ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466


    สาธุ ขออนุโมทนา กับท่านนารถะสุญญตา ข้อคิดเห็นของท่านช่างประเสริฐนัก อิสระภาพและความเป็นเอกราชของชาติบ้านเมืองนั้น เป็นความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดแม้นกระทั่งชีวิตก็ต้องยอมอุทิศเสียสละ นี่แหละบรรพบุรุษไทย
    ที่ได้ทอดกายถวายชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย แผ่นดินแม่ที่ได้ถือกำเนิดมา

    " แต่ความรักชาติ รักแสนพิศวาท รักสุดกำลัง
    ก่อเกิดมานะ ยอมสละชีวัน แม้จนกระทั่ง สิ้นเลือดเนื้อเรา
    ชีวิตร่างกายเราไม่เสียดาย ตายแล้วก็เผา..."
     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระราชภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่คนไทยอาจไม่เคยคิดถึงกันมากนัก เป็นภาระกิจที่เสี่ยงมากค่ะ สาธุ

    ------------------------------------------------------------------------------------

    " แต่ความรักชาติ รักแสนพิศวาท รักสุดกำลัง
    ก่อเกิดมานะ ยอมสละชีวัน แม้จนกระทั่ง สิ้นเลือดเนื้อเรา
    ชีวิตร่างกายเราไม่เสียดาย ตายแล้วก็เผา..."<!-- google_ad_section_end -->

    ความรักชาตินี้ รักแสนพิศวาท แน่แท้ค่ะท่านพี่จงรักภักดี

    ขอร่วมระลึกถึงบรรพบุรุษไทยค่ะ

    -------------------------------------------------------------------------------------

    ตอนนี้กำลังสนใจ จารึกบนแผ่นทองคำ ของกรุวัดราชบูรณะ อยากได้หนังสือ หาทางอินเตอร์เนตอยู่ค่ะ
    บอกออกมาเผื่อใครจะทราบว่าสำนักพิมพ์ไหนจัดทำบ้าง ถ้าใครทราบ ขอความอนุเคราะห์ด้วยนะคะ

    -------------------------------------------------------------------------------------

    หนังสือลัทธิชาตินิยมฯ ทางสายธาตุพิมพ์ถึงหน้า 80 เองค่ะ ตอนนี้ไม่มีในสต๊อกแล้วต้องนั่งพิมพ์ผ่านหน้าจอไป
    ตอนต่อไปคือ เมืองเชียงใหม่ขอเป็นไมตรี พระเจ้าเชียงใหม่ มังนรธาช่อ ท่านไวขนาด พอพระนเรศวรชนะในสงครามยุทธหัตถี ท่านก็แปรพักตร์มาขึ้นกับกรุงศรีฯทันที

    ตามด้วยศึกเมืองทะวาย-ตะนาวศรี จำกันได้ไหมค่ะที่พวกท้าวพระยาที่ตามเสด็จสมเด็จฯท่านกับพระเอกาทศรถไม่ทัน ต้องไปทำศึกแก้ตัว ก็ศึกนี้หล่ะค่ะ เชิญรับชมได้ต่อจากนี้ไปค่ะ.......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 81


    เมืองเชียงใหม่ขอเป็นไมตรี


    ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่รู้สึกว่า พระเจ้าหงสาวดีน่าจะหมดอำนาจในครั้งนี้ และขืนขึ้นอยู่กับหงสาวดีก็มีแต่ใช้ให้ไปตายเรื่อยๆ ควรทำไมตรีไว้กับกรุงศรีอยุธยาจึงจะพ้นภัย จึงให้ประชุมข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และแจ้งเหตุการณ์ทั้งปวงให้ทราบแล้วเสนอความเห็นว่า เวลานี้ ผู้ใดเข้าไปรบกับกรุงศรีอยุธยาก็เหมือน แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ พระเจ้าหงสาวดีนั้นเล่าเสียพระราชบุตรก็เหมือนพระกรเบื้องขวาขาดแล้ว ที่ไหนกรุงหงสาวดีจะพ้นเงื้อมพระหัตถ์พระนเรศวร เราควรลงไปอ่อนน้อมถวายเครื่องราชบรรณาการ ขอพึ่งพระเดชานุภาพจึงจะพ้นอันตราย แสนท้าวพระยาลาวทั้งหลาย ก็เห็นชอบด้วยพระเจ้าเชียงใหม่จึงมีราชสาส์นแต่งทูต และเครื่องบรรณาการลงมาถวายพระนเรศวร พระองค์ก็รับไว้แต่งราชสาส์นมอบให้ทูตนำกลับไป แต่พอรับเป็นไมตรีไม่กี่วัน พระเจ้าเชียงใหม่ก็หางานมาให้ทันที


    [​IMG]

    คือเมืองเชียงแสนบอกมาว่า พระเจ้าล้านช้างให้พระยาหลวงเมืองแสนเป็นแม่ทัพยกพลแปดพันมารบเมืองเชียงแสน ขอให้ช่วยด้วย พระนเรศวรจึงให้พระยาราชฤทธานนท์ ถือพลห้าพันไปช่วยกับให้เอาพระยารามเดโช ซึ่งเป็นชาวเมืองเชียงใหม่ไปอยู่ช่วยเมืองเชียงใหม่ด้วย พอทัพพระยาราชฤทธานนท์ไปถึงเชียงแสน ทัพล้านช้างก็หยุดรบ และมีการเจรจากัน พระยาหลวงเมืองแสนเกรงพระบรมเดชานุภาพก็เลิกทัพกลับไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2009
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระยารามเดโช ผู้นี้ภายหลังได้มีเหตุขัดแย้งกับพระเจ้าเชียงใหม่ จนสมเด็จพระเอกาทศรถ

    ต้องเสด็จไประงับข้อพิพาท โดยใช้เมืองลำพูนเป็นสถานที่เจรจา ในปีพ.ศ. 2142

    รู้สึกว่าในความเห็นเดิม ทางสายธาตุจะเขียนว่า ปี พ.ศ.2141 แต่ที่จริงต้องเป็น 2142

    ในปีพ.ศ. 2139 นี้พระเจ้าเชียงใหม่ได้ถวายพระเมงทุลอง เป็นองค์ประกัน พระเมงทุลองน่าจะคงประมาณ 18 พรรษา ในตอนนั้น

    และในปี พ.ศ. 2142 พระเจ้าเชียงใหม่ได้ถวายเจ้านางโยธยามี๊พะยา ลงมากรูงศรีอยุธยา เพื่อมาเป็นองค์ประกันอีกพระองค์หนึ่ง

    โดยเสด็จมาพร้อมๆกับสมเด็จพระเอกาทศรถ กลับเข้าพระนคร เจ้านางโยธยามี๊พระยาคงจะประมาณ 19 พรรษา เมื่อมากรุงศรีฯ

    จากบล็อค http://www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/reply_topic.php?id=36965

    ข้อแก้ข้อความที่กล่าวว่า พระเจ้าสาวัตถีกษัตริย์เชียงใหม่ได้สวามิภักดิ์อโยธยาประมาณปี พ.ศ. 2142

    เป็น พระเจ้าสาวัตถีกษัตริย์เชียงใหม่ได้สวามิภักดิ์อโยธยาประมาณปี พ.ศ. 2139 ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2009
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 82

    ศึกเมืองทะวาย-ตะนาวศรี


    ทัพกรุง ซึ่งมีพระยาพระคลังเป็นหัวหน้า พาพวกถูกภาคทัณฑ์ยกไปถึงเมืองทะวาย เจ้าเมืองทะวายกับเจ้าเมืองตะนาวศรีก็บอกเข้าไปยังหงสาวดี แต่หนังสือยังไม่ถึงก็พบกับทัพพวกพระยารามัญที่ต้องโทษยกมาถึงเมืองเมาะตะมะ ได้ทราบว่าชาวเมืองตะนาวศรี เมืองทะวายและเมืองมะริดกำลังรบอยู่กับชาวกรุงแล้ว



    [​IMG]


    พระยาจักรียกไปถึงแดนเมืองตะนาวศรี ก็ตีบ้านรายทางเข้าไปจับผู้คนไว้ได้มาก แล้วยกเข้าล้อมเมืองตะนาวศรีไว้

