+++Premium พระเครื่องราคาพิเศษ(ปิดกระทู้ชั่วคราว)

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 กันยายน 2009.

  1. Na_mo_

    Na_mo_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +4,750
    มีเหตุฉุกเฉิน ขอยกเลิกรายการที่1 พิมพ์ใหญ่ ครับ
     
  2. amar

    amar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +606
    ผมขอรับแทนคุณ Na_mo_ ครับ
    และขอยกเลิกรายการ 556
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2010
  3. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 573 ล็อกเกตหลวงพ่อดาบส สุมโน

    สร้างปี 2537 ออกที่อาศรมไผ่มรกต

    ด้านหลังไม่มีอุดอะไร แต่เจ้าของเก่าไปกราบท่าน และขอเมตตาท่านจารหลังล็อกเกตให้ด้วยปากกาเมจิกครับ

    หลวงพ่อดาบส สำเร็จธรรมขั้นสูง สังขารเพื่อเผาแล้วอัฐิแปรสภาพเป็นพระธาตุ นอกจากนี้หัวใจของท่านยังไม่ไหม้ไฟ แปลเป็นสีมรกต ตั้งบูชาที่วัดมายังทุกวันนี้

    หลายท่านนับวัตถุมงคลไปตรวจสอบพลังภายในพบว่าสว่างไสวมากๆ


    ให้บูชาองค์ละ 350 บาท มีห้าองค์ มีจารทุกองค์
    คุณ wat.R จอง 2 องค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6897.jpg
      IMG_6897.jpg
      ขนาดไฟล์:
      225.7 KB
      เปิดดู:
      223
    • IMG_6898.jpg
      IMG_6898.jpg
      ขนาดไฟล์:
      260.2 KB
      เปิดดู:
      165
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2010
  4. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 574 เหรียญครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ปี 2523

    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    ถ้าอริยมรรคอันมีองค์ประกอบ ๘ ประการ ยังคงดำเนินอยู่โดยชอบ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์......
    พระครูโสภณธีรคุณ คณะอัฏฐารส วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ได้เขียนบทความถึงหลวงปู่...ใจความว่า..
    ท่านได้รู้จักหลวงปู่ในขณะที่ท่านมารับงานเลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมือง ขณะนั้นหลวงปู่ท่านเป็นเจ้าคณะตำบลห้วยยาบ ส่วนมากแล้วบรรดาพระอาวุโสทางในเมืองจะเรียกหลวงปู่ว่า ท่านอุตตมะ” เนื่องจากเห็นว่าหลวงปู่ท่านทำตัวเป็น “อุตตมะ” จริงๆ
    หลวงปู่ท่านได้เล่าให้ท่านพระครูโสภณธีรคุณฟังว่า ท่านเป็นเจ้าคณะมาตั้งแต่อายุ ๒๘ ปี ว่าตั้งแต่เรียกกันว่า เจ้าคณะหมวด” จนเป็น “เจ้าคณะตำบล” นอกจากนี้พระครูโสภณธีรคุณยังเคยได้รับฟังพระรูปอื่นพูดถึงหลวงปู่ว่า
    ตั้งแต่หลวงปู่เป็นเจ้าคณะท่านไม่เคยขาดการประชุมสงฆ์ ทั้งๆที่ตำบลห้วยยาบในขณะนั้นจัดว่าเป็นตำบลที่กันดาร กล่าวคือต้องเดินทางไปถึงในเมืองด้วยเท้า ใช้เวลาอย่างน้อย ๓-๔ ชั่วโมง
    เมื่อเหตุเป็นเช่นนี้จึงถือได้ว่าหลวงปู่ท่านเป็น ธิติขันติ” คือ เป็นผู้ทนต่อความตรากตรำ
    [​IMG]
    ในขณะที่หลวงปู่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านถูกประชาชนคนอันธพาลบางพวกได้กล่าวหาอย่างร้ายแรง จนถึงกับประกาศไม่ยอมตักบาตรท่านและเมื่อพระครูโสภณธีรคุณไปเยี่ยมหลวงปู่ ท่านเห็นหลวงปู่ซื้อหม้อข้าว หม้อแกงมาตั้งไว้หน้ากุฎิ เมื่อท่านได้สอบถามหลวงปู่จึงได้คำตอบว่า
    ต่อไปชาวบ้านจะไม่ถวายบิณฑบาต จะหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง...”
    จากคำตอบของหลวงปู่แสดงให้เห็นถึงการที่หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่อดทนต่ออารมณ์อันแสลงใจ สามารถระงับได้เมื่อถูกคนติฉินหรือด่าว่า...ความอดทนชนิดนี้เราเรียกกันว่า ตีติกขาขันติ
    ว่ากันว่าความยั่วยวนต่างๆ เป็นธรรมชาติที่ทนได้ยาก
    การที่หลวงปู่ท่านสามารถอดทนได้และอยู่ครองสมณเพศจนอายุท่านถึง ๗ รอบ จึงถือได้ว่าหลวงปู่ท่านบรรลุถึงคำว่า อธิวาสขันติ
    ดังนั้น อุดมขันติธรรม” จึงเป็นราชทินนนามที่เหมาะสมกับหลวงปู่อย่างแท้จริง....
    [​IMG]
    ผมไม่เคยพบกับหลวงปู่แต่รู้จักท่านตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนนุ่งกางเกงขาสั้นจากหนังสือพระเครื่องลานโพธิ์” สมัยที่บรรณาธิการชื่อ”คุณแล่ม จันท์พิศาโล” ครับ
    เรื่องราวต่างๆได้ลืมเลือนไปตามกาลเวลา..
    จนเมื่อได้ตะลอนเที่ยวล่อง เชียงใหม่-ลำพูน เส้นทางกรุงเทพ-บ้านธิ ได้มีโอกาสเข้าไปทำบุญที่วัดของท่าน ก็พบว่าท่านมรณะภาพไปนานมากแล้วสิ่งที่หลวงปู่ได้ฝากไว้ในแผ่นดินก็คือคุณธรรมความดีงามของท่านและวัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างสรรค์ขึ้นมาคู่กับแผ่นดินล้านนา ซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจนจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีไว้ติดตัว
    [​IMG]
    พวกเราได้เข้ากราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์ชนินทร์ ชนินโท” แห่ง “สำนักสงฆ์รัศมีพรหมโพธิโก” ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
    เรื่องราวชีวิตของหลวงปู่ พระผู้ที่ไม่เคยประมาทในชีวิต มีวิริยะอุตสาหะ ประกอบไปด้วยศีลาจารวัตรอันน่าเลื่อมใส ไม่มีมานะทิฏฐิถือตัวตน มีความเมตตากรุณา อันนำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น จึงได้ถูกถ่ายทอดออกมาจากท่านพระอาจารย์ชนินทร์ ผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาและวัตรปฏิบัติจากหลวงปู่..
    หลวงปู่ครูบาขันแก้ว อุตตโม หรือ ท่านพระครูอุดมขันติธรรม” “อดีตเจ้าอาวาสวัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)” ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๔๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ (เดือนยี่เหนือ) ปีกุล ณ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
    [​IMG]
    หลวงปู่มีชื่อเดิมว่า ขันแก้ว” นามสกุล “อิกำเหนิด” โยมบิดาชื่อ “นายอินตา อิกำเหนิด” โยมมารดาชื่อ “นางสม อิกำเหนิด” หลวงปู่มีรูปร่างสันทัด ผิวสีเนื้อดำแดง เป็นบุตรชายคนโตของน้องสาว ๓ คนและน้องชาย ๑ คน..
    โยมปู่ของหลวงปู่ชื่อว่า ปินตา อิกำเหนิด” โยมย่าชื่อ “ปรก” ได้อพยพครอบครัวมาจากตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินคือทำนาที่ตำบลห้วยไซ แล้วจึงได้ย้ายลงมาอยู่ที่ตำบลห้วยยาบ
    ในครั้งนั้นโยมปู่ของท่านได้อพยพมาพร้อมกับพี่น้องรวม ๖ ครอบครัวและได้มาตั้งรกรากใกล้กับ “วัดสันพระเจ้าแดง” ซึ่งเป็นวัดร้างโดยโยมปู่ของท่านได้เป็นหัวหน้าบูรณะซ่อมแซมก่อสร้างจนกลายเป็นวัดขึ้นมา
    [​IMG]
    วัดป่ายาง หรือ วัดสันพระเจ้าแดง ตั้งชื่อตามพระพุทธรูป สมัยเชียงแสนสิงห์ ๓ ซึ่งขุดพบบริเวณวัดแห่งนี้ ว่ากันว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านห้วยยาบและตำบลใกล้เคียง จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ที่เล่าสืบทอดกันมาพอจับใจความได้ว่า...
    เดิมทีพระพุทธรูปองค์นี้ฝังจมอยู่ในดิน ได้เกิดมีไฟป่าไหม้ตำบลห้วยยาบอยู่บ่อยๆ จนเป็นที่น่าแปลกประหลาดว่า ทำไมไฟป่าถึงได้ไหม้เฉพาะบริเวณตำบลห้วยยาบแห่งนี้เสมอ
    จนวันหนึ่งผู้เฒ่าในหมู่บ้านได้ฝันว่า มีพระพุทธรูปถูกฝังจมพื้นปฐพีอยู่ในตำบลนี้ แต่ไม่มีใครรู้เรื่องจึงทำให้มีการเดินเหยียบย่ำไปมาตลอด บริเวณที่พระพุทธรูปถูกฝังอยู่เป็นที่ดอน ให้ไปทำพิธีอัญเชิญขึ้นมาเสีย ไฟก็จะไม่ไหม้อีกต่อไป และเมื่อชาวบ้านตำบลห้วยยาบไปทำพิธีบวงสรวงเจ้าที่เจ้าทางและขุดลงตรงตำแหน่งที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้ฝันไว้ก็ได้พบพระพุทธรูปจริงๆ มีขี้ดินพอกเต็มไปทั้งองค์
    เมื่อได้ทำการล้างขี้ดินออกจนหมดแล้ว ก็ได้เห็นสีสันขององค์พระซึ่งเป็นสีแดงทั้งองค์ จึงได้ถวายพระนามว่า พระเจ้าแดง” จากนั้นชาวบ้านได้อัญเชิญพระพุทธรูปพระเจ้าแดงมายังวัดป่ายาง ก็เลยเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดสันพระเจ้าแดง

    พระเจ้าแดง เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์ ๓ ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๒ ศอก มีพุทธลักษณะสวยงามมาก สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยของ พระเจ้าติโลกราชมหาราช” เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
    หลวงปู่ครูบาขันแก้ว อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๖๓ ณ พันธสีมา วัดต้นปืน” อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน โดยมี “พระอธิการแก้ว (หลวงปู่ครูบาอินทจักโก)” วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์ “พระบุญเป็ง ปัญญาวโร” วัดบ้านธิหลวง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ “พระพุฒ ปันทวงศ์” วัดห้วยไซ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่ได้รับฉายาว่า “อุตตโม” ครับ
    [​IMG]
    เล่ากันว่าหลวงปู่ท่านเป็นพระที่มีอุปนิสัยไม่ชอบอยู่นิ่งเฉย ถ้าท่านทำงานหนักไม่ได้ ท่านก็จะทำงานเบาๆ เช่นเขียนยันต์ ทำตะกรุด แม้แต่งานกวาดลานวัดท่านก็จะทำเองในทุกเวลาเช้า
    หลวงปู่มักจะสั่งสอนอบรมศีลธรรมให้กับชาวบ้านและผู้ที่มีจิตศรัทธา ให้ประพฤติแต่ความดี ละเว้นความชั่ว
    โดยเฉพาะเรื่องของการรักษาศีล ๕ จะต้องรักษาให้มั่นคงและให้มีความจงรักภักดีในชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ โดยหลวงปู่จะสั่งสอนให้ทุกคนเป็นพลเมืองดีของชาติด้วยหลัก ๓ ประการ คือ
    ๑.การไม่ทำชั่วโดยประการทั้งปวง
    ๒.การสร้างความดี
    ๓.การทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
    ส่วนในการประพฤติปฏิบัติธรรม หลวงปู่ท่านจะขึ้นกรรมฐานให้กับผู้ที่มีอุปนิสัยในการบำเพ็ญธรรมตามวาสนาบารมีของแต่ละคน
    แต่สำหรับผู้ที่มีความเข้าใจหลักในการปฏิบัติธรรมมาบ้างแล้ว เมื่อได้นำความรู้คือปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติไปถามท่านว่า
    เขาได้ดำเนินทางมาถูกต้องหรือไม่
    ถ้าถูกต้องหลวงปู่ก็จะตอบว่า แม่น” หมายถึงถูกต้องแล้ว
    แต่ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้อง หลวงปู่ก็จะชี้แนะแนวให้นำไปปฏิบัติพิจารณาใหม่...

