พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระพิมพ์ ๒๔๐๘ นี้น่าสนใจศึกษาอย่างมาก เพราะมีจุดที่ชวนให้ศึกษาหลายจุดด้วยกัน เช่น
    ๑) พิมพ์ทรง พิมพ์หน้าเดียว พิมพ์หน้าเดียวปัญจสิริ พิมพ์ ๒ หน้าต่างพิมพ์ พิมพ์ ๒ หน้าบรรจุกริ่ง พิมพ์หน้าเดียวตะกั่วถ้ำชา

    ๒) แต่ละพิมพ์ทรงเป็นพระพิมพ์ฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ความหมายของแต่ละพิมพ์ทรงมีความหมายถึงอะไร และมีทั้งหมดกี่พิมพ์

    ๓) ว่าด้วยเรื่องปีพ.ศ. ๒๔๐๘ จุดนี้เป็นประเด็นที่หลายต่อหลายท่านสงสัย พาลไม่เชื่อในเรื่องของพระวังหน้าไป เนื่องจากข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงปีพ.ศ.นั้นเกิดในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๖ ในปีพ.ศ.๒๔๕๖ ก่อนหน้านั้นยังไม่ได้เริ่มใช้พ.ศ.กัน ในช่วงต้นรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เปลี่ยนจากจ.ศ.(จุลศักราช ซึ่งใช้มาแต่ครั้งก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก จนมาสมัยกรุงธนบุรี ก็ยังคงใช้จ.ศ.อยู่ ซึ่งเป็นสมัยที่ยังมีการรบพุ่งกันตลอดรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) มาเป็นร.ศ.(รัตนโกสินทรศก) นับต้นรัตนโกสินทร์เป็นร.ศ.๑ นั่นเทียบเท่ากับปีที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์คือ พ.ศ. ๒๓๒๕ นั่นเอง แต่อย่าลืมว่าสมัยนั้นเขายังไม่ได้เรียกปีพ.ศ ๒๓๒๕ หรือร.ศ.๑ แต่ยังเป็นจ.ศ.อยู่ ความเป็นจ.ศ.ดำเนินมาจนรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ จนจ.ศ.๑๒๕๑ น่าจะเป็นปีที่ยกเลิกการใช้จุลศักราช (จากการตรวจสอบข้อมูล การเปลี่ยน จ.ศ. เป็น ร.ศ. เกิดขึ้นในสมัย ร.๕ (พ.ศ.๒๔๓๒) สิ้นสุด จ.ศ.๑๒๕๐ ในอดีตการเปลี่ยน จ.ศ. จะเปลี่ยนในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี) ดังนั้นวันสิ้นสุด จ.ศ.๑๒๕๐ คือ วัน แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ จ.ศ.๑๒๕๐ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๒

    จากพ.ศ.๒๔๐๘ จนถึง พ.ศ.๒๔๓๒(ปีเริ่มใช้ร.ศ.) ห่างกันถึง ๒๔ ปี จึงน่าคิดว่าพระพิมพ์ชุดนี้อาจจะสร้างหลังปีพ.ศ. ๒๔๓๒ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ได้อัญเชิญภาพพิมพ์ฝีพระหัตถ์มาสร้างพระ ซึ่งไม่ทันสมเด็จโต(ถึงชีพิตักษัย จ.ศ.๑๒๓๔=พ.ศ.๒๔๑๕) และสมเด็จกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ(เสด็จทิวงคต จ.ศ.๑๒๔๗=พ.ศ.๒๔๒๘) แต่การระบุปีพ.ศ.๒๔๐๘ บนพระพิมพ์นั้นน่าจะเป็นการระลึกถึงปีที่พระองค์ท่านเสด็จสู่สวรรคต(หลังจากพระราชพิธีบวรราชาภิเษกแล้ว ๑๐ ปี พระองค์ก็เริ่มทรงพระประชวรบ่อยครั้ง หาสมุฏฐานของพระโรคไม่ได้ เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๒ แรม ๖ ค่ำ เวลาเช้าย่ำรุ่ง ตรงกับ วันที่๗ มกราคมพ.ศ. ๒๔๐๘ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา ทรงอยู่ในอุปราชาภิเษกสมบัติทั้งสิ้น ๑๕ พรรษา)

    การเปลี่ยนแปลงจากจ.ศ.มาเป็นร.ศ. (พ.ศ.๒๔๓๒)
    การเปลี่ยนแปลงจากร.ศ.มาเป็นพ.ศ. (พ.ศ.๒๔๕๖)
    แสดงว่าสยามประเทศเราใช้ร.ศ.มาได้เพียง ๒๔ ปีเท่านั้น...