    ทัพพระยาพระคลังนั้นยกเข้าตีเมืองทะวาย ชาวเมืองยกออกมาต่อสู้ก็ถูกตีแตก ทัพไทยเข้าล้อมเมืองไว้ 20 วัน เจ้าเมืองก็ยอมแพ้ ฝ่ายกองทัพพระยารามัญทั้งหลาย ยกลงไปจากเมืองเมาะตะมะพอปะทะกับกองทัพไทย ก็ถูกตีแตกกระจัดกระจายไป บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เมืองทะวาย และเมืองตะนาวศรีเคยเป็นของไทยมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย พม่ามาชิงไปในสมัยบุเรงนองมาตีกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นอันว่าได้เมืองทั้งสองคืนมา



    ต่อมาภายหลังเมืองต่างๆ ตั้งแต่เมืองเมาะตะมะตลอดมาจนถึงพรมแดนไทย ก็ต่างพากันอ่อนน้อมต่อไทยหมดทุกเมือง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทหารเอกคู่พระทัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    <TABLE id=table9 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" width="98%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" align=middle></TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none"><TABLE id=table10 style="BORDER-RIGHT: #2e3d22 3px groove; BORDER-TOP: #2e3d22 3px groove; BORDER-LEFT: #2e3d22 3px groove; BORDER-BOTTOM: #2e3d22 3px groove" height=327 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#800000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=left>เมื่อกล่าวถึงเมืองพิชัยคนทั่วไปจะต้องรู้จักพระยาพิชัยดาบหัก ผู้ยืนถือดาบคู่ต่อสู้กับศัตรูอย่างองอาจกล้าหาญจนดาบหัก ท่านจึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์เมืองแห่งชัยชนะ เมืองแห่งบรรพบุรุษนักรบที่อนุชนคนรุ่นหลังพากันภาคภูมิใจในเกียรติภูมิและความเป็นชายชาติทหารของท่าน เมืองพิชัยเคยถูกสถาปนาให้เป็น หัวเมืองหน้าด่านชั้นตรี ในการสู้รบกับข้าศึกมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จวบจน กระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง...



    วีรบุรุษที่สำคัญของเมืองนี้ นอกจากพระยาพิชัยดาบหัก ทหารเอกคู่พระทัย ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแล้ว ยังมีทหารเอกฝีมือดีอีกท่านหนึ่ง ที่ผู้คนชาวไทยยังไม่คุ้นเคยกับชื่อนี้ ท่านผู้นั้นคือ พระชัยบุรี ทหารเอกคู่พระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สองทหารเอกต่างยุคต่างสมัย ต่างรับราชการสนองพระเดชพระคุณยอมพลีกายถวายชีวิต เพื่อกอบกู้เอกราชให้คนไทยทั้งชาติได้มีแผ่นดินอาศัยอย่างมีความสุขจนทุกวันนี้…
    ผู้เขียนได้เพียรพยายามค้นหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อเป็นข้อมูลฯ ในการเผยแพร่ชีวประวัติทหารเอกที่เคยรับใช้ พระเจ้าแผ่นดินมหาราช เป็นการเชิดชูเกียรติ อันจะเป็นแบบอย่างแก่ชนรุ่นหลังได้จดจำวีรกรรม ความดีงามที่ท่านได้สร้างสมเอาไว้ในแผ่นดินสยามแห่งนี้
    จากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์ : พระชัยบุรี เป็นทหารเอกคู่พระทัยรุ่นแรก ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงไว้วางใจพระราชหฤทัย และนับถือน้ำใจมากที่สุด รับราชการจนมีตำแหน่งสูงสุดของเมืองพิษณุโลก เดิมชื่อ “ดวง” เป็นชาวเมือง สวางคบุรี (แขวงเมืองพิชัย) บรรดาศักดิ์เริ่มแรกในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เป็นขุนเดชพระเวทย์แสนศึกสู้ รับราชการจนมีความชอบเป็น ออกพระชัยบุรี ,พระชัยบุรี เจ้าเมืองชัยบาดาล ,พระยาชัยบูรณ์ บรรดาศักดิ์สุดท้าย คือ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช ผู้ดำรงตำแหน่ง เจ้าเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ.๒๑๓๖ ชอบอนุรักษ์ไก่ชน พันธุ์เขียวพาลี


    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรฯ เสด็จขึ้นมาดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชเมืองพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๔ นั้น พระองค์ทรงเกณฑ์บุตรหลานข้าราชการ และเยาวชนรุ่นราวคราวเดียวกับพระองค์มาทำการฝึก และทรงค้นหาคนดีมีฝีมือไว้ใช้ ในราชการ พระชัยบุรี เจ้าเมือง ชัยบาดาล และ พระศรี ถมอรัตน์ เจ้าเมืองศรีเทพ สองทหารเอก รุ่นแรกได้ถูกเรียกตัวเพื่อสนองพระเดชพระคุณ ช่วยราชการเมืองพิษณุโลก ด้วยการศึกษายุทธศาสตร์ พิชัยสงครามรูปแบบใหม่ (ที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรง ร่ำเรียนมาจาก ราชสำนักพระอาจารย์มังกุโสดอ พระมหาเถรคันฉ่อง และบุเรงนอง) และช่วยถ่ายทอดให้กับนักรบเยาวชนรุ่นแรก ไม่นานนักรบเหล่านั้น ก็เป็นนักรบที่มีคุณภาพ พร้อมที่จะรบเพื่อกอบกู้เอกราช


    [​IMG]



    การยุทธ์ครั้งแรก เมื่อนักรบรุ่นใหม่สำเร็จจากศูนย์รบพิเศษสำนักพระราชวังจันทน์แล้ว เพื่อให้เกิดความชำนาญ สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงกำหนดสถานการณ์ให้ทหารของพระองค์ปราบโจรผู้ร้ายจริง (สมัยนั้นโจรผู้ร้ายชุกชุมมาก) โดยกำหนดให้โจรผู้ร้ายเปรียบเสมือนข้าศึก เมื่อปราบโจรผู้ร้ายเรียบร้อยราบคาบแล้ว เขมรเกิดแข็งเมือง ซึ่งแต่เดิมนั้นเขมรเป็นเมืองประเทศราชของไทยมาก่อน เห็นว่าไทยสิ้นกำลังก็บังอาจยกกองทัพมาตีเมืองไทยอยู่หลายครั้ง แต่ต้องมาพ่ายแพ้ต่อไทยทุกครั้ง จนถึง พ.ศ.๒๑๒๒ พระยาละแวก ให้พระทศราชายกกองทัพ ๕,๐๐๐ คน มาปล้นเมืองนครราชสีมา และหมายปล้นทรัพย์จับเป็นเชลยชาวเมืองสระบุรี และเมืองอื่นๆ มาเป็นเชลย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรฯ เสด็จลงมาประทับในพระนครฯ พอทราบข่าวจึงจัดกำลัง ๓,๐๐๐ คน รีบเสด็จไปดักกองทัพเขมรที่ชัยบาดาลให้ พระชัยบุรี และพระศรีถมอรัตน์ เป็นทัพหน้า คุมพล ๕๐๐ คน ไปตั้งซุ่มอยู่ที่ดง พระยากลาง ฝ่ายเขมรเมื่อตีได้เมืองนครราชสีมาโดยง่าย จึงยกกองทัพมาด้วยความประมาท พอถึงที่ซุ่ม พระยาชัยบุรี และพระศรีถมอรัตน์จึง สั่งให้ทหารออกล้อมรบ ฆ่าฟันทัพเขมรล้มตายแตกหนียับเยินถึงทัพหลวง พระทศราชาแม่ทัพเขมรไม่รู้ว่าทัพไทยมีกำลังพลมากน้อยเพียงใด จึงรีบล่าทัพกลับเขมร เป็นครั้งแรกที่สมเด็จ พระนเรศวรฯ ทรงใช้กลยุทธ์ “คนน้อยชนะคนมาก” แต่นั้นมาเขมรไม่กล้าที่จะย่ำยีไทยอีกต่อไป


    เมื่อ พ.ศ.๒๑๒๔ หลังจากที่บุเรงนองสวรรคตแล้ว “มังไชยสิงห์” ราชโอรสขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า “นันทบุเรง” ทรงแต่งตั้ง “มังกะยอชวา” เป็นพระมหาอุปราชา มีความระแวงว่าไทยจะตั้งแข็งเมือง จึงตรัสสั่งให้ นันทสุ และ ราชสงคราม เป็นแม่กองดำเนินการสร้างทางตั้งแต่ เมาะตะมะ ถึง กำแพงเพชร เพื่อผลทางสงคราม หากอยุธยาหรือล้านช้างคิดจะตั้งแข็งเมือง


