พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. dragonlord

    dragonlord เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +1,541
    มัวแต่ทำงานไม่ได้ดูหน้าคอมเลยคะ อะไรเนี่ย โดนนินทาซะแล้ว ไม่รู้เรื่องอะไรเลยจริงๆนะคะ รู้แต่ คิดถึงคุณน้องมากกกกกกกกกกกกกคะ

    <table id="post2278276" class="tborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="thead" style="border-style: solid none solid solid; border-color: rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255); border-width: 1px 0px 1px 1px; font-weight: normal;">[​IMG] วันนี้, 09:53 PM </td> <td class="thead" style="border-style: solid solid solid none; border-color: rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color; border-width: 1px 1px 1px 0px; font-weight: normal;" align="right"> #32204 </td> </tr> <tr valign="top"> <td class="alt2" style="border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px;" width="175"> <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->sithiphong<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_2278276", true); </script>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Dec 2005
    ข้อความ: 31,658
    Groans: 109
    Groaned at 106 Times in 58 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 20,411
    ได้รับอนุโมทนา 207,565 ครั้ง ใน 26,107 โพส
    พลังการให้คะแนน: 14767 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_2278276" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <!-- google_ad_section_start --> อ้างอิง:
    <table width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    <table class="tborder" width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 30 คน ( เป็นสมาชิก 6 คน และ บุคคลทั่วไป 24 คน ) </td><td class="thead" width="14%"><center>[ แนะนำเรื่องเด่น ] </center></td></tr><tr><td class="alt1" colspan="2" width="100%">sithiphong, sittiporn.s, chaiwat13, Phocharoen, dragonlord+ </td></tr></tbody></table>

    ผมจะมาต่อว่า ท่านรองnongnooo และ ท่านรองเพชร ว่า ทำไงให้น้องรัก ติดนิสัย ไม่ทราบ ไม่รู้ ไม่เห็น ไปได้ไงเนี่ย หุหุหุ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    โธ่...น้องรักเค้าเป็นตัวของเค้าเองครับ อันนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ555 หุ หุ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    น้องรัก ??? ลองคลิกสิ...อิ..อิ...
    </td> </tr> </tbody></table>

    สงสัย เชื้อแรงครับ

    "เชื้อมันแรง โปรดเห็นใจ" เหอๆๆๆๆๆ

    </td></tr></tbody></table>
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เหอๆๆ นำมาฝากน้องรัก อีกเช่นกันครับ

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สมิทธ เตือนปชช.อย่าประมาทภัยพิบัติ 22 กรกฎาคม

    �����ػ�Ҥ� 22 �á�Ҥ� ���͹��Դ��¾Ժѵ� ��蹴Թ��� �ֹ���


    [​IMG]


    "สมิทธ" เตือนปชช.อย่าประมาทภัยพิบัติ 22 กรกฎาคม แผ่นดินไหวหลายประเทศบ่งชี้ (มติชนออนไลน์)

    "สมิทธ" ชี้ไม่ควรประมาทคำเตือนภัยพิบัติวันเกิดสุริยุปราคา 22 กรกฎาคม แม้อาจเกิดขึ้นน้อย เผยเหตุแผ่นดินไหวหลายประเทศตัวบ่งชี้เกิดสึนามิได้ แต่ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก เชื่อศักยภาพกรมอุตุฯ

    นายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตประธานกรรมการอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ถึงกระแสข่าวอาจเกิดภัยพิบัติขึ้นในวันที่ 22 กรกฎาคม เนื่องจากตรงกับวันที่จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาว่า มีหลายฝ่ายทั้งนักดาราศาสตร์ นักธรณีวิทยา ได้นำทฤษฎีเรื่องแรงดึงดูดมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ เพราะทั้ง 3 ดวงดาว ทั้งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก อยู่ในระนาบเดียวกันยาวนานที่สุดประมาณ 6 นาที ซึ่งอาจเกิดภัยธรรมชาติขึ้นได้ แม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย แต่ไม่ควรประมาท

    นายสมิทธ กล่าวต่อว่า จากปรากฏการณ์เมื่อ 2 - 3 วันที่ผ่านมา มีแผ่นดินไหวรุนแรงในหลายประเทศ ทำให้มีความหวั่นวิตกว่า จะเกิดสึนามิขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป แต่ไม่ควรตื่นตระหนก สำหรับการเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้น เชื่อมั่นในศักยภาพของกรมอุตุนิยมวิทยา ในการทำหน้าที่นี้ แต่อยากให้เพิ่มความถี่ในการเตือน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง​


    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
    [​IMG]
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ดูแลลูกน้อยอย่างไร พ้นภัย...ไข้หวัด 2009

    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lad02200752&sectionid=0115&day=2009-07-20

    [​IMG]
    เสน่ห์ เจียสกุล - สมกมล เวชชาชีวะ


    กุมขมับกันเลยทีเดียว สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องเป็นกังวลกลัวลูกจะติดเชื้อ "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009" ดูเม็กซ์ ไฮคิว ร่วมกับโรงพยาบาลเด็ก สมิติเวชศรีนครินทร์ ให้ความรู้เรื่อง "เสริมภูมิต้านทานให้ลูกน้อยแข็งแรง สู้ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่"

    ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.เสน่ห์ เจียสกุล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ บอกว่า สาเหตุหนึ่งที่โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ระบาดได้ง่าย เพราะผู้ป่วยสามารถเแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนแสดงอาการป่วยโดยช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน ซึ่งในเด็กเล็กสามารถแพร่เชื้อได้นานกว่านี้ ดังนั้น หากพบว่าเด็กมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล คัดจมูก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย ควรให้หยุดเรียนทันที เพื่อรักษาตามอาการ

    "สำหรับเด็กปกติ พ่อแม่ควรสอนวิธีการป้องกันการติดเชื้อโดย โดย 1.ป้องกันภายนอก การปฏิบัติตนเวลาอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น การสอนลูกให้รู้จักปิดปากปิดจมูกขณะไอหรือจาม และสร้างทัศนคติที่ถูกต้องว่าการใส่หน้ากากอนามัย ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือน่ารังเกียจ รวมถึงการฝึกลูกให้ล้างมือให้เป็นนิสัย 2.ป้องกันจากภายใน การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงการเลือกโภชนาการเสริมพรีไบโอติก คอมบิเนชั่นส์ ส่งผลให้เด็กมีภูมิต้านทานดีขึ้น โอกาศติดเชื้อโรคต่างๆ ก็จะลดลง"

    นางสมกมล เวชชาชีวะ คุณแม่ของลูกวัยอนุบาล บอกว่า พอได้ข่าวเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ก็เป็นห่วงลูกมาก จึงดูแลลูกโดยให้ความสำคัญกับเรื่องการเสริมภูมิต้านทานในทุกๆ ด้านให้ลูกมาตลอดตั้งแต่แรกเกิด โดยหลังจากลูกถึงวัยหย่านมแม่แล้ว ก็ให้ดื่มนมเสริมพรีไบโอติก คอมบิเนชั่นส์อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง

    การป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป เพียงแค่เสริมภูมิต้านทานให้ลูกให้เต็มที่ไว้ก่อน

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิธีไล่ยุง มด แบบปลอดภัยไร้กังวล

    ������ �Ը���� �ا �� Ẻ��ʹ�������ѧ��


    [​IMG]

    วิธีไล่ยุง มด แบบปลอดภัย ไร้กังวล (หนังสือสุขภาพดี)
    ไม่ว่าจะเป็นโรคชิคุนกุนยาไข้เลือดออก มาลาเรียหรืออีกหลายๆ โรค ล้วนมีสาเหตุมาจากยุง ยิ่งหน้าฝนที่น้ำขังอย่างนี้ยุงยิ่งเยอะ ลำพังยุงก็ปวดใจจะแย่ บางบ้านยังมีมดที่หนีน้ำขึ้นมาสมทบ ฉบับนี้เราจึงนำวิธีแบบธรรมชาติไว้ไล่ยุงและมดมาบอก และด้วยความเป็นธรรมชาติจึงไม่เป็นภัยกับคนในบ้าน และยังไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เรียกได้ว่าปลอดภัยไร้กังวลจริงๆ ค่ะ
    4 ของในครัวไล่ยุงร้าย

    กระเทียม

    นำกระเทียมตำให้พอบุบ ผสมกับน้ำแล้วทาลงบนจุดชีพจรต่างๆ ในร่างกายและบนใบหน้าจะช่วยให้ยุงไม่เข้าใกล้อีก แต่ระวังอย่าให้เขาตาและไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบกลิ่นกระเทียม เพราะอาจจะมีกลิ่นค่อนข้างฉุน

    น้ำมันมะกอก

    นำน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นลาเวนเดอร์ ยูคาลิปตัส มะนาว ตะไคร้ ทีทรีไธม์ และ เปปเปอร์มินต์ หยดลงในน้ำมันมะกอก 2-3 หยด แล้วทาลงบนผิวจะช่วยให้ยุ่งไม่เข้าใกล้ แถมยังมีกลิ่นหอม ช่วยผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย

    วานิลา

    นำผงวานิลาผสมกับน้ำเล็กน้อย แล้วทาลงบริเวณจุดชีพจรบนผิวหนัง หรืออาจจะแต้มลงบนเสื้อผ้า เมื่อยุงได้กลิ่นจะไม่กล้าเข้าใกล้

    ตะไคร้

    นำตะไคร้มาตำให้แหลก ผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปเคี่ยวจนเป็นน้ำมัน แล้วมาทาลงบนผิว ช่วยป้องกันยุงได้อย่างดี

    4 วิธีไล่มดตัวจิ๋วจอมป่วน

    คุณแม่บ้านทั้งหลายคงคำราญกับการก่อกวนของเจ้าพวกมดตัวน้อยตัวนิด ที่เวลาวางกับข้าวหรือน้ำหวานเพียงไม่กี่นาทีก็เดินขบวนยาวสามัคคีกันมาเป็นแถว หากจะกำจัดปัญหาปวดหัวนี้ แค่ใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการหาของใช้ในบ้านเรานี่แหละมาปราบเจ้ามดกัน

    วิธีที่ 1 นำน้ำส้มสายชูผสมน้ำ แล้วเช็ดตามทางเดินมด จะทำให้มดไม่กลับมาเดินอีก และยังช่วยไล่แมลงสาบได้อีกด้วย

    วิธีที่ 2 ใช้ผงฟูโรยตามทางเดิน หรือใช้ฟองน้ำเปียกๆ เช็ดตามทางเดินมด จะทำให้มดหาทางเดินไม่เจอ ไม่เดินกลับมาที่อาหารได้อีก

    วิธีที่ 3 โรย พริกป่น กากกาแฟ สะระแหน่แห้ง ตามทางที่มดเดิน จะทำให้มดสับสนหาทางเดินไม่ได้

    วิธีที่ 4 นำมะนาวบีบลงไปในรูมด แล้วทิ้งเปลือกมะนาวไว้ตรงนั้นจะทำให้มดไม่กลับมาอีก

    เห็นไหมคะ เพียงแค่เดินเข้าครัวก็หาสิ่งของป้องกันเจ้ายุงร้ายกับมดตัวจี๊ดได้ไม่ยาก โดยที่ไม่ต้องไปหาซื้อลิ้นเปลืองและยังปลอดภัยไม่มีสารพิษตกค้างให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพคนในบ้านด้วยค่ะ




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    [​IMG]
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อาหารมงคล 10 อย่าง สำหรับบ่าวสาว

    แต่งงาน อาหารมงคล 10 อย่างใน งานแต่งงาน


    [​IMG]



    ตามธรรมเนียมจีนในวันส่งตัวคืนที่เจ้าบ่าวไปรับเจ้าสาว ก่อนจะพาอออจากบ้านอาจมีการตั้งโต๊ะให้คู่บ่าวสาวกินอาหารมงคล 10 อย่าง เป็นเคล็ดให้คู่บ่าวสาวมีความสุข อาหารทั้ง 10 อย่างที่รับประทานรวมกันนั้นประกอบไปด้วย…

    วุ้นเส้น หรือเส้นหมี่ หมายถึง ให้รักกันนานๆ และมีอายุยืนยาว

    เห็ดหอม หมายถึง ให้ขีวิตคู่มีแต่ความหอมหวาน

    ผักกุ๋ยช่าย หมายถึง ให้รักกันยั่งยืนนาน


    ผักเกาฮะไฉ่ มีนัยสื่อถึง "ฮัวฮะ" ซึ่งเป็นเซียนคู่ที่รักกันมาก "ฮัวฮะ"” จึงมีความหมายให้รักใคร่ปรองดองกัน

    หัวใจหมู หมายถึง ให้รักกันเป็นใจเดียว

    ไส้หมู และกระเพาะหมูซึ่งไส้หมูคือ ตึ๊ง กระเพาะหมูคือ โต้ว รวมกันเป็นภาษามงคลว่า "อั่วตึ๊งอั่วโต้ว" หมายความว่าให้เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หมายถึงการปรับตัวเข้าหากัน นิสัยใดที่ไม่ดีก็ให้เปลี่ยนเป็นนิสัยที่ดี เพื่อให้คู่ครองได้มีความสุขและรักกันยืนยาว

    ตับหมู เป็นนัยสื่อถึงความก้าวหน้ารุ่งเรือง

    ปลา แปลว่าให้มีเหลือกินเหลือใช้ คือมีมากมาย ร่ำรวยจนกินใช้ไม่หมดนั่นเอง

    ปูเมื่อต้มแล้วเป็นสีแดงมงคล และตัวปูเดินเร็ววิ่งเร็ว เป็นการอวยพรคู่บ่าวสาวให้ทำอะไรได้คล่องแคล่วว่องไว ขยันทำมาหากิน ทำงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    [​IMG]
    ฉบับเดือน JULY - AUGUST 2008
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก my.inlovephoto.com
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    แถมมีพี่บางท่าน ก็มีครูบาอาจารย์ (ขนาดวางพระไว้บนพานที่กรุงเทพฯ) แต่ครูบาอาจารย์ของพี่ท่านนี้อยุ่ภาคใต้(เกือบสุด) ยังสามารถนั่งสมาธิมาตรวจสอบพระพิมพ์ได้ และผลการตรวจสอบ ตรงกับ ผลการตรวจสอบทางผม !!!!!!!!