    จากพ.ศ.๒๔๕๖(ปีที่รัชกาลที่ ๖ เปลี่ยนแปลงการใช้ปีร.ศ.มาเป็นพ.ศ.) ย้อนหลังกลับไปยังปีพ.ศ.๒๔๐๘(ขณะนั้นยังใช้จ.ศ.เป็นทางการอยู่จริงๆ)ซึ่งปรากฎบนพระพิมพ์๒๔๐๘ นี้ห่างกันถึง ๔๘ ปี และเป็นที่น่าแปลกว่าพระพิมพ์๒๔๐๘ เนื้อปัญจสิริส่วนมากจะประกอบด้วยสีเพียง ๓-๔ สีเท่านั้น (หรือเป็นเพราะผมได้มาแบบไม่ทันเป็นส่วนใหญ่ ก็ขออภัยด้วย) ซึ่งพระพิมพ์ปัญจสิริที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ นี้จะเน้นสีแดง=ชาติ ขาว=ศาสนา น้ำเงิน=พระมหากษัตริย์ นั่นคือสีธงชาติไทยเรานั่นเอง สมัยพระองค์ท่านเน้นความรักชาติอย่างมาก

    ลองค้นหาจากข้อมูลวิวัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงปีพ.ศ.จะทราบได้เองจากข้อมูลนี้..

    การใช้ปีพุทธศักราช หรือ พ.ศ. อย่างเป็นทางการนั้นเพิ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 นี่เอง ก่อนหน้านั้นประเทศสยาม (ไทย) ใช้นั้นมิใช่ประเพณีไทยมาแต่เดิม ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมาทางราชการของประเทศสยามนับปีตามรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) คือ เริ่มนับปีที่รัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2325 เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ 1
    ย้อนหลังต่อไปอีกในอดีตก่อนที่ระบบการปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์จะเป็นปึกแผ่น ในศิลาจารึกและพงศาวดารต่างๆ ของล้านนา สุโขทัย อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นๆ นับปีตามแบบจุลศักราช (จ.ศ.) ซึ่งเป็นระบบที่ตั้งขึ้นในประเทศพม่าเริ่มหลัง พ.ศ. 1181 ก่อนหน้านั้นการนับปีคนไทยในแถบนี้นับปีในระบบมหาศักราช (ม.ศ.) ซึ่งกษัตริย์ผู้ครองแคว้นคันธาระของอินเดียตั้งขึ้น เริ่มภายหลัง พ.ศ. 621 ปี
    เท่าที่ปรากฏหลักฐาน ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ใช้วิธีการนับ พ.ศ.อย่างเป็นทางการทั้งประเทศ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทยกับการเป็นชาวพุทธให้อยู่คู่กัน
    การนับปีขึ้นศักราชใหม่หรือการขึ้นปีใหม่นั้นแต่เดิมในประเทศสยามกำหนดวันที่ 1 เมษายน เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ โดยเริ่มในรัชกาลที่ 5 ปี วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เพราะความยึดถือในประเพณีสงกรานต์ว่าเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ของไทย (ทั้งที่เป็นประเพณีของอินเดียตอนใต้) แต่ภายหลังเพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับชาวโลก ในยุคของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการเปลี่ยนเป็นวันที่ 1 มกราคม แทนใน พ.ศ. 2483 และก็ได้รับความนิยมจากคนไทยอย่างดีมาถึงทุกวันนี้
    ข้อมูลจาก : http://www.komchadluek.net/column/pra/2006/01/03/02.php

