฟุตบาทท่าพระจันทร์ ชายกระโปรงบ้าง ชายกางเกงคนเดินถนนบ้างระท่านไปหมด สงสารท่าน บารมีจิตท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โต) แท้ๆ ปล่อยทิ้งขว้างไว้เฉยๆ ขนาดท่าน อ.ประถมฯ ท่านอาจารย์ผู้เฒ่า ทีเชี่ยวกรากทั้งการสร้าง ทั้งตรวจ ทั้งเก็บพระพิมพ์ของหลวงปู่ใหญ่ หรือหลวงปู่โลกอุดร รวมถึงพระพิมพ์สกุลต่างๆ ของท่านเจ้าประคุณฯ ยังสั่งผมว่า "ปู่ขอไว้แจกลูกหลาน 20 องค์น๊ะ" หลังจากที่ผมนำพระฯ ไปมอบให้ ท่านถึงกับนำพระพิมพ์สมเด็จที่สวยมากเท่าที่ผมเคยพบมา เป็นพิมพ์อัศนีฐานพระมามอบตอบแทนไว้ 1 องค์ทีเดียว (พระพิมพ์อัศนี ดูรายละเอียดได้ในบทคัดย่อของกระทู้นี้ตามลายเซ็นต์ของคุณ narongwate ครับ) ดังนั้น ถึงแม้อยู่ต่างจังหวัด ไม่ไกลหรอกครับ วิธีการมีอยู่แล้วในเรื่องการทำบุญในกระทู้นี้ แต่หากอยากได้พระดีก็ลองหาเช่าพระในหมวดนี้ดูก็ได้ครับ อย่างเช่นพระสมเด็จองค์ปฐมของวัดโขงขาว ที่ขอบารมีสมเด็จองค์ปฐมท่านมาเสกให้โดยท่านหลวงพ่อฤาษีฯ นั่นปะไร องค์เดียวก็ใช้ได้แล้ว ใครจะเสกได้ในโลกนี้ ผมยังหาเช่าในกระทู้ต่างๆ ในหมวดพระเครื่องนี้เลย หากมีโอกาสมาร่วมกิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ครับ มาแต่ตัวเปล่า pm. มาบอกล่วงหน้าก่อน เดี๋ยวผมมีพระพิมพ์สมเด็จที่เสกโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ (โต) ที่นอกวงการมาตรฐานให้ 1 องค์ฟรีๆ เลยครับ หรือจะเอาหลวงปู่ทวดสร้างในสมัยวังหน้าก็ได้ เก่ากว่าพิธี 2497 ซะอีก แต่ขอโทษ สุดๆ สำหรับหลวงปู่ทวดจริงๆ นี่ก็เพิ่งส่งไปที่ รพ.ปัตตานี 5 องค์ เพราะ จนท.พยาบาลที่นั่นขอมา เวลาออกหน่วยนอก รพ. ออกทีไรเสียวทุกที เพราะเดือนก่อนหน้าไอ้พวกสัตว์นรกมันยิงตายคาชุดพยาบาลเลย ทั้งๆ ที่ จนท.คนนั้นท้องแก่แล้ว ทาง รพ.ปัตตานี จนท.ที่ดูแลการบริจาคของทุนนิธิฯ เลยขอมาไว้เผื่อเหนียว พระพิมพ์วังหน้าของผมมี ส่วนใหญ่แจกให้ฟรีครับ ยกเว้นวัดไหนลำบาก ถึงนำมาให้เช่าเพื่อสมทบทุนช่วยเหลือท่านในวันงานกันเท่านั้นองค์ละร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ห้าร้อยบ้าง อาศัยดูความหายากของพระพิมพ์แต่ละสกุลเป็นหลัก แค่อาศัยกระทู้นี้อยู่ในหมวดพระเครื่องฯ เค้าให้อยู่ก็บุญศรีษะ อยู่แล้วครับ

    พันวฤทธิ์
    27/7/53

    [​IMG]


    [​IMG]


    พระสมเด็จพิมพ์ "แป้งกระแจะ หรือแป้งกระแจะจันทร์"​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  3. nut1663

    nut1663 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    702
    ค่าพลัง:
    +2,691
    ขอบคุณมากครับ พี่ ที่กรุณาตอบโดยเมตตา ผมไม่ได้ติดตามอ่านกระทู้ โดยแยบคาย มาถึงก็ ขอ เกี่ยวกับ วัตถุมงคลเลย เกิดความโลภ อยากมีไว้บูชา เลยหุนหัน โพศกะทู้ โดยไม่รู้ความ ต้องขออภัย อีกครั้งครับ

    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ ครับ เมื่อถึงคราว คงได้มีโอกาศ ร่วมบุญ กับ พี่และคณะ
    ขอโมทนาบุญครับ
     
  4. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    วันนี้เวลา 12.53น. ผมได้ฝากเงินจำนวน 400บาทร่วมทำบุญสงฆ์อาพาธประจำเดือน สิงหาคม 53ครับ
     
  5. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840

    โมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
    ณรงเวทย์

    เสียดายรอบนี้กระผมไม่ได้ไปร่วมงานด้วยต้องเดินทางไปต่างจังหวัดครับ
     
  6. benyapa

    benyapa ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,088
    ค่าพลัง:
    +5,431
    ส่งใจไปร่วมอนุโมทนาแทนแล้วค่ะ สาธุค่ะ (ส่งปัจจัยร่วมบุญด้วยเช่นกันค่ะ แหะแหะ เด่วส่งแต่ใจไม่ส่งปัจจัย)
     
  7. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    วันนี้เพื่อนที่ทำงานฝากเงินมาทำบุญ 200
    โมทนาบุญกับคุณ Wirut Nuamnual ครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ
    ณรงเวทย์
     
  8. natta_pea

    natta_pea เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,515
    วันนี้เวลาประมาณบ่ายโมง ผมได้โอนเงิน 300.- บาท
    ร่วมทำบุญฯ ขอโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ
     
