ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    พลิกตำราดูพระดี.. เรียนรู้การนับถือให้ถูก กราบไหว้ให้เป็น




    [​IMG]


    ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อย คงจะรู้สึกตรงกันว่า
     
  2. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    "ปางปฐมเทศนา" ในอีกมุมมอง

    [​IMG]

    "....หลวงพ่อเล่าให้ ฟังว่า.. ท่านเล่าว่าที่วัดป่าชิคาโก มีพระพุทธรูปอยู่องค์นึง..
    ปางปฐมเทศนาหรือปางแสดง ธรรมจักร
    (เราคิดว่าเป็นปางนี้ เพราะแม่บอกว่าเป็นปางที่ท่านทำมือจีบๆ)

    หลวงพ่อท่านเล่า ว่า.. มีเด็กฝรั่งคนนึงมาที่วัดกับแม่เค้า
    ตอนเดินผ่านพระพุทธรูปองค์นี้.. เค้าก็สะกิดๆแม่เค้าแล้วก็บอกว่า..

    " Look mom, Buddha says everything is okay.."


    เราฟังแล้วขำกลิ้ง เลย.. เด็กอะไร เข้าใจคิดจริงๆ :

    หลวงพ่อบอกว่า เออ หลวงพ่อก็เห็นพระพุทธรูปองค์นี้มาตั้งนาน แล้ว
    เดินผ่านอยู่ทุกวัน ไม่เห็นเคยมองมุมนั้นมาก่อนเลย
    :
    ท่านบอกว่า หลังจากนั้น เดินผ่านพระพุทธรูปองค์นี้ทีไร
    ก็จะนึกขึ้นมาทุกทีว่า พระพุทธรูปท่านว่า
    "Everything is okay ...."
     
  3. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    ชมศิลปกรรมแห่งความงดงามที่
    "วัดราชาฯ"

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    "พระอุโบสถ" รูปทรงแปลกตา ออกแบบโดยกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

    <DD>ถ้าเป็นต่างจังหวัดบ้านฉัน คงไม่ใช่เรื่องยากนักถ้านึกอยากจะไปวัดป่าหรือวัดที่มีแนวปฏิบัติเคร่งครัดแบบธรรมยุติ เพราะเห็นมีอยู่ทั่วทุกพื้นที่ แต่ถ้าเป็นวัดป่าสายธรรมยุติในเมืองฟ้าเมืองอมรอย่างกรุงเทพฯ นี่ฉันก็ไม่แน่ใจว่ามีกี่วัดที่ไหนบ้าง

    <DD>แต่สิ่งที่ฉันรู้แน่นอน ก็คือวัดแรกที่ถือเป็นต้นกำเนิดแห่งคณะสงฆ์ธรรมยุติกายนั้นอยู่ในเมืองกรุงนี้เอง นั่นก็คือ "วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร" หรือวัดราชาฯซึ่งนับเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ทั้งยังเป็นวัดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีมาโดยตลอด ที่สำคัญคือยังเต็มไปด้วยศิลปกรรมที่มีความงดงามในรูปแบบและรูปทรงที่หลากหลายอีกด้วย

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    "ซุ้มคูหา" เหนือ "พระสัมพุทธพรรณี" ที่ออกแบบเป็น "พระราชลัญกรประยุกต์"

    <DD>ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีที่ฉันได้มาเที่ยวชมวัดราชาฯ ซึ่งแม้จะอยู่ในเมืองกรุงแต่ก็ยังร่มครึ้มปกคลุมไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ สมกับที่เป็นวัดฝ่ายอรัญวาสีหรือวัดป่าจริงๆ

    <DD>ซึ่งวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่สันนิษฐานกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยละโว้ เดิมชื่อว่า "วัดสมอราย" คู่กับวัดสมอแครงหรือวัดเทวราชกุญชรที่อยู่ใกล้กัน ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชวิจารณ์ว่าคำว่า สมอ มาจากคำเขมร ถมอ ซึ่งแปลว่าหิน ดังนั้นวัดนี้จึงแปลว่าหินเรียงราย เพราะในบริเวณวัดมีเสาหินเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก

    <DD>ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดราชาธิวาสวิหาร" แปลว่า วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา เพราะเป็นวัดแรกที่เป็นที่ประทับจำพรรษาของพระภิกษุเจ้าฟ้าแห่งราชวงศ์จักรี นั่นคือ รัชกาลที่ 2 และอย่างที่ฉันบอกไว้ว่าวัดแห่งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีมาโดยตลอด นับตั้งแต่ในรัชกาลที่ 1 ที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ และในรัชกาลต่อๆมา กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันก็เช่นกัน

    <DD>สิ่งที่ถือว่าวัดราชาฯ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ก็คือเมื่อรัชกาลที่ 4 สมัยที่ยังเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏทรงผนวชและจำพรรษา ณ วัดนี้ ได้ก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้น เพราะเล่ากันไว้ว่า สมัยก่อนนั้นสภาพวัดเป็นป่ามีต้นไม้ใหญ่น้อย เหมาะสำหรับการเจริญภาวนาของพระสงฆ์ จึงเป็นที่นับถือของประชาชนทั่วไป

    <DD>และเนื่องจากเป็นวัดฝ่ายสมถะ พระสงฆ์เคร่งครัดในวิปัสสนาอยู่ในประเภทอรัญวาสี จึงไม่ค่อยสนใจในเรื่องการก่อสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัดและไม่ค่อยสะสมบริษัท จึงทำให้วัดทรุดโทรมลงโดยลำดับ ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รื้ออาคารสร้างใหม่หมดทั้งวัดนับเป็นการซ่อมและบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่

    <DD>หนึ่งในนั้น ก็คือ "พระอุโบสถ" ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้ "นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม" หรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบ โดยมีลวดลายเลียนแบบสถาปัตยกรรมขอม มีเสาพาไลรอบ แต่ก็ยังคงรักษาโครงสร้างของพระอุโบสถเดิมที่สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 ไว้

    <DD>เพียงเห็นพระอุโบสถแค่ภายนอก ก็ยังทำให้ฉันยืนนิ่งงันมองดูความสวยงามและแปลกตา ซึ่งที่ฉันรู้มาพระอุโบสถวัดราชาฯ นี้ยังนับเป็นต้นแบบในการออกแบบหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย และเมื่อเข้าไปภายพระอุโบสถก็ยิ่งต้องตะลึงกับความงามและความแปลกตาที่ไม่เหมือนใคร

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    "พระราชลัญกรประยุกต์"

    <DD>โดยภายในพระอุโบสถนั้นมี "พระสัมพุทธพรรณี" เป็นพระประธานภายใต้เศวตฉัตร 9 ชั้น ซึ่งใต้ฐานชุกชีนั้นรัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระราชสรีรังคารสมเด็จพระนางเจ้าพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 ไว้ เบื้องบนพระประธานเป็นภาพพระพุทธเจ้าอยู่เหนือเมฆกำลังตอบปัญหาของพระสารีบุตรและพระอินทร์ ที่ใกล้พระประธานมีรูปศากยกษัตริย์พระประยูรญาติมาเฝ้าอยู่เบื้องหลัง

    <DD>และที่ด้านหลังพระประธานยังเป็นซุ้มคูหาที่เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันออกกับตะวันตกได้อย่างลงตัว ซึ่งซุ้มคูหานี้ได้ออกแบบเป็น "พระราชลัญกรประยุกต์" ในรัชกาลที่ 1-5 โดยที่ยอดบนสุดแทนรัชกาลที่ 1 เป็นรูปมหาอุณาโลม ซึ่งคำว่าอุมีลักษณะเป็นม้วนกลม คล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า "ด้วง"

    <DD>ถัดลงมาเป็นรูปครุฑจับนาค แทนรัชกาลที่ 2 เนื่องจากพระนามเดิมคือ "ฉิม" ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทยเป็นที่อยู่ของพญาครุฑ อีกด้านเป็นรูปมหาปราสาท แทนรัชกาลที่ 3 เพราะพระนามเดิมคือ "ทับ" ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน

    <DD>ถัดลงมาอีกเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ แทนรัชกาลที่ 4 ตามพระนามเดิมคือ "เจ้าฟ้ามงกุฎ" ส่วนอีกด้านเป็นรูปพระพิฆเนศ ถือพระจุลมงกุฎหรือพระเกี้ยว ซึ่งเป็นรูปที่มีความหมายคล้ายพระนามเดิมของรัชกาลที่ 5 นั่นเอง

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    "ภาพจิตรกรรมฝาผนัง" ภายในพระอุโบสถที่เขียนแบบตะวันตก

    <DD>แต่สิ่งที่ทำให้ฉันสะดุดตาที่สุด ก็เห็นจะเป็น "ภาพจิตรกรรมฝาผนัง" ที่แสดงเรื่องพระเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ ซึ่งดูแตกต่างจากที่อื่นอย่างเห็นได้ชัด คือเป็นภาพเขียนแบบตะวันตกและใช้เทคนิคฝรั่งที่เรียกว่า สีปูนเปียก รูปร่างหน้าตาของพระเวสสันดรและคนอื่นๆ จึงดูออกแนวลูกครึ่งฝรั่งกันทั้งนั้น โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบและร่างไว้ และให้นาย ริโคลี จิตรกรชาวอิตาลี เป็นผู้เขียนภาพ ซึ่งนายคนนี้เป็นคนเดียวกับที่เขียนภาพบนเพดานโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคมด้วย

    <DD>ไม่เพียงแต่หน้าตาจะเป็นฝรั่งเท่านั้น แต่ด้วยรูปร่างของคนก็ยังมีขนาดใหญ่ ท่าทางและการแสดงออกก็เป็นธรรมชาติและเหมือนจริง อย่างกล้ามมัดของเนื้อหนัง ความพลิ้วไหวของเสื้อผ้า และแสงเงาที่ตกทอด เมื่อดูแล้วก็มีมิติขึ้น นอกจากนี้เทคนิคการเขียนภาพเทคนิคแบบสีปูนเปียกนี้ยังมีข้อดีคือความคงทน สังเกตได้ว่าแม้ว่าภาพจะเขียนมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 แต่สภาพก็ยังสมบูรณ์ไม่มีการหลุดร่อน ซึ่งการเขียนแบบนี้ต้องอาศัยเทคนิคในการวาดอย่างมาก เพราะเมื่อเขียนแล้ว จะลบหรือแก้ไขไม่ได้เลย จึงนับเป็นความสามารถอย่างยิ่งของผู้เขียน

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    "ศาลาการเปรียญ" ที่ใหญ่โตและงามสง่า สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง

    <DD>นอกจากนี้ด้านหลังของพระอุโบสถยังแบ่งเป็นอีกห้องหนึ่ง ประดิษฐาน "พระสัมพุทธวัฒธโนภาส" ซึ่งใต้ฐานชุกชีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระบรมราชสรีรังคาร สมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และเส้นพระเกศาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ไว้ด้วย

    <DD>วัดราชาฯ ยังมี "ศาลาการเปรียญ" ซึ่งสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลังที่นับได้ว่ามีขนาดใหญ่ จุคนได้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันคน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงให้สร้างเลียนแบบจากศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี <DD> <DD>

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    "พระนิพพานทรงญาณ" พระพุทธไสยาสน์ที่งดงามและคล้ายคนจริงๆ

    <DD>และที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้อย่างหนึ่ง คือที่ห้องประชุมตึกไชยันต์ โรงเรียนมัธยมวัดราชาธิวาส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งกับวัดนั้น ยังเป็นที่ประดิษฐานของ "พระนิพพานทรงญาณ" พระพุทธไสยาสน์ปางทรงพระสุบิน ศิลปะประยุกต์แบบกรีก ที่ได้รับการกล่าวถึงว่ามีความงามโดดเด่นในด้านที่มีลักษณะเหมือนสามัญมนุษย์ที่งามที่สุด และนับเป็นอีกหนึ่งผลงานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