    ดูผ่านกล้องส่องพระ เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบอกได้ว่า ใช่หรือไม่ แท้หรือไม่แท้ หุหุหุ
    .

    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    และพี่ท่านนี้ ได้บอกผมว่า จะมอบ "พระธาตุสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี" ให้ผมเพิ่มเติมอีก เมื่อผมอัญเชิญ "พระธาตุสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี" มาแล้ว ผมจะอัญเชิญมามอบให้กับ พี่ๆ ที่รักทุกๆท่าน เพื่อนๆ ที่รักทุกๆท่าน น้องๆ ที่รักทุกๆท่านแน่นอน(ผมมอบให้ตามจำนวน "พระธาตุสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี" ที่ผมได้อัญเชิญมานะครับ) ยืนยัน

    โมทนาสาธุกับพี่ท่านนี้ด้วยครับ

    .

    ผมขอแจ้งสองเรื่องครับ

    เรื่องแรก ผมไม่มีครูบาอาจารย์ทางภาคใต้นะครับ แต่เป็นครูบาอาจารย์ของพี่ท่านนึง ผมเขียนละเอียดแล้วนะครับ

    ส่วนเรื่องที่สอง ที่ผมขอแจ้ง เรื่องพระธาตุสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ผมเรียนให้ทราบ ผมได้รับคำแนะนำจากพี่ใหญ่ว่า ไม่มีพระธาตุสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เนื่องจากสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ยังมิได้เป็นพระอรหันต์ แต่สิ่งที่เสด็จมาที่พระบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ผมจะไปขอความเห็นจากท่านอาจารย์ประถมอีกครั้ง แล้วผมจะมาแจ้งให้ทราบครับ

    โมทนาสาธุครับ

    พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

    หน้าที่ 1553

    --------------------------------------------------

    มาแจ้งนะครับ

    ท่านอาจารย์ประถม ท่านให้เรียกว่า "ธาตุสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี" ครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในการประชุมครั้งหน้า หากสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า ท่านใดที่ต้องการไว้สักการะบูชา ผมขอให้นำผอบที่จะบรรจุ"ธาตุสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี" มาด้วยนะครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  11. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768
    วันนี้แถบปทุมธานี และอยุธยาฝนตก ถนนลื่น

    ยังงัยถ้าท่านใดขับรถมาแถวนี้ระวังอุบัติเหตุ ด้วยนะครับ

    แล้วอย่าลืมแขวนสมเด็จวังหน้าด้วยนะครับ อุ่นใจทุกครั้งที่เดินทางครับผม

    โมทนาสาธุครับ
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เมื่อทราบว่าท่านเก่งอย่างนี้ ก็มาศึกษาดูความเป็นมาของท่าน...

    [FONT=Times New Roman, Times, serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
    [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]ชาติภูมิ [/FONT]


    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙) นามเดิม "หนูค้าย"( ภายหลัง สมเด็จพระวันรัต "เขมจารีมหาเถร" วัดมหาธาตุ ได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า "โชดก") นามสกุลว่า "นามโสม" เกิดวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๖๑ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ท่านเกิดที่บ้านหนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น บิดาของท่านชื่อ "เหล้า" มารดาชื่อ "น้อย" ท่านมีพี่น้องร่วมตระกูล ๙ คน เป็นพี่สาว ๘ คน และน้องชาย ๑ คน ปู่ของท่านมี บรรดาศักดิ์เป็นขุน ชื่อขุนวงษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย มีฐานะดี ส่วนบิดาของท่านเป็นชาวนา มีแต่ความรู้พิเศษ เป็นหมอชาวบ้าน - ช่างไม้ - ช่างเหล็ก ประจำหมู่บ้าน[/FONT]

    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]การศึกษาเบื้องต้น [/FONT]
    </CENTER>

    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๗๒ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านหนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]<CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]บรรพชา - อุปสมบท [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๗๗ เมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์กลาง โดยมีพระครูเลิ่ง เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และย้ายไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดกลาง ในตัวเมืองขอนแก่น สอบนักธรรมตรีได้จากวัดนี้ และย้ายไปอยู่วัดยอดแก้ว ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเรียนนักธรรมชั้นโทและบาลีมูลกัจจายน์ และสอบนักธรรมชั้นโทได้ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ โดยครั้งแรกได้อยู่ที่วัดเทพธิดาราม สอบ ป.ธ. ๓, ป.ธ. ๔ และนักธรรมชั้นเอกได้ในสำนักนี้ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุ โดย ขุนวจีสุนทรรักษ์ เป็นผู้นำมาฝาก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เขมจารีมหาเถร) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม ได้เมตตารับไว้ให้อยู่ คณะ ๑ วัดมหาธาตุฯ [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]<CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]วุฒิการศึกษา [/FONT]
    </CENTER>

    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ในสำนักเรียนวัดโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๗๘ สอบได้นักธรรมชั้นโท ในสำนักเรียนวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๘๑ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ป.ธ. ๓, ป.ธ. ๔ ในสำนักวัดเทพธิดาราม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๔๙๔ สอบได้ ป.ธ. ๕ - ป.ธ. ๙ ในสำนักวัดมหาธาตุฯ ในสมัยสอบ ป.ธ. ๙ ได้ใน พ.ศ. ๒๔๙๔ นับเป็นผู้สอบได้เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๘๖ - ๒๔๙๒ ไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ จังหวัดขอนแก่น โดยครั้งแรกเปิดสอน พระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม - บาลี ที่วัดสว่างวิทยา อำเภอเมือง ประมาณ ๑ ปี แล้วย้ายมาอยู่วัดศรีนวล ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น ปรากฏว่าได้ส่งเสริมการศึกษา ในสำนักนี้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีพระภิกษุสามเณรสอบนักธรรม และบาลีได้มากทุกปี ต่อมาท่านได้ลาออกจากตำแหน่งสาธารณูปการจังหวัด เพื่อกลับมาอยู่วัดมหาธาตุฯ สำนักเดิม
    [/FONT]
    การปฏิบัติศาสนกิจ

    พ.ศ. ๒๔๙๓ ย้ายกลับเข้ามาอยู่วัดมหาธาตุฯ ในสมัยท่านเจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถร) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพิมลธรรม" เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้อยู่ที่คณะ ๕ และ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ ๕ วัดมหาธาตุฯ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๙๓ และอยู่ประจำ อยู่ที่คณะ ๕ ตลอดมาจนมรณภาพ
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT]
    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]งานด้านวิปัสสนาธุระ [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ณ มณฑปพระธาตุ วัดมหาธาตุ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๙๔ ถึง ๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๔ รวมเวลา ๗ เดือน ๑๙ วัน โดยพระภาวนาภิรามเถระ (สุข) วัดระฆัง เป็นอาจารย์สอน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๙๕ ไปดูการพระศาสนาที่ประเทศพม่า และได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ สำนักศาสนายิสสา เมืองแรงกูน ประเทศพม่า เมื่อสำเร็จการศึกษา และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ได้เดินทางกลับประเทศไทย พร้อมกับพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ๒ รูป ที่รัฐบาลไทยขอจากรัฐบาลพม่า เพื่อมาสอนวิปัสสนากรรมฐาน ประจำอยู่ในประเทศไทย พระวิปัสสนาจารย์ ๒ รูปนั้น คือ ท่านอาสภเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะ และท่านอินทวังสะ ธัมมาจริยะ กัมมัฏฐานาจริยะ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] เมื่อท่านกลับมาประเทศไทยแล้ว ท่านได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก ๔ เดือน ในสมัยนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพิมลธรรม" ได้ประกาศตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานแห่งประเทศไทย ขึ้นที่วัดมหาธาตุ และได้แต่งตั้ง ท่านครั้งเป็นพระมหาโชดก ป.ธ. ๙ ให้เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นรูปแรก ท่านได้รับภาระหนักมาก เพราะเป็นกำลังสำคัญของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ในการวางแผนขยายสำนักสาขาไปตั้งในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จัดทำหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน คัดเลือกพระวิปัสสนาจารย์ไปสอนประจำอยู่ตามสำนักสาขาที่ตั้งขึ้น และจัดไว้สอนประจำที่วัดมหาธาตุ พระวิปัสสนาจารย์ทั่วประเทศ ส่วนมากเป็นศิษย์ของท่าน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] อนึ่ง ในครั้งนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ได้จัดตั้งกองการวิปัสสนาธุระขึ้นเป็นศูนย์วิปัสสนากรรม ฐาน ที่คณะ ๕ วัดมหาธาตุ และได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้อำนวยการกองการวิปัสสนาธุระ ในความอำนวยการของท่าน มีกิจการเจริญก้าวหน้ามาก มีผลงานปรากฏ ดังนี้ :- [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๑. จัดพิมพ์วิปัสสนาสาร ซึ่งเป็นวารสารราย ๒ เดือน (ออกปีละ ๖ เล่ม) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ และได้ออกติดต่อตลอดมาถึงบัดนี้ มีสมาชิกให้การอุดหนุนวารสารนี้มีมากพอสมควร[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๒. จัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขึ้นที่คณะ ๕ โดยจัดสร้างห้องปฏิบัติขึ้นรับผู้ประสงค์ จะเข้าปฏิบัติ หรือผู้มีปัญหาชีวิต เข้าปฏิบัติได้ทุกเวลา ทั้งประเภทอยู่ประจำ และไม่ประจำ (คือมารับพระกรรมฐานจากอาจารย์ไปปฏิบัติที่บ้านแล้วมารับสอบอารมณ์ หรือมาปฏิบัติในเวลาว่าง แล้วกลับไปพักที่บ้าน)[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๓. อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ และคณะศิษย์ของท่านได้ไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ ตึกมหาธาตุวิทยาลัย ตึกธรรมวิจัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทุกวันพระ และวันอาทิตย์ [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]๔. ให้ความอุปถัมภ์สำนักวิปัสสนากรรมฐานอื่นที่เป็นสาขาอีกหลายสำนัก เช่น สำนักวิเวกอาคม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักวิปัสสนาภูระงำ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และสำนักบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พระธรรมธีรราชมหามุนี ได้อุทิศชีวิตอบรม และเผยแพร่วิปัสสนากรรมฐานติดต่อมาเป็นเวลายาว นานประมาณ ๔๐ ปี จึงมีศิษยานุศิษย์และมีผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และบุคคลผู้มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีทุกระดับชั้น ทุกฐานะอาชีพ เช่น ในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๘ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถร ได้เป็นพระอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐาน แด่สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ซึ่งได้เสด็จ มาสมาทานพระกรรมฐานเมื่อวันอังคารที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ พระมณฑป พระบรมธาตุ วัดมหาธาตุ ในโอกาสนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม ได้ถวายศีล แล้วพระอุดมวิชาญาณเถร เป็นผู้ถวายพระกรรมฐาน และถวายสอบอารมณ์ พระกรรมฐานด้วย เป็นประจำทุกวัน ณ พระมณฑปพระบรมธาตุฯ เวลา ๑๙.๐๐ น. รวมเวลาที่ทรง ปฏิบัติพระกรรมฐาน เป็นเวลา ๑ เดือน และทรงได้รับผลจากการปฏิบัติวิปัสสนาเป็นอย่างดี[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] นอกจากนั้น ได้เป็นอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐาน แด่พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ) ซึ่งเป็นพระอาจารย์มีเกียรติคุณในด้านสมถกรรมฐาน (วิชาธรรมกาย) มีชื่อเสียงมากในประเทศไทย โดยท่านไปถวายวิปัสสนากรรมฐานแด่หลวงพ่อที่วัดปากน้ำตลอดเวลา ๑ เดือน ครบหลักสูตร และหลวงพ่อวัดปากน้ำได้มาฟังเทศน์ลำดับญาณ ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุ โดยพระอุดมวิชาญาณเถร ได้ถวายเทศน์ลำดับญาณ ปรากฎว่าหลวงพ่อได้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอย่างดี เพราะท่านได้นำสมถกรรมฐานมาต่อวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาไตรลักษณ์ มีพระนิพพาน เป็นอารมณ์ หลวงพ่อได้มอบภาพของท่านไว้เป็นที่ระลึกแก่สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุ และได้เขียน บันทึกใต้ภาพยกย่องว่า "สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุ เป็นสำนักที่สอนวิปัสสนาถูกต้องร่องรอยใน มหาสติปัฏฐานทุกประการ"[/FONT]

