แนวทางปฏิบัติธรรม ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ( เรียบเรียงโดย : อุบาสกนิรนาม )

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 28 ตุลาคม 2009.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    แนวทางปฏิบัติธรรม ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    ( เรียบเรียงโดย : อุบาสกนิรนาม )

    ๑. คำปรารภ

    หลวง ปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์รุ่นแรกสุดของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ภายหลังจากท่านออกเดินธุดงค์จนสิ้นธุระในส่วนขององค์ท่านแล้ว ท่านได้ไปประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตลอดมาจนถึง วันมรณภาพ หลวงปู่เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และได้แผ่บารมีธรรม อบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลักปฏิบัติที่ท่านนำมาสั่งสอนนั้น ไม่ใช่หลักธรรมของท่าน หรือของท่านอาจารย์ของท่าน แต่เป็นพระธรรมคำสอน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าประทานไว้นั่นเอง ท่านเพียงแต่เลือกเฟ้นกลั่นกรองนำมาสอน ให้ถูกกับจริตนิสัยของศิษย์แต่ละคนเท่านั้น

    หลวงปู่มีปรกติสอนเรื่อง จิต จนบางคนเข้าใจว่า ท่านสอนเฉพาะการดูจิตหรือการพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสอนไว้สารพัดรูปแบบ คือใครดูจิตได้ท่านก็สอนให้ดูจิต แต่หากใครไม่สามารถดูจิตโดยตรงได้ ท่านก็สอนให้พิจารณากาย (กายานุปัสสนา และเวทนานุปัสสนา)เช่น เดียวกับที่ท่านพระอาจารย์มั่นสอน และในความเป็นจริง ศิษย์ฝ่ายบรรพชิตที่พิจารณากายนั้น ดูจะมีมากกว่าผู้พิจารณาจิตโดยตรงเสียอีก

    ๒. เหตุผลที่ท่านเน้นการศึกษาที่จิต

    หลวง ปู่พิจารณาเห็นว่ากุศลธรรมทั้งหลายรวมลงได้ในอริยสัจสี่ทั้งนั้น และอริยสัจสี่นั้นสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ด้วยการศึกษาจิตของตนเอง เพราะทุกข์นั้นเกิดมาจากสมุทัยคือตัณหา (ความทะยานอยากของจิต) และความพ้นทุกข์ก็เกิดจากความสิ้นไปของตัณหา แม้แต่มรรคมีองค์แปด ซึ่งย่อลงเป็นศีล สมาธิ และปัญญานั้น ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตทั้งสิ้น กล่าวคือศีลได้แก่ความเป็นปรกติธรรมดาของจิตที่ไม่ถูกสภาวะอันใดครอบงำ สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต และปัญญาคือความรอบรู้ของจิต ท่านจึงกล้ากล่าวว่า พระธรรมทั้งปวงนั้น สามารถเรียนรู้ได้ที่จิตของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการดูจิต

    ๓. วิธีดูจิต

    ๓. ๑ การเตรียมความพร้อมของจิต พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร จะสอนตรงกันว่า จิตที่จะเจริญวิปัสสนาได้นั้น ต้องมีสมาธิหรือความสงบตั้งมั่นของจิตเป็นฐานเสียก่อน จิตจะได้ไม่ถูกกิเลสครอบงำ จนเห็นไม่สามารถเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงได้ หลวงปู่ดูลย์ท่านก็สอนในลักษณะเดียวกัน และท่านมักจะให้เจริญพุทธานุสติบริกรรม "พุทโธ" หรือ ควบด้วยการทำอานาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้า บริกรรม "พุท" หายใจออกบริกรรม "โธ"


    เคล็ดลับของการทำความสงบ ในเวลาที่จะทำความสงบนั้น ท่านให้ทำความสงบจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องการเจริญปัญญา และมีเคล็ดลับที่ช่วยให้จิตสงบง่ายคือ ให้รู้คำบริกรรมหรือกำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ ตามสบาย อย่าอยากหรือจงใจจะให้จิตสงบ เพราะธรรมชาติของจิตนั้นจะไปบังคับให้สงบไม่ได้ ยิ่งพยายามให้สงบกลับจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักเข้าไปอีก

    เมื่อจิตสงบลงแล้ว จิตจะทิ้งคำบริกรรม ก็ไม่ต้องนึกหาคำบริกรรมอีก แต่ให้รู้อยู่ตรงความรู้สึกที่สงบนั้น จนกว่าจิตจะถอนออกมาสู่ความเป็นปรกติด้วยตัวของมันเอง

    ๓.๒ การแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ เมื่อจิตรวมสงบทิ้งคำบริกรรมไปแล้ว ท่านให้สังเกตอยู่ที่ความสงบนั้นเอง และสังเกตต่อไปว่า ความสงบนั้นเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น จิตคือตัวผู้รู้ ผู้ดูอยู่นั้น มีอยู่ต่างหาก สรุปก็คือ ท่านสอนให้แยกจิตผู้รู้ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้

    บางคนไม่สามารถทำความสงบด้วยการบริกรรม หรือด้วยกรรมฐานอื่นใด ก็อาจใช้วิธีอื่นในการแยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ได้ ตัวอย่างเช่น

    นึก ถึงพุทโธ หรือบทสวดมนต์บทใดก็ได้ที่คุ้นเคย แล้วก็เฝ้ารู้การสวดมนต์ที่แจ้วๆ อยู่ในสมองตนเองไป จากนั้นจึงแยกว่า บทสวดนั้นถูกรู้ ผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ตรงจุดนี้มีอุบายยักย้ายอีกหลายอย่าง เช่น อาจจะสังเกตดูความคิดของตนเอง ซึ่งพูดแจ้วๆ อยู่ในสมองก็ได้ แล้วเห็นว่า ความคิดนั้นถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก หรือตามรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายไปเรื่อยๆ หรือตามรู้ความ รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ไปเรื่อยๆ หรือ ฯลฯ (สรุปว่า รู้อะไรก็ได้ให้ต่อเนื่อง) และสังเกตเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก

    หรืออย่างท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ศิษย์อาวุโสอีกรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านสอนให้ลองกลั้นหายใจดูชั่วขณะ แล้วสังเกตดูความรู้สึกตรงที่นิ่งๆ ว่างๆ นั้น แล้วทำสติรู้อยู่ตรงนั้นเรื่อยๆ ไป เป็นต้น เมื่อแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ได้แล้ว ก็ให้เจริญสติสัมปชัญญะต่อไป

    ๓. ๓ การเจริญสติและสัมปชัญญะ ให้ทำความรู้ตัวอยู่กับจิตผู้รู้ อย่างสบายๆ ไม่เพ่งจ้องหรือควานหา ค้นคว้า พิจารณาเข้าไปที่จิตผู้รู้ เพียงแค่รู้อยู่เฉยๆ เท่านั้น ต่อมาเมื่อมีความคิดนึกปรุงแต่งอื่นๆ เกิดขึ้น ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ชัดเจน เช่น เดิมมีความนิ่งว่างอยู่ ต่อมาเกิดคิดถึงคนๆ หนึ่ง แล้วเกิดความรู้สึกรัก หรือชังขึ้น ก็ให้สังเกตรู้ความรักความชังนั้น และเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น ตัวจิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก ให้รู้ตัวไปเรื่อยๆ สิ่งใดเป็นอารมณ์ปรากฏขึ้นกับจิต ก็ให้มีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏนั้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เผลอส่งจิตเข้าไปในอารมณ์นั้น ตรงที่จิตไม่เผลอส่งออกไปนั้นเอง คือความรู้ตัวหรือสัมปชัญญะ

    เรื่องสตินั้นเข้าใจง่าย เพราะหมายถึงตัวที่ไปรู้เท่าอารมณ์ที่กำลังปรากฏ เช่นคนอ่านหนังสือ สติจดจ่ออยู่กับหนังสือ จึงอ่านหนังสือได้รู้เรื่อง คนขับรถสติจดจ่อกับการขับรถก็ทำให้ขับรถได้ ฉะนั้นโดยธรรมชาติแล้ว คนมีสติอยู่เสมอเมื่อจิตรู้อารมณ์ แต่จะเป็นสัมมาสติได้ ก็ต่อเมื่อมี

    สัมปชัญญะคือ ความรู้ตัวไม่เผลอควบคู่ไปด้วย

    ความรู้ตัว ไม่เผลอนั้นเข้าใจยากที่สุด เพราะถามใครเขาก็ว่าเขารู้ตัวทั้งนั้น ทั้งที่ความจริงจิตยังมีความหลง (โมหะ) แฝงอยู่เกือบตลอดเวลา