    <DD>ที่ว่าเป็นพระไสยาสน์ที่เหมือนคนนอนจริง ๆ นั้นก็ด้วยพระวรกายคล้ายคนธรรมดา ห่มจีวรที่พลิ้วไหวเป็นริ้วบางเบาคล้ายผ้าจริง พระเนตรหลับพริ้ม แม้กระทั่งลักษณะการวางพระบาท ก็เป็นไปในลักษณะสมจริงเช่นคนหลับทั่วไป แต่ทว่า เป็นอิริยาบถการนอนหลับที่งดงามยิ่ง ซึ่งพระนิพพานทรงญาณนี้ก็ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสำคัญของชาติแล้วด้วย

    <DD>สิ่งที่ฉันเล่ามาเกี่ยวกับศิลปกรรมต่างๆ ในวัดราชาฯ คงไม่สามารถถ่ายทอดได้ถึงภาพและความรู้สึกทั้งหมด นอกเสียจากว่าคุณๆ จะต้องไปเยี่ยมชมและสัมผัสด้วยตัวเองจริงๆ
    </DD>
     
  4. drmetta

    drmetta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +752
    ขอสมัคร เรียนด้วยคนนะครับ ขอบคุณครับ
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    <!-- END WEBSTAT CODE --><TABLE height="95%" width="99%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="75%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 4 กันยายน 2551 11:44:12 น.-->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๑๐๗ | พระนางปชาบดีโคตมี ทูลถวายผ้า
    <!-- Main -->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๑๐๗ : พระนางปชาบดีโคตมี ทูลถวายผ้า


    พระแม่น้าทูลถวายผ้า โปรดให้ถวายอชิตภิกษุ
    ซึ่งต่อไปจะตรัสรู้เป็นพระศรีอาริย์

    ในการเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งที่สอง พระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์เป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า เพราะพระนางเป็นน้องสาวแม่ของพระพุทธเจ้า (นี่เรียกกันอย่างสามัญ) เมื่อพระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุทโธทนะทรงได้พระนางปชาบดีโคตมีนี้เป็นชายา
    พระนางปชาบดีโคตมี ทรงดำริเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งแรกนั้น พระนางไม่ได้ถวายอะไรพระพุทธเจ้าเลย คราวนี้พระนางจึงนำผ้าสาฎก ๒ ผืน ยาว ๑๔ ศอก กว้าง ๗ ศอกเสมอกัน ไปถวายพระพุทธเจ้า ปฐมสมโพธิว่า ฝ้ายนั้นมีสีเหลืองดังทอง โดยพระนางปลูกต้นฝ้ายเอง ฝ้ายออกดอกมาเป็นสีเหลืองหม่น เสร็จแล้วทอเองจนสำเร็จเป็นผืน แล้วใส่ผอบทองนำไปถวายพระพุทธเจ้า


    [​IMG]


    พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับ พระนางเสียพระทัย จึงไปหาพระอานนท์เล่าความให้ฟัง พระอานนท์จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลให้ทรงรับ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงรับ ทรงชึ้บอกพระนางให้นำไปถวายพระสงฆ์ แต่ก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดยอมรับอีก มีอยู่องค์เดียวเท่านั้นที่นั่งอยู่หางแถวอาสน์สงฆ์สุด ที่ยอมรับ ท่านเป็นพระบวชใหม่ นามว่า "อชิต" ยังเป็นพระปุถุชน

    ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับผ้าของพระนางปชาบดีโคตมี เพราะทรงต้องการจะยกย่องความดีของพระสงฆ์สาวกให้เห็นว่า แม้เพียงพระบวชใหม่ทรงศีล ก็ควรแก่การรับของทำบุญของพุทธศาสนิกชน เพราะถ้าไม่ทรงทำให้เห็นอย่างนี้ ต่อไปใครๆ ก็จะถือว่า ทำบุญกับพระพุทธเจ้า เท่านั้นจึงจะได้บุญ แล้วเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานล่วงไปแล้ว พระสงฆ์สาวกก็จะลำบากเพราะทัศนะดังกล่าว