    จะว่าไปแล้วจากเรื่องราวที่พระอาจารย์ชนินทร์ เล่าให้พวกเราฟัง พอจะทำให้เราทราบในเบื้องต้นได้ว่าหลวงปู่ท่านเป็นพระที่ค่อนข้างสมถะ ไม่สนใจในเรื่องชื่อเสียงอะไรทั้งนั้น มุ่งมันที่จะพัฒนาบูรณะวัดควบคู่ไปกับการเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนแก่บรรดาชาวบ้านในละแวกนั้นตลอดจนพุทธศาสนิกชนผู้สนใจหาความสงบของจิตใจ
    คงปฏิเสธไม่ได้ครับว่าคุณธรรมมิใช่สิ่งที่มีติดตัวมากับมนุษย์” แต่ “คุณธรรมถือกำเนิดมาจากการปฏิบัติเฉพาะตัว” หากแต่ใครเล่าครับที่จะเข้าไปสัมผัสถึงตรงจุดนั้นได้....
    หรือว่าเรื่องเหล่านี้จะเหมือนกับเรื่องของขุมทรัพย์โบราณที่รอคอยผู้เหมาะสมเดินทางมาค้นพบและนำเสนอแก่ชาวโลก
    ภายใต้ความสมถะและถ่อมตนตลอดระยะเวลากว่า ๗๗ ปีของหลวงปู่ เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ธรรมะอันยิ่งใหญ่ที่เฝ้ารอคอยผู้แสวงหา
    จนกระทั่งวันหนึ่งได้มีนักแสวงบุญที่ชื่อ คุณหมอสมสุข คงอุไร” แห่ง “คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก” เป็นผู้ที่เดินทางมาเปิดขุมทรัพย์แห่งธรรมอันนั้น จาก”บันทึกเรื่องการพบหลวงปู่ขันแก้ว อุตตโม ของคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก” ได้เขียนไว้อย่างละเอียดแต่ด้วยความจำเป็นในเรื่องความยาวขออนุญาตสรุปใจความดังนี้ครับ
    [​IMG]
    ในระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก โดยการนำของคุณพ่อหมอสมสุข คงอุไรได้เดินทางขึ้นไปเยี่ยมอาการอาพาธของหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโกวัดวังมุย จังหวัดลำพูน ซึ่งขณะนั้นท่านครูบาชุ่ม พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสวนดอกนครเชียงใหม่
    ในวันนั้นได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งครองจีวรสีกลัก เดินทางเข้ามาเยี่ยมและตรงเข้าไปกอดเอวและพูดคุยด้วยภาษาคำเมืองกับครูบาชุ่มอย่างสนิทสนม
    ขณะที่คุณพ่อหมอสมสุข ท่านได้นึกตำหนิพระรูปนั้นอยู่ในใจ หากแต่การตำหนินั้นไม่สามารถปกปิด อภิญญาจิต เจโตปริยญาณ ของหลวงปู่ครูบาชุ่มได้
    หลวงปู่ครูบาชุ่ม ได้เรียกคุณพ่อหมอสมสุขให้เข้าไปหาและแนะนำว่าพระภิกษุที่ครองจีวรสีกลักนั้นชื่อว่าครูบาขันแก้วเป็นเพื่อนรักร่วมรุ่นเดียวกับท่าน...”
    [​IMG]
    สมัยนั้น หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก” เจ้าอาวาสวัดวังมุย เป็นพระที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆของแผ่นดินล้านนา ความเชี่ยวชาญในเชิงเวทย์และคุณธรรมของท่านเป็นที่รับรู้ของคนทั่วไป
    ในช่วงเวลาที่ครูบาศรีวิชัย ยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่ครูบาชุ่มคือหนึ่งในผู้ร่วมสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ท่านได้รับความเมตตาจากครูบาศรีวิชัยเป็นอันมาก โดยครูบาศรีวิชัยได้มอบ “พัดหางนกยูงพร้อมกับไม้เท้า” ให้กับท่าน พร้อมกับสั่งว่า “เอาไว้เดินทาง เทศนาเผยแพร่ธรรมแทนท่านด้วย...”
    ภายหลังเมื่อหลวงปู่ครูบาชุ่มได้มรณภาพลง คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกได้ดำเนินการสร้างรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริงของท่าน คณะกรรมการวัดวังมุยได้นิมนต์พระอาจารย์ต่างๆมาจากจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน แต่ในจำนวนรายชื่อทั้งหมดกลับไม่มีชื่อของหลวงปู่ครูบาขันแก้ว โดยคณะกรรมการวัดวังมุยให้เหตุผลว่า
    ไม่เคยทราบหรือเคยเห็น หลวงปู่ครูบาขันแก้วเคยได้ร่วมในพิธีปลุกเสกพระในที่ใดมาก่อน อีกทั้งยังไม่เคยได้ข่าวว่าท่านเคยสร้างวัตถุมงคลอะไรเลย
    เรื่องราวที่เริ่มจะบานปลายเนื่องจากคุณหมอสมสุข ท่านไม่ยอมเพราะเห็นว่าหลวงปู่ครูบาขันแก้วท่านเป็นเพื่อนรักกับหลวงปู่ครูบาชุ่ม อีกทั้งในระหว่างการจัดงานศพ หลวงปู่ครูบาขันแก้วท่านก็ได้มาช่วยงานทุกคืน ในที่สุดคณะกรรมการวัดวังมุยจึงต้องไปนิมนต์หลวงปู่ครูบาขันแก้วมาร่วมในงานปลุกเสกและเบิกเนตรรูปหล่อของหลวงปู่ครูบาชุ่มในครั้งนี้ด้วย
    [​IMG]
    เล่ากันว่าในขณะที่เริ่มประกอบพิธีปลุกเสก พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มา ๓ รูปได้นั่งหลับตาและแผ่อำนาจจิตปลุกเสกแต่หลวงปู่ครูบาขันแก้วกลับนั่งลืมตาและเคี้ยวเมี่ยง
    เล่นเอาชาวบ้านแถววัดวังมุยเริ่มจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์กันว่าใครหนอไปนิมนต์พระที่ปลุกเสกไม่เป็น บ่อมิไก๊” มาร่วมในงานพิธีปลุกเสกครั้งนี้และเมื่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์เริ่มดังขึ้น
    ท่านพระครูนวลที่มาเป็นพระควบคุมพิธีในครั้งนี้ได้เข้ามาบอกกับคุณหมอสมสุขว่า
    โยมหมอใครไปนิมนต์ตุ๊ลุงองค์นี้มา ดูสินั่งลืมตา ยันเมี่ยงอยู่จับๆ ไม่เห็นปลุกเสกอะไรเลย...”
    คุณหมอสมสุข จึงตอบไปว่าท่านเป็นคนที่นิมนต์หลวงปู่ครูบาขันแก้วมาเอง แต่ขอให้ดูกันต่อไปอีกสักพัก....จากเหตุการณ์ในวันนั้นทำให้ทุกวันนี้เราได้รู้จักพระที่ทรงกิตติคุณเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งองค์ครับ เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกบันทึกไว้ดังนี้ครับ....
    หลวงปู่ครูบาขันแก้วเริ่มเปลี่ยนอิริยาบถ เอาผ้าห่มขนหนูคลุมที่ไหล่ทั้งสองข้าง(ต่อมาภายหลังทราบว่าท่านกำลังป่วยเป็นไข้) หลังจากพิธีผ่านไปแล้วประมาณ ๑๐-๑๕ นาที หลวงปู่ครูบาขันแก้วได้นั่งห้อยเท้าลงมา
    ตาของท่านเริ่มเป็นประกายกล้าแรงขึ้น ขณะนั้นช่างภาพประจำคณะของเราได้เข้าไปใกล้ที่ท่านนั่งปรกอยู่ แล้วก็ถ่ายรูปในอิริยาบถนั้น....
    [​IMG]
    ทันทีที่แสงไฟแฟลชสว่างจ้าขึ้นเป็นประกาย นัยน์ตาของหลวงปู่ครูบาขันแก้วก็มิได้กระพริบเลย...
    ช่างภาพอีกคนก็เข้าไปถ่ายบ้าง แสงไฟแฟลชสว่างจ้าขึ้นอีกครั้ง แต่นัยน์ตาของหลวงปู่ก็ลืมอยู่อย่างปกติ
    ลืมตาอยู่อย่างไร ก็ลืมตาเปิดตากว้างอยู่อย่างนั้น..’
    คุณพ่อและพวกเราที่นั่งดูอยู่อย่างใกล้ ทุกคนจ้องดูอย่างตั้งใจก็เห็นกันทุกคนว่า
    นัยน์ตาของหลวงปู่ไม่กระพริบเลย
    คราวนี้ก็ให้ช่างภาพทั้ง ๒ คนของพวกเราเข้าไปขนาบทั้งซ้ายและขวา ก่อนจะยิงแฟลชถ่ายรูป ให้อธิษฐานในใจขอขมาก่อน พวกเราก็นั่งคอยดูกันจนแสงไฟแฟลชได้สว่างขึ้นทั้งซ้ายและขวาพร้อมกัน แต่นัยน์ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็ไม่กระพริบอีกตามเคย
    ช่างภาพหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ๒ ฉบับซึ่งได้ไปทำข่าวก็เข้าไปถ่ายอีก คราวนี้แฟล็ชแรงกว่าของพวกเรา เพราะเมื่อเห็นว่าพวกเราถ่ายรูปหลวงปู่องค์นี้มากก็เข้าไปถ่ายบ้าง ผลปรากฏออกมา .....ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็มิได้กะพริบเลย เป็นเวลานานหลายๆนาทีคนธรรมดาสามัญย่อมทำไม่ได้อย่างแน่นอน...”
    [​IMG]
    ครับ...จะว่าไปแล้วเรื่องของการปลุกเสกพระแบบนั่งหลับตาหรือเปิดตาเสก ถือเป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญหรือความชำนาญของแต่ละองค์ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้
    ในหมู่นักนิยมพระเครื่องบางท่านอาจจะกล่าวว่าเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องปกติทั่วไป ข้อนี้ผมไม่สามารถโต้แย้งได้...
    แต่กับเรื่องที่คนธรรมดาสามารถลืมตาโดยไม่กระพริบต่อเนื่องยาวนานเป็นสิบๆนาที อันนี้สิครับเป็นเรื่องที่ต้องคิดและสิ่งที่เราต้องมาตีลังกาคิดอีกสามตลบคือการที่ดวงตาต้องกระทบกับแสงแฟลชครับ
    เพราะโดยสัญชาติญาณแล้วคนเราโดยทั่วไปไม่สามารถทำได้หรอกครับ ดังนั้นการที่หลวงปู่ครูบาขันแก้วสามารถทำได้นั่นย่อมหมายความว่า ณ ขณะนั้นจิตของท่านเข้าสู่สมาธิจริงๆ
    “ว่ากันว่าการจะทำสิ่งใดด้วยความพยายามที่เกินกว่ากำลังความสามารถ มักจะให้ผลเสียหายมากกว่าผลดี
    หากแต่บางครั้งเส้นแบ่งของการทำเกินกำลังความสามารถที่เกิดจากการกระทำด้วยความชำนาญในศาสตร์ของตนเอง
    มันก็เป็นสิ่งที่ยากเกินกว่าจะหามาตรฐานใดมาเป็นตัวกำหนด....
    พระอาจารย์ชนินทร์ ท่านบอกกับพวกเราว่าในชีวิตของท่านได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆมาพอสมควร แต่สุดท้ายแล้วท่านก็จบลงตรงที่หลวงปู่ครูบาขันแก้ว
    ท่านว่า...หลวงปู่ครูบาขันแก้ว ถือว่าเป็นที่สุดแล้ว
    ความเป็นที่สุดของหลวงปู่ครูบาขันแก้วนี้ หมายรวมไปถึงหลักการปฏิบัติและแนวทางการเจริญสมาธิ เพื่อหวังผลให้ถึงเป้าหมายของชีวิตคือ การหลุดพ้น

    ถ้าคนเรานั่งสมาธิเพื่อต้องการความสงบ ความสุข ของจิตใจ เราสามารถเจริญสมาธิในแบบใดก็ได้ แต่ถ้าหากหวังถึงมรรค ผล นิพพาน นั่นคือเราจะต้องเลือกเดินในเส้นทางที่ถูกต้อง...”
    ความถูกต้องอันนี้ พระอาจารย์ชนินทร์ท่านได้อธิบายให้พวกเราฟังพอเป็นสังเขป หากเพื่อนๆท่านใดสนใจก็คงจะต้องสอบถามจากพระอาจารย์ชนินทร์เอาเองครับ เพราะคำสอนของพระอาจารย์ เจริญรอยตามแนวทางของครูบาขันแก้ว
    ธรรมะและคำสอนของท่านเป็นเรื่องที่ฟังไม่ยาก สามารถนำไปปฏิบัติได้ เพียงแต่ขีดความสามารถในการถ่ายทอดของผมค่อนข้างมีจำกัดครับ...เอาเป็นว่าเมื่อไรตกผลึกทางความคิดก็จะรีบนำมาเขียนให้เพื่อนได้รับทราบครับ...
    [​IMG]
    พูดถึงเรื่องของวัตถุมงคลกันบ้าง....ในชีวิตของหลวงปู่ครูบาขันแก้วท่านได้สร้างไว้พอสมควรแต่ก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก วัตถุมงคลของท่านที่มีชื่อเสียงจะเป็นพวกตะกรุดชนิดต่างๆ เช่นตะกรุดก๋าสะท้อน ตะกรุดนากคอคำ ฯลฯ แต่ตะกรุดซึ่งเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้นิยมในเครื่องรางของขลังต้องเป็นอันนี้ครับ
    ตะกรุดสหรีกัญชัย
    ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้การนำของท่านคณบดีและคณาจารย์ต่างๆ ตลอดจนนิสิตนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ช. ทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องต่างพากันเข้าไปทำบุญที่วัดป่ายางและขอตะกรุดจากหลวงปู่ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑-๒๔๒๔ จนตะกรุดของหลวงปู่ครูบาขันแก้ว ได้รับฉายานามว่า....”ตะกรุดสหรีกัญชัย ขวัญใจ ม.ช.
    ตะกรุดสหรีกัญชัย เป็นตะกรุดที่ลงด้วย พระยันต์ดาบสหรีกัญชัย” ซึ่งในเรื่องที่ไปที่มาของพระยันต์ชนิดนี้ค่อนข้างมีความพิสดารล้ำลึก ต้องว่ากันในเรื่องของวาสนาบารมีของผู้ทำที่มีมาแต่อดีตชาติและในปัจจุบันชาติก็ต้องสะสมไว้อย่างเข้มแข็ง รวมไปถึงเรื่องของการก้าวผ่านมิติกาลเวลาตลอดจนสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆ....
    [​IMG]
    จากประวัติของท่านครูบาศรีวิชัย” ในชีวิตของท่านช่วง “อธิกรณ์ระยะที่สอง” มีบันทึกไว้ว่า

    อธิกรณ์พระศรีวิชัยครั้งที่สองนี้ มีความเข้มข้นและรุนแรงขึ้นเนื่องจากเป็นผลมาจากการต้องอธิกรณ์ครั้งแรกถึง ๓ ครั้ง แต่การต้องอธิกรณ์กลับเป็นการเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อครูบาศรีวิชัยมากยิ่งขึ้น
    เสียงที่เล่าลือเกี่ยวกับครูบาศรีวิชัยจึงขยายออกไป
    นับตั้งแต่เป็นผู้วิเศษเดินตากฝนไม่เปียกและได้รับดาบสรีกัญไชย(พระขรรค์ชัยศรี)จากพระอินทร์
    ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาใน ตัวครูบาศรีวิชัยยิ่งแพร่ขยายออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง
    คำเล่าลือดังกล่าวเมื่อทราบถึงเจ้าคณะแขวงลี้และนายอำเภอแขวงลี้ ทั้งสองจึงได้เข้าแจ้งต่อพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน โดยกล่าวหาว่า
    "ครูบาศรีวิชัยเกลี่ยกล่อมส้องสุมคนคฤหัสถ์นักบวชเป็นก๊กเป็นเหล่า และใช้ผีและเวทมนต์"
    พระครูญาณมงคลจึงออกหนังสือลงวันที่ ๑๒มกราคม ๒๔๖๒ สั่งครูบาศรีวิชัยให้ออกไปพ้นเขตจังหวัดลำพูน ภายใน ๑๕ วัน พร้อมทั้งมีหนังสือห้ามพระในจังหวัดลำพูนรับครูบาศรีวิชัยไว้ในวัด เมื่อครูบาศรีวิชัยโต้แย้งและทางการไม่สามารถเอาผิดครูบาศรีวิชัยได้ ความดังกล่าวก็เลิกราไประยะหนึ่ง
    แต่ต่อมา ก็มีหนังสือของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองนครลำพูน เรียกครูบาศรีวิชัยพร้อมกับลูกวัดเข้าเมืองลำพูน
    ครั้งนั้นพวกลูกศิษย์ได้จัดขบวนแห่ครูบาศรีวิชัยเข้าสู่เมืองอย่างใหญ่โต การณ์ดังกล่าวคงจะทำให้ทางคณะสงฆ์ผู้ปกครองลำพูนตกใจอยู่มิใช่น้อย ดังจะพบว่าเมื่อครูบาศรีวิชัยพักอยู่ที่วัดมหาวันได้คืนหนึ่ง อุปราชเทศามณฑลพายัพจึงได้สั่งย้ายครูบาศรีวิชัยขึ้นไปยังเชียงใหม่ โดยให้พักกับพระครูเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ที่วัดเชตวัน เสร็จแล้วจึงมอบตัวให้พระครูสุคันธศีล รองเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ ที่วัดป่ากล้วย (ศรีดอนไชย)....ฯลฯ

    ครับ...บนเส้นทางเดินของชีวิต ไม่มีความสำเร็จอะไรที่ได้มาโดยไม่มีบททดสอบ...
    หลวงปู่ครูบาขันแก้วท่านก็ถูกทดสอบโดยความเชื่อมั่นของท่านเอง ในขณะเดียวกันท่านก็ต้องต่อสู้กับแรงเสียดสีจากคนรอบข้าง แต่ท่านก็ต้องอดทนเพื่อพิสูจน์ในสิ่งที่ท่านเชื่อมั่น
    โดยเฉพาะเรื่องของ พระยันต์ดาบสหรีกัญชัย”...
    เรื่องนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อนและต้องว่ากันยาวๆถึงจะได้ใจ... เอาไว้ไปต่อกันตอนหน้าดีกว่า...สวัสดีครับ

    กราบขอบพระคุณ พระอาจารย์ชนินทร์ ชนินโท สำนักสงฆ์รัศมีพรหมโพธิโก ที่เมตตาให้ข้อมูลและอนุญาตให้นำบทความในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูอุดมขันติธรรม(ครูบาขันแก้ว) มาเผยแพร่


    </TD></TR></TBODY></TABLE>





    ขอบคุณที่มา


    http://www.oknation.net/blog/sitthi/2009/07/31/entry-1

    ให้บูชา 350 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6904.jpg
      IMG_6904.jpg
      ขนาดไฟล์:
      178 KB
      เปิดดู:
      99
    • IMG_6905.jpg
      IMG_6905.jpg
      ขนาดไฟล์:
      185 KB
      เปิดดู:
      100
  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 575 เหรียญรุ่นสอง หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา(ซำปอกง)

    พระครูโศภนกัลยาณวัตร (เส่ง โสภโณ)
    โดย จ.ส.อ. เอนก เจกะโพธิ์
    ( หน้า 1/1)


    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="14%"><TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระครูโศภนกัลยาณวัตร
    (เส่ง โสภโณ)
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width="86%">ประวัติ พระครูโศภนกัลยาณวัตร (เส่ง โสภโณ)
    อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

