ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <CENTER>
    ทิศใต้

    [​IMG]


    </CENTER>เมืองปราจีณบุรี เมืองจัตวา เจ้าเมืองออกพระอุทัยธานี ถือศักดินา ๓๐๐๐ ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองกระบิลบุรี เมืองประจันตคาม ขึ้นปราจีณบุรี

    เมืองนครนายก เมืองจัตวา เจ้าเมืองพระพิบูลยสงคราม ถือศักดินา ๓๐๐๐ ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองพนัสนิคม ขึ้นกรมท่า

    เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเอก ผู้ครองเมืองชื่อเจ้าพระยาศรีธรรมราช ชาติเดโชชัย มไหสุริยาธิบดี อภัยพิริยบราพาหุ ถือศักดินา ๑๐๐๐๐ เอกอุ
    ขึ้นกรมพระกระลาโหม

    เกาะสมุย เกาะพงัน ขึ้นเมืองนครศรีธรรมราช

    เมืองไทรบุรี เมืองแขก ผู้ครองเมืองชื่อพระยาอภัยธิเบศรมหาประเทศราช ชาติอธิบดินทร อินทไอสวรรย ขันธเสมาเดชชิตพิริยพาห เมืองขึ้นนครศรีธรรมราช

    เมืองสะตูล เมืองมะนาวา เมืองละงู เมืองปะหลิด เมืองเกาะนางกาวี แขก ขึ้นไทร ๕ เมือง

    เมืองพัทลุง เดิมเป็นเมืองตรี ยกเป็นเมืองโท ผู้ครองเมืองชื่อออกญาแก้วโกรพยพิชัยภักดีบดินทรเดโชชัย อภัยพิริยพาหะ ถือศักดินา ๕๐๐๐
    ขึ้นกรมพระกระลาโหม

    เมืองคชราชา เมืองศรีชนา ขึ้นเมืองพัทลุง

    เมืองปะเหรียญ เมืองชรัด เมืองกำแพงเพชร เมืองสะทัง เมืองพะโค ขึ้นเมืองพัทลุง

    เมืองระโนด ขึ้นนครศรีธรรมราช

    เมืองสงขลา เมืองโท ผู้ครองเมืองชื่อพระยาศรีวิเชียรคีรีสุนทร วิสุทธิศักดา มหาพิชัยสงครามภักดี พิริยพาห ขึ้นกรมพระกลาโหม

    เมืองมนารา ขึ้นเมืองสงขลา

    เมืองหนองจิก เจ้าเมืองชื่อพระยาวิเชียรศรีสุริยวังศารัตนาเขตต์ประเทศราช

    เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา

    เมืองตานี เจ้าเมืองชื่อพระยาวิชิตภักดีศรีสุริยวังศา รัตนาเขตต์ ประเทศราช

    เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา

    เมืองจะนะ เจ้าเมืองชื่อมหานุภาพปราบสงคราม ขึ้นเมืองสงขลา

    เมืองเทพา เมืองสทึง เมืองรัตนภูม ขึ้นเมืองสงขลา

    เมืองยะหริ่ง เจ้าเมืองชื่อพระยาพิพัฒนเสนามาตยาธิบดี ศรีสุรสงคราม เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา

    เมืองยะลา เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา

    เมืองรามันห เจ้าเมืองชื่อพระยารัตนภักดีศรีราชบดินทรสุรินทรวังศา เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา

    เมืองสุพรรณ เมืองป่าหลวง มหาอรัญ เมืองปะดัง เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา

    เมืองระแงะ เจ้าเมืองชื่อพระยาตะมะหงันภักดี ศรีสุวรรณประเทศวิเศษสวัสดิวังศา เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา

    เมืองสาย เจ้าเมืองชื่อพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายามักตาลีลาอับดุลระซุน วิบุลขอบเขตต์ประเทศมลายู เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา

    เมืองปะหลำ เมืองจวบ เมืองปะโหละ เมืองพรายวัน เมืองสีบโปย เมืองมายอน เมืองแขก ขึ้นเมืองสงขลา
     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <CENTER>ทิศตะวันตก </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>[SIZE=-1][/SIZE] </CENTER><CENTER> </CENTER>
    เมืองกรุงเก่า ผู้รักษากรุงชื่อพระยาไชยวิชิต สิทธสาตรา มหาประเทศราช ชาติเสนาบดี ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองปรันตประเทศ ข้าพระพุทธบาท ขึ้นกรุงเก่า

    เมืองลพบุรี เมืองจัตวา เจ้าเมืองชื่อออกพระนครพราหมณ์ ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองสระบุรี เมืองจัตวา เจ้าเมืองชื่อพระยาพิไชยรณรงค์สงคราม รามภักดีบดินทรนรินทรเสนา มหานิคมธานีศรีมไหศวรรย์ นา ๓๐๐๐ ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองประทุมธานี เมืองตรี เจ้าเมืองชื่อพระยาพิทักษ์ทวยหาญ ขึ้นกรมพระกระลาโหม

    เมืองนนทบุรี เมืองจัตวา เจ้าเมืองชื่อพระนนทบุรี ศรีมหาสมุทร ถือศักดินา ๓๐๐๐ ขึ้นกรมท่า

    เมืองราชบุรี เดิมเมืองจัตวา ยกขึ้นเป็นเมืองโท ผู้ครองเมืองชื่อพระยาสุรินทรฤาชัย อภัยประเทศราชชาติพัทธยาธิบดี พิริยพาหะ ถือศักดินา ๓๐๐๐ ขึ้นกรมพระกระลาโหม

    เมืองกาญจนบุรี เมืองจัตวา เจ้าเมืองชื่อพระยาประสิทธิ์สงคราม รามภักดี ศรีพิเศษประเทศนิคม ภิรมราไชยสวรรย์ ถือศักดินา ๓๐๐๐ ขึ้นกรมพระกระลาโหม

    เมืองศรีสวัสดิ์ เมืองจัตวา เจ้าเมืองชื่อพระยาพิไชยชนะสงคราม รามภักดี ถือศักดินา ๓๐๐๐ ขึ้นกรมพระกระลาโหม

     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <CENTER>
    ทิศเหนือ
    [​IMG]


    </CENTER>เมืองศรีภิรม เมืองพรหมพิราม เมืองเทพบุรี เมืองชาตกาล เมืองนครไทย เมืองด่านซ้าย สุดน้ำโทก ๖ เมือง ขึ้นเมืองพิษณุโลก

    เมืองชุบศรสำแดง เมืองชุมแสงสงคราม เมืองศรีพนมมาศ เมืองนครนาคง อยู่ลำน้ำใหญ่ ๔ เมือง ขึ้นเมืองพิษณุโลก

    เมืองลับแลอยู่ดอน เมืองปากเหือง เจ้าเมืองชื่อพระอณะพินาศ เมืองน้ำปาด เมืองสวางคบุรี รวมลำน้ำพิชัย ๓ เมือง ขึ้นเมืองพิชัย

    เมืองตรอนตรีศิลป์ อยู่ตอนหนบุรพสวางค์ เมืองบางโพ เมืองขุนกัน อยู่ลำน้ำพิชัยฝั่งตก ขึ้นเมืองพิชัย

    เมืองพิพัฒน์ ขึ้นเมืองพิชัย

    เมืองทุ่งยั้ง เมืองสวรรคโลก ขึ้นมหาดไทย

    เมืองพิชัย เมืองตรี เจ้าเมืองชื่อออกญาศรีสุริยราชราชัยอภัยพิรยพาหะ นา ๓๐๐๐ ขึ้นมหาดไทย

    เมืองพิมูลขึ้นพิชัย

    เมืองสุโขทัย เมืองโท ผู้ครองเมืองชื่อออกญาศรีธรรมศุภราชชาติบดินทร สุรินทรฤาไชย อภัยพิริยบรากรมพาหุ นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นมหาดไทย

    เมืองราชธานี เมืองกงคราม เมืองพิรามรงค เมืองพิแรมรมย์ ขึ้นเมืองสุโขทัย ๔ เมือง

    เมืองโคฎก อยู่ฝั่งเหนือบางขัง เมืองบางขังอยู่ฝั่งใต้ลำบางขัง ขึ้นเมืองสวรรคโลก

    เมืองสำโรงทอง อยู่ฝั่งเหนือลำสำโรง เมืองคีรีมาศอยู่ดอน ขึ้นเมืองสุโขทัย

    เมืองปอง ขึ้นเมืองเถินอยู่ดอน

    เมืองเถิน เจ้าเมืองชื่อพระยาเถินบุรี ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองกำแพงเพ็ชร เมืองโท ผู้ครองเมืองชื่อออกญารามรณรงคสงคราม รามภักดีอภัย พิริยพาหะ ถือศักดินา ๑๐๐๐๐ ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองเชียงทอง เมืองเชียงเงิน อยู่ลำพิงฝั่งออก ขึ้นเมืองตาก

    เมืองโกสามพิน เมืองบงการบุรี เมืองโบราณราช เมืองนาถบุรี เมืองไตรตรึงค์ ขึ้นเมืองกำแพงเพชร ๕ เมือง

    เมืองป่าศักดิ์ ผู้ครองเมืองชื่อเจ้านครจำปาศักดิ์ ประเทศราช ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองโขงเจียม ขึ้นมหาดไทย

    เมืองปากแซง ขึ้นเมืองเจียม

    เมืองเขมราฐ เจ้าเมืองชื่อพระเทพวงศา ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองมุกดาหาร เจ้าเมืองชื่อพระจันทมุริยวงศ์ ขึ้นมหาดไทย

    เมืองนครพนม ผู้ครองชื่อพระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชทวาเวียง ดำรงรักษศักดิยศทฤาไกร ศรีพิชัยสงคราม เจ้าเมืองยศสุนทร และเมืองนครพนมทั้งสองเมือง ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองท่าอุเทน ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองไชยบุรี เจ้าเมืองชื่อพระไชยวงศา ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองเดชอุดม เจ้าเมืองชื่อพระศรีสุระ ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองศรีษะเกศ เจ้าเมืองชื่อพญาวิเศษภักดี ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองสาลวัน เจ้าเมืองชื่อเอกราช เมืองสะเมียร์ เมืองสะภาษ เมืองคงอยู่ตะวันตกลำเซโคนฝั่งของข้างเหนือ ๔ เมือง ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองสีทันดร เจ้าเมืองชื่อพระอภัยราชวงศา ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองตระการ อยู่ลำแม่ขานฝั่งเหนือ เมืองแจ่ม อยู่ลำแม่แจ่มฝั่งตะวันออก

    เมืองยวม อยู่ฝั่งน้ำยวมหนตะวันตก เมืองพาน อยู่ตอนหนใต้ ขึ้นเมืองเชียงใหม่ ๔ เมือง

    เมืองหอด อยู่ลำแม่พิงฝั่งตะวันตก เมืองตื่นด่าน พญาอินทรคีรี ขึ้นเมืองเชียงใหม่ ๒ เมือง

    เมืองลำพูนไชย ประเทศราช ผู้ครองเมืองชื่อตามนามเมือง ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองยอง อยู่ฝั่งแม่กอง ตะวันออกตรงเมืองลำพูนข้าม ขึ้นเมืองลำพูน

    เมืองป่าซาง อยู่ลำแม่ทาฝั่งตะวันตก เมืองหนองล่าง อยู่ลำแม่ลี้ฝั่งเหนือ เมืองลี้ อยู่ปลายแม่ลี้ฝั่งใต้ ขึ้นเมืองลำพูน ๓ เมือง

    เมืองจาน เมืองเมาะ เมืองท่า เมืองลอง อยู่ตะวันออกนคร เมืองพยาก

    เมืองงาว อยู่ตอนเหนือนคร เมืองเตาะ อยู่ฝั่งตะวันออกน้ำเตาะ เมืองวัง เมืองแจ้ห่ม อยู่ฝั่งแม่วังฝั่งตะวันออก ขึ้นนครลำปาง ๙ เมือง

    เมืองเวียงติ้น เมืองพยาว อยู่ลำแม่วังฝั่งตะวันตก ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองนครลำปาง ประเทศราช ผู้ครองเมืองชื่อตามนามเมือง ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองเสิม เมืองจาง อยู่แม่จางฝั่งเหนือ ขึ้นนครลำปาง

    เมืองเชียงของ เมืองโปง เมืองเงิน เมืองสราว เมืองปัว ขึ้นเมืองน่าน

    เมืองน่าน ผู้ครองเมืองชื่อพระยามงคลยศประเทศราช ขึ้นมหาดไทย

    เมืองหิน เมืองงั่ว อยู่หนใต้ ขึ้นเมืองน่าน ๒ เมือง

    เมืองแพร่ เจ้าเมืองชื่อพญาแพร่ราชวงศาประเทศราช ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองสรอง เมืองแสนหลวง อยู่หนใต้เมืองแพร่ ขึ้นเมืองแพร่

    เมืองนำภูน เมืองนำอาย เมืองเพียง เมืองทุง อยู่ลำของใต้เมืองหลวง ๕ เมือง เมืองด่านขวา เมืองเชียงเงิน อยู่ลำน้ำด่านตะวันออกเมืองหลวง ๒ เมือง ขึ้นเมืองหลวงพระบาง ๗ เมือง

    เมืองมวย เมืองสะกก เมืองหิว เมืองบุญวัง เมืองหะท้าว เมืองไต เมืองปักแสง อยู่ลำน้ำเซืองตะวันออกเมืองหลวง ขึ้น ๗

    เมืองคำเกิด อยู่หว่างน้ำอ่อน หว่างน้ำยวงฝั่งเหนือ เมืองคำม้วน อยู่ลำน้ำอ่อนฝั่งเหนือ ขึ้นกรมมหาดไทย ๒ เมือง