    ลุ ถึง พ.ศ.๒๑๒๗ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงแล้ว นันทสุ และราชสงคราม ได้คุมไพร่พลไทยใหญ่ทำทางอยู่ที่กำแพงเพชร และทราบว่ากองทัพสมเด็จพระนเรศวรฯ กำลังยกมาโดยมีพระชัยบุรี และพระศรีถมอรัตน์ เป็นทัพหน้า จึงได้ยกทัพถอยหนี แต่มาทันกันที่ตำบล แม่ระกาได้เกิดสู้รบกันถึงขั้นชนช้าง พระชัยบุรีขี่ช้างพลายปืนพระราม ได้ชนกับช้างนันทสุเป็นสามารถ นันทสุจ้วงฟันด้วยของ้าว ต้องนิ้วชี้พระชัยบุรีกระทบ ข้อขาด แต่ช้างนันทสุทานกำลังช้างพระชัยบุรีไม่ได้จึงพ่ายไป ส่วนพระศรีถมอรัตน์ขี่ช้างพลายศัตรูพินาศ ได้ชนด้วยช้างราชสงคราม ช้างพม่าพ่ายแพ้หนีไปทางตำบลแมงรางชาง เมื่อทัพไทยได้รับชัยชนะแล้วจึงกลับคืนมายังกองทัพหลวงที่ตำบลเชียงทอง เพื่อปรับกำลังทำศึกต่อไป เมื่อขับไล่พม่าจนพ้นเมืองกำแพงเพชรแล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ตรัสสั่งให้พระชัยบุรีเป็นแม่ทัพ และเป็นที่ปรึกษาทัพ (เสนาธิการ) ยกไปปราบพระยาพิไชย และพระยาสวรรคโลก ที่ตั้งตนเป็นกบฏ และสามารถจับพระยาทั้งสองได้ สมเด็จพระนเรศวรฯ มีพระราชดำรัสให้มัดพระยาทั้งสอง ตระเวรรอบทัพ แล้วให้ประหารเสีย


    ตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรเสวยราชย์ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๑๓๓ ยังเสด็จประทับอยู่ที่วังจันทน์เกษมต่อ ๒ ปี เมื่อสิ้นศึกยุทธหัตถีจนตีได้เมืองทะวาย และตะนาวศรีแล้ว จึงทำพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร เสด็จประทับในพระราชวังหลวง เมื่อเดือน ๑๐ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๓๖ แล้วโปรดให้กลับหัวเมืองเหนือ ซึ่งได้ทิ้งร้างอยู่ ๘ ปีขึ้นอย่างเดิม และทรงตั้งข้าราชการที่มีความชอบเป็นเจ้าเมือง คือให้ พระยา ชัยบูรณ์ (น่าจะเป็นคนเดียวกับพระชัยบุรี ทหารเอกที่เป็นข้าหลวงเดิมเคยรบพุ่งมาตั้งแต่แรก) เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ เจ้าเมืองพิษณุโลก ให้พระยาศรีไสยณรงค์ (ดูน่าจะเป็นคนเดียวกับ พระศรีถมอรัตน์ ทหารเอกที่เคยคู่กับพระชัยบุรี) เป็นเจ้าเมืองตะนาวศรี (คัดลอก : จากหนังสือ พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ : พิมพ์ที่ โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นายเมธี บริสุทธิ์ ผู้พิมพ์โฆษณา พ.ศ.๒๕๒๑ : หน้า ๖๖)



    ครั้นถึง พ.ศ.๒๑๓๙ เมืองเชียงใหม่ ขอสวามิภักดิ์เป็นเมืองขึ้นของไทย สมเด็จพระนเรศวรฯ รับว่าจะช่วยเมืองเชียงใหม่ ขณะนั้นกองทัพล้านช้างจะเข้าตีเชียงใหม่ พระองค์ โปรดเกล้าให้ เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ เป็นผู้แทนพระองค์เจรจา ไกล่เกลี่ยระหว่างเชียงใหม่และล้านช้าง ด้วยพระบารมีของพระองค์ทำให้เกิดการประสานความเข้าใจทั้งสองเมือง หันมาปรองดองกันโดยมิต้องสูญเสียชีวิตทหารแม้แต่คนเดียว



    และ พ.ศ.๒๑๔๒ สมเด็จพระนเรศวรฯ มีความพยายามที่จะตีเมืองหงสาวดี แต่ด้วยพระเจ้าตองอูคิดไม่ซื่อ พาพระเจ้าหงสาวดีเสด็จหนีไปเมืองตองอู สมเด็จพระนเรศวรฯ จำต้องเสด็จยกกองทัพตามตีกองทัพพระเจ้าตองอู เมื่อเสด็จถึงตองอูพระองค์ตรัสสั่งให้ เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ เป็นเสนาธิการดูแลกองทัพทั้งปวง.....การศึกครั้งนี้ แม้จะตีเมืองตองอูไม่ได้สมเจตนารมณ์ เนื่องจากปัจจัยทางด้านการส่งกำลังบำรุง แต่ได้สอนบทเรียนจนพม่าครั่นคร้ามฝีมือไม่กล้าที่จะติดตาม เมื่อสมเด็จพระนเรศวรฯ ตรัสสินพระทัยที่จะถอนทัพและพาไพร่พลส่วนหนึ่งกลับอยุธยาได้โดยปลอดภัย กำลังส่วนหนึ่งได้แบ่งให้สมเด็จพระเอกาทศรถยกมาระงับเหตุกรณีพิพาทระหว่างพระเจ้าเชียงใหม่(มังนรธาช่อ) กับพระยารามเดโช มูลเหตุอันเกิดจากระหว่างที่สมเด็จพระนเรศวรฯ กำลังทำศึก ล้อมเมืองตองอูอยู่นั้น พระยารามเดโช คนที่เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ แต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงปกครองเมืองเชียงแสน เพราะเห็นว่าเป็นชาวพื้นเมือง ผู้คนพากันนับถือโดยมาก และพากันกระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้าเชียงใหม่ ผู้คนแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย พระเจ้าเชียงใหม่จึงร้องเรียนมายังสมเด็จพระนเรศวรฯ ถึงเมืองตองอู เมื่อสมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงถอนกำลังที่เมืองตองอูแล้ว จึงให้สมเด็จพระเอกาทศรถแบ่งกองทัพแยกไปทางเชียงใหม่ เพื่อระงับเหตุดังกล่าว




    พระชัยบุรี เป็นเสนาอมาตย์ และเป็นทหารเอกคู่พระทัย ที่มากด้วยความสามารถ และประสบการณ์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ถึงขั้นได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่เสมอ บรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายได้รับการ โปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช เจ้าเมืองพิษณุโลกอันเป็นหัวเมืองเหนือชั้นเอก รองจาก กรุงศรีอยุธยาราชธานี นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่เปรียบมิได้ พวกเราลูกหลานเผ่าไทย ขอน้อมรำลึก และสักการะในคุณงามความดีของท่าน... และเหล่านักรบผู้กล้า...ที่มีคุณูปการต่อชาติบ้านเมืองตลอดชั่วนิรันดร์

    ----------------------------------------


    หมายเหตุ การจัดแบ่งหัวเมืองในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    (พ.ศ.๒๑๓๓ – ๒๑๔๘)ดังนี้.

    ๑. หัวเมืองชั้นเอก ได้แก่ เมืองพิษณุโลก และเมืองนครศรีธรรมราช มีขุนนาง ยศชั้น เจ้าพระยา ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ปกครองเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาสุรสีห์ พิษณุวาธิราชเป็นเจ้าเมือง และเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติ เดโชชัย เป็นเจ้าเมือง

    ๒. หัวเมืองชั้นโท มี ๖ เมือง มีขุนนางชั้น เจ้าพระยา ศักดินา ๑๐,๐๐๐ (คือ เมืองสวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครราชสีมาและ ตะนาวศรี) เป็น เจ้าเมือง

    ๓. หัวเมืองชั้นตรี มี ๗ เมือง มีขุนนางชั้น พระยา ศักดินา ๕,๐๐๐- ๙,๐๐๐ (คือ เมืองพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูรณ์ ไชยา พัทลุง


    เอกสารอ้างอิง
    หนังสือ ไทยรบพม่า พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

    หนังสือ พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

    หนังสือ ก่อกำเนิดเกิดเพื่อเอกราชไทยทั้งชาติ นเรศวรมหาราช โดย บรรยง บุญฤทธิ์

    หนังสือ ตามรอยพระยุคลบาท ๔๐๐ ปี แห่งการเสด็จ สวรรคาลัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดย พฤฒาจารย์ เรวัตรกิตติวุฒิกร