    สัมปชัญญะที่ใช้เจริญสติปัฏฐาน จะต้องเป็น "อสัมโมหสัมปชัญญะ" เท่านั้น

    ยก ตัวอย่าง เมื่อเราดูละครโทรทัศน์ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ใจรู้ คิดนึกตามเรื่องของละครไป ในขณะนั้นเรามีสติดูโทรทัศน์ แต่ไม่อาจมีสัมปชัญญะ เพราะเราส่งจิตหลงไปทางตา ทางหู และทางใจ เราลืมนึกถึง ตัวเองที่นั่งดูโทรทัศน์อยู่ อันนี้เรียกว่าไม่มีสัมปชัญญะหรือไม่รู้ตัว
    บางคนเดินจงกรม กำหนดรู้ความเคลื่อนไหวของเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ความเคลื่อนไหวของกาย อันนั้นมีสติ แต่อาจไม่มีสัมปชัญญะถ้าส่งจิตเผลอไปในเรื่องของเท้าและร่างกาย มัวแต่จดจ่อที่เท้าและร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว จนเหมือนกับลืมตัวเอง เหมือนตัวเองหรือตัวจิตผู้รู้นั้นไม่มีอยู่ในโลกเลยใน ขณะนั้น ความรู้ตัวหรือการไม่หลงเผลอส่งจิตออกไปตามอารมณ์ภายนอกนั้นเองคือสัมปชัญญะ วิธีฝึกให้ได้สัมปชัญญะที่ดีที่สุดคือการทำสมถะกรรมฐาน เช่น การบริกรรมพุทโธจนจิตรวมเข้าถึงฐานของมัน แล้วรู้อยู่ตรง ฐานนั้นเรื่อยไป หากมีอารมณ์มาล่อทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ไม่เผลอ หลงลืมฐานของตน ส่งจิตตามอารมณ์ไปอย่างไม่รู้ตัว

    ๓.๔ ดูจิตแล้วรู้อารมณ์อะไรบ้าง การที่เราเฝ้ารู้จิตผู้รู้ไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ นั้น เราสามารถรู้อารมณ์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้ แล้วแต่ว่า ในขณะนั้นอารมณ์ตัวไหนจะแรงและเด่นชัดที่สุด ดังนั้น เราสามารถเจริญ สติปัฏฐานได้ทั้ง ๔ ประเภท (ในทางตรงข้าม ถ้าแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ออกจากกันไม่ได้ จะไม่สามารถเจริญสติปัฏฐานทุกประเภทเช่นกัน ที่กล่าวว่าสมถะเป็นฐานของวิปัสสนาก็คือเรื่องตรงนี้เอง คือถ้าขาดสมถะที่ถูกต้อง จิตจะตกเป็นทางอารมณ์ ถ้ามีสมถะที่ถูกต้อง จิตจะมีสัมปชัญญะ รู้ตัว ไม่เป็นทาสของ อารมณ์ จึงเห็นความเกิดดับของอารมณ์ชัดเจนตามความเป็นจริงได้) กล่าวคือ

    ๓.๔.๑ รู้กาย เมื่อมีสัมผัสทางกาย เช่นรู้ลมหายใจเข้า ออก รู้ทางกายว่ามีอากาศเย็นมากระทบกาย กายเกิดอาการหนาวสะท้านขึ้น หรือเมื่อเดินกลางแดดร้อนจัด กายอิดโรยมีเหงื่อไคล สกปรกชุ่มอยู่ หรือเมื่อเดินจงกรมเคลื่อนไหวไปมา ผู้ที่มีจิตผู้รู้ จะเห็นกายสักแต่ว่าเป็นกลุ่มของธาตุมารวมกัน และเคลื่อนไหวไปมาได้เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ไม่เห็นว่ากายส่วนใดจะเรียกตัวเองว่ากายเลย หรือเดินจงกรมจนเมื่อยขา ก็ไม่เห็นว่าขาจะบ่นอะไรได้เลย กายกับจิตมันแยกชัดเป็นคนละส่วนกันทีเดียว ผู้ปฏิบัติจะเห็นกายเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก

    ๓.๔.๒ รู้เวทนา บางครั้งในขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น เรา จะรู้เวทนา ทางกายบ้าง ทางจิตบ้าง แล้วแต่ตัวใดจะเด่นชัดในขณะนั้น เช่นในขณะที่เดินอยู่ เกิดเมื่อยขารุนแรง ถ้าเรามีจิตผู้รู้ เราจะเห็นชัดเลยว่า ความเมื่อยไม่ใช่ขาที่เป็นวัตถุธาตุ แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง แฝงอยู่ในวัตถุธาตุที่ประกอบกันขึ้นเป็นขา หรืออย่างนั่งอยู่ร้อนๆ มีลมเย็นพัดมา รู้สึกสบาย ความสบายนั้นเป็นความรู้สึกอีกตัวหนึ่ง ที่แทรกเข้ามา โดยที่กายไม่ได้สบายไปด้วย หรืออย่างเราปวดฟัน ถ้าเรามีจิตผู้รู้ จะเห็นชัดว่า ความปวดไม่ใช่ฟัน และไม่ใช่จิตด้วย แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง (อีกขันธ์หนึ่ง) และความปวดนั้นเปลี่ยนระดับ
    ตลอด ไม่ได้ปวดเท่ากันตลอดเวลา อันเป็นการแสดงความเป็นไตรลักษณ์ของเวทนาขันธ์ให้ปรากฏ

    ในส่วนของเวทนา ทางจิต ก็เห็นได้ชัดมาก เช่น เวลาปวดฟัน มีเวทนาทางกายแล้ว บางครั้งจิตก็ปรุงแต่งเวทนาทางจิตขึ้นมาด้วย คือเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ใจขึ้นมา หรือในเวลารับประทานอาหารที่ชอบใจ แม้รสยังไม่ทันสัมผัสลิ้น ความสุขทางใจก็เกิดขึ้นก่อนแล้ว อย่างนี้ก็มี
    การรู้เวทนาขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นเวทนาเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก

    ๓. ๔.๓ รู้จิต จิตตานุปัสสนานั้น ไม่ใช่การเห็นจิตผู้รู้ หรือจิตที่แท้จริง แต่เป็นการเห็นจิตสังขาร(ความคิดนึกปรุงแต่ง) ที่กำลังปรากฏ เช่น เห็นชัดว่า ขณะนั้นจิตมีความโกรธเกิดขึ้น มีความใคร่เกิดขึ้น มีความหลงฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ความความผ่องใส เบิกบานเกิดขึ้น ฯลฯ แล้วก็จะเห็นอีกว่า ความปรุงแต่งทั้งฝ่ายชั่ว และฝ่ายดี ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มันไม่ใช่จิต มันเป็นแค่อารมณ์ที่ถูกรู้ ทั้งนี้การรู้จิต (สังขาร) ในขณะที่รู้ตัวหรือรู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นจิตสังขารเป็นไตรลักษณ์อย่างชัดเจนมาก


    ๓.๔.๔ รู้ธรรม ถ้ารู้จิตผู้รู้อยู่นั้น หากสภาวธรรมอันใดปรากฏขึ้น ก็จะเห็นสภาวธรรมนั้นตามที่มันเป็นจริง เช่น ขณะที่รู้ตัวอยู่ จิตคิดถึงคนที่รัก แล้วจิตก็ทะยานออกไปเกาะความคิดนั้น คลุกคลีกับความคิดนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดว่า จิตเกิดความยึดว่าจิตเป็นตัวตนของตนขึ้นมา เพราะความที่จิตหลงไปยึดอารมณ์นั้นเอง ความเป็นตัวตน ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ได้เกิดขึ้นแทนความไม่มีอะไรในตอนแรก และถ้ารู้ทันว่าจิตส่งออกไปนำความทุกข์มาให้ จิตจะปล่อยอารมณ์นั้น กลับมาอยู่กับรู้ ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ความแน่น หรือทุกข์ก็จะสลายตัวไปเอง อันนี้คือการเห็นอริยสัจสี่นั่นเอง คือเห็นว่าถ้ามีตัณหาคือความทะยานอยากไปตามอารมณ์ ความเป็นตัวตนและเป็นทุกข์จะเกิดขึ้น ถ้าไม่อยากทุกข์ก็ ไม่เกิด
    การ รู้สภาวธรรมในขณะที่รู้ตัว หรือรู้จิตผู้รู้นั้น จะเห็นจิตเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนทีเดียว เช่นเห็นว่า เป็นของบังคับบัญชาไม่ได้ มันส่งออกไปยึดอารมณ์ มันก็ไปเอง ถ้ามันรู้ว่าไปยึดแล้วทุกข์ มันก็ไม่ไปเอง เราจะบังคับว่า จงอย่าไป ไม่ได้เลย