    เมืองหาว อยู่ลำน้ำโชติฝั่งเหนือ ขึ้นเมือง คำม้วน

    เมืองบ่อ อยู่ลำน้ำอ่อนฝั่งใต้ ขึ้นเมืองคำเกิด

    เมืองว่า อยู่าลำน้ำมอญฝั่งตะวันออก ขึ้นเมืองคำม้วน

    เมืองภูเวียง ขึ้นเมืองเวียงจันทน์

    เมืองยศสุนทร เหนือลำพมูล พระสุนทรวงศา เจ้าเมืองนครพนม กินเมืองยศสุนทรด้วย ขึ้นกรมมหาดไทย

    กรุงศรีสัตนาคนหุต อุดมราชธานี เมืองเวียงจันทน์ ประเทศราช อยู่ฝั่งลำของฟากเหนือ ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองนามฮุง เมืองเชียงคาน อยู่เหนือเวียงจันทน์ ขึ้นเมืองเวียงจันทน์ ๒ เมือง

    เมืองท่าบ่อ เมืองพานพร้าว อยู่ฝั่งลำของข้างใต้ ขึ้นเมืองเวียงจันทน์ ๒ เมือง

     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จากกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นประมวลกฏหมาย รัชกาลที่ ๑ ชำระเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๗ ( จ.ศ. ๑๑๖๖) ในหมวด กฎมณเทียรบาล หมวดพระธรรมนูญ และหมวดพระไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง มีเรื่องเกี่ยวกับหัวเมืองของไทยในรูปแบบต่าง ๆ พอประมวลได้ดังนี้
    [SIZE=+1][/SIZE]
    [SIZE=+1]เมืองที่ถวายดอกไม้ทองเงิน[/SIZE]
    [SIZE=-1] มีทั้งหมด ๒๐ หัวเมือง เป็นเมืองฝ่ายเหนือ ๑๖ และเมืองฝ่ายใต้ ๔ เมือง เมืองฝ่ายเหนือได้แก่ เมืองนครหลวง เมืองศรีสัตนาคนหุต เมืองเชียงใหม่ เมืองตองอู เมืองเชียงไกร เมืองเชียงกราน เมืองเชียงแสน เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงราย เมืองแสนหวี เมืองเขมราช เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองใต้ทอง เมืองโคตรบอง เมืองเรวแกว[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมืองฝ่ายใต้ได้แก่ เมืองอุยองตะหนะ เมืองมลากา เมืองมลายู เมืองวรวาริ[/SIZE]
    [SIZE=+1][/SIZE]

    [SIZE=+1]เมืองพญามหานคร แต่ได้ถือน้ำพระพัท[/SIZE]
    [SIZE=-1] มีอยู่ ๘ เมืองด้วยกันคือ เมืองพิศณุโลก เมืองสัชนาไล มืองศุกโขไท เมืองกำแพงเพช เมืองนครศรีธรรมราช เมืองนครราชสีมา เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย[/SIZE]

    หัวเมืองที่ขึ้นกับเจ้าพญาจักรี ฯ สมุหะนายก ฯ
    [SIZE=-1] ถ้ามีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการผู้มีความชอบไป รั้ง,ครอง เมืองบรรดาที่ขึ้นกับเจ้าพญาจักรี ซึ่งมีอยู่ ๓๑ หัวเมือง ก็ได้ใช้ตราพระราชสีห์ และใช้ไปให้หัวเมืองทั้งปวง บรรดาขึ้นแก่มหาดไท ส่งคู่ความมาพิจารณา และไปด้วยกิจราชการทั้งปวง และมีตราพระราชสีห์ไปตั้งเจ้าเมือง และปลัด รองปลัด นำตราเจ้าพนักงานซึ่งตั้งกรมการ และตั้งนายอากอรขนอนทั้งปวง บรรดาขึ้นแก่กรมมหาดไทย หัวเมืองดังกล่าวได้แก่ เมืองพิศณุโลก เมืองสวรรคโลก เมืองศุกโขไท เมืองกำแพงเพช เมืองพิไช เมืองนครสวรรค เมืองพิจิตร เมืองมโนรม เมืองไชนาฎ เมืองอุทัยธานี เมืองอินทบุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงคบุรี เมืองสรรคบุรี เมืองลพบุรี เมืองสรบุรี เมืองวิเศศไชยชาญ กรุงเก่า เมืองนครนายก เมืองปะจิม เมืองฉเชิงเทรา เมืองสุพันทบุรี เมืองนครไชศรี เมืองราชบุรี เมืองเพชบูรร เมืองท่าโรง เมืองบัวชุม เมืองไชบาดาน เมืองกำพราน เมืองนครราชศรีมา[/SIZE]


    หัวเมืองที่ขึ้นกับพญามหาเสนาธิบดี ฯ สมุหะพระกะลาโหม (เจ้าพญากะลาโหม)
    [SIZE=-1] ถ้ามีพระราชโองการให้ข้าราชการผู้มีความชอบไปรั้ง,ครองเมือง ณ หัวเมืองบรรดาขึ้นแก่กรมพระกะลาโหม ซึ่งมีอยู่ ๑๗ หัวเมือง ก็ได้ใช้ตราพระคชสีห์ ไปให้กรมการส่งกระทงความหมู่ และไพร่ในกรมวิวาทแก่กัน และเรียกเงินหาทรัพย์มรดกมาพิจารณาตามตระทรวง[/SIZE]
    [SIZE=-1] อนึ่งใช้ตราไปตั้งเจ้าเมืองปะหลัด รองประหลัด และนำตราเจ้าพนักงานไปตั้งกรมการ และตั้งนายอากอรนายขนอน ทุกหัวเมืองที่ขึ้นแก่กรมพระกะลาโหม[/SIZE]
    [SIZE=-1] หัวเมืองท่าดังกล่าวไดแก่ เมืองนครศรีธำมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองไชยา เมืองชุมพอน เมืองเพชบุรี เมืองกุย เมืองปราน เมืองคลองวาน เมืองบางตะพาน เมืองถลาง เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองตะกั่วป่า เมืองตะนาวศรี เมืองมฤต เมืองทวาย และเมืองสามโคก[/SIZE]

    หัวเมืองที่ขึ้นกับเจ้าพญาธรรมราช ฯ ( โกษาธิบดี )
    [SIZE=-1] ถ้ามีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการผู้มีความชอบไปรั้ง, ครองเมือง ณ หัวเมืองขึ้นแก่โกษาธิบดี ซึ่งมีอยู่ ๘ หัวเมือง มีตราไปตั้งเจ้าเมืองประหลัด รองประหลัด ไปเอากิจราชการ และสุขทุกข์ถ้อยความ ณ หัวเมืองซึ่งขึ้นแก่โกษาธิบดี และนำตราเจ้าพนักงานไปตั้งกรมการและตั้งนายอากอรนายขนอนทั้งปวง ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=-1] หัวเมืองดังกล่าวได้แก่ เมืองจันทบูรรณ เมืองตราด เมืองระยอง เมืองบางลมุง เมืองนนทบุรี เมืองสมุทประการ เมืองสมุทสงคราม เมืองสาครบุรี[/SIZE]

     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว

    ขุนอินทรเทพ มีเชื้อสายเจ้าราชวงศ์ศรีธรรมโศกราชมาแต่เดิมค่ะ ขอแก้ความเห็นเดิมที่ว่า ท่านขุนอินทรเทพถูกยกขึ้นเป็นเจ้านั้นไม่ถูกต้อง ขุนอินทรเทพนี้มีเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราชมาแต่เดิมค่ะ ขออภัยค่ะ...ทางสายธาตุ

    หาอ่านจากบทความนี้ค่ะ ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว



    ประวัติศาสาตร์ยุคต้นกรุงศรีอยุธยายังคลุมเครือเพราะมีหลักฐานไม่มากพอที่จะเชื่อถือได้ ดังเรื่องราวของขุนวรวงศาธิราชกับเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ แรกเริ่มเดิมที พระนครศรีอยุธยายังมิได้เป็นศูนย์รวมอำนาจการปกครองแผ่นดินอย่างแท้จริง เพราะอำนาจกระจายอยู่ที่บรรดาเจ้าเมืองสำคัญ ๆ โดยเฉพาะเจ้าเมืองลูกหลวงและหลานหลวงที่กษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระญาติพระวงศ์ไปปกครอง เมื่อสิ้นรัชกาลก็มักเกิดการแย่งชิงอำนาจกันในกลุ่มเจ้านายที่เป็นเจ้าเมืองใหญ่ ๆ เหล่านั้น ดังกรณีเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยา


    [​IMG]สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) ทรงปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ด้วยการดึงอำนาจการปกครองแผ่นดินมาไว้ที่ส่วนกลางคือราชธานีพระนครศรีอยุธยา โดยยกเลิกการแต่งตั้งเจ้านายและพระราชวงศ์ไปให้ไปปกครองหัวเมืองสำคัญดังแต่ก่อน แล้วตราข้อบังคับให้บรรดาเจ้านายอยู่ภายในพระนคร


    [​IMG]ส่วนการปกครองหัวเมืองทรงแต่งตั้งให้ขุนนางจากส่วนกลางออกไปปกครอง บรรดาเจ้าเมืองเหล่านี้ไม่มีอำนาจและไม่มีสิทธิในการปกครองและบริหารอย่างเต็มที่เหมือนอย่างแต่ก่อน เพราะต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมของเจ้าสังกัดใหญ่ที่อยู่ในเมืองหลวงซึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน


    [​IMG]กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ได้แก่บรรดาเจ้านายที่เคยมีอำนาจการปกครองเมืองสำคัญ ๆ มาก่อน เช่นเจ้านายฝ่ายแคว้นสุโขทัย เป็นต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจสืบเนื่องมาตลอดทุกรัชกาล


    [​IMG]จนกระทั่งแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ.2077-2098) ทรงรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้สำเร็จ แล้วยกเลิกให้กษัตริย์หรือเจ้านายไปครองเมืองเหนือ คือเมืองพิษณุโลก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก เจ้านายและขุนนางจากเมืองสำคัญ ๆ ถูกเรียกตัวให้เข้าไปอยู่ในพระนครศรีอยุธยา เช่นขุนพิเรนทรเทพ ,ขุนอินทรเทพ, หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศฯลฯ บุคคลเหล่านี้อมอยู่ในอำนาจของสมเด็จพระไชยราชาธิราชแต่โดยดี เพราะทรงใช้อำนาจปกครองอย่างเด็ดขาด แต่ก็มีสำนึกตลอดเวลาว่า ถ้ามีโอกาสก็จะกอบกู้เกียรติยศกลับคืนสู่บ้านเมืองเดิมของตน


    ในที่สุดโอกาสนั้นก็มาถึงเมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคต แล้วท้าวศรีสุดาจันทร์ เรืองอำนาจว่าราชการแผ่นดินแทนสมเด็จพระยอดฟ้าที่ยังทรงพระเยาว์ ท้าวศรีสุดาจันทร์มีเป้าหมายทางการเมืองอย่างน้อย 2 อย่างคือ สืบทอดเจตนารมณ์ของสมเด็จพระไชยราชาธิราชเรื่องการปกครองแบบรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางที่พระนครศรีอยุธยาอย่างหนึ่ง กับอีกอย่างหนึ่งคือ ฟื้นฟูราชวงศ์ละโว้-อโยธยาที่ถูกราชวงศ์สุพรรณภูมิทำลายห้มีอำนาจดังเดิม เรื่องนี้น่าจะเป็นที่รับรู้กันลึก ๆ ในแวดวงเจ้านายและขุนนางครั้งนั้น ดังนั้นเมื่อพระไชยราชาธิราชสวรรคต พระเทียรราชาจึงต้องหนีภัยการเมืองด้วยการบวชเป็นภิกษุ


    [​IMG]กลุ่มที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากการปกครองมากที่สุดคือกลุ่มเจ้านายเมืองเหนือที่เป็นแคว้นสุโขทัยเดิม เพราะเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยถูกลดฐานะลงเป็นเพียงขุนนางอยู่ในพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะขุนพิเรนทรเทพที่พงศาวดารระบุว่า "บิดาเป็นพระราชวงศ์พระร่วง มารดาไซร้ได้เป็นพระราชวงศ์แห่งสมเด็จพระชัยราชาธิราช" นอกจากนั้นยังมีพระยาพิชัย พระยาสวรรคโลกรวมอยู่ด้วย และต้องไม่ลืมว่า เจ้านายที่ได้รับพระนามภายหลังว่า พระสุริโยทัย ก็อยู่ในกลุ่มนี้


    [​IMG]พงศาวดารจดไว้อีกว่าเมื่อขุนวรวงศาธิราชขึ้นเสวยราชสมบัติแล้วยังให้เกณฑ์เจ้าเมืองเหนืออีก 7 เมืองที่ยังกระด้างกระเดื่องลงมาอยู่พระนครศรีอยุธยา ก็ยิ่งเพิ่มความเจ็บแค้นให้พวกหัวเมืองเหนือมากขึ้น และเท่ากับเพิ่มกำลังให้กับฝ่ายต่อต้านท้าวศรีสุดาจันทร์


    ขุนพิเรนทรเทพเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย กับขุนอินทรเทพเชื้อสายเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้นคิดสำคัญที่จะกำจัดท้าวศรีสุดาจันทร์ เพราะถ้าปล่อยให้เป้าหมายทางการเมือง 2 อย่างสัมฤทธิผล ก็เป็นอันว่าต้องอยู่ภายใต้อำนาจกรุงศรีอยุธยาต่อไปไม่มีวันกลับคืนไปฟื้นฟูบ้านเมืองดิม