    ในเวลานั้นพระนางปชาบดีโคตมี ทรงน้อยพระทัยว่า พระนางตั้งใจในการทำผ้าทั้งคู่นี้ด้วยว่า จะถวายแด่พระผู้มีพระภาค แต่ก็ไม่ทรงรับ แม้นพระอสีติมหาสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็ไม่ทรงรับ แต่มาบัดนี้ พระภิกษุหนุ่มซึ่งเป็นพระนวกะมารับซึ่งผ้าของพระนาง

    พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระนางเสียพระทัย จึงทรงพระดำริว่า จะทำให้พระนางบังเกิดโสมนัสในวัตถุทานนี้ จึงมีพระพุทธดำรัสเรียกพระอานนท์ว่า
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    พรหมวิหาร กับการวางใจไว้ให้ถูกที่ ให้สวยงาม

    การใช้พรหมวิหารธรรม เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในที่นี้ย่อมเหมาะสมยิ่ง ผู้ได้รับกรรมถึงเป็นถึงตาย หรือได้รับความทรมานบาดเจ็บมากน้อยหนักเบา สูญเสียต่างๆ ก็ตาม ในฐานะผู้ดูเราต้องปลงใจลงว่า นั่นเขาได้รับผลแห่งกรรมที่เขาเองต้องเคยทำมาแล้ว

    ส่วนผู้ทำกรรม ก่อความทุกข์ความทรมานเสียชีวิตเสียเลือดเนื้อ หรือทรัพย์สินเงินทองแก่ผู้อื่นนั้น ในฐานะผู้ดูเราต้องพยายามคิดให้พอเข้าใจว่า เขาตามกันมาเพื่อทวงหนี้กรรม จิตใจของทั้งสองฝ่ายทุกข์ร้อนด้วยกัน ไม่มีฝ่ายใดเป็นสุขได้เลย

    เราต้องไม่เข้าไปร่วมความร้อนรนนั้นด้วย ถ้าเราไปมองผู้ทำกรรมอย่างโกรธแค้นเกลียดชังในความร้ายกาจโหดเหี้ยมอำมหิตของเขา เราก็จะทำร้ายตนเอง ไม่ใช่ใครที่ไหนทำ พึงใช้เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เมตตาที่เขาต้องทุกข์ด้วยกัน

    เราทำบุญกุศลใดไว้ ก็ตั้งความกรุณาอุทิศให้ผู้เป็นเจ้ากรรมนายเวรของเขาทั้งสองฝ่าย ให้ตัวของเขาด้วย เพื่อให้พอมีความสงบเย็นแม้เท่าที่กำลังจิตของเราสามารถช่วยได้ ขณะเดียวกันมีมุทิตายินดีกับตัวเองกับใครทั้งหลายอื่น ที่ไม่ตกอยู่ในสภาพเช่นคู่กรณี

    ไม่ต้องมีจิตใจที่เร่าร้อนทนทุกข์ทรมาน และมีอุเบกขาคือ พยายามวางใจเป็นกลาง ไม่เอียงไปเมตตากรุณาฝ่ายหนึ่งจนทำให้คิดไม่ดีในอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ใจตั้งอยู่ในเมตตาทั้งสองฝ่าย

    ที่สำคัญการวางใจนี้ต้องให้เป็นไปอย่างจริงใจ เมตตาอย่างจริงใจ กรุณาอย่างจริงใจอุเบกขาอย่างจริงใจ นั่นแหละจึงจะเป็นกรรมดีที่สมบูรณ์จริง อันจักให้ผลดีได้จริง

    : ธรรมเพื่อความสวัสดี
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


    ขอขอบคุณ

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5357
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ความริษยาเป็นเหตุทำให้โลกฉิบหาย

