การดูจิตที่ทำให้เกิดสัมมาสติได้นั้น ต้องทำหรือเจริญให้เกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นเอง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 30 เมษายน 2010.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ดังที่เคยได้กล่าวมาแล้ว เรื่องการรู้จักจิตผิดๆ ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาผิดไปตลอดแนว เพราะไม่รู้จักจิต จึงรู้ผิดจากความเป็นจริง จนกระทั่งเข้าใจผิดไปว่า ตัวสติ(การระลึก)เกิดขึ้นเองได้ลอยๆโดยไม่มีจิต ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย

    ตัวสตินั้นจะตั้งอยู่ลอยๆเองไม่ได้ ถ้าตัวสติมีอยู่ทั่วไปในทุกๆที่แล้ว เราก็สามารถไปหยิบฉวยเอามาเป็นของๆเราได้สิ โดยที่เราไม่ต้องสร้างขึ้นหรือเจริญขึ้นเองเลย แล้วอะไรหละเป็นผู้ที่สร้างหรือเจริญสติขึ้นมา ถ้าไม่ใช่จิต จิตคือธาตุรู้ จึงมีหน้าที่รู้และระลึกรู้เท่านั้น


    ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ ความระลึก กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนะมรรค นี้เรียกว่าสติ

    บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสติ


    แต่เพราะในจิตทุกๆคนที่ยังต้องมาเกิดใหม่อยู่นั้น ล้วนเป็นจิตที่มีอวิชชาครอบงำอยู่ ที่เราเรียกว่าจิตอวิชชา เป็นจิตที่ชอบท่องเที่ยวไปตามอารมณ์ มักแสดงอาการสนองตอบต่ออารมณ์ต่างๆที่จิตตนเองเข้าไปยึด เพราะขาดสติไปนั่นเอง

    การที่จะสร้างหรือเจริญสติขึ้นมาได้นั้น ต้องสร้างหรือเจริญสติที่จิตใครจิตมันนั่นเอง จะสร้างหรือเจริญให้กันไม่ได้ เป็นสิ่งที่ทำแทนกันไม่ได้ ใครทำใครได้ เป็นของเฉพาะตนเท่านั้น

    สตินั้นเป็นหน้าที่ของจิตที่พึงกระทำให้เกิดขึ้นในตนให้ได้ และสติเองก็ไม่ใช่เจตสิกหรือเครื่องปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพเลย ผู้ที่ถูกเจตสิกครอบงำให้จิตเสียคุณภาพไปนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นห้วงเวลาที่จิตขาดสติไปในขณะนั้น

    ฉะนั้นผู้ที่เจริญสติ จนจิตมีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่ที่จิตตลอดเวลาได้นั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีจิตที่มีคุณภาพในการทำการงานให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี เป็นผู้มีสติที่จิตเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้ เพราะจิตไม่ถูกอารมณ์(เจตสิก)ครอบงำให้จิตเสียคุณภาพไป

    การประพฤติปฏิบัติที่จะให้บรรลุผลและให้รู้จักจิตที่มีสติ(จิตที่แท้จริง)ได้ดีนั้น เราควรวางตำรับตำราลงไว้ชั่วคราวก่อน และลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาด้วยความเพียรพยายามอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการสร้างหรือเจริญสติให้เกิดขึ้นที่จิต ให้ได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญหรือที่เรียกว่านิมิตแห่งสตินั่นเอง


     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    พวกเราคงยังจำกันได้ว่า แม้จอมศาสดาของเรานั้น พระองค์เองยังต้องสร้างสมบารมี ด้วยการบำเพ็ญตนคือจิตมาแล้วไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ จนกระทั่งถึงพระชาติสุดท้ายที่ทรงอุบัติมาเป็นพระพุทธเจ้า และตรัสรู้ในพระชาตินั้น