    [​IMG]ท้ายที่สุดก็กำจัดท้าวศรีสุดาจันทร์กับพรรคพวกได้สำเร็จแล้วเชิญพระเทียรราชาชึ้นเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พงศาวดารจดว่า ขุนพิเรนทรเทพได้ความดีความชอบสูงสุดคือ ได้เกียรติและอำนาจคืนมาทั้งหมดเป็นสมเด็จพระมหาธรรมาราชาธิราช แล้วได้กลับไปครองเมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นแว่นแค้วนสุโขทัยเดิมสมปรารถนา นอกจากนั้นยังได้รับพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระสวัสดิราชธิดาเป็นพระอัครมเหสีแล้วถวายพระนามใหม่ว่าวิสุทธิกษัตรี

    ท้าวศรีสุดาจันทร์ไม่ใช่สามัญชนคนธรรมดา ส่วนจะมีชื่อตัวว่าอะไรไม่มีหลักฐาน แต่ชื่อศรีสุดาจันทร์ ไม่ใช่ชื่อตัว หากเป็นชื่อตำแหน่งสนมเอกคนหนึ่ง (ในสี่คน)


    ตำแหน่งพระสนม
    ท้าวศรีสุดาจันทร์ จากราชวงศ์อู่ทอง
    ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ จากราชวงศ์พระร่วง
    ท้าวอินทรสุเรนทร์ จากราชวงศ์สุพรรณภูมิ
    ท้าวอินทรเทวี จากราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช


    ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช และเป็นตำแหน่งเฉพาะสำหรับธิดานารีที่มีเชื้อสายเจ้านายราชวงศ์ ละโว้-อโยธยาเท่านั้น แม้ว่าราชวงศ์นี้จะหมดอำนาจไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ชาติตระกูลที่มีเชื้อสายราชวงศ์เก่ายังมีอยู่ และยังเป็นสัญญลักษ์ของการปกครองที่สืบมาแต่ยุคก่อน ๆ


    [​IMG]หลักแหล่งของท้าวศรีสุดาจันทร์คงอยู่ในพระนครศรีอยุธยา แต่มีเครือญาติสำคัญอยู่บริเวณลุ่มน้ำลพบุรี-ปาสัก อันเป็นบริเวณหัวใจของแคว้นละโว้มาแต่โบราณ เช่นที่เมืองลพบุรีและที่บ้านมหาโลก (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอท่าเรือ จังหวังพระนครศรีอยุธยา)

    [​IMG]ท้าวศรีสุดาจันทร์น่าจะเป็น "ชายาคู่ทุกข์คู่ยาก" ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช มาตั้งแต่ยังไม่ได้รับราชสมบัติ เมื่อได้ราชสมบัติแล้ว ชาติตระกูลของนางคงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมเหสีได้ จึงเป็นเพียงสนมเอก และสมเด็จพระไชยราชาธิราชเองก็อาจจะไม่สถาปนาเชื้อพระวงศ์ผู้ใดขึ้นเป็นพระมเหสีด้วย ฉะนั้นเมื่อพระนางมีโอรสถึง 2 องค์ คือ พระยอดฟ้า และพระศรีศิลป์ และสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ขึ้นครองราชย์จึงทำให้ท้าวศรีสุดาจันทร์มีตำแห่งเป็น "แม่อยู่หัว" หรือ "แม่หยัวเมือง" ด้วย


    [​IMG]เพราะเหตุที่เป็น "ชายาคู่ทุกข์คู่ยาก" ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชก็คงตกอยู่ในความควบคุมของท้าวศรีสุดาจันทร์มากพอสมควร และคงเป็นที่รับรู้กันในราชสำนักด้วยในคำให้การชาวกรุงเก่าจึงเล่าว่าพระเจ้าแผ่นดินโปรดท้าวศรีสุดาจันทร์ มีรับสั่งให้เฝ้าอยู่ข้างพระที่มิได้ขาด ราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในต่าง ๆ ถ้าท้าวศรีสุดาจันทร์เพ็ดทูลคัดง้างอย่างไรแล้ว ก็ทรงเชื่อทั้งสิ้น


    [​IMG]เมื่อพ่ายแพ้ทางการเมือง ท้าวศรีสุดาจันทร์ก็ถูกพงศาวดารกล่าวหาว่า คบชู้ (คือขุนวรวงศาธิราช), ฆ่าผัว (คือสมเด็จพระไชยราชาธิราชา) , ฆ่าลูก (พระยอดฟ้า) แล้วยังข้อหาอื่น ๆ อีกมาก ถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่หมดข้อกล่าวหา และยังไม่มีใครเป็นทนายแก้ข้อกล่าวหาเหล่านั้นได้ นักประวัติศาสตร์และพงศาวดารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจึงไม่ยอมรับขุนวรวงศาธิราชอยู่ในบัญชีกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา


    [​IMG]ข้อกล่าวหาท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นเรื่องราวเล่าขานที่รับรู้กันมาแต่เริ่มแรก มีทั้งบันทึกของชาวยุโรป และมีทั้งเอกสารพงศาวดารสยาม จึงยากที่จะปฏิเสธได้ แต่หากยอมรับข้อกล่าวหาทั้งหมดโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบก็เท่ากับกล่าวโทษบุคคลในประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งอย่างไม่เป็นธรรม และยังเท่ากับละเลยเหตุการณ์ในอดีตที่เต็มไปด้วยเลือดเนื้อ ชีวิต และวิญญาณของความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองภายในของกลุ่มราชวงศ์ที่ปกครองอยุธยาในขณะนั้น


    [​IMG]เมื่อกลุ่มท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นฝ่ายปราชัย ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ต้องโดนประณามหยามเหยียดจากฝ่ายมีชัยชนะ ในทางตรงกันข้าว ถ้าหากกลุ่มท้าวศรีสุดจันทร์มีชัยชนะ อีกฝ่ายหนึ่งก็จะต้องถูกประณามหยามเหยียดไม่น้อยกว่าหรืออาจจะโดนหนักกว่าก็ได้


    ขอขอบคุณ บทความเรื่อง ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว
    คัดลอกจาก บทบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 20 ฉบับที่ 10 , สิงหาคม 2542 โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2009
  6. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ที่ "น่าจะ" ตราในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
    ที่มา: กฎหมายตรา ๓ ดวง (ฉบับ มธก.) ***สะกดตามต้นฉบับ***

    ท้าววรจัน ที่สมเดจ์พระพี่เลี้ยง นา ๑๐๐๐
    แม่เจ้า แม่นาง แลนางท้าวพระสนมเอกทัง ๔ คือ

    ท้าว อินสุเรนทร ๑ ศรีสุดาจัน ๑ อินทรเทวี ๑ ศรีจุลาลักษ ๑ นา ๑๐๐๐

    นางพระสนมสัตรีกำนัล นา ๘๐๐

    ท้าววรจัน ที่สมเด็จพระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีศักดิ์สูงสุด

    แม่เจ้า แม่นาง แลนางท้าวพระสนมเอกทั้ง ๔ (แต่ศักดินาเท่ากันทั้ง ๖ คน)

    สุดท้ายคือพระสนมธรรมดา


    *หมายเหตุ* แม่เจ้า แม่นาง นางท้าวพระสนมเอกทั้ง ๔ เป็นพระภรรยาเจ้า (คือมีฐานะเป็นเจ้า)
    ส่วนนางพระสนมสัตรีกำนัล คือ พระสนม เป็นสามัญชน (คือ เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์)

    สรุป พระสนมเอกทั้ง ๔ ศักดิ์เท่ากัน


    ต่อไปเรื่องมีตำแหน่งสูงกว่านี้หรือไม่

    ถ้าไปเทียบกับกฎมณเทิยรบาล ที่เชื่อกันว่าอาจจะตราในสมัยพระเจ้าอู่ทอง และแก้ไข (หรือตรา) ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

    ถ้าลองอ่านดูทุกมาตราจะสรุปได้ว่า นางท้าวพระสนมเอกทั้ง ๔ ปกติมีศักดิ์เท่ากัน

    แต่เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้สูงขึ้น ก็จะมีลำดับลดหลั่นกันดังนี้

    ชั้นสมเด็จพระภรรยาเจ้า

    พระอัคมเหษี (พระอรรคมเหษี พระอัรคมเหษี) : พระราชกุมารมีสิทธิ์ได้รับสถาปนาเป็นที่ สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า มีได้พระองค์เดียว

    พระอรรคราชเทวี (ศักดิ์เกือบเท่าพระอัคมเหษี)

    พระราชเทวี

    พระอรรคชายา พระราชเทวีกับพระอรรคชายาศักดิ์ใกล้เคียงกัน และบางทีอาจเทียบได้กับระดับแม่หยัวเมือง

    พระภรรยาเจ้าทั้ง ๓ ตำแหน่งข้างบนนี้ ไม่แน่ใจว่าพระราชกุมารมีสิทธิ์ได้รับสถาปนาเป็นที่ใด

    ชั้นแม่หยัวเมือง
    แม่หยัวเมือง (หยัวคืออยู่หัว บางครั้งออกพระนามว่า แม่หยัวเจ้า แม่หยัวเจ้าเมือง) : พระราชกุมารมีสิทธิ์ได้รับการสถาปนาเป็นที่ พระมหาอุปราช (มีได้พระองค์เดียว)

    ชั้นแม่เจ้า
    ลูกหลวง (เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์) : พระราชกุมารเป็นที่ พระเจ้าลูกเธอ มีสิทธิ์ได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าลูกเธอกินเมืองเอก (ลูกหลวงเอก) เมืองลูกหลวงทั้ง ๕ คือ พิศณุโลก สวรรคโลก กำแพงเพช ลพบุรี สิงคบุรี

    หลานหลวง (เป็นพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์) : พระราชกุมารเป็นที่ พระเจ้าลูกเธอ มีสิทธิ์ได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าลูกเธอกินเมืองโท (ลูกหลวงโท) เมืองหลานหลวงทั้ง ๒ คือ อินทบุรี พรหมบุรี

    ชั้นพระสนม
    พระสนม (สามัญชน) : พระราชกุมารเป็นที่ พระเยาวราช


    ทั้งหมดเป็นการวิเคราะห์กฎหมายโบราณ ถ้าผิดพลาดต้องขออภัยอย่างสูง

    <!--MsgEdited=21-->
    จากผู้ใช้นามล็อคอินว่า เจ้าคุณแม่ทัพ ในเวปไซด์พันทิพย์

    http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K8254212/K8254212.html#21
    <!--MsgEdited=21-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2009
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    รบกวนขอเสียงด้วย ไม่ทราบว่าจะสะดวกหรือไม่ จะอย่างไรก็ขออนุโมทนา


    ท่านพี่หมายถึงให้เอาเสียงเพลงออกใช่ไหมคะ เสียงอาจจะรบกวน เช้านี้พอดีอยากฟังเลยหามาใส่ เดี๋ยวเอาออกให้ค่ะ ขอฟังอีกสักชั่วโมงสองชั่วโมงนะคะ

    วันนี้ฟังเพลงนี้แล้วมันจับใจ คิดถึงเลือดเนื้อบรรพบุรุษที่สู้เพื่อรักษาผืนแผ่นดินไว้

    http://blog.spu.ac.th/home/video_data/838/838/video/853/853.mp3
     
  9. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    อยากจะขอฟังด้วยน่ะครับ อนุโมทนา เพลงดีๆอย่างนี้หาฟังได้ยากครับ
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    นคร เขื่อนขันธ์ และ บ้าน ขุนสมุทรจีน