    หนังสือ ลัทธิชาตินิยม กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย โดยเอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    หนังสือที่กำลังอ่านกันอยู่ในกระทู้นี้ค่ะ

    หนังสือ เซียนไก่ชน เม.ย.๒๐๐๐ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๑





    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=right>โดย ร.ท.ผดล อินทรเทศ</TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    คัดลอกจาก บทความน่าอ่าน [นักเรียนนายร้อยลูกศิษย&#3

    ป.ล.เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช เจ้าเมืองพิษณุโลก ครองเมืองตั้งแต่
    ปี พ.ศ. 2136 จากหลักฐานพงศาวดารท่านน่าจะครองถึงปี พ.ศ. 2146
    พงศาวดารที่อ้างถึงเรื่องนี้จะกล่าวถึงในภายหลังค่ะ
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เนินมหาราช สถานที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้าง นักรบกล้าตาย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=left>ในอดีตกาล เมืองพิษณุโลก เคยเป็นราชธานีที่สำคัญถึงสองครั้ง เมื่อสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงสุโขทัย และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกษัตริย์ราชวงศ์เชียงราย จากนั้น เมืองพิษณุโลกจึงถูกลดบทบาทมาเป็นเพียงเมืองมหาอุปราชจนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    [​IMG]


    จะขอย้อนกล่าว เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๖ เมืองไทยเกิดทุรยศ กษัตริย์พม่านามบุเรงนองต้องการทำสงครามกับอยุธยา จึงหาเหตุขอ ช้างเผือก ๒ เชือก ซึ่งขณะนั้นพระมหาจักรพรรดิ


    ผู้เป็นเจ้า มิยอมเสียพระเกียรติ โดยอ้างเหตุช้างเผือกควรอยู่กับผู้มีบุญญาธิการทำให้หงสาวดี กีฑาทัพกษัตริย์ ๕ ทัพ ยกมาตีเมืองไทย กองทัพพม่ายกมาทางด่านแม่ละเมาเข้าตาก พระยาสุโขทัยพาคนจำนวนน้อยเข้าต่อสู้พม่าจนพ่ายแพ้ พระยาสวรรคโลก พระยาพิชัย ยอมอ่อนน้อมต่อพม่า แล้วพากันยกเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาได้ต่อสู้ป้องกันเมืองจนสิ้นเสบียง ซ้ำเกิดไข้ทรพิษระบาดหนัก จนพระมหาธรรมราชาจำต้องยอมอ่อนน้อมถือน้ำกระทำสัตย์ต่อพม่าในวันอาทิตย์ เดือนยี่ ปีกุล พ.ศ.๒๑๐๖ แต่ยังให้ครองเมืองพิษณุโลกดังเดิม เมื่อพม่าได้หัวเมืองเหนือสมใจแล้ว พระเจ้าหงสาจึงพาพระยาทั้งสาม (พระมหาธรรมราชา ,พระยาสวรรคโลก ,พระยาพิชัย) มุ่งตีกรุงศรีอยุธยา ในที่สุดก็ต้องเสียให้กับพม่า ครั้งนั้นไทยต้องเสียช้างเผือก ๔ เชือก กับต้องส่งส่วยช้าง ปีละ ๓๐ เชือก เงินปีละ ๓๐๐ ชั่ง และยอมเสียผลประโยชน์ทางด้านภาษีอากรที่เก็บได้ในเมืองมะริดทั้งหมด สิ่งที่สำคัญ พระมหาจักรพรรดิ์ พระราเมศวร พระยาจักรี พระยาสุนทรสงคราม ต้องเป็นตัวประกันในหงสา พระเจ้าหงสายังได้ขอพระนเรศวร ไปทรงชุบเลี้ยงในฐานะตัวจำนำด้วย



    ห้าปีต่อมา (พ.ศ.๒๑๑๑) บุเรงนองต้องการตีไทยให้อยู่มือ จึงคิดอุบายให้พิษณุโลก และอยุธยาเป็นอริต่อกัน และสมปรารถนา หงสาต้องใช้แผน วัสการพราหมณ์” โดยให้พระยาจักรีสร้างความวุ่นวายจนอยุธยาระส่ำระสายอ่อนล้าเต็มที่แล้ว นัดลอบให้สัญญาณกองทัพพระเจ้าหงสาโจมตีกรุงศรีอยุธยาทุกด้าน ในที่สุดก็ต้องเสียให้แก่พม่า เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒ เมื่อพม่าได้เมืองแล้ว ทำการริบทรัพย์จับเป็นเชลยตามใจชอบ คงเหลือคนไทยไว้ประจำเมืองเพียงหมื่นคน นอกนั้นกวาดต้อนไปหงสาจนสิ้น พระยาจักรีผู้เป็นไส้ศึก ได้รับปูนบำเหน็จจากพระเจ้าหงสาให้ไปครองเมืองพิษณุโลก แต่เจ้าตัวปฏิเสธ อ้างไม่รู้จะมองหน้าชาวเมืองพิษณุโลกอย่างไร จึงขอไปรับราชการที่หงสาในตำแหน่งสอพิณญาอยู่หงสาอยู่หน่อยหนึ่ง พม่าหาเหตุจับฆ่าแล้วด่าทอให้เสียหายก่อนตายว่า “แม้ชาติตัวยังทรยศได้ อยู่หงสาต่อไปรังแต่จะหนักแผ่นดิน ให้เอาไปประหารเสีย”


    เมื่อพระเจ้าหงสาตีกรุงศรีอยุธยาได้แล้ว จึงอภิเษกพระมหาธรรมราชาเป็นเจ้า นามว่า “พระศรีสรรเพชญ” ในวันศุกร์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒ พระเจ้าแผ่นดินคนใหม่ได้ถวายพระสุวรรณเทวี แด่พระเจ้าหงสา เพื่อแลกตัวพระอนุชา “พระนเรศวร” มาช่วยดูแลบ้านเมือง แล้วสถาปนาพระนเรศวรเป็นมหาอุปราชให้ครองเมืองพิษณุโลก ในขณะนั้นพระองค์ ทรงขอศึกษาดูราชการอยู่ที่พระนครก่อนราวหนึ่งปี และใน พ.ศ.๒๑๑๔ พระนเรศวรจึงได้เสด็จขึ้นครองเมืองพิษณุโลกด้วยพระชันษา ๑๖ ปี สิ่งแรกที่พระองค์ทรงกระทำคือ เร่งศึกษาค้นคว้าถึงมูลเหตุทั้งหลายที่ทำให้เมืองไทยต้องพ่ายแพ้สงครามต่อพม่า ข้อได้เปรียบ เสียเปรียบของทั้งสองฝ่าย และวิธีที่จะทำลายข้อได้เปรียบของศัตรู พระองค์ทรงแก้ไขตำราพิชัยสงครามให้ทันสมัย (ยังมีหลักฐานปรากฏอยู่ที่หอพระสมุดแห่งชาติจนทุกวันนี้)