    โทษของความริษยานั้น พระพุทธศาสนสุภาษิตแสดงว่า "ความโกรธก่อความพินาศ" คำก้าวร้าวที่เกิดจากความโกรธก็ก่อความพินาศเช่นกัน

    แต่โทษของความริษยาแสดงไว้หนักกว่า รุนแรงกว่ามาก และโทษของความริษยานั้นพระพุทธศาสนสุภาษิตแสดงว่า "ความริษยาเป็นเหตุทำให้โลกฉิบหาย" คำก้าวร้าวที่เกิดจากความอิจฉาริษยาจึงทำโลกให้ฉิบหายได้เช่นกัน

    ความโกรธเกลียดมีโทษน้อยกว่าความอิจฉาริษยา เพราะความโกรธไม่ค่อยฝังใจผู้ใดนาน อาจหายได้เร็ว หายได้ง่าย เกิดใหม่ได้ หายไปได้อย่างไม่ยืดเยื้อ

    แต่ความอิจฉาริษยาจะฝังใจนาน หายยาก ติดต่อกันฝังตัวอยู่เป็นพื้นใจ มีผลยืดเยื้อน่ากลัว ที่ท่านแสดงโทษของความโกรธและความริษยาไว้หนักเบาผิดกัน จึงเป็นความจริงแท้

    ควรกลัวความริษยาให้มาก ดูใจตนเองให้ดี อย่าให้มีริษยาเข้ายึดครองใจ เพราะริษยาจะมีฤทธิ์ชั่วร้ายบัญชาให้คิดพูดทำเลวร้ายได้จริง


    : แสงส่องใจ พระพุทธศักราช ๒๕๔๘
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ความดีหรือบุญกุศลเปรียบเหมือนแสงไฟ

    ผู้ที่ทำบุญกุศลอยู่อย่างสม่ำเสมอเพียงพอ แม้จะเหมือนไม่ได้รับผลของความดี และบางครั้งก็เหมือนทำดีไม่ได้ดี ทำดีได้ชั่วเสียด้วยซ้ำ เช่นนี้ก็เหมือนจุดไฟในท่ามกลางแสงสว่างยามกลางวัน ย่อมไม่ได้ประโยชน์ จากแสงสว่างนั้น

    แต่ถ้าตกค่ำมีความมืดมาบดบังแสงสว่างนั้นย่อมปรากฏขจัดความมืดให้สิ้นไป สามารถแลเห็นอะไรๆ ได้ เห็นอันตรายที่อาจมีอยู่ได้ จึงย่อมสามารถหลีกพ้นอันตรายเสียได้ ส่วนผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตน เช่นไม่มีเทียนจุดอยู่ เมื่อถึงยามกลางคืนมีความมืดมิด ย่อมไม่อาจขจัดความมืดได้ ไม่อาจเห็นอันตรายได้ ไม่อาจหลีกพ้นอันตรายได้

    ผู้ทำความดีเหมือนผู้มีแสงสว่างอยู่กับตัว ไปถึงที่มืดคับขัน ย่อมสามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยดีพอสมควรกับความดีที่ทำอยู่ ตรงกันข้ามกับผู้ไม่ได้ทำความดีซึ่งเหมือนกับผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตัว ขณะยังอยู่ในที่สว่าง อยู่ในความสว่างก็ไม่ได้รับความเดือดร้อน

    แต่เมื่อใดตกไปอยู่ในที่มืดคือที่คับขันย่อมไม่สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างสวัสดี ภัยอันตรายมาถึงก็ไม่รู้ไม่เห็น ไม่อาจหลีกพ้น คนทำดีไว้เสมอกับคนไม่ทำดีแตกต่างกันเช่นนี้ประการหนึ่ง

    การทำดีต้องไม่มีพอ ต้องทำให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอเพราะไม่มีใครอาจประมาณได้ว่าเมื่อใดจะตกไปในที่มืดมิดขนาดไหน ต้องการแสงสว่างจัดเพียงใด ถ้าไม่ตกเข้าไปในที่มืดมิดมากมายนัก มีแสงสว่างมากไว้ก่อน ก็ไม่ขาดทุน ไม่เสียหาย