    • • • • • • • • • • • • • • • • • • • •
    [SIZE=+1]ชาติภูมิ[/SIZE]
    พระครูโศภนกัลยาณวัตร นามฉายา โสภโณ นามเดิม เส่ง เปี๊ยนสู่ลาภ
    นามโยมบิดา นายเพี๊ยน นามโยมมารดา นางแดง เปี๊ยนสู่ลาภ
    [SIZE=+1]ชาติกาล[/SIZE]
    เกิดเมื่อวันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 7 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๓๔
    [SIZE=+1]ภูมิลำเนาเดิม[/SIZE]
    ปากคลองตลาด แขวง วังบูรพาภิรมณ์ เขต พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    มีพี่น้องร่วมโยมบิดามารดาเดียวกันคือ
    1. นายเล็ก เปี๊ยนสู่ลาภ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    2. นายบุญช่วย เปี๊ยนสู่ลาภ (หายสาบสูญเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ. ๒๔๘๕)
    โดยมีพระครูโศภนกัลยาณวัตร (เส่ง โสภโณ) เป็นบุตรชายคนโต
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="100%">[SIZE=+1]บรรพชา[/SIZE]
    เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ณ วัดกัลยาณมิตร แขวงกัลยาณ์ เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    [SIZE=+1]อุปสมบท[/SIZE]
    เมื่ออายุได้ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ณ วัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์
    ท่านเจ้าคุณพระธรรมเทศาจารย์ (มุ้ย ธมฺมปาโล) วัดราชโอรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ท่านเจ้าคุณพระสุนทรรมาจาร (พรหม) วัดกัลยาณมิตร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    [SIZE=+1]ตำแหน่งสมณศักดิ์[/SIZE]
    พระครูโศภนกัลยาณวัตร (เส่ง โสภโณ)
    เดิมได้รับตำแหน่งเป็นพระฐานานุกรมในท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) เป็นพระปลัด
    พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร เป็นพระครูสัญญบัตรชั้นโท
    (จ.ป.ร.) ที่พระครูโศภนกัลยาณวัตร และอยู่ในสมณศักดิ์เดิมตราบจนสิ้นอายุขัย
    [SIZE=+1]ชีวประวัติโดยสังเขป[/SIZE]
    พระครูโศภนกัลยาณวัตร หรือในสมญานามที่บรรดาศิษยานุศิษย์กล่าวขานถึงด้วยความเคารพศรัทธาว่า "หลวงปู่เส่ง" ในสมัยยังเยาว์วัยได้อาศัยอยู่กับโยมบิดามารดาของท่าน ซึ่งมีอาชีพค้าขายอยู่ที่ปากคลองตลาด อันเป็นศูนย์กลางตลาดสด ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในขณะนี้ ในสมัยนั้น วัดกัลยาณมิตรซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้าม กับปากคลองตลาด โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยากั้นกลางพาหนะที่ใช้ไปมาหาสู่กันในสมัยนั้น จึงต้องอาศัยเรือจ้างข้ามฟากติดต่อกัน มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอยู่รูปหนึ่งมีบารมีทางธรรมสูงและมีความเชี่ยวชาญทางพระวิปัสสนาธุระ-วิทยาคมควบคู่กันไป คือท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพินิตวิหารการ ได้เป็นที่เคารพศรัทธาของมหาชนเป็นจำนวนมาก ในกิตติคุณทางไสยศาสตร์จึงพากันมาขอของดีและฝากตัวเป็นสานุศิษย์ ในท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) ซึ่งมีทั้งระดับชาวบ้านธรรมดาและชาววัง อาทิเช่น พระยาศิริชัยบุรินทร์, พระยาสิงหเสนีย์, พระยาสุรเทพศักดิ์, พระยามนตรีสุริยวงศ์ *และขุนหลวงพระยาไกรสีห์ (เปล่ง เวภาระ) เป็นต้น
    ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่นายเพี๊ยน และนางแดง เปี๊ยนสู่ลาภ โยมบิดามารดาของหลวงปู่เส่ง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดกัลยาณมิตรเพียงแค่แม่น้ำเจ้าพระยากั้นกลาง จึงเป็นอีกครอบครัวหนึ่ง ที่พากันมาฝากตัวเป็นสานุศิษย์ให้ท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) ด้วย การเข้าหาพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงคุณธรรมตามประเพณีนิยมแต่โบราณกาลนั้น บิดามารดาก็มักจะพาบุตรชายติดตามไปด้วย เพื่อฝากเนื้อฝากตัวเป็นสานุศิษย์เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่เด็ก หลวงปู่เส่งก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มักจะติดตามโยมบิดามารดา ไปหาท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) อยู่เสมอๆ
    อาศัยที่อุปนิสัยดังเดิมของหลวงปู่เส่ง มีใจฝั่กใฝ่ในทางธรรม-รักความสงบชอบคามสันโดษ แต่บ้านที่อยู่อาศัยเป็นร้านค้าผู้คนพลุกพล่านย่อมหาความสงบไม่ได้ ประกอบกับการที่ท่านได้ติดตามโยมบิดามารดามาวัดบ่อยๆ จึงเกิดความพอใจในความสงบวิเวกภายในบริเวณวัดเข้า ดังได้รับคำบอกเล่ากันต่อๆ มาว่า หลวงปู่เส่งท่านมักจะหนีออกจากบ้านข้ามฟากมาวัดกัลยาณ์บ่อยๆ เพื่อหนีสภาพความสับสนวุ่นวายในย่านปากคลองตลาด บางครั้งท่านก็แอบไปนั่งทำสมาธิหาความสงบทางใจในป่าช้าคนเดียว ซึ่งป่าช้าของวัดกัลยาณ์ฯนั้นอยู่ติดกับด้านหลังของคณะ ๔ อันเป็นคณะที่ท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) พระอาจารย์ของท่านพำนักอยู่ในขณะนั้น
    ด้วยสาเหตุดังที่ได้กล่าวมาจึงเป็น เหตุนำพาให้หลวงปู่เส่งได้พบกับพระอาจารย์ของท่าน คือท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) และเกิดความเลื่อมใสในทางธรรมมากกว่าทางโลกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ธรรมดาบิดามารดาย่อมรักใคร่ในบุตรประดุจดัง แก้วตาดวงใจ และย่อมจะเข้าใจในบุตาที่ตนเองเลี้ยงดูมาดีว่าลูกแต่ละคนมีอุปนิสัยไปในทางใด ดังนั้น เมื่อหลวงปู่เส่งท่านไม่มีอุปนิสัยไปในทางค้าขาย แต่ตรงกันข้ามกลับมีนิสัยรักสันโดษใฝ่ใจไปในทางธรรม จึงมีอยู่ทางเดียวที่ควรจะกระทำก็คือนำบุตรชายที่ตนรักนั้น ไปมอบถวายตัวเป็นสานุศิษย์ของพระเถระที่ตนเองเคารพศรัทธา ให้ท่านช่วยอุปการะรับไว้ในความเมตตาธรรมของท่านสืบไป
    เมื่อเข้ามาฝากตัวเป็นสานุศิษย์ในท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) แล้ว อาศัยความที่เป็นเด็กเรียบร้อยประพฤติตนตั้งอยู่ในโอวาทของท่านเจ้าคุณฯพระอาจารย์เป็นอย่างดี คอยปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดไม่เกียจคร้าน ย่อมเป็นที่รักใคร่เมตตาของท่านเจ้าคุณฯพระอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อท่านเจ้าคุณฯพระอาจารย์เห็นอุปนิสัยของหลวงปู่เส่ง มีใจฝักใฝ่ในทางธรรมแน่วแน่ไม่แปรผันไปในทางโลกแน่นอนแล้ว จึงได้อุปการะให้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๔๘ และในอีก ๗ ปีต่อมาท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) ก็ได้อุปการะให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุได้ ๒๑ ปีบริบูรณ์ตรงกับปีพ.ศ. ๒๔๕๕ และแต่งตั้งให้เป็นพระฐานานุกรมของท่านในตำแหน่งพระปลัด

