การสอนดูจิตตอนนี้ ไม่ต่างไปจากท่านสัญชัยปริพาชกในครั้งพุทธกาล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 6 พฤศจิกายน 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ครับก็คงดีถ้าไม่ต้องเอาอะไรมาให้อ่านมากมายครับ ผมไม่ชอบการอ่านอะไรที่มันเยอะครับ แต่ก็ขอบคุณครับ เพราะมันเลือกได้และสิ่งที่ต้องเลือกคือการเริ่มต้นเท่านั้น

    ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ ไม่หย่อน
    ไม่ยิ่ง. เพราะเพื่อเป็นประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ เพราะเมื่อตัณหาจริต ทิฏฐิจริต
    สมถยานิก วิปสสนายานิก เป็นไปแล้วโดยสองส่วน ๆ ด้วยความอ่อนและ ความเฉียบแหลม

    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อย่างหยาบเป็นทางหมดจดของผู้มี
    ตัณหาจริตอ่อน
    เวทนานุปัสสนสติปัฏฐาน อย่างละเอียดเป็นทางหมดจดของ
    ผู้มีตัณหาจริตเฉียบแหลม
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันมีประเภทไม่ยิ่งเกินเป็นทางหมดจด
    ของผู้มีทิฏฐิจริตอ่อน
    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันมีประเภทยิ่งเกินเป็นทาง
    บริสุทธิ์ของผู้มีทิฏฐิจริตเฉียบแหลม.

    สติปัฏฐานข้อที่ ๑ เป็นนิมิตควรถึงโดย ไม่ยาก เป็นทางบริสุทธิ์ของเป็นสมถยานิกอ่อน.
    สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เป็น ทางหมดจดของผู้เป็นสมถยานิกเฉียบแหลม เพราะไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์หยาบ.
    สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีประเภทไม่ยิ่งเกินเป็นอารมณ์ เป็นทางหมดจดของผู้เป็น
    วิปัสสนายานิกอ่อน.
    สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีประเภทยิ่งเกินเป็นอารมณ์ เป็นทาง หมดจดของผู้เป็นวิปัสสนายานิกเฉียบแหลม.
    เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ ไว้ในหย่อนไม่ยิ่ง

    ที่ผมไม่สนมาตั้งแต่ต้นเพราะ มันไม่มีสติครับ มีแต่จิต ผมเป็นคนไม่ชอบรู้เห็นอะไรแบบลอยๆ ครับเลยไม่สนใจเลย เพราะจะรู้ได้ว่านี่คือจิตก็เพราะมีสติ จะรู้ได้ว่าจิตไปไหน กายไปไหน อะไรๆ ต่างๆนานา ก็ด้วยเพราะสติ แต่ที่อ่านมาคำว่าสติ หายากมากมีแต่จิต และก็ไม่รู้ว่ามันอยู่ไหน มีแต่บอกว่ามี แต่ไม่มีตัวรู้ เห็นแต่บอกว่าผู้รู้ แต่ไม่เห็นมีสติ หรือ ผู้รู้จะคือสติ ก็ไม่รู้ได้ แต่อยากจะบอกว่า สติมันไม่มีมาตั้งแต่ต้น แล้วสติของผู้รู้จะมีมาแต่ไหน อันนี้ก็ไม่สงสัยเพราะนั่นคือความปรุงแต่งไปให้เป็นผู้รู้