    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]หน้าที่การงานเกี่ยวกับการศึกษา [/FONT]
    </CENTER>

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๕๓๐ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นครูสอนปริยัติธรรมทั้งนักธรรม - บาลลี ในมหาธาตุวิทยาลัย ได้เป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์ชั้นมูล ๓ ได้นิตยภัตตั้งแต่เดือนละ ๖ บาท ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ จนกระทั่งสอน ป.ธ. ๗-๘-๙[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรม - บาลี สนนามหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๗ ตลอดมาจนมรณภาพ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นผู้อำนายการแผนกบาลี สำนักเรียนวัดมมหาธาตุฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]หน้าที่เกี่ยวด้วยพระไตรปิฎก [/FONT]


    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ในแผนกตรวจสำนวน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจทานพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการปาลิวิโสธกะ พระอภิธรรมปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบรรณกรในการพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]หน้าที่เกี่ยวกับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [/FONT]


    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๕๓๐ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการชำระหนังสือธััมมปทัฏฐกถา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นอาจารย์บรรยายวิชาพระพุทธศาสนาในชั้้นอุดมศึกษา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการบริหารกิจการ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการพิจารณาหลักสูตรบาลีสำหรับมหหาจุฬาฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์<[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]หน้าที่เกี่ยวกับการบริหารคณะ สงฆ์ [/FONT]


    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๕๓๐[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการกรรมการสงฆ์์จังหวัดขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - กรรมการสาธารณูปการจังหวัดขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เจ้าคณะภาค ๑๐[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เจ้าคณะภาค ๙[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - พระอุปัชฌาย์ประจำวัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - รองเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - รองประธานกรรมการสงฆ์บริหารวัดมหาธาตุ รรูปที่ ๑ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]หน้าที่งานพิเศษ [/FONT]


    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการหัวหน้าพรระธรรมทูตสายที่ ๓[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นหัวหน้าผู้อำนวยการ งานพระธรรมทูตสาายที่ ๖[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นอนุกรรมการมหาเถรสมาคม เพื่อร่วมพิจจารณาหาทางแก้ไขปัญหาวัดที่ว่างเจ้าอาวาสเพื่อหาข้อมูล [/FONT]

    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]งานเผยแผ่ [/FONT]
    </CENTER>


    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นพระธรรมกถึกทั้งเทศน์คู่และเทศน์เดี่่ยว[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นองค์ปาฐกแสดงปาฐกถาธรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - องค์บรรยายธรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - บรรยายธรรมทางวิทยุเป็นประจำหลายสถานี[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - บรรยายธรรมทางสถานีโทรทัศน์[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์มีความเชี่ยวชาญในการบรรยายธรรม ได้รับความนิยมมากจากผู้ฟังทั้งหน่วยราชการและภาคเอกชน ประชาชน เป็นอย่างดี [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]<CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]งานสาธารณูปการ และงานสาธารณสงเคราะห์ [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พระธรรมธีรราชมหามุนี มีผลงานด้านสาธารณูปการ และสาธารณสงเคราะห์ ปรากฏอย่างกว้างขวางทั้งภายในวัดมหาธาตุ และภายนอก ดังมีหลังฐานปรากฏตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๓๐ ดังนี้ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๑) สาธารณูปการภายในวัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - จัดหาทุนสร้างห้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนในวัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - จัดหาเงินสมทบทุนมูลนิธิวิปัสสนากรมฐาน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - สร้างตึกอุดมวิชาในคณะ ๕ วัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานกรรมการหาทุนก่อสร้างตึกมหาธาตุวิทยาลัยอาคารทรงไทย ๔ ชั้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานกรรมการหาทุนบูรณะโรงเรียนธรรมมหาธาตุวิทยาลัย และสร้างโรงครัวครูปริยัติธรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานกรรมการจัดหาทุน และก่อตั้งมูลนิธิศรีสรรเพชญ์[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ร่วมสมทบบูรณะคณะ ๘ วัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - บริจาคร่วมสร้างพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานกรรมการจัดหาทุนสร้างพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการอุปถัมภ์จัดหาทุนสร้างโรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] รวมงานสาธารณูปการภายในวัดมหาธาตุที่ได้ดำเนินการมา เป็นเงินประมาณ ๑๔,๓๒๕,๐๐๐ บาท (สิบสี่ล้านสามแสนสองหมื่นห้าพันบาท)[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๒) สาธารณูปการภายนอกวัด[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - งานก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดสว่างพิทยา บ้านหนองหลุบ ซึ่งเป็นถิ่นบ้านเกิด[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - จัดหาทุนสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมวัดธาตุ ขอนแก่น ๒ หลัง[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - จัดหาทุนสร้างอุโบสถวัดโพธิ์ชัย จังหวัดขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - จัดหาทุนสร้างโรงเรียนประชาบาลบ้านหนองหลุบ ๒[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานจัดหาทุนสร้างวัดพุทธปทีปในระยะเริ่มแรก[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - อุปถัมภ์สร้างอาคารเรียน ในโรงเรียนประชาบาลบ้านหนองบัว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกสงฆ์อาพาธสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถร) ในโรงพยาบาลขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - บริจาคสร้างตึงสยามินทร์ โงพยาบาลศิริราช[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - อุปถัมภ์สำนักวิปัสสนากรรมฐาน ภูระงำ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - หาทุนสร้างสำนักวิเวกอาคม ตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] รวมงานสาธารณูปการภายนอกวัด เป็นเงินประมาณ ๑๓,๔๕๖,๐๐๐ บาท (สิบสามล้านสี่แสนห้าหมื่นหกพันบาท) รวมเงินที่จัดหาในงานสาธารณูปการ ทั้งภายในวัดมหาธาตุ และภายนอกวัด เป็นเงิน ประมาณ ๒๗,๐๘๑,๐๐๐ บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านแปดหมื่นหนึ่งพันบาท) [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]<CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]งานต่างประเทศ [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๕๒๘[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ไปดูการพระศาสนา และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ ประเทศพม่า[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ณ ประเทศอังกฤษ ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สมาคมแห่งประเทศอังกฤษ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตประจำประเทศอังกฤษ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ริเริ่มสร้างวัดไทยในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันได้สร้างเป็นวัดไทยโดยสมบูรณ์ ชื่อว่า "วัดพุทธปทีป" โดยท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธปทีปรูปแรก[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตที่จะไปต่างประเทศ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ไปสอนวิปัสสนากรมฐานที่วัดไทย ในประเทศสหรัฐอเมริกา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - รับชาวต่างชาติปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุ และให้ได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]<CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]งานนิพนธ์ [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พระธรรมธีรราชมหามุนี เป็นพระมหาเถระเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก และมีความทรงจำเป็นเลิศ สามารถบอกเรื่องราวต่างๆ ว่าอยู่ในเล่มใด และบางครั้งบอกหน้าหนังสือเล่มนั้นด้วย และท่านยังเป็นนักประพันธ์ ที่นิพนธ์เรื่องทางศาสนาได้รวดเร็ว และได้นิพนธ์ไว้มากมายหลายเรื่อง เฉพาะที่หาข้อมูลได้ แยกบทนิพนธ์ของท่านเป็นประเภท ดังนี้ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๑) ประเภทวิปัสสนากรรมฐาน มีหนังสือประมาณ ๒๑ เรื่อง เช่น เรื่องความเป็นมาของวิปัสสนากรรมฐาน , คำบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน จำนวน ๙ เล่ม ฯลฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๒) ประเภทพระธรรมเทศนา มีหนังสือประมาณ ๔ เรื่อง เช่น เรื่องเทศน์คู่อริยสัจ ฯลฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๓) ประเภทวิชาการ มีหนังสือประมาณ ๘ เรื่อง เช่น อภิธัมมัตถสัคหะปริเฉทที่ ๑ - ๙ ฯลฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๔) ประเภทสารคดี มีหนังสือประมาณ ๒๐ เรื่อง เช่น เรื่องพระมาลัยโปรดสัตว์นรก ฯลฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๕) ประเภทตอบปัญหาทั่วไป มีหนังสือประมาณ ๕ เรื่อง เช่น ตอบปัญหา เรื่องบุญบาปและนรกสวรรค์ เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]นอกจากนี้ ยังมีคำขวัญ คำอนุโมทนา คติธรรม เพื่อลงตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ต่างๆ ที่มีผู้ขอมา [/FONT]

    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]สมณศักดิ์ [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๗ (อายุ ๓๖ พรรษา ๑๕) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะเปรียญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระอุดมวิชาญาณเถร"
    [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif] วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๕ (อายุ ๔๔ พรรษา ๒๓) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระราชสิทธิมุนี ศรีปิฎกโกศล วิมลปัสสนาจารย์ อุดมวิชาญาณวิจิตร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
    [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif] วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๑ (อายุ ๕๒ พรรษา ๓๑) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระเทพสิทธิมุนี สมถวิธีธรรมาจารย์ วิปัสสนาญาณโสภณ ยติคณิศสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
    [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif] วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ (อายุ ๖๙ พรรษา ๔๘) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม มีพระราชทินนามว่า "พระธรรมธีรราชมหามุนี คัมภีรญาณวิมล โสภณธรรมานุสิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี" [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]อวสานชีวิต [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) ได้ถึงแก่มรณภาพ โดยอาการอันสงบ ในอริยาบทนั่งเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ขณะไปทำการสอนวิปัสสนากรรมฐานที่บ้านโยมอุปฐาก ในวันพฤหัสบดี ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๑ เวลา ๑๕.๐๐ น. รวมสิริอายุได้ ๗๐ ปี ๒ เดือน ๑๕ วัน นำความเศร้าโศก แสนเสียดายอาลัยมาสู่คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปอย่างยิ่ง [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ขออำนาจบุญกุศลทั้งปวงได้โปรดดลบันดาลให้พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙) ประสบสันติสุขในสัมปรายภพ ทุกประการ ดังสุนทรโวหารที่ท่านได้นิพนธ์ในสุดท้ายแห่งชีวิต ดังนี้[/FONT]
    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]"เตรียมสร้างทางชอบไว้ หวังกุศล[/FONT]</CENTER><CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]ตัวสุขส่งเสริมผล เพิ่มให้[/FONT]</CENTER><CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]ก่อนแต่มฤตยูดล เผด็จชีพ เทียวนา[/FONT]</CENTER><CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]ตายพรากจากโลกได้ สถิตด้าว แดนเกษม"</CENTER><CENTER>[/FONT] </CENTER><CENTER>
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อารัมภบท
    เกี่ยวกับวิปัสสนากรรมฐาน
    ของ
    พระธรรมธีรราชมหามุนี
    พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

    เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อใหญ่ได้ย้ายจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ไปอยู่ประจำวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษเพื่อช่วยปฏิบัติศาสนกิจด้านพระปริยัติศาสนา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ในฐานะพระมหาอาจ อาสโภ เปรียญธรรม ๘ ประโยค และย้ายกลับคืนมาสู่วัดมหาธาตุฯ อีกในตำแหน่งอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุฯ และเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมไตรโลกาจารย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑
    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ นั่นเอง พระเดชพระคุณหลวงพ่อใหญ่ได้ไปในงานรัฐพิธีที่ ท้องสนามหลวง วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๑ ฯพณฯ อูละหม่อง เอกอัครราชทูตแห่งสหภาพพม่าประจำประเทศไทย คนแรกได้ไปร่วมในงานนั้นด้วย หลังจากการประกอบศาสนกิจเสร็จแล้ว หลวงพ่อใหญ่ได้ถือโอกาสสนทนากับ ฯพณฯ อูละหม่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพระศาสนา ทั้งในประเทศไทยและประเทศพม่า หลวงพ่อใหญ่ได้สนทนาถึงสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ๒ ประการ คือ
    ประการที่ ๑ หลวงพ่อใหญ่ได้ให้ทรรศนะว่า พระภิกษุพม่าที่มีอยู่ในประเทศไทย ปัจจุบันมีแต่พระที่แก่ๆ หย่อนสมรรถภาพ เข้ากับคนไทยไม่ได้สนิท ทำให้คนไทยเข้าใจไปว่าพระภิกษุในประเทศพม่าก็เหมือนกันนี้ ความจริงพระภิกษุพม่าในประเทศพม่าที่มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎกมีจำนวนมาก ควรที่จะจัดส่งพระประเภทนี้มาอยู่ในประเทศไทยบ้าง หลวงพ่อใหญ่ยินดี ที่จะสนับสนุนให้ได้มีโอกาส เผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกัน
    ประการที่ ๒ พระไตรปิฎกภาษาบาลี ทั้งอรรถกาและฎีกาฉบับย่อพม่า เท่าที่เคยได้อ่านมา บริสุทธิ์สมบูรณ์ดีมาก ใคร่ขอให้ทางประเทศพม่าได้ส่งมาให้ ประเทศไทยบ้าง จะเป็นมหากุศลอย่างมาก
    ด้วยเหตุที่หลวงพ่อใหญ่ได้สนทนากับ ฯพณฯ เอกอัครราชทูตพม่าครั้งนั้น เป็นปัจจัยต่อมา คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ สภาการพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่า ได้จัดส่งพระภิกษุ ระดับบัณฑิตชั้นธัมมาจริยะ มายังประเทศไทยตามคำปรารภ ของหลวงพ่อใหญ่ ๒ รูป คือ ท่านสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ และท่านเตชินทะ ธัมมาจริยะ ธัมมกถิกะ ครั้งแรกเมื่อยังไม่รู้ภาษาไทย ได้จัดให้ไปพำนักอยู่ที่วัดปรกพม่า ต่อมาได้จัดให้ท่านสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ไปตั้งสำนักสอนพระอภิธรรมปิฎก อยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม และทำการสอนประจำอยู่ที่วัด ระฆังนั้น จนถึงแก่มรณภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ ส่วนท่านเตชินทะ ธัมมาจริยะ ธัมมกถิกะ ได้จัดให้มาสอนอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จนกระทั่งกลับสู่ประเทศพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒
    ถึงแม้ว่าท่านพระอาจารย์สอนพระอภิธรรม จะได้ถึงแก่มรณภาพ และได้กลับคืนมาสู่ประเทศของตนไปแล้ว แต่ก็ได้ฝังรากฐานวิชาความรู้ พระอภิธรรมปิฎก ไว้อย่างดี เป็นระเบียบเรียบร้อย คือ เขียนและแปลทำเป็นหลักสูตร ไว้จนได้ใช้ศึกษาเล่าเรียนสืบต่อกันมา จนทุกวันนี้ ปัจจุบันสำนักส่วนกลางตั้งอยู่ที่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย รับเป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่งแล้ว มีสำนักสาขาอยู่ทั่วไปทั้งภายในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดประมาณ ๗๐ สำนักเรียน
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ สภาการพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่า ได้ส่งสมณทูตพร้อมทั้งอัญเชิญพระไตรปิฎก ภาษาบาลีอักษรพม่าพร้อมอรรถกาและฎีกา ตามที่หลวงพ่อใหญ่ขอไว้มายังประเทศไทย โดยมีท่านยานิกมหาเถร เจ้าอาวาสวัดอัมพวนาราม พระนครย่างกุ้งเป็นหัวหน้า มีมหาเศรษฐีเซอร์ อู ต่วน เป็นไวยาวัจกร ได้ถวายพระไตรปิฎกอักษรพม่าแก่ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ๑ ชุด ถวายแก่มหามกุฎราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร ๑ ชุด
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ทางการคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย ได้จัดส่งพระสมณทูตพร้อมทั้งพระไตรปิฎก ภาษาบาลีฉบับอักษรไทย ไปเยี่ยมตอบและมอบให้ประเทศพม่า โดยมีเจ้าคุณพระศาสนโศภน อุฎฐายีเถร เป็นหัวหน้า เจ้าคุณพระพิมลธรรม อาสภเถร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นรองหัวหน้า เจ้าคุณพระศรีวิสุทธิญาณ วัดกันมาตุยาราม เป็นคณะปูรกะ และมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นไวยาวัจกร
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระเดชพระคุณหลวงพ่อใหญ่ได้ส่งพระเณรเปรียญวัดมหาธาตุฯ ไปศึกษาวิชาพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายคันถธุระและวิปัสสนาธุระที่ประเทศพม่า โดยพระเดชพระคุณท่านนำไปมอบด้วยตนเอง ๓ รูป คือ ๑. พระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙ เรียนฝ่ายวิปัสสนาธุระ ๒. พระมหาบำเพ็ญ ป.ธ. ๕ และ ๓. สามเณรไสว ป.ธ. ๕ เรียนฝ่ายคันถธุระ โดยให้พระมหาโชดก อยู่สำนักวิปัสสนากรรมฐานสาสนยิสสา ภายใต้การปกครองของท่านมหาสีสะยาดอร์ โสภณมหาเถระ พระอาจารย์ใหญ่วิปัสสนาธุระ พระมหาบำเพ็ญ และ สามเณรไสว อยู่วัดอัมพวนาราม ภายใต้การปกครองของ ท่านยานิกมหาเถรเจ้าอาวาส
    พระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นเวลา ๑ ปี แล้วกลับคืนสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ในขณะเดียวกันนั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อใหญ่ได้แสดงความจำนงไปยัง สภาการพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่า ขอให้จัดส่งพระวิปัสสนาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมายังประเทศไทย ๒ รูป พร้อมกับการกลับคืนสู่ประเทศไทย ของพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ สภาการพุทธศาสนา มีความเห็นอกเห็นใจและเชื่อถือ หลวงพ่อใหญ่อย่างสนิท ชิดชอบเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงได้จัดส่งพระวิปัสสนาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญมายังประเทศไทย ตามที่หลวงพ่อขอร้อง ๒ รูป คือ ๑. ท่านอาสภเถระ มุลุธัมมัฎฐานาจริยะ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะ ๒. ท่านอินทวังสเถระ ธัมมาจริยะ กัมมัฏฐานาจริยะ ทั้ง ๒ รูป จัดให้พำนักอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ช่วยเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐาน ร่วมกับพระมหาโชดก ป.ธ. ๙ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นต้นมา นับว่าได้ช่วยเป็นกำลังเสริมสร้างพระปฏิบัติศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ให้เจริญขึ้นในประเทศไทย และดำรงคงสภาพรุ่งเรืองอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
    ต่อมา ท่านอินทวังสะ กัมมัฏฐานาจริยะ ได้กลับคืนสู่ประเทศพม่า หลังจากที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อใหญ่ ถูกทางตำรวจจับไปขังในสันติบาล ส่วนอาสภเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะ เมื่อหลวงพ่อใหญ่ถูกจับไปขังแล้ว ทั้งห้องวิปัสสนากรรมฐานวัดมหาธาตุฯ ถูกรื้อถอนทำลายเสียหายหมด ตามคำสั่งของผู้ทรงอำนาจในสมัยนั้น ท่านเห็นว่าหมดที่พึ่ง จึงย้ายไปทำการสอนวิปัสสนากรรมฐาน อยู่ที่สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วิเวกอาศรม ชลบุรี ภายใต้ความอุปถัมภ์ของนายธรรมนูญ สิงคาลวานิช คหบดีชาวชลบุรี ซึ่งเป็นศิษย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานผู้หนึ่ง และได้ทำการอบรมสั่งสอนวิปัสสนากรรมฐาน อย่างเอาจริงเอาจังเป็นหลักฐานมั่นคง จนกระทั่งปัจจุบันทุกวันนี้ ท่านอาสภเถระหรือภัททันตะ อาสภเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะนี้ เป็นอาจารย์สอบอารมณ์ วิปัสสนากรรมฐาน เป็นประจำของข้าพเจ้าครั้งกระโน้นด้วย คือ เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าไปเรียนวิปัสสนากรรมฐาน ที่ประเทศพม่าอยู่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ ณ วัดสาสนยิสสานั้น ท่านมหาสีสะยาดอร์ พระอาจารย์ใหญ่ นานๆ จึงจะสอนและสอบอารมณ์สักครั้งหนึ่ง โดยมากท่านได้มอบให้ท่านอาสภเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะนี้ เป็นผู้สอนและสอบอารมณ์เป็นประจำ
    ตามที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การเรียนวิชาพุทธศาสนา แผนกพระอภิธรรมปิฎกที่เรียนกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งแบ่งการเรียนออกเป็น ๙ ชั้น คือ จุฬอภิธรรม ๓ ชั้น มัชฌิมอภิธรรม ๓ ชั้น และมหาอภิธรรม ๓ ชั้น เมื่อเรียนสำเร็จแล้วถือว่าเรียนจบหลักสูตรพระอภิธรรมปิฎก การเรียนพระอภิธรรมปิฎกดังกล่าวมานี้ได้ปรากฏบังเกิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยอำนาจสติปัญญา ความอุตสาหะ และการเสียสละ ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อใหญ่ (สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาสภเถระ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ แห่งประเทศไทย องค์ปฐม) แม้การศึกษา เล่าเรียนแผนกนี้ ที่ดำรงทรงสภาพอยู่ได้ ก็เพราะได้อาศัยบารมีหลวงพ่อใหญ่ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ คอยช่วยอุปถัมภ์ค้ำชูตลอดมา และจักต้องอาศัยความอุปถัมภ์คุ้มครองของหลวงพ่อใหญ่ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตลอดไป และเป็นที่น่าอนุโมทนาสาธุการเป็นอย่างยิ่ง ที่ปัจจุบันนี้ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ได้สงเคราะห์การศึกษา พระอภิธรรมเข้าไว้ในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แขนงหนึ่งแล้ว
    อนึ่ง การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อย่างเอาจริงเอาจังและเป็นหลักฐานมั่นคง นั้นเล่า ก็กล้าอวดบัณฑิตนักปราชญ์ ผู้มีกุศลจิตเป็นมูลฐาน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้ ดังที่ปรากฏผลให้ประจักษ์ในปัจจุบันทุกวันนี้ และได้กำเนิดขึ้นในประเทศไทย ก็ด้วยปรีชาญาณที่มองเห็นการณ์ไกลของพระเดชพระคุณหลวงพ่อใหญ่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โดยประการทั้งปวง