    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="22%" align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระครูโศภนกัลยาณวัตร
    (เส่ง โสภโณ)
    ถ่ายเมื่อปี พศ.2499
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [SIZE=+1]ชีวิตในมัชฌิมวัย[/SIZE][SIZE=+1]
    ***************************************
    [/SIZE]
    ตลอดระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นพระปลัดอยู่นั้น หลวงปู่เส่งท่านก็ได้มีส่วนในการช่วยท่านเจ้าคุณฯ พระอาจารย์ของท่านในด้านการพัฒนาต่างๆ เพราะท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) พระอาจารย์ของท่านนอกจากจะเป็นพระเถระที่ทรงคุณธรรมในด้านพระวิปัสสนาธุระและวิทยาคมแล้ว ท่านยังเป็นพระนักพัฒนาคนสำคัญของวัดกัลยาณ์ฯในขณะนั้น ที่มีส่วนสร้างสรรค์ความเจริญให้กับวัดกัลยาณ์ฯไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาสิ่งที่ท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) สร้างสรรค์เอาไว้บางอย่างได้กลายมาเป็นอนุสรณ์อันสำคัญยิ่งก็คือ การที่ท่านจัดหล่อระฆังใบใหญ่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ ซึ่งต่อมาปรากฏตามหลักฐานประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรได้จารึกไว้ว่า เป็นระฆังใบใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
    เมื่อท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) พระอาจารย์ของหลวงปู่เส่ง ท่านเป็นพระนักพัฒนาดังที่ได้กล่าวมา หลวงปู่เส่งซึ่งเป็นพระปลัดฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณฯซึ่งเปรียบเสมือนมือขวาจึงย่อมจะมีส่วนช่วยเหลือในผลงานพัฒนาต่างๆ เหล่านั้นตลอดมา (มีรายละเอียดอยู่ในประวัติของท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม))
    นอกจากผลงานทางด้านพัฒนาต่างๆ ที่หลวงปู่เส่งท่านมีส่วนช่วยเหลือท่านเจ้าคุณพระสุนมรสมาจาร (พรหม) พระอาจารย์ของท่านพัฒนามาแล้ว ภายหลังจากที่ท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) มรณภาพลงในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ปรากฏว่าระฆังใบใหญ่ที่ท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) สร้างไว้นั้น หอระฆังที่จะนำระฆังขึ้นไปประดิษฐานยังไม่แล้วเสร็จ หลวงปู่เส่งท่านจึงได้รับเป็นภาระ-ธุระบอกบุญเรี่ยไรบรรดาศิษย์ทั้งหลายด้วยความมานะพากเพียร ในการสร้างหอระฆังดังกล่าวจนสำเร็จลุล่วงเป็นหอระฆังที่สมบูรณ์เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้นเป็นเงิน ๘,๖๔๘.๐๖ บาท (เป็นอัตราค่าของเงินตราในปีพ.ศ. ๒๔๗๘) ทำพิธีระฆังขึ้นไปประดิษฐานและฉลองได้เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๘ โดยมีพระเจ้าวรวงษ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จเป็นองค์ประธาน
    ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) เป็นผู้สร้างระฆังใบใหญ่สำเร็จ แต่ยังไม่ทันสร้างหอระฆังสำเร็จท่านก็มาด่วนมรณภาพลงเสียก่อน หลวงปู่เส่งซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านก็ไม่ได้นิ่งดูดายทอดธุระเสีย จึงได้รับเป็นภาระจัดสร้างหอระฆังเพื่อให้ผลงานนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จนกระทั้งกลายมาเป็นระฆังและหอระฆังตั้งเด่นอยู่ดังที่ได้พบเห็นอยู่ในทุกวันนี้
    นอกจากหลวงปู่เส่งท่านจะมีผลงานทาด้านพัฒนาร่วมกันมากับท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) และได้รับเป็นภาระจัดสร้างหอระฆังสืบต่อมาจากท่านเจ้าคุณฯพระอาจารย์ของท่านจนเป็นผลสำเร็จในปีพ.ศ. ๒๔๗๘ แล้ว
    ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๑๔ ท่านยังได้ร่วมกับบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายจัดสร้างศาลาจัตุรมุข ไว้หน้าพระวิหารน้อยบริเวณนอกกำแพงแก้ว สิ้นเงินค่าก่อสร้างทั้งหมด ๖๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระรูปหล่อเท่าองค์จริงของท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) พระอาจารย์ของท่าน เพื่อเป็นการแสดงถึง ความกตัญญู และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติคุณของท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) ซึ่งได้ทำคุณประโยชน์ให้กับวัดกัลยาณ์ไว้เป็นจำนวนมาก ดังเป็นประจักษ์ชัดแก่มหาชนทั่วไปเป็นอย่างดี
    เมื่อท่านพระครูโศภนกัลยาณวัตรหรือหลวงปู่เส่ง ท่านได้ใช้เวลาส่วนมากในมัชฌิมวัยให้หมดไปด้วยการช่วยพระอาจารย์ของท่าน ทะนุบำรุงพระศาสนาด้วยการสร้างสรรค์พัฒนาความเจริญต่างๆ ให้กับวัดกัลยาณ์ฯดังกล่าวมา ดังนั้นหลวงปู่เส่งท่านจึงไม่มีเวลาที่จะไปศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง จึงต้องอาศัยเวลาในยามว่างเล่าเรียนธรรมและวิทยาคมจากท่านเจ้าคุณฯพระอาจารย์ของท่าน แต่เป็นการเรียนเพื่อรู้ไม่ได้เข้าสอบไล่ในสนามหลวงเอาใบประกาศวุฒิบัตร จึงเป็นไปในลักษณะเรียนเพื่อรู้ในหลักธรรมเหล่านั้น เพื่อที่จะได้นำมาปฏิบัติได้ถูกต้องตามขึ้นตอนของพระพุทธศาสนากล่าวคือ
    [SIZE=+1]ปริยัติ-ปฏิบัติ-และปฏิเวธ[/SIZE]
    ส่วนทางด้านพระวิปัสสนาธุระและวิทยาคมนั้นเข้าใจว่า ท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) พระอาจารย์ของท่าน ซึ่งเรืองวิทยาคมคงจะถ่ายทอดให้หมด ทั้งนี้เพราะหลวงปู่เส่งท่านเป็นสานุศิษย์เพียงคนเดียวของท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) ที่อยู่ปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดตลอดมา แต่เนื่องด้วยอุปนิสัยอันสุขุมนุ่มนวลของท่าน ไม่ชอบโอ้อวดตัว ไม่ค่อยแสดงออกจึงไม่เป็นที่เปิดเผยเท่าไรนัก ต่อมาภายหลังเมื่อท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) พระอาจารย์ของท่านมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ หลวงปู่เส่งซึ่งเป็นสานุศิษย์ก้นกุฏิเป็นทายาททางธรรม ที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากท่านเจ้าคุณฯพระอาจารย์ของท่านเหล่านั้นสืบมา แต่ปฏิทาของหลวงปู่เส่งท่านจะหนักไปในทาง เมตตาธรรม เป็นหลักใหญ่ ดังจะเห็นได้จากการที่ใครมีทุกข์เดือดร้อนเมื่อบากกหน้ามาหาท่านหลวงปู่เส่ง ท่านไม่เคยปฏิเสธความช่วยเหลือกับใครเลย ถ้าขอเป็นเงินท่านก็ให้เป็นเงินสงเคราะห์ไป ถ้าขอเป็นสิ่งของท่านก็ให้เป็นสิ่งของสงเคราะห์ให้ทุกๆ รายไป บางรายที่ได้ทราบว่าหลวงปู่เส่งคือศิษย์ก้นกุฏิของท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) ผู้เรืองวิทยาคม ก็จะพากันมาขอรับ น้ำมนต์-น้ำพรจากหลวงปู่เส่งๆท่านก็ไม่เคยขัดศรัทธา ฉลองศรัทธาทำให้ทุกๆรายไป เมื่อนานๆวันเข้าคำเล่าลือในความศักดิ์สิทธิ์จากน้ำพระพุทธมนต์ที่หลวงปู่เส่งปลุกเศก ก็แผ่ขยายออกไปในหมู่บ้านมหาชนมาขึ้นๆทุกที จึงมีมหาชนเป็นจำนวนมากได้พากันมาขอรับ น้ำมนต์-น้ำพร จากหลวงปู่เส่งวันละเป็นจำนวนมากๆ ตั้งแต่เช้า-จนกระทั่งถึงยามวิกาล
    [SIZE=+1]น้ำพระพุทธมนต์บัวลอย[/SIZE]
    พระครูโศภนกัลยาณวัตรหรือหลวงปู่เส่ง ก็เลยกลายเป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคมขลังไปในทางปลุกเศก *น้ำพระพุทธมนต์บัวลอย ปล่อยเคราะห์ไปโดยเหตุดังที่ได้กล่าวมา สำหรับทางด้านวิทยาคมด้านอื่นๆ นอกจากน้ำพระพุทธมนต์บัวลอยปล่อยเคราะห์ดังกล่าวแล้ว เนื่องจากหลวงปู่เส่งท่านเป็นพระสมถะที่ไม่ค่อยแสดงออก จึงมักไป
    *สาเหตุที่เรียก "น้ำพระพุทธมนต์บัวลอย" ปล่อยเคราะห์ ก็เพราะว่าผู้ที่ต้องการน้ำมนต์-น้ำพรจากหลวงปู่เส่งจะต้องนำดอกบัวขาว ๓ ดอกเทียนขาว ๑ เล่ม มาให้หลวงปู่เส่งท่านทำพิธีปลุกเศกให้ที่บาตรน้ำมนต์แล้วท่านจะรด "น้ำพระพุทธมนต์บัวลอย" นั้นให้ เสร็จแล้วหลวงปู่เส่งท่านก็จะให้ดอกบัวขาว ๒ ดอกนั้นๆแก่ผู้ที่นำมา นำดอกบัวขาวที่หักก้านออกแล้วทั้ง ๑ ดอกไปลอยลงในแม่พระคงคาเพื่อปล่อยเคราะห์เป็นอันเสร็จพิธี
    ปรากฏผลและทราบก็แต่เฉพาะผู้ที่ท่านสงเคราะห์ให้ไปเป็นรายๆ เท่านั้น นอกจากผู้นั้นจะนำมาเล่าขานให้คนอื่นๆ ได้รับทราบอีกที บางรายเท่าที่เคยเห็นญาตินำตัวมาเหมือนคนวิกลจริต กล่าวคือ มี สติสัมปชัญญะ ไม่ค่อยจะสมบูรณ์ได้ไปตรวจรักษา ที่โรงพยาบาลแล้วก็ไม่พบสาเหตุอะไร ทางญาติๆ จึงเข้าใจว่าถูกของประเภท ลมเพ-ลมพัด คือถูกกระทำ จึงได้นำตัวมาหาหลวงปู่เส่งๆ ท่านก็เมตตาน้ำแป้งมาเศกผสมกับน้ำพระพุทธมนต์บัวลอย แล้วให้ปิดพอกที่ผิวหนังพอแป้งหมาดๆ ก็ให้แกะออกดู ปรากฏว่า บางครั้งจะมีเส้นผมยาวๆ ติดออกมา บางครั้งก็เป็นตัวนอนตายซากติดออกมากับแป้งนั้น ทั้งๆที่ก่อนพอกแป้งนั้น ไม่มีอะไรเจือปนอยู่เลย นอกจากน้ำพระพุทธมนต์บัวลอยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่กล่าวมานี้ เป็นกรรมวิธีเรียกของที่ไม่ดีออกจากตัวผู้ที่ถูกกระทำ และที่นำมาเล่าสู่กันฟังก็เป็นเพียงเกร็ดความรู้เท่าที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังได้เท่านั้น แต่ในด้านของเหตุผลย่อมแล้วแต่จะวิเคราะห์กันเอาเองตามแต่ภูมิธรรมของแต่ละบุคคล
    นอกจากหลวงปู่เส่งท่านจะเกื้อกูลบรรดาศิษยานุศิษย์ด้วยการปลุกเศก น้ำพระพุทธมนต์บัวลอยปล่อยเคราะห์อันลือชื่อแล้ว หลวงปู่เส่งท่านยังได้ใช้เวลาในยามว่างเท่าที่มีทำผ้ายันต์แจกศิษยานุศิษย์ ด้วยการเขียนลงบนผืนผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัสจารอักขระขอมและยันต์ต่างๆ ด้วยมือของท่านเองทุกๆผืน ไม่มีการพิมพ์และผู้ที่ได้รับก็รับกับมือของหลวงปู่เส่งด้วยตนเองทุกๆ คนไปคนละผืน ไม่มีการแจกเผื่อเหลือให้ใครโดยผ่านมือคนอื่นต่อๆ กัน แต่มาในระยะหลังๆ หลวงปู่เส่งท่านไม่ค่อยมีเวลาจึงไม่ได้ทำแจกเหมือนก่อนๆ
    พระครูโสภนกัลยาณวัตรหรือหลวงปู่เส่งนอกจากจะมีกิตติคุณในทางปลุกเศกน้ำพระพุทธมนต์บัวลอยปล่อยเคราะห์ และใช้เวลาในยามว่างทำผ้ายันต์แจกให้สานุศิษย์แล้ว ยังมีผู้ที่มีจิตศรัทธาทำพระเครื่องมาถวายหลวงปู่เส่งให้ท่านไว้แจกเพื่อเป็นการเผยแพร่บารมีธรรม โดยผ่านการปลุกเศกจากท่านเรียบร้อยแล้ว และหลวงปู่เส่งท่านก็ได้แจกไปโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ-เลือกเพศ-เลือกวัย ทุกคนต่างก็มีสิทธิ์ได้รับความเมตตาจากท่านเหมือนๆ กันทุกๆ คน
    ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น ท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) มีหลวงปู่เส่งเป็นทายาททางธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมขลังจากท่านเจ้าคุณฯพระอาจารย์ของท่าน แต่มาในยุคของหลวงปู่เส่งท่านไม่มีทายาททางธรรมในด้านนี้ ที่จะได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมขลังจากหลวงปู่เส่งเลย เพราะไม่มีผู้ใดกล้าอาจเอื้อมไปขอเรียนกับหลวงปู่ท่าน ก็เนื่องด้วยทราบดีว่า "ภูมิธรรมทางจิต-และบารมีธรรม" ไม่ถึงขั้นที่จะไปตีเสมอกับหลวงปู่เส่งซึ่ง ปฏิทานั้นสะอาดหมดจดไปด้วย "ทัศนจิต" อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ย่อมเป็นที่ประจักษ์แก่สานุศิษย์ทุกๆ คนเป็นอย่างดี และผู้เขียนก็ได้เคยกราบเรียนถามท่านว่า หลวงปู่ได้เคยถ่ายทอดวิทยาคมขลังปลุกเศกน้ำพระพุทธมนต์บัวลอยให้ใครไว้บ้าง? หลวงปู่เส่งท่านเคยปฏิเสธยังไม่เคยเลย ดังนั้น ทายาททางธรรมในด้านวิทยาคมของหลวงปู่เส่งจึงไม่มีผู้ใดได้รับเกียรติอันนี้
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="22%" align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระครูโศภนกัลยาณวัตร
    (เส่ง โสภโณ)
    ถ่ายที่ระฆังใหญ่ วัดกัลยาณมิตร
    เมื่ออายุ 84 ปี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[SIZE=+1]ชีวิตในปัจฉิมวัยและปฏิปทาของพระครูโศภนกัลยาณวัตร (เส่ง โสภโณ)
    [SIZE=+1]*************************************** [/SIZE]
    [/SIZE]
    ชีวิตในปัจฉิมวัยของท่านพระครูโศภนกัลยาณวัตรหรือหลวงปู่เส่งนั้น บรรดาสานุศิษย์ที่อยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่เส่งย่อมทราบดีว่า ปฏิปทาของหลวงปู่ย่อมบ่งชี้ชัดว่าเป็นไปเพื่อ การละและการเสียสละ อย่างแท้จริง กล่าวคือ ตลอดอายุขัยของท่านๆ ไม่เคยสะสมทรัพย์สมบัติใดๆไว้เป็นส่วนตัวเลย บรรดาปัจจัยสี่ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธาน้อมนำถวายเหล่านั้น หลวงปู่เส่งท่านจะบริจาคให้เป็นทานบารมีแก่บรรดาผู้ขัดสนที่มาขอพึ่งใบบุญของท่านให้หมดไปทุกๆ วันโดยไม่เหลือเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัวเลย จึงมักจะมีคนตกยากบากหน้ามาขออาศัยใบบุญของหลวงปู่เส่งอยู่เป็นจำนวนมากๆ ยังความแปลกใจให้แก่บุคคลภายนอกที่ได้มีโอกาสมาพบเห็นสภาพดังกล่าว ต่างได้พากันสงสัยและวิจารณ์ว่า "ทำไมหลวงปู่เส่งท่านถึงได้เลี้ยงคนเอาไว้มากมายหลายๆ ประเภท" บางคนสงสัยมากหน่อยจึงได้กราบเรียนถามท่านตรงๆ เลยตามที่ได้กล่าวมา ซึ่งก็ได้รับคำตอบจากจริงใจของหลวงปู่เส่งท่านว่า "ธรรมดาไม้ใหญ่ที่ยืนต้นย่อมไม่ปฏิเสธต่อนกกาที่บินมาอาศัยได้ฉันใด-ท่านก็ย่อมจะขับไล่บุคคลต่างๆ ที่บากหน้ามาอาศัยใบบุญของท่านไม่ได้ฉันนั้น และเมื่อไม้ใหญ่ที่ยืนต้นนั้นโค่นล้มลงเมื่อใด หมู่วิหคนกกาที่อาศัยก็จะพากันไปเองฉันใด-ความเป็นไปของท่านก็คงเป็นอย่างนั้นเช่นเดียวกัน"
    นี่คือคำตอบที่ลั่นออกมาจากเมตตาจิต-เมตตาธรรมของหลวงปู่เส่ง เมื่อได้รับทราบความจริงใจของหลวงปู่เส่งท่านดังนี้แล้ว ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรเมื่อปรากฏว่าบางครั้งในบรรดาสานุศิษย์จะมีเด็กบางคนติดยาเสพติดรวมอยู่ด้วย แต่หลวงปู่เส่งท่านก็ไม่เคยขับไล่ไปเพราะท่านให้เหตุผลว่า "เด็กมันถูกไล่ออกจากบ้านก็เพราะติดยาเสพติด พ่อแม่รังเกียจ จึงไม่ให้เข้าบ้าน เด็กมันปราศจากที่พึ่งจึงได้หันหน้าเข้ามาอาศัยวัดอยู่ ถ้าขับไล่ไปอีก เด็กเหล่านั้นก็จะเคว้งคว้างปราศจากที่พึ่ง เด็กจะได้รับความกดดันทางใจอย่างแสนสาหัส-เมื่อหมดหนทางเข้าจริงๆ เด็กนั้นก็อาจจะไปประกอบอาชญากรรมก่อเวร-ก่อภัยให้กับสังคม คนดีๆ ก็จะพลอยเดือดร้อนไปด้วย การที่เด็กหันหน้าเข้ามาอาศัยอยู่ในวัด ก็จะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ช่วยกันอบรมสั่งสอนศีลธรรม-จรรยาธรรมให้แก่เขาเหล่านั้นได้บ้าง ก็จะเป็นผลดีทั้งแก่เด็กและสังคมส่วนรวม เท่ากับได้ช่วยทั้งเด็กและสังคมไปด้วยในขณะเดียวกัน ส่วนความผิดทางกฎหมายก็เป็นเรื่องของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเขาที่จะจัดการไปตามหน้าที่ ถ้าเด็กทำผิดกฎหมายของบ้านเมือง เรามีหน้าที่เพียงให้ที่พำนักอาศัยและสงเคราะห์กันไปตามหน้าที่ของมนุษยธรรมในสังคมเท่านั้น"
    ที่กล่าวมานี้เป็นความในใจที่หลวงปู่เส่งท่านได้เคยปรารภให้สานุศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้รับทราบความจริงใจของท่านที่มีเมตตาต่อบรรดาศิษยานุศิษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่เลือกบุคคลใดๆ เลยอันความเมตตาธรรมของหลวงปู่เส่งนั้น...
    "ประดุจดังสายฝนที่หล่นลงมาจากฟากฟ้า ย่อมยังความชุ่มชื้นให้พื้นปฐพี
    โดยไม่เลือกถิ่นที่ว่าเป็นฉันใด ความเมตตาของหลวงปู่เส่งก็ไม่เคยจำกัดบุคคลแต่ประการใด"