    นี่คือสิ่งที่ควรจะตั้งกระทู้สอบถามอาจารย์ปู่ประถมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เมื่อเอ่ยปีจ.ศ. ร.ศ. พ.ศ. ท่านจะมีความแม่นยำเป็นพิเศษ เมื่อพูดคุยกับท่านจะเกิดอรรถรสมากยิ่งขึ้น...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2009
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เอ่อ..อ่า...กล้อง ของทั้ง ๒ ท่านนั้นไม่ค่อยดีมังครับ ...
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พิมพ์นี้ ท่านอาจารย์ประถม ท่านเป็นผู้ที่สร้างพิมพ์เอง ทำผงกดพิมพ์เอง เพียงแต่ท่านนำผงโสฬส นำมาผสมเป็นมวลสาร

    ส่วนพระปิดตา ของหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ ท่านอาจารย์ประถม ท่านใช้รักดำ(รักไทย)นะครับ ไม่ใช่รักจีน หากสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า อยากทราบ วันประชุมชมรม สามารถไปสอบถามกับท่านได้ เพราะท่านเป็นผู้สร้างเองกับมือของท่านเอง

    ส่วนข้อมูลที่นำเสนอกันทางเว็บไซด์ต่างๆ จะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูก ผมบอกได้แต่ว่า รักเป็นรักไทย ไม่ใช่รักจีน ส่วนเรื่องอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์ไม่แจ้งให้ทราบบนกระทู้พระวังหน้าฯนี้ครับ

    อีกเรื่อง บังเอิญนึกขึ้นได้ เรื่องของการจุ่มรัก ไม่มีในสารบบนะครับ ว่า สามารถนำพระพิมพ์ต่างๆ ไปจุ่มรักได้ เพราะคนที่พูดลักษณะนี้ ได้แต่อ่านและจำมาพูด แต่ไม่ได้เคยวิเคราะห์ว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ เท่าที่ผมได้เคยอ่าน เคยฟัง ตามเสี้ยนวิเคราะห์ ว่า ต้องจุ่มรัก ให้ท่านผู้อ่านรู้เลยว่า คนที่พูดว่า จุ่มรัก เป็นคนที่ไม่มีความรู้เรื่องของพระเครื่องดีพอครับ

    .
     
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เรื่อง"รัก" ที่นำมา ส่วนของ "ยาง" จากต้นรัก ทำการ "ลง" ไม่ได้ "จุ่ม" เข้าใจว่าคนทั่วไปเห็นว่ามันเหนียว คงจะไม่สะดวกเอาวัสดุอะไร เช่นแปรง หรือพู่กันไปทา เลยคิดว่าเอายางรักใส่ภาชนะ แล้วเอาองค์พระลง"จุ่ม"ทีละองค์ บางครั้งคิดว่าเอาลงไปคลุก(หนักกว่าจุ่มนาเพื่อนๆ)ทั้งองคืแล้วคีบขึ้นมา...

    รัก

    ชื่ออื่น ๆ : รัก, รักดอก (ไทยภาคกลาง), ปอเถื่อน, ป่านเถื่อน (พายัพ), รักเขา, รักซ้อน, รักขาว (เพชรบูรณ์)

    ชื่อสามัญ : Giant indian Milkweed, Crown Flower

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calotropis gigantea R.Br.

    วงศ์ : ASCLEPIADACEAE

    ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลางจะแตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มกว้างต้นอ่อนเป็นสีขาวนวล
    ปกคลุมได้ด้วยขนละเอียด ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 10 ฟุต ทุก ๆ ส่วนทั้งต้นจะมียางเป็นสีขาวข้น

    ใบ : จะมีลักษณะหนาและใหญ่มาก ขนาดเท่าใบหูกวางก็ว่าได้ ใบเป็นรูปมนรี ทั่วใบจะมีขนละเอียดเป็นเหลือบสีขาวนวล ปกคลุมทั้งใบ ใบจึงจะออกเป็นสีเขียวเทา ๆ และหม่นใบจะมีความกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว และยาวประมาณ 8-10 นิ้ว