    สำหรับการเลือกสรรบุคคลที่จะนำมาใช้งานนั้น พระองค์ทรงเลือกบรรดาบุตรข้าราชการ ซึ่งอยู่ในวัยเดียวกันกับพระองค์เป็นส่วนใหญ่ ทรงเริ่มวางแผนฝึกอบรมปลุกจิตสำนึกให้คนไทยเกิดความรุกรบรักชาติ เลิกเกรงกลัวพม่า ซึ่งนับว่าเป็นภารกิจที่กล้าหาญ ท้าทาย และทรงใช้ความวิริยะอุสาหะท่ามกลางทหารพม่าที่ตั้งควบคุมอยู่ หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงจัดตั้ง หน่วยกล้าตายขึ้น โดยใช้พื้นที่เมืองพิษณุโลก มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชปัจจุบัน ยังมีร่องรอย เนินพลับพลา ทรงประทับทอดพระเนตรการฝึกทหารของพระองค์ปรากฏให้เห็นจนทุกวันนี้ และในไม่ช้าพระองค์ก็มีกองทหารที่มีขีดความสามารถในการรบพิเศษ พร้อมที่จะแจกจ่ายไปเป็นผู้นำกองทัพแต่ละพื้นที่ได้จำนวนมาก พระองค์มีทหารองค์รักษ์ชั้นเยี่ยมคู่พระทัยถึง ๑๓๖ คน แต่ละคนมีความสามารถพิเศษในด้านการสงครามเป็นเลิศ พร้อมที่จะตายแทนพระองค์ได้ทุกโอกาส เมื่อพระองค์ทรงฝึกปรือทแกล้วทหารจนชำนาญแล้ว พระองค์ได้นำทหารเหล่านั้นไปทดลองปราบปรามโจรผู้ร้าย ซึ่งได้ก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนทุกหย่อมหญ้า โดยสมมุติสถานการณ์ว่า พวกกองโจรคือข้าศึก และในที่สุดกองทหารที่เข้มงวด และมีระเบียบวินัยของพระองค์ก็สามารถปราบโจรผู้ร้ายเรียบร้อยราบคาบเมื่อพวกโจรถูกปราบจนสิ้นแล้ว พระองค์ได้มุ่งเป้าหมายไปยังเขมร ด้วยขณะนั้นเขมรยังเป็นเมืองขึ้นของไทย แต่เมื่ออยุธยาพลั้งเผลอหรือ อ่อนล้าเมื่อไร เขมรเป็นต้องยกทัพมาตีไทยและกวาดต้อนคนไทยไปเป็นเชลยทุกครั้ง ทำให้พระนเรศวรทรงพิโรธยิ่งนัก
    ต่อมา พ.ศ.๒๑๒๑ พระยาละแวกกษัตริย์เขมรได้ส่งพระยาอุเพสราช และพระยาจีนจันตุ สองแม่ทัพใหญ่ยกทัพเรือข้ามอ่าวไปตีเมืองเพชรบุรี เข้าปล้นเมืองอยู่สามวันรี้พลตายมากเข้าเมืองไม่ได้ พระยาจีนจันตุ ทำแสร้งอ่อนน้อมต่อไทยอยู่หน่อยหนึ่งก็หนีจากไทย พระนเรศวรลงมาเฝ้าพระราชบิดาที่อยุธยาทรงทราบเหตุการณ์รีบลงเรือกาบกัลยา เพื่อตามจับตัวพระจีนจันตุและมาทันกันที่ปากน้ำ เกิดการยิงต่อสู้กันขึ้น พระจีนจันตุได้ยิงถูกรางปืนที่พระนเรศวรทรงประทับจนแตก เป็นที่หวาดเสียวต่อผู้พบเห็นเป็นอันมาก จนพระเอกาทศรถต้องรีบนำเรือของพระองค์มาทรงขวางไว้ เพื่อมิให้พระเชษฐาได้รับอันตราย ในขณะนั้นเรือของพระยาจีนจันตุกางใบต้องลมพอดี และสามารถหลบหนีไปได้หวุดหวิด และในปีต่อมา พ.ศ.๒๑๒๒ พระยาละแวกได้ส่งพระทศราชา และพระสุรินทราชา ยกกองทัพเข้ามาทางนครราชสีมา เพื่อเข้ามากวาดต้อนผู้คนเมืองสระบุรีเป็นเชลย พระนเรศวรทรงทราบข่าว ได้จัดขบวนช้างเร็ว ม้าเร็ว และไพร่พล จำนวนสามพันรีบยกเสด็จไป จึงมีรับสั่งให้พระยาชัยบุรี เจ้าเมืองชัยบาดาล (ภายหลังคือเจ้าพระยาสุรสีห์ เจ้าเมืองพิษณุโลก)และพระศรีถมอรัตน์ เจ้าเมืองศรีเทพ(ภายหลังคือพระยาศรีไสยณรงค์เจ้าเมืองตะนาวศรี ) สองทหารเอก รุ่นแรก ยกทหารห้าร้อยเป็นกองหน้า คอยซุ่มสองฟากทาง ด้วยทัพเขมรยกเข้ามาด้วยความประมาท จึงถูกกองทัพหน้าของไทยโจมตีไล่ฆ่าฟันจนแตก ไปจนถึงทัพหลวง ทัพหลวงคิดว่าทัพไทยคงจะยกมากันมาก ก็พากันแตกกระเจิงกลับกัมพูชาแทบไม่ทัน ทั้งสองเหตุการณ์เป็นที่กล่าวขวัญไปจนถึงหงสาว่า พระนเรศวรทรงพระปรีชากล้าหาญยิ่งนัก นับเป็นจุดเริ่มแรกที่พระองค์และทหารรุ่นแรกของพระองค์ได้แสดงแสนยานุภาพทางทหาร ใช้คนน้อยชนะคนมาก จนเป็นที่เลื่องลือ

    [​IMG]


    สำหรับเนินพลับพลา สำคัญดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า หลังจากที่สิ้นยุคสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว ได้มีการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ นำมาประดิษฐาน ไว้บนเนินพลับพลาแห่งนี้ ซึ่งขณะนั้นเรียกกันว่า (หลวงพ่อขาวบนมูลดินอินทราราม) ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้าง ต่อมาได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวลงเรือเพื่อนำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดจุฬามณี ได้ให้ช่างชาวพม่า ชื่อ หม่องทินผิว ทำการบูรณะปฏิสังขรขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ ลักษณะพระพักตร์จึงละม้ายคล้ายพระพม่าดังที่เห็น เรื่องกฤษดานิหารลือกันว่า หลวงพ่อขาวองค์นี้ศักดิ์สิทธ์ยิ่งนัก


    เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ รัฐบาลได้มีการจัดตั้งกรมบัญชาการทหารมณฑลพิษณุโลกขึ้น หม่อมเจ้าศรีใส เฉลิมศักดิ์ เป็นผู้บัญชาการกรม ได้มีการพัฒนาพื้นที่รกร้าง จึงได้พบเนินสำคัญแห่งนี้ ลักษณะเป็นเนินสูงจากพื้นดินประมาณ ๔ – ๕ เมตร รูปเนินกว้าง ๓๐ x ๓๐ เมตร (ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหลัง กองบังคับการกองพันเสนารักษ์ที่ ๔ ในค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ) จึงได้สร้างพลับพลาเพื่อถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้น และเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บัญชาการค่ายท่านแรก ภายหลังจึงเรียกเนินแห่งนี้ว่า “เนินศรีใส” แต่นั้นมา

    [​IMG]


    ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๕๗ สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระราชโอรสพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ อันมีศักดิ์เป็นพระอนุชาพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕) ได้ทรงเสด็จตรวจราชการคณะสงฆ์ฝ่ายเหนือ ได้มีการตกแต่งพลับพลาบนเนินดินดังกล่าวไว้เป็นที่ประทับว่าราชการด้วย


    ครั้น พ.ศ.๒๕๓๔ พล.ท.ไพโรจน์ จันทร์อุไร มทภ.๓ ในขณะนั้น ได้ดำริสร้างพลับพลาขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่องค์สมเด็จพระนเศวรมหาราช ซึ่งมีประวัติดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ท่านแม่ทัพได้มอบหมายให้ พ.อ.สถาพร พงษ์พิทักษ์ ผบ.จทบ.พ.ล. เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างพลับพลา เมื่อ ๙ พ.ย.๓๔ แล้วเสร็จเมื่อ ๑๕ ม.ค.๓๕ ไว้เป็นอนุสรณ์สถานแห่งค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสืบไป
    ------------------------------------------------------------


    เอกสารอ้างอิง

    - จากหนังสือ ไทยรบพม่า พระนิพนธ์ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักพิมพ์ บรรณาการ : พ.ศ.๒๕๔๓

    - จากหนังสือ วัดจุฬามณี : กาญจนาภิเษก โดย พล.ท.ถนอม วัชรพุทธ มทภ.๓ พิมพ์ที่ ส.ทรัพย์การพิมพ์ : ๒๕๓๙

    - จากหนังสือ ลัทธิชาตินิยมกับพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย โดย เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล : ๒๕๔๗

    - จากหนังสือ นเรศวรมหาราช โดย พิมาน แจ่มจรัส พิมพ์ที่ แปลนพริ้นท์ติ้ง : ๒๕๔๘

    - จากหนังสือ วันสถาปนากองทัพภาคที่ ๓ ครบรอบ ๑๐๓ ปี ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๘


    </TD></TR><TR><TD align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=right>โดย ร.ท.ผดล อินทรเทศ</TD></TR><TR><TD>