    การตั้งถิ่นฐาน
    [SIZE=-1]ประวัติศาสตร์เมืองสมุทรปราการ มีความเกี่ยวข้องกับเมืองพระประแดง และเมืองนครเขื่อนขันธ์ เพราะเมืองสมุทรปราการตั้งขึ้นในสมัยอยุธยา แต่เมืองพระประแดงเดิมนั้นขอมได้ตั้งขึ้นในสมัยขอม มีอำนาจครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสมัยนั้นทะเลยังลึกเข้ามามากจนจรดเขตทางใต้ของกรุงเทพ ฯ ขอมเรียกว่า ปากน้ำพระประแดง เมื่อตั้งเมืองที่ปากน้ำก็เรียกว่า เมืองพระประแดง [/SIZE]
    [SIZE=-1][SIZE=-1]ในหนังสือเรื่องภูมิสาสตร์สยามของกรมตำรากระทรวงธรรมการ กล่าวถึงประวัติเมืองพระประแดงไว้ว่า เดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำพระประแดงฝั่งซ้ายคือ ฝั่งตะวันออกแถวศาลพระประแดงทุกวันนี้ เมืองนี้เป็นเมืองปากน้ำตั้งแต่ครั้งขอมเป็นใหญ่ มีกำแพงเมืองเป็นหลักฐาน เพิ่งมารื้อเสียเมื่อแผ่นดินงอก ทำให้ทะเลห่างออกไปทุกที จึงตั้งเมืองสมุทรปราการเป็นเมืองปากน้ำ ที่ตำบลบางเจ้าพระยา เรียกว่า ปากน้ำบางเจ้าพระยา แต่เมืองพระประแดง ก็คงเป็นเมืองอยู่ระหว่างเมืองสมุทรปราการ กับเมืองธนบุรี [/SIZE]
    [SIZE=-1]ต่อมามีแผ่นดินงอกออกไป เมืองพระประแดงห่างจากปากน้ำเข้าทุกที จึงมีการโยกย้ายตั้งเมืองปากน้ำขึ้นใหม่ เพื่อความเหมาะสม จึงมีทั้งเมืองสมุทรปราการ และเมืองพระประแดงในสมัยอยุธยา ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ความจำเป็นทางการเมือง และความปลอดภัยของประเทศชาติมีมากขึ้น จึงได้ตั้งเมืองนครเขื่อนขันธ์ ปัจจุบันเป็นอำเภอพระประแดง กล่าวได้ว่าจังหวัดสมุทรปราการ หรือเมืองปากน้ำ มีประวัติและอาณาเขตของเมือง สามเมืองรวมกันคือ เมืองพระประแดง เมืองนครเขื่อนขันธ์ และเมืองสมุทรปราการ
    การที่ชอบขนานนามเมืองหน้าด่านว่าพระประแดง เพราะคำว่าประแดง หรือบาแดงแปลว่า คนเดินหมาย คนนำข่าวสารหมายความว่า เมืองพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่าน มีหน้าที่ต้องแจ้งข่าวสารไปให้ราชธานีที่ขอมตั้งไว้ที่ลพบุรี (ละโว้)
    ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๙๓ พระเจ้าอู่ทองได้ทรงอพยพผู้คนมาสร้างพระนครขึ้นใหม่ที่ริมหนองโสนขนานนามว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ประกาศเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย ได้ยกทัพไปตีเขมรได้นครธมอันเป็นนครหลวงของเขมร และดินแดนทางตะวันตกของเขมรทั้งหมด ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้ อันเป็นอาณาเขตของกรุงสุโขทัยเดิม ก็ได้มาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด ตั้งแต่เมืองราชบุรี เพชรบุรี ลงไปตลอดแหลมมะลายู ทางทิศเหนือได้เมืองลพบุรี ซึ่งติดต่อกับอาณาเขตสุโขทัย พระเจ้าอู่ทองได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งเมืองหน้าด่านทั้งสี่ทิศคือ ทิศเหนือเมืองลพบุรี ทิศตะวันออกเมืองนครนายก ทิศตะวันตกเมืองสุพรรณบุรี และทิศใต้เมืองพระประแดง
    เมืองหน้าด่านเหล่านี้ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการมั่นคงแข็งแรงทุกเมือง แต่เมื่อมาถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๙ เกิดสงครามช้างเผือก ระหว่างไทยกับพม่า ทางกรุงศรีอยุธยายกทัพไปตั้งรับข้าศึกที่เมืองสุพรรณบุรี แต่ทานกำลังพม่าไม่ได้ หลังจากพม่ายกทัพกลับไปแล้ว สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงเห็นว่า ป้อมปราการที่เมืองสุพรรณบุรี แม้มีอยู่แต่รับศึกใหญ่ไว้ไม่ได้ และยังเป็นที่มั่นสำหรับข้าศึกได้อีก จึงโปรดเกล้าให้รื้อป้อมปราการ และกำแพงลงเสีย พร้อมทั้งป้อมปราการ และกำแพงที่เมืองลพบุรี และเมืองนครนายกด้วย คงเหลือไว้แต่ที่เมืองพระประแดง สำหรับเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลเพียงแห่งเดียว
    เมืองพระประแดงเป็นเมืองเก่ามีอายุเกือบพันปี ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มสร้างในสมัยกษัตริย์ขอมองค์ใด
    ที่ตั้งอำเภอพระประแดงปัจจุบัน ไม่ใช่เมืองพระประแดงเดิม แต่เป็นเมืองนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งเริ่มสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเสร็จเรียบร้อยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพระประแดง หรือจังหวัดพระประแดง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
    [/SIZE]
    [/SIZE]


    [​IMG]



    <CENTER>

    </CENTER>สำหรับเมืองสมุทรปราการ สันนิษฐานว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๖๓ - ๒๑๗๑) ในบริเวณใต้คลองบางปลากด ซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะสมัยนั้นบริเวณคลองปลากดได้มีชาวฮอลันดา ซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ตั้งแต่ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ และได้รับพระราชทานที่ดินบริเวณเหนือคลองปลากด เป็นที่ตั้งคลังสินค้า เป็นสถานีการค้าที่มั่นคงใหญ่โต จึงถูกยกย่องกันในหมู่ชาวฮอลันดาว่า นิวอัมสเตอร์ดัม


    ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไทยมีเรื่องพิพาทกับฮอลันดา ฮอลันดาจึงทอดทิ้งคลังสินค้าดังกล่าวไป ฮอลลันดาเคยนำเรือรบสองลำ มาปิดอ่าวไทยที่นิวอัมสเตอร์ดัม เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๒๐๗ เป็นเวลาสามเดือน เพื่อให้มีผลด้านการแข่งขันทางการค้า
    เมืองสมุทรปราการที่สร้างขึ้นนี้เข้าใจว่าจะกลายเป็นเมืองร้างในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ และคงถูกพม่าทำลายย่อยยับ ขณะนี้ยังหาทรากเมืองไม่พบ


    ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
    พ.ศ.๒๑๒๑ พระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมรไปตีเมืองเพชรบุรีไม่ได้ จึงหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระมหาธรรมราชา ต่อมาเมื่อรู้ว่าพระยาละแวก ไม่เอาโทษจึงลอบพาสมัครพรรคพวกหนีกลับโดยเรือสำเภา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะทรงเป็นพระยุพราช ได้เสด็จลงเรือพระที่นั่งไล่ตามไปทันที่ปากน้ำเจ้าพระยา เกิดรบพุ่งกัน พอดีสำเภาได้ลมแล่นออกทะเลใหญ่หนีไปได้ เวลานั้นเมืองหน้าด่านทางน้ำยังเป็นเมืองพระประแดง อยู่ปากน้ำพระประแดง ซึ่งยังอยู่ลึกเข้ามาถึงด้านคลองเตย

    พ.ศ.๒๑๖๓ ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม พวกฮอลันดากำลังมีอิทธิพลทางการค้ากับไทย เป็นเหตุให้ชนชาติโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายกับไทยเป็นชาติแรก ไม่พอใจจนเกิดเหตุขึ้น เรือกำปั่นโปร์ตุเกสพบเรือฮอลันดาที่ปากน้ำเจ้าพระยา ก็จับยึดเรือไว้ พระเจ้าทรงธรรมทรงทราบก็ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ทหารลงไปบังคับโปร์ตุเกสให้คืนเรือแก่ชาวฮอลันดา โปร์ตุเกสจึงโกรธเคืองไทยเลิกกิจการค้าขายในกรุงศรีอยุธยา แล้วให้กองทัพเรือมาปิดเอ่าวที่เมืองมะริด

    พ.ศ.๒๑๗๓ พวกญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ เกิดขัดใจกับไทยถึงขั้นต่อสู้กัน พวกญี่ปุ่นลงเรือสำเภาหนี กองเรือไทยตามไปทันที่ปากน้ำเจ้าพระยา เกิดการต่อสู้กันบริเวณปากน้ำ ญี่ปุ่นหนีไปได้ และไปอาศัยอยู่ที่เมืองเขมร

    พ.ศ.๒๒๐๗ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงดำเนินกิจการค้าอย่างกว้างขวางให้คนจีนมาประจำหน้าที่ในเรือสินค้าหลวง และส่งเรือสินค้าหลวงออกไปค้าขายกับต่างประเทศหลายลำ ทำให้ผู้ค้าของฮอลันดาไม่พอใจ หาว่าไทยทำการค้าผูกขาด ฮอลันดาจึงเลิกกิจการค้าจากกรุงศรีอยุธยา แล้วเอาเรือรบมาปิดอ่าวไทย คอยจับเรือสินค้าหลวงของไทยไปริบบ้าง ทำลายบ้าง ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงดำเนินวิเทโศบายผูกมิตรกับฝรั่งเศส

    พ.ศ.๒๒๓๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระเทพราชา ไทยเกิดต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เข้ามารักษาป้อมวิชัยประสิทธิ์ (อยู่ที่เมืองธนบุรี) ไทยได้ตั้งค่ายรายปืนที่บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา เมืองสมุทรปราการ และจับเรือที่ฝรั่งเศสคุมมาได้สองลำ

    พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ ไทยได้ติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น ส่วนมากเข้ามาทางทะเล เมืองสมุทรปราการจึงเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญมาก มีการปรับปรุงป้อมค่ายให้มั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น และที่ป้อมปากน้ำนี้เอง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยมีธงชาติขึ้น ในปี พ.ศ.๒๒๐๕ มีเรือกำปั่นฝรั่งเศสเข้ามาทางปากน้ำผ่านป้อมบางกอก และได้ชักธงฝรั่งเศสขึ้น แต่ไทยยังไม่มีธงชาติจึงเอาธงชาติฮอลันดาชักขึ้น ฝรั่งเศสไม่ยอมคำนับธงชาติฮอลันดา ไทยจึงเอาธงชาติฮอลันดาลงแล้วเอาผ้าแดงชักขึ้นแทน ฝรั่งเศสจึงยอมคำนับธงแดง ธงแดงจึงเป็นธงชาติไทยตลอดมาจนกระทั่งมาเพิ่มเป็นธงช้าง

    พ.ศ.๒๓๑๐ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมืองสมุทรปราการถูกพม่าโจมตีกวาดต้อนผู้คน ปล้นสะดมและทำลายย่อยยับ

    คัดมาบางตอนจาก


    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    กองทัพไทยต้องทุ่มเทให้กับการศึกใหญ่ๆโดยเฉพาะการศึกพม่า ไม่มีกำลังพอที่จะมาคุ้มกันเรือสินค้าที่จะต้องออกทะเล

    กลุ่มโจรสลัดทางทะเลที่คอยปล้นชิงสินค้าเช่น โจรสลัดญี่ปุ่น จะชุกชุมมาก กองเรือสินค้าจะเสียหาย คนเรือจะล้มตาย เพราะกลุ่มโจรสลัดก็มาก

    จึงมีคนกลุ่มหนึ่ง โดยมากจะเป็นคนจีนที่ทำหน้าที่รับจ้างคุ้มกันเรือสินค้า มีฝีมือพอตัวกันทุกคน ซึ่งจะไปกับเรือสินค้า เพื่อคุ้มกันชีวิตและทรัพย์สิน

    คนกลุ่มนี้ค่อนข้างชอบชีวิตอิสระ จึงไม่เข้ามาอยู่ในเมือง ไม่รับราชการ แต่อาศัยรับจ้างคุ้มกันสินค้าเป็นอาชีพอิสระ

    และอาศัยอยู่ชุมชนบริเวณที่เรือสำเภาไปรอการจัดกระบวนเรือ เพราะจุดหมายปลายทางของแต่ละลำเป็นคนละที่

    ลำที่จะไปที่ใกล้เคียงกันก็จะจับกลุ่มกันออกทะเล ทุกลำจึงไปรวมกันที่นี่ก่อนออกทะเล การว่าจ้างกองกำลังคุ้มกันสินค้า ก็จะทำกันที่นี่

    และคิดว่าชุมชนที่อยู่ของกองกำลังคุ้มกันเรือสินค้านี้น่าจะเป็นชุมชนขุนสมทุรจีนในปัจจุบันนั่นเอง... ทางสายธาตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2009
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เที่ยวพิพิธภัณฑ์...ตลาดโบราณ เยี่ยม ‘บ้านขุนสมุทรจีน’ เมืองปากน้ำ

    เที่ยวพิพิธภัณฑ์...ตลาดโบราณ เยี่ยม ‘บ้านขุนสมุทรจีน’ เมืองปากน้ำ

    [​IMG]



    อาจจะไม่ถูกใจนัก สำหรับคน ที่ชอบท่องเที่ยวแสวงหาความแปลกใหม่ ณ ที่ไกล ๆ หากจะชวนมาเที่ยวจังหวัดใกล้กรุงอย่าง “สมุทรปราการ” แต่เมื่อได้อ่านบทความนำเที่ยวต่อไปนี้ อาจมีเปลี่ยนใจกันบ้าง เพราะแค่ใช้เวลาเพียงวันเดียวก็เที่ยวได้ตั้งหลายแห่ง หลายบรรยากาศในสไตล์ เช้าไป-เย็นกลับ

    สถานที่แรกที่อยากแนะนำเมื่อเดินทางมาถึงตัวเมืองสมุทรปราการ ก็คือ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ซึ่งตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ริมถนนสุขุมวิท ด้วยความสูงมากกว่า 43 เมตร พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ สวยงามอลังการด้วยงานประติมากรรมลอยตัวรูปช้างเอราวัณสามเศียร แบ่งพื้นที่ภายในออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ชั้นใต้ดินหรือบาดาล จัดแสดงนิทรรศการความเป็นมา และการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ รวมถึงจัดแสดงโบราณวัตถุ เช่น เครื่องเรือนโบราณ เครื่องถ้วยชามของจีนและไทย ส่วนที่ 2 ชั้น อาคารทรงโดม หรือโลกมนุษย์ จัดแสดงโบราณวัตถุทั้งทางตะวันตกและตะวันออก การตกแต่งภายในเป็นการผสานศิลปะหลากรูปแบบ อาทิ เพดานกระจกสี งานปูนปั้น และส่วนที่ 3 ภายในท้องช้าง หรือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประดิษ ฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ที่สวยงามและเงียบสงบ เหมาะสำหรับการนั่งสมาธิเป็นที่สุด

    หลังจากเที่ยวชมความสวยงาม อลังการของพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ กันเรียบร้อย ชวนไปเที่ยวต่อที่ ชุมชน บ้านขุนสมุทรจีน ซึ่งเป็นที่ตั้งของ วัดขุนสมุทรธาวาส อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ซึ่งกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอยู่ในขณะนี้ ที่นี่นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเปรียบเสมือนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวผู้สนใจศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนมักแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมอยู่เสมอ ไม่เพียงเท่านั้น ท่านที่ชอบอาหารทะเลยังสามารถจับจ่ายซื้อหาติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนที่บ้านได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หอยนางรม ซึ่งชาวบ้านที่นี่เขารับประกันว่า สด สะอาด กว่าที่ไหน ๆ แถมราคายังสามารถต่อรองได้อีกด้วย