    พระองค์ยังทรงต้องมาเรียนรู้วิธีสร้างสติให้เกิดขึ้นที่จิต โดยไปเรียนกับท่านอาจารย์อาฬารดาบส และท่านอาจารย์อุทกดาบส ขณะที่พระองค์ท่านเรียนอยู่นั้น พระองค์ท่านเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมากจนท่านอาจารย์ทั้งสองออกปากชม เนื่องมาจากบารมีเก่าที่พระองค์ท่านได้เคยบำเพ็ญเพียรมานั้นเอง

    เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าสิ่งที่พระองค์ทรงเรียนรู้อยู่นั้น เป็นสมาธิที่ยังยึดอารมณ์รูปฌานและอรูปฌานไว้อย่างเหนียวแน่น ปล่อยวางอารมณ์ฌานเหล่านั้นไม่เป็น เนื่องจากกลัวอารมณ์ฌานที่ตนยึดไว้อยู่นั้นจะหายไป ทำให้จิตไม่เกิดปัญญารู้แจ้งในการปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิต จิตยังติดสุขอยู่ในอารมณ์ฌานเหล่านั้น จิตไม่สามารถจะหลุดพ้นจากอารมณ์ฌานเหล่านั้นไปได้ เป็นการทำให้กิเลสเบาบางลงได้เท่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง เพื่อความพ้นวิเศษจากอุปกิเลสที่จรมาทั้งหลาย

    พระองค์จึงทรงลาท่านอาจารย์ทั้งสอง เพื่อออกค้นหาโมกขธรรมด้วยพระองค์เอง และในวันเพ็ญเดือนหก พระองค์ทรงอธิษฐานจิต ณ.ภายใต้ต้นสาละว่า ถ้าพระองค์ไม่ตรัสรู้ในค่ำคืนนี้ พระองค์จะทรงนั่งคู้บัลลังก์โดยไม่ยอมลุกขึ้นจากที่อีกเลย แม้เลือดเนื้อในกายนี้จะเหือดแห้งไปก็ตามที โดยพระองค์ท่านทรงเริ่มพิจารณากายคตาสติด้วยอานาปานสติกรรมฐานนั่นเอง



    การจะเข้าถึงอธิจิตได้นั้น มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ในพระสูตร
    ว่าด้วยผู้มีสติโดยเหตุ ๔ ดังนี้

    อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
    เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา

    ส่วนพวกที่ยังหลงเข้าใจผิดว่าตนเองนั้นฝึกวิปัสสนาหรือดูจิตอยู่นั้น เป็นเพียงแค่สัญญาวิปัสสนึกหรือดูอาการของจิตเท่านั้น เมื่อยังไม่รู้จักจิตหรือเข้าไม่ถึงสภาวะจิตที่แท้จริงแล้ว ย่อมหลงไปกับรูป-นาม ขันธ์๕ ซึ่งเป็นเพียงอาการของจิตที่แสดงตอบต่ออารมณ์ไปแล้ว

    จนกระทั่งเข้าใจผิดๆไปว่าแม้ท่านพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นเพียงรูป-นาม อุปาทานขันธ์๕ โดยสมมุติสัจจะเท่านั้นเอง โดยความเป็นจริงอันสูงสุด(ปรมัตถ์สัจจะ)แล้ว ท่านพระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้นท่านได้ปฏิเสธ รูป-นาม อุปาทานขันธ์๕เหล่านั้นไปแล้วว่า นั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่สิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่ตนของเรา....


    ธรรมภูต

    ;aa24
     
  3. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ว่าด้วยผู้มีสติโดยเหตุ ๔

    มีพระสูตรแสดงไว้ชัดเจน [FONT=&quot]ว่าด้วยผู้มีสติโดยเหตุ ๔ ...[/FONT][FONT=&quot]อ่านเต็มๆได้ที่นี่[/FONT]

    ภิกษุ พึง เป็น ผู้มีสติ ศึกษา เพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้น ในกาลทุกเมื่อ

    ลองอ่านกันดูว่า

    ผู้มีสติ
    การเป็นผู้มีสติ หมายถึงอะไร?

    พึงศึกษา และจะเป็นผู้มีสติได้นั้น ต้องศึกษาอะไร?

    ในกาลทุกเมื่อ
    และต้องศึกษา ตอนไหน?