  9. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ปุจฉา - วิสัชนา
    จาก เว็บ yokeedam ครับ

    [​IMG]

    กราบนมัสการหลวงปู่คะ
    ถ้าเรามีความตั้งไว้ในใจว่าจะถือศีล5 ให้บริสุทธิ์นั้น ขอถามค่ะ
    - เราต้องอาราธนาศีล ทุกวันหรือเปล่าคะ
    - ถ้าในบางวันเราพบเจอกับคนที่ทำให้เราไม่พอใจ ( รู้สึกเบื่อหน่ายคนพวกนี้ม๊ากมาก )
    และเราบ่นกับคนอื่นเพื่อระบายอารมณ์ มันบาปหรือผิดศีลไหมคะ
    รบกวนหลวงปู่ด้วยค่ะ ?....... [​IMG]


    วิสัชนา
    [​IMG]ในชิ้นงานทุกๆชนิด.....ย่อมมีระดับของมัน.....แม้แต่ความบริสุทธิ์ของศีลก็เช่นกัน....
    ระดับแรก-เราต้องการมีชีวิตที่ดี-มีความเจริญในลาภ,ยศ,สรรเสริญ,สุข, แล้วจึงรักษาศีลอย่างเคร่งคัด.....เพื่อให้ประสบผลตามที่ปรารถนาเช่นนี้......ความบริสุทธิ์ในการรักษาศีลนั้นมีอยู่.....แต่ความบริสุทธิ์ทางใจยังขาดไป....คือไม่เป็นปกติโดยสิ้นเชิง....เพราะเป็นการรักศีลเพื่อให้เป็นไปตามปรารถนา เรียกว่าถือ "ศีลพรต"
    ระดับที่สอง.....เราเห็นว่าสัตว์โลกที่ไม่มีศีล.....แล้วทำให้โลกวุ่นวาย....เราจึงรักษาศีลเพื่อช่วยให้โลกบรรเทาความวุ่นวายลงบ้าง.....ความบริสุทธิ์ในการรักษาศีลนั้น...มันก็จะบริสุทธิ์อยู่ในวงกว้างของเจตนา...เหมือนคนที่เป็นฝีเต็มตัว....แต่มียารักษาให้มันหายได้เพียงหัวเดียว.....
    ระดับที่สาม....เราเห็นว่าการกกระทำทางกาย-วาจาและใจ-ให้ผิดไปจากศีล.....ทำให้เราต้องได้รับผลตอบแทนที่เป็นโทษอย่างแสนสาหัส แล้วเกิดความละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำบาปทั้งปวง....จึงหยุดการกระทำเหล่านั้นเสีย....แม้จะไม่สมาทานศีลสักข้อเดียว....ก็เท่ากับเรามีศีลสมบูรณ์แล้ว.....มันก็เป็นความบริสุทธิ์อีกระดับหนึ่ง...เหมือนกับการที่เห็นร่างกายของเราสกปรกมีกลิ่นสาป....แล้วเกิดความละอาย....จึงชำระสะสางร่างกายของเราให้สะอาดดังนี้....มันก็บริสุทธิ์เฉพาะส่วนภายนอกเท่านั้น....
    ระดับที่สี่....เราเห็นว่าชีวิตนี้แม้จะรักษาศีลกันให้บริสุทธิ์ทั้งโลก.....มันก็ยังทุกข์อยู่ดี...เพราะมีความเกิด-แก่-เจ็บ-และตายไป-เป็นเครื่องเบียดเบียนชีวิตของเรา เหมือนไฟที่ไหม้อยู่บนศีรษะตลอดเวลา.....จึงหยุดการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้ลำบาก โดยทั้งทางกำลังกาย-กำลังวาจา-กำลังจิต....นำตนเข้าสู่สายกลาง...แล้วเจริญสมณะธรรมเพื่อความพ้นทุกข์.....การนำตนให้อยู่ศีลอย่างนี้.....ก็เหมือนคนที่อาบน้ำชะระกายให้สะอาดแล้ว....ก็ชำระความสกปรกทางใจให้สะอาดด้วย....ก็นับว่าเป้นความบริสุทธิ์อีกระดับหนึ่ง
    ระดับที่ห้า....เมื่อบุคคลกำหนดรู้ในทุกข์และเห็นเหตุแห่งทุกข์แล้ว จึงกระทำการดับเหตุแห่งทุกข์ทั้งมวลได้แล้ว มีตนตั้งอยู่ในมัชฌิมามรรค ตามธรรมชาติของผู้หมดอาสวะกิเลศแล้ว...ไม่มีความอยากเป็นเครื่องกระตุ้นให้เกิดปรารถนาใดๆแล้ว.....แม้เขาจะมีทรัพย์เต็มโลก, มียศเต็มฟ้า, มีชื่อเสียงทั่วไตรภพ, มีความสุขเหนือพระเจ้าทั้งหมดในสากลโลก, แม้จะไม่นึกถึงศีลสักข้อเดียว...ก็นับว่าท่านมีศีลอันบริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง....เพราะหยุดการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นได้โดยเด็ดขาดแล้ว....ด้วยการละอาสวะกิเลสให้เป็นสมุทเฉทปะหาน ทำจิตให้พ้นไปจากกามสุข-และนามสุขทั้งปวงแล้ว....ศีลจึงเป็นผู้รักษาผู้บริสุทธิ์นี้ด้วยคุณของศีลเองแล้ว.....จึงบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงดังนี้....
    ด้วยเหตุนี้แล.....เธอก็สำรวจดูเจตนาของเธอเองนั่นแลว่า....เธอตั้งเป้าในการรักษาศีลเพื่อประการอันใด.....เธอก็จะมีศีลบริสุทธิ์อยู่ในระดับนั้น.....นั่นแล.....
    .........การที่เราไม่พอใจในอีกรูปแบบหนึ่งนั้น....ก็เพราะเรายังมีความพอใจอยู่ในอีกรูปแบบหนึ่งนั่นเอง......อันเป็นรากเหง้าที่ฝังติดอยู่ในสันดานของเราเอง.....และมาจากจุดกำเนิดของจิตที่ประกอบด้วยธาตุไม่ตรงกัน......อันอาการเช่นนี้.....แม้แต่พระอรหันต์สาวกก็ละไม่ได้เช่นกัน......ยกเว้นแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น......เราจึงควรอดทนหรือหลีกเร้นจากสิ่งที่ทำให้จิตกระเพื่อมเหล่ัา้นั้น...หรือเข้าสมถะสมาธิจนเป็นหัวตอ....ส่วนพระอรหันต์นั้น.....ก็เข้านิโรธะสมาบัติ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2010
  10. ไชยชุมพล

    ไชยชุมพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +1,873
    วันนี้ผมและภรรยา ได้โอนเงินร่วมทำบุญกับทุนนิธิ ประจำเดือนสิงหาคม จำนวน ๒๐๐.๐๒ บาทครับ (เป็นการโอนเงินแบบล่วงหน้า เงินจะเข้าบัญชีวันที่ ๓ สิงหาคม ช่วงเย็นครับ)

    อนุโมทนากับผู้ร่วมทำบุญทุกท่านครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2010
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    เป็นบทความที่น่าคิ

    สัมมาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่น ไม่ใช่ไปทำจิตให้นิ่ง ฉบับชาวบ้านอ่าน

    <!-- Main -->คงเป็นเวรกรรมของคนไทยกระมัง ที่คนไทยที่รักพุทธศาสนาเกือบทั้งประเทศ
    เข้าใจกันว่า การทำสมาธิแบบพระพุทธเจ้า คือ การทำให้จิตนิ่ง
    แล้วก็หลงไปทำสมาธิแบบจิตนิ่งกันอย่างแพร่หลาย

    เืมื่อเจ้าชายสิทธัตถะไปเรียนวิชากับฤาษี 2 ท่าน จนสำเร็จวิชาสมาบัติ 8
    วิชาที่เ้จ้าชายไปเรียนคือการเข้าฌานแบบทำจิตให้นิ่ง
    ต่อมาเจ้าชายก็ทรงปัญญา ทราบความจริงว่า วิชาแบบนี้ ไม่ใช่หนทางแห่ง
    การพ้นทุกข์ จึงได้ออกไปแสวงหาโมกขธรรมด้วยพระองค์เอง จนได้ตรัสรู้
    และค้นพบทางสายกลาง ดังมีปรากฏในพระไตรปิฏกให้อ่านกันในปัจจุบัน

    ท่านผู้อ่านครับ สมาธิแบบพุทธ คือ สมาธิที่จิตตั้งมั่น ไม่ใช่จิตนิ่งครับ

    ผมมีเขียนเรื่องนี้ไว้บ้างแล้วที่ เรื่อง
    สมาธิ ภาค 1


    BlogGang.com : : สัมมาสมาธิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2010
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    เปรียบเทียบการดูจิต กับ การดูภาพยนต์

    <!-- Main -->
    ทุกท่านที่เข้ามาอ่าน คงเคยดูภาพยนต์มาแล้ว

    ถ้าท่านเข้าไปชมภาพยนต์ในโรงภาพยนต์ บางท่านจะซื้อของขบเคี้ยว
    เข้าไปรับประทานด้วย บางท่านไม่ได้ไปดูคนเดียว จะไปดูกับเพื่อน กับแฟน
    ก็มี

    เมื่อภาพยนต์เริ่มฉาย ถ้าท่านสนใจในการดูภาพยนต์แต่ต้นเรื่อง
    ท่านจะเห็นตัวละครต่าง ๆ ที่โผล่หน้ากันเข้ามาในฉาก พอเปลี่ยนฉาก
    ก็เปลี่ยนตัวละครไปตามเรื่องราว ตัวละครบางตัว โผล่มาครั้งเดียว นิดเดียว
    ก็จะหายไป ซึ่งมักเป็นตัวประกอบเรื่อง ส่วน พระเอก นางเอก ผู้รู้าย นางอิจฉา พวกนี้จะโผล่มากฉากด้วยกัน เนื้อเรื่องในภาพยนต์ ก็จะมีหลากรสให้ท่านได้ชม ทั้งบู้ ทั้งรัก ทั้งขมขื่น ทั้งสดชื่นและอื่นๆ

    ตอนนี้ ผมจะเขียนเทียบกับการดูจิตใจ กับการดูภาพยนต์

    1.ถ้าท่านมัวแต่สนใจในการรับประทานขนม หรือ มัวคุยกับแฟน ในขณะดูภาพยนต์
    ท่านอาจพลาดฉากบางฉากในภาพยนต์ได้ในขณะนั้นไป
    จะเหมือนกับว่า ท่านกำลังสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เป็นพิเศษ
    ท่านก็จะพลาดการดูสภาพของจิตใจไปในขณะนั้น

    2.ในภาพยนต์ จะมีทั้งพระเอก นางเอก ผู้ร้าย นางอิจฉา
    ท่านเลือกดูไม่ได้ว่าต้องการดูเฉพาะนางเอก พระเอก เท่านั้น
    ส่วนผู้ร้าย นางอิจฉา ท่านไม่ต้องการดู เพราะไม่ชอบใจ
    จะเหมือนกับว่า จิตใจของท่านจะมีทั้งสิ่งที่เป็นกุศล เป็นอกุศล
    โผล่มาให้ท่านดู ท่านเลือกไม่ได้ว่า ต้องการเฉพาะสิ่งที่เป็นกุศล
    ไม่ต้องการสิ่งที่เป็นอกุศล