    พระธรรมธีรราชมหามุนี
    พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ภัยในวัฏสงสาร
    จาก "วิปัสสนากรรมฐาน" ภาค ๒
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี
    โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดยคุณ : deedi [ 8 ส.ค. 2542 ] กระทู้ที่ 000236
    คำว่า "ภิกขเว" แปลและหมายความได้หลายอย่าง ดังนี้ คือ
    ภิกขเว เป็นคำร้องเรียกบุคคลผู้จะรับเอาพระธรรมน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อกำจัด กิเลสทั้งหลาย ให้เสื่อมคลายไปจากขันธสันดานของตน จนกระทั่งถึงอมตมหานฤพาน เป็นปริโยสาร ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า
    "ภิกขเวติ ธัมมปฏิคคาหกปุคคลานมาลปนเมตัง"
    คำว่า ภิกขเว นี้ เป็นคำร้องเรียกบุคคล ผู้จะรับเอาพระธรรมน้อมนำไปปฏิบัติตาม บุคคลผู้จะรับเอาพระธรรม ในที่นี้ มีอยู่ ๔ จำพวก คือ
    ๑. ภิกษุ ได้แก่ผู้ชายที่ออกบวชในพระพุทธศาสนา
    ๒. ภิกษุณี ได้แก่ผู้หญิงที่ออกบวชในพระพุทธศาสนา
    ๓. อุบาสก ได้แก่ผู้ชายที่เข้าถึงพระรัตนตรัย
    ๔. อุบาสิกา ได้แก่ผู้หญิงที่เข้าถึงพระรัตนตรัย
    ภิกขเว ศัพท์เดิมมาจาก ภิกขุ ภิกขุ มาจาก ภย ซึ่งแปลว่า ภัย เป็นบทหน้า อิกขุ ธาตุ เป็นไปในความเห็น ต่อกันเข้าเป็น ภิกขุ หรือ ภิกขเว แปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร หมายความว่า ผู้มีปัญญา พิจารณาเห็นความเป็นของไม่จิรังยั่งยืน ของรูปและนาม อยากจะหลุดพ้นไปจาก กามโลก รูปโลก อรูปโลก จึงได้ตั้งใจบำเพ็ญไตรสิกขาให้ภิญโญยิ่งๆ ขึ้นไป จนได้นามว่าภิกขุ ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น
    ภัย แปลว่า สิ่งที่น่ากลัว น่าหวาดสะดุ้ง น่าเกรงขาม มีอยู่หลายประการ จะพึงเห็นได้จาก หลักฐาน ซึ่งปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่มที่ ๒๑ หน้า ๑๖๒ เป็นต้นว่า
    "จัตตารีมานิ ภิกขเว ภยานิ" ดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ภัยมี ๔ อย่าง เหล่านี้คือ
    ๑. อัตตานุวาทภยัง
    ๒. ปรานุวาทภยัง
    ๓. ทัณฑภยัง
    ๔. ทุคคติภยัง
    ๑. อัตตานุวาทภยัง แปลว่า ภัย คือ การติเตียนตนเอง หมายความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า การติเตียนตนจึงได้ละกายทุจริต วจีทุจริตเสีย แล้วประพฤติแต่กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต รักษาตนให้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี
    ๒. ปรานุวาทภยัง ภัย คือ การถูกผู้อื่นติเตียน หมายความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าคนได้ประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ ถึงคนอื่นเขามิได้ติเตียนโดยศีลก็จริง ถึงกระนั้น เขาก็กลัวต่อการถูกตำหนิติเตียนจากผู้อื่น จึงได้ละทุจริตทางกาย วาจา ใจ รักษาตนให้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี
    ๓. ทัณฑภยัง ภัย คือ อาชญา หมายความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นโจรผู้ประพฤติผิดกฎหมายบ้านเมืองถูกจับได้ ถูกโบยด้วยแซ่บ้าง โบยด้วยหวายบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตลอดจนถึงเอาขวายผ่าอกบ้าง แทงด้วยหอกทีละน้อยจนตายบ้าง ขุดหลุมฝังเพียงเอว เอาฟางสุมครอกด้วยไฟ พอหนังไหม้เอาเหล็กไถบ้าง เชือดเนื้อออกมาทอดให้กินบ้าง รวมทั้งสิ้นมี ๓๒ ประการ ครั้นเห็นโทษเช่นนั้นแล้ว จึงพิจารณาว่าถ้าเราทำชั่วเช่นนั้น ก็จะต้องได้รับโทษอย่างนี้แน่นอน เขาไม่ยอมทำความชั่วทางกาย วาจา ใจเลย มีแต่ทำความดีตลอดไป อย่างนี้เรียกว่า กลัวต่อภัยคือ อาชญา
    ๔. ทุคคติภยัง ภัย คือ ทุคคติ ทุคคติมี ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า ผลชั่วของทุจริตทางกาย วาจา ใจเป็นของมีอยู่แน่นอน หากว่าเราประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ ในโลกนี้ เราก็เดือดร้อน แม้เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ไปสู่ปรโลก เราก็จะต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เป็นแน่นอน เมื่อเขากลัวต่อทุคติภัยเช่นนี้ จึงได้ละทุจริตทางกาย วาจา ใจ เสียหมดสิ้น รักษาตนให้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี อย่างนี้ เรียกว่า ภัย คือ ทุคติ
    ภัยนอกนกาที่บรรยายมาแล้วนี้ ยังมีอยู่อีกมากมายหลายประการ เช่น
    ๑. ชาติภยัง ภัย คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศก ความปริเทวนาการ ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ประจวบกับของอันไม่เป็นที่รักใคร่ ชอบใจ พลัดพรากจากของรักใคร่ชอบใจ ปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อก็คือขันธ์ ๕ นี้แหละเป็นภัย
    ๒. อัคคิภยัง ภัยเกิดจากไฟ เช่น ถูกไฟไหม้บ้าน เป็นต้น
    ๓. อุทกภยัง ภัยเกิดจากน้ำ เช่นถูกน้ำท่วม คนตาย ท่วมนาทำให้ข้าวตาย ท่วมสวนเงาะ สวนทุเรียน สวนผัก สวนส้ม เป็นต้น
    ๔. โจรภยัง ภัยเกิดจากโจร
    ๕. อูมิภยัง ภัย คือ คลื่น ได้แก่ โลกธรรมทั้ง ๘ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์
    ๖. กุมภีลภยัง ภัย คือ จระเข้ ได้แก่ ความเป็นคนเห็นแก่ปากท้อง ทนความอดอยากไม่ได้ และได้แก่ นิวรณ์ทั้ง ๕ มีกามฉันทะ พยายาท เป็นต้น
    ๗. อาวาฏภยัง ภัย คือ น้ำวน ได้แก่ กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ชาวโลกพากันเดือดร้อนเพราะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้มากมายเหลือเกิน ฆ่ากันตาย ทะเลาะวิวาทกัน เพราะกามคุณทั้ง ๕ นี้ไม่เว้นแต่ละวัน ดังนั้นกามคุณ ๕ จึงถือว่าเป็นภัยอย่างหนึ่ง
    ๘. สุสุกาภยัง ภัย คือ ปลาฉลาม ปลาฉลามมี ๒ อย่าง คือ ปลาฉลามภายนอก ได้แก่ปลาฉลามที่อยู่ในน้ำทะเล เป็นภัยแก่ประชาชนมิใช่น้อย ปีหนึ่งๆ บุคคลถูกปลาฉลามกิน ก็มีมากอยู่ และปลาฉลามภายในคือกิเลส กัดบุคคลทุกๆ คน ไม่ยกเว้นใครเลย เว้นไว้แต่พระอริยเจ้า ผู้ฆ่ากิเลสได้หมดแล้วเท่านั้น เพราะกิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลงนี้เป็นภัยแก่สรรพสัตว์อย่างร้ายแรงมาก เปรียบเหมือนข้าศึก เปรียบเหมือนยาพิษ เปรียบเหมือนหัวฝี เปรียบเหมือนอสรพิษ เปรียบเหมือนสายฟ้า สรรพสัตว์ทั่วสากลโลก จะเดือดร้อนก็เพราะปลาฉลามภายใน นี้เท่านั้นเป็นต้นเป็นเหตุ ดังนั้นนักปราชญ์จึงจัดว่า เป็นภัยอันร้ายแรงมาก
    คำว่า วัฏสงสาร แยกเป็น ๒ ศัพท์ คือ วัฏ + สงสาร
    วัฏฏะ แปลว่า วน หรือ หมุน มีอยู่ ๓ อย่าง คือ
    ๑. กิเลสวัฏฏ์ วน คือ กิเลส ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    ๒. กรรมวัฏฏ์ วน คือ กรรม ได้แก่ ภพ สังขาร
    ๓. วิปากวัฏฏ์ วน คือ วิบาก ได้แก่วิญญาณนาม รูป อายตนะ ๖ ผัสสะ เวทนา
    เพราะกิเลสมีอยู่ จึงเป็นเหตุให้ทำกรรมที่เป็นบุญบ้าง เป็นบาปบ้าง เพราะทำกรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดผลแห่งกรรม เพราะผลของกรรมจึงเป็นเหตุให้กิเลสเกิดขึ้นอีก และทำกรรมอีก เกิดวิบากอีก ในที่สุดก็วนกันไปวนกันมาอย่างนี้ จนหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้ ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจทั้ง ๔ จากนั้นก็ไม่สามารถที่จะออกจากภพ หรือจากโลกได้ เหมือนตาบอดลักควาย หรือพายเรือในหนอง ฉะนั้น
    นิทานคนตาบอดลักควาย คนตาบอดริอ่านเป็นขโมย เข้าไปลักควายเขา จับควายได้แล้วขึ้นขี่หลังตีควายเรื่อยไป ควายก็เดินวนอยู่ในคอกเรื่อยไป แต่ควายจะเดินไปถึงไหนอย่างไรก็หารู้ไม่ ตีควายเรื่อยไปจนสว่าง นึกว่าคงไปไกลแล้ว ที่แท้ควายเดินวนอยู่ในรั้วบ้านนั่นเอง จนเจ้าของตื่นขึ้นมาเห็น และร้องถามว่า นั่นจะเอาควายเขาไปไหน จึงรู้สึกว่าตนหลงตีควายเสียแย่ ในที่สุดก็วนเวียนอยู่ในรั้วบ้านนั่นเอง การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตาของตัวบอดไม่แลเห็นทางออก จึงได้วนอยู่ไม่รู้จักสิ้นสุด ข้อนี้ฉันใด ปุถุชนที่ถูกอวิชชาครอบงำอยู่ก็ฉันนั้น ไม่เห็นอริยสัจ ไม่เห็นลู่ทางที่จะสลัดออกไปจากโลก หรือจากกองทุกข์ได้ ไม่ผิดอะไรกับคนตาบอดลักควายดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เพราะเหตุฉะนั้น เราท่านทั้งหลายจึงพากันท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่ในสังสารวัฏไม่รู้จักสิ้นสุด ส่วนอุปมา คนพายเรือในหนอง กระจ่างดีอยู่แล้ว ถึงจะพายไปจนเมื่อย จะช่วยกันสักสิบพาย ก็พายวนอยู่ในหนองนั่นเอง
    ถ้าเห็นอริยสัจ ๔ แล้ว จะพ้นทุกข์ พ้นวัฏฏะ พ้นสังสาร ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก มีหลักฐานอ้างอิงปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ หน้า ๕๓๖ - ๕๔๒ ว่า
    จตุนนัง อริยสัจจานัง ยลาภูตัง อทัสสนา
    สังสริตัง ทีฆมัทธานัง ตาสุ ตาเสวว ชาตีสุ
    การที่เราท่านทั้งหลาย ได้พากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร
    ตลอดกาลนานหลายหมื่นหลายแสนชาติ ก็เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอด
    อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    ตานิ เอตานิ ทิฏฐานิ ภวเนตติ สมูหตา
    อุจฉินนัง มูล ทุกขัสส นัตถีทานิ ปุนปัภโว
    อริยสัง ๔ เหล่านั้น เราและท่านทั้งหลาย ได้เห็นแล้ว ได้ถอนตัณหา
    ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว ตัดมูลรากของทุกข์ให้หมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว
    เย ทุกขัง นัปปชานันติ อโถ ทุกขัสส สัมภวัง
    ยัตถ จ สัพพโส ทุกขัง อเสสัง อุปรุชัฌติ
    ตัญจ มัคคัง น ชานันติ ทุกขูปสมคามินัง
    เจโตวิมุตติ หินา เต อโถ ปัญญาวิมุตติยา
    อภัพพา เต อนุตกิรยาย เต เว ชาติชรูปคา
    ชนเหล่าใด ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ โดยประการ
    ทั้งปวง ไม่รู้มรรคอันเป็นหนทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
    ไม่สามารถจะทำที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏฏะได้ จึงต้องเข้าถึงความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตลอดไป
    เย จ ทุกขัง ปชานันติ อโถ ทุกขัสส สัมภวัง
    อัตถ จ สัพพโส ทุกขัง อเสสัง อุปรุชัฌติ
    ตัญจ มัคคัง ปชานันติ ทุกขูปสมคามินัง
    เจโตวิมุตติสัมปันนา อโถ ปัญญาวิมุตติยา
    ภัพพา เต อนุตกิริยาย น เต ชาติชรูปคา
    ชนเหล่าใด รู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดของทุกข์ รู้ความดับทุกข์โดยประการ
    ทั้งปวง รู้มรรค ๘ อันเป็นทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ชนเหล่านั้น
    ถึงพร้อมด้วยเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์
    ในวัฏฏะได้ ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตลอดไป
    คำว่า สงสาร นั้น แปลว่า ท่องเที่ยวไป หมายความว่า แล่นไปในภพน้อยภพใหญ่ คือไปสู่สุคติบ้าง ไปสู่ทุคติบ้าง สงสารนั้นมีอยู่ ๓ อย่างคือ
    ๑. เหฏฐิมสงสาร สงสารเบื้องต่ำ ได้แก่ อบายภูมิ ๔
    ๒. มัชฌิมสงสาร สงสารท่ามกลาง ได้แก่มนุษย์ ๑ เทวดา ๖
    ๓. อุปริมสงสาร สงสารเบื้องบน ได้แก่ รูปพรหม และอรูปพรหม
    ภิกขเว แปลว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร หมายความว่า ผู้พิจารณาเห็นรูปกับนามว่า เป็นบ่อเกิดแห่งภัยต่างๆ ทั้งภัยภายนอกและภายใน แล้วไม่ประมาทไม่นอนใจอยู่ รีบแสวงหาโมกขธรรมต่อไป เช่น พระรัฐบาลเป็นตัวอย่าง ท่านได้พิจารณาเห็นว่าา รูปนามนี้มีแต่ถูกความชรานำเข้าไปหาความตาย ไม่ยั่งยืนเลย ไม่มีอะไรเป็นเครื่องป้องกัน ไม่เป็นใหญ่จำเพาะตน ไม่มีอะไรเป็นของๆ ตนเลยแม้แต่น้อย ทุกคนจำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา ดังนี้
    คำว่า ภิกขเว แปลและหมายความได้อย่างอื่นอีก ภิกขเว แปลว่า ผู้ทำลายกิเลส กิเลสนั้นมีมากมายหลายประการ เช่น กิเลส ๓ กิเลส ๑๐ กิเลส ๕๐๐๐ เป็นตัวอย่าง แต่เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว มีอยู่เพียง ๓ ประการเท่านั้น คือ
    ๑. กิเลสอย่างหยาบ ล่วงออกมาทางกายกับวาจา มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น
    ๒. กิเลสอย่างกลาง ล่วงออกมาทางใจ ได้แก่ นิวรณ์ทั้ง ๕ มีกามฉันทะ พอใจในกามคุณ ๕ เป็นต้น
    ๓. กิเลสอย่างละเอียด ได้แก่ อนุสัยกิเลส นอนอยู่ในสันดานของแต่ละบุคคล
    กิเลสมีทั้งดีและไม่ดี กิเลสไม่ดี เพราะเหตุว่าทำคนให้ชั่ว เช่น โลภะ เป็นกิเลส ทำให้คนโลภ ให้โกง โทสะ ก็เป็นกิเลส ทำคนให้โกรธกันและทะเลาะกัน ให้ฆ่ากัน โมหะ ก็เป็นกิเลส ทำคนให้ลุ่มหลงมัวเมาประมาท กิเลสดี เพราะทำให้คนสร้างความดี ตัวอย่างเช่น หากจะตั้งปัญหาถามว่า เรารักษาศีลกันทำไม ก็จะตอบได้ว่า รักษาศีล เพื่อให้กาย วาจา เรียบร้อย กิเลสหยาบๆ ทำให้กาย วาจา ไม่เรียบร้อย กิเลสหยาบๆ นี้ เราจะปราบได้ด้วยศีล
    เราเจริญสมาธิ เช่น ภาวนา พุทโธๆ เป็นต้น เพื่อให้ใจสงบจากกิเลส กิเลสอย่างกลาง คือ นิวรณ์ ๕ เรียกว่าปริยุฏฐานกิเลส จะปราบให้สงบได้ด้วยสมาธิ
    เราเจริญวิปัสสนาเพื่อตัดกิเลส คือ อนุสัย ซึ่งนอนดองอยู่ในใจของแต่ละบุคคล ให้เด็ดขาดออกไป
    เราจะปราบกิเลสละเอียดนี้ได้ด้วยปัญญา ปัญญามี ๓ ขั้น คือ สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟังอย่างหนึ่ง จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการนึกคิดเอาอย่างหนึ่ง ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาอย่างหนึ่ง อนุสัยกิเลส คือ กิเลสอย่างละเอียด เหมือนขี้ตะกอน นอนอยู่ก้นตุ่มนี้ ต้องปราบด้วยปัญญาขั้นที่ ๓ คือภาวนามยปัญญา
    กิเลสทั้งหลาย คือ โลภะ โทสะ โมหะนี้จะไปเด็ดขาดลงที่ตรง ญาณที่ ๑๔ คือ มรรคญาณ เมื่อมรรคญาณเกิด
    ตามที่บรรยายในปัญหาข้อที่ว่า กิเลสดี เพราะเป็นเหตุให้คนทำความดี เช่นจะรักษาศีลก็เพราะมีกิเลส จะเจริญสมถะก็เพราะมีกิเลส จะเจริญวิปัสสนาก็เพราะมีกิเลส ถ้าไม่มีกิเลสก็ไม่รู้ว่า จะรักษาศีลและเจริญสมถะ เจริญวิปัสสนากันทำไม อุปมาเหมือนกันกับนักมวย เมื่อเวลาขึ้นเวทีต้องมีคู่ชก จะชกลมชกแล้งคนเดียวไม่ได้
    พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็เพราะทรงชนะกิเลส คือ ละกิเลส ตัดกิเลส ฆ่ากิเลส ประหารกิเลสได้โดยเด็ดขาดนั่นเอง ต้องดับกิเลสได้จึงจะถึงพระนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงได้ตอบปัญหานี้โดยเทศนาโวหารว่ากิเลสดี แม้สมเด็จพระชินสีห์ได้ทรงแสดงพระธรรมไว้ ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ก็ล้วนแต่ทรงแนะนำพร่ำสอนให้พุทธบริษัทได้ทราบชัดซึ่งอุบายวิธี ที่จะเอาชนะกับกิเลสขั้นต่ำ ขั้นกลาง และขั้นละเอียด ผู้ที่จะเอาชนะกิเลสได้ก็ต้องปฏิบัติตามมหาสติปัฏฐาน ๔ ดังที่ได้บรรยายมาฉะนี้
    จาก "วิปัสสนากรรมฐาน" ภาค ๒ โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี หน้า ๑๘ - ๒๖
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมได้ฟังMP3 ของพระธรรมธีรราชมหามุนี โชดก ญาณสิทธิเถร ป.ธ.๙ เมื่อเช้ามืดวันนี้...