    หาความสัมพันธ์ดูซิว่ามีอะไรเชื่อมโยงกันอยู่ ยาวดีครับ

    มรรควิธีเพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพาน มี ๔ แบบ

    การเจริญภาวนาที่เป็นหนทางให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน มีรูปแบบ ๔ ประการ คือ<O:p</O:p
    ๑) สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (เรียกเต็มว่า สมถปุพพังคม วิปัสสนา ภาวนาการเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า)
    <O:p</O:p
    ๒) วิปัสสนาปุพพังคมสถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (เรียกเต็มว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนาการเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า)
    <O:p</O:p
    ๓) ยุคนัทธสมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน (เรียกเต็มว่า สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนาการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ไปด้วยกัน)
    <O:p</O:p
    ๔) ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือความฟุ้งซ่านธรรมหรือตื่นธรรม (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพา
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    วิธีทั้งสี่นี้สรุปจากมรรค ๔ แบบนี้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ๔ อย่างที่พระอานนท์ ได้แสดงไว้
    ๑. ภิกษุ เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้าอยู่ มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป<O:p</O:p
    ๒. ภิกษุเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะอันมี วิปัสสนานำหน้าอยู่มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป<O:p</O:p
    ๓. ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันอยู่ มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป<O:p</O:p
    ๔. ภิกษุมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์ แต่ครั้นถึงคราวเหมาะที่จิตนั้นตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัดเป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่เธอ เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น, เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้นสังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระอานนท์กล่าวย้ำว่า ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ย่อมทำให้แจ้งอรหัตต์ในสำนักของเรา ด้วยมรรคครบทั้ง ๔ ประการ หรือมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔ ประการนี้[1]
    <O:p</O:p
    แบบที่ ๑ วิปัสสนามีสมถะนำหน้า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายความหมายว่า เบื้องแรก จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ซัดส่าย มีสมาธิเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความคิดสลัดออก ไม่โลภ ไม่พัวพันในกาม ก็ดี ด้วยอำนาจความคิดเมตตา,ทำใจนึกถึงแสงสว่าง(ไม่ให้ง่วง),ความไม่ฟุ้งซ่าน,ปราศจากอุทธัจจะ, การกำหนดข้อธรรม(ซึ่งทำให้ไม่มีวิจิตกิจฉา),ความรู้,ความแช่มชื่นใจ ก็ดี ด้วยอำนาจปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ด้วยอำนาจอากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ดี ด้วยอำนาจกสิณ ๑๐ ก็ดี อนุสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ หรือวิธีปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับอานาปานสติ ๓๒ รายการ ก็ดี[2] ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามครั้นแล้วเกิดปัญญามองเห็นแจ้งซึ่งธรรมทั้งหลายที่เกิดแล้วในสมาธินั้น ๆ ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างนี้เรียกว่า สมถะมาก่อน วิปัสสนาหลัง คือเป็นสมถปุพพังควิปัสสนา[3]<O:p</O:p
    อรรถกถาอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกว่า วิธีปฏิบัติอย่างที่ ๑ นี้ผู้ปฏิบัติทำสมถะคือสมาธิให้เกิดขึ้นก่อน จะเป็นอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิก็ได้ จากนั้นจึงพิจารณาสมถะหรือสมาธินั้น (ไม่ว่าจะเป็นอุปจารสมาธิหรือฌานสมาบัติชั้นใดก็ตาม) กับทั้งธรรมอื่น ๆ ทั้งหลายที่ประกอบร่วมกับสมาธินั้นให้เห็นสภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน จนอริยมรรคเกิดขึ้น[4]
    <O:p</O:p