    ชีวิตของหลวงปู่เส่งช่างมากไปด้วยเมตตาจิตต่อสานุศิษย์ทุกคน บางครั้งมีมหาชนผู้มีความเคารพเลื่อมใสในตัวท่าน ได้พากันมาหาตั้งแต่เช้าตรู่ย่ำรุ่งมาเรียกมาปลุกท่านหลวงปู่ก็ไม่เคยบ่นไม่เคยว่า ช่วยฉลองศรัทธาสงเคราะห์ให้แก่เขาเหล่านั้นทุกๆ รายไป จนบางวันข้าวมื้อเช้าไม่มีโอกาสฉันเป็นเช่นนี้บ่อยๆ เพราะมัวแต่ฉลองศรัทธามหาชนที่พากันมาหาไม่ขาดตอนเหล่านั้นจนต้องอดอาหารมื้อเช้า ด้วยไม่มีจังหวะว่างคนเข้าหาท่านจึงต้องฉันเพียงแค่เพลมื้อเดียวบ่อยๆ ซึ่งเหตุการณ์ที่กล่าวมานี้ มักปรากฏเป็นประจำและเป็นธรรมดาในชีวิตของหลวงปู่เส่ง แม้ว่าวัยของหลวงปู่เส่งท่านก็ไม่ห่วงใยในตัวของท่านเลย ท่านกลับไปห่วงคนอื่นๆ มากกว่าตัวของท่านเอง ก็เพราะเมตตาธรรมที่หลั่งออกมาจากเมตตาจิตอันเปี่ยมล้นท่วมท้น จนสุดคณนาจนไม่เคยคำนึงถึงสังขารของท่านเองเลยแม้แต่น้อย
    นอกจากปฏิปทาของหลวงปู่เส่งท่านจะเป็นไปในลักษณะ "การละและการเสียสละ" ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในด้านการวางอารมณ์ของหลวงปู่ท่านคงเส้นคงวาจัดอยู่ในลักษณะ "ปล่อยวาง" ให้จิตว่างวางอยู่ใน
    "อุเบกขารมณ์" อยู่ตลอดเวลา กล่าวคือหลวงปู่เส่งท่านไม่เคยดุด่าใครให้ได้รับความเจ็บช้ำน้ำใจเลย ไม่เคยแสดงความโกรธให้เห็นเลยแม้แต่น้อยจัดอยู่ในประเภท "ช่างมัน-ช่างเขา" ไม่เคยยึดถือเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ของท่าน
    ดังนั้น ผู้ที่เคยเข้าพบหลวงปู่เส่งจึงมักจะพบเห็นดวงตาของท่านแจ่มใสอยู่ตลอดเวลา อันเป็นบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์เด่นชัดของหลวงปู่ก็คือ
    "มีดวงตาใสแจ๋ว-ฉายแววเมตตาอยู่ตลอดเวลา"
    ฉะนั้นจึงไม่แปลกอะไรที่มีแค่คำบอกเล่าจากคนเก่าคนแก่ ที่เคยร่วมสมัยกับท่านมาเมื่อครั้งที่ท่านยังอยู่กับท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) พระอาจารย์ของท่าน เล่าต่อๆ กันมาว่า แม้แต่ท่านเจ้าคุณฯ พระอาจารย์ของท่านยังเคยออกปากชมหลวงปู่เส่งว่า
    "ท่านเส่งนั้นหนักแน่นไม่ต่างอะไรกับแผ่นดิน" ตามความหมายนั้นก็คือใครจะว่าอะไรท่านก็เฉยไม่เคยโกรธไม่เคยเคือง ไม่ถือสาหาความกับใครทั้งนั้น ไม่เคยยึดถือเอามาเป็นอารมณ์ เปรียบเสมือนดังแผ่นดินใครจะเหยียบย่ำใครจะทิ้งสิ่งของสกปรกลงไปก็ย่อมได้ แผ่นดินก็พร้อมที่จะรองรับเสมอไป นี่คือคำอุปมาที่ท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) พระอาจารย์ของท่าน ได้กล่าวเปรียบเปรยเอาไว้เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ดูช่างเหมาะสมกับปฏิปทาของหลวงปู่เส่งท่านจริงๆ
    ชีวิตในปัจฉิมวัยระยะ ๒-๓ ปีหลังของหลวงปู่เส่งตอนใกล้มรณภาพ การบำเพ็ญเมตตาบารมีและทานบารมีของหลวงปู่ ยังคงดำเนินติดต่อกันมาอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ขาดตอน ท่านยังคงรับฉลองศรัทธาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ทั้งในระดับวัดและระดับบุคคล ด้วยการสงเคราะห์วัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ด้วยการแผ่บารมีธรรมทางด้านพิธีพุทธาพิเศก โดยไม่เลือกวัด โดยไม่ยินดีในลาภสักการะเมื่อได้เอกลาภมาท่านก็จะบริจาคให้เป็นทานจนหมดทุกๆ ครั้งไป แม้ว่าในระยะนี้ สังขารของหลวงปู่เส่งจะร่วงโรยไปมากและต้องการๆ พักผ่อนมากยิ่งขึ้น แต่หลวงปู่ท่านก็ยังไม่เอาสังขารของท่าน มาเป็นอุปสรรคในการที่จะสงเคราะห์แก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของท่าน ดังนั้นในระยะนี้จึงมักปรากฏว่าหลวงปู่เส่งมักจะเป็นลมหน้ามืดบ่อยๆ ครั้ง
    เพราะเหตุที่การพักผ่อนกับวัยที่ไม่สมดุลกันนั่นเอง บางครั้งถึงกับเป็นลมหน้ามืดเสียหลักตกบันไดกุฏิ จากชั้นบนลงมายังชั้นล่าง ซึ่งมีบันไดถึง ๑๗ ขั้น ถึงกับเลือดตกยางออก แต่หลวงปู่เส่งท่านเป็นพระที่ไม่มีความยึดมั่นใดๆ ในสังขารแม้แต่น้อย ไม่เคยร้องให้ใครช่วยไม่เคยบอกใครเลยว่าได้อุบัติเหตุ-อุบัติภัยเกิดขึ้นกับตัวของท่าน คงใช้ขันติธรรมชำระความเจ็บปวดด้วยตนเองทุกๆ ครั้งไป จนกระทั่งมีสานุศิษย์บางคนไปพบเห็นสรีระร่างกายของท่านมีเลือดติดแห้งกรัง จึงได้รู้ว่าหลวงปู่ได้ประสบอุบัติภัยเข้าแล้วเป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป
    ทั้งนี้เพราะหลวงปู่เส่งท่านจะพักผ่อนจำวัดบนกุฏิชั้นบนแต่ลำพังองค์เดียวตลอดมา โดยปราศจากลูกศิษย์ติดตามเนื่องด้วยอุปนิสัยรักสันโดษของท่านต้องการบำเพ็ญเพียรอยู่คนเดียวเงียบๆ ดังนั้นเมื่อประสบอุบัติเหตุครั้งใดจึงไม่มีใครรู้ใครเห็นเป็นธรรมดา
    และในอุบัติเหตุครั้งสุดท้ายอันเป็นปฐมเหตุนำท่านไปสู่มรณภัย ก็คือเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๒๕ หลวงปู่เส่งเกิดเป็นลมหน้ามือเสียหลักตกบันไดตอนตีสองเศษๆ ได้รับอุบัติเหตุถึงกับศีรษะเจาะ เพราะไปกระทบกับแง่นาฬิกาตั้งเรือนใหญ่ที่เชิงบันไดเข้า ได้ความจากท่านในภายหลังว่าตอนตีสองเศษๆ หลวงปู่ท่านจะลงมาปัสสาวะชั้นล่าง แต่เกิดเป็นลมหน้ามืดกะทันหันจึงเสียการทรงตัวตกลงมายังชั้นล่าง นอกจากที่ศีรษะแล้วตามตัวของท่านยังมีบาดแผลฉกรรจ์หลายแห่งทำให้ต้องเสียเลือดไปเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ตอนตีสองถึงรุ่งเช้า ๗ นาฬิกาเศษ เพราะในขณะเกิดเหตุดังกล่าวไม่มีลูกศิษย์คนใดทราบเลย หลวงปู่เส่งท่านก็ไม่ยอมบอกให้ใครรู้ ท่านสู้อุตส่าห์พยุงสังขารอันบอบช้ำนั้นขึ้นไปพักผ่อนบนกุฏิเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับท่าน
    หลวงปู่เส่งท่านคงใช้ขันติธรรมชำระความเจ็บปวดเหล่านั้นด้วยตัวของท่านเอง จวบจนกระทั่งรุ่งเช้าหลวงปู่ท่านจะลงมาเพื่อสรงน้ำตามปกติบรรดาสานุศิษย์จึงได้เห็นเข้าต่างพากันตกใจไปตามๆ กัน เมื่อพบว่าตามสรีระร่างกายและใบหน้าของท่านเต็มไปด้วยบาดแผลและคราบโลหิตแห้งเกรอะกรังเต็มไปหมด จึงได้ขอร้องไม่ให้ท่านสรงน้ำเพราะกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อบาดแผลเหล่านั้น และช่วยกันอ้อนวอนขอร้องให้ท่านไปตรวจรักษายังโรงพยาบาล แต่หลวงปู่เส่งท่านเป็นพระที่ไม่ยึดมั่นในสังขาร ท่านตอบว่า "ไม่เป็นไรปู่ทนได้-ไม่เจ็บหรอก" พูดไปในขณะที่ใบหน้าของท่านก็ยิ้มเฉยๆ ดวงตาใสแจ๋ว ไม่มีอาการส่อแววความเจ็บปวดให้เห็นแต่ประการใดเลย แต่ทุกๆ คนที่ได้เห็นหลวงปู่ ก็ย่อมทราบได้ดีว่าครั้งนี้หลวงปู่เส่งได้ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงกว่าทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา เพราะประจักษ์พยานก็คือเมื่อขึ้นไปพบบนที่จำวัดของหลวงปู่ท่านเต็มไปด้วยเลือด หมอนที่หนุนนอนทั้งใบเปียกชุ่มไปด้วยเลือดตลอดจนอาสนะและจีวรที่ท่านห่มนอนกลายเป็นสีแดงฉานเพราะคราบโลหิต บางแห่งมีเลือดตกค้างเป็นลิ่มๆ แสดงว่าหลวงปู่เส่งท่านได้เสียเลือดไปมาตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้ช่วยกันขอร้องอ้อนวอนให้ท่านไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล โดยมีคุณอภิราช สุวรรณวัฒน์ ร.ต.ประภาณ สุวรรณวัฒน์ และคุณชุมพล หงษ์เถื่อน ช่วยรับเป็นธุระจัดการนำหลวงปู่เส่งส่งไปตรวจรักษายังโรงพยาบบาล
    เมื่อคณะแพทย์ได้ตรวจเช็คอาการของหลวงปู่เส่งท่านแล้ว ก็ลงความเห็นว่า หลวงปู่มีอาการสาหัสและเสียเลือดไปมาก จำเป็นที่จะต้องเจาะกะโหลกศีรษะเพื่อดูดเอาเลือดที่ไหลไปตกครั่งอยู่ในสมองออก แต่ทางคณะแพทย์ก็ไม่สามารถจะรับรองความปลอดภัยได้ และก็จำเป็นที่จะต้องเสี่ยงตามหลักวิชาการแพทย์ที่ควรจะกระทำไม่มีทางเลือกอื่นใดที่ดีไปกว่านี้อีกแล้ว คณะศิษย์ที่นำหลวงปู่เส่งส่งโรงพยาบาลดังที่ได้กล่าวนามมา จึงประชุมปรึกษาหารือกันแล้วก็ยินยอมอนุญาตให้คณะแพทย์ดำเนินการได้
    ภายหลังจากที่หลวงปู่ได้ผ่านกรรมวิธีศัลยกรรมดังกล่าวแล้ว หลวงปู่ยังคงพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลอีกต่อมา อาการระยะนี้ของหลวงปู่อยู่ในลักษณะทรงกับทรุดอยู่ตลอดเวลา บางครั้งที่หลวงปู่รู้สึกตัวท่านมักจะขอร้องกับผู้ที่เยี่ยมเยียนให้นำท่านกลับวัดเสมอๆ
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="22%" align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>พระครูโศภนกัลยาณวัตร หรือในสมญานามที่บรรดาศิษยานุศิษย์กล่าวขานถึงด้วยความเคารพศรัทธาว่า "หลวงปู่เส่ง" ได้พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลต่อมาจนกระทั่งถึง วันที่ ๑๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๖ ก็ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบเมื่อเวลา ๑๓.๔๐ น. สุดความสามารถที่คณะแพทย์ศิริราชพยาบาลจะช่วยไว้ได้ เพราะย่อมเป็นไปตามอำนาจของมรณะทุกรูปนาม รวมสิริอายุ ๙๒ ปี ๗ เดือน ๔ วัน นับพรรษาได้ ๗๒ พรรษา
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="22%" align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>วัตถุมงคลที่ท่านพระครูโศภนกัลยาณวัตร (หลวงพ่อเส่ง) ได้แจกให้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์ทั่วไปในวาระต่างๆ มี พระสมเด็จเนื้อผง พระหลวงพ่อโต พระเมล็ดข้าวเม่า หรือพระใบมะขาม พระเกษทอง และผ้ายันต์ ซึ่งพระพิมพ์และผ้ายันต์ดังกล่าวนี้ หลวงพ่อเส่ง ท่านได้ดำเนินการตามอย่างที่ท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) วัดกัลยาณมิตร อาจารย์ของหลวงพ่อ ได้เคยแจกแก่บรรดาศิษยานุศิษย์เมื่อครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่

    สำหรับพระพิมพ์ที่ท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) วัดกัลยาณมิตร ได้แจกให้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์นั้น เท่าที่พอรวบรวมได้คือ

    ๑. พระพิมพ์สมเด็จปางสมาธิเนื้อผง พิมพ์ทรงฐานคู่ ๓ ชั้น
    ๒. พระเกษทองคำปางสมาธิเนื้อเมฆพัตร์
    ๓. พระพิมพ์เกษทองปางสมาธิเนื้อผง

    รายการที่ ๑-๓ แจกในงานสร้างหอระฆังหลังพระวิหารหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕

    ๔. พระสามเหลี่ยมรูปหน้าจั่ว มีพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) อยู่ตรงกลาง ด้านล่างมีหนังสือจีนเขียนว่า
    ซำ ปอ ฮุด กง เนื้อทองแดง เงิน และทองคำ แจกเมื่อซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ปิดทอง องค์ และฐานพระพุทธไตรรัตนนายก
    (หลวงพ่อโต) ในพระวิหารหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘
    ๕. เหรียญรูปใบเสมา มีพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) อยู่ตรงกลาง ทำด้วยเงิน ขนาดเล็กและใหญ่
    ๖. พระนาคปรกเมล็ดข้าวเม่า (หรือใบมะขาม) เนื้อทองแดง
    ๗. พระเกษทองคำปางสมาธิเนื้อเมฆพัตร์
    ๘. พระปิดทวารเนื้อเมฆพัตร์
    ๙. พระปิดตาเนื้อเมฆพัตร์
    ๑๐. ผ้ายันต์รูปสามเหลี่ยมชายธง มีรูปพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) ตรงกลาง ด้านล่างมีตราตัวหนังสือจีนประทับด้วยสีแดง ๔ ตัว คือ ชำ ปอ ฮุด กง

    รายการที่ ๔-๑ๆ แจกในงานสร้างหอระฆังใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ และ ๒๔๗๔
    วัตถุมงคลดังกล่าวทรงคุณวิเศษทั้งทางเมตตามหานิยมและมหิทฤทธิ์ จนเป็นที่ประจักษ์แก่ศิษยานุศิษย์ทั่วไป ปัจจุบันได้มีผู้เสาะแสวงหาเพื่อไว้บูชากันมากมาย แต่ก็หายากยิ่งนัก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ให้บูชา 599 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6886.jpg
      IMG_6886.jpg
      ขนาดไฟล์:
      241.3 KB
      เปิดดู:
      150
    • IMG_6887.jpg
      IMG_6887.jpg
      ขนาดไฟล์:
      281.6 KB
      เปิดดู:
      146
  6. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 575 สี่หูห้าตาพระอินทร์แปลงมา รุ่น 1 ครูบาชัยวงศาพัฒนา

    พญาวานร 4 หู ห้า ตา
    ครูบาชัยวงศ์ ลำพูน ให้โชคลาภสุดๆ


    กาลครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีชายหน่มกำพร้าผู้หนึ่ง ฐานะยากจนขัดสนมากแต่ก็ยังมีทำดินทำกินเพียงน้อยนิดไว้สำหรับปลูกข้าว มีอยู่ปีหนึ่งเหมือนว่าฝนฟ้าจะไม่เป็นใจกับชาบหนุ่มมากนัก ต้นข้าวที่ปลูกไว้ แห้งตายมากพอสมควร แต่ก็ยังมีเหลืออยู่บ้าง มีพระอินทร์บนสวรรค์อีกท่านหนึ่งซึ่งมองเห็นชีวิตความเป็นอยู่ ของชายหนุ่มผู้นี้ พระอิทร์ผู้มีศักดิ์คิดลงมาอยากจะช่วยเหลือชายหนุ่มกำพร้า ให้พ้นจากความทุกข์ยาก จึงแปลงร่างมาปรากฎเป็นสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง ซึ่งมี หู 4 หู มีตาอีก 5 ดวง ซึ่งในโลกมนุษย์ไม่มีสัตว์ประเภทแบบนี้เลยก็ว่าได้ และวัตว์ประหลาดตัวนี้ได้มาทำลายต้นข้าวที่ยังเหลืออีกส่วน บังเอิญชายหนุ่มซึ่งได้มาพบเห็นต้นข้าวของตนที่ถูกทำลาย จึงเกิดความโมโหขึ้นมาทันที คิดจะฆ่าสัตว์ตัวนี้ แต่ก็ไม่มีอาวุธใดและพยายามหาวิธีจะกำจัดให้พ้นๆ ไป แต่ก็ไม่รู้จะทำวิธีการใดอีก ระยะเวลาผ่านไปจนกระทั่ง ชายหนุ่มจับสัตว์ประหลาดนั้นได้จึงพามายังที่พักเป็นกระท่อมหลังเล็กๆ และได้ผูกติดกับต้นเสา พอตกเย็นใกล้ถึงหัวค่ำ ชายหนุ่มก็ได้นำอาหารที่มีอยู่ตามประสาคนจน พอมีพอกินและให้สัตว์ประหลาดตัวนั้น มันไม่ยอมกินอาหารแต่อย่างใดแต่มันทำตัวดูเหมือนว่ากำลังหนาวจัดคงต้องการความอบอุ่นมาก ชายหนุ่มจึงหาฟืนมาก่อไฟให้มัน จนระยะเวลาผ่านไป ชายหนุ่มรู้สึกง่วงนอนมากจึงคิดจะกลับไปนอนพักผ่อน พอหันกลับมาอีกทีเห็นสัตว์ประหลาดตัวนั้นกำลังจับถ่านไฟแดงร้อดจัดกินเข้าไปอย่างไม่รู้สึกร้อนแต่อย่างใด จนกระทั่งชายหนุ่มเผลอหลับไป มารู้สึกตัวอีกทีก็สว่างพอดีและยังรู้สึก งง อยู่มากที่ได้พบสัตว์ประหลาดตัวนี้ แต่ยังพบความแปลกประหลาดมากไปกว่านั้นอีก ที่ชายหนุ่มนั้นต้องตกตลึงมาก คือสัตว์ตัวนั้นกินถ่านไฟซึ่งไม่เคยพบเจอมาก่อนและยังขับถ่ายออกมาเป็น ทองคำแท้ อีกด้วย ชายหนุ่มกำพร้ายจึงร่ำรวยมาเรื่อยๆ ชายหนุ่มจึงกลับมาทบทวนความคิดอีกครั้ง.....เออ!!!!....ดีนะที่เราไม่ได้ฆ่าสัตว์ประหลาดตัวนั้น มิเช่นนั้นเราคงไม่มีทรัพย์สมบัติมากมายอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่าชายหนุ่มกำพร้าผู้นี้ยังมีความเมตตาอยู่บ้างถึงแม้ต้นข้าวที่ถูกทำร้ายจนเกิดความเสียหายจนโมโหมาก แต่ก็ยังคิดจะละเว้นชีวิตให้สัตว์ตัวนั้น

    นิทานเรื่องนี้ อ้างอิงมาจากเรื่องเล่าของ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) อยากให้ทุกคนมั่นรักษาศีล ภาวนาให้มากๆ และมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้าคนเรายึดถือสิ่งเหล่านี้ได้ชีวิตเราจะพบแต่ความสุขตลอดกาล


    สำหรับคาถาดูเพิ่มเติมที่

    สี่หูห้าตาพระอินทร์แปลงมา ครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา



    สี่หูห้าตาตัวนี้ เป็นรุ่นแรกของครูบาชัยวงศ์ แถมยังเป็นเนื้ออัลปาก้าปัดเงิน ซึ่งหายาก เพราะสร้างเพียง 200 ตัวในโลกนี้ ขนาดรุ่นแรกเนื้อทองเหลืองยังเล่นหากันหลายพันบาทครับ

    ประสบการณ์ด้านโชคลาภ (ต้องบูชาพร้อมคาถา)

    ให้บูชา 2799 บาท รายการนี้ต้องใครดีใครได้แล้ว เพราะมีน้อย ลูกศิษย์เห็นกรี๊ดสลบแน่นอน เพิ่งได้มาตัวแรกเหมือนกันครับ ใต้ฐานตอกโค้ตครับ


    ปิดรายการให้คุณ amar
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6894.jpg
      IMG_6894.jpg
      ขนาดไฟล์:
      210.3 KB
      เปิดดู:
      93
    • IMG_6895.jpg
      IMG_6895.jpg
      ขนาดไฟล์:
      236.3 KB
      เปิดดู:
      75
    • IMG_6896.jpg
      IMG_6896.jpg
      ขนาดไฟล์:
      328.4 KB
      เปิดดู:
      87
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2010
  7. wat.R

    wat.R เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    347
    ค่าพลัง:
    +745
    น้องตี๊ พี่วัษขอจองล๊อกเก็ต หลวงปู่ดาบส 2 อันครับ
     
  8. arjarhnnop

    arjarhnnop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    37,321
    ค่าพลัง:
    +76,428
    ผมได้รับรายการนี้แล้ว ครับ

    ขอบพระคุณสำหรับสีผึ้ง..............
     