    ดอก : จะแตกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามโคนก้านใบตรงส่วนยอด ดอกจะทยอยกันบานไปเรื่อย ๆ ลักษณะของดอกจะเป็นสันสูงเป็นแท่ง 5 แฉก คล้ายกับมงกุฎ ดอกอ่อนหรือดอกตูมนั้น จะมีกลีบเลี้ยงห่อหุ้มอยู่
    เมื่อถึงเวลาบานกลีบ เลี้ยงก็จะแผ่บานออกทำให้เห็นตัวดอกที่แท้จริง จะเป็นรูปมงกุฎ เป็นสีขาว สีม่วง หรือสีขาวอมม่วง มักนิยมนำเอาดอกรักมาร้อยเป็นมาลัยกัน

    ผล : ลักษณะของผลจะกลมและยาว ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่ก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล และแตกปลิวคล้ายนุ่น

    การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ

    ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือก เปลือกราก และยาง ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ดอก ช่วยย่อย ทำให้เจริญอาหาร รักษาอาการไอ อาการหืด และอาการหวัด

    เปลือก ใช้ขับน้ำเหลืองเสีย และทำให้อาเจียน

    เปลือกราก ใช้รักษาโรคบิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ และทำให้อาเจียน

    ยาง จะมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง แต่ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง เป็นยารักษาอาการปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ รักษากลากเกลื้อน และทำให้แท้งได้

    ถิ่น ที่อยู่ : พรรณไม้นี้มักขึ้นตามที่รกร้างทั่ว ๆ ไป เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย อิหร่าน ทิเบต และในเขตเอเซียกลาง
    รัก - สมุนไพรเพื่อสุขภาพ - สุขภาพ เพื่อชีวิตที่ปราศจากโรคภัย - - -สมุนไพรไทย สสส. เพศศึกษา สูตฦlt;/a>
     
  5. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    อ้าว ... พลาดเลยเรา load ไปเยอะแล้วอ่ะ ไม่เป็นไร ผิดเป็นครู ยังไงคุณครูก็อย่าลืมชี้แนะด้วยนะครับ ท่านพี่มูริญโญเงียบไป ท่าจะเครียดงาน ยังไงก็รักษาสุขภาพด้วยนะครับ กาแฟห้วยฮ่อม made for star b.. เป็นไงพี่ :)

    ... เมื่อเช้าตื่นมาจักรยานสุดสวยผมหายอะครับ ตำรวจบอกว่าแม่สอดมีพม่า 50,000 คน ที่มีจย.ในการครอบครองนี่ 40,000 เออ .. เหมือนเขาจะบอกเป็นนัยๆว่า น้องเลิกหวังเถอะ :) แหม .. ผมก็เพียงอยากแจ้งความเพื่อให้ตำรวจไปตรวจชุมชนแถวบ้านมั่งอ่ะ คิดถึงจักรยานน้อยนี่อยู่เหมือกัน เคยปั่นไปเที่ยวพม่ามาแล้วครับ ตามรูปเลย ...
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SB-Bicycle.png
      SB-Bicycle.png
      ขนาดไฟล์:
      330.6 KB
      เปิดดู:
      1,803
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อย่าไปบอกมากครับคุณเพชร

    เรื่องแบบนี้ ต้องไปคุยกันในวันประชุมชมรม หรือวันนัดพบกัน ดีกว่า

    ปล่อยให้เสี้ยน ไม่รู้เรื่อง กันไปเถอะ เพราะอะไรทราบหรือเปล่าครับ เพราะว่า การให้ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง เป็นกรรมเช่นกัน กรรมใดใครก่อ ก็รับกันไปเอง

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องจักรยาน ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ

    แต่เรื่องรูป ผมว่า คงมีผู้ที่บ่นถึงผมแน่เลย ว่า ทำไมนำเณรมาลงด้วย ก็ต้องมีดักไว้บ้างครับ โอ้โห ไอ้sithiphong นี่แสบทรวงจริงๆ

    แต่ยังไงแล้ว ชาวชมรมรักษ์พระวังหน้า ต้องได้เห็น ได้รู้ว่า แท้ๆเป็นอย่างไร และ เณรเป็นอย่างไร เหมือนกับได้ฉีดวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองครับ

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมว่า ป่านนี้โดนแปลงสภาพไปแล้วครับ

    สมัยเด็กๆ เคยมีผู้ใหญ่ให้ทำโค๊ตไว้ที่โครง ,handจักรยาน แล้วให้ทาสีปิดไว้ หากหาย แล้วเราไปพบ จะได้มีหลักฐานไว้อ้างอิงได้ว่า เป็นของเราครับ