    บ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ นับเป็นหมู่บ้านเก่าแก่อายุกว่า 500 ปี ตั้งอยู่บนแหลมขนาดเล็กที่ยื่นออกไปในทะเล ในอดีตบริเวณนี้เป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าจากเรือสำเภาจีน ที่สำคัญมีการขุดพบเงินพดด้วง ไห ถ้วย ชามกระเบื้องเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันทะเลได้กลืนกินผืนแผ่นดินที่ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของบ้านขุนสมุทรจีนหายไปแล้วกว่า 1 กิโลเมตร โบสถ์วัดขุนสมุทรธาวาส จมน้ำทะเลลึกประมาณ 1 เมตร ผู้คนในหมู่บ้านต้องอพยพย้ายบ้านหนีไปอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงหรือพื้นที่อื่นมาแล้ว 5-7 ครั้ง ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา และเพื่อไม่ให้ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนต้องเดือดร้อนไปมากกว่านี้ ทางผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และนักวิชาการจากหลายหน่วยงาน ทำการติดตั้งแนวป้องกันการกัดเซาะแบบเป็นรูปธรรมเรียบร้อยแล้ว โดยทำการปักเสา คอนกรีตชนิดพิเศษ ตอกสลับฟันปลา เป็น 3 แถว ห่างจากชายฝั่งออกไป ในทะเลประมาณ 50 เมตร ขณะนี้ทำการติดตั้งเสร็จแล้วมีความยาวประมาณ 250 เมตร

    แวะเยี่ยมให้กำลังใจชาวบ้านที่บ้านขุนสมุทรจีน พร้อมซื้อของทะเลสด ๆ กลับไปทานที่บ้านเรียบร้อยได้เวลาเดินทางกลับ ระหว่างทางหากใครยังไม่เหนื่อยอาจแวะไปเติมพลังพร้อมถ่ายรูปเล่นที่ บางปู โดยช่วงเวลาที่มีนกนางนวลมาให้ชมเยอะ ๆ จะเป็นช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน หรือถ้าใครอยากนอนค้างคืนเพื่อตื่นมาชมบรรยากาศยามเช้าของบางปู ที่นี่เขาก็มีที่พักไว้บริการ พร้อมอาหารเช้าแสนอร่อย จากนั้นค่อยขับรถกลับบ้านระหว่างทางผ่าน อ.บางบ่อ อาจแวะซื้อปลาสลิดหอมอันเลื่องชื่อกันอีกนิดหน่อย แม่ค้าที่นี่เขารับประกันว่าอร่อยเด็ดกว่าที่ไหน ๆ แน่นอน

    ก่อนออกจากเมืองปากน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคลเชิญชวนทุกท่านแวะไปนมัสการพระนอนที่วัดบางพลีใหญ่กลาง พร้อมชมภาพเขียนสวยงามภายในวัด เสร็จสรรพสำหรับคนที่ชอบเดินเที่ยวตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรยากาศเก่า ๆ อย่าลืมแวะไปเที่ยว ตลาดโบราณบางพลี ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ วัดบางพลีใหญ่ใน โดยที่นี่จะมีทุกสิ่งให้ทุกท่านได้เลือกซื้อหา ไม่ว่าจะเป็นขนมไทย ของเล่นแบบไทย ๆ สมัยปู่ย่าตายาย เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ ดูแล้วชวนให้นึกถึงวัยเด็ก ยิ่งถ้าใครไปช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ก็จะได้สัมผัสกับบรรยากาศตลาดน้ำบางพลี มีพ่อค้าแม่ขายมาพายเรือร้องเรียกลูกค้า คละเคล้ากลิ่นหอมของอาหารทั้งคาวและหวานที่อยู่ในเรือ สร้างความสุขใจไปอีกรูปแบบหนึ่ง

    เที่ยวใกล้ ๆ สัมผัสบรรยากาศชุมชนชาวบ้าน พร้อมซื้อของฝากอร่อยลิ้น

    เที่ยวเมืองปากน้ำ สมุทรปราการ รับรองไม่ผิดหวัง.





    จากหนังสือพิมพ์... แนวหน้า 16 ก.ค.2550
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ชาติไทย บ้านเกิดเมืองนอน

    <CENTER>[SIZE=+1]บ้านเกิดเมืองนอน[/SIZE]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER>
    ดินแดนนี้ ขอมโบราณเคยอยู่มาก่อน เท่าที่สืบหาประวัติศาสตร์ได้ คนไทยประกอบขึ้นด้วยหลายๆเชื้อชาติ เพราะขอมข่มเหง พระเจ้าพรหมมหาราชจึงต้องขับไล่ออกไปเพื่อให้ชนหมู่มากอยู่บนผืนแผ่นดินนี้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้นไม่ต้องโดนขอมข่มเหง เอารัดเอาเปรียบ


    ก่อนจะรวบรวมเป็นอาณาจักรไทย จึงต้องรวมหลายเชื้อชาติ หลายอาณาจักรในบริเวณนี้ เช่นอาณาจักรละโว้ อาณาจักรทราราวดี อาณาจักรตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช) อาณาจักรสุโขทัย นครพริบพรี(เพชรบุรี) อาณาจักรล้านนา บางสมัยก็รวมล้านช้างเข้ามาด้วย

    จนเมื่อเสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2112 ผู้คนก็ถูกกวาดต้อนไปหงสามากจนเหลือไว้ในพระนครศรีอยุธยาเพียง 1 หมื่นคน ผู้คนถูกกวาดต้อนไปเขมรก็มากเพราะพระยาละแวกเข้ามาแอบตีเมืองบ่อยๆ

    บ้านเมืองจึงต้องรวมผู้คนเข้ามาตั้งรกรากกันใหม่ เช่นคนมอญที่ตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกลับมาประมาณ 3 หมื่นคนหลังจากพระองค์ท่านประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง คนต่างชาติหลายๆชาติเข้ามาด้วยหลายเชื้อชาติ และสายเลือดต่างๆรวมกันเป็นเอกลักษณ์ของคนแผ่นดินนี้มานาน ไม่ต่ำกว่า 440 ปีแล้ว

    เพราะแผ่นดินนี้ให้พวกเราอาศัยได้โดยไม่ต้องเป็นพลเมืองชั้นสอง สร้างบ้านบนแผ่นดินนี้บ้านนั้นก็เป็นมรดกให้ลูกหลานสืบไปได้ เพราะที่นี่เป็นถิ่นของผู้ซัดเซพเนจรมารวมกันจากคนหลายๆถิ่นมาแต่ไหนแต่ไร ทางสายธาตุว่าตอนนี้แทบจะแยกไม่ออกว่าใครเชื้อสายอะไร มันฝังในโครโมโซมเป็นโครโมโซมเดียวกันไปหมดแล้ว แล้วจะแตกแยกกันไปทำไม จะแยกเขาแยกเรากันไปทำไม

    คิดแง่ร้ายๆ แตกแยกกันมากๆอาจจะทำให้พวกเราต้องซัดเซพเนจรกันอีกครั้งก็ได้ ซัดเซพเนจรคราวนี้พวกเราต้องตกทะเลแน่ๆ เพราะเราอยู่เกือบสุดปลายแหลมทองแล้ว อันที่จริงพวกเราก็ชนเผ่าศิวิไลซ์มารวมตัวกันทั้งนั้น รวมตัวกันมาหลายศตวรรษแล้ว

    <DL><DD><DL><DD>
    บ้านเมืองเรารุ่งเรืองพร้อมอยู่ หมู่เหล่า ​
    <DD>
    พวกเราล้วนพงศ์เผ่า ศิวิไลซ์ ​
    <DD>
    เพราะฉะนั้นชวนกันยินดี ​
    <DD>
    เปรมปรีดิ์ดีใจเรียกตนว่า ไทย ​
    <DD>
    แดนดินผืนใหญ่มิใช่ทาสเขา ​
    <DD>
    ก่อนนี้มีเขตแดนนับว่ากว้างใหญ่ ​
    <DD>
    ได้ไว้พลีเลือดเนื้อแลกเอา ​
    <DD>
    รบ รบ รบ ไม่หวั่นใคร ​
    <DD>
    มอบความเป็นไทยให้พวกเรา ​
    <DD>
    แต่ครั้งนานกาลเก่า ​
    <DD>
    ชาติเราเขาเรียก ชาติไทย ​
    </DD></DL></DD></DL><DL><DD>
    บ้านเมืองควรประเทืองไว้ดั่งแต่ก่อน ​
    <DD>
    แน่นอนเนื้อและเลือดพลีไป ​
    <DD>
    เพราะฉะนั้นเราควรยินดีมีความภูมิใจ ​
    <DD>
    แดนดินถิ่นไทยรวบรวมไว้ได้แสนจะยากเข็ญ ​
    </DD></DL><DL><DD><DL><DD>
    ยากแค้นเคยกู้แดนไว้อย่างบากบั่น ​
    <DD>
    ก่อนนั้นเคยแตกฉานซ่านเซ็น ​
    <DD>
    แม้กระนั้นยังร่วมใจ ​
    <DD>
    ช่วยกันรวมไทยให้ร่มเย็น ​
    <DD>
    บัดนี้ไทยดีเด่นร่มเย็นสมสุขเรื่อยมา ​
    </DD></DL></DD></DL><DL><DD>
    อยู่กินบนแผ่นดินท้องถิ่นกว้างใหญ่ ​
    <DD>
    ชาติไทยนั้นเคยใหญ่ในบูรพา ​
    <DD>
    ทุกทุกเช้าาดู ธงไทยใจจงปรีดา ​
    <DD>
    ว่าไทยอยู่มาด้วยความผาสุกถาวรสดใส ​
    </DD></DL><DL><DD><DL><DD>
    บัดนี้ไทยเจริญวิสุทธิ์ผุดผ่อง ​
    <DD>
    พี่น้องจงแซ่ซ้องชาติไทย ​
    <DD>
    รักษาไว้ให้มั่นคง ​
    <DD>
    เทิดธงไตรรงค์ให้เด่นไกล ​
    <DD>
    ชาติเชื้อเรายิ่งใหญ่ ​
    <DD>
    ชาติไทย บ้านเกิดเมืองนอน ​
    </DD></DL></DD></DL>



    <DD>

    <DD>
    </DD>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2009
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระยาศรีไสยณรงค์

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content --><TABLE class="noprint metadata plainlinks ambox ambox-content"><TBODY><TR><TD class=mbox-image>
    </TD><TD class=mbox-text>บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
    คุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยให้งานเขียนของคุณปราศจากแหล่งอ้างอิง
    รายละเอียดเพิ่มเติม การอ้างอิงแหล่งที่มา - การพิสูจน์ยืนยันได้ - วิธีการเขียน - ป้ายนี้มีไว้เพื่ออะไร</TD></TR></TBODY></TABLE>พระยาศรีไสยณรงค์ (?-พ.ศ. 2137)เป็นข้าหลวงเดิมและทหารเอกคู่พระทัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏเดิมมี ยศเป็น พระศรีถมอรัตน์ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133ก็ทรงแต่งตั้งให้ พระศรีถมอรัตน์เป็น พระยาศรีไสยณรงค์ ต่อมาในคราวสงครามยุทธหัตถีปีพ.ศ. 2135ท่านและแม่ทัพท่านอื่นๆตามเสด็จไม่ทันพระองค์ก็ ทรงพิโรธโปรดให้ประหารชีวิต แต่สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วได้มาขอร้องเอาไว้จึงโปรดให้ไปตีเมืองมะริด, ทวายและตะนาวศรีแทน
    เมื่อพระยาศรีไสยณรงค์ตีได้เมืองตะนาวศรีจึงโปรดให้ท่านครองเมืองนี้แต่หลังจากสมเด็จพระนเรศวรทรงตีได้กรุงกัมพูชาแล้วในปีพ.ศ. 2136 พระยาศรีไสยณรงค์ก็น้อยใจพระองค์ว่าทำไมไม่ให้ท่านร่วมกองทัพไปด้วยจึงก่อการกบฏเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบจึงโปรดให้พระราชอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ ไปเจรจาและเกลี้ยกล่อมข้าหลวงเดิมท่านนี้แต่ท่านพระยาไม่ยอมพระองค์ทรงทราบก็ทรงพระพิโรธและมีพระบัญชาให้พระเอกาทศรถ(สมเด็จพระเอกาทศรถขณะที่ทรงดำรงพระอิสริยศเป็นพระมหาอุปราช) เข้าตีเมืองตะนาวศรีและจับพระยาศรีไสยณรงค์ประหารชีวิตในปีพ.ศ. 2137


    <TABLE style="CLEAR: both; BORDER-RIGHT: #90a0b0 1px solid; BORDER-TOP: #90a0b0 1px solid; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: #fcfcfc; MARGIN: 10px 0px 0px; BORDER-LEFT: #90a0b0 1px solid; WIDTH: 100%; BORDER-BOTTOM: #90a0b0 1px solid" cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=40></TD><TD style="COLOR: #696969" align=left>พระยาศรีไสยณรงค์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
    <SMALL>ข้อมูลเกี่ยวกับ พระยาศรีไสยณรงค์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ</SMALL></TD></TR></TBODY></TABLE>
    หมวดหมู่: ขุนนางไทย | บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2137 | บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
    หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิง

    ขอพักจังหวะบทความลัทธิชาตินิยมฯ สักระยะนะคะ ท่านพี่จงรักภักดี คุณไก่เหลืองหางขาว คุณFort_GORDON คุณศรัทธา พิสุทธิ์

    เพราะในใจยังคำนึงถึง ท่านพระยาศรีไสยณรงค์ ด้วยความเสียดายชีวิตของท่านพระยา จึงพูดเรื่องอื่นๆไปเรื่อยๆก่อน เพื่อใช้จังหวะนี้ระลึกถึงวีรกรรมอันหาญกล้าแต่ดั้งเดิมของท่าน จนต้องมาจบชีวิตในปี พ.ศ. 2137
     