    ตัวอย่าง การพิจารณาหรือการดูจิต

    ๑. นาย จ. กำลังซักผ้า ขณะนั้น สัญญาคือความจำภาพของสาวคนรักผุดขึ้นมา จิตของเขาปรุงแต่งราคะคือความรักใคร่ผูกพันขึ้นมา ทั้งที่ไม่ได้เห็นสาวคนรักจริงๆ วิธีดูจิตนั้น ไม่ได้หมายความว่าให้นาย จ. หันมาทำสติว่ามือกำลังขยี้ผ้าอยู่ แต่นาย จ. จะต้องมองเห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง เมื่อเห็นกิเลสแล้ว ก็ไม่ใช่เกลียดหรืออยากดับกิเลส แต่การเห็นกิเลสด้วยจิตที่เป็นกลาง กิเลสมันจะดับไปเอง เมื่อกิเลสดับไป นาย จ. ก็ต้องรู้ว่ากิเลสดับไป เป็นต้น

    ๒. กรณีเดียวกับตัวอย่างแรก ถ้านาย จ. เกิดราคะเพราะคิดถึงคนรัก บางครั้งกำลังกิเลสที่แรงมากๆ แม้นาย จ. จะรู้ว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่ราคะนั้นอาจจะไม่ดับไป มิหนำซ้ำ จิตของนาย จ. ยังเคลื่อนออกจากฐานผู้รู้ เข้าไปเกาะกับภาพคนรัก หรือหลงเข้าไปในความคิดเกี่ยวกับคนรัก ถึงขั้นนี้ก็ให้นาย จ. รู้ว่า จิตเคลื่อนออกไปรวมกับอารมณ์แล้ว ไม่ต้องทำอะไร แค่รู้เฉยๆ เท่านั้น

    ๓. เมื่อจิตของนาย จ. มีราคะ หรือจิตของนาย จ. เคลื่อนเข้าไปรวมกับอารมณ์ นาย จ. อาจจะสงสัยว่า เอ..เราควรต้องพิจารณาอสุภกรรมฐานช่วยจิตหรือไม่ เพื่อให้พ้นอำนาจดึงดูดของราคะ เรื่องอย่างนี้ในกรณีที่ผู้ ปฏิบัติพิจารณากาย อาจจะใช้การพิจารณาอสุภกรรมฐานมาเป็นเครื่องแก้กิเลสก็ได้ แต่นักดูจิตจะไม่ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต เขาจะทำแค่รู้ทันสภาพจิตของตนอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้ว จิตจะเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา ถ้าตั้งใจสังเกตดู เช่น กำลังราคะจะแรงขึ้นบ้าง อ่อนลงบ้าง ความคิดเกี่ยวกับคนรักจะปรากฏขึ้นบ้าง และดับไปบ้าง การเคลื่อนของจิตก็อาจเคลื่อนถลำเข้าไปในอารมณ์บ้าง แล้วถอยออกมาอยู่กับรู้บ้าง มันแสดงไตรลักษณ์อยู่ ตลอดเวลา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2009
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ๔. เมื่อนาย จ. รู้ทันจิตเรื่อยๆ ไปโดยไม่ได้ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต นาย จ. ซึ่งเป็นปัญญาชน เคยชินกับการแก้ปัญหาด้วยการคิด อาจเกิดความลังเลสงสัยขึ้นมาว่า เอ..ถ้าเราเฝ้ารู้จิตไปเฉยๆ เราจะเกิดปัญญา ได้อย่างไร เราจะกลายเป็นคนโง่สมองฝ่อหรือเปล่า ก็ให้นาย จ. รู้ว่าความลังเลสงสัยเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องคิดหาคำตอบ แค่เห็นว่าความสงสัยเกิดขึ้นก็พอ ที่สุดมันจะดับไปเองเหมือนอารมณ์ตัวอื่นๆ นั่นเอง

    แท้ที่จริง การที่จิตเป็นกลางรู้อารมณ์นั้น จิตเห็นไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา และจะเห็นอริยสัจ ๔ ไปในตัวด้วยนั้น เป็นปัญญาขั้นสุดยอดอยู่แล้วที่จะปลดเปลื้องจิตจากความทุกข์ ทั้งนี้ปัญญาอันเกิดจากการใช้ ความคิด (จินตมยปัญญา) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้เก่าๆ ที่ปัญญาชนอย่างนาย จ. เคยชิน ไม่สามารถนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ แต่ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) คือการเจริญสติสัมปชัญญะนั้น นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ และมันเป็นปัญญาคนละชนิดกัน


    ๕. เมื่อนาย จ. ซักผ้าไปนานๆ แขนของนาย จ. ก็ปวด มือก็ล้า นาย จ. รับรู้ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น แล้วสังเกตเห็นว่า ความจริงร่างกายของนาย จ.ไม่ได้ปวดเมื่อยเลย แต่ความปวดเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฝงอยู่ในกาย จิตผู้รู้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง มันสงบสบายอยู่ได้ ในขณะที่ทุกข์ทางกายเกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นการเห็นความจริงเกี่ยวกับขันธ์ที่แยกออกจากกันเป็นส่วนๆ เมื่อมองดูแต่ละส่วน ไม่เห็นมีส่วนใดเลยที่เรียกว่า "นาย จ." นี่ก็เป็นสภาพอีกอันหนึ่งที่ผู้ดูจิตจะรู้เห็นได้ไม่ยาก

    ๓.๕ การดูจิตจะพลิกไปมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนาได้ การดูจิตก็ดี หรือการพิจารณากายก็ดี จิตสามารถพลิกกลับไปมาระหว่างการเจริญสมถ กรรมฐานและวิปัสนากรรมฐานได้

    ในทางตำราทั่วๆ ไป มักจะแยกสมถะกับวิปัสสนาด้วยอารมณ์กรรมฐาน คือถ้าใครทำกรรมฐาน ๔๐ เช่น อนุสติ ๑๐ ถือว่าทำสมถะ ถ้าเจริญสติปัฏฐานคือรู้กาย เวทนา จิต หรือธรรม ถือว่าเจริญวิปัสสนา และเมื่อพบว่า กรรมฐานบางอย่าง เช่น อานาปานสติ มีอยู่ทั้งในกรรมฐาน ๔๐ และในสติปัฏฐาน ก็อธิบายเลี่ยงไปว่า อานาปานสติเป็นข้อยกเว้น คือเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา

    แต่ในแง่ของ นักปฏิบัติแล้วไม่ใช่เช่นนั้น การจำแนกสมถะกับวิปัสสนานั้น สามารถจำแนกด้วยอาการดำเนินของจิตได้ด้วย คือถ้าขณะใด จิตมีสติรู้ อารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง อันนั้นเป็นการทำสมถะ และเมื่อทำไปจนจิตจับอารมณ์นั้นเองโดยไม่ต้องบังคับควบคุม หรือไม่ต้องตั้งใจแล้ว จิตเกาะเข้ากับอารมณ์อันเดียว เกิดความสุขความสงบ อันนั้นเป็นฌานอันเป็นผลของการทำสมถะ

    เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติมีสติรู้ อารมณ์ที่กำลังปรากฏ ในขณะเดียวกันก็มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้แยกออกจากกันแล้ว ตามเห็นความเกิดดับของอารมณ์ อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และเมื่อถึงจุดหนึ่ง จิตจะไม่จงใจรู้อารมณ์และไม่จงใจประคองผู้รู้ แต่สามารถเจริญสติและสัมปชัญญะได้เอง อันนั้นจิตเดินวิปัสสนาเองโดยอัตโนมัติ อันเป็นวิปัสสนาแท้ ที่จิตทำของเขาเอง

    เปรียบเทียบคนที่ทำสมถะ เหมือนคนที่ตกลงในกระแสน้ำ ว่ายอยู่ในน้ำ ย่อมเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดเจน ในขณะที่ผู้ทำวิปัสสนา เหมือนคนที่นั่งบนฝั่งน้ำ แล้วมองดูสายน้ำที่ไหลผ่านเฉพาะหน้าไป ย่อมเห็นชัดว่า มีอะไรลอยมากับน้ำบ้าง ทั้งของสะอาดสวยงาม และของสกปรก

    ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นบทเฉลยที่ว่า ทำไมจึงต้องหัดแยกจิตผู้รู้ ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้ ก่อนที่จะดูจิตหรือพิจารณากายอย่างหนึ่งอย่างใด
    ตัวอย่าง เช่น หากพิจารณาอัฐิหรือกระดูก โดยให้สมาธิเพ่งรู้รูปร่างของกระดูก ว่าเป็นแท่งยาวๆ กลมๆ อันนั้นเป็นการเพ่ง เป็นกสิณดิน หากเพ่งดูว่า กระดูกมีสีขาว อันนั้นก็เป็นกสิณสี ซึ่งการเพ่งจนจิตสงบเกาะอยู่กับรูปกระดูกก็ดี สีกระดูกก็ดี เป็นการทำสมถะ

    แต่ หากรู้กระดูก โดยมีจิตผู้รู้ตั้งมั่นอยู่ต่างหาก แล้วคิดพิจารณาไปในแง่ที่กระดูกเป็นไตรลักษณ์ อันนั้นเป็นการเจริญวิปัสสนาขั้นต้น และในระหว่างที่พิจารณากายอย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าไปจับอยู่กับกาย ส่วนใดส่วนหนึ่งนิ่งพักอยู่เป็นสมถะ แล้วค่อยกลับออกมาพิจารณากายต่อก็มี แต่ถ้าจิตไม่เข้าพักเอง แล้วกลับตะลุยพิจารณากายจนจิตฟุ้งซ่าน ผู้ปฏิบัติจะต้องย้อนกลับไปทำสมถะใหม่ เพื่อให้จิตมีกำลังและแยกตัวออกจากอารมณ์เสียก่อน

    การดูจิตก็เป็นได้ ทั้งสองอย่าง คือถ้าเพ่งความว่างเปล่าของจิต หรือเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งในจิต อันนั้นเป็นสมถะ หากรู้อารมณ์ที่เกิดดับไป โดยจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และตามธรรมดาแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติ ดูจิตอยู่อย่างเป็นวิปัสสนานั้น บางครั้งจิตก็เข้าพักในสมถะด้วยการจับนิ่งเข้ากับอารมณ์อันเดียว

    ผู้ ปฏิบัติควรจำแนกได้ว่า ขณะนั้นจิตของตนทำสมถะหรือเดินวิปัสสนา มิฉะนั้น อาจหลงผิดทำสมถะ แล้วคิดว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่
    ผู้ปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ขาดญาณทัศนะ ไม่รู้วาระจิตของศิษย์อาจหลงผิดได้ง่ายโดยไม่มีใครแก้ไขให้ เช่น เดินจงกรมกำหนดยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ฯลฯ แล้วจิตไหลลงไปอยู่ในเท้า หรือหลงคิดแต่เรื่องยก ย่าง เหยียบ ไม่มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวของจิต อันนั้นเป็นการทำสมถะอย่างเดียวเท่านั้น

    อันตรายอีกอย่างหนึ่งของการ ที่แยกไม่ออกระหว่างการทำสมถะกับวิปัสสนาก็คือ การเกิดวิปัสสนูปกิเลส คือในระหว่างที่ทำวิปัสสนาอยู่นั้น บางครั้งจิตพลิกกลับไปสู่ภูมิของสมถะ แล้วเกิดความรู้ความเห็นหรืออาการบางอย่าง ทำให้หลงผิดว่าตนบรรลุธรรมชั้นสูงแล้ว เช่น เกิดอาการที่สติรู้อารมณ์ชัดกริบด้วยจิตที่แข็งกระด้าง (แทนที่จะรู้ด้วยจิตที่อ่อนโยน ว่องไว ควรแก่การทำวิปัสสนา) หรือเกิดความรู้ความเห็นผิด เช่น แยกไม่ออกระหว่างสมมุติสัจจะ กับปรมัตถสัจจะ หลงผิดว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่มี พ่อแม่ก็ไม่มี ทุกอย่างว่างเปล่าหมด เป็นการปฏิเสธสมมุติบัญญัติคิดว่ามันไม่มี ทั้งที่สมมุติเขาก็มีของเขาอยู่ แต่มีอย่างเป็นสมมุติ เป็นต้น

    การที่ดูจิตแล้วจิตพลิกกลับไปมาระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้นั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติบางคน จะได้ฌานโดยอัตโนมัติ ทั้งที่ไม่ต้องหัดเข้าฌาน

    ๓. ๖ การปล่อยวางอารมณ์หยาบเข้าถึงความว่าง เมื่อดูจิตชำนาญเข้า อารมณ์ใดกระทบจิต อารมณ์นั้นก็ดับไป เหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เริ่มต้นผู้ปฏิบัติจะรู้เห็นแต่อารมณ์หยาบ เช่น โกรธแรงๆ จึงจะดูออก แต่เมื่อปฏิบัติมากเข้า แม้ความขัดใจเล็กน้อย หรือความพอใจเล็กน้อยเกิดขึ้นกับจิต ก็สามารถรู้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ในขณะที่ร้อนๆ มีลมเย็นโชยกระทบผิวกายนิดเดียว จิตก็เกิดยินดีมีราคะขึ้นแล้ว หรือปวดปัสสาวะ พอเริ่มถ่ายปัสสาวะจิตก็ยินดีเสียแล้ว หรือกำลังหิวข้าว พอเห็นเขายกอาหารมาวางต่อหน้า จิตก็ยินดีเสียแล้ว เป็นต้น

    เมื่อรู้อารมณ์ละเอียดแล้ว โอกาสที่อารมณ์หยาบจะเกิดก็ยากขึ้น เพราะอารมณ์หยาบนั้นงอกงามขึ้นไปจากอารมณ์ละเอียดนั่นเอง
    อนึ่ง หลักการที่สำคัญมากในการดูจิตที่ขอย้ำก็คือ ให้รู้อารมณ์เฉยๆ อย่าไปพยายามละอารมณ์นั้นเด็ดขาด จะเดินทางผิดทันที เพราะอารมณ์ทั้งปวงนั้น เป็นตัวขันธ์ เป็นตัวทุกข์ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่รู้เท่านั้น อย่าอยาก (มีตัณหา) ที่จะไปละมันเข้า จะผิดหลักการเกี่ยวกับกิจของอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ" เพราะยิ่งพยายามละ ก็จะยิ่งหลงผิดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้นในจิต ท่านให้รู้เฉยๆ บางครั้งผู้ปฏิบัติพยายามหาทางดับความโกรธนั้น แล้วความโกรธก็ดับได้จริงๆ เหมือนกัน นักปฏิบัติจะหลงผิดว่าตนเองเก่ง ดับกิเลสได้ และเห็นว่า จิตเป็นอัตตา กิเลสเป็นอัตตา ทั้งที่ความจริงนั้น กิเลสมันดับเพราะหมดเหตุของมันต่างหาก เช่น เราถูกคนด่า เราใคร่ครวญเก่าอยู่กับเรื่องที่เขาด่า ความโกรธก็เกิดและแรงขึ้นเรื่อยๆ พอเราคิดเรื่องจะดับความโกรธ เราละเหตุของความโกรธเสียแล้วคือไม่ได้คิดเรื่องว่าเขาด่า มัวแต่คิดจะดับความโกรธ ความโกรธหมดเหตุมันก็ดับไปเอง แต่ผู้ปฏิบัติหลงผิดว่า ตนดับความโกรธได้ แล้วเมื่อไปเจอกิเลสอื่น ก็จะวุ่นวายอยู่กับความพยายามจะดับมันอีก เรียกว่าหางานให้จิตทำวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา

    การที่ผู้ปฏิบัติรู้อารมณ์ เร็วขึ้น ชัดเจนขึ้นตามลำดับนั้น อารมณ์ก็จะยิ่งละเอียดเข้าไปอีกตามลำดับเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า จิตก็ดี อารมณ์ก็ดี สติสัมปชัญญะหรือสมาธิก็ดี เป็นของที่อยู่ในอำนาจไตรลักษณ์เหมือนกัน ดังนั้น เมื่อจิตละเอียดแล้ว ช่วงหนึ่งมันก็จะหยาบอีก อย่าตกใจเพราะนั่นมันเป็นธรรมดา ให้ตั้งหน้าปฏิบัติไปเรื่อยๆ มันจะกลับดี และดีขึ้นไปตามลำดับ

    เมื่อ อารมณ์ละเอียดถึงที่สุด จิตจะปรากฏเหมือนว่า จิตว่างไปหมด ถึงจุดนี้ผู้ปฏิบัติอาจหลงผิดว่าตนสิ้นกิเลสแล้ว ความจริงความว่างนั้นก็คืออารมณ์อีกอันหนึ่ง เพียงแต่ละเอียดถึงที่สุดเท่านั้นเอง