    ไม่ทราบว่า คุณpsombat มีใบขับขี่รถจักรยานหรือเปล่าครับ ผมเองมีนะครับ แถมเป็นใบที่ใช้ตลอดชีพด้วย ผมจำไม่ได้แล้วว่า ผมไปเก็บไว้ที่ไหน ยังหาไม่เจอ แต่ในใบขับขี่จักรยาน ไม่มีรูป ใช้การปั้มนิ้วหัวแม่โป้งขวาแทนครับ
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เรื่องปีสำคัญต่างๆ หากมีความแม่นยำ จะใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก พระพิมพ์ประดับพลอยของวังหลวงบางพิมพ์ระบุ ๒๔๑๑ แต่พระบรมฉายาลักษณ์แสดงพระชนมายุมากแล้ว พอถามหนักๆเข้าพาลบอกว่า นั่งสมาธิเห็นเมื่อปีพ.ศ.๒๔๑๑ ว่าอีก ๔๐ ปี พระองค์ท่านจะมีพระบรมฉายาลักษณ์เป็นแบบนี้ หรือกระทั่งการทรงม้าแบบพระบรมรูปทรงม้าในปัจจุบันที่เห็นเป็นต้น ทั้งๆที่ การสร้างพระบรมรูปทรงม้าสำเร็จในปีพ.ศ.๒๔๕๑

    คติการสร้างพระในอดีตเขาจะสร้างเพื่อรำลึกถึงปีสำคัญๆ โดยไม่ระบุวันเดือนปีสร้างของปัจจุบันลงบนองค์พระแต่อย่างใด ทำให้อนุชนคนรุ่นหลังตีความต่างๆกันไป ยิ่งนานวัน ความเพี้ยนก็จะยิ่งบานปลายกันไปด้วยความไม่รู้นี้เอง


    ประวัติความเป็นมาพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในสมัยที่พระองค์ยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่นี้ เกิดเนื่องจากพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร รวมไปถึงพสกนิกรชาวไทย ที่จงรักภักดีในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้พร้อมใจกันที่จะรำลึกและปรารถนาที่จะสนองพระมหากรุณาธิคุณพระองค์ในงานพระราชพิธีรัชมังคลาพิเศษ ซึ่งเป็นพระราชพิธีสำคัยเนื่องในวโรกาสที่พระองค์ได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติครบ ๔๐ ปีบริบูรณ์ อันเป็นรัชสมัยที่ยืนนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่ปกครองแผ่นดินไทยมา





    ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปรารภกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร(รัชกาลที่๖) ซึ่งจะเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในระหว่างที่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปเป็นครั้งที่ ๒ ใน ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ว่าการสมโภชควรจะให้มีได้และทรงมอบให้มีกรรมการปรึกษาดำริการจัดการ โดยพระองค์ทรงโปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมารเป็นนายกของกรรมการ





    ที่ประชุม คณะกรรมการและเสนาบดีมีความเห้นพ้องต้องกันว่า การสมโภชเช่นเมื่อเสด็จกลับจากยุโรปคราวแรก และการฉลองเช่นเมื่อกรุงรัตนโกสินทร์อายุครบ ๑๐๐ ปี นั้นล้วนเป็นการที่ราชการหรือบุคคลต่างจำพวกช่วยกันทำแบบทั้งนั้น งานฉลองราชสมบัติรัชมงคลครั้งนี้ผิดกับงานอื่นที่ได้เคยทำมา ด้วยเป็นมงคลอันพึงประสบได้ด้วยยากยิ่งนักควรให้ผิดกับงานแต่ก่อนๆ เห็นว่าควรถือเหตุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปกครองทำนุบำรุงประเทศและประชาชนชาวสยามใ้ห้เจริญรุ่งเรืองและไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นสุขสำราญมาช้านานกว่าพระมหากษัตริย์แต่ปางก่อนข้อนี้เป็นหลัก ชักชวนชาวสยามทุกชาติทุกภาษาทั่วพระราชอาณาเขตให้บริจาคทรัพย์ตามกำลัง แล้วทูลเกล้าฯถวายเป็นการเฉลิมพระขวัญแล้วแต่จะทรงใช้สอยเงินนั้น