    คุณมณิมนตราได้ถอดเทปไว้บางส่วน จึงนำมาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน เป็นประโยชน์มากๆ

    ย่างไปทางนี้จะได้ไม่ต้องเสียเวลา

    มีคนสงสัยกันว่าหนอ ๆ แหนๆ มาจากไหน บางคนบอกมาจากพม่าซึ่งเกลียดพวกพม่าที่เผ่ากรุงศรีอยุธยาก็เลยไม่เอา มีคนมานิมนต์อาตมาไป อาตมาก็เขียนขึ้นกระดานดำ เอ้าโยมอ่าน หนอเนี่ยภาษาอะไร หอ ออ หนอ ภาษาไทยมาจากพระไตรปิฎกเล่มไหนรู้ไหม ไม่รู้ ก็ว่าให้ฟัง นี่เป็นตัวอย่างของการสงสัย การปฏิบัติมันก็ผิดได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงถือว่าความสงสัยเป็นปาบอย่างกลาง

    บุญแปลว่าชำระ ชำระบาปอย่างกลาง อย่างละเอียด บุญก็มีสามขั้น บุญอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด บุญอย่างหยาบคือบุญต้น ๆ คือชำระกาย วาจา บุญอย่างกลางคือสมาธิ ชำระใจจากนิวรณ์ บุญอย่างละเอียดคือวิปัสสนากำจัดอนุสัย 12 ตัว โลภะ 8 โทสะ 2 โมหะ 2 ต้องได้บุญอย่างนี้สิโยม

    ย่างไปทางนี้จะได้ไม่ต้องเสียเวลา ฟังให้ดีนะโยม ฟังเอาบุญนี้จะรู้เรื่องไม่รู้เรื่องก็เป็นบุญ ฟังเอาความรู้ต้องจำ แต่ถ้าเป็นนักปฏิบัติวิปัสสนาฟังแล้วปฏิบัติได้เลย กำหนดตรงไหน ได้ยินหนอ ๆๆๆ ที่หู สมัยพระพุทธเจ้าฟังอย่างนี้เป็นส่วนมาก ท่านพาหิยะได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยินก็คือได้ยินหนอ เห็นสักแต่ว่าเห็น ก็คือเห็นหนอ เรียกว่าฟังปฏิบัติ ทำไมจึงต้องปฏิบัติขณะนั้น ก็เพราะกิเลสมันเกิดขณะนั้นด้วย ขันธ์ห้าเกิดในขณะนั้นด้วย เกิดตรงไหน เสียงกระทบหู
    เวลาอาตมาเทศโยมได้ยินมั้ย ได้ยินขันธ์ห้าเกิดแล้วนะโยม ตรงไหนรูป เสียงอาตมากับหูโยม เสียงอาตมาจากสถานีวิทยุมันไปกระทบหูโยม โยมก็ได้ยิน ขันธ์ห้าเกิด เสียงกับหูเป็นขันธ์หนึ่ง เรียกว่ารูปขันธ์เมื่อโยมฟังเสียงอาตมารู้สึกอย่างไรโยม บางคนถูกใจฟังดีเกิดความสบายใจ ขันธ์ไหน สุขเวทนา เป็นเวทนาขันธ์ ถ้าคนไหนฟังแล้ว ฟังไม่ได้พระองค์นี้พูดอะไรก็ไม่รู้ คือ ทุกเวทนา ก็เป็นเวทนาขันธ์อีก ถ้าคนไหนฟังแล้วเฉย ๆ ดีก็ไม่ว่าชั่วก็ไม่ติ อย่างนี้ก็เรียกอุเบกขาเวทนา ได้สองขันธ์แล้ว

    ทีนี้จำได้ว่าเสียงอาจารย์หนอมาแล้ว หลวงพ่อหนอมาแล้ว นี่เป็นสัญญาขันธ์
    หรือจำไม่ได้แต่จำได้ว่าฟังธรรมะก็เป็นสัญญาขันธ์ แต่มาเห็นว่าเทศน์ช้า เร็ว ดีหรือไม่ดี เข้าใจ ไม่เข้าใจ เป็นสังขารขันธ์ ปรุงแต่งที่ได้ยินเรื่อง ก็เป็นวิญญาณขันธ์ ครบ 5 ขันธ์หรือยังโยม ได้ยินเสียงครั้งหนึ่งขันธ์ห้าเกิดแล้ว
    ขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เป็นภูมิของวิปัสสนาเรียกว่าวิปัสสนาภูมิ 6

    มีทางเดินแล้วจึงต้องกำหนดขันธ์ห้า โยมกำหนดได้ยินหนอ ๆ ๆ มันถูกขันธ์ห้าแล้ว ถูกรูปกับนามแล้ว ขันธ์ห้าย่อให้สั้นก็เหลือ 2 คือ รูป กับ นาม รูปคงไว้
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนาม ก็เหลือ 2 คือ รูป กับ นาม

    ได้ยินหนอ คือ กำหนดรูปกับนาม กำหนดขันธ์ห้ากิเลสก็ขาด ถ้าฟังเฉย ๆ กิเลสไม่ขาดนะโยมนะ สมมุติโยมจะฟังอาตมาเทศจนจบกิเลสไม่ขาด แต่บุญก็ได้ เป็นบุญคนละขั้น เค้าเรียกกามาวจรบุญ เป็นบุญขั้นกลาง คือฟังเฉย ๆ เรียกกามาวจรกุศล พาเราข้องเกี่ยวอยู่ในกาม อยู่ในโลกมนุษย์ บุญส่วนนี้อยู่ในสวรรค์ 6 ชั้นมั่ง ในมนุษย์มั่ง แต่ถ้าโยมฟังด้วยการกำหนด ได้ยินหนอ ๆ ไม่ใช่บุญขั้นกลาง บุญขั้นนั้นมันเป็นขั้นที่จะไปโลกุตระ ต้องการบุญเหนือโลก ฉะนั้น ถ้าโยมไม่กำหนดก็เป็นบุญขั้นกลาง ถ้าฟังแล้วกำหนดได้ยินหนอ ๆ ๆ เป็นบุญขั้นภาวนา ต้องการไปนิพพาน กิเลสขาด ได้ยินหนอครั้งหนึ่ง กิเลสขาดไป 10 ชาติ ได้ยินหนอ ๆ ๆ ขาดไปทีละ 7 ชาติ แต่ต้องได้องค์ 3
    1. อาตาปี ตั้งใจทำ
    2. จ้องอยู่ที่หู
    3. จับอยู่ที่หู
    อย่าให้เผลอ ได้ยินหนอ ๆ ขาดไป ขาดไป ขาดไปทำไมมันจึงขาดมากอย่างนั้น ไม่ขาดมากได้อย่างไร เวลาโยมกำหนดได้ยินหนอครั้งหนึ่งนี้ จิตของโยม เกิด – ดับ 17 ขณะ กิเลสมันขาดในชวนะดวงที่ 1 ถึงดวงที่ 7 ขาดไป 7 ชาติทำไมจึงขาด เพราะศีล สมาธิ ปัญญาเกิด ศีลยึดขันธ์ห้า เป็นอารมณ์ สมาธิ ยึดขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ ปัญญายึดขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ นี่คือมรรค 8 มรรค 8 ย่อให้สั้นเหลือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้น กำหนดได้ยินหนอ ๆ กิเลสขาดไปถึง 7 ชาติแล้ว จึงชื่อว่าเราฟังปฏิบัติ ฟังอย่างนี้ได้ผล เพราะสมัยพุทธกาลฟังอย่างนี้นะ อันนี้เป็นความมุ่งหมายของการฟังเทศน์ฟังเอาบุญได้บุญตรงไหน จะได้ทราบและปฏิบัติถูกต้อง ฟังเอาความรู้ ฟังเอาอุปนิสัย ฟังปฏิบัติฟังอุทิศส่วนบุญ เมื่อฟังแล้วได้บุญก็อุทิศให้ผู้ตาย พ่อ แม่ พี่ น้อง ย่างไปทางนี้จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาก
    “ทางสายนี้เท่านั้น ที่เป็นไปพร้อมด้วยความบริสุทธิ์หมดจรดของสัตว์ทั้งหลาย ทางสายอื่นไม่มี”