    แบบที่ ๒ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายความหมายว่า เบื้องแรก วิปัสสนาใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามสภาวะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ครั้นจิตเกิดความปล่อยวางธรรมทั้งหลายอันปรากฎในวิปัสสนานั้นแล้ว และยึดเอาภาวะปล่อยวางนั้นเองเป็นอารมณ์จิตจึงมีภาวะอารมณ์หนึ่งเดียว ปราศจากความซัดส่าย มีสมาธิ อย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนามาก่อน สมถะมาหลัง คือเป็นวิปัสสนาปุพพังคมสมถะ อรรถกถาขยายความว่า ผู้ปฏิบัติยังมิได้ทำสมถะให้เกิดขึ้นเลย แต่มาพิจารณาเห็นแจ้งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามสามัญลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันนับว่าเป็นวิปัสสนา พอวิปัสสนาเต็มเปี่ยมดี จิตก็จะเกิดภาวะมีอารณ์หนึ่งขึ้น โดยมีความปล่อยวางธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั่นเองเป็นอารมณ์ อันนับว่าเป็นสมถะ เมื่อปฏิบัติโดยวิธีนี้ อริยมรรคก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน[5] อย่างไรก็ตามอรรถกถาสรุปว่า ไม่ว่าจะเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า หรือเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้าก็ตาม เมื่อถึงขณะที่อริยมรรคเกิดขึ้น ทั้งสมถะและวิปัสสนาจะต้องเกิดขึ้นด้วยกันอย่างควบคู่เป็นการแน่นอนเสมอไป[6] ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าโดยหลักพื้นฐานแล้ว สมถะและวิปัสสนาก็คือองค์ของมรรคมั่นเอง วิปัสสนาได้แก่สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ สมถะได้แก่องค์มรรคที่เหลืออีก ๖ ข้อ ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่องค์มรรคเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะบรรลุอริยภูมิ[7]
    <O:p</O:p
    แบบที่ ๓ สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายความหมายว่า ผู้ปฏิบัติเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปโดยอาการ ๑๖ เช่น โดยอรรถแห่งอารมณ์ เป็นต้น ยกตัวอย่าง เมื่อละความฟุ้งซ่าน ก็เกิดสมาธิกล่าวคือภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ซัดส่าย ซึ่งมีนิโรธเป็นอารมณ์ พร้อมกันนั้นเมื่อละอวิชชาก็เกิดวิปัสสนาคือการตามดูรู้เห็นแจ้ง ซึ่งมีนิโรธเป็นอารมณ์อย่างนี้เรียกว่าทั้งสมถะและวิปัสสนามีกิจเดียวกัน เป็นควบคู่กัน ไม่เกินกัน โดยอรรแห่งอารมณ์ อรรถกถาบรรยายว่า การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน มิใช่หมายความว่าทำทั้งสองอย่างพร้อมกันทีเดียว เพราะเราไม่สามารถพิจารณาสังขารด้วยจิตเดียวกันกับที่เข้าสมาบัติ <O:p</O:p
    คำว่าเจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กัน หมายความว่า เข้าสมาบัติถึงไหน ก็พิจารณาสังขารถึงนั่น พิจารณาสังขารถึงไหน ก็เข้าสมาบัติถึงนั่น กล่าวคือเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว พิจารณาสังขาร ครั้นพิจารณาสังขารแล้ว ก็เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้วพิจารณาสังขารอีก ครั้นพิจารณาแล้ว เข้าตติยฌาน ฯลฯ อย่างนี้เรื่อยไปตามลำดับจนเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว ก็พิจารณาสังขารอีก อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กันไป[8] ตัวอย่างสำคัญที่ท่านกล่าวถึงคือ พระสารีบุตรซึ่งได้เจริญสมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กันมาตั้งแต่ปฐมฌานจนตลอดบรรลุมรรคผล[9]
    <O:p</O:p
    แบบที่ ๔ ทางออกหรือวิธีปฏิบัติเมื่อจิตเขวเพราะธรรมุธัจจ์ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค[10] อธิบายความหมายว่า เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ เกิดมีแสงสว่าง ญาณ ปีติ ความสงบเย็น สุข ความปลงใจหรือศรัทธาแก่กล้า ความเพียรที่พอดี อุปัฏฐาน(สติชัดหรือสติกำกับอยู่) อุเบกขา (จิตเรียบเสมอเป็นกลาง) หรือนิกันติ (ความติดใจ) ขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัตินึกถึงโอภาสเป็นต้นนั้นว่าเป็นธรรม คือเข้าจผิดว่าเป็นมรรค ผลหรือนิพพาน เพราะการนึกไปเช่นนั้นก็จะเกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ผู้ปฏิบัติมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว ก็จะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่ โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง โดยภาวะที่เป็นทุกข์ โดยภาวะที่เป็นอนัตตา ดังนั้นจึงเรียกว่ามี จิตถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์ แต่ครั้นมีเวลาเหมาะที่จิตตั้งแน่วสงบสนิทชลงได้ในภายใน เด่นชัด เป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้ วิธีปฏิบัติที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ มีโอกาสเป็นต้นซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้ เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็จะไม่หวั่นไหว จะบริสุทธิ์ ไม่หมองมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไม่เสื่อมเสียอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกันในขณะแห่งมรรคญาณ อาจลดน้อยลงไปบ้าง โดยสัมพันธ์กับฌานที่ประกอบกับมรรคนั้น[11]