    3.ถ้าท่านสนใจดูภาพยนต์ ท่านจะเห็นฉากต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบ
    เปรียบกับการปฏิบัติได้ว่า ท่านเพียงมีสติสัมปชัญญะ ท่านก็จะเห็นสภาพของจิตใจ
    ได้โดยไม่พลาดไปจากสภาวะแห่งจิตใจ

    ******

    นี่เป็นข้อเปรียบเทียบอย่างง่าย ๆ และหยาบ ๆ เพื่อให้ท่านเห็นภาพว่า
    การดูจิตดูใจ นั้นอาการเป็นอย่างไร เพราะเหล่านักปฏิบัติใหม่ๆ ที่ยังไม่เข้าใจ
    จะดูจิตใจแล้วยังไม่ตรงทางนัก เช่น

    **ต้องการเห็นแต่สภาพจิตใจที่ดี จิตใจที่ไม่ดีไม่ต้องการจะเห็น
    พอจิตใจที่ดีปรากฏ ก็จะหลงดีใจที่ได้เห็น พอจิตใจที่ไม่ดีปรากฏ
    ก็ไม่ชอบใจในสิ่งที่ปรากฏ
    ซึ่งในแ่ง่การปฏิบัติ ท่านมีหน้าที่ตั้งสติสัมปชัญญะเท่านั้น และดูจิตใจ
    เท่าที่เห็นได้ ไม่ต้องไปพอใจหรือไม่พอใจในสิ่งที่ได้เห็นนั้น ๆ เลย

    ** ในการดูจิตใจก็เช่นกัน ถ้าท่านจ้องเข้าไปดูจิตใจตรง ๆ นี่เป็นการกดจิตใจให้นิ่ง
    จิตใจจะไม่แสดงตัวออกมาตามธรรมชาติของจิตใจ แต่จะกลายเป็น
    ว่าจิตใจมันนิ่ง ๆ สงบ ๆ แล้วท่านก็หลงดีใจว่า นี่ไง ฉันปฏิีับัีติดี
    วันนี้ใจนิ่งจริง ๆ แล้วก็มาเขียนแจกบุญในกระทู้ในห้องศาสนา
    คนก็เข้ามาเขียนอนุโมทนาไปกับท่าน ท่านก็เลยหลงไปอีกว่า
    ทำูถูกแล้ว ทำดีแล้ว เพรา่ะมีแต่คนมาอนุโมทนากันยกใหญ่

    อย่างนี้คือการหลงผิดในการปฏิบัติไปแล้วแแบบไม่รู้ตัวว่าผิด
    ซึ่งในการปฏิบัติที่ตรงทางนั้น ท่านจะต้องมีเพียงการมีสติสัมปชัญญะ
    ที่เป็นธรรมชาติ แล้วจิตใจจะทำงานตามหน้าที่ของเขาเอง
    แล้วท่านจะเห็นสภาวะจริง ๆ ของจิตใจได้ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
    ซึ่งแล้วแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้นว่าจิตจะปรุงแบบกุศลหรืออกุศล
    เพราะว่าท่านยังมีสติสัมปชัญญะที่ยังทรงตัวดีอยู่ต่างหาก ท่านจึงจะเห็น
    ิจิตใจได้ตามสภาพที่เป็นจริง

    นี่คือพื้่นฐานความเข้าใจสำหรับมือใหม่การปฏิบัติธรรมว่า การเดินทางให้ตรง
    ทางนั้นคืออย่างไร เมื่อท่านเข้าใจ ท่านจะได้ไม่หลงผิดในการปฏิบัติ
    เมื่อไม่หลงผิด การปฏิบัีติของท่านก็จะก้าวหน้าต่อไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ

    ***
    เรื่องท้ายบท

    ในมือใหม่การปฏิบัติธรรมนั้น ในขณะฝึกฝน ท่านสมควรฝึกฝนการสติสัมปชัญญะ
    หรือจะพูดแบบใช้ภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ว่า ฝึกให้มีความรู้สึกตัวที่ต่อเนื่อง ก็ได้
    นี่คือ พื้นฐานหลัก หรือ เทียบกับบ้าน ก็คือ เสาเข็มของตัวบ้านทีเดียว

    จิตใจทีมั่นคงตั้งมั่น คือ จิตใจที่ยังทรงตัวในสติสัมปชัญญะ ซึ่งเปรียบเหมือนเสาเข็มทีใหญ่
    แข็งแรง ทำให้บ้านแข็งแรงไปด้วย สามารถต้านทานลมพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหวได้

    การดูจิตดูใจ ด้วยกำลังแห่งสติสัมปชัญญะที่ไม่มั่นคง ก็เปรียบเหมือนบ้านที่เสาเข็มเล็ก
    ไม่มั่นลง ย่อมต้านทานภัยธรรมชาติไม่ได้ดีนัก จิตใจที่ไม่มั่นคงด้วยสติสัมปชัญญะ
    ก็เช่นกัน เพียงแต่ท่านถูกลมปากเข้ากระทบเบา ๆ ใจท่านก็หลุดจากสติสัมปชัญญะได้ง่าย ๆ

    เมื่อสติสัมปชัญญะหลุดไป ท่านก็ไม่อาจเห็นจิตเห็นใจได้ เมื่อท่านเห็นจิตเห็นใจไม่ได้
    ปีศาจร้ายก็เข้าสิงสู่จิตใจท่านทันที

    ส่วนการฝึกฝนนั้น ท่านจะฝึกฝนอย่างไร ขอให้เป็นการเพิ่มกำลังแห่ง
    สัมมาสติสัมมาสมาธิ ก็ใช่ได้ทั้งนั้น เลือกแบบที่ท่านถนัด แล้วท่านจะไปได้ดี