    คัดลอกจาก บทความน่าอ่าน [นักเรียนนายร้อยลูกศิษย&#3

    รู้สึกว่าเป็นบทความที่ต่อเนื่องกับเนื้อหา ทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงนำมาลงด้วยค่ะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  8. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    สาธุ ขออนุโมทนากับคุณทางสายธาตุ ครับ ต้องขอขอบคุณอย่างยิ่งที่กรุณานำเราไปสู่ขุมทรัพย์ท่างปัญญาที่มีคุณค่าสุดประมาณ www.our-teacher.com ได้พบและนำบทความดีๆ โดยเฉพาะบุคคลากรที่มากไปด้วยความรู้ เช่น ร.ท. ผดล อินทรเทศ ขอขอบคุณท่านผู้หมวดผดล ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ว่างๆมีโอกาสแวะเข้ามาคุยกันที่บ้านปลายซอยนะครับ
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สถูปเจดีย์ที่เก็บอัฐิพระเจ้ามังนรธาช่อ ณ วัดกู่เต้า

    วัดกู่เต้าตั้งอยู่ที่ตำบลศรีภูมิ ใกล้สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นวัดที่มีชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ว่าเป็นที่บรรจุอัฐิราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง ที่ชื่อ มังนรธาช่อ หรือสำเนียงพม่าว่า นรทามางจอ ซึ่งถูกส่งมาครองเชียงใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2122-2156

    [​IMG]

    เมื่อสิ้นพระชมน์ลง พระมหามังชวยเทา ซึ่งเป็นพระอนุชาได้จัดถวายเพลิงพระศพ และโปรดให้สร้างสถูปเจดีย์กู่เต้าเพื่อบรรจุอัฐิและพระอังคารธาตุ และโปรดให้สร้างวัดขึ้นมาในบริเวณดงก่อไผ่ จึงได้ชื่อว่าวัดเวฬุวันกู่เต้า ซึ่งชาวบ้านจะเรียกสั้นๆว่า วัดกู่เต้า ปัจจุบันมีชื่อเป็นทางการว่า วัดเวฬุวันวนาราม

    เจดีย์กู่เต้านี้มีลักษณะแปลกไปกว่าเจดีย์อื่นๆ ในเมืองไทย คือรูปร่างคล้ายกับผลแตงโมวางซ้อนกันไว้หลายๆ ลูก


    ตัวเจดีย์จะมีรูปร่างคล้ายบาตรพระหรือผลแตงโมซ้อนลดหลั่นขึ้นไป 5 ชั้น ประดับด้วยเครื่องดินเผาเคลือบประดับกระจกจีนสีเงิน และทอง สันนิษฐานว่า คงจะบูรณะเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 บนยอดจะมีเจดีย์สีทององค์เล็กและมียอดฉัตรอยู่ตรงปลาย


    เดิมทีเคยเชื่อกันว่า มังนรธาช่อ นี้เป็นราชบุตรของบุเรงนองกับพระนางวิสุทธิเทวี ที่เป็นเชื้อสายของพญามังราย และเป็นราชวงค์มังรายองค์สุดท้ายที่ครองเมืองเชียงใหม่ในฐานะประเทศราชของพม่า ประมาณปีพ.ศ 2107-2121


    แต่จากหนังสือ "ขัตติยานีศรีล้านนา" ซึ่งเป็นข้อมูลใหม่ และเป็นไปได้ที่สุด ณ ตอนนี้ ระบุว่า "นอรธาสอ เป็นบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง กับมเหสีราชเทวี ผู้เป็นธิดาของสตุกามณี แห่งดีมเยง มีพระนามเดิมว่า เชงทเวละ" ซึ่งไม่ใช่พระนางวิสุทธิเทวี

    มังนรทาช่อ นี้เคยยกทัพเชียงใหม่มาตีกรุงศรีอยุธยา ตามบัญชาของพระเจ้านันทบุเรง พระเชษฐาต่างมารดา แต่พ่ายแพ้ต่อทัพของสมเด็จพระนเรศวร ภายหลังได้หันมาสวามิภักดิ์ต่ออยุธยา เป็นเหตุให้ตัดขาดกับทางหงสาวดี จนไม่ได้เสด็จกลับพม่าอีกเลย จนสิ้นพระชมน์ที่เชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2156

    วัดกู่เต้าได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2478 และได้ประกาศกำหนดขอบเขตวัด เมื่อปี พ.ศ. 2522

    หมายเหตุ

    พระเจ้ามังนรธาช่อจะอยู่ในฐานะพ่อตา(ขออภัยราชาศัพท์คำนี้ใช้อย่างไร ไม่ทราบจริงๆค่ะ)ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะได้ถวายเจ้านางโยธยามี๊พระยาเป็นพระมเหสีของสมเด็จท่าน

    และพระเจ้ามังนรธาช่อองค์เดียวกันนี้จะดำรงตำแหน่ง พระบิดาของพระราชบุตรเขยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในกรณีที่ปรากฏตามหลักฐานพงศาวดารพม่าว่า พระราชธิดาองค์โตของสมเด็จพระนเรศวรได้อภิเษกสมรสกับพระทุลอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2009
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขุมทรัพย์ท่างปัญญาที่มีคุณค่าสุดประมาณ www.our-teacher.com

    ติดใจอ่านอยู่สองชั่วโมงเลยค่ะ มีเรื่องทองวัดราชบูรณะด้วย ผู้เขียนทำเวปไซด์สวยด้วย

    น่าอ่านมากๆ ผู้เขียนเขามาเยี่ยมเราในบ้านท้ายซอยนี้ด้วยหรือค่ะท่านพี่จงรักภักดี

    ถ้ามาเยี่ยมจริงๆจะได้ขอคำแนะนำ จะหารายละเอียดอะไรต่ออะไรจะหาได้ที่ไหน

    มาจริงหรือเปล่าคะ ท่านพี่ ..... อยากให้มาจัง

    ตอนนี้เกิดคำถามขึ้นในใจ ยังไม่มีคำตอบ แต่ผู้อื่นอาจจะตอบได้ค่ะ

    คำถามคือ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงกระทำยุทธหัตถี

    จนชนะต่อพระมหาอุปราชาแล้ว พระพี่นางสุพรรณกัลยาต้องมาสิ้นพระชนม์เพราะ

    พม่าแพ้ศึกนี้ ใน วัน เดือน ปี อะไรคะ ใครพอจะทราบบ้าง หรือว่าสิ้นพระชนม์ใน

    เดือนเดียวกับที่พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์คะ ?
     
  11. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    พระเจ้ามังนรธาช่อจะอยู่ในฐานะพ่อตา(ขออภัยราชาศัพท์คำนี้ใช้อย่างไร ไม่ทราบจริงๆค่ะ)

    -พระสัสสุระ ครับ

    ติดใจอ่านอยู่สองชั่วโมงเลยค่ะ มีเรื่องทองวัดราชบูรณะด้วย ผู้เขียนทำเวปไซด์สวยด้วย

    น่าอ่านมากๆ ผู้เขียนเขามาเยี่ยมเราในบ้านท้ายซอยนี้ด้วยหรือค่ะท่านพี่จงรักภักดี

    ถ้ามาเยี่ยมจริงๆจะได้ขอคำแนะนำ จะหารายละเอียดอะไรต่ออะไรจะหาได้ที่ไหน

    มาจริงหรือเปล่าคะ ท่านพี่ ..... อยากให้มาจัง

    -น่าจะลองส่งเทียบไปขอบคุณและถือโอกาสชวนเชิญดูนะครับ ถ้าจำเป็นสามารถอ้างอิงกันได้เต็มที่ครับ
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เดี๋ยวจะหา e-แมว ส่งเทียบเชิญ ร.ท. ผดล อินทรเทศ เข้ามาเยี่ยมกระทู้นี้ดีกว่า

    เจอว่าผู้หมวดอยู่ ป.4 (กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ)

    ผิดอีกแล้วต้องเรียกว่า กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 (คนนอกเครื่องแบบก็เป็นแบบนี้เอง ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องสังกัดกรมกอง)

    ถ้าไม่ได้ e-แมว เห็นจะต้องส่ง จ.ม. ไปเสียแล้ว

    พระสัสสุระ แปลว่า พ่อตา
    พระมัสสุ แปลว่า หนวด

    สสุ คล้ายๆกันเลย

    สมเด็จฯท่านมีพระสัสสุระเป็นคนต่างชาติทั้งหมดเลยมั้งคะ น่าจะใช่เช่นเจ้านางโยธยามี๊พระยา พระเอกกษัตรีย์

    ส่วนพระนางมณีรัตนา(เจ้าขรัวมณีจันทร์)ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนให้ปรากฎ แต่คำว่าเจ้าขรัวนี้ไว้เรียกคนจีนที่ร่ำรวยนะคะ

    ถ้าเป็นเจ้าแท้ๆ ต้องเรียกว่า เจ้าครอก บางคนว่า กรมศิลปากรอ่านออกเสียง (Tjian Croa Mady Tjan) ว่าเจ้าขรัวมณีจันทร์