    เอกสารอ้างอิง
    [1] องฺ.จตุกฺก.๒๑/๑๗๐/๒๓๘; ขุ.ปฏิ.๓๑/๕๓๔/๔๑๓ , วิสุทธิ.ฎีกา๓/๕๑๐<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    [2] ความจริง ยกมาแสดงเพียงแค่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้นก็เพียงพอ เพราะฌานสมาบัติก็จบสูงสุดเพียงแค่นั้น แต่ที่ท่านแสดงข้อธรรมต่อ ๆ มาเช่น กสิณ เป็นต้นไว้ ด้วย เพราะมุ่งความคนละแง่ กล่าวคือ ข้อธรรมตอนต้นถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ยกมาแสดงในฐานะเป็นภาวะจิตที่เข้าถึง ส่วนข้อธรรมต่อจากนั้น ยกมาแสดงโดยฐานเป็นวิธี ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงภาวะนั้น ๆ (ดูประกอบ ปฏิส.อ.๓๖๗-๙)<o:p></o:p>

    [3] ขุ.ปฏิ.๓๑/๕๓๕/๔๓๓ , ๓๑/๒/๔๑๔<o:p></o:p>

    [4] .อ.๑/๑๕๐ , นิท.อ.๑/๓๙๐<o:p></o:p>

    [5] ดู ม.อ.๑/๑๕๐ , นิทฺ.อ.๑/๓๙๐ , องฺ.อ.๒/๔๔๗ , อิติ.อ.๖๙ <o:p></o:p>
    บาลีใน องฺ.จตุกฺก.๒๑/๙๒-๙๔/๑๒๐-๑๒๔ กล่าวถึงทั้งผู้ได้สมถะ ยังไม่ได้วิปัสสนา และผู้ได้วิปัสสนายังไม่ได้สมถะ (ในบาลีนั้นเรียกเจโตสมถะ และอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ซึ่ง องฺ.อ.๒-๔๒๓ อธิบายว่า ได้แก่อัปปนาสมาธิ และวิปัสสนา และวิปัสสนาที่กำหนดพิจารณาสังขาร ตามลำดับ) <o:p></o:p>
    บาลีแห่งนี้ทำให้ได้ข้อสังเกตด้วยว่า แม้จะได้วิปัสสนาแล้ว แต่สมถะก็อาจยังไม่เกิดตามมา (หรือพูดตามอรรถกถาว่า แม้จะได้วิปัสสนาแล้ว แต่สมถะก็อาจยังไม่สูงถึงขั้นน่าพอใจ คือยังไม่ได้ถึงฌาน) ท่านจึงแนะนำให้ฝึกสมถะเพิ่มเติมอีกต่างหาก และเมื่ออ่านบาลีนั้นโดยตลอด ก็ทำให้เห็นว่า ท่านสนับสนุนให้บำเพ็ญทั้งสมถะและวิปัสสนาได้พร้อมก่อนแล้วจึงควรทำความเพียรเพื่อกำจัดอาสวะในขั้นสุดท้ายต่อไป<o:p></o:p>

    [6] ม.อ.๑/๑๐๕; วิสุทธิ.๓/๓๓๓; ปฏิส.อ.๓๓๗ กล่าวว่า สมถะและวิปัสสนาเป็นไปอย่างเสมอภาคควบคู่กันทั้งในเวลามุ่ง หน้าต่ออริยมรรค และในขณะแห่งมรรค<o:p></o:p>

    [7] ปฏิส.อ.๒๓๗ วิภงฺค.อ.๑๕๗; วิสุทธิ.ฎีกา๓/๒๑๔, องค์มรรคเกิดพร้อมกันในขณะแห่งมรรคญาณ (ความจริงไม่เฉพาะองค์มรรคทั้ง ๘ เท่านั้น โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ย่อมเกิดพร้อมกันหมดในจิตเดียวกันในขณะแห่งมรรคญาณ) <o:p></o:p>

    [8] องฺ.อ.๒/๔๔๗ <o:p></o:p>

    [9] ม.อ.๓/๔๙๙-๕๐๐ อธิบายความในอนุปทสูตร, ม.อุ. ๑๔/๑๕๓-๖๕/๑๑๖-๑๒๒ <o:p></o:p>

    [10] ขุ.ปฏิ.๓๑/๕๔๒-๓/๔๔๕-๘ <o:p></o:p>

    [11] ดู ปฏิส.อ.๒๓๔ ; สงฺคณี อ.๓๕๕ ; วิสุทธิ.๓/๓๑๒ ; ที.อ. ๒/๕๓๗ ; สงฺคห.ฎีกา ๙๗ , ข้อมูล ....พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๘

    ฌานทุกฌานล้วนมีสติ
    การพิจารณาธรรมใดจะเป็นการพิจารณาธรรมแบบปัจจุบันธรรมก็ล้วนมีสติ ปรุงไปก็รู้เพราะมีสติ นี้เป็นอนิจสัญญาก็รู้เพราะมีสติ ยาวจริงๆไม่อยากอ่านก็อ่านตอนจบเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2009
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    "สติ" จะเกิดร่วมกับจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น
    ไม่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลเด็ดขาด
    ทันทีที่จิตเกิดสติ...