  9. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 576 เหรียญรุ่นสามหลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้

    หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้

    วัดโคกดอกไม้

    ตั้งอยู่เลขที่๑ บ้านดงคอน หมู่๓ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีเนื้อที่ ๑๘ไร่ ๓งาน ๗๐ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๑ ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๔ พระอุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑ หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง เป็นประธานในการสร้าง


    ประวัติหลวงพ่อพร้า

    เดิมชื่อ พร้า ยอดดำเนิน โยมพ่อชื่อ นายอ้อน ยอดดำเนิน ชาวดงคอน โยมเเม่ชื่อ นางบุญมี ยอดดำเนิน (พูนกลิ่น) ชาวตำบลเเพรกศรีราชา
    หลวงพ่อพร้าเกิดเมื่ออาทิตย์ เดือน ๕ ปีกุน พ.ศ.๒๔๖๖ มีพี่น้อง ๖ คน เป็นชาย ๓ คน เป็นหญิง ๒ คน หลวงพ่อพร้าเป็นคนสุดท้อง ปัจจุบันเหลือพี่ชายคนเดียว คือ คุณลุงเชื้อ ยอดดำเนิน
    เมื่อโยมเเม่ตั้งครรภ์หลวงพ่อพร้าได้ ๓ เดือน โยมพ่อก็เสียชีวิต พอคลอดออกมา ญาติจึงพาตั้งชื่อว่า พร้า

    อุปนิสัย

    ถึงเเม้จะกำพร้าพ่อ เเต่ท่านก็ได้รับความอบอุ่นจากญาติพี่น้อง เพราะท่านเป็นเด็กดี ว่านอนสอนง่าย ท่านเป็นเด็กฉลาด รักการศึกษาเล่าเรียน มีความขยัน มานะอดทน หลังจบการศึกษาระดับประถม เเต่ว่า เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน ท่านเลยไม่ได้เรียนต่อ หลวงพ่อจึงตั้งปณิธานไว้ว่า หากมีโอกาสได้บวชเเละเป็นสมภารเมื่อใด จะให้ทุนการศึกษาเเก่เด็กๆที่มีพ่อเเม่มีฐานยากจน

    อุปสมบท

    พออายุครบยี่สิบปี ท่านอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ ที่วัดโคกดอกไม้ พระครูปัตย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสหุมเขียวเป็นพระกรรมวาจารย์ พระอธิการโห้ เป็นพระอนุสาวนบจารย์ ได้รับฉายาว่า อตฺตสนฺโต เเปลว่า ผู้มีตนอันสงบเเล้ว

    พอปีพ.ศ.๒๔๙๑ พระอธิการโห้ได้ลาสิกขา หลวงพ่อจึงได้รับการคัดเลือกให้ดำลงตำเเหน่งเจ้าอาวาสเเทน เเละในขณะเดียวกันก็ได้รับการเเต่งตั้ง จากคณะสงฆ์จังหวัดชัยนาท ให้ดำรงตำเเหน่งเจ้าคณะตำบลดงคอนอีกตำเเหน่งนึง ด้วยอายุเพียง ๒๕ ปีเท่านั้น หลวงพ่อพร้าเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดที่เคร่งครัด มีระเบียบวินัยมาก พูดจริง ทำจริง ทุกคนพากันเกรงกลัวเเละให้ความเคารพทุกคนถ้วนหน้า จากปณิธานหลวงพ่อที่ท่านเคยกล่าวว่า ถ้าได้เป็นสมภารจะให้ทุนการศึกษาเเก่เด็กยากจน หลวงพ่อจึงเริ่มจัดตั้งกองทุนการศึกษาเเก่เด็กยากจน โดยเเรกๆเริ่มที่วัดก่อน โดยพยายามส่งเสริมพระภิกษุเเละสามเณรที่มีความตั้งใจเรียนดีเเต่มีฐานะยากจน หลวงพ่อได้ช่วย ส่งให้ไปเรียนต่อในสำนักที่กรุงเทพ โดยท่านจะคอยส่งจตุปัจจัยเเละเครื่องอุปโภค บริโภคช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันมีลูกศิษย์หลวงพ่อที่สำเร็จการศึกษามากมายเเละที่ลาสิกขาไปมีอาชีพการงานที่ดีๆกัน


    อิทธิวัตถุมงคล

    หลวงพ่อพร้านอกจากท่านจะเป็นพระนักพัฒนาเเล้ว ท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน วัตถุมงคลของท่านก็ประสบการณ์มากมาย ทั้งทางด้านเมตตาเเละคงกระพันชาตรี พระเครื่องของท่านได้รับความนิยม เสาะหากันทุกรุ่น ทั้งรุ่นเก่าๆเเละรุ่นใหม่ๆ เเละโดยเฉพาะน้ำมนต์ของท่านศักิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ปัจจุบันพระเครื่องรุ่นเก่าๆของหลวงพ่อได้รับความนิยมมากๆเเละมีราคาเช่าหากันในราคาสูงเเบบไม่น่าเชื่อ เนื่องจากประสบการณ์ต่างที่เกิดขึ้นอย่างมากมายนั่นเอง


    ให้บูชา 300 บาท


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6906.jpg
      IMG_6906.jpg
      ขนาดไฟล์:
      166 KB
      เปิดดู:
      129
    • IMG_6907.jpg
      IMG_6907.jpg
      ขนาดไฟล์:
      164.6 KB
      เปิดดู:
      144
  10. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 577 พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ(จันลอย) หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน

    <IMG onclick="if(this.width>=700) window.open('http://www.jk-pra.com/board/attachment/Mon_1002/6_4_7145f211ebdae3b.jpg');" src="http://www.jk-pra.com/board/attachment/Mon_1002/6_4_7145f211ebdae3b.jpg" onload="if(this.offsetWidth>'700')this.width='700';if(this.offsetHeight>'900')this.height='900';" border=0>

    หลวงพ่อโหน่ง อินทสุวัณโณ แห่งวัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ท่านเป็นพระอรหันต์ และเป็นที่เคารพนับถือและเป็นอาจารย์อีกองค์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

    ท่านได้สร้างพระพิมพ์หลากหลายพิมพ์ขึ้นมา มีทั้งแจกจ่ายแก่ผู้คน และที่บรรจุในกรุเจดีย์ ว่ากันว่าเจดีย์สีขาวที่ท่านสร้างขึ้น แม้จะผ่านไปหลายสิบปี แต่ไม่มีตะไคร่จับ

    องค์นี้เป็นพิมพ์จันทร์ลอย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 c.m. เนื่องจากเป็นพระยุคต้น เนื้อหาแกร่งและมีส่วนผสมของพระกรุบ้านกร่างที่แตกหักมาก
    มีรูเจาะไว้แต่เดิมเพื่อร้อยเชือกแขวน ซึ่งพิมพ์นี้ส่วนมากจะเป็นแบบนี้แทบทุกองค์


    ขนาดพิมพ์เล็กยังให้บูชากันกว่า 4500 ส่วนองค์นี้พิมพ์ใหญ่ต้องมากกว่าเอาไป 2500 ก็พอครับ

    ปิดรายการให้คุณจรรยาพรครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6883.jpg
      IMG_6883.jpg
      ขนาดไฟล์:
      217.9 KB
      เปิดดู:
      163
    • IMG_6884.jpg
      IMG_6884.jpg
      ขนาดไฟล์:
      231.5 KB
      เปิดดู:
      112
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2010
  11. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 578 เหรียญหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี สหธรรมิกหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี

    วัดถ้ำคูหาสวรรค์
    ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี


    ๏ นามเดิม

    คำคะนิง จุลมณี


    ๏ สถานที่เกิด

    บ้านหนองบัว แขวงคำม่วน ประเทศลาว เมื่อวันพุธ เดือน ๔ ปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๗


    ๏ โยมบิดา-โยมมารดา

    นายคินทะโนราช และนางนุ่น จุลมณี


    ๏ การบรรพชา

    (หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี ก่อนจะบวชเป็นพระภิกษุ ท่านเคยเป็นฤาษีชีไพรมาก่อน ๑๕ ปี ) ท่านบรรพชาเมื่ออายุได้ ๑๘ ปี บวชได้ ๙ วัน เพื่อทดแทนคุณบิดามารดาที่ตายไป หลังจากนั้นพบครบก็ต้องลาสึก แม้ว่าอยากจะบวชต่อเพียงไรแต่เพราะมีหน้าที่ความจำเป็นต้องเลี้ยงดูครอบครัว (ท่านแต่งงานเมื่ออายุ ๑๘ ปี มีบุตร ๒ คน ) แต่ท่านก็ยังยึดมั่นในการปฏิบัติธรรมโดยการทำงานหาเงินให้เมียกับลูกตอนกลางวัน พอกลางคืนท่านก็ไปนอนที่วัด ถือศีลปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรภาวนาไม่กลับไปอยู่ที่บ้าน เพียงดูแลลูกและเมียไม่ให้อดอยาก ทำเช่นนี้จนภรรยาทนไม่ได้ที่เห็นสามีปฏิบัติตัวแบบนี้ จึงอนุญาตให้ท่านบวชได้ตามใจปรารถนา

    เมื่อเป็นดังนั้น ท่านจึงกลับไปวัดที่ตนเคยบวชสามเณรอีกครั้ง เพื่อพักอาศัยปฏิบัติธรรม อยู่ต่อมาได้ไม่นาน ท่านก็ได้เพื่อนสหมิกธรรมอีกสองคน จึงมีความดำริที่คิดจะออกแสวงหาครูบาอาจารย์ ก่อนจะบวชก็เคยออกสืบเสาะแสวงหาพระอาจารย์ด้านกรรมฐานเก่งๆ ได้มีสหาย ๒ คนร่วมเดินทางไปหาอาจารย์สีทัตถ์ เมืองท่าอุเทน แต่ก็ผิดหวัง เมื่ออาจารย์สีทัตถ์กล่าวปฏิเสธ แต่ก็แนะนำให้ไปหาอาจารย์เหม่ย ทั้งหมดรีบมุ่งไปหาอาจารย์เหม่ย เพื่อมอบตัวเป็นศิษย์ อาจารย์เหม่ยนิ่งฟังแล้ว กล่าวด้วยเสียงห้วนๆ

    “ถ้าจะมาเป็นศิษย์เรา ทั้งสามคนนี้จะมีคนตายหนึ่งคน มีใครกลัวตายบ้าง” อาจารย์เหม่ยชี้ถามรายตัว เพื่อนอีกสองคน ยอมรับว่ากลัวตาย ครั้นมาถึงนายคำคะนิง เขาได้ตอบอาจารย์ออกไปว่า “ไม่กลัวตาย”

    อาจารย์เหม่ยเลยให้เพื่อนอีกสองคนที่กลัวตายกลับไป แล้วหันมาทางนายคำคะนิงแล้วพูดว่า “การเรียนวิชากับอาจารย์นั้น มีทางตายจริงๆ เพราะมันทุกข์ทรมานอย่างที่สุด” ให้นำเสื้อผ้าที่มีสีสันทิ้งไป ใส่ชุดขาวแทน เป็น “ปะขาว” ในฐานะศิษย์

    ในสำนักมีแต่ข้าวตากแห้งกับน้ำเพียงประทังชีวิตพออยู่รอดไปวันๆ เวลานอนก็เอามะพร้าวต่างหมอน นายคำคะนิงอยู่ได้ไม่นานก็เกิดเรื่องการตายขึ้น ของชายผู้หนึ่งที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ คนผู้นี้นั่งสมาธิจนตาย อาจารย์สั่งนายคำคะนิงให้แบกศพที่ตายเข้าป่า โดยมีอาจารย์เดินนำหน้า ข้ามเขาลูกหนึ่งไปสิบกว่ากิโลเมตรไปถึงต้นไม้ใหญ่สองคนโอบ แล้วสั่งให้เขามัดศพกับต้นไม้นั้น จากนั้นสั่งกำชับว่า “เจ้าจงเดินเพ่งศพนี้ไปเรื่อยๆ ทั้งวันทั้งคืน อย่าได้หยุด ให้พิจารณาอสุภกรรมฐานอย่างถ่องแท้ พรุ่งนี้เช้าค่อยเจอกัน”

    นายคำคะนิงจึงได้เริ่มพิจารณาศพตามที่อาจารย์เหม่ยสั่งไว้ ถึงรุ่งเช้านายคำคะนิงจึงกลับไปสำนักตามที่อาจารย์กำหนด อาจารย์เหม่ยถามขึ้นเป็นประโยคแรกเมื่อเจอหน้า “เป็นอย่างไงบ้าง”

    “ศพนั้นก็เหมือนตัวศิษย์ครับอาจารย์ ไม่มีอะไรแตกต่างตรงไหนเลย” นายคำคะนิงบอก

    “กลัวไหม” อาจารย์ถาม

    “ไม่กลัวครับ เพราะเขาก็เหมือนเรา เราก็เหมือนเขา”

    อาจารย์ไม่ถามอะไรอีก สั่งให้ไปเอามีดเล่มหนึ่งทั้งศิษย์และอาจารย์ต่างเดินทางกลับไปหาศพ ณ ที่เดิมพอไปถึง ก็สั่งให้แก้มัดเอาศพออกมานอนราบกับพื้นดิน แล้วสั่งให้นายคำคะนิงผ่าท้องเอาศพออก จากนั้นอาจารย์ก็กล่าวว่า ให้หยิบอะไรออกมา ต้องอธิบายอวัยวะนั้นได้ และต้องบอกดังๆ เมื่อนายคำคะนิงชำแหละศพ ตัดหัวใจ ตับ ปอด ไต กระเพาะ และสิ่งต่างๆ ก็จะตะโกนบอกอาจารย์ด้วยเสียงอันดัง จนครบหมดถูกต้อง

    “เอ๊า...คราวนี้ชำแหละเนื้อลอกออกให้เหลือแต่กระดูก” อาจารย์เหม่ยสั่งให้เขาทำต่อ และนั่งดูจนเสร็จเรียบร้อย จึงได้สั่งอีกเอากองเนื้อและเครื่องในไปเผาให้หมด เอากระดูกรวมไว้ต่างหาก แล้วเอาไปต้มล้างให้สะอาด เหลือแต่กระดูกล้วนๆ อย่าให้มีอะไรติดอยู่

    นายคำคะนิงปฏิบัติตามที่อาจารย์สั่งทุกประการ เนื้อตัวของนายคำคะนิงเต็มไปด้วยรอยเปื้อนเลือด, น้ำเหลือง และมีกลิ่นศพติดตัวเหม็นคละคลุ้ง อาจารย์เหม่ยยังไม่เลิกรา สั่งต่อไปให้เขานับกระดูกและเรียงให้ถูก เขาลงมือปฏิบัติตามทันที

    “กระดูกมีสองร้อย แปดสิบท่อนครับ อาจารย์”

    อาจารย์เหม่ยอธิบายอีกว่า คนที่จะบรรลุธรรมด้วยความเพียรบำเพ็ญ ต้องมีกระดูกครบสามร้อยท่อนกระดูก คือ พระวินัย เนื้อหนังมังสาเป็นพระวินอก ส่วนระเบียบคือ หู ตา จมูก ปาก มือ เท้า หลังจากได้เรียนรู้วิชาจากอาจารย์เหม่ยหลายสิ่งหลายอย่าง อาจารย์ก็ไล่ให้ไปสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติมเอาเอง นายคำคะนิงจึงยึดเอาโยคีเป็นรูปแบบภายนอก และถือศีลภาวนาอย่างพระภิกษุตั้งแต่บัดนั้นมา

    ท่านได้ออกจาริกธุดงค์ในปีหนึ่ง เดินธุดงค์คราวนี้หลวงพ่อปาน (พระครูวิหารกิจจานุการ) วัดบางนมโค อ.สนา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้นำศิษย์เอก ๔ รูป ไปด้วยมีหลวงพ่อฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง) หลวงพ่อฤาษีลิงขาว หลวงพ่อฤาษีลิงเล็ก และพระเขียน หลวงพ่อปานพาลูกศิษย์ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม มุ่งหน้าไปทางภาคเหนือ ข้ามเขตชายแดนลึกเข้าไป กระทั่งเข้าเขตเชียงตุง

    วันหนึ่ง...คณะของหลวงพ่อปานได้ผ่านไปถึงถ้ำแห่งหนึ่ง และได้พบกับปะขาวคำคะนิง ขณะนั้นท่านปล่อยผมยาวรุงรังมาถึงเอว หนวดเครางอกยาวรุ่ยร่าย นุ่งห่มด้วยผ้าซึ่งดูไม่ออกว่าเป็นผ้าสีอะไร เพราะปุปะและกระดำกระด่าง หลวงพ่อปานจึงเปรยขึ้นว่า

    “นี่พระหรือคน ?”