    ทุกวันนี้มีผู้ประกาศเรื่องให้ ดำรงชีวิตด้วยจิตว่าง ทั้งที่เขาไม่รู้จักจิตว่างเลย และไม่รู้ว่าจิตว่างนั้นยังหาสาระแก่นสารเอาเป็นที่พึ่งอะไรไม่ได้ เพราะมันก็ยังตกอยู่ใต้อำนาจของไตรลักษณ์นั่นเอง และที่สำคัญก็คือ คนที่คิดเรื่องจิตว่างและพยายามทำให้จิตว่างนั้น จิตยังห่างจากความว่างมากมายนัก เพราะแม้จิตที่มีอารมณ์หยาบก็ยังไม่เข้าใจแม้แต่น้อย

    ๓.๗ การปล่อยวางความว่าง เข้าถึงธรรมที่แท้จริง เมื่อปฏิบัติเข้าถึงขั้นที่ละเอียดเช่นนั้นแล้ว หลักที่จะปฏิบัติต่อไปยังคงเหมือนเดิม คือรู้หรือดูจิตต่อไป ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องคิดค้นวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำอย่างไรจะปล่อยวางความว่างนั้นได้ เพราะแค่เริ่มคิดนิดเดียว จิตก็จะหลงทางเข้าสู่ความวุ่นวายสับสนอีกแล้ว ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้อย่างเดียวเท่านั้น

    การรู้โดยไม่คิดนั้นเอง คือการเจริญวิปัสสนาที่แท้จริง และละเอียดที่สุด ควรทราบว่าจิตจะหลุดพ้นได้นั้น จิตเขาจะต้องหลุดพ้นเองเพราะเขาเห็นความจริง การคิดใคร่ครวญด้วยสัญญาอารมณ์ มันเป็นเพียงความรู้ขั้นสัญญาของตัวผู้ปฏิบัติ แต่ความรู้จริงของจิตนั้น จิตเขาต้องเรียนรู้เอง ผู้ปฏิบัติเพียงแต่ทำสิ่งที่เอื้อต่อการที่จิตจะเรียนรู้เท่านั้น คืออย่าไปรบกวนจิตให้วุ่นวายขึ้นมาอีก มีสติ มีสัมปชัญญะ รู้แต่ไม่คิดค้นคว้าใดๆ ในที่สุด จิตจะเกิดความเข้าใจขึ้นมาเองว่า จิตว่างนั้นเองไม่ใช่สาระแก่นสาร ตราบใดที่ยังเห็นว่าจิตเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราที่จะต้องช่วยให้จิตหลุดพ้น ตราบนั้นตัณหาหรือสมุทัย ก็จะสร้างภพของจิตว่างขึ้นมาร่ำไป

    ขอย้ำว่าในขั้นนี้ จิตจะดำเนินวิปัสสนาเอง ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติจงใจกระทำ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไม่มีใครเลยที่จงใจหรือตั้งใจบรรลุมรรคผลนิพพานได้ มีแต่จิตเขาปฏิวัติตนเองไปเท่านั้น

    ๓.๘ การรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน และการปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตมรรค เมื่อจิตทรงตัวรู้แต่ไม่คิดอะไรนั้น บางครั้งจะมีสิ่งบางสิ่งผุดขึ้นมาสู่ภูมิรู้ของจิต แต่จิตไม่สำคัญมั่นหมายว่านั่นคืออะไร เพียงแต่รู้เฉยๆ ถึงความเกิดดับนั้นเท่านั้น ในขั้นนี้เป็นการเดินวิปัสสนาในขั้นละเอียดที่สุด ถึงจุดหนึ่ง จิตจะก้าวกระโดดต่อไปเอง ซึ่งจะขอไม่กล่าวถึงขั้นตอนอย่างละเอียด เพราะผู้อ่านอาจคิดตามแล้วปรุงแต่งอาการนั้นขึ้นมาได้

    การเข้าสู่มรรค ผลนั้น "รู้" มีอยู่ตลอด แต่ไม่คิดและไม่สำคัญ มั่นหมายในสังขารละเอียดที่ผุดขึ้น บางอาจารย์จะสอนผิดๆ ว่า ในเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือในเวลาเข้าผลสมาบัตินั้น จิตดับความรู้หายเงียบไปเลย โดยเข้าใจผิดในคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" สูญอย่างนั้นเป็นการสูญหาย แบบอุทเฉททิฏฐิ สภาพของมรรคผลนิพพานไม่ได้เป็นเช่นนั้น การที่จิตดับ ความรับรู้นั้น เป็นภพชนิดหนึ่งเรียกว่า "อสัญญี" หรือที่คนโบราณเรียกว่าพรหมลูกฟัก เท่านั้นเอง

    เมื่อจิตถอยออกจากอริยมรรคและอริยผลที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะรู้ชัดว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับไป ธรรมชาติบางอย่างมีอยู่ แต่ก็ไม่มีความเป็นตัวตนสักอณูเดียว นี้เป็นการรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน คือไม่เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้แต่ตัวจิตเองเป็นตัวเรา แต่ความยึดถือในความเป็นเรายังมีอยู่ เพราะขั้นความเห็นกับความยึดนั้นมันคนละขั้นกัน

    มื่อบรรลุถึงสิ่งที่ บัญญัติว่า "พระโสดาบัน" แล้ว ผู้ปฏิบัติยังคงปฏิบัติอย่างเดิมนั้นเอง แต่ตัวจิตผู้รู้จะยิ่งเด่นดวงขึ้นตามลำดับ จนเมื่อบรรลุพระอนาคามีแล้ว จิตผู้รู้จะเด่นดวงเต็มที่ เพราะพ้นจากอำนาจของกาม การที่จิตรู้อยู่กับจิตเช่นนั้น แสดงถึงกำลังสมาธิอันเต็มเปี่ยม เพราะสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมาธิคือกามได้ถูกล้างออกจากจิตหมดแล้ว ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ หากตายลง จึงไปสู่พรหมโลกชันสุทธาวาสโดยส่วนเดียว ไม่สามารถกลับมาเกิดในภพมนุษย์ได้อีกแล้ว

    นักปฏิบัติจำนวนมากที่ไม่มี ครูบาอาจารย์ชี้แนะ จะคิดว่าเมื่อถึงขั้นที่จิตผู้รู้หมดจดผ่องใสแล้วนั้น ไม่มีทางไปต่อแล้ว แต่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กลับสอนต่อไปอีกว่า "พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต"

    จุดนี้ไม่ใช่การเล่นสำนวน โวหารที่จะนำมาพูดกันเล่นๆ ได้ ความจริง ก็คือการสอนว่า ยังจะต้องปล่อยวางความยึดมั่นจิตอีกชั้นหนึ่ง มันละเอียดเสียจนผู้ที่ไม่ละเอียดพอ ไม่รู้ว่ามีอะไรจะต้องปล่อยวางอีก เพราะความจริงตัวจิตผู้รู้นั้น ยังเป็นของที่อยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ บางครั้งยังมีอาการหมองลงนิดๆ พอให้สังเกตเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของมัน แต่ผู้ปฏิบัติที่ได้รับการอบรมเรื่องจิตมาดีแล้ว จะเห็นความยึดมั่นนั้น แล้วไม่ต้องทำอะไรเลย แค่รู้ทันเท่านั้น จิตจะประคองตัวอยู่ที่รู้ ไม่คิดค้นคว้าอะไร มันเงียบสนิทจริงๆ ถึงจุด หนึ่ง จิตจะปล่อยวางความยึดถือจิต จิตจะเป็นอิสระเปิดโล่งไปหมด ไม่กลับเข้าเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใดๆ ที่จะพาไปก่อเกิดได้อีก

    ๔. บทสรุปคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    ๔.๑ ธรรมเรียนรู้ได้ที่จิต

    ๔.๒ ให้บริกรรมเพื่อรวมอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้ บริกรรม "พุทโธ"

    ๔.๓ ทำความเข้าใจในอารมณ์ความคิดนึก สังเกตกิเลสที่กำลัง ปรากฏให้ออก

    ๔. ๔ อย่าส่งจิตออกนอก อย่าให้จิตคิดส่งไปภายนอก (เผลอ) ให้สังเกตความหวั่นไหวหรือปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ที่รับ เข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖

    ๔.๕ จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป คือรู้ทันพฤติของจิต

    ๔.๖ รู้ เพราะคิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดถึงจะรู้ แต่ก็ต้องอาศัยคิด คืออย่าไปห้ามความคิด