    (smile)
     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ในกาลทุกเมื่อ

    ความว่า ในกาลทุกเมื่อ
    ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิตย์ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลนิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียว ตลอดกาลติดต่อ ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบเนื่อง ตลอดกาลไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด ในกาลก่อนภัต ในกาลหลังภัต ในยามต้น ในยามกลาง ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ในตอนวัยกลาง ในตอนวัยหลัง

    ^
    นั่นคือ ต้องฝึกจิตให้มีสติระลึกรู้ที่ฐานที่ตั้งสติตลอดเนืองๆไม่ขาดสาย

    (smile)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2010
  5. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ผู้มีสติ

    คำว่า ผู้มีสติ ได้แก่

    เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ
    เมื่อเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ
    เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ
    เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ
    เมื่อเจริญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ

    เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ
    เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ
    เพราะเป็นผู้กระทำธรรมทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ
    เพราะเป็นผู้กำจัดธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสติ
    เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมอันเป็นนิมิตแห่งสติ.

    เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ
    เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยสติ
    เป็นผู้อยู่ด้วยสติ
    เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วด้วยสติ
    เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ.

    เป็นผู้มีสติ โดยเหตุ ๔ อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ
    เพราะเป็นผู้ระลึกได้
    เพราะเป็นผู้สงบ
    เพราะเป็นผู้ระงับ
    เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ.

    ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ
    เพราะพุทธานุสสติ
    ธรรมานุสสติ
    สังฆานุสสติ
    สีลานุสสติ
    จาคานุสสติ
    เทวตานุสสติ
    อานาปาณสติ
    มรณสติ
    กายคตาสติ
    อุปสมานุสสติ

    ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ ความระลึก กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่า สติ

    บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสติ

    ^
    สติเกิดเองไม่ได้ ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต
    เพราะสติ คือ การระลึกรู้ของจิต

    สติไม่ใช่เจตสิก
    สติเป็นมรรค เป็นทางดำเนินของจิตเพื่อความพ้นทุกข์
    และเป็น ภาเวตัพพะ ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต


    (smile)
     
  6. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    พึงศึกษา

    คำว่า พึงศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

    อธิศีลสิกขาเป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
    ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย
    สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่
    ศีลเป็นที่ตั้ง เป็นเบื้องต้น เป็นเบื้องบาท เป็นความสำรวม เป็นความระวัง
    เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย
    นี้ชื่อว่า อธิศีลสิกขา

    อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    บรรลุทุติยฌาน
    มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
    เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
    บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
    ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    บรรลุจตุตถฌาน
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
    และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา

    อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ
    เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
    ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
    นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

    เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ
    นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา

    ^
    สติ การระลึกรู้ของจิต ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

    การจะเป็นผู้มีสติได้นั้น ต้องศึกษา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
    หรือก็คือ ต้องปฏิบัติ อริยมรรคมีองค์ ๘ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง
    นั่นคือ ต้องปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เป็นพื้นฐาน
    หรือ ปฏิบัติสัมมาสมาธิ นั่นเอง
    เพราะในมหาสติปัฏฐานได้แสดงไว้เกี่ยวกับ
    สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ซึ่งตรงกับอธิจิตตสิกขาเป็นไฉน?

    สัมมาสมาธิเป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    บรรลุทุติยฌาน
    มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
    เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
    บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
    ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    บรรลุจตุตถฌาน
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
    และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ

    (smile)
     
  7. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260

    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ


    เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p</O:p

    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  8. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    ความเห็นของผม.....


    จิตจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่สมควรที่จะทราบไปในกาลข้างหน้า หาใช่ตอนนี้ไม่


    หากทราบในตอนนี้ ก็เป็นการทราบจากคำบอกเล่า ทราบจากผู้อื่น หาได้ประจักษ์ด้วยตนเอง


    ดังนั้น จิตจะเป็นอย่างไรก็ตาม ควรวางลงเสียในตอนนี้ ปฏิบัติให้สมควรแก่ตน

    แล้ววันหนึ่ง...คุณจะทราบเอง ว่าสมควรยึดมั่นถือมั่นเรื่องจิตจะเป็นอย่างไรหรือไม่
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณโป คุณไม่รู้จักจิตที่แท้จริง คุณก็อย่าคิดว่าผู้อื่นไม่รู้สิ

    เพราะคุณเองไม่เคย ลงมือเพียรปฏิบัตสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจัง

    ยังไม่เคยเข้าถึง เข้าใกล้ สัมผัส สภาวะจิตที่ปล่อยวางอุปกิเลสได้ชั่วคราว

    คุณก็จินตนาการไปเองหรือที่เรียกว่าคิดเองเออเองไปเรื่อยเปื่อยว่าเป็นยังงั้นเป็นอย่างงี้

    ผมถามคุณว่า ที่ว่าปฏิบัติหนะ คุณปฏิบัติทางจิตหรือเพียงแค่ปฏิบัติทางกายหละ?

    คุณอย่ามาพูดเลยว่า สักวันหนึ่งจะรู้เอง แค่เริ่มต้น"ดูจิต"แบบพระพุทธเจ้าก็ยังไม่รู้จักเลย

    แล้วยังจะหวังลมๆแล้งๆอีกหรือว่าจะรู้จักจิต ก็มัวติดกับดักอยู่ที่อาการของจิตอย่างทุกวันนี้

    ;aa24
     
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    โมทนา สาธุธรรม ....

    ขอตัวไปสร้างความเพียรให้มีสติ ให้เกิดสติ ระวังรักษากาย วาจา ใจ ไม่ให้ชั่วก่อน
    จะเข้ามาติดตามอ่านเรื่อยๆ ...

    ตอนนี้ขาดอย่างเดียว สติ :'(
     
  11. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    อนุโมทนา สาธุ

    ไม่ค่อยได้เข้ามาอ่าน นานๆ ถึงจะเข้ามาครับ
     
  12. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    คุณธรรมภูติ....ครับ

    คุณเห็นว่า...สมควรต้องรู้ก่อน ว่าจิตเป็นอย่างไรก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติธรรมอย่างนั้นหรือ


    หากเป็นอย่างนั้น...ความหมายคงเหมือน ก่อนปฏิบัติธรรม ต้องรู้ก่อนว่า นิพพานเป็นอย่างไรเช่นกัน

    ขอถามว่า ความรู้ที่รู้เอง กับความรู้จากการบอกเล่า อย่างไหนผู้รู้จะได้ประโยชน์มากกว่ากัน
     
  13. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    คุณธรรมภูติครับ.....ผมอาจจะเป็นผู้รู้น้อย


    ผมขออนุญาตสอบถามคุณบ้างว่า............คุณเข้าใจว่าการบรรลุธรรมเป็นอย่างไร

    มีอาการอย่างไร ในความเข้าใจของคุณครับ

    สวัสดีครับ...
     
  14. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256



    หากการรู้จักจิตหรือนิพพานก่อนว่าเป็นอย่างไร

    กับการไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร

    ทั้งสองอย่างมีประโยชน์กับการปฏิบัติต่างกันตรงไหนครับ คุณธรรมภูติ



    ผมเห็นว่า...ควรมองและรู้ปัจจุบันดีกว่า ว่า...อะไรเกิดขึ้นแล้วดับไป ต่อหนาต่อตา ดีกว่า

    ไม่ควรมองและำพยายามขบคิดสิ่งที่ตนเองยังมองไม่เห็นและไม่รู้่จัก

    มันจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ไม่ดีหรือคุณธรรมภูติ....
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณโป ผมว่าคุณกำลังสับสนกับการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาอยู่ในขณะนี้

    คุณลองพิจารณาให้รอบครอบสิว่า ก่อนที่คุณจะรู้จักพุทธศาสนานั้นจิตใจคุณเป็นเช่นใด

    แล้วปัจจุบันนี้ จิตใจคุณแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่? มีอะไรที่คุณละได้บ้าง? หรือว่ายังเหมือนเดิม?