    “ไอ้พระมันอยู่ที่ไหน ? เฮ้ย ! พระมันอยู่ที่ไหนวะ ?” พูดสวนด้วยน้ำเสียงขุ่นเหมือนไม่พอใจ

    “อ้าว...ก็เห็นผมยาว ผ้าก็อีหรุปุปะ สีเหลืองก็ไม่มี แล้วใครจะรู้ว่าเป็นคนหรือพระล่ะ ?”

    “พระมันอยู่ที่ผมหรือวะ ?”

    “ไม่ใช่” หลวงพ่อปานตอบยิ้มๆ

    “แล้วพระมันอยู่ที่ไหนเล่า ?”

    “พระน่ะอยู่ที่ใจใสสะอาด”

    “ถ้าอย่างนั้นละก้อ เสือกมาถามทำไมว่าเป็นพระหรือคน”

    “เห็นผมเผ้ารุงรังอย่างนั้นนี่ ใครจะไปรู้เล่า ?”

    “ก็ในเมื่อพระไม่ได้อยู่ที่ผม ไม่ได้อยู่ที่ผ้าแล้วเสือกมาถามทำไม ทำไมไม่ดูที่ใจคน ไอ้พระบ้านพระเมืองกินข้าวชาวบ้านแบบนี้อวดดี มันต้องเห็นดีกันละ”

    พูดจบ ปะขาวคำคะนิงก็หยิบเอาหวายยาวประมาณหนึ่งวาโยนผลุงไปตรงหน้า หวายเส้นนั้นกลายสภาพเป็นงูตัวใหญ่ยาวหลายวาน่ากลัว ชูคอร่าก่อนจะเลื้อยปราดๆ เข้ามาหาหลวงพ่อปานพระลูกศิษย์เห็นอย่างนั้นต่างถอยไปอยู่เบื้องหลังหลงพ่อปาน

    หลวงพ่อปานไม่ได้แสดงอาการแปลกใจหรือตื่นกลัวท่านก้มลงหยิบใบไม้แห้งขึ้นมาใบหนึ่งแล้วโยนไปข้างหน้า ใบไม้นั้นก็กลายเป็นนกขนาดใหญ่คล้ายเหยี่ยวหรือนกอินทรี

    นกซึ่งเกิดจากอิทธิฤทธิ์โผเข้าขยุ้มกรงเล็บจับลำตัวงูใหญ่เอาไว้แล้วกระพือปีกลิ่วขึ้นไปเหนือทิวยอดไผ่ ต่อสู้กันเป็นสามารถงูฉกกัดและพยายามม้วนตัวขนดลำตัวรัด ขณะที่นกใหญ่จิกตีและจิกขยุ้มกรงเล็บไม่ยอมปล่อย แต่ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแพ้ชนะ ตราบกระทั่งร่วงหล่นลงมาทั้งคู่พอกระทบพื้นดิน งูกลายเป็นช้างป่าตัวมหึมา งายาวงอนส่วนใบไม้แห้งแปรรูปเปลี่ยนเป็นเสือลายพาดกลอน แล้วสองสัตว์ร้ายก็โผนเข้าสู้กันใหม่ เสียงขู่คำรามของเสือเสียงโกญจนาทของพญาคชสารแผดผสานกึกก้องสะท้านป่า

    นี่ไม่ใช่ภาพมายา แต่เกิดจากฤทธิ์อภิญญา! ครั้นสองตัวประจัญบานไม่รู้แพ้ชนะได้ครู่หนึ่งก็หายไป ปะขาวยาวหนวดยาวเครารุงรังได้บันดาลให้เกิดไฟลุกโชติช่วงประหนึ่งจะมีเจตนาจะให้ลามมาเผา แต่หลวงพ่อปานก็บันดาลพายุฝนสาดซัดลงมาดับไปเกิดฝุ่นตลบคลุ้งไปทั้งป่า

    ลองฤทธิ์กันหลายครั้งหลายครา ปรากฏว่าไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ แทนที่ทั้งสองฝ่ายจะโกรธเกรี้ยว กลับทรุดลงนั่งหัวเราะด้วยความขบขัน

    คณะศิษย์ของหลวงพ่อปานพากันประหลาดใจ หลวงพ่อปานจึงอธิบายว่า “เขากับฉันเป็นเพื่อนกัน” พร้อมกันนั้นก็หันไปพูดกับปะขาวผมยาวหนวดเครารุงรังว่า ลูกศิษย์ของท่านนั้น “เอาจริง” หมายถึงปรารถนาบรรลุสู่พระนิพพานกันจริงๆ ทุกรูป การที่ท่านและปะขาวผมยาวเล่นฤทธิ์ประลองกันก็เพื่อให้ศิษย์ทุกคนได้เห็น “ของจริง”

    แล้วหลวงพ่อปานก็ให้คณะศิษย์ของท่านเข้าไปทำความเคารพ ซึ่งปะขาผมยาวก็ได้นอบน้อมถ่อมตนว่าท่านไม่ได้เก่งกาจเกินว่าหลวงพ่อปานเลยแม้แต่น้อย

    หลวงพ่อปานและศิษย์ของท่านพักอยู่กับปะขาวผมยาวนานนับครึ่งเดือน เพื่อให้ทุกรูปได้รับคำแนะนำสั่งสอนด้านอภิญญาเพิ่มเติม เมื่อพักอยู่ที่คูหาถ้ำพอสมควรแก่เวลาแล้ว หลวงพ่อปานและคณะศิษย์ก็ออกธุดงค์ต่อไป ปะขาวผมยาวคนนั้นก็คือปะขาวคำคะนิง หรือหลวงปู่คำคะนิงนั้นเอง

    หลังจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคและคณะศิษย์ของท่านจากไปแล้ว ปะขาวคำคะนิงก็ออกเดินทางต่อไป โยคีคำคะนิงดั้นด้นไปยังภูอีด่าง ซึ่งสมเด็จลุนพระอริยเจ้าแห่งราชอาณาจักรลาวจำพรรษาอยู่ พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ของตนให้ท่านทราบ สมเด็จให้ความปราณีมอบคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ให้โยคีคำคะนิงไปค้นคว้าศึกษา ครั้นท่านโยคีคำคะนิงศึกษาธรรมจากพระคัมภีร์เรียบร้อยก็เอาเก็บไว้ที่เดิม มิได้นำมาเป็นสมบัติส่วนตัว โยคีคำคะนิงลงจากภูเขาได้พบชาวบ้าน และได้ทำการรักษาคนป่วยจนหายทุเลา ท่านเดินทางไปเรื่อย เจอใครก็รักษาโรคภัยให้หมด


    ๏ การอุปสมบท

    เรื่องของโยคีตนนี้ ทราบถึงพระกรรณของพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา เจ้ามหาชีวิตของประเทศลาวถึงกับสนพระทัย จึงได้โปรดให้โยคีคำคะนิงเข้าเฝ้าท่ามกลางพระญาติและเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย แล้วพระองค์ทรงตรัสถาม “ท่านเก่งมีอิทธิฤทธิ์มากหรือไม่”

    “ไม่” โยคีคำคะนิงตอบสั้นๆ

    “ถ้าไม่เก่งแล้วทำไมคนจึงลือไปทั่วประเทศ” ตรัสถามอีก

    “ใครเป็นคนพูด” โยคีคำคะนิงไม่ตอบแต่ถามกลับ

    “ประชาชนทั้งประเทศ” พระองค์บอก

    “นั่นคนอื่นพูด อาตมาไม่เคยพูด” โยคีคำคะนิงตอบออกไป

    พระเจ้าศรีสว่างวัฒนาทรงแย้มพระสรวล ในการตอบตรงๆ ของโยคีคำคะนิง จึงตรัสถามว่า

    “ขอปลงผมท่านที่ยาวถึงเอวออกได้ไหม”

    คำคะนิงถึงกับอึ้งชั่วครู่ จึงได้กราบทูลไปว่า “ถ้าปลงผม หนวดเคราก็ต้องอุปสมบทเป็นพระภิกษุ”

    “ยินดีจะจัดอุปสมบทให้ท่านเป็นพระราชพิธี” เจ้ามหาชีวิตยื่นข้อเสนอให้ โยคีคำคะนิงจึงได้กล่าวตกลง และได้บวชตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ณ วัดหอเก่าแขวงนครจำปาศักดิ์ คือศาสนสถาานที่กำหนดให้เป็นวัดอุปสมบทของปะขาวคำคะนิง มีประกาศป่าวร้องให้ประชาชนทั่วไปได้รู้ถึงวันอุปสมบทปะขาวคำคะนิง โดยพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงมีพระบรมราชานุเคราะห์ให้จัดขึ้น

    พอถึงวันอุปสมบท ประชาชนทุกชนชั้นทุกอาชีพ ตลอดจนข้าราชการทุกหมู่เหล่าต่างมาร่วมในงานพระราชพิธีแน่นขนัดเป็นประวัติการณ์ แต่ละคนเตรียมผ้าไหมแพรทองมาด้วยเพื่อจะมาปูรองรับเส้นเกศาของปะขาวคำคะนิง ตอนแรกจะมีการแจกเส้นเกศาให้แก่ประชาชนโดยทั่วถึงกันหม ครั้นถึงเวลปลงผมจริงๆ ประชาชนกลัวจะไม่ได้เส้นเกศาจึงแออัดยัดเยียดเข้ายื้อแย่งกันอลหม่าน เกินกำลังเจ้าหน้าที่รักษาการจะห้ามปรามสกัดกั้นได้ ในที่สุดเหตุการณ์ก็สงบลงเมื่อเส้นเกศาถูกแย่งเอาไปจนหมด

    จากนั้นพระราชพิธีอุปสมบทก็ดำเนินต่อไปโดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ เจ้ามหาชีวิตพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายฆราวาส มีพระเถระชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธี ๒๘ รูป เมื่อพิธีการอปุสมบทเสร็จสิ้นปะขาคำคะนิงซึ่งครองเพศพรหมจรรย์ เป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ได้รับฉายาว่า “สนฺจิตฺโตภิกขุ” หรือ “พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต”

    หลังจากเป็นพระภิกษุ พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็กลับขึ้นไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำบนภูอีด่างเช่นเดิม ดำรงวัตรปฏิบัติตามแนวทางของพระป่าอย่างเคร่งครัด และนับตั้งแต่เป็นพระภิกษุคำคะนิง สนฺจิตฺโต ประชาชนก็ยิ่งหลั่งไหลไต่ภูเขาขึ้นไปกราบนมัสการ และขอความช่วยเหลือจากท่านจนไม่มีเวลาปฏิบัติภาวนาบำเพ็ญธรรม

    วันหนึ่ง พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็หายไปจากภูอีด่าง และไม่กลับมาอีกเลย ประชาชนลาวรู้แต่ว่าท่านออกธุดงค์สาบสูญไปแล้ว ต่างพากันร่ำไห้โศกเศร้าอย่างน่าสงสาร

    หลวงปู่ชอบจารึกธุดงค์ฝั่งลาวเพราะหมู่บ้านยังไม่เยอะเท่าฝั่งไทย ป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ และในช่วงปลายชีวิตท่านก็ตัดสินใจจำพรรษา วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เป็นที่สุดท้ายของท่าน


    ๏ การมรณภาพ

    หลวงปู่ป่วยเป็นโรคปอดบวม และได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เวลา ๑๑.๑๓ น. ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ ท่านได้อยู่ในเพศฤาษีได้ ๑๕ ปี และอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ได้ ๓๒ พรรษา


    ๏ พระธรรมเทศนา

    จงพยายามละกิเลสที่อยู่ในตัวเรา อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรม

    “อด” คือความอดทนวิริยะในธรรมอันบริสุทธิ์ เช่นหนาวก็ไม่ให้พูดว่าหนาว ร้อนก็ไม่ให้พูดว่าร้อน เจ็บก็ไม่ให้พูดว่าเจ็บ เพราะมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาได้ทุกรูปทุกนาม ครบอาการ ๓๒ อย่างบริบูรณ์นั้นก็ด้วยธรรม ได้แต่งให้เกิด อันมีศีล ๕ เป็นพื้นฐาน ทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมจะรู้และเห็นอยู่ทุกวันว่า มีคนเกิดแก่ เจ็บ ตาย เพราะเป็นกฎธรรมชาติ ไม่ว่ามนุษย์และสัตว์ เมื่อเกิดมีขันธ์ ๕ ย่อมมีดับ

    ทุกสิ่งในโลกมักจะมีคู่ เช่น หญิงกับชาย ดีกับชั่ว ในทำนองนี้ พระพุทธเจ้าเองปรารถนาอย่างยิ่งคือคำว่าหนึ่งไม่มีสอง ก็หมายความว่า เมื่อมีเกิดย่อมมีตาย เมื่อไม่มีตาย ย่อมไม่มีเกิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ถึงการหลุดพ้นจากกิเลสหมดสิ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ให้รู้จักตัวเจ้าของเองให้มากที่สุด อย่าไปสนใจในสิ่งที่ห่างจากตัว ให้อ่านตัวเองให้ออก เพราะธรรมที่ทุกคนอยากได้ อยากเห็นนั้นมันอยู่ในตัวของแต่ละบุคคล แต่ที่เรามองไม่เห็น อ่านมันไม่ออกก็เพราะกิเลสมันบังอยู่ อุปมาดังตัวเรานี้เหมือนแก้วน้ำที่ใสสะอาด บรรจุไปด้วยน้ำสกปรกอันมีกิเลสตัณหา ความอยาก โลภโมโทสัน ความอยากร่ำอยากรวย ความไม่รู้จักพอนี้สะสมอยู่ในจิต ก็ย่อมจะมีแต่ความมืดมน ถ้าทุกคนพยายามหยิบและตักตวงเอาสิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาออกจากจิตออกจากใจ ในไม่ช้าก็จะพบแต่ความสว่างไสวแห่งธรรมที่ปรารถนา เหมือนดังแก้วน้ำที่ล้างจากใจ ในไม่ช้าก็จะพบแต่ความสว่างไสวแห่งธรรมที่ปรารถนา เหมือนดังแก้วน้ำที่ล้างสะอาดไม่มีสิ่งใดบรรจุ นั่นคือ ตัวธรรมที่แท้จริง