    ทางเดินของเรามี 7 เส้น
    1. ทางไปนรก ----โทสะ
    2. โลภะ ----- เปรต อสุรกาย
    3. โมหะ ------ สัตว์เดรัจฉาน
    4. มนุษย์ ---- ศีลห้า
    5. สวรรค์ ------ มหากุศล 8
    6. พรหมโลก ----- เจริญสมถะ
    7. นิพพาน -------เจริญวิปัสสนา นี่ไปเส้นนี้นะ




    ย่างไปทางนี้จะได้ไปนิพพาน จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาก จะไปนิพพาน ต้องไปทางไหน มรรค 8 นั่นแหละ สมเด็จพ่อตรัสไว้แล้ว มรรค 8 ย่อให้สั้นก็เหลือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ปริยัติว่าได้เท่านี้ ปฏิบัติสัมมาทิฏฐิเห็นชอบ เห็นอะไร จึงจะเป็นชอบ อย่างโยมเห็นว่าพรุ่งนี้วันพระจะไปฟังเทศน์ วัดมหาธาตุ หรือฟังเทศน์วัดใกล้ๆ
    นี่เป็นเห็นชอบมั้ย เห็นชอบ แต่เป็นมรรค 8 มั้ย ไม่เป็น ทำไมไม่เป็นอารมณ์คนละอย่าง สำคัญตรงนี้ โยมเห็นว่าคนเราเกิดมามีกรรม ใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว โยมเห็นถูกมั้ย เห็นชอบมั้ย เห็นชอบ ไม่ผิด แต่เป็นมรรค8 มั้ย ไม่เป็นเพราะมันเป็นกุศลกรรมบท 10 ไม่ใช่ มรรค 8 ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพราะมีอารมณ์คนละอย่าง เห็นอย่างนี้มีบัญญัติเป็นอารมณ์ มรรค 8 ต้องมีอารมณ์อีกอย่างหนึ่งนี่สำคัญนะ ถ้าเข้าใจไม่ถูกก็เดินไม่ถูกนะ ทีนี้จะเห็นว่าเจริญสมถะนี้
    อาจารย์สอนเยอะ บางอาจารย์ก็สอน นะมะพะทะ จะไปดูพระธาตุเกตุแก้วจุฬามณี จะให้ได้มโนมยิทธิโน่น บางอาจารย์ก็พุทธโธ, สัมมาอรหัง
    เป็นสัมมาทิฏฐิในมรรค 8 มั้ย ไม่เป็น เพราะอะไร เพราะอารมณ์คนละอย่าง
    สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือเห็นอริยสัจสี่ เห็นอย่างอื่นไม่ใช่

    ดังนั้นสัมมาทิฏฐิในมรรค 8 จึงต้องแจกออกเป็น 5 หรือ 6 จะได้ตัดสินถูก
    เห็นว่าสัตว์ทุกตนมีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราละชั่วทำดีซะ เช่น ไปวัดสมาทานศีล 5 ศีล 8 ไหว้พระ สวดมนต์ ละชั่ว ไม่ทำบาปแล้ว ทางนี้ไม่ใช่สัมมาทิฏฐิในมรรค 8 เป็นแค่กุศลกรรมบท 10 เท่านั้น เพราะอารมณ์คนละอย่าง

    เห็นว่าการเจริญสมถะ เป็นของดี เช่น พระท่านสอนให้ว่า นะมะพะทะ ก็ไปปฏิบัติกับท่าน ท่านสอนสัมมาอรหังก็ไปปฏิบัติกับท่าน ท่านสอนพุทธโธ ก็ปฏิบัติกับท่าน ท่านสอนให้นั่งเฉย ๆ ไม่ต้องกำหนดภาวนาอะไรก็ไปปฏิบัติกับท่าน นั่นไม่ใช่มรรค 8 เพราะอะไร เพราะมันไม่ถูกปรมัตธรรม ไม่ถูกขันธ์ห้า ไม่ถูกรูป นาม ไม่ถูกอริยสัจจะเป็นได้อย่างไรอารมณ์คนละอย่าง อันนั้นเป็นแค่กุศล ถ้าเจริญสมถะก็เป็นแค่กุศลไปแค่นี้

    ทีนี้วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ เห็นว่าการเจริญวิปัสสนาเป็นของดีแล้วลงมือเจริญ
    เจริญวิปัสสนา เช่น เดินจงกลม ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ตรงนี้เป็นสัมมาทิฏฐิในมรรค 8 ตรงไหนละเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจสี่ ตรงไหนเป็นอริยสัจสี่ หาเสียก่อน เท้าของโยมที่ก้าวไปนั้น คือ ขันธ์ห้า นี่แหล่ะขันธ์ห้าที่ก้าวไปนี่แหล่ะเป็นทุกขสัจ ของจริงคือก้อนทุกข์ ได้ก้อนนึงนะ ตัณหาก่อน ๆ ที่ให้โยมก้าวไป ก้าวไป เป็นสมุทัยสัจ ในอรรถคถา มหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวไว้ชัดเจนแจ่มแจ้ง ในขณะที่ก้าวไปนี้ทุกขสัจก็มี สมุทัยสัจก็มีถ้าโยมกำหนดมรรคสัจก็มี นิโรธสัจก็มี ถ้าโยมก้าวไปเฉย ๆ ไม่ได้กำหนดอันนี้เป็นทุกขสัจ ไม่ใช่ทุกอริยสัจนะ ถ้ากำหนดขวาอย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ อันนี้เป็นทุกขอริยสัจแล้ว ตัณหาก่อน ๆ ที่ได้เกิดขึ้นถ้าหากกำหนดจึงจะเป็นสมุทัยอริยสัจ ฟังให้ดีถูกอริยสัจแล้วนะ

    กำหนดขวาย่างหนอนี้ถูกอริยสัจสี่แล้ว ขาที่ก้าวไปนั่นแหละคือขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์ อริยสัจของจริง ที่ห่างไปจากข้าศึก ทุกขอริยสัจ ทุกขอริยสัจจทุกข์ก็เกิด อริย = แปลว่าข้าศึก ยะ = แปลว่าห่างไกล สัจจ = แปลว่าของจริง
    ของจริงที่ห่างไกลจากข้าศึก คือ กิเลส

    โยมกำหนดขวาย่างหนอ นี้กิเลสตายไป 7 ชาติ จึงได้ชื่อว่าอริยะ ขาขวาที่ก้าวไปนี้เป็นขันธ์ห้า นี้คือทุกขสัจ เมื่อกำหนดขวาย่างหนอ เป็นทุกขสัจอริยสัจจะ ตัณหาก่อน ๆที่ให้ก้าวไปก้าวมาเป็นสมุทัยสัจ ของจริงที่ห่างไกลจากข้าศึก คือสมุทัย สมุทัยมันหยุดทำงานหน้าที่ ข้าศึกคือกิเลสตาย ตายไป 7 ชาติ สติที่กำหนดขวาย่างหนอ เป็นมัคอริยสัจ ตัณหาก่อน ๆ กิเลสก่อน ๆ มันดับลงไป 7 ชาติ เป็นนิโรธอริยสัจ อย่างนั้นในมหาสติปัฏฐานสูตร ท่านจึงกล่าวไว้ว่า “สติที่กำหนด ขาที่ก้าวไปนั่นเป็นตัวทุกขสัจ” ตัณหาก่อน ๆ ที่ให้สติเกิดนั้นเป็นสมุทัยสัจ ความไม่เป็นไปแห่งทุกข์ กับ สมุทัย คือ นิโรธ

    นิโรธอริยสัจ อริยมรรค กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธ เป็นอารมณ์
    เป็นมรรคสัจ ทำหน้าที่เดียวกันนะ ทั้งทุกข์ สมุทัย นิโรธ อยู่ที่นั้นแหละ พร้อมกัน เหมือนกับโยมจุดเทียนบูชาพระ เมื่อจุดเทียนขึ้นแล้ว
    1. ไส้เทียน
    2. ขี้ผึ้ง
    3. แสงสว่าง
    4. มืด
    ไส้เทียนหมดไป ขี้ผึ้งหมดไป แสงสว่างก็ออกมา มืดก็หายไป มีสี่อย่างนี้ ไม่ก่อนไม่หลังกัน ฉันใดก็ดีอริยสัจสี่ก็ต้องทำหน้าที่พร้อมกันอย่างนี้นะ
    มันเป็นโลกียะ เพิ่งเริ่มปฏิบัติ แต่ถึงอย่างนั้นก็มีอำนาจ กิเลสขาดไปถึง 7 ชาตินะโยม พอขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ขาดไป 7 ชาติ แต่ต้องได้องค์สาม ได้ถูกหลักนะ ทำไมจึงขาด เพราะศีล สมาธิ ปัญญา มรรค 8 ทำหน้าที่อริยมรรค เกิดละนะในเวลาเดินเอาเวลานั่งทีนี้ โยมเดินเห็นแล้วมรรค 8 สัมมาสังกัปปะอยู่ตรงไหนโยม เดินนี้สังกัปปะแปลว่ากำหนดชอบ กัปปะสังกัปปะ แปลว่าตัดกิเลส กำหนดตัดกิเลสมันขาดไปแล้วกัปปะไม่ได้คิดนะ กัปปะตัวนี้แปลว่าดำริชอบ นึกว่าคิดแต่จริง ๆ ไม่ได้คิดตัวนี้

    กำหนดแปลว่าตัด ซึ่งกำหนดชอบ คือกำหนดออกจากกิเลส การออกจากกิเลส โลภะ ตัณหา เรียกว่า กัปปะในที่นี้ กำหนดชอบ มันเกิดขึ้นพร้อมกันแล้ว เพราะย่อมาคือตัวปัญญาได้แก่สัมปชัญญะ คือที่เดียวกัน ทีนี้สัมมากัมมันโต
    สัมมาวาจา ไม่ใช่พูดชอบนะโยมนะ วาจาชอบไม่ใช่พูดขณะที่โยมเดินจงกลมไม่ได้พูดเลย นึกในใจไม่ได้ออกปาก แต่ทำไมเป็นสัมมาวาจาได้ สัมมาวาจาแบ่งเป็น 3 ส่วน
    1. เจตนาสัมมาวาจา อาตมาตั้งใจว่าวันนี้จะเทศน์ให้โยมเข้าใจไปเลยนี่ไม่ใช่มรรค 8 นะโยม
    เป็นกุศลกรรมบท 10
    2. เทศน์ดี พูดดี เป็นศีลเป็นธรรม อย่างนี้ก็ไม่ใช่มรรค 8 เป็นกุศลกรรมบท 10
    มีบัญญัติเป็นอารมณ์
    1. งดเว้นเด็ดขาดจากนิรตีสัมมาวาจา อันนี้เป็นมรรค 8 งดเว้นเด็ดขาดจากกายทุจริต 3 วจีทุจริต 4 หมายความว่าขณะที่โยมเดินจงกรมขวาย่างหนอ พูดเท็จไม่มีใช่มั้ย พูดคำหยาบไม่มีใช่มั้ย พูดส่อเสียดไม่มีใช่มั้ย พูดเท็จไม่มีใช่มั้ยจะมีได้อย่างไร เพราะใจโยมอยู่ที่เท้า ขวาย่างหนอ นี่แหล่ะ นิรตีสัมมาวาจา อันนี้จึงจะเป็นสัมมาวาจาในมรรค 8 ต้องได้รูป นามเป็นอารมณ์