    นั้นผิด ทางกรมศิลปากรก็ว่าอ่านได้แบบนี้ คือ เจ้าขรัว มากกว่า เจ้าครอก ถ้าพระองค์ท่านเป็นเจ้าขรัวจริงๆ


    กรณีที่หนึ่งเชื่อว่า พระนางมณีรัตนาเป็นคนเดียวกับเจ้าขรัวมณีจันทร์นะคะ ก็อธิบายคำว่า เจ้าขรัว ไว้ข้างต้น

    แต่ถ้าอีกกรณีหนึ่ง คือ เชื่อว่าเป็นคนละคนกัน ความเชื่ออย่างที่สองนี้จะเชื่อว่า

    พระนางมณีรัตนาก็คือพระแก้วฟ้า น้าสาวของสมเด็จพระนเรศวรที่ถูกส่งไปล้านช้าง

    แต่ถูกส่งกลับไม่มีเรื่องราวของพระแก้วฟ้าอีกเลยหลังจากกลับจากล้านช้าง

    ส่งกลับเพื่อแลกองค์พระเทพกษัตรีย์ไปแทนค่ะ สำหรับความเชื่อนี้ พระมหาจักรพรรดิ์

    จะทรงเป็นทั้งพระอัยกา(ตา) และ พระสัสสุระ (พ่อตา) ของสมเด็จฯท่าน

    ป.ล.(เพิ่มเติม) ความเชื่อทั่วไปอีกข้อหนึ่ง พระนางมณีจันทร์ทรงเป็นเจ้าหญิงจากมอญ

    แต่ตอนนั้นมอญไม่มีบ้านเมืองให้ครองแล้ว เพราะตอนนั้น หงสาวดีที่เคยเป็นเมืองหลวงของมอญ

    ได้ตกไปอยู่ในมือพม่านานแล้ว จึงติดตามไม่ได้ว่าเจ้าองค์ที่น่าจะเป็นพระบิดาของพระนางเป็นใคร

    และคิดว่า ตำนานกุหลาบเมาะลำเลิง นี้เป็นที่มาของความเชื่อนี้

    อย่างไรก็ตาม ตามความเชื่อที่สามนี้ ก็ยังทำให้สมเด็จฯท่านมีพระสัสสุระเป็นชาวต่างชาติเช่นกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  13. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ขุมทรัพย์ท่างปัญญาที่มีคุณค่าสุดประมาณ www.our-teacher.com


    -ผมยังเข้าไปหลงอยู่นานทีเดียว เลยได้โอกาสรายงานตัวไปด้วยครับ

    เสร็จแล้วยังเลยไปเยี่ยม TORTAHARN.NET ได้พบบทความที่น่าสนใจ

    ที่พวกเราชาวไทยควรจะได้รู้และรับทราบเพราะเป็นเรื่องที่ไม่ไกลจากภาค

    ใต้เราสักเท่าใด ถือว่าเป็นภัยคุกคาม ในชื่อเรื่องว่า "ช่องแคบมะละกา

    เรื่องที่ไม่แคบอย่างที่คิด " ว่างๆจะนำมาลงขัดตาทัพ คุณทางสายธาตุ

    นะครับ ต้องขออนุญาตไว้ก่อน
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ว่างๆจะนำมาลงขัดตาทัพ คุณทางสายธาตุ

    นะครับ ต้องขออนุญาตไว้ก่อน<!-- google_ad_section_end -->

    ขำอีกแล้วท่านพี่ กระทู้นี้ท่านพี่จงรักภักดีเป็น เจ้าของกระทู้

    ทางสายธาตุเนี่ย ตอนแรกอยู่นอกบอร์ด หาข้อมูลไปเรื่อย

    ข้อมูลเยอะ ไม่มีที่ให้เขียน 555 พอมาสบกระทู้ท่านพี่เข้า โดดใส่เลย

    ถ้ามีผู้ร่วมออกความเห็นเยอะๆ จะดียิ่งค่ะ เพราะบ้านอยู่ในซอย

    ต้องทำถนนดีๆ คือพยายามให้กระทู้อยู่ในหน้าแรกของส่วนนี้

    ไม่งั้นหายาก อาจถูกมอไซด์ทำหล่นเสียตั้งแต่กลางซอยค่ะ ^^

    บทบาทของทางสายธาตุคือผู้ร่วมออกความเห็นเท่านั้น

    มิบังอาจ มิบังอาจ ข้าน้อยฯขออภัย ท่านพี่มิต้องขออนุญาต
     
  15. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    อาจเป็นความเห็นที่แตกต่างนะครับ ผมมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า วันแรกที่

    เป็นผู้ริเริ่มหัวข้อกระทู้ ผมเป็นเจ้าของกระทู้ หลังจากนั้นแล้วทุกท่านที่แวะ

    เวียนกันเข้ามาเยี่ยมเยียนล้วนต่างเป็นเจ้าของกระทู้กันทุกคน มีสิทธิเท่าเทียม

    เสมอภาคกัน ผมคิดเช่นนั้นจริงๆ บ้านหลังนี้อาจจะเล็กและอยู่ห่างไกลสุด

    ปลายซอย แต่ทุกท่านในบ้านหลังนี้ล้วนมีน้ำใจให้แก่กันนะครับ ขอ

    อนุโมทนา สาธุครับ
     
  16. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    "ทหารสรรพาวุธสมัยโบราณ" อาจจะสังกัดกับกรมที่ชื่อ"กรมพลาธิการ" รึเปล่าครับ เดาเอาครับ อิ อิ
     
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    แผนที่อยุธยาที่ชาวฝรั่งเศสเขียนไว้ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตรงใกล้ๆด่านขนอนตะนาวศรี จะมีเกาะแก่ง แต่หาส่วนขยายของแผนที่ในด้านใต้เกาะอยุธยาไม่ได้ เจอแต่ส่วนขยายหมู่บ้านโปรตุเกส

    สนใจเกาะแก่ง เมื่อเข้ามาจากทางปากอ่าวไทยจะถึงเกาะก่อนแล้วจึงจะถึงด่านขนอนบางตะนาวศรี ฝรั่งเศสเขียนว่า I. Chinoise น่าจะมาจาก Island of Chinese และเรียกเกาะบางปะอินปัจจุบันว่า I. Palace คำว่า Palace ภาษาฝรั่งเศสเขียนยังไงจำไม่ได้แล้วค่ะ ไม่เคยเรียนภาษาฝรั่งเศส ใช้จำเอาค่ะสำหรับคำว่า chinoise น่าจะมาจาก chinese

    [​IMG]


    เจอเวปไซด์ท่องหมู่บ้านโปรตุเกส ยึดตามแผนที่ข้างบนนี้เอามาอธิบาย สนุกดีอยุ่เหมือนกัน เอามาลงให้อ่านกันสนุกๆค่ะ

    ป.ล. กรมพลาธิการทหาร ทำหน้าที่อะไรคะ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • na_rai_map.jpg
      na_rai_map.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.1 KB
      เปิดดู:
      2,657
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2009
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตามรอยชุมชนโปรตุเกส บทบาทฝรั่งในแผ่นดินอยุธยา

    [​IMG]



    เรื่องของชาวต่างชาติในแผ่นดินอยุธยานั้น มีบทบาทเข้มข้นและเร้าใจไม่น้อย หลายคนมีบทบาทสำคัญทั้งในการรบและการปกครอง รวมทั้งรับตำแหน่งสูง ๆ ในราชสำนักไทย แม้แต่ในภาพยนตร์เรื่อง "สุริโยไท" นี้เอง เราก็จะได้เห็นบทบาทเหล่านี้ไม่น้อยทีเดียว

    ที่น่าสนใจก็คือ หนังประวัติศาสตร์ของสยามประเทศเรื่องนี้ มีการเดินเรื่อง ผ่านคำบอกเล่าของ " โดมิงโก เดอ ซีซัส " ทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสที่เข้ามาพึงพระบรมโพธิสมภารในสมัยนั้น ทาง sabuy.com จึงขอนำเพื่อนสมาชิกทุกท่านมาร่วมเดินทางย้อนรอยอดีตของไทยเราพร้อม ๆ กันเลย ณ บัดนี้ครับ ใครไปเที่ยวเมืองกรุงเก่าในช่วงนี้ก็จะได้เห็นภาพตำนานในอดีตไปด้วยในตัว