  14. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466


    ผมอาจจะได้เคยอ่านจากบทความท่านใดได้เขียนไว้หรือไม่ก็จำไม่ได้จริงๆต้องขอโทษขออภัยกันไว้ล่วงหน้าหรืออาจจะเป็นการปะติดปะต่อจากหลายๆข้อ
    มูลของผมเอง สรุปแล้วก็คือเป็นการคาดเดาโดยใช้ข้อมูลส่วนตัวเสียเป็นส่วนใหญ่แต่เป็นข้อมูลที่เป็นเหตุเป็นผลในตัวเองครับ ท่านพระยาศรีไสยณรงค์
    ท่านน่าจะอยู่ในกลุ่มของพวกฝีมือดีในรุ่นแรกๆที่สมเด็จท่านได้สร้างและฝึกปรือขึ้นมาที่พิษณุโลก จัดว่าเป็นรุ่นอาวุโส การรบในระยะแรกๆพวกเราจะสังเกตเห็นชื่อของท่านค่อนข้างบ่อยในชื่อของพระศรีถมอรัตน์บ้าง พระยาศรีไสยณรงค์ บ้าง ครั้นเมื่อไปทำศึกแก้ต้วได้ชัยชนะจึงได้รับการปูนบำเหน์จให้
    เป็นเจ้าเมืองก่อนใครอื่น การได้เป็นเจ้าเมืองนี่ความคิดส่วนตัวผม ผมคิดว่า
    มันโก้เก๋มากทีเดียว เริ่มต้นมันก็ต้องกินเมืองเล็กก่อนแล้วจึงค่อยขยับสูงขึ้นไปในภายหน้า ข้อสำคัญน่าจะต้องเป็นการวางตัวที่ลงตัวเพื่อให้สอดคล้องกับ
    ยุทธศาสตร์สำคัญของชาติดังที่ได้เคยได้เรียนให้ทราบแล้ว ถ้าสมเด็จท่านไม่ไว้วางพระทัย พระองค์ท่านก็คงไม่ทรงแต่งตั้งและมอบหมายให้พระยาศรีไสยณรงค์คุมทัพไปแน่ พระองค์ท่านน่าจะทรงแน่พระทัยว่าพระยาศรีไสยณรงค์
    คงต้องทำงานนี้สำเร็จ เมื่อสำเร็จก็จะต้องได้รับความเชื่อถือและความเคารพยำเกรงทั้งจากฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึก พูดกันง่ายๆพระองค์ท่านทรงวางแผนให้
    พระยาศรีไสยณรงค์ไปครองเมืองตะนาวศรีอย่างผู้มีฝีมือ เพื่อจะได้เป็นรากฐานสำคัญสำหรับงานใหญ่ต่อไปข้างหน้า ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2009
  15. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466



    -เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ลูกหลานโหลนเหลนไทย น่าจะภูมิใจกันนะครับ ถ้าพระเจ้าสินจงฮ่องเต้ท่านยอมรับข้อเสนอของประเทศสยามหรือศรีอยุธยาในสมัยนั้น
    อะไรจะเกิดขึ้นครับ จะต้องมียุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่ระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพเรือหรือสลัดญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์ก็จะต้องพลิกโฉมไปเป็นรูปแบบอื่นคาดเดากันไม่ถูกทีเดียว
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เรื่องน่าคิดเกี่ยวกับกองเรือสยามสมัยพระนเรศวรมหาราช

    อ่านความเห็นท่านพี่จงรักภักดี แล้วก็พบว่ามีข้อมูลสนับสนุนควาคิดเห็นของท่านพี่จงรักภักดีด้วยค่ะว่า เมืองตะนาวศรีมีความสำคัญพอๆกับนครศรีธรรมราช บังเอิญเจอความเห็นนี้ค่ะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เจอกระทู้หนึ่งกล่าวถึงเรื่องกองเรือแห่งกองทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีความเห็นไว้ดังนี้

    <O:p</O:p
    1..ช่วงเวลาก่อนหน้าที่พระนเรศวรจะทรง ส่งพระราชสาส์น ไปช่วยเหลือจักรพรรดิ์หมิง นั้น ญี่ปุ่น กำลัง ทำสงครามกับ จีน(ราชวงศ์หมิง) และ เกาหลี (ราชวงศ์โชซอน ) อยู่ครับ<O:p</O:p
    เหตุการณ์ตอนนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นยึดได้เมืองเปียงยาง ก็ กรุงเปียงยางเมืองหลวงของเกาหลีเหนือปัจจุบันนี่หละครับ แต่ ญี่ปุ่นกำลังประสพปัญหา คือขาดแคลนเสบียง และ กำลังพลหนุนอย่างรุนแรง ทหารป่วยตาย และ ขาดอาหารตายอย่างหนัก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2.. ระยะเวลาที่พระนเรศวรทรงส่งพระราชสาส์นไป คือราว ๆ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๑๓๕ (ค.ศ.1592) แต่พอถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๑๓๖(ค.ศ.1593) ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยเพราะมีการพระราชสงครามกับพม่าแทนซึ่งตรงกับ สงครามคราวศึกยุทธหัตถี ครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การศึกสงครามยุทธหัตถีตรงกับ 18 มกราคม 2135 สมเด็จฯท่านชนะการศึกสงครามยุทธหัตถีแล้วจึงได้ส่งราชสาส์นไปจีนว่าจะขออาสาไปปราบญี่ปุ่นแต่พระเจ้าสินจงฮ่องเต้มิทรงยอมมิฉะนั้นสมเด็จฯท่านจะต้องทรงดังเปรี้ยงปร้างที่สุดในบรรดาพระมหากษัตริย์ในเอเซียเวลานั้นเป็นแน่ (เพราะถือว่าเป็นการทำศึกสงครามระยะไกล ต้องอดทนมาก ต้องเตรียมพร้อมมากกว่ารบทางบกและต้องเก่งมากด้วย)...ทางสายธาตุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3.. จาก จดหมายเหตุราชวงศ์หมิง ( หมิงสือลู่ ) ได้กล่าวไว้ว่า ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ก็ทรงเตรียมกองทัพเรือขนาดใหญ่ที่เมืองตะนาวศรี และ นครศรีรรมราช เพื่อที่จะยกไปโจมตีมะละกา ที่แข็งเมืองครับ
    <O:p</O:p
    <O:p
    เห็นถึงความสำคัญของตะนาวศรีแล้วค่ะพระยาศรีไสยณรงค์ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นอย่างมากที่ได้คุมเมืองตะนาวศรีอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางทะเลที่สำคัญมากเมืองหนึ่ง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อ่านอีกความเห็นหนึ่งในกระทู้เดียวกันมีพูดถึงท่านพระยาศรีไสยณรงค์ไว้ด้วยค่ะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.. การใช้เรือในสยาม ส่วนใหญ่จะใช้ไปเพื่อการพานิชย์กรรมเป็นหลัก คือการค้าขายไม่ได้เน้นไปที่การสงครามและเรือส่วนใหญ่ที่ใช้ออกทะเลนั้น ก็คือเรือสำเภาแบบจีน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เนื่องด้วยพ่อค้าจีนเป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจด้านทางเรือไว้อย่างน้อยก็ 60 % ของการค้าทั้งหมด<O:p</O:p
    ส่วนพ่อค้าชนชาติอื่น ๆ ที่ใช้เรือติดต่อกับสยามอยุธยา ก็เช่นริวกิว (ไม่ได้รวมกับญี่ปุ่นนะครับ ตอนนั้นมีอาณาจักรของตัวเองอยู่ที่เกาะโอกินาว่า) , ญี่ปุ่น , โปรตุเกส, ฮอลแลนด์ ,อังกฤษ , สเปน , เปอร์เซียฯลฯ

    <O:p</O:p2.. การติดต่อการค้าของสยามนั้น เรามุ่งเน้นความสนใจ ไปที่อาณาบริเวณที่เป็นเมืองท่าเสียมากกว่า ที่เราจะต่อกองเรือเสียเอง<O:p</O:p
    เช่นเมือง ทวาย , มะริด , ตะนาวศรี (ทั้งหมดอยู่พม่า) , ปะตานี ,พุธไธมาศ (กัมพูชา)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    โดยเฉพาะ เมือง ตะนาวศรี นั้นถือว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญมากหัวเมืองหนึ่ง เพราะ บรรดากองเรือจาก ยุโรป , อินเดียและ ตะวันออกกลาง<O:p</O:p
    จะมาขึ้นพัก และ ขนถ่ายสินค้า ที่เมืองนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในยุคสมัยอยุธยานั้น ให้ความสำคัญกับ หัวเมืองของพม่าเหล่านี้มากดังจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ สมัยพระไชยราชา ลงมา สยามอยุธยาจะพยายามครอบครองหัวเมืองเหล่านี้ไว้ตลอดโดยไม่สนใจการแผ่ขยายอิทธิพลไปนอกเหนือเขตที่ว่านี้เลย
    <O:p</O:p
    ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรฯ เอง ก็ทรง ส่งแม่ทัพที่ไว้วางพระทัยที่สุดคนหนึ่ง คือพระยาศรีไสยณรงค์ ไปคุมเมืองแต่เนื่องจากความไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่นี้ จึงทำให้ ท่านพระยาฯต้องก่อเหตุการกบฏในภายหลัง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3.. การส่งราชฑูตไปเจริญพระราชไมตรี นั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีเรือไปเองครับ
    <O:p</O:p
    อย่างเช่น กรณีของ ออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน)ท่านก็เดินทางไปฝรั่งเศสด้วยเรือของฝรั่งเศสเองครับ หาใช่ว่าอยุธยาจะต่อกองเรือเองเสียเมื่อไรและ ราชฑูตคณะก่อนหน้าท่านโกษาปานก็ล้วนแล้วแต่เดินทางด้วยเรือต่างชาติหมดทุกคณะครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดังนั้น เรื่อง พระราชสาส์น ไปยังเมืองมะนิลา นั้น โดยส่วนตัวคิดว่า ฑูตจากสยามน่าที่จะลงเรือสเปนไปเสียมากกว่าครับ และ ในพงศาวดารฉบับของวันวลิต ก็บอกว่า พ่อค้าชาวสเปนเอง ก็มีคดีในอยุธยา จนถึง กับจับถ่วงน้ำ เหมือนกันครับ<O:p
    <O:p</O:p

    เรือเดินสมุทรนั้น อยุธยาคงไม่ได้ต่อเอง คิดว่าจ้างอู่ต่อเรือจีนต่อให้มากกว่า เพราะที่จีนมีอู่ต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่มากอยู่ที่ นานกิงต่อเรือได้รวดเร็วและทีละหลายๆลำ ส่วนราชทูตไทยจะนั่งเรือสเปนหรือเรือพาณิชย์จีนไปมะนิลาก็เป็นได้ทั้งสองกรณี สมัยขุนนางจีนชื่อเจิ้งเหอก็เคยเดินเรือไปถึงทวีปอัฟริกาและอเมริกามาแล้ว การเดินเรือไปมะนิลาก็น่าจะอยู่ในวิสัยที่กองเรือพาณิชย์ของชาวจีนในเมืองไทยจะไปถึงนะคะ...ทางสายธาตุ

    อ้างอิงจาก<O:p</O:p
    http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=6628&language=1&PHPSESSID=95cd8219a82bbd04bf4b90c447de6521<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2009
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทางสายธาตุคาดเองคร่าวๆว่า สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยาคงจะทรงสิ้นพระชนม์ในช่วงระหว่างปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2135 จนถึงตุลาคม พ.ศ. 2135 คร่าวๆนะคะว่าเป็นช่วงนี้ เพราะสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงทุ่มเทให้กับการศึกแบบไม่ทรงพักเลย เหมือนกับการทุ่มเทให้กับการทำงานหนักทำนองนั้น เพื่อให้คลายความเศร้าโศกในพระทัยอันเกิดจากการสูญเสียพระพี่นางเธอองค์เดียวของพระองค์ไปค่ะ
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วรรณกรรมของชาวต่างชาติเกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    นำส่วนที่เกี่ยวกับการติดต่อการค้าระหว่างกรุงศรีอยุธยากับสเปนในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาให้อ่านกันค่ะ

    วรรณกรรมของชาวต่างชาติเกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


    Posted by kingkaoz , ผู้อ่าน : 354 , 12:19:33 น.
    หมวด : ศิลปะ/วัฒนธรรม
    [​IMG] พิมพ์หน้านี้

    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>โดย รศ.ดร.ประจักษ์ สายแสง, ดร.ทิวารักษ์เสรีภาพ


    ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการติดต่อสัมพันธไมตรีกับชาวต่างประเทศ มีอยู่มากมายทีเดียวครับ ไม่ว่าจะเป็นประเทศทางแถบซีกโลกตะวันตก คือทางยุโรป หรือทางแถบซีกโลกตะวันออก คือในทวีปเอเชียด้วยกัน มีหลักฐานอยู่
    <SHAPETYPE class=inlineimg id=_x0000_t75 title="Tongue out" alt="" border="0" src="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" o:p
    <STROKE joinstyle="miter" /><FORMULAS><F eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0" /><F eqn="sum @0 1 0" /><F eqn="sum 0 0 @1" /><F eqn="prod @2 1 2" /><F eqn="prod @3 21600 pixelWidth" /><F eqn="prod @3 21600 pixelHeight" /><F eqn="sum @0 0 1" /><F eqn="prod @6 1 2" /><F eqn="prod @7 21600 pixelWidth" /><F eqn="sum @8 21600 0" /><F eqn="prod @7 21600 pixelHeight" /><F eqn="sum @10 21600 0" /></FORMULAS>
    <LOCK v:ext="edit" aspectratio="t" /></SHAPETYPE><SHAPE id=_x0000_s1026 style="MARGIN-TOP: 0px; Z-INDEX: 1; MARGIN-LEFT: 125.75pt; WIDTH: 165.75pt; POSITION: absolute; HEIGHT: 97.5pt; mso-wrap-distance-left: 15pt; mso-wrap-distance-top: 15pt; mso-wrap-distance-right: 15pt; mso-wrap-distance-bottom: 15pt; mso-position-horizontal: right; mso-position-horizontal-relative: text; mso-position-vertical-relative: line" o:allowoverlap="f" type="#_x0000_t75"><IMAGEDATA src="file:///C:\DOCUME~1\MICROS~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.jpg" o:href="http://www.thai-folksy.com/Image/Oths/Thai/Ayutya/sd02.jpg" /><WRAP type="square" /></SHAPE>
    หลักฐานแรกที่เป็นวรรณกรรมที่จะได้นำมานำเสนอในที่นี้ เป็นหลักฐานของชาวตะวันตกที่ได้บันทึกเอาไว้ เป็นเรื่องในรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผมได้เอกสารนี้นะฮะ ของคุณธีรวัฒน์ ณ ป้อมเพชร ได้เขียนเอาไว้ เรื่องนี้เขาเขียนเอาไว้เมื่อประมาณพุทธศักราช 2539 มีพิมพ์ไว้ในยุคนั้น