    การเรี่ยไรที่มีหมายออกไปทั่วประเทศนี้ มีกระทรวงนครบาลเป็นเจ้าหน้าที่บอกบุญในเขตกรุงเทพฯ กระทรวงมหาดไทยบอกบุญไปตามหัวเมือง โดยมีเกณฑ์บอกบุญที่ทรงกำชับว่า





    ๑. อย่าให้เป็นการกะเกณฑ์อย่างไรแล้วแต่ใจใครสมัครให้เท่าใด แม้เพียงเป็นจำนวนสตางค์ก็ได้


    ๒. ให้พยายามบอกทั้งเหตุและการที่ทำบุญนั้นให้รู้ทั่วทุกตัวคนบรรดาอยู่ในพระราชอาณาเขต แม้ราษฏรจะออกเงินเพียง ๑ สตางค์แดงก็ให้รับไว้และจดชื่อถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร





    ขณะที่กำลังเรี่่ยไรกันอยู่นั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมารก็ทรงได้รับทราบข่าวจากทางยุโรปว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพระราชวังแวร์ซาย ซึ่งหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ตั้งอยู่กลางลานRoyal Courtyard ที่เป็นช่วงกึ่งกลางระหว่างลานGreat Courtyard กับลาน Marble Courtyard





    พระองค์ทรงเห็นชอบด้วยว่าถ้าจะสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ให้พระองค์เป็นแบบนั้นที่หน้าลานพระที่นั่งอนันตสมาคม ในคราวนั้นพระองค์ได้ทรงปรารภมาด้วยว่าได้สืบราคาดูแล้ว ราคาก่อสร้างเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท





    เมื่อคณะกรรมการได้ตรวจยอดเงินเรี่ยไรทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว ปรากฏว่าการเรี่ยไรนั้นได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวสยามทุกชาติทุกภาษา ได้เงินรวมทั้งสิ้นประมาณ ๑ ล้าน ๒ แสนบาท ซึ่งเกินกว่าค่าก่อสร้างถึง ๖ เท่า จึงได้ตัดสินใจก่อสร้างพระบรมรูปทรงม้าตามพระราชปรารภ





    การก่อสร้างพระบรมรูปทรงม้าได้จ้างช่างหล่อชาวฝรั่งเศสแห่งบ.ซูซเชอร์เฟรส ฟองเดอร์ ทำการหล่อที่กรุงปารีสเมื่อพ.ศ. ๒๔๕๐ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบและควบคุมอย่างใกล้ชิดด้วยพระองค์เอง ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒๔ ที่พระราชทานมายังสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี(สมเด็จหญิงน้อย) ตอนหนึ่งว่า





    .......แต่ได้ไปที่ช่างหล่อในเรื่องที่จะหล่อรูป ซึ่งตกลงกันให้ทำสำหรับจะไปตั้งในบางกอก เขาได้ปั้นตัวอย่างลองขึ้นไว้แลเลือกรูปม้า ตัวอย่างที่ปั้นไว้นั้นสองอย่าง คือรูปขี่ม้าอย่างหนึ่ง รูปที่จะทำเล็กๆอย่างหนึ่ง สั่งให้เขาเลือกเนื้อทองไว้ให้ดูด้วย แบ่งเป็น ๔ ชั้น ชั้นที่ ๑ และชั้นที่ ๓ แปลกกันแต่แต่งตัวเรียบ ราคาผิดกันถึง ๓ ปอนด์ ชั้นที่ ๒ เป็นสีดำ ไทยคงไม่ชอบ ชั้นที่ ๔ ผิวทองหยาบเกินไปคงไม่ชอบ ถ้าที่ ๑ กับที่ ๓ ทำไปทั้งสองอย่าง คนคงหันหลังซื้อข้างถูกที่ ๑ เห็นจะไม่ออก จึงได้แต่ทำที่ ๓ เขาขอให้ถ่ายรูปไว้ให้ทั้งสี่ด้าน พรุ่งนี้จึงจะได้ไปถ่าย.......