    [​IMG]
    ทหารรับจ้างชาวโปรตุเกส

    แรกเริ่มเดิมที ฝรั่งชาติโปรตุเกสนั้นเป็นชาติแรกที่เข้ามาติดต่อสัมพันธ์กับสยาม เดิมทีไทยเราเรียกว่า" พุทธเกษ" ตามสำเนียงที่ลากลิ้นให้เข้ากับเสียงและคำสะกดแบบไทย ๆ เริ่มเข้ามาในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 และมีบทบาทมากขึ้นเป็นตามลำดับโดยเฉพาะในด้านการรบ



    [​IMG]
    แผนที่โบราณ แสดงช่วงตำบลสำเภาล่ม แบบใกล้ๆ จะเห็นเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา และป่าสัก ไหลมาบรรจบกัน บริเวณหน้าวัดพนัญเชิง

    สำหรับที่ตั้งหลักแหล่งของชาวโปรตุเกสในอยุธยานั้นตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา เป็นหมู่บ้านของชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงกว้างขวางกว่าชาวยุโรปชาติอื่นๆ



    [​IMG]



    นอกเหนือจากการสงคราม การค้า และการทูตแล้ว ชาวโปรตุเกส ได้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสตร์ นิกายโรมันคาธอลิค ในบริเวณหมู่บ้าน ที่อยู่ทางใต้ของเกาะเมืองอยุธยา(ดูแผนที่ประกอบ) มีโบสถ์สำคัญสามแห่ง ได้แก่ โบสถ์เซนต์โดมิค โบสถ์คณะฟรานซิสกัน และ โบสถ์เซนต์เปาโล เป็นต้น


    [​IMG]
    แผนที่โบราณ แสดงป้อมเพชร ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์


    ชุมชนเหล่านี้รุ่งเรืองมาจนถึงปี พ.ศ.2310 พม่ายกทัพมายึดกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สอง บ้านเมืองเสียหายยับเยิน หมู่บ้านของชาวยุโรป รวมทั้งหมู่บ้านของชาวโปรตุเกสแห่งนี้ถูกทำลายไป ชุมชนประวัติศาสตร์ที่มีอายุนานถึง 227 ปี จึงถึงกาลสิ้นสุดลงพร้อมๆ กับการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาด้วย

    ซากประวัติศาสตร์สามารถดูได้จาก โบราณสถาน ซานเปโตร ซึ่งเป็นซากโบสถ์แห่งแรก แห่งอยุธยา ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2053 (ต้องขับรถข้ามเมืองไปอีกด้าน อยู่ทางใต้ของเกาะเมืองอยุธยา) จากการขุดค้นโดยได้รับงบประมาณจากมูลนิธิเบงเกียนประเทศโปรตุเกส พบซากโครงกระดูกกว่า 254 โครง ทั้งฝรั่งและเอเชีย มีร่องรอยการฝังศพซ้อนซึ่งอาจแสดงถึงการตายหมู่จากโรคระบาด ละแวกใกล้เคียงกับหมู่บ้านโปรตุเกสก็คือ


    จุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของกรุงศรีอยุธยา นั่นคือ บางกระจะ แต่เดิมบางกะจะ เป็นย่านจอดเรือสำเภามาแต่โบราณ คุ้งน้ำขนาดใหญ่ที่ลำน้ำเจ้าพระยาและป่าสัก มาบรรจบกันหน้าเกาะเมืองอยุธยาตอนใต้
    ป้อมเพชรที่มุมเกาะเมืองอยุธยา เป็นป้อมขนาดใหญ่ มีช่องสำหรับติดปืนใหญ่ กุมจุดยุทธศาสตร์บริเวณย่านบางกะจะและวัดพนัญเชิงไว้อย่างสิ้นเชิง ก่ออิฐศิลาแลงไว้อย่างแน่นหนาแข็งแรง กำแพงหนา 3 วา มีช่องรูปโค้งกว้าง 4 ศอก สูง 5 ศอก คาดว่าเดิมคงไว้ตั้งปืนใหญ่ เล็งเป้าหมายนอกกรุง ถ้าดูจากรูปเขียนในแผนที่ฝรั่งที่เดินทางเข้ามาในสมัยนั้นจะเห็นทันทีว่าป้อมแห่งนี้มีขนาดใหญ่มาก มีรูปสัณฐานเหมือนเพชรเจียระไน


    น่าเสียดายที่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการรื้ออิฐมาสร้างกำแพงเมืองกรุงเทพฯ เพราะเผาอิฐไม่ทัน และไม่ต้องการเหลือซากให้พม่าเข้ามาใช้ประโยชน์ ดังนั้น ป้อมเพชรที่ยิ่งใหญ่ในอดีตก็เหลือไว้แต่ความทรงจำกับซากกำแพงนิดหน่อยเท่านั้น ละแวกบางกะจะสมัยนั้น เป็นย่านการค้าที่คึกคัก ถ้าดูจากแผนที่เดิม จะเห็นว่ามีชุมชนหลายชาติหลากภาษามาตั้งหลักแหล่งอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น มาลายู จีน โปรตุเกส ญี่ปุ่น อังกฤษ ฮอลันดา(เนเธอร์แลนด์) ส่วนอีกฝากของลำน้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้ลงมาหน่อย จะมีการงมพบซากเสากระโดงเรือโบราณขนาดใหญ่ พร้อมกับสมอไม้ และโบราณวัตถุอื่น ๆ ที่วัดไก่เตี้ย (ดูรูปประกอบ) สะท้อนให้เห็นภาพการค้าที่คึกคักในสมัยนั้น รวมทั้งชื่อตำบลละแวกนั้นที่มีชื่อเกี่ยวกับการเดินเรืออย่างเช่น สำเภาล่ม คานเรือ ฯลฯ



    [​IMG]
    เสากระโตงเรือสำเภาทำจากไม้ตะเคียน​

    [​IMG]
    สมอเรือสำเภา (อยู่ที่วัดไก่เตี้ย)



    ด้านฝั่งวัดพณัญเชิงก็มีชุมชนชาวจีน ที่แม้แต่ในปัจจุบันวัดแห่งนี้ก็ยังเป็นที่เคารพนับถือในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนมาก ถัดไปก็มีหมู่บ้านอังกฤษ ฮอลันดา และญี่ปุ่น ตามลำดับ ซึ่งเป็นละแวกที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับหมู่บ้านโปรตุเกส ซึ่งอยู่ใกล้กับชุมชนมุสลิมที่จนปัจจุบันก็มีทั้งโบสถคริสต์คือ วัดนักบุญยอแซฟ และมัสยิดของชาวไทยมุสลิมอยู่ในบริเวณดังกล่าวจำนวนมาก



    [​IMG]
    ยามาดะนางาสะ หรือออกญาเสนาภิมุข ที่ว่ากันว่า เป็นคนพื้นเพจังหวัดชิซึโอกะ ตอนหลังได้เป็นถึงเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช


    ชุมชนหนึ่งที่เด่นไม่แพ้โปรตุเกสคือ ชุมชนญี่ปุ่น ที่มีผู้นำหลายคนหลายยุคหลายสมัย ผู้นำรายหนึ่งที่เรารู้จักกันดีคือ ยามาดะนางาสะ หรือออกญาเสนาภิมุข ที่ว่ากันว่า เป็นคนพื้นเพจังหวัดชิซึโอกะ ตอนหลังได้เป็นถึงเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

    ถ้าใครมีโอกาสไปเที่ยวอยุธยา เลยวัดพณัญเชิงมาหน่อย จะเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นที่มีการบูรณะขึ้นมาใหม่ ภายในจะมีจารึกประวัติชุมชน ตลอดจน รูปหล่อโลหะของออกญาเสนาภิมุขกับดาบซามูไรอีกด้วย ชาวญี่ปุ่นที่มาอยุธยา ชอบมาที่นี่กันมาก

    ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจากเวปไซด์ ?ҁͪ؁??⻃?ؠ?ʦlt;/a>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตอนนี้เขียนจดหมายถึง ร.ท.ผดล อินทรเทศ เพื่อขอบคุณบทความที่ได้นำมาลงในกระทู้นี้แล้วนะคะ

    ตอนเที่ยงจะไปส่งที่ไปรษณีย์ จ่าหน้าซองไปที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ

    คิดว่าน่าจะถึงมือนะคะ ข้อมูลเรื่องที่อยู่หาจากอินเตอร์เนตค่ะ
     
  20. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    กรมพลาธิการทหาร ก้อเป็นหน่วยที่จัดการเรื่องสิ่งของจำเป็นต่างๆนะครับ เช่น อาวุธ อาหาร ฯลฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...