    สัมมากัมมันโต การงานชอบ แจกออกเป็น 3
    1. เจตนาสัมมากัมมันโต อาตมาตั้งใจทำงานให้ดี
    2. โยมก็ตั้งใจทำงานให้ดีที่สุดนี่ก็เป็นกุศลกรรมบท 10 ไม่ใช่มรรค 8 เวลาทำงานก็ทำเต็มความสามารถ นี่ก็ไม่ใช่มรรค 8 เป็นกุศลกรรมบท 10
    3. งดเว้นเด็ดขาดจากกายทุจริต 3 โยมเดินจงกรมนี้ฆ่าสัตว์มั้ย ลักทรัพย์มั้ย
    ผิดลูกเขาเมียใครมั้ย ไม่มีเป็นหรือยัง เป็นสัมมากัมมันโตหรือยัง

    การงานชอบ ต้องมีรูป นามเป็นอารมณ์ ในมรรคเบื้องต้น สัมมาอาชีโว เป็นอยู่ชอบแยกออกเป็น 2 อย่าง วิริยสัมมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบเพราะอาศัยความเพียร ขยันหาเงิน ขยันทำงานเลี้ยงชีพชอบเพราะอาศัยความเพียร ไม่ใช่มรรค 8 นะ เป็นกุศลกรรมบท 10บางทีก็ไม่ใช่เป็นกุศล แต่เป็นอยู่ชอบเหมือนกัน เช่น อาชีพชาวประมง ฆ่าสัตว์ ไม่ผิดกฎหมาย เลี้ยงชีพชอบแต่ฆ่าสัตว์ โยมเดินจงกรมขวาย่างหนอ โยมไม่มีวจีทุจริต 4 ไม่มีกายทุจริต 3 ไม่มีนี่แหล่ะสัมมาอาชีโวในมรรค 8 ต้องยึดขันธ์ห้าเป็นอารมณ์อย่างนี้ ไม่ใช่ไปยึดอะไรเป็นอารมณ์ ถ้าอย่างนั้นมรรค 8 จะเข้าพร้อมกันได้ตรงไหน ลองตั้งปัญหาถามดูซิ มันเป็นมัคสมังคีในขณะจิตเดียวเท่านั้น ถ้าเข้าใจมรรค 8 ผิด จะเข้าพร้อมกันไม่ได้ มัคสมังคีมีไม่ได้ มรรค 8 ต้องเกิดในขณะจิตดวงเดียวเท่านั้น กิเลสจะขาดมรรคจิตดวงเดียว

    สัมมาวายามะ เพียรชอบ แบ่งเป็นสามขั้น ขั้นต้นหาเงินหาของ อันนี้เป็นความเพียรชอบ ธรรมดาของคนในโลก ไม่ใช่มรรค 8 เพียรสร้างบุญ กุศล รักษาศีล ฟังธรรม นี่ก็ไม่ใช่มรรค 8 มรรค 8 เป็นความเพียรชอบ 4 ประการ
    1. เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
    2. เพียรละบาปที่เกิดขึ้นให้เสื่อมไป
    3. เพียรบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญาให้เกิดขึ้น
    4. เพียรรักษาศีล สมาธิ ปัญญาให้เกิดขึ้นบ่อย ๆ
    โยมเดินจงกรมขวาย่างหนอ สังวรสติกันไม่ให้บาปเกิด ไม่ให้บาปรั่ว นี่แหล่ะ
    สังวรประทาน ไม่ให้บาปเกิด สติสังวรณ์ยังไงล่ะ

    พอขวาย่างหนอสังวรประทาน ขณะที่ขวาย่างหนอกิเลสขาดไป 7 ชาติ
    นี่ประหานประทาน ละบาปที่เกิดขึ้นแล้วคืออนุสัย ไม่ใช่บาปที่เกิดขึ้นในชาตินี้
    บางทีไปฆ่าสัตว์มาในชาตินี้มันละไม่ได้หรอก แต่เป็นบาปก่อน ๆ ที่ติดมา
    ในภพก่อน ที่เรียกว่าอนุสัย ไม่ใช่กิเลสที่ทำในชาตินี้เป็นอนุสัยกิเลสที่ติดมาในชาติก่อนด้วย ชาติก่อนหน้าโน้น เพราะฉนั้น ประหานประทาน เพียรละบาปที่เกิดแล้ว คือ อนุสัยเพียรบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ศีล สมาธิ ปัญญา เกิด เรียกว่าทำบ่อย ๆ นึกบ่อย ๆ นี้คือภาวนา

    รักษาจิตของเราให้อยู่กับขันธ์ห้า จึงจะเป็นสัมมัปประทาน มรรค 8 ต้องยึดขันธ์5 รูปนามเป็นอารมณ์

    ทีนี้สัมมาสติระลึกชอบ ระลึกในสติปัฏฐานสี่ ระลึกอื่นไม่ใช่
    ละลึกพุทธโธ ก็ไม่ใช่ ขวาย่างหนอ ขาที่ก้าวไปนี้เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ขณะที่ก้าวไปนั้นรู้สึกเฉย ๆ เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใจรู้ว่ากำลังก้าวขาขวา เป็นจิตตานุปัสสนา ขันธ์ห้า ขาที่ก้าวนั่นคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้เป็นธรรมานุปัสสนา ขาที่ก้าวไปเป็นตัวทุกขสัจจะ ตัวทุกขสัจจก็เป็นธรรมานุปัสสนา สติที่กำหนด ขวาย่างหนอเป็นสติสัมโภชฌงค์ ก็เป็นธรรมมานุปัสสนา สัมมาสติระลึกในสติปัฏฐาน 4 อย่างนี้

    สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ คือ เจริญฌาณ ถ้าโยมไปเพ่งกสิน ก็เป็นสมถะ เพ่งพระไตรลักษณ์ที่กำหนดขวาย่างหนอ คือรูปกับนาม เพ่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงจะเป็นมรรค 8

    เพราะฉะนั้น ย่อแล้วก็เหลือ 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ศีลก็ต้องยึดขันธ์ห้า เป็นอารมณ์
    สมาธิก็ยึดขันธ์ห้าเป็นอารมณ์
    ปัญญาก็ยึดขันธ์ห้า คือรูป นาม ยึดอารมณ์เดียวกันไปพร้อมกัน
    ไม่ก่อนไม่หลังกัน เช่น ขวาย่างหนอ กายกรรม 3 วจีกรรม 4 นี้คือศีลในมรรค 8
    ต่างกันนะ ใจที่จ้องอยู่ที่เท้าที่ก้าวไป คือสมาธิ สัมปชัญญะ รู้ตัวตั้งแต่เริ่มยกนี้คือปัญญาในมรรค8 ขวาย่างหนอมรรค 8 เกิด กิเลสขาดไป 7 ชาติ นี่คือภาวนาที่ถูกต้องที่สุด มรดกครั้งดั้งเดิมของสมเด็จพ่อ คือ มหาสติปัฏฐานสี่ ก็คือมรรค 8 วิปัสสนา อันเดียวกันนะ เจริญวิปัสสนาก็คือเจริญสติปัฏฐานสี่ อยู่ที่เดียวกันนั่นแหล่ะ ทีนี้พอเดินจงกลมเสร็จ แล้วนั่งมันเป็นมรรค 8 ตรงไหน
    ขณะที่กำหนดพองหนอ ยุบหนอ ตรงไหน มรรค 8 คือ เห็นชอบ ดำริชอบ
    เมื่อย่อให้สั้นเหลือ 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คราวนี้จะเอาย่อไม่เอาพิสดารแล้วทีนี้

    กำหนดพอง ยุบ ตรงไหนเป็นศีล กายกรรม 3 วจี 4 บริสุทธิ์ นี้คือศีล ในมรรค 8 ยึดรูป นามเป็นอารมณ์ ตอนนี้เป็นมรรคเบื้องต้นยังไม่ใช่อริยมรรค เพราะเพิ่งเริ่มทำ ทีนี้พองหนอ ยุบหนอ ใจไม่เผลอจากอาการนูน แฟบของท้องเป็นสัมมาสมาธิในมรรค 8 รู้ตั้งแต่เริ่มพอง กำลังพองนี้เป็นตัวปัญญาเรียกสัมปชัญญะ ไม่ใช่ปัญญาในมรรค 8 มรรค 8 ต้องยึดขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ ศีล สมาธิ ปัญญา อื่นจากนี้ไม่ได้ มรรคทั้ง 8 ต้องเข้าพร้อมกันในขณะจิตดวงเดียวกันไปเข้าตรงไหน ไปฟังกันต่อไป อันนี้เป็นญาณต้น ๆ

    กำหนดพองหนอ ถ้าจะเห็นชัดลงไปว่าพองกับยุบเป็นคนละอัน ใจที่กำหนดพอง ยุบก็เป็นคนละเรื่องคนละใจ อย่างนี้เรียกว่าแยกรูป แยกนาม สูงขึ้นไปก็กำหนดรูปไปพองหนอ ๆ ก็จะเกิดพองยุบหายไป เข้าเขตญาณ 2

    ต่อไปเกิดขนลุกน้ำตาไหล เกิดเห็นผี เห็นแสงสว่าง นี้เป็นญาณ 3 มรรค 8 ก็ยังคงทำหน้าที่คุมเรื่อยไป ศีล สมาธิ ปัญญา

    ต่อไปเกิดญาณ 4 เห็นรูปนาม เกิด ดับเช่นกำหนดพองหนอ ๆ มันจะขาดวูบ เห็นชัดลงไปเลย เห็นพระไตรลักษณ์ชัด 50% ก็ด้วยอำนาจมรรค 8 สูงขึ้นไป

    ญาณ 5 ตัวเบา นั่นมรรค 8 ก็ยังทำหน้าที่กำหนดรูปนามอยู่

    ถึงญาณ 6 กลัว ก็ยังทำหน้าที่ของมรรค 8

    ญาณ 7 เบื่อหน่ายทุกข์ โทษเยอะ

    ญาณ 8 เบื่อหน่ายไม่อยากเกิดเป็นมนุษย์ นี่มรรค 8 ก็ยังทำหน้าที่ไม่หยุด
    เข้มงวดตามลำดับ

    ถึงญาณ 9 ใจกระวนกระวายมรรค 8 ก็ยังทำหน้าที่ของเขายึดขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ไป

    ถึงญาณ 10 ใจสู้ตาย มรรค 8 ยังเข้มแข็งขึ้นไป

    ถึงญาณ 11 มรรค 8 ทำหน้าที่รู้รูป นามเฉย เห็นเกิด ดับอยู่นั่น
    แต่ว่าใจไม่ออก นั่งเพลินเวทนาไม่กวนแล้ว

    ถึงญาณ 12 สามารถรู้ชัดว่ารูปนามมันดับไปตรงไหนเมื่อไหร่ อันนี้มรรค 8
    ทำหน้าที่เกือบสมบูรณ์แล้ว เหลืออีกนิดเดียวไม่มาก

    ถึงญาณ 13 มรรค 8 ยึดนิพพานแล้ว มันยึดขันธ์ห้า
    รูปนามตั้งแต่ญาณ 1 ถึงญาณ 12 ยึดรูปนามเป็นอารมณ์เรื่อยมา ยังไม่พร้อมกันมรรคทั้ง 8 พอจะถึง

    ญาณ 13 ไม่ใช่มรรค 8 อย่างเดียว สติปัฏฐาน 4, สัมมัปทาน 4 , อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โภชฌงค์ 7 มรรคแปด 37 ประการ รวมกันเป็นเกือบ 100% แล้ว ได้ 99.9 แล้วถึงตรงนี้กิเลสยังไม่ขาด แต่ยึดนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว

    พอถึงญาณ 14 มัคคญาณ 1 ขณะจิตเท่านั้น ตรงนี้แหละกิเลสขาด สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปทาน 4,อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โภชฌงค์ 7, มรรคแปดเข้าพร้อมกันทั้ง 37 ประการ นี้เรียกว่ามัคสมังคี ความพร้อมเพรียงของมรรคทั้ง 8 ในขณะจิตดวงเดียวเท่านั้น ขณะจิตนึงเป็นบริกรรม ที่สองเป็นอุปจาร ที่สามเป็นอนุโลม ที่สี่เป็นโคตร ที่ 5 มรรค

    มรรคเกิดตรงนี้ กิเลสขาดตรงนี้ นิพพานถึงตรงนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  17. Phocharoen

    Phocharoen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +225
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรียนคุณpsombat

    ผมเองมีบทลบผงของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ต้องการที่จะทราบหรือไม่ครับ ผมเองใช้บูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ผมสวดทุกวันครับ

    หากต้องการที่จะได้ แจ้งผมมาด้วยนะครับ ผมจะจัดส่งให้ทาง email ครับ

    ขอบคุณครับ
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 60 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 59 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER>[ แนะนำเรื่องเด่น ] </CENTER></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ซาหวัดดี ครับท่านผู้อ่าน (สมาชิกทั่วไป 59 คน) อิอิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...