    ๔.๗ แยกรูปถอด (ความปรุงแต่ง) ก็ถึงความว่าง แยกความว่าง ถึงมหาสุญตา

    ๔.๘ สรุปอริยสัจแห่งจิต

    อนึ่ง ตามสภาพที่แท้จริงของจิต ย่อมส่งออกนอกเพื่อรับอารมณ์นั้นๆ โดยธรรมชาติของมันเอง ก็แต่ว่า ถ้าจิตส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว จิตเกิดหวั่นไหวหรือเกิดกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้น เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากจิตหวั่นไหวหรือกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ เป็นทุกข์ ถ้าจิตที่ส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว แต่ไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ มีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อม เพราะมีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นนิโรธ พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตไม่ส่งออกนอก จิตไม่หวั่นไหว จิตไม่กระเพื่อม เป็นวิหารธรรม จบอริยสัจจ์ ๔

    จิตส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากจิตส่งออกนอก เป็นทุกข์

    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ

    แนวทางปฏิบัติธรรม ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล | Nirvana
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2009
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ขัดกันเองชัดๆ ไม่ใช่คำสอนของหลวงปู่ดูลย์...
    หลวงปู่ดูลย์พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จะกล่าวธรรมขัดแย้งกันเองหรือครับ...

    เมื่อจิตสามารถปล่อยวางความยึดถือจิตสังขารได้ ย่อมอิสระจากอารมณ์แน่นอน
    ถ้าจิตปล่อยวางอาการของจิตต่างๆลงได้ จิตย่อมบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย


    ตกลงเมื่อจิตปล่อยวางความยึดถือจิต เจอจิตยังต้องทำลายจิตอีกมั้ย?
    ถ้าต้องทำลายจิต แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าปล่อยวางจิตได้แล้ว และอิสระเปิดโล่งไปหมด?

    จิตจะเป็นอิสระเปิดโล่งไปหมด ไม่กลับเข้าเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใดๆ ที่จะพาไปก่อเกิดได้อีก
    เจอจิตแบบนี้ยังต้องทำลายจิตแบบนี้อีกมั้ย? ถ้าต้องทำลายจิตแบบนี้ เวลาบรรลุญายะธรรมจะรู้มั้ย?
    เมื่อผู้รู้ที่รู้ว่าหลุดพ้นแล้วเป็นอิสระไม่เกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใดๆ เจอผู้รู้แบบนี้ยังต้องทำลายผู้รู้แบบนี้มั้ย?
    ถ้าต้องทำลายผู้รู้แบบนี้ เวลาบรรลุญายะธรรมจะรู้มั้ย?

    ;aa24
     
  4. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937

    คำว่า ทำลายจิต เป็นภาษาพูด แต่ในสภาวะจริงๆ ท่านไมได้ทำลาย เป็นเรื่องของการปล่อยวาง

    คล้ายๆกับคำว่า หยุดคิด ซึ่งความหมายจริงๆ ก็ไมได้หมายความให้เราไปหยุดความคิด
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ในเมื่อเป็นสภาวะธรรม แล้วทำไมไม่พูดให้ตรงตามสภาวะธรรมหละครับ
    ในเมื่ออ้างว่าหลวงปู่ดูลย์สอนท่านองค์เดียว แบบนี้หลวงปู่ดูลย์ก็เสียหายหมดสิครับ

    เมื่อสภาวะธรรมคือการปล่อยวาง ก็พูดตามที่รู้เห็นตามความเป็นจริงสิครับว่าปล่อยวาง
    เมื่อหยุดคิดไม่ได้หมายความว่าหยุดคิด แล้วจะให้หมายความว่าอะไรหละครับ?
    แบบนี้ คนฟังอาจกล่าวหาคนพูดได้ว่า เวลาพูดไม่ได้อยู่กับร่องกับรอยได้นะครับ?

    ;aa24
     
  6. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แฮะๆๆ มาเรื่องเดิมจนได้นะครับ หลวงปู่ขาวก็สอนไว้เหมือนกัน ครับ "อะไรไม่ใช่ของเราอย่าไปเอามา" ท่านเทศน์แค่นี้แหละแล้วก้อลงธรรมมาสน์ไปเลยครับ
     
  7. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านอย่าทำตัวเป็นแม่ยกดูลิเกซิครับ แทนที่จะดูเนื้อหาของการแสดง
    แต่นี้ดันไปดูพระเอกนางเอก แต่งตัวอย่างไรแล้วคอยตำนิว่า ชุดไม่สวย
    เพชรน้อย ปะแป้งน้อยไป ท่านครับตัดพวกตุ้งติ้งออกซะบ้างนะครับ
    .......จะเทศน์แต่ละที่ต้องแบกธรรมมาสน์ไปด้วย ใบลานไม่ต้องติดดิ้นทอง
    ก็ได้ครับ เอาแค่เสื่อกับปัญญาก็พอ

    .....ท่านจำได้มั้ยครับ ผมเคยบอกว่า"จิตเป็นอนัตตา" แต่ท่านเถียงว่าไมใช่ ถ้า
    เอาอย่างที่ท่านพูด จิตในความหมายของท่านก็ต้องเป็น "อัตตา" ท่านก็
    บอกไม่ใช่อีก ท่านลองใช้วิจารณญาณดูว่า คำว่ากล่าวคนอื่นของท่านมัน
    เหมือนกับสิ่งที่ท่านทำมาหรือเปล่า ว่าแต่เขาอิเนาเป็นเอง

    ......อย่าลืมนะครับถ้าทำอย่างที่ท่านบอก จะเอาให้ตรงตัวตามสภาวะธรรม
    ถ้าไม่ใช่สิ่งที่กล่าว มันย่อมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม ถ้าตอบนอกกรอบมันเป็น
    การแถ(คำนี้เอามาจากท่าน)
     
  8. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    อนุโมทนาค่ะ
     
  9. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    "พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต"

    อนุโมทนาครับพี่จิน รู้ที่ใดดับที่นั่นรู้ที่ตาดับที่ตา รู้ที่ใจดับที่ใจ รู้ที่กายดับที่กาย รู้ที่ลิ้นดับที่ลิ้น รู้ที่หูดับที่หู เห็นผู้รู้แล้วเก็นอาการเกิดดับของสภาวะธรรมที่ไม่มีตัวตนคงทนตั้งอยู่ไม่ได้มีอาการอาพาทไปแล้ว ก้ไม่ยึด เห็นจิตตามสภาวะที่เป็นจริงแล้วรู้ในอาการประกอปกันขั้นตั้งขึ้นด้วยปัจจัยเห็นทั้งต้น กลางและที่สุด แล้วจึงไม่ยึดจิตไว้ เห็นจิตว่ามีตัวตนจึงคลายเป็นเห็นถูกที่จิตไม่มีตัวตนเป็นนามประกอปขึ้นมีเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป โดยสภาวะธรรมที่แท้จริงอันเป็นปรกติ

    อนุโมทนา
     
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ถึงจุด หนึ่ง จิตจะปล่อยวางความยึดถือจิต จิตจะเป็นอิสระเปิดโล่งไปหมด ไม่กลับเข้าเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใดๆ ที่จะพาไปก่อเกิดได้อีก

    ดวงจิตที่มีปัญญาประกอป ทำลายอวิชาได้ มีอาการโล่งเบาสบาย ไม่มีรูปไม่มีนาม สว่างกระจ่าง ไม่มีที่ใดให้เกาะไม่มีที่ใดให้ยึด กิเลสจึงไม่อาจก่อตัวหรือจริงๆแล้ว ปัญญาเกิดอวิชาดับ แม้จิตที่มีปัญญาจะไม่เกิดขึ้นทั้งหมดแสงเท่านี้ก้ส่องทางได้ถึงจุดหมาย

    เมื่อเห็นรูปรู้ว่าเห็นรูป เมื่อไม่มีรูปรู้ว่าไม่มีรูปแต่มีสภาวะอยุ่ เมื่อมีสภาวะอยู่ไม่มีทั้งรูปและอรูป เปล่าโปล่งโล่งสบาย

    อนุโมทนาครับ
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ผมไม่แปลกใจเลยว่า ท่านทำไมถึงมีปัญหา?
    ที่ผมพูดหนะ เนื้อธรรมชัดๆ เลิกโมเมได้แล้ว
    ผมไม่สนใจจริยาของตัวละครหรอกว่า นุ่งอะไร หน้าตาเป็นยังไงฯลฯ?
    เล่นละครแบบนี้ไม่เห็นจะประเทืองปัญตรงไหน?
    คำว่า "ทำลาย"กับ คำว่า "ดับ"คนละความหมายกัน

    ;aa24
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ผมถามหาหลักฐาน ท่านเองไม่เคยเอาหลักฐานมาได้เลยสักครั้ง
    แม้ในอนัตตลักขณสูตร พระองค์ก็ยังไม่เคยกล่าวว่าจิตเป็นอนัตตาเลย
    พระองค์เพียงกล่าวไว้ว่า "รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อะไรที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นที่พึ่งไม่ได้(อนัตตา)
    เมื่อจิตรู้แบบนี้แล้ว จิตก็หลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านั้น"

    จิตเป็นธาตุรู้ ปุถุชนจิตรู้ผิดจากความเป็นจริง รู้เป็นยึดท่าเดียว อวิชชาครอบงำ
    พระอริยสาวก จิตรู้เห็นตามความเป็นจริง รู้อะไรเป็นปล่อย เกิดวิชชาขึ้นที่จิต

    ท่านต้องหัดเป็นคนมีเหตุมีผลบ้าง อย่าเอาแต่ศรัทธาหน้ามืดเพียงอย่างเดียวเลย.....