    หวังว่า ท่านคงเข้าใจว่า การปฏิบัตินั้นคือการปฏิบัติอย่างไร
     
  13. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    เมื่อสักครู่ผมและครอบครัวได้โอนเงินทำบุญ 200 บาทครับ
    ขอบพระคุณครับ
    มหาโมทนาบุญด้วยครับ
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เนื่องด้วยคุณพุทธันดร ได้มาหาผมที่ทำงาน และฝากเงินไว้กับผม บอกผมว่า ให้ร่วมทำบุญกับผม แล้วแต่ผมจะนำไปทำบุญอะไรก็สุดแล้วแต่ผม
    และน้องพรสว่าง_2008 ได้โทร.มาหาผมเมื่อคืนนี้ แจ้งว่า มีความประสงค์จะร่วมทำบุญกับทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร และ กองทุนหาพระถวายวัด

    วันนี้ ผมได้ดำเนินการโอนเงินร่วมทำบุญ ของคุณพุทธันดร และคุณพรสว่าง_2008 ดังนี้

    คุณพุทธันดร
    1.ร่วมทำบุญกับทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร
    2.ร่วมทำบุญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ
    3.ร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ (ในทุกๆเรื่อง) ที่ สนส.บ่อเงินบ่อทอง
    4.ร่วมทำบุญกับกองทุนหาพระถวายวัด

    คุณพรสว่าง_2008
    1.ร่วมทำบุญกับทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร
    2.ร่วมทำบุญกับกองทุนหาพระถวายวัด

    มาโมทนาบุญกับคุณพุทธันดร และคุณพรสว่าง_2008กันครับ

    โมทนาบุญทุกประการ



    http://palungjit.org/threads/พระวัง...โลกอุดรเสก-ถ้าต้องการที่จะได้.22445/page-1963
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ชีวิตคนเราเมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว มันสั้นนัก มีเกิดและดับเป็นธรรมดาโลก
    แต่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นี่ซิ
    มนุษย์ผู้มีปัญญาจึงควรที่จะดำรงชีวิตอย่างชาญฉลาด
    พระพุทธเจ้าเคยอบรมสั่งสอนมนุษย์ไว้ว่าทรัพย์สินที่พึงได้จากกา รประกอบกิจการงานต่างๆ
    นั้น ควรแบ่งออกเป็น 4 กองเท่าๆกัน

    - กองแรก เก็บสะสมไว้ใช้ยามขัดสน
    - กองสอง ใช้จ่ายเพื่อทดแทนผู้มีพระคุณ
    - กองสาม ใช้เพื่อความสุขส่วนตัว
    - กองสี่ ใช้เพื่อสร้างสรรค์ความดีงามให้แก่สังคม

    แล้วการทำงานของมนุษย์ล่ะหลายคนยังมัววุ่นแก่การทำงานโดยไม่ยอม แบ่งเวลา
    เหลียวหลังมองถึงบุคคลที่รักและห่วงใยตนเองเลยหรือ?
    มนุษย์บางคนทุ่มเวลาทั้งหมดให้แก่หน้าที่การงานอย่างเอาเป็นเอา ตาย
    พร้อมกับคิดว่าการกระทำดังนี้เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว
    แต่นั่นคือการกระทำที่โง่เขลาเป็นที่สุด ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่าๆกัน
    แต่ผู้ใดที่ทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะงานของตนเอง
    โดยไม่ยอมแบ่งปันเวลาให้แก่ผู้ใดแม้กระทั่งตัวเอง
    เป็นมนุษย์ที่เขลาเบาปัญญาที่สุด
    หากบริหารไม่ได้แม้กระทั่งเวลา 24 ชั่วโมงของตัวเองในแต่ละวันแล้ว
    มนุษย์ผู้นั้นจะบริหารอะไรได้
    ทำไมมนุษย์ผู้ชาญฉลาดจึงไม่แบ่งปันเวลาให้เสมือนหนึ่ง
    การแบ่งปันกองเงินตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าบ้างเล่า...
    ไม่ต้องแบ่งเวลาให้เป็นสี่กองเท่าๆ กันหรอก
    เพียงแต่แบ่งปันเวลาในแต่ละส่วนให้เหมาะสมเท่านั้น

    8 ชั่วโมงสำหรับการทำงาน เพื่อความก้าวหน้ามั่นคงในชีวิต
    8 ชั่วโมงสำหรับการพักผ่อนเก็บเรี่ยวแรงไว้ต่อสู้กับหน้าที่การงา นและอุปสรรคในวันพรุ่ง
    5 ชั่วโมงสำหรับการเดินทาง เพื่อประกอบกิจการต่างๆ
    2 ชั่วโมงสำหรับโลกส่วนตัวของตนเอง
    59 นาที สำหรับดูแลและรักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัยและช่วยเหลือสังคม และ
    1 นาทีของคุณ ที่มอบให้กับคนที่รักและห่วงใยคุณโดยไม่นำเวลาอื่นเข้ามาเกี่ยว ข้อง
    เพราะเพียง 1 นาทีนี้มันมีค่ามากเกินกว่าคณานับได้ในความรู้สึกของเขาคนนั้น
    จงอย่ากล่าวว่า "ไม่มีเวลา..."
    เพราะเวลาเป็นสิ่งที่ยุติธรรมที่สุดในโลกนี้ที่มีให้แก่มนุษย์
    มนุษย์ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่าๆ กัน
    ไม่มีใครมีเวลามากและไม่มีใครมีเวลาน้อยไปกว่านี้