    แต่ถ้าตกเข้าไปในที่มืดมิดมากมาย แสงสว่างน้อย ก็จะไม่เพียงพอจะเห็นอะไรๆ ได้ถนัดชัดเจน การมีแสงสว่างมากจะช่วยให้รอดพ้นจากการสะดุดหกล้มลงเหวลงคู หรือ ตกเป็นเหยื่อของสัตว์ร้ายจนถึงตายถึงเป็น

    อานุภาพของความดีหรือบุญกุศลนั้นเป็นอัศจรรย์จริง เชื่อไว้ดีกว่าไม่เชื่อ และเมื่อเชื่อแล้วก็ให้พากันแสวงหาอานุภาพของความดีหรือบุญกุศลให้เห็นความอัศจรรย์ด้วยตนเองเถิด

    : แสงส่องใจ
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5363
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=1><TBODY><TR bgColor=#4b9339><TD hight="30">[SIZE=+2]<CENTER>ธรรมะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว</CENTER>[/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR width="100%"><TD colSpan=2>

    1)พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ดี

    "อันพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของเรานี้ ตามความอบรมที่ได้รับมาก็ดี ตามความศรัทธาเชื่อถือส่วนตัวข้าพเจ้าก็ดี เห็นเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง มีคำสั่งสอน ให้คนประพฤติตนเป็นคนดี ทั้งเพียบพร้อมด้วย บรรดาสัจจธรรมอันชอบด้วยเหตุผล น่าเลื่อมใสยิ่งนัก"

    2)พระพุทธศาสนามีลักษณะพิเศษ

    "ศาสนา-ชี้ทางดำเนินชีวิตที่ปราศจากโทษ ทำให้มีความเจริญร่มเย็น คนจึงเชื่อถือ และประพฤติปฏิบัติตาม ทั้งอุดหนุน ค้ำชูศาสนา เพื่อประโยชน์-เพื่อความสุข-ความสวัสดีของตน พระพุทธศาสนานั้น-มีลักษณะพิเศษประเสริฐ ในประการที่อาศัยเหตุผล อันเที่ยงแท้ตามเป็นจริงเป็นพื้นฐาน แสดงคำสั่งสอนที่บุคคล สามารถใช้ปัญญาไตร่ตรองตาม และหยิบยกขึ้นปฏิบัติ เพื่อความสุข-ความเจริญ-และความบริสุทธิ์ได้ ตามวิสัยของตน จึงเป็นศาสนาที่เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์ ง่ายที่จะส่งเสริม"

    3)พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งประโยชน์

    "พระพุทธศานา-คือ ศาสนาแห่งประโยชน์ ไม่ว่าผู้ใด ถ้าเข้ามาศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมได้รับประโยชน์ตามวิสัยแห่งการศึกษาปฏิบัติของเขา การธำรงความเจริญมั่นคงของพระศาสนา จึงน่าจะเน้นที่ การแนะนำทำให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาปฏิบัติธรรม เป็นสำคัญ เมื่อมีผู้ศึกษาปฏิบัติธรรม และได้รับประโยชน์ จากการปฏิบัติธรรมมากขึ้น พระศาสนาก็เจริญแพร่หลายไปพร้อมกัน ข้อสำคัญควรจะถือปฏิบัติให้เคร่งครัดหนักแน่นว่า ต้องแสดงธรรมให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ อย่าให้วิปริตแปรผัน และควรพยายามเน้น การศึกษาปฏิบัติธรรมขั้นพื้นฐาน ให้ยิ่งกว่าอื่น เพราะคนทั่วไป ต้องการที่จะเรียนรู้ได้ง่าย -เข้าใจได้ชัด- ปฏิบัติได้สะดวก เมื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติธรรมเกิดขึ้นแล้ว เขาก็จะพึงพอใจ และจะขวนขวายศึกษาปฏิบัติให้สูงขึ้นไปเอง และเมื่อชาวพุทธรู้ธรรมะ-ปฏิบัติธรรมะกันอย่างถูกต้อง ทั่วถึงมากขึ้น ดังนี้ การบ่อนเบียนพระศาสนา-ก็จะลดน้อยลง พระศาสนา-ก็จะเจริญมั่นคง ตามที่ท่านทั้งหลายปรารถนา"