    อีกทั้งยังทรงเสด็จไปประทับเป็นนายแบบให้ช่างปั้นถึง ๒ ชั่วโมงทั้งที่เขาขอพระราชทานเพียงแค่ชั่วโมงเดียวเพราะทรงรู้สึกเพลิน





    พระบรมรูปทรงม้าสร้างสำเร็จเรียบร้อยเป็นที่ถูกพระทัยและถูกส่งมายังบางกอกในพ.ศ. ๒๔๕๑ แล้วตั้ง สถิตย์เด่นเป็นที่สักการะ สร้างขวัญและกำลังใจให้พสกนิกรของพระองค์ตราบจนทุกวันนี้





    สำหรับผู้ที่ออกเงินเรี่ยไรนั้น ต่อมาได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้สร้างเหรียญและพระบรมรูปเป็นเครื่องระลึกตอบแทน และทรงพระราชทานให้ในภายหลัง




    ส่วนเงินที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้านั้นรวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแล้วเป็นเงินถึง ๙๘๒,๖๗๒บาท ๔๗ สตางค์ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมารได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๖ แล้วได้พระราชทานเงินจำนวนนี้ขยายโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้กว้างขวางและทรงเปลี่ยนชื่อเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    http://mblog.manager.co.th/septimus/th-34459/
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ในคณะพระวังหน้า น่าจะมีผมและคุณ:::เพชร::: ที่ฉีดวัคซีนเยอะกว่าเพื่อนมั้งครับ อิอิ
    โดนไปเยอะนี่
     
  11. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    โฮ ... พึ่งเคยได้ยินนิแหละครับใบขับขี่จักรยาน ..ไม่มีครับ เอาของจักรยานยนต์ใช้แทนได้มั๊งครับเพราะมีแบบตลอดชีพ :) ออ เจ้าจักรยานคันนี้มี serial number ครับ = C51-A0841 ครับ (ไม่ได้ใบ้หวยนา ท่านสมาชิกฯที่รักทุกท่าน)
     
  12. Phocharoen

    Phocharoen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +225
    ผมได้รับจากผู้ใหญ่มาครับ ให้พิจารณากัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN0060.jpg
      DSCN0060.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48 KB
      เปิดดู:
      172
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เมื่อก่อน เรื่องของจักรยาน ตามกฎหมาย(สมัยก่อน) มีการให้ทำใบขับขี่ ผู้ที่มาทำใบขับขี่ให้ที่โรงเรียน เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจครับ มาทำให้นักเรียนทุกๆคน

    แต่เรื่อง serial number ผมไม่รู้นะครับว่า จะมีใครนำไปซื้อหวยมั่ง แต่ถ้านำไปซื้อแล้วถูก ก็ เหอๆๆๆ ดังครับ

    .
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ไม่ขนาดนั้นครับ เอาเป็นว่ายังต้องศึกษาอีกมาก ที่ไม่รู้ยังอีกมาก ที่แน่ๆคือผมรู้น้อยสุดในคณะแล้ว..อิ..อิ...
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมไม่รู้ว่า คุณ:::เพชร::: รู้น้อยที่สุดในคณะหรือเปล่า

    แต่ที่รู้แน่ๆ ผมเร็วกว่าคุณ:::เพชร::: แน่นอนครับ คิคิคิ

    _heart+love_
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    หากได้อ่านในกระทู้พระวังหน้าฯ ก็จะได้เห็นรูปที่ผมนำมาลงนี้ และก็อีกเยอะครับ

    .
     
  19. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่ะ...ว่าไปเลขท้ายคล้ายๆคนแถวนี้แทงกันเลยครับ หุ หุ
     
  20. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    อืม ... เป็นพิมพ์เดียวกันกับองค์หลากสีที่ผมเลือกในวันประชุมครั้งที่สองครับ ต้องขอบคุณคุณพี่ท่านนึงที่เลือกด้วยกันตั้งนานกะคุณหนุ่มที่แนะนำว่า มีหูมีตา ... ตอนนี้อยู่บนคอผมนิแหละ งามแต้ครับ ท่านจะเอียงเหมือนเจดีย์เอียงไปทางขวามือนิดๆ นี่ครับ ... เท่ห์บ่?
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...