    24 ชั่วโมงใน 1 วันที่มหาเศรษฐีหรือยาจกมีเท่าเทียมกัน
    ไม่ขาดเกินแม้แต่เศษเสี้ยวของวินาทีด้วยเหตุนี้ มนุษย์ผู้ใดที่กล่าวว่า
    "ไม่มีเวลา" จึงเป็นผู้ล้มเหลวในการบริหารเวลา 24 ชั่วโมงในแต่ละวันของตนเองอย่างสิ้นเชิงและใช้คำว่า
    "ไม่มีเวลา"เป็นข้อแก้ตัวเพื่อปกปิดความล้มเหลวเรื่องเวลาของตน เองอย่างขลาดเขลา
    มนุษย์ผู้ฉลาดและประสบความสำเร็จในชีวิตจึงไม่ใช่ผู้ที่เก่งแต่ การทำงานอย่างเดียว
    แต่มนุษย์ผู้ฉลาดและประสบความสำเร็จในชีวิตต้องเป็นผู้ที่รู้จั กแบ่งสัดส่วนเวลาวันละ
    24 ชั่วโมงของตนเองได้อย่างลงตัว วันละ 24 ชั่วโมงของตนเอง
    ที่มีไว้สำหรับการทำงาน การพักผ่อน การเดินทาง มิตรภาพ ความรัก ความอบอุ่น
    ความห่วงใย ความเอื้ออาทร ฯลฯ
    โดยไม่ขาดตกบกพร่องแม้แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เข้ามาเกี่ยวข้องใน ชีวิต
    นี่แหละคือมนุษย์ผู้ชาญฉลาดที่รู้จัก "ใช้เวลา"
    แล้ววันนี้…คุณจะยังอ้างเหตุผลว่า "ไม่มีเวลา" อีกหรือ?


    จาก สกุลไทยดอทคอม
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ก้อนหินในใจ

    [​IMG]


    ก้อนหินในใจคือความทุกข์ ความกังวล ความเศร้า
    ความแค้น ความน้อยเนื้อต่ำใจ เป็นความรู้สึกที่หนัก
    กว่าก้อนหิน หากไม่ปล่อยวางสิ่งของมากมาย
    เหล่านี้ลง แรงกดดันภายในใจจะคอยบีบคั้นให้เป็น
    ทุกข์ จนมีชีวิตอยู่แค่ให้ผ่านไปวันๆ

    บางครั้งคนบางคนก็เป็นก้อนหินภายในใจเรา
    บางครั้งก็เป็นเรื่องราวต่างๆ เงินทอง บ้านที่ดิน
    สิ่งของต่างๆ ก้อนหินในใจเหล่านี้หากไม่เอาออก
    ไป ยิ่งนานวันยิ่งจะเอาออกไปได้ยาก

    คิดดูแล้วคนเราก็มีความสามารถแบกรับได้มากมาย
    ความทุกข์ในใจไม่รู้หนักกี่พันกี่หมื่นกิโล
    ไหนจะพิษจากเศรษฐกิจ ไหนจากภาวะการดำเนินชีวิต
    โดยเฉพาะเรื่องราวระหว่างบุคคล การมีส่วนได้ส่วนเสีย
    ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่แบกรับได้ง่ายๆ

    ก้อนหินมากมายเหล่านี้ กดอยู่ในใจตลอดมา คนในยุคนี้
    จึงต้องหาวิธีที่จะมาผ่อนคลายจิตโดยวิธีการต่างๆนานา
    เพื่อที่จะปลดปล่อยก้อนหินในใจเหล่านี้

    ก้อนหินในใจต้องหาทางปลดปล่อยด้วยตนเอง
    ไม่อาจให้ผู้อื่นมาช่วยได้ คำเตือน คำปลอบใจ
    กำลังใจจากผู้อื่น อาจช่วยได้เป็นครั้งคราว
    พรุ่งนี้มะรืนนี้ ก็มีก้อนหินกองใหญ่กองเข้ามาอีก

    แล้วเราจะยกก้อนหินในใจออกไปจากใจได้อย่างไร ?

    ก็คงจะต้องฝึกฝนปฏิบัติธรรม ใช้ศีล สมาธิ ปัญญา
    ฝึกฝนและขัดเกลาจิตใจ จนสามารถมองเห็นสภาวะ
    สิ่งต่างๆได้ตามความเป็นจริง ทุกสิ่งที่เกิดย่อมต้องมี
    เหตุและปัจจัย เข้าใจถึงเหตุต้นผลกรรม
    ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
    ตลอดจนเดินอยู่บนเส้นทางแห่งมรรค
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ธรรมของผู้มุ่งปฏิบัติขั้นสูง

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="70%" bgColor=lightyellow><TBODY><TR><TD>สัมมัปปธาน ๔</TD><TD>โพชฌงค์ ๗</TD></TR><TR><TD>ศรัทธา ๔</TD><TD>อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕</TD></TR><TR><TD>สังโยชน์ ๑๐ ประการ</TD><TD>วิปัสสนาญาณ ๙ </TD></TR><TR><TD>อานิสงส์ของมีเมตตาเป็นฌาน ๑๑ ประการ</TD><TD>สมาบัติ ๘</TD></TR><TR><TD>สติปัฏฐาน ๔ ประการ</TD><TD>วิโมกข์ ๘</TD></TR><TR><TD>บารมี ๑๐ ทัศ</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    สัมมัปปธาน ๔

    หรือหมายถึงความเพียร ๔ ประการได้แก่
    ๑.เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในจิตใจ (สังวรปธาน)
    ๒.เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)
    ๓.เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในจิตใจ (ภาวนาปธาน)
    ๔.เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม (อนุรักขณาปธาน)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ศรัทธา ๔

    คือความเชื่อที่ต้องเชื่อด้วยความแนบแน่นเป็นพื้นฐานคือ
    ๑.เชื่อเรื่องกรรมว่ามีจริง (กัมมสัทธา)
    ๒.เชื่อวิบากหรือผลของกรรมว่ามีจริง (วิปากสัทธา)
    ๓.เชื่อการที่แต่ละคนมีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสกตาสัทธา)
    ๔.เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (ตถาคตโพธิสัทธา)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในพระพุทธศาสนาผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอริยบุคคล คือบุคคลที่ประเสริฐ เป็นผู้ที่ละแล้วซึ่งสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในภพหรือผูกพันสัตว์ทั้งหลายไว้กับทุกข์) ใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นต้น เมื่อละได้มากก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้น ใครละได้หมดก็เป็นพระอรหันต์
    สังโยชน์ ๑๐ ประการ ได้แก่