    เพราะอะไรหละ? เพราะไม่รู้จักจิตหรือได้รับการพัฒนาจิตใช่มั้ย?

    คุณไม่รู้จริงๆเหรอว่า การปฏิบัติสมาธิภาวนา"พุทโธ"นั้น เป็นการศึกษาเรื่องจิตโดยตรง

    โดยอาศัยคำบริกรรมและลมหายใจ ผูกจิตไว้เพื่อให้เราศึกษาจิตและอาการของจิตใช่มั้ย?

    เราจะเห็นอาการของจิตที่ดิ้นรนซัดส่ายไปตามธรรมารมณ์ต่างๆทั้งภายในภายนอกใช่มั้ย?

    ผมถามคุณว่า เมื่อคุณไม่รู้จักจิต แล้วคุณจะดูจิตยังไง? จิตอยู่ที่ไหน?

    ส่วนเรื่องพระนิพพาน ผมไม่เคยพูดไว้ที่ไหนเลยว่าจะต้องเรียนรู้ก่อน คุณอย่ามั่วเองสิ

    เราเอาแค่เรื่องจิต เรื่องสติ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานของศาสนาพุทธให้รู้เรื่องเสียก่อนก็พอแล้ว

    คุณโปคุณถามผมผมตอบ ผมถามคุณไปมักไม่ได้คำตอบ

    คุณถามว่า "ความรู้ที่รู้เอง กับความรู้จากการบอกเล่า อย่างไหนผู้รู้จะได้ประโยชน์มากกว่ากัน"

    คุณเอาอะไรมาถาม ก่อนถามได้ลองพิจารณาดูหรือยัง ความรู้ที่รู้เองมีที่ไหน?

    ความรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ต้องผ่านการอบรมมาก่อนจึงรู้ได้ โดยบางครั้งเราจะรู้สึกว่าเรารู้เอง

    แต่โดยความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย ล้วนต้องผ่านการอบรมมาแล้วทั้งสิ้น เป็นสัญญาจำได้หมายรู้อยู่ก่อนแล้ว

    แต่นานจนเราลืมไปเอง และมักผุดขึ้นมาให้เรารู้ ทำให้เราคิดว่าเรารู้เอง

    สรุปว่าความรู้ที่เกิดจากการอบรมให้รู้ที่ถูกต้อง ย่อมมีประโยชน์กว่าความรู้ที่เกิดจากการบอกเล่า...

    ;aa24
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณโป ถามจริงๆเถอะ คุณรู้จักปัจจุบันธรรมหรือยัง?

    คุณอย่าเอาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันว่า เป็นปัจจุบันธรรมสิ

    อันนั้นไม่ใช่ปัจจุบันธรรมเลย เป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปเท่านั้น

    คุณบอกหน่อยสิว่าตรงไหนที่เป็นปัจจุบันหละ มันเปลี่ยนไปตลอดเวลา เป็นเรื่องธรรมดาของโลกใช่มั้ย?

    แสดงให้เห็นว่า คุณไม่รู้จักจิต จึงไม่รู้จักปัจจุบันธรรมที่แท้จริง

    เป็นธรรมที่ไม่มีข้างหน้า ข้างหลัง ข้างบน ข้างล่าง ข้างซ้าย ข้างขวา

    ธรรมดังกล่าวนี้ เราจะรู้เห็นได้เฉพาะต้องลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา"พุทโธ"เท่านั้น

    เป็นของที่คิดเองเออเองขึ้นมาไม่ได้หรอก เป็นความรู้ที่ต้องอบรมปฏิบัติอริยมรรคเท่านั้น...

    ;aa24
     
  17. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    พี่ธรรมภูตและคุณโปครับ จิตที่ส่งนอก คือ นอกจากตัณหาเหรอครับ รบกวนอธิบายหน่อยครับ เมื่อคนเราตั้งสติระลึกรู้ได้ว่าขณะนี้ตนรู้สึกอย่างไร ต่ออายตนะทั้ง ๖ รู้ทีละอย่าง จนไปถึงใจ อย่างนี้เรียกว่ามีสติไหมครับ แต่ยังไม่ต้องอธิบายเรื่อง สัมมาสตินะครับ ผมอยากขอความกรุณารบกวนให้พี่ทั้งสองอธิบายเรื่องเพียงเท่านี้ครับ
     
  18. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256

    ความเห็นของผม.....