    ส่วน “อัด” คืออะไร ทุกคนที่เกิดมาในโลกย่อมจะรู้จะเห็นว่าอะไรเป็นเรื่องของทางโลก เช่น คนพูดกันหรือทะเลาะกัน คนฆ่ากัน รถชนกัน สิ่งเหล่านี้ เราไม่ต้องไปสนใจ ปิดหู ปิดปาก ปิดตา ไม่ให้ได้ยิน ไม่ให้เห็น ไม่ให้พูด ไม่ต้องรับรู้จากสิ่งที่จะทำให้เป็นตัวกั้นความดี ให้วางให้หมด ดูแต่ใจเจ้าของแต่ผู้เดียว รู้แต่ลมเข้าออกเท่านั้น จะทำอะไรก็ให้อยู่ในศีลธรรมให้ระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา เราต้องอัดไม่ให้เสียงเข้ามาในหู ไม่ให้รูปเข้ามาทางตา ไม่พูดสิ่งที่ต่ำไป สูงไป ให้พูดแต่สิ่งที่พอดี นี่คือธรรมตัวจริง

    “อุด” คืออะไร หมายถึง เมื่อเราอด เราอัด ปิดกั้นความเลวร้าย ความชั่ว ความวุ่นวายทั้งหลายไม่ให้เข้ามาทางตา หู ปาก ของเราแล้วก็อุดความดีเอาไว้ในตัวของเราไม่ให้มันไหลออกไป กาย วาจา ใจของเราก็จะบริสุทธิ์ในธรรม ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ปฏิบัติชอบ ตาอย่าได้ดูในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม หูอย่าได้ฟังในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ปากอย่าได้พูดในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อุดความดีทั้งหลายเอาไว้ ให้เกิดความบริสุทธิ์ในธรรม ถ้าทุกคนพยายามตั้งอกตั้งใจปฏิบัติก็จะพบแต่ความสำเร็จปรารถนาไว้ทุกประการ

    อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรม คือ การปฏิบัติส่งเสริมคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รู้ซึ้งถึงธรรมของพระพุทธองค์ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นตัวธรรมะที่พาให้เห็นธรรมอันแท้จริง อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรม คือ การปฏิบัติที่ทำให้เราระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ปฏิบัติชอบ อยู่ชอบ กินชอบ นั่งชอบ นอนชอบ ไปชอบ มาชอบ วาจาชอบ อด อัด อุด เป็นขันติบารมีธรรม คือความอดทนให้เกิดปัญญามีที่เป็นปรมัตถ์ มัดหูมัดตา มัดจิต มัดใจ มัดมือ มัดตีนให้เป็นธรรม อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรมนี้ดีเลิศทำให้หน่ายในโลกจักรวาล มีจิตเบิกบาน ถ้าเข้าใจดีปฏิบัติด้วยจิตที่ตั้งมั่น จะหันหน้าเข้าสู่สวรรค์นิพพาน ไม่หนึ่งเกิด สองตาย อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรมไม่มีตาย ไม่มีเฒ่า ไม่มีเข้าพยาธิ

    หลวงปู่สั่งสอนให้มีศรัทธาในพระพุทธธรรม ทำใจให้เป็นหนึ่งให้ได้ จึงจะเห็นดวงธรรม หลวงปู่ไม่กลัวผิดใจคน แต่กลัวผิดพระธรรมวินัย

    [​IMG]
    คุณสิทธา เชตวัน และคุณทองทิว สุวรรณทัต กำลังนมัสการถามเรื่อง
    เมืองพญานาคและเมืองนรก จากหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี ณ ถ้ำคูหาสวรรค์



    ให้บูชา 270 บาท
    ลงรูปผิดรอการแก้ไขครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6910.jpg
      IMG_6910.jpg
      ขนาดไฟล์:
      152.9 KB
      เปิดดู:
      80
    • IMG_6911.jpg
      IMG_6911.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.7 KB
      เปิดดู:
      73
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2010
  12. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 579 หลวงพ่อผัน วัดแปดอาร์ เจ้าตำหรับเหรียญแทงคอหมู

    หลวงพ่อผัน วัดราษฎร์เจริญ(วัดแปดอาร์)
    ต.หนองแขม อ.หนองแค จ.สระบุรี

    หลวงพ่อผัน (พระครูสรกิจพิจารณ์) ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๕๔ ปีกุน ณ บ้านหนองแขม หมู่ ๑ ต.หนองแขม อ.หนองแค จ.สระบุรี อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๗๔ ณ พัทธสีมาวัดหนองโสน ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี พระครูนิเทศธรรมคาถา วัดบ้านสร้าง เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการจาด วัดวงษ์สวรรค์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการหนู วัดบ้านสร้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จิณฺณธมฺโม" หลังจากนั้นได้มาจำพรรษาที่วัดราษฎร์เจริญ

    ในช่วงที่ หลวงพ่อผัน เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสครั้งแรก สภาพของวัดราษฎร์เจริญทรุดโทรมอย่างหนัก อาคารเสนาสนะต่างๆ ชำรุดมาก หลวงพ่อก็ไดบูรณปฏิสังขรณ์จนดีขึ้นตามลำดับ และมีความเจริญรุ่งเรืองครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน หลวงพ่อผัน เป็นพระเถราจารย์ผู้มีประพฤติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบมาโดยตลอด และปฏิบัติกิจการพระศาสนาอย่างถูกต้อง อีกทั้งท่านยังมีเมตตาธรรมในการปกครองคณะสงฆ์ งานด้านต่างๆ เช่น งานสาธารณูปการณ์ การก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ ภายในวัด ท่านก็ได้เป็นผู้นำดำเนินการก่อสร้างเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนาและพุทธศาสนิกชนมากมาย เช่น ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ วิหารกุฏิ ฌาปนสถาน ซุ้มประตูหน้าวัด กำแพงรอบวัด เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้สอยและความสวยงาม ร่มรื่นเป็นระเบียบเรียบร้อยในทุกๆ ด้าน

    นอกจากนี้ ท่านยังได้สนับสนุนในการก่อสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนวัดราษฎร์เจริญ เพื่อประโยชน์แก่ลูกหลานชาวบ้าน ตลอดทั้งให้ความเอื้อเฟื้อแก่ชุมชนชาวบ้านทุกครัวเรือน หลวงพ่อผันเป็นพระสุปฏิปัณโณผู้มีเมตตาธรรมสูง มีศีลบริสุทธิ์ ปฏิบัติกิจของพระศาสนาอย่างดีเยี่ยม จนเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไปทั้งใกล้และไกล และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ หลวงพ่อผัน ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากท่านหนึ่งของ จ.สระบุรี ที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพนับถือ และเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก

    หลวงพ่อปฏิบัติตัวเป็นพระของชาวบ้านอย่างแท้จริง ไม่ถือตัว ไม่เลือกชั้นวรรณะ เวลามีญาติโยมมานิมนต์ให้ท่านไปงานบุญกุศลต่างๆ ท่านจะสนองศรัทธาถ้วนทั่วทุกบ้านเรือน โดยไม่ถือว่าจะเป็นบ้านของคนมั่งมี หรือบ้านของคนยากจน ท่านให้ความเสมอเหมือนกันหมด ส่วนจตุปัจจัยที่ท่านได้รับจากการที่มีผู้ศรัทธาถวาย ท่านจะนำมาก่อสร้างถาวรวัตถุ เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดราษฎร์เจริญ จนหมดสิ้น ไม่เก็บสะสมไว้เป็นสมบัติส่วนตัวแต่ประการใด จึงทำให้วัดมีความมั่นคงอยู่จนทุกวันนี้



    [​IMG]

    หลวงพ่อได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๘สิริรวมอายุ ๙๔ ปี และได้เกิดปาฏิหาริย์พิเศษ คือ สรีระของหลวงพ่อ ไม่ปรากฏอาการเน่าเปื่อยแต่อย่างไร กลับแข็งเหมือนหิน มีลักษณะเป็นสีขาวเหมือนแป้ง ขณะเดียวกัน ได้ปรากฏในเวลาต่อมาว่า ทั้งเส้นผม และเล็กมือเล็บเท้าของหลวงพ่อได้งอกยาวออกมาจากเดิมอีกด้วย วัดจึงเก็บรักษาสรีระของหลวงพ่อไว้ในโลงแก้ว โดยตั้งบำเพ็ญกุศลเพื่อให้ศรัทธาสาธุชนทั่วไปสักการบูชาจนถึงทุกวันนี้


    [​IMG]


    ในส่วนวัตถุมงคล หลวงพ่อผัน ท่านได้สร้างไว้หลายรุ่น ล้วนมีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ในทุกๆ ด้าน ที่นิยมกันมาก คือ เหรียญรุ่นแรก ปี ๒๕๐๕ เป็นเหรียญเสมา รูปหลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์ ออกเนื่องในโอกาสได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ และเหรียญที่สร้างความโด่งดังให้หลวงพ่อมากเป็นพิเศษ คือ เหรียญรุ่นแทงคอหมู เป็นเหรียญรูปหลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์ อยู่ในซุ้มใบเสมา คล้ายๆ กับเหรียญรุ่นนั่งพานของพระเกจิอาจารย์บางท่าน เหรียญนี้ออกในโอกาสบูรณปฏิสังขรณ์วัด ปีใดไม่แน่ชัด

    สาเหตุที่ได้เรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า "รุ่นแทงคอหมู" เนื่องมาจากสมัยที่เหรียญรุ่นนี้ออกให้ทำบุญใหม่ๆ มีชาวบ้านคนหนึ่งได้รับเหรียญนี้มา แล้วเอาเหรียญใส่ไว้ในซองยาทัมใจ จากนั้นจึงเอาซองยาใส่ลงในกระเป๋าเสื้อตัวเอง ชาวบ้านคนนี้มีหน้าที่แทงคอหมู เพื่อชำแหละส่งขายตลาด วันนั้นหลังจากได้รับเหรียญหลวงพ่อผันแล้ว ก็ยังคงทำหน้าที่เพชฌฆาตตามปกติ ขณะที่เขาแบกหมูเอาไว้บนบ่า แล้วเหวี่ยงตัวหมูลงบนโต๊ะ เพื่อที่จะฆ่านั้นเอง ซองยาในกระเป๋าเสื้อของเขา ได้หลุดลอยตกลงบนโต๊ะฆ่าหมูก่อนแล้ว ทำให้ตัวหมูทับซองยานั้นพอดี จากนั้นเขาได้เอามีดปลายแหลมแทงเข้าที่คอหมู เหมือนอย่างที่เคยทำมาเป็นประจำ แต่วันนั้น...เกิดเหตุการณ์ประหลาด เพราะปลายมีดอันคมกริบ ไม่สามารถจะแทงคอหมูเข้าได้เลย จึงเปลี่ยนมุมแทงอีกด้านหนึ่ง ก็ปรากฏแทงไม่เข้าเหมือนเดิม เขาแปลกใจมาก จึงพลิกตัวหมูขึ้นมา ก็พบกับ ซองยาทัมใจที่ใส่เหรียญหลวงพ่อผัน ตกอยู่ใต้ตัวหมู จึงรู้ได้ทันทีว่า ที่แทงคอหมูไม่เข้า เพราะเหรียญหลวงพ่อผัน นี่เอง ตกลงว่า หมูตัวนั้น...รอดตายราวปาฏิหาริย์ และที่น่ายินดีอีกอย่าง คือ ชายคนนั้นเลิกอาชีพฆ่าหมูอีกต่อไป

    ปาฏิหาริย์เรื่อง "แทงคอหมู" ของ เหรียญหลวงพ่อผัน รุ่นนี้ลือกระฉ่อนไปทั่วหมู่ลูกศิษย์ และผู้เคารพศรัทธาในหลวงพ่อผัน ต่อมาได้ขยายสู่แวดวงนักสะสมพระเครื่องโดยทั่วไป จนทุกวันนี้ เหรียญรุ่นแทงคอหมู กลายเป็นเหรียญหายาก และมีราคาเช่าหาแพง อีกเหรียญหนึ่งของ...พระเกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองสระบุรี

    เส้นทางไป วัดราษฎร์เจริญ จากถนนพหลโยธิน เมื่อถึง สี่แยกวังน้อยแล้วไปอีก ๒๐ กม.จะเห็นปั๊มน้ำมัน ปตท.ใหม่ และป้ายโฆษณายางบริดสโตนส์ อยู่ซ้ายมือ ให้เตรียมตัวชิดซ้าย เมื่อถึงสะพานข้ามคลองระพีพัฒน์ ให้เลี้ยวซ้ายไปวิ่งบนถนนเลียบคลองชลประทาน (คลองระพีพัฒน์) ไปประมาณ ๕ กม.จะมีทางแยกซ้ายมือ วิ่งไปอีก ๒ กม.จะถึง วัดราษฎร์เจริญ (หลวงพ่อผัน)

    ที่มา - "เหรียญ แทงคอหมู(ไม่เข้า)"<!-- google_ad_section_end -->



    ให้บูชา 220 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6902.jpg
      IMG_6902.jpg
      ขนาดไฟล์:
      149 KB
      เปิดดู:
      168
    • IMG_6903.jpg
      IMG_6903.jpg
      ขนาดไฟล์:
      224.9 KB
      เปิดดู:
      68
  13. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ขออนุญาตปิดกระทู้ชั่วคราวนะครับ วัตถุมงคลจะทยอยส่งครับ เจ้าของกระทู้ขอไปเตรียมตัวสอบก่อน เดือนหน้าพบกันใหม่ ขอบคุณทุกท่านครับ
     
  14. amar

    amar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +606
    รายการที่ 575 สี่หูห้าตาพระอินทร์แปลงมา รุ่น 1 ครูบาชัยวงศาพัฒนา

    ขอจองครับ
     
  15. มะขามป้อม

    มะขามป้อม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2008
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +1,547
    จอง รายการที่ 574 เหรียญครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ปี 2523 ครับ
     
  16. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,968
    ค่าพลัง:
    +5,381
    รายการที่ ๔-๑ๆ แจกในงานสร้างหอระฆังใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ และ ๒๔๗๔
    วัตถุมงคลดังกล่าวทรงคุณวิเศษทั้งทางเมตตามหานิยมและมหิทฤทธิ์ จนเป็นที่ประจักษ์แก่ศิษยานุศิษย์ทั่วไป ปัจจุบันได้มีผู้เสาะแสวงหาเพื่อไว้บูชากันมากมาย แต่ก็หายากยิ่งนัก



    ให้บูชา 599 บาท<!-- google_ad_section_end -->

    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
    ขอจอง๕๗๕ครับ(ลพ.เส่ง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2010
  17. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,968
    ค่าพลัง:
    +5,381
    หลวงพ่อพร้านอกจากท่านจะเป็นพระนักพัฒนาเเล้ว ท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน วัตถุมงคลของท่านก็ประสบการณ์มากมาย ทั้งทางด้านเมตตาเเละคงกระพันชาตรี พระเครื่องของท่านได้รับความนิยม เสาะหากันทุกรุ่น ทั้งรุ่นเก่าๆเเละรุ่นใหม่ๆ เเละโดยเฉพาะน้ำมนต์ของท่านศักิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ปัจจุบันพระเครื่องรุ่นเก่าๆของหลวงพ่อได้รับความนิยมมากๆเเละมีราคาเช่าหากันในราคาสูงเเบบไม่น่าเชื่อ เนื่องจากประสบการณ์ต่างที่เกิดขึ้นอย่างมากมายนั่นเอง


    ให้บูชา 300 บาท


    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    ขอจองครับ
     
  18. JUNYAPORN37

    JUNYAPORN37 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +607

    ขอจองบูชาองค์นี้ค่ะ:cool:
     
  19. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,968
    ค่าพลัง:
    +5,381
    รายการที่ 573 ล็อกเกตหลวงพ่อดาบส สุมโน<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->สร้างปี 2537 ออกที่อาศรมไผ่มรกต

    ด้านหลังไม่มีอุดอะไร แต่เจ้าของเก่าไปกราบท่าน และขอเมตตาท่านจารหลังล็อกเกตให้ด้วยปากกาเมจิกครับ

    หลวงพ่อดาบส สำเร็จธรรมขั้นสูง สังขารเพื่อเผาแล้วอัฐิแปรสภาพเป็นพระธาตุ นอกจากนี้หัวใจของท่านยังไม่ไหม้ไฟ แปลเป็นสีมรกต ตั้งบูชาที่วัดมายังทุกวันนี้

    หลายท่านนับวัตถุมงคลไปตรวจสอบพลังภายในพบว่าสว่างไสวมากๆ


    ให้บูชาองค์ละ 350 บาท มีห้าองค์ มีจารทุกองค์
    คุณ wat.R จอง 2 องค์<!-- google_ad_section_end -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    ขอจอง๑องค์ครับ
     
  20. amar

    amar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +606
    รายการที่ 578 เหรียญหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี
    จองครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...