    จากงานของคุณธีรวัฒน์ ณ ป้อมเพชร เขาก็ได้นำเสนอไว้ว่า เอกสารภาษาตะวันตกที่สำคัญที่สุด ที่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ รัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตามทัศนะของคุณธีรวัฒน์ เขาบอกว่า มีอยู่ 2 เอกสารคือ เอกสารของชาวสเปน กับเอกสารของชาวฮอลันดา โดยที่กล่าวว่าชน 2 ชาตินี้ คือสเปนกับฮอลันดานี่ ได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยเป็นครั้งแรกในรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรื่องนี้นั้นเราไม่ค่อยจะทราบกันเท่าไรนัก เพราะว่าเรื่องเกี่ยวกับในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรามักจะทราบแต่เรื่องของการสงคราม เรามักจะทราบอย่างนั้นเป็นส่วนใหญ่ ในเรื่องการค้าขายเราไม่ค่อยจะทราบเท่าไรนัก แต่จากเอกสารของชาวสเปนและชาวฮอลันดา กล่าวถึงการค้าขายที่มีในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ในเอกสารนั้นก็กล่าวว่า ชาวสเปนได้เดินทางมาจากกรุงมะนิลา สมัยก่อนมะนิลาก็ฟิลิปปินส์นี่นะครับ เข้ามาติดต่อค้าขายอย่างเป็นทางการครั้งแรกในคริสตศักราช 1598 ก็ตรงกับพระพุทธศักราช 2141 นะครับ พวกสเปนเข้ามาติดต่อในพระพุทธศักราช 2141 ส่วนชาวฮอลันดานั้นเข้ามาเป็นครั้งแรกในคริสตศักราช 1604 ก็ตรงกับพระพุทธศักราช 2147 ซึ่งเป็นช่วงปลายของรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้วละครับ เขาเข้ามาติดต่อ เนี่ยสองชาติเนี๊ยเข้ามาโดยที่สเปนเข้ามาใน พุทธศักราช 2141 ส่วนฮอลันดาเข้ามาในพุทธศักราช 2147

    เมื่อคริสตศักราช 1598 นี่นะครับ ซึ่งตรงกับพระพุทธศักราช 2141 ข้าหลวงใหญ่สเปนที่กรุงมะนิลา ชื่อว่า ดอน ฟรานซิสโก เทลโล ข้าหลวงใหญ่ข้าหลวงดอน ฟรานซิสโก เทลโล ซึ่งอยู่ที่กรุงมะนิลา ได้ส่งนายฮวน เทลโล เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา นายฮวน เทลลโล นี่ถ้าไปอ่านไม่ใช่ภาษาสเปนก็จะอ่านเป็นจวนไปนะ แต่เสียง /จ/, /j/ ภาษาสเปนออกเสียงเป็น /ฮ/, /h/ เหมือนดอน ฮวน ถ้าอ่านพลาดไปเป็นดอนจวนก็ลำบาก เหมือนกับคำว่ากัญชา คำว่า มาลีฮวนน่า ถ้าอ่านผิดก็จะเป็นมาลีจวนน่าไปเลยนะ


    นายฮวน เทลโล ได้เดินทางจากกรุงมะนิลาเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา เหตุผลที่เข้ามานี่ ก็เนื่องจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงส่งพระราชสาส์นไปถึงข้าหลวงใหญ่แห่งกรุงมะนิลา แสดงความสนพระทัยค้าขายกับสเปน

    อันนี้พอฟังแล้วต้องคิดกันทีเดียวเลยนะครับ ว่าชาวสเปนเนี่ย ที่เขาส่งนายฮวน เทลโลเข้ามา ก็เพราะสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงส่งพระราชสาส์นไปถึงข้าหลวงใหญ่แห่งกรุงมะนิลาก่อน แสดงความสนพระทัยว่าจะค้าขายกับสเปน

    <SHAPE id=_x0000_s1027 style="MARGIN-TOP: 0px; Z-INDEX: 2; MARGIN-LEFT: 0px; WIDTH: 156pt; POSITION: absolute; HEIGHT: 87pt; mso-wrap-distance-left: 15pt; mso-wrap-distance-top: 15pt; mso-wrap-distance-right: 15pt; mso-wrap-distance-bottom: 15pt; mso-position-horizontal: left; mso-position-horizontal-relative: text; mso-position-vertical-relative: line" o:allowoverlap="f" type="#_x0000_t75"><IMAGEDATA src="file:///C:\DOCUME~1\MICROS~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image003.jpg" o:href="http://www.thai-folksy.com/Image/Oths/Thai/Ayutya/sd05.jpg" /><WRAP type="square" /></SHAPE>ถ้าพูดอย่างนี้มองเห็นชัดเลยว่า จะติดต่อสื่อสาร ส่งพระราชสาส์นไปถึงนายดอน ฟรานซิสโก เทลโล ส่งไปประการใด ก็ต้องส่งไปทางเรือ สมัยก่อนจะไปทางทางอื่นไม่ได้หรอก ฟิลิปปินส์ กรุงมะนิลาเนี่ยต้องไปทางเรือ ถ้าไปทางเรื่อ เป็นเรือของใคร ในเมื่อตอนนั้นเรายังไม่ได้ติดต่อกับสเปน ดังนั้นก็ต้องเป็นเรือของไทย แสดงถึงว่าเรือของไทยน่ะเดินอยู่ทั่วไปจนถึง มะนิลา เดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปมะนิลา เราต้องมีทัพเรือที่ดีทีเดียว มีกองเรือที่ใหญ่ ไม่เช่นนั้นจะเดินทางไกลถึงขนาดนี้ไม่ได้ จากนัยนี้แสดงให้เห็นถึงแสนยานุภาพของกองเรือของไทยนะครับ จากข้อความแค่นี้มองเห็นชัดเลยว่า ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรามีกองเรือขนาดใหญ่เดินทางไปถึงกรุงมะนิลาได้ด้วย พระองค์ถึงได้ส่งพระราชสาส์นไปถึงนายดอน ฟรานซิสโก เทลโล แสดงความสนพระทัยจะค้าขาย

    ก็เป็นอันว่าฝ่ายไทยเป็นฝ่ายริเริ่มการติดต่อกับสเปนก่อน นโยบายการค้าในยุคนั้นเป็นนโยบายรุกนะครับ ไม่ใช่รับนะครับ จะค้าขายนี่ติดต่อไปยังสเปน ซึ่งขณะนั้นเค้าครอบครองฟิลิปปินส์อยู่ก็เลยไปที่กรุงมะนิลา

    รายละเอียดปรากฏในจดหมายของนายดอน ฟรานซิสโก เทลโล ซึ่งส่งไปถวายพระเจ้าฟิลลิปที่ 3 แห่งสเปน คนของเขาเองคือข้าหลวงใหญ่ประจำกรุงมะนิลานี่ จะพูดไปก็เป็นพระราชสาส์นที่ส่งไป ไม่ใช่พระราชสาส์นซิ ขอโทษ เป็นคล้าย ๆ หนังสือรายงานเนี่ยนะครับ ส่งไปถวายพระเจ้าฟิลลิปที่ 3 ที่สเปน

    ในจดหมายนั้นมีรายละเอียดว่า นายดอน ฟรานซิสโก เทลโล ได้รับพระราชสาส์นจากพระเจ้ากรุงสยาม คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในพระราชสาส์นนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีพระประสงค์ที่จะดำเนินการพาณิชย์ค้าขายกับหมู่เกาะฟิลิปปินส์ พระราชสาส์นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่มีไปเป็นอย่างนั้น นายดอน ฟรานซิสโก เทลโล ก็กราบทูลพระเจ้าฟิลลิปที่ 3 ว่า หลังจากได้รับพระราชสาส์นจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว นายดอน ฟรานซิสโก เทลโล ก็แต่งตั้งให้นายฮวน เทลโล พร้อมกับคณะทูต เดินทางจากกรุงมะนิลาไปกรุงศรีอยุธยา ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้ากรุงสยามนะครับ แล้วหลังจากนั้นก็เป็นการไปกราบทูลต่อพระราชสาส์น โดยที่ได้กล่าวถึงความนิยมชมชื่นอย่างใหญ่หลวงเลยทีเดียวครับว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น ทรงมีพระราชไมตรีที่แสดงต่อข้าหลวง แล้วก็ชาวสเปนทั้งหลายอย่างดียิ่งเลย แล้วจากนั้นก็ได้มีความนิยมในพระราชปรารถนาที่จะค้าขายกับชาวสเปน ทรงเห็นว่า ไม่ใช่ทรงเห็นประทานโทษ นายดอน ฟรานซิสโก เทลโล เห็นว่าพระวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นกว้างไกลเหลือครับ ในการที่จะค้าขายกับสเปน แล้วทรงติดต่อกับสเปนก่อนด้วย ไม่ใช่สเปนมาติดต่อ

    กัปตันฮวน เทลโล ได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา แล้วเมื่อ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนเศวรมหาราชแล้ว เขาก็ได้ทำข้อตกลงโดยเสนอแนะทางกรุงศรีอยุธยาว่า ควรจะเปิดเมืองท่าเมืองใดเมืองหนึ่งสำหรับการค้า เพื่อให้ชาวสเปนตั้งอยู่ที่นั่น ทำเป็นศูนย์การค้าที่นั่น ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นั่นโดยอิสระ และขอยกเว้นภาษี ไม่ต้องเสียภาษีให้แก่ราชอาณาจักรสยาม ไม่ต้องเสียภาษีให้แก่กรุงศรีอยุธยา
    นี่ก็เป็นการติดต่อระหว่างไทยกับสเปน ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็เป็นเรื่องของการค้า ถ้าดูเผิน ๆ นะจะเป็นเรื่องของการค้า แต่ถ้าจะดูลึกๆ แล้วเนี่ยนะครับ ก็น่าจะเป็นเรื่องทางการต่างประเทศด้วย คือนอกจากไทยจะค้าขายกับสเปนแล้วเนี่ย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยังทรงมีพระราชประสงค์ที่จะไม่ให้สเปนช่วยเหลือเขมรในการทำสงครามกับสยาม เพราะในช่วงนั้นเขมรมีสัมพันธไมตรีกับสเปนเป็นอย่างดีนะครับ สเปนได้เข้ามาติดต่อกับเขมร มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันอยู่ เพื่อไม่ให้สเปนเข้าไปช่วยเหลือเขมรในการทำสงคราม สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็เลยทรงติดต่อกับสเปนเสียก่อน เพื่อที่จะค้าขายกัน เป็นการให้สเปนนั้นระงับความช่วยเหลือทางการสงครามแก่เขมร นี่ก็เป็นวิเทโศบายเป็นเรื่องลึก ๆ ที่อยู่ในการค้าขายในครั้ง

    นี่ก็เป็นเรื่องการติดต่อกับชาวต่างประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นการติดต่อระหว่างสเปนกับกรุงศรีอยุธยาในเรื่องของการค้า แต่ลึกๆ มีเรื่องของทางวิเทโศบายหรือนโยบายต่างประเทศอยู่ด้วย ก็เป็นเรื่องของสเปน


    ทางสายธาตุอ่านบทความนี้แล้วก็ให้ลงความเห็นว่าราชสาส์นไปกับเรือเดินสมุทรของพ่อค้าจีนมากกว่าเรือของสเปนเพราะไทยเป็นฝ่ายเริ่มเปิดการค้ากันครั้งแรกกับสเปน

    เวปไซด์ กำลังหน่วงเพราะอะไรไม่ทราบ คงต้องรอๆกันไป ให้เวปไซด์กลับมาเร็วเป็นปกตินะคะ




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2009
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วรรณกรรมของชาวต่างชาติเกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรื่องเกี่ยวกับฮอลันดา

    เนตเร็วขึ้นหน่อยแล้วค่ะ จึงเอาฮอลันดามาลงด้วยนะคะ จะได้สองประเทศฝรั่งชาติตะวันตกเข้ามาในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    มีอีกชาติเป็นชาวเปอร์เซียเข้ามากรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปลายแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรเช่นกัน นั่นคือ เฉกอะหมัด ซึ่งภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็น จุฬาราชมนตรี ตำแหน่งกรมท่าขวา ดูแลกิจการค้าที่เกี่ยวข้องกับคนชาติตะวันตกที่มาติดต่อกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด ทั้งจุฬาราชมนตรี (กรมท่าขวา) และ โชฎึกราชเศรษฐี (กรมท่าซ้าย ดูแลการค้าที่เกี่ยวข้องกับชาติตะวันออกที่มาติดต่อการค้ากับกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด) ขึ้นอยู่กับ พระยาพระคลัง(โกษาธิบดี) ทั้งสองกรม

    วรรณกรรมของชาวต่างชาติเกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


    Posted by kingkaoz , ผู้อ่าน : 354 , 12:19:33 น.
    หมวด : ศิลปะ/วัฒนธรรม
    [​IMG] พิมพ์หน้านี้