    สติมีหยาบ....มีละเอียด ต่างกันไปตามแต่บุคคล

    รู้...โดยไม่ปรุงต่ออายตนะ ตอนนั้นมีสติ

    ปรุงอายตนะ..มีความรู้สึก ตอนนั้นขาดสติ

    จะเห็นว่า สติ..มีเกิดดับ แปรปวน เมื่อเราทำเหตุที่ควร สติจะเกิดขึ้น

    สติที่อ่อนไหว นุ่มนวล ควรแก่การงาน มีประโยชน์ในตัวเอง

    ต่างจากความนิ่งที่เกิดจากสมาธิ ซึี่่งต้องนำไปใช้จึงเกิดประโยชน์






    อย่าบังคับดับความรู้สึกที่เกิด เกิดความรู้สึกอะไรก็รู้

    จิตจะเห็นเองว่า เมื่อความรู้สึกหรืออารมณ์เกิด มีทุกข์

    ตอน...รู้...จิตไม่ทุกข์ สะสมความรู้นี้ไปเรื่อยๆ

    มีหลักอย่างเดียวว่า...ไม่บังคับหรือกดข่มจิตตนเอง



    จน...รู้....ก็ช่าง ไม่รู้ก็ช่าง
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณโป รู้น้อยยังดีกว่าไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง

    โดยเฉพาะพวกรู้ผิดจากความเป็นจริง พวกนี้ยิ่งแก้ยากมาก

    ยึดความรู้ที่ตนรู้มาอย่างเหนียวแน่น ทั้งๆที่ไม่มีเหตุผลที่จะชี้แจงได้เลย

    คำว่า"บรรลุ" หมายถึง ลุถึง เข้าถึง สำเร็จ

    ลุถึงอะไร ลุถึงการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นภายในจิตณ.ขั้นนั้นๆ.

    เข้าถึง ความว่างที่จิตสามารถขจัขัดเกลา สละ อุปกิเลสออกจากจิตได้ตามภูมิธรรมนั้นๆ

    สำเร็จ สำเร็จกิจอันพึงต้องกระทำในสภาวะนั้นๆ

    จะมีอาการไปเพื่ออะไรหละ? รู้แต่ว่าต้องปล่อยวางอาการของจิตต่างๆที่ตนเคยแสดงออกมา...

    รู้แล้วปล่อยวาง(ต้องมีพลังสมาธิที่สร้างมาจนชำนาญแล้ว)

    ไม่ใช่รู้แล้วรับและแสดงอาการออกมาตามสิ่งที่รับเข้ามา...

    ;aa24
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณkengkenny จิตที่ส่งออกล้วนมาจากความทะยานยาก(ตัญหา)ทั้งสิ้น.

    ผมถามว่า เมื่อเราตั้งสติระลึกรู้ ใครที่ตั้งสติระลึกรู้ใช่จิตมั้ย?

    เมื่อมารู้อยู่ที่อายตนะต่างๆดังที่คุณกล่าวมาแล้ว

    แล้วปล่อยให้สิ่งที่จิตออกไปรู้(เหตุ) เข้าไปจนถึงใจ(ธรรมารมณ์)เกิดแล้ว(ผล)

    แบบนี้ยังจะเรียกว่ามีสติระลึกรู้ได้อีกหรือ?

    เมื่อมีสติระลึก รู้แล้ว(ผัสสะ)ต้องปล่อยวางให้ได้สิ

    ที่ปล่อยวางไม่ได้ เพราะปล่อยวางไม่เป็น ไม่เคยฝึกฝนมาก่อน

    จึงปล่อยให้เข้าไปถึงจิตเกิดเวทนาตามไปด้วย...

    ;aa24
     

แชร์หน้านี้

Loading...