    <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="70%"><TBODY><TR><TD>๑.สังกายทิฏฐิ </TD><TD>ความเห็นว่าร่างกายเป็นของตน</TD></TR><TR><TD>๒.วิจิกิจฉา</TD><TD>ความสงสัยในผลกรรม การเวียนว่ายตายเกิด</TD></TR><TR><TD>๓.สีลัพพตปรามาส</TD><TD>การเชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์</TD></TR><TR><TD>๔.กามราคะ</TD><TD>ความติดใจในกามารมณ์</TD></TR><TR><TD>๕.ปฏิฆะ</TD><TD>ความขัดเคืองใจ</TD></TR><TR><TD>๖.รูปนาคะ</TD><TD>ความติดใจในรูป เช่นสิ่งล้ำค่าสวยงาม</TD></TR><TR><TD>๗.อรูปนาคะ</TD><TD>ความติดใจในสิ่งไม่มีรูป เช่นคำสรรเสริญ</TD></TR><TR><TD>๘.มานะ</TD><TD>ความยึดถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ ติดในยศศักดิ์</TD></TR><TR><TD>๙.อุทธัจจะ</TD><TD>ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ไม่สงบใจ</TD></TR><TR><TD>๑๐.อวิชชา</TD><TD>ความไม่รู้อริยสัจ ๔</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    อานิสงส์ของการมีเมตตาที่เป็นฌาน ๑๑ ประการคือ (เมตตาเจโตวิมุติ)

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="70%"><TBODY><TR><TD>๑.หลับเป็นสุข</TD><TD>๗.ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย</TD></TR><TR><TD>๒.ตื่นเป็นสุข</TD><TD>๘.จิตเป็นสมาธิเร็ว</TD></TR><TR><TD>๓.ไม่ฝ้นร้าย</TD><TD>๙.ผิวหน้าผ่องใส</TD></TR><TR><TD>๔.เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย</TD><TD>๑๐.ไม่หลงตาย (ตายด้วยจิตสงบ)</TD></TR><TR><TD>๕.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย</TD><TD>๑๑.ถ้าไม่บรรลุธรรมสูงขึ้นไป ก็จะเข้าสู่พรหมโลก</TD></TR><TR><TD>๖.เทวดาพิทักษ์รักษา</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    สติปัฏฐาน ๔ คือสิ่งที่เราควรระลึกถึง ๔ ประการได้แก่

    ๑.การตั้งสติพิจารณากาย (กายานุปัสสนา)
    ๒.การตั้งสติพิจารณาอารมณ์ (เวทนานุปัสสนา)
    ๓.การตั้งสติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว (จิตตานุปัสสนา)
    ๔.การตั้งสติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล (ธัมมานุปัสสนา)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในพระพุทธประวัติเขียนไว้ว่า พระบรมโพธิสัตว์ (ตอนก่อนตรัสรู้) ครั้งเมื่อมีชัยชนะต่อพญามาร ตอนที่กำลังบำเพ็ญเพียรอยู่นั้น ก็ด้วยบารมี ๑๐ ทัศดังต่อไปนี้
    บารมีจะเกิดขึ้นได้มี ๑๐ อย่าง ได้แก่

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="70%"><TBODY><TR><TD>๑.ทานบารมี</TD><TD>การให้สิ่งที่ควรให้</TD></TR><TR><TD>๒.ศีลบารมี</TD><TD>การบำเพ็ญศีลให้ครบบริบูรณ์</TD></TR><TR><TD>๓.เนกขัมมบารมี</TD><TD>การออกจากกามซึ่งต้องบำเพ็ญให้ถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๔.ปัญญาบารมี</TD><TD>การไต่ถามจากผู้รู้</TD></TR><TR><TD>๕.วิริยบารมี</TD><TD>การทำความเพียรอย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๖.ขันติบารมี</TD><TD>การอดกลั้นอย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๗.อธิษฐานบารมี</TD><TD>การตั้งจิตไว้ให้มั่นคง</TD></TR><TR><TD>๘.สัจบารมี</TD><TD>การรักษาวาจาสัตย์อย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๙.เมตตาบารมี</TD><TD>การมีเมตตาอย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๑๐.อุเบกขาบารมี</TD><TD>การวางเฉยไม่ว่าเรื่องดีไม่ดี ไม่ว่าจะมีลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ธรรมที่ใช้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ ๗ ประการได้แก่
    โพชฌงค์ ๗

    ๑.ความระลึกได้ (สติ)
    ๒.ความสอดส่องธรรม (ธัมมวิจยะ)
    ๓.ความเพียร (วิริยะ)
    ๔.ความอิ่มใจ (ปิติ)
    ๕.ความสงบใจและอารมณ์ (ปัสสัทธิ)
    ๖.ความตั้งใจมั่น มีจิตแน่วแน่ในอารมณ์ (สมาธิ)
    ๗.ความวางเฉย หยุดนิ่ง (อุเบกขา)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕

    คือข้อพิจารณาถึงสังขารของกายเรา เพื่อรำลึกอยู่เนืองๆ
    ๑.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความแก่ไปได้(ชราธัมมตา)
    ๒.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้ (พยาธิธัมมตา)
    ๓.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความตายไปได้ (มรณธัมมตา)
    ๔.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เราจักต้องมีการพลัดพรากจากของรักเป็นธรรมดาด้วยกันทั้งสิ้น (ปิยวินาภาวตา)
    ๕.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใดไว้ไม่ว่าดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักต้องรับผลของกรรมนั้น (กัมมัสสกตา)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    *วิปัสสนาญาณ ๙