    ตรงนี้ก็ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่เลย มันดูแปลกๆดีนะ เพราะไม่ได้แยกว่า สติ แท้จริงมีอยู่สองชนิด ชนิดที่ใช้ทั่วไปเป็นได้ทั้ง กุศล และ อกุศล กับอีกสติหนึ่งคือ สติในองค์มรรค หรือ สติปัญญา ที่มีเฉพาะเพื่อความดับ กิเลส หรือ อวิชชา เป็นไปเพื่อนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ คิดว่าไงครับเอาแค่คิดก็พอไม่ต้องวิปัสสนาหรืออะไรก็ได้
    ส่วนผมนั้น สติ ตัวเเรก ตือ สติ ที่ใช้ตามรู้ปัจจุบันธรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล สติตัวที่สองไม่บอกฝึกเอาเองครับ ปัจจัตตัง แบบนี้สิเรียกว่า ปัจจัตตัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    o_O วู้ๆ..


    ด้วยๆ ...ด้วยความเคารพ
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    สติ คือ เครื่องระลึกรู้
    คนมีอกุศลเกิดขึ้นระลึกรู้
    กุศลเกิดก็ระลึกรู้่
    ดังพระศาสดากล่าวใน มหาสติปัฎฐาน ในส่วนของ จิตตานุปัสสนา ว่า จิตเศร้าหมองก็รู้

    จิตเบิกบานก็รู้

    เพราะหากว่า จิตมีอกุศล แล้วไม่มีสติ ใครจะไปจำได้ว่า อกุศลเป็นอย่างไร กุศลเป็นอย่างไร
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เถียงไม่ออก ทำตลกกลบเกลื่อน น่าเกลียดไหม

    ก่อนหน้านี้ ออกมาพูดจา ตำหนิคนนั้นคนนี้

    ครั้นพอตนเองไปไม่ได้ ทำตลก วิษณุ คุณไปเลี้่ยงลูกเถอะ ยังเกิดประโยชน์กับชีวิตมากกว่า

    ผมว่า ทางธรรมตอนนี้ คุณไม่รุ่งหรอก เป็นเวรเป็นกรรมให้กับตัวเองเปล่าๆ
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    คุณขันธ์ครับ แม้แต่ผมคัดพระไตรปิฏกเอามาลงโดยไม่เปลี่ยนซักตัว และยังถ่ายรูปจากหนังสือพระไตรปิฏกมาลงอีก คุณยังกล่าวว่าไม่ใช่ธรรม แคนี้คุณขันธ์ ยังมองไม่ออก ..ก็ตามสะบายแล้วครับ ..อย่างนี้เรียก ต้มพระไตร ไหมคับ

    ด้วยความเคารพ
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณหยิบมา ในความหมายว่าอะไรหละ

    สนับสนุน เนื้อหาอะไร
     
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846


    ไปนอนแระ... ผมขอตัว ราตรีวิสกัส

    ด้วยความเคารพ
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ วิษณุ ผมก็บอกแล้วว่า สิ่งที่คุณหยิบมามันไม่มีความหมายอะไรเลย

    เพราะเหมือนกับ คนบอกว่ากรุงเทพอยู่ภาคใต้ แต่เชียงใหม่อยู่ภาคเหนือ

    แล้วผมบอกว่า คนๆ นี้พูดผิด คุณบอกว่าพูดถูกเพราะว่าเขาบอกว่า เชียงใหม่อยู่ภาคเหนือ

    คุณวิษณุ ผมถึงบอกไงละครับว่า มีการ mutation เกิดขึ้น สำหรับคำสอนของพระปราโมทย์ มากมาย
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ซับซ้อน ด้วยกิเลสตัณหา

    ขอตัว
     
  11. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    นี่แหละครับลุงฝึกอะไรมาก็ตามหากไม่มีสติเป็นใหญ่สมาธิเป็นประธานแล้ว ที่ฝึกมานั้นไม่ใช่หนทางที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นแน่นอน เพราะไม่มีสติปกติอยู่ก่อนแล้ว สติตัวรู้หรือปัญญา มันก็ไม่มี หลวงปู่ดูลย์ หลวงพ่อพุธ หลวงปู่ขาว หลวงปู่แหวน หลวงปู่สิม หลวงปู่เทสน์ หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่หล้า หลวงปู่ชอบ หลวงปู่หลุย หลวงปู่อื่นๆอีกมากมาย ที่ล้วนเป็นพระอริยะสงฆ์องค์อรหันต์ทั้งหลาย ล้วนกล่าวมาดีแล้ว แต่เราผู้ปฏิบัติตามนั้นทำกันไม่ได้เอง

    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
     
  12. Mikas

    Mikas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +342
    ก็ถูกแล้วหนิครับ แล้วตรงนี้ไม่ตรงกับที่หลวงพ่อปราโมทย์สอนตรงไหน