    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>โดย รศ.ดร.ประจักษ์ สายแสง, ดร.ทิวารักษ์เสรีภาพ (ต่อ)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คราวนี้อีกเรื่องหนึ่งก็เป็นเรื่องของชาวฮอลันดาที่ได้เข้ามามีสัมพันธไมตรีด้วยกับไทย ก็เนื่องจากไทยเนี่ยมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับจีน ทางฮอลันดาจึงหวังที่จะอาศัยสำเภาของไทยไปค้าขายกับจีน ฟังดูแล้วน่าคิดมากนะครับในเรื่องนี้ แสดงว่าสำเภาไทยเนี่ย กองเรือไทยเนี่ยเข้มแข็งมากในยุคนั้น คงจะมีจำนวนมากทีเดียว บอกว่าไทยมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับจีน ทางฮอลันดาจึงอาศัยสำเภาของไทยไปค้าขายกับจีน


    ก็มีหนังสือเล่มหนึ่ง ผมเคยเห็นหนังสือเล่มนี้เมื่อสมัยผมเรียนอยู่เมื่อปี ค.ศ.1975 เนี่ยนะครับ พ.ศ.2517 ประมาณนั้นครับ เคยเห็นหนังสือเล่มนี้เขียนเป็นภาษาดัตช์ เห็นจะชื่อ Cort Verhaal van't Naturel Sijude der Volbracher Tijt , en de Successie der Coningen van Siam Voo Soo Veel Daar Bij D'oude Historien Bekent Zijn หนังสือเล่มนี้ชื่ออย่างนี้ มันเป็นภาษาฮอลันดาครับ เป็นภาษาดัทช์เนี่ย ก็มีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยใช้ชื่อเรียกว่า The Short Story of the King of Siam ซึ่งชื่อเรื่องนี้ คนที่เขียนเป็นพ่อค้าชาวฮอลันดาชื่อ Jeremias van Vliet มีคนแปลเป็นภาษาไทยด้วย แปลเป็นภาษาไทย และก็ดูเหมือนจะแปลเมื่อประมาณ พ.ศ.2523 คนแปลชื่อ วนาศรี สารเสน นะครับ ได้แปลเรื่องนี้มา ให้ชื่อเรื่องว่า พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ วานวลิต พุทธศักราช 2182 ใช้อย่างนั้นนะครับผม เขียนเอาไว้เนี่ย


    จากพงศาวดารฉบับวานวลิตของฮอลันดา ผมจะขอใช้ชื่ออย่างนี้นะครับ ได้กล่าวถึงการติดต่อระหว่างกรุงศรีอยุธยากับชาวฮอลันดา โดยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น ในนั้นนะครับ ในนั้นกล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนิยมชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวฮอลันดา นี่ชาวฮอลันดาเขียนเองก็คงต้องเขียนอย่างนี้ ว่าพระองค์ทรงนิยมชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวฮอลันดา แล้วก็กล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์แรกที่ส่งทูตและพระราชสาส์นไปถวายเจ้าชายมอริสแห่งราชวงศ์ออเรนจ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ แสดงถึงว่าในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเนี่ย พระองค์ทรงส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเนเธอร์แลนด์ โดยส่งทูตและนำพระราชสาส์นไปถวายเจ้าชายมอริส แห่งราชวงศ์ออเรนจ์


    นี่จากจดหมายเหตุของชาวฮอลันดาบันทึกเอาไว้ว่าอย่างนี้นะครับ เรามีเวลาก็จะกล่าวถึงตรงนี้ พอถึงตรงนี้ก็ต้องทราบว่ากองทัพเรือของไทยนั้นมีมากมาย มีสำเภาขนาดใหญ่พอที่จะค้าขายไปได้ถึงยุโรป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนะครับ ที่ทรงมีสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อน เราส่งทูตไปยุโรปมาก่อนในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นี่จากเอกสารของชาวฮอลันดากล่าวอย่างนั้น


    ความสัมพันธ์ ไทย จีน คงจะเริ่มตั้งแต่สมัยต้นเริ่มสร้างกรุงศรีอยุธยา ที่ขุนนางจีน เจิ้งเหอ เดินเรือสมุทรเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี จนมาซบเซาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 1 ภายหลังในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงมีคนจีนอีกกลุ่มหนึ่งเดินทางเข้ามา การเข้ามาของคนจีนในสมัยสมเด็จพระนเรศวรนั้นจะเป็นคนมีตำแหน่งทางราชการ มีความรู้ มาทำการค้า มารับราชการ เสียเป็นส่วนมาก เพราะเรือเดินสมุทรนั้นไม่ได้มีให้สามัญชนทั่วไปใช้ การใช้เรือเดินสมุทรนั้นยังอยู่ในควบคุมของราชสำนักบ้าง ขุนนางชั้นสูงบ้าง ผู้ที่เข้ามาในกรุงศรีฯในรัชสมัยของพระองค์จึงเป็นผู้มีฐานะทางสังคม ซึ่งจะเดินทางเข้ามาพร้อมกับผู้ติดตามจำนวนมาก เพราะเข้ามาเพื่อประกอบการค้า จะต้องมีไต้ก๋ง คนเรือ ต่อลำเป็นสิบๆคน มีเรือร่วมร้อยลำ คนเรือก็ต้องติดตามมาด้วยเป็นร้อยคน คนคุมท่าเรือสินค้า คุมโกดัง คุมท่าเรือที่ไปทำการค้าทั่วทั้งย่านนี้ จำนวนคนที่ติดตามเข้ามาแล้วกระจายไปตามหัวเมืองท่าสำคัญๆจึงมีหลักพันคนเป็นอย่างน้อย


    ตามความเชื่อที่ว่าเจ้าขรัวมณีจันทร์เป็นเชื้อพระวงศ์จีนและเข้ามาอยู่ในสยามพร้อมกับพระบิดาและเชษฐาของพระนาง การมีกองเรือสำเภาขนาดใหญ่ก็มีความเป็นไปได้ เพราะครอบครัวนี้มั่งคั่งยิ่งมาตั้งแต่อยู่กรุงจีน ถ้าจะกล่าวถึงเรื่องเชื้อพระวงศ์จีนที่อพยพมาไทย ในรุ่นหลังจะปรากฎมีจดบันทึกไว้ คือองค์ชาย 2 แห่งราชวงศ์ชิง เข้ามาอาศัยร่มโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ จักรี และการเข้ามาของเชื้อสายราชวงศ์จีนมาอาศัยในไทยนี้ องค์ชาย 2 มิได้เป็นพระองค์แรก... ทางสายธาตุ
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วรรณกรรมของชาวต่างชาติเกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรื่องเกี่ยวกับกรุงจีน

    เกี่ยวกับพระราชไมตรีระหว่างกรุงจีนกับกรุงสยาม ตรงนี้เราอ่านกันไปแล้ว

    เอามาลงไว้เพื่อให้เนื้อหาต่อเนื่องค่ะ


    Posted by kingkaoz , ผู้อ่าน : 354 , 12:19:33 น.
    หมวด : ศิลปะ/วัฒนธรรม
    [​IMG] พิมพ์หน้านี้


    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>โดย รศ.ดร.ประจักษ์ สายแสง, ดร.ทิวารักษ์เสรีภาพ (ต่อ)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คราวนี้มาดูเอกสารทางตะวันออกบ้าง แล้วค่อยย้อนมาทางตะวันตกบางเรื่องที่มีวรรณกรรมเกี่ยวข้อง ดูเอกสารทางตะวันออก เอกสารนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของกรุงศรีอยุธยากับจีน ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ที่ทำการค้นคว้าเรื่องนี้ก็คือ คุณประพฤติ กุศลรัตนเมธี เขียนเรื่องนี้ขึ้นเมื่อพระพุทธศักราช 2539 ผ่านมายังไม่ครบ 10 ปี หรอกครับ<SHAPE id=_x0000_s1028 style="MARGIN-TOP: 0px; Z-INDEX: 3; MARGIN-LEFT: 117.5pt; WIDTH: 157.5pt; POSITION: absolute; HEIGHT: 92.25pt; mso-wrap-distance-left: 15pt; mso-wrap-distance-top: 15pt; mso-wrap-distance-right: 15pt; mso-wrap-distance-bottom: 15pt; mso-position-horizontal: right; mso-position-horizontal-relative: text; mso-position-vertical-relative: line" type="#_x0000_t75" o:allowoverlap="f">

    <IMAGEDATA src="file:///C:\DOCUME~1\MICROS~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image005.jpg" o:href="http://www.thai-folksy.com/Image/Oths/Thai/Ayutya/sd03.jpg" /><WRAP type="square" /></SHAPE>
    ในนั้นกล่าวว่า ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น ตรงกับสมัยราชวงศ์หมิง ในศกว่ายลี่ (ศักราชว่ายลี่ แห่งรัชกาลจักรพรรดิเสินจง) ซึ่งก็อยู่ประมาณคริสตศักราช 1573 นี่ก็ตรงกับพระพุทธศักราชใกล้ ๆ เคียงกันน่ะ ลองๆ ตรวจเช็คดูว่าเท่าไหร่นะ เพราะว่าศักราชของจีนที่ชื่อว่าศกว่ายลี่เนี่ย มันเป็นศักราชที่จักรพรรดิตั้งขึ้นเอง คือจักรพรรดิองค์ไหนเสด็จขึ้นก็ตั้งเป็นศักราชนั้นขึ้นเป็นศักราชของพระองค์ เพราะฉะนั้นผมจึงไม่กล้าที่เทียบอะไรสักเท่าไหร่ในตอนนี้


    แต่เอกสารโบราณคดีจีนได้บันทึกเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์หมิงกับกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชบันทึกเอาไว้ มีเรื่องสำคัญอยู่หลายเรื่อง แล้วก็เรื่องหนึ่งก็คือ พันธมิตรทางการทหารระหว่างไทยกับจีน นี่นอกเหนือจากการค้านะครับ ก็เป็นเรื่องพันธมิตรทางการทหารระหว่างไทยกับจีน เราไม่ค่อยจะทราบเรื่องนี้เท่าไรนัก คือในช่วงเวลาที่กล่าวถึงเนี่ย ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งตรงกับจักรพรรดิเสินจงแห่งราชวงศ์หมิงเนี่ยนะครับ


    ช่วงนั้นเนี่ย ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับราชวงศ์หมิงดำเนินไปอย่างดี ในประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงฉบับหลวงในบรรพที่ว่าด้วย "สยาม" มีข้อบันทึกเอาไว้ อันนี้ผมขออนุญาตถ่ายทอดจากของคุณประพฤติ สุคนธ์รัตนเมธี นะครับ เพราะผมไม่ได้เห็นฉบับจริงแต่ประการใด ไม่เหมือนกับของฮอลันดาเมื่อสักครู่ อันนี้เห็นฉบับจริงอยู่ แล้วเพื่อนก็ช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ในตอนที่ยังไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย แต่ของจีนไม่เคยเห็น ในนี้ก็เขียนไว้ว่า ในปีที่ 6 แห่งรัชศกว่ายลี่ ก็ประมาณพุทธศักราช 2121 กรุงศรีอยุธยาได้ส่งราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการแก่จักรพรรดิเสินจง


    ในปีที่ 20 ก็อยู่ประมาณคริสตศักราช 1592 หรือพุทธศักราช 2135 ได้เกิดเรื่องขึ้น นั่นคือ ญี่ปุ่นได้เข้าตีเกาหลีจนแตก อันนี้เป็นเหตุการณ์การรบกัน ญี่ปุ่นได้เข้าตีเกาหลี เกาหลีแตก สยามอาสาขอยกทัพไปตีญี่ปุ่นโดยตรง ข้อความนี้จากจดหมายเหตุจีนนะครับ นั่นคือในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กรุงศรีอยุธยาได้อาสาขอยกทัพไปตีญี่ปุ่นโดยตรง เพื่อเป็นการกดดันญี่ปุ่นทางแนวหลัง เรื่องนี้บันทึกไว้อย่างนี้


    สือซิงซึ่งตอนนั้นเป็นเสนาในส่วนกลางของจีนเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ คิดว่าเหมาะละที่กองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะยกไปตีญี่ปุ่นโดยตรง แต่ที่เห็นด้วยเนี่ยก็มีคนไม่เห็นด้วยเหมือนกันคือ เซียวเอี้ยน เซียวเอี้ยนเนี่ยตอนนั้นเป็นผู้บัญชาการทหารมณฑลกวางตุ้ง ได้ค้านเรื่องนี้ ไม่เห็นควรที่จะให้กองทัพเรือของสยามเข้าไปตีญี่ปุ่น จะเป็นเหตุผลที่ว่าถ้าหากให้กองทัพเรือของสยามเข้าไปตีญี่ปุ่นแล้วได้ชัยชนะ การยุทธทางทะเลทั้งหมดจะอยู่ในมือของสยาม เพราะฉะนั้นก็เลยคัดค้านเสีย เซียวเอี้ยนก็คัดค้าน เซียวเอี้ยนเป็นผู้บัญชาการทหารกวางตุ้ง พอเซียวเอี้ยนคัดค้านจักรพรรดิเสินจงก็เห็นด้วย ก็เลยไม่มีการยุทธครั้งนี้เกิดขึ้น

    ถ้าพระเจ้าเสินจงทรงยินยอมให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปช่วยกันปราบญี่ปุ่น จีนก็จะได้หมดปัญหา เกาหลีก็จะรอดพ้นจากการรุกรานของญี่ปุ่น กองเรือพาณิชย์ไทยก็จะรอดพ้นจะกองเรือโจรสลัดญี่ปุ่น สมัยนั้นญี่ปุ่นเป็นประเทศยากจน แต่เดี๋ยวนี้ญี่ปุ่นเป็นประเทศร่ำรวยแล้ว เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่าไม่มีสิ่งใดในโลกเที่ยงแท้ในโลกธรรม 8 ทั้งสิ้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...