    คือการวิปัสสนาให้เห็นรู้แจ้งถึงสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง มีขั้นๆดังนี้
    ๑.ญาณที่เห็นว่าการเกิดมาและดับไปของเบญจขันธ์เป็นเรื่องธรรมดา (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ)
    ๒.ญาณที่เห็นการสลายไปของสังขารว่าต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา (ภังคานุปัสสนาญาณ)
    ๓.ญาณที่เห็นสังขารเป็นของน่ากลัวไม่ว่าภพใด เพราะว่าต้องสลายไปทั้งสิ้น (ภยตูปัฏฐานญาณ)
    ๔.ญาณที่เห็นเป็นโทษ เพราะว่าสังขารเป็นของน่ากลัวจึงต้องมีข้อบกพร่อง มีทุกข์ (อาทีนวานุปัสสนาญาณ)
    ๕.ญาณที่เห็นความเบื่อหน่าย เมื่อเห็นว่าเป็นโทษแล้วก็บังเกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร ไม่ติดใจ(นิพพิทานุปัสสนาญาณ)
    ๖.ญาณที่ปรารถนาจะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น เพราะว่าเกิดความเบื่อหน่ายแล้ว (มุญจิตุกัมยตาญาณ)
    ๗.ญาณที่พิจารณาหาทางเพื่อพ้นจากสังขาร ได้แก่การยกเอาสังขารทั้งหลายมาพิจารณาเพื่อให้หลุดพ้นไป (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ)
    ๘.ญาณที่เห็นอย่างเป็นกลางในความเป็นไปของสังขาร ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่เห็น (สังขารุเปกขาญาณ)
    ๙.เมื่อเป็นกลางแล้ว ญาณก็คล้อยเข้าสู่การเห็นอริสัจจ์อันจะนำพาไปสู่ขั้นต่อไป จนกระทั่งจิตดิ่งลงเกิดมรรคญาณขึ้นจึงจะถึงที่สุดคือนิพพาน (สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    สมาบัติ ๘

    คือคุณวิเศษ หรือธรรมอันวิเศษที่ควรเข้าถึง การบรรลุธรรมชั้นสูงได้แก่ ฌาณ ๘ แบ่งเป็นรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ คือ
    ฌาน ๔ ได้แก่
    ๑.ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา (ปฐมฌาน)
    ๒.ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา (ทุติยฌาน)
    ๓.ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา (ตติยฌาน)
    ๔.ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา (จตุตถฌาน)
    อรูปฌาน ๔
    คือการเข้าฌานอันมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ได้แก่
    ๑.ฌานที่กำหนดเอาช่องว่างเช่นอากาศ สูญญากาศที่ไม่มีสิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (อากาสานัญจายตนะ)
    ๒.ฌานที่กำหนดเอาวิญญาณอันหาที่สุดไม่ได้มาเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (วิญญาณัญจายตนะ)
    ๓.ฌานที่กำหนดเอาภาวะที่ไม่มีอะไรๆเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (อากิญจัญญายตนะ)
    ๔.ฌานที่เข้าถึงภาวะที่เรียกว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้(เนวสัญญานาสัญญายตนะ)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    *วิโมกข์ ๘

    คือความหลุดพ้น เป็นภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างเต็มที่ แบ่งออกเป็นขั้นๆดังนี้
    ๑.ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตนเช่น สีผมเป็นต้น
    ๒.ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก
    ๓.ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า งาม ได้แก่ ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา
    ๔.เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้
    ๕.เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
    ๖.เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนัสิการว่าไม่มีอะไรเลย
    ๗.เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่
    ๘.เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่

    *อ้างอิงจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ โดยท่านพระธรรมปิฎก
    [​IMG]

    http://www.salatham.com/do-donts/3ariya.htm#อานิสงส์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2010
  18. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    ร่วมบุญเพิ่มเติม ประจำเดือน สค. 2553 ครับ
    <link href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cxp%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml" rel="File-List"><style>@font-face { font-family: SimSun;}@font-face { font-family: Angsana New;}@font-face { font-family: Tahoma;}@font-face { font-family: @SimSun;}@page Section1 {margin: 72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; size: 612.0pt 792.0pt; mso-header-margin: 36.0pt; mso-footer-margin: 36.0pt; mso-paper-source: 0; }P.MsoNormal { FONT-SIZE: 12pt; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; FONT-FAMILY: "Times New Roman"; mso-style-parent: ""; mso-pagination: widow-orphan; mso-bidi-font-size: 14.0pt; mso-fareast-font-family: SimSun; mso-bidi-font-family: "Angsana New"}LI.MsoNormal { FONT-SIZE: 12pt; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; FONT-FAMILY: "Times New Roman"; mso-style-parent: ""; mso-pagination: widow-orphan; mso-bidi-font-size: 14.0pt; mso-fareast-font-family: SimSun; mso-bidi-font-family: "Angsana New"}DIV.MsoNormal { FONT-SIZE: 12pt; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; FONT-FAMILY: "Times New Roman"; mso-style-parent: ""; mso-pagination: widow-orphan; mso-bidi-font-size: 14.0pt; mso-fareast-font-family: SimSun; mso-bidi-font-family: "Angsana New"}DIV.Section1 { page: Section1}</style>ฝากเงิน เข้าบัญชี 348-123-245-9
    วันที่ 2 สค. 2553 เวลา 18:xx น. จำนวน 200 บาท ครับ
    อนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  19. redboony

    redboony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +173
    วันนี้ได้ส่งร่วม ทำบุญ £40 ค่า<!-- google_ad_section_end -->
     
  20. ลูกปลาใหญ่

    ลูกปลาใหญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +577
    วันนี้ 03/08/53 เมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. ได้โอนเงินจำนวน 500 บาท เข้าบัญชีทุนนิธิฯ เพื่อร่วมทำบุญประจำเดือน สิงหาคม 53 ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...