    ผมอ่านไป อ่านมา ก็งง หมดแล้ว ตกลง ประเด็นไหนที่หลวงพ่อปราโมทย์สอนผิดครับ
     
  13. Mikas

    Mikas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +342
    คำว่า "สติ" ใช้กันกว้างมากครับ กว้างกันจนสับสน และเขว

    ตัวสติ จริงๆ ที่เป็นเหตุ ของมรรคผล ในทางพุทธศาสนา เป็นกุศลล้วนๆ หรือมหากุศลถูกแล้วครับ เพราะจิตขณะนั้น ตื่นรู้ ออกมาจากความคิดนึก, จากอารมณ์ และระลึกรู้เห็นสภาวะจริงๆที่เพิ่งเกิดขึ้น

    ตรงนี้เอามาจากไหนครับ ถ้าไม่ไดันั่งเทียน ขอ reference ด้วยนะครับ

    ตรงนี้เป็นสัมมาสติ เอาไว้ก่อนครับ เอาตัว "สติ" ที่เป็นต้นทางปฏิบัติก่อน ว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าไม่ตรงคลาดเคลื่อนยังไง

    แล้วที่หลวงพ่อปราโมทย์สอน ไม่ได้เป็น "สติ" ซึ่งเป็นเหตุของ สติปัฏฐาน 4 ยังไง??

    ตรงนี้ เป็นประเด็นหลัก! เอาประเด็นนี้ ให้เคลียร์เลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2009
  14. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ผิดตั้งแต่คิดว่าเป็นพระโสดาบันแล้วไง ใครก็ตามที่ปฏิบัติแล้วเห็นนั้นเห็นนี่ หรือรู้นั้นรู้นี่ แต่กิเลสมันไม่ดับไม่คลายก็จะหลงนึกว่าตนบรรลุเข้าถึงกระแส มักคิดว่าตนนั้นเป็นเช่นนั้นเป็นเช่นนี้ เป็นพระโสดาบันบ้าง ตลอดจนพระอรหันต์บ้าง แต่ความจริงแล้ว โดนกิเลสหลอกมาตั้งแต่ต้น แปลกดีจริงๆที่ทำไมไม่ฉุกคิดพิจารณาว่า เมื่อใดก็ตามที่จิตยึดมั่นว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นแหละคือ โมหะ ความหลง กิเลสตัวร้าย ตัวจริงเสียงจริง
    แต่ถามว่าท่านทำอยู่นี้ดีไหม ก็ตอบว่า ดีในส่วนของผู้มีปัญญาสามารถพิจารณาเห็นได้ว่าสิ่งใดเหมาะสมแก่ตน แต่ไม่ดีสำหรับพวกผู้ด้อยปัญญาเพราะ อินทรีย์อ่อนมาก โยนิโสมนสิการ ยังไม่มี ข้อนี้เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะพลาดแล้วยากต่อการกลับคืนสำหรับคนประเภทนี้
     
  15. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ต้อง อ้างอิงด้วยเหรอครับ คนที่หาสติตนไม่เจอแล้วจะหาอะไรเจอ ผมไม่หา อะไรมาอ้างอิงหรอกครับ เพราะถ้าหามาคุณก็เอามาปู้ยี้ปู้ยำตามแบบของคุณนั่นแหละ ใครไม่เชื่อก็อย่าไปเชื่อ เพราะผมไม่ได้ปราถนาให้ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติมาแล้วมาตอบคำถามหาเอกสารอ้างอิง
    ผมอ้างอิงตัวผมนี่แหละครับ และบอกทุกท่านเลยที่ปฏิบัติกันจริงๆ ไม่ต้องออกมาหาคำตอบให้พวกนี้หรอก เพราะเดี้ยวก็เอาไปทำเป็นของตัวเอง คำสอนพวกนั้นใครๆมันก็สอนได้
    แต่ทำได้หรือไม่มันอีกเรื่องหนึ่ง อยากรู้ก็เอาไปทำเอง ไม่ใช่มาถาม ทั้งก๊กเลย ไม่มีสติแต่มีผู้รู้ ไม่รู้เอามาจากไหน ถ้าอ่านดีๆก็จะมองเห็นอยู่ในตำราพระไตรปิฏกนั่นแหละเผอิญผมไม่ค่อยได้อ่าน เลยเอาสิ่งที่รู้ได้ด้วยการปฏิบัติมาเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2009
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สอนผิดเพี้ยนมากมาย...ดีแต่สร้างภาพ