    ;aa24
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ แถก็คือแถ เหตุผลก็คือเหตุผล
    ศาสนาพุทธยืนอยู่บนหลักเหตุผล
    ที่ผู้ฟังพิจารณาตริตรองตามได้
    ไม่ใช่พูดพลิกไปพลิกมาแล้วก็สำเร็จ(บางคนผลิกมันอยู่นั่นแหละ)
    โดยไม่ต้องปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาแบบเอาชีวิตเข้าแลก....

    ;aa24...ไม่งั้นหลองพ่อสนองไม่กล่าวหรอกว่า "ง่ายแค่นี้เองหรือ"
     
  14. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ในความหมายนั้นคือ จิตเป็นไตรลักษณ์ เกิดดับตลอดเวลา
    จิตดวงใหม่เป็นผู้รู้จิตดวงเก่า
    ผู้รู้ใหม่ไปรู้ผู้รู้เก่าเท่านั้นเอง
    ......การทำลายผู้รู้หรือทำลายจิต(สำนวน) คือหนทางสุดท้ายแห่งนิพพาน
     
  15. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    <> อ่านแล้วได้รสชาติแห่งความรู้ดี.... สาธุ.... สาธุ
    <><> หลวงปู่ชาเล่าว่า.... พระองค์หนึ่งวางของไว้ พระอีกองค์เดินมาเต๊ะ เรื่องจึงเกิด .... เพราะเหตุผลของแต่ละองค์ต่างกัน....หลวงปู่ท่านเล่าเท่านี้ ....
    <><><> เมื่อรู้ในความคิดแล้ว จงอย่าคิดต่อ เมื่อรู้ในปฏิกิริยาแห่งอารมณ์ แล้ว อย่าทำกรรมตาม ปฏิกิริยานั้นๆ ...... ให้ใช้สมมุติเพื่อไปวิมุต ....
    <><> ขอเจิรญในธรรม ....
    <><><> พระวัดหัวเขา .... นาโพธิ์ ...

    <> ปล. ฝากขอโทษถึง ผู้พันจุ่นด้วยในเรื่องขนวนการหยุดคิดนั้น ได้อ่านแน่นอน แต่ตอนนี้... เราหากระทู้ไม่เจอ.... ช่วยนำขึ้นมาหน่อย แล้วจะตอบให้ได้อ่าน .... อีกอย่าง เป็นช่วนหน้างานกฐินด้วย เลยไม่ได้เข้ามาพบ เขียนกระทู้ เพราะเขียนกระทู้บารมี 10 (ว่างนิดหน่อยก็เขียน แต่ยาวมาก) ในเรื่องขนวนการคิดนั้น ต้องขออภัยท่านผู้พัน...มาก...มาก...จริง... จริง...
    <><><> โมทนา...
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ อย่าพูดเองเออเองสิครับ จิตเกิดดับหรืออาการของจิตเกิดดับ???
    การทำลายผู้รู้หรือทำลายจิต(สำนวน) คือหนทางสุดท้ายแห่งนิพพาน
    เอาพระบาลีที่เป็นหลักฐานมาด้วยสิครับ?
    มีแต่ทำลายราคะ โทสะ โมหะ(ตัณหา) คือหนทางสุดท้ายแห่งพระนิพพาน
    ท่านจะพูดอะไร หัดดูของครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบบ้างว่าท่านกล่าวอย่างไรไว้

    ท่านพระอาจารย์หลวงปู่สิม พูดถึงจิตไว้ดังนี้
    อ้างอิง:

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">“1.คำว่า จิต ได้แก่ ดวงจิต ดวงใจผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่ ผู้ได้ยินได้ฟังอยู่ เราฟังเสียง ได้ยินเสียง
    ใครเป็นผู้รู้อยู่ในตัวในใจ นั่นแหละมันอยู่ตรงนี้ ให้รวมให้สงบเข้ามาอยู่ตรงนี้ ตรงจิตใจผู้รู้อยู่

    2.ตาเห็นรูป ก็จิตดวงนี้เป็นผู้เห็น ดีใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียใจก็จิตดวงนี้หลงไป
    เสียงผ่านเข้ามาทางโสต ทางหูก็จิตดวงเก่านี่แหละ
    กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็จิตดวงนี้เป็นผู้หลง
    เมื่อจิตใจดวงนี้เป็นผู้หลงผู้เมาไม่เข้าเรื่อง
    เราก็มาแก้ไขภาวนาทำใจให้สงบ ไม่ให้หันเหไปกับอารมณ์ใดๆ
    เห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดดับอยู่ในตัว ในใจ ในสัตว์ ในบุคคลนี้ว่า
    มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็แตกดับไปเป็นธรรมดาอย่างนี้”


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ;aa24...ธรรมะหลวงปู่ดูลย์ ที่จขกท.นำมาลงก็ไม่ได้พูดถึงจิตเกิดดับเลย...
     
  17. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ที่ท่านว่าทำลายราคะ โทสะ โมหะคือ หนทางสุดท้ายแห่งนิพพาน ตลกดี
    ครับ ให้ทำลายอกูศลแต่เหลือกุศลไว้ นี้มันเป็นหนทางของคนอยากไป
    สวรรค์ต่างหากละครับ อย่าอยากครับ อย่าอยาก
    ..........แล้วการที่ท่านบอกว่า นิพานแล้วยังเหลือจิตซึ่งเป็นผู้รู้ไว้ แสดง
    ว่ายังอยากรู้ว่า สภาวะแห่งนิพานจะเป็นอย่างไรหนอ แดนสุขาวดีจะบรมสุข
    มั้ยหนอ แบบนี้ใช่ไหมครับที่เรียกว่า ตัวกูของกู ไม่เอาดีกว่าเดียวซ้ำชาว
    บ้านเค้า ต้องว่าจิตกูของกู(ทุกข์กับสุขธรรมดาไม่เอา เอาแบบบรมสุขเลย)
    ท่านลองเอาจิตผู้รู้ ผู้ยืนยงคงพันของท่านตรองดูว่ามันหนีความอยากไปพ้นมั้ย
    ..........อาศัยการปฏิบัติโดยการอ่านตำรา ต้องอ่านทั้งสองทาง ไม่ใช่เลือก
    อ่านแต่ที่ตัวชอบ ที่ไม่ชอบโยนทิ้ง หรือไม่ก็ตีความเอาเองว่าที่ชอบ
    ถูกที่ไม่ชอบผิด
    ...........ทุกข์สิ่งอย่างในโลกมันเป็นธรรมชาติ ไม่ว่ากุศล อกุศล สุขทุกข์
    ตัวเราก็ธรรมชาติ จิตเราไปรับรู้สิ่งต่างๆก็เป็นธรรมชาติ สิ่งที่จะทำให้จิตเรา
    อยู่นอกเหนือธรรมชาติก็คือ การไม่ต้องรับรู้ธรรมชาตินั้นๆ สิ่งเดียวที่จะทำ
    ให้ไม่ต้องรับรู้ธรรมชาติก็คือ เจอจิตให้ทำลายจิต เจอผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้