    4)พระพุทธศาสนามีธรรมะมากมายหลายชั้น

    "พระพุทธศาสนา-มีธรรมะอยู่มากมายหลายชั้น อันพอเหมาะพอดีกับอัธยาศัย จิตใจของบุคคลประเภทต่างๆ สำหรับเลือกเฟ้นมาแนะนำ-สั่งสอน-ขัดเกลาความประพฤติปฏิบัติของบุคคล ให้ดีขึ้น-เจริญขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวโดยหลักใหญ่แล้ว-คือ สอนให้เป็นคนดี-ให้ประพฤติประโยชน์-ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น ให้ลำบากเสียหาย-สอนให้รู้จักตนเอง-รู้จักฐานะของตน-พร้อมทั้งรู้จักหน้าที่ ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติ ในฐานะนั้นๆ ซึ่งเมื่อปฏิบัติโดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว ย่อมจะนำความสุข-นำความเจริญ-สวัสดีมาให้ได้ทั่วถึงกันหมด หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง -ก็คือ นำความสุข-ความร่มเย็น-และความวัฒนาถาวร ให้เกิดแก่สังคมมนุษย์ หน้าที่ของท่านทั้งหลาย อยู่ที่จะต้องพยายามศึกษา พิจารณาธรรมะแต่ละข้อ-แต่ละหมวดหมู่ ด้วยความละเอียดรอบคอบ-ด้วยความเที่ยงตรง-เป็นกลาง ให้เกิดความกระจ่างแจ้งลึกซึ้ง ถึงเหตุ-ถึงผล-ถึงวัตถุประสงค์ แล้วนำไปปฏิบัติเผยแพร่ ให้พอเหมาะพอดี โดยอุบายที่ฉลาดแยบคาย ธรรมะในพระพุทธศาสนา-จะสามารถคุ้มครองรักษาและอุ้มชู ประคับประคองสังคม ให้ผาสุก ร่มเย็นได้ สมดังที่ต้องการ"

    [​IMG]
    </TD></TR><TR width="100%"><TD width="90%"></TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.pantown.com/board.php?id=13834&area=1&name=board1&topic=209&action=view
     
  10. ไชยชุมพล

    ไชยชุมพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +1,873
    วันนี้ได้โอนเงินร่วมทำบุญกับทุนนิธิฯ ประจำเดือนนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ จำนวน 500 บาท ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ
     
  11. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    นศ.narongwate รายงานตัวครับ
     
  12. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    นศพ.narongwate รายงานตัวครับ
     
  13. channarong_wo

    channarong_wo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +1,510
    วันนี้ได้ร่วมบุญเข้าไปที่ทุนนิธิเป็นจำนวน 1100 บาทครับ
    ก็มีครอบครัวผมเอง 500 บาท
    เพื่อนๆแผนก Engineering 600 บาท
    ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่
    ข้าพเจ้าและครอบครัว รวมถึงครูบาอาจารย์ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
    เพื่อนๆในแผนกตลอดจนครอบครัวของเขาเหล่านั้นทั้งหมด
    พี่น้องชาวทุนนิธิรวมถึงครอบครัวทุกๆท่าน....โมทนาบุญด้วยครับ
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101


    ในนามคณะกรรมการทุนนิธิฯ ขอขอบคุณทุกท่านแทนพระสงฆ์ที่อาพาธตามโรงพยาบาลต่างๆ เป็นอย่างสูงครับ


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101

    รับทราบการลงทะเบียนของนักศึกษาสำหรับคอร์ส พระพิมพ์สมเด็จสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และพระพิมพ์สมเด็จปัญจสิริ พิมพ์