    ท่านครับ ขนาดมีคนช่วยกันชี้ให้เห็นธรรมที่ท่าน...บัญญัติขึ้นเองออกมากมาย
    ยังแกล้งทำเป็นไม่รู้อีกหรือครับ
    ว่าสอนแตกต่างจากพระบรมครูและพ่อแม่ครูบาอาจารย์ตรงไหน

    ๑.สติเป็นอนัตตา ทั้งๆที่สติเป็นมรรค(ทางเดินของจิต)

    ๒.สติเกิดขึ้นเอง ซึ่งความจริงเป็นไปไม่ได้เลยว่า สติจะเกิดขึ้นเองได้
    สติต้องฝึกฝนอบรมให้เจริญขึ้น มากขึ้น

    ๓.สติจะเกิดขึ้นได้ เมื่อจิตรู้อารมณ์ก่อน
    นี่ก็เป็นการแสดงออกถึงภูมิธรรมของผู้พูดว่าปุถุชนดีๆนี่เอง
    เพราะพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านล้วนมีสติปัฏฐาน(ฐานที่ตั้งของสติอย่างต่อเนื่อง)
    ย่อมมีสติรู้ก่อนอารมณ์จะเกิดเสียด้วยซ้ำ
    โลกนี้จึงสงบสันติเพราะมีพระสุปฏิปันโนที่แท้จริงคอยสั่งสอน

    ๔.สติบังคับไม่ได้ เป็นการสอนผิดจากพระบรมครูอย่างน่าเศร้าใจ
    อะไรที่อบรมให้มากขึ้น เจริญขึ้น ย่อมต้องบังคับบัญชาได้
    ถ้าบังคับไม่ได้ จะมากขึ้นหรือเจริญขึ้นได้เหรอ

    นี่เพียงแค่ยกตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ที่สอนผิดเพี้ยนทั้งมีอีกมาก
    อันนี้พอรับได้เพราะไม่มีภูมิธรรมจริงๆ อย่างที่สอนออกมา ดีแต่สร้างภาพเท่านั้น

    ที่รับไม่ได้จริงๆอยู่ที่ชอบแอบอ้างพ่อแม่ครูบาอาจารย์ มาเพื่อรับรองภูมิธรรมที่ไม่มีในตน
    โดยเฉพาะหลวงปู่ดูลย์...ที่ท่านแอบอ้างเอาธรรมของหลวงปู่ดูลย์มาดัดแปลงสอนจนดัง
    แต่กลับกล่าวหาพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอย่างหลวงปู่ดูลย์สอนธรรมคลาดเคลื่อนไป
    และยังแอบอ้างหลวงปู่สิม มารับรองภูมิธรรมให้ ทั้งที่โดยความเป็นจริงแล้วเป็นไปไม่ได้เลย
    เพราะคำสอนของหลวงปู่สิมกับที่ท่านสอนอยู่นั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
    หลวงปู่สิมท่านจะมารับรองธรรมที่สอนแตกต่างจากที่ตนสอนได้อย่างใด

    ปล.ผมไม่เคยกล่าวร้ายเลยนะครับว่าท่านเป็นคนไม่ดี ไม่มีคุณธรรม
    ส่วนคำสอนนั้นเป็นสากล ถ้าสอนผิดผมก็มีสิทธิที่จะแย้งในฐานะพุทธบุตรที่ดี

    ;aa24
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พูดได้ กับทำได้ มันคนละเรื่อง คนละโลก ชั้นนอก กับ ชั้นใน ปริยัติ กับ ปฏิเวช

    เขาดูกันที่ ผล ที่เกิดออกมาแล้วจากเหตุนั้น ถ้าพูดอย่างหนึ่ง แต่ทำอย่างหนึ่ง

    แล้วไม่รู้ตัวเอง เรียกว่า หน้ามืด ถ้าพูดอย่างหนึ่งแล้วทำอีกอย่างหนึ่ง แต่รู้สึกตัวทัน

    เรียกว่า หน้าสว่างแต่ขาดปัญญา ถ้าพูดอย่างใดทำอย่างนั้นด้วยความรู้สึกตัวมีสติ

    แล้วเป็นการไปเพื่อกุศลเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น เรียกว่า หน้าสว่างและมีปัญญา

    แต่ถ้าเจอประเภทพูดอย่างใดทำอย่างนั้นแต่เป็นอกุศลตลอด มิจฉาทิฏฐิตลอด ก็ตัวใครตัว

    มัน อาจจะเป็นเพราะวิบากกรรมหนักมาตัดรอน ต้องอาศัยอยู่ในป่าสมมุติบัญญัติอีกนาน
     
  18. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558


    ตรงถ้าผู้รู้มันเป็นกลางๆ หรือเฉยๆได้ เราก็ไม่มีทุกข์
    หมายความว่า ถ้าหากผู้รู้ไปรู้จิต ที่มีอารมณ์ต่างๆเช่น โลภะหรือโมหะ แล้วผู้รู้ก็เพียงแต่รู้เฉยๆ เป็นกลางๆ ไม่ปรุงอารมณ์เหล่านั้นต่อ ก็ไม่มีทุกข์ ไช่ไหมครับ


    ตรง ถ้าไม่ยึดมั่นในผู้รู้ได้ ทุกข์มันก็คงไม่มี หมายความว่าคิดว่า ถ้าผู้รู้ไปรู้ว่าจิต มีโทษะ หรือโลภะแล้วผู้รู้ จะปรุงแต่งไปอย่างไร
    แต่ถ้าเราไม่ยึดผู้รู้ ทุกข์ก็คงไม่มีหรือครับ

    ใช่อย่างที่ผมคิดหรือไม่ครับคุณขวัญ . .
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ก็ขอบคุณที่เตือนมา
    ในความเห็นของเรา การบังคับไปเรื่อยๆ ด้วยสมาธิ
    มันแสร้งทำให้คุณเห็นอ่อนกำลัง พร้อมๆกับ อัตตากูเก่ง ของคนทำก็ขยายขึ้น
    ที่ฆ่ามันได้ ก็อาจจะเป็นมันสร้างภาพหนีตายให้คุณดู แล้วแอบไปซ่อนตัว
    ในอัตตากูเก่งแทน พอคุณเผลอสติ หลุดจากฌาณ มันก็ย่องมาเชือดเงียบๆ
    เนียนๆแบบที่คุณไม่มีวันจะรู้ตัวได้เลย เพราะคุณเป็นทาสของอัตตาไปซะแล้ว

    ต่างคนต่างความเห็น ต่างจิตต่างใจ ต่างทิฏฐิ เราก็ไม่รู้เรื่องของคุณหรอกนะ
    พูดจากความคิดของเรา อาจจะผิดก็ได้ เหมือนที่คุณมองดูเรา มันมองผ่านด้วย
    ทิฏฐิและความคิดของอัตตาคุณเอง ถ้าคุณบอกว่า ไม่มีอัตตา แล้ว ก็คงเป็น
    เรื่องของคุณอีก เราไม่วิจารณ์เพราะเราไม่รู้ความจริงของคุณ มีแต่คุณที่รู้ตัว
    เองได้ดีที่สุด

    ถ้าเราเป็นอิสระจากจิตได้จริงๆ เป็นกลางต่อจิต จิตมันก็อ่อนกำลังเอง
    เพราะ
    หนึ่งไป หนึ่งมา ไม่ต่อยอดเติมเชื้อซึ่งกันและกัน ก็ต่างคนต่างอยู่ กระทบแล้วก็
    ต่างคนต่างไป หมดแรงส่งมันก็ดับไปเอง เกิดด้วย1แรง ก็ไปไม่ได้ไม่ไกล
    ถ้าทำเป็น แยกได้ ถ้าทำไม่เป็น ก็มองไม่ออก ไม่รู้ว่าเขาภาวนาอย่างไร

    ถ้า ไปไปมามา มามาไปไป เป็นก้อนๆรวมกันแยกไม่ออก มันก็เติมเชื้อกันไม่
    หยุดยิ่งนานๆปมันก็ยิ่งเป็นบรรยากาศมาคุ แล้วสุดท้ายก็ตบะแตก หลุดจาก
    ฌาณก็ไม่รู้ตัวอีก
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แม่นแล้ว คุณ2ชาติ
    ที่เราได้ยินมาจากพระเทศน์มีอีกคำหนึ่ง
    ผู้รู้ เปรียบเสมือนแพ ใช้อาศัยเพื่อข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง
    ถ้ายังไม่ถึงฝั่ง ก็อย่าเพิ่งทำลายแพ
    ถ้าถึงฝั่งแล้ว ก็ขึ้นไปเลย อย่าอาลัยอาวรณ์ แพ ถึงแม้แพนั้นจะเป็น เรือสำราญก็ตาม

    ผู้รู้ไปรู้จิต ที่มีอารมณ์ต่างๆเช่น โลภะหรือโมหะ แล้วผู้รู้ก็เพียงแต่รู้เฉยๆ เป็นกลางๆ ไม่ปรุงอารมณ์เหล่านั้นต่อ ก็ไม่มีทุกข์ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...