    ถามหาหลักฐานอีกแล้ว ท่านชอบนี้ชอบคิดเอง เออเองไม่อยู่กับความเป็นจริง
    อันที่จริงผมสามารถ อธิบายถึงที่มาที่ไปของ พระสูตรหรือพูทธพจน์ที่ท่าน
    ชอบนำมาอ้างได้ ว่าสิ่งไหนเป็นอย่างไรเพราะอะไร แต่กลัวไปกระทบถึงพระ
    ไตรปิฏกโดยไม่เจตนา และมันอาจทำให้ท่านใช้เป็นเครื่องมือมาโจมตีผมได้
    เอาง่ายๆแบบที่ไม่ต้องคิดมาก ท่านถามหาหลักฐานกับผม
    แล้วจะให้ผมไปเอาที่ไหน พระพุทธเจ้าก็เสด็จปรินิพพาน ไปตั้งสองพัน
    กว่าปีแล้ว แล้วพระไตรปิฏกที่ท่านชอบนำบางส่วนมาอ้างนะ พระ
    พุทธเจ้าไม่ได้เป็นผู้แต่งนะครับ พระไตรปิฎกมีหลังจากที่ท่านทรงเสด็จ
    ปรินิพพานแล้ว เหตุผลแค่นี้เพียงพอหรือยังครับ
    .........ขอบอกอีกอย่างนะครับ ที่ว่าศรัทธาหน้ามืดอะไรนั้นนะ ที่ผมเคารพ
    ครูอาจารย์ เพราะครูอาจารย์ท่าน ช่วยแก้และอธิบายในสิ่งที่ติดขัดไม่เข้าใจ
    ไม่ใช่หน้ามืดตามัวในคำสอน โดยไม่พยายามคิดเองปฏิบัติเองแบบใครบางคน
    นะครับ ใครกันแน่ครับที่ชอบยกท่านนั้นมาท่านนี้มา ท่านลองสังเกตุดู
    ซิครับว่า ตั้งแต่สนทนากับท่านมาตั้งแต่เริ่มแรก ผมเคยเอยชื่อครูบาอาจารย์
    ของผมสักครั้งมั้ย
    ที่ท่านว่าที่ท่านพูดเป็นเนื้อธรรมชัดๆ ไหนท่านลองอธิบายคำว่า
    "ทำลาย"กับ"ดับ" ให้สมาชิกเข้าใจหน่อยจะได้มั้ยครับ เอาให้คนอื่นเข้าใจ
    นะครับ ไม่ใช่อธิบายเองเข้าใจเอง อนุญาติให้เปิดพจนานุกรมแต่ห้ามเสิร์จ
    กรูเกิ้ลหรือเนื้อหาพระไตรปิฎกในเว็บนี้มานะครับ
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ใครกันแน่ครับที่น่าตลกน่าหัวเราะจนฟันร่วง ไม่รู้จักธรรมะจริงๆ ทำไมไม่บอก
    มีพระบาลีกล่าวไว้ชัดเจน ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ
    นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ.

    ไม่รู้จริงๆหรือแกล้งโง่กันแน่ครับว่า การกำจัดราคะ โทสะ โมหะ คือการกำจัดทั้งกุศลและอกุศล
    ความหลง(โมหะ)ในบุญกุศลทั้งหลาย ท่านจัดอยู่ในความหลง(โมหะ)ทั้งสิ้น
    อย่าเพียงแกล้งโง่เพื่อจะเอาชนะคะคานเท่านั้นเลย
    เอาเวลาไปหลับตาปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา "พุทโธ" จะดีกว่า
    เพื่อให้รู้จักกายในกายเป็นภายใน จนธรรมอันเอกผุดขึ้นมาเสียก่อนเถอะ
    แค่ภาวนายังภาวนาให้จิตเป็นสมาธิตั้งมั่นไม่หวั่นไหวยังไม่เป็นเลย จะรู้ตามความเป็นจริงได้อย่างไร

    "เจอจิตให้ทำลายจิต เจอผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้" อย่าพูดอะไรที่น่าขันหรือน่าหัวเราะอีกเลย รู้จักละอายบ้าง
    คนอ่านเดียวนี้เค้าฉลาดรู้จักตริตรอง พิจารณาอ่านตามความเป็นจริง ไม่หลงงมงายอะไรง่ายอีกแล้ว

    ในเมื่อของทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเป็นธรรมชาติในฝ่ายติดทั้งสิ้น
    เมื่อพระพุธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลกใบนี้ ได้ค้นพบอมตะธรรมที่แฝงอยู่กับโลกใบนี้
    เป็นโลกุตรธรรม ธรรมฝ่ายปล่อยจิตออกจากความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องราวต่างๆของโลก

    เมื่อพระองค์ทรงค้นพบอมตะธรรม พระองค์ทรงรู้มั้ย? ทรงต้องรู้ พระองค์จึงประกาศว่า "ตรัสรู้แล้ว"
    ถ้าทำลายจิตผู้รู้แล้ว พระองค์จะทรงเอาจิตผู้รู้ที่ไหนมาบอกหละว่า "ทรงตรัสรู้"แล้ว พ้นจากมารและเสนามารแล้ว
    มีแต่คนอวดดีบางคนเท่านั้น ที่รู้ดียิ่งกว่าพระบรมศาสดาและพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
    กล่าวธรรมขัดแย้งกันเองว่า "เจอจิตให้ทำลายจิต เจอผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้"แต่พอสักกระเดี๋ยว
    กลับพูดว่า "จิตจะเป็นอิสระเปิดโล่งไปหมด ไม่กลับเข้าเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใดๆ ที่จะพาไปก่อเกิดได้อีก"
    ตกลงที่พูดมาในประโยคหลังนี้ รู้มั้ย??? ถ้าจิตผู้รู้ถูกทำลายไปแล้ว ที่พูดมาทั้งหมดก็เดาสวดเอาเองสิ

    ;aa24
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ อ่านพระสูตรสักร้อยรอบพันหน แล้วเลิกแกล้งโง่ได้เสียที
    พระสูตรกล่าวไว้ขัดเจนโดยไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้น

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์ อวิชชาวรรคที่ ๑ ภิกขุสูตรที่ ๒

    ความกำจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ
    สาวัตถีนิทาน.
    ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ ดังนี้ คำว่า
    ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งอะไรหนอ? พระผู้มีพระภาค
    ตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อ
    แห่งนิพพานธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ.
    ความสิ้นราคะ ชื่อว่าอมตะ

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้า
    แต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อมตะๆ ดังนี้ อมตะเป็นไฉน? ทางที่จะให้ถึงอมตะเป็นไฉน?
    พ. ดูกรภิกษุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ
    อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่าทางที่จะให้ถึงอมตะ.


    อย่าบอกนะว่าอ่านพระสูตรไม่รู้เรื่องอีกหละ เท่าที่พูดมาก็เป็นการลบหลู่พระพุทธพจน์พอสมควร

    ;aa24
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ เมื่อถามหาความจริง ล้วนต้องถามหาหลักฐานทั้งสิ้น ไม่ว่าจากคำพูด ตำรา จากผลการปฏิบัติฯลฯ
    ถ้าตอบไม่ได้ก็ไม่ต้องอ้างเหตุผลต่างๆนานา ที่ฟังไม่เข้าท่าหรือยกแม่น้ำทั้ง๕มาเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น

    ท่านครับ ท่านจงฟังให้ดี ท่านกำลังลบหลู่พระพุทธพจน์ ที่เราพุทธบริษัททั้งหลายที่ช่วยสืบต่อๆกันมา
    ท่านกลับบอกว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้แต่งขึ้นเอง ท่านกำลังกล่าวร้ายพระไตรปิฎกว่า "ไม่น่าเชื่อถือใช่มั้ย???

    ตอบมาดีๆนะ แม้แต่อาจารย์ที่ท่านว่าท่านเคารพนั้น ก็ล้วนต้องศึกษามาจากพระไตรปิฎกทั้งสิ้น
    หรือว่าอาจารย์ที่ท่านเคารพอยู่นั้น ตรัสรู้เองโดยชอบโดยไม่เคยศึกษามาจากตำรา(ปิฎก)ใดๆทั้งสิ้น

    ถ้าไม่ใช่ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว แสดงว่ายิ่งไม่น่าเชื่อถือเข้าไปใหญ่
    เพราะปฏิเสธพระพุทธวจนะที่พระองค์ทรง "ตรัสรู้"เองโดยชอบ แล้วช่วยสืบต่อๆกันมา
    จนสร้างพระอริยบุคคลที่น่าเคารพบูชาไม่รู้กี่ท่านต่อกี่ท่านแล้ว ล้วนอ้างอิงพระธรรมและพระวินัยทั้งสิ้น

    ท่านกำลังทำลายความน่าเชื่อถือ ทั้งตัวของท่านและอาจารย์ของท่านอยู่นะ รู้มั้ย???

    ;aa24
     

แชร์หน้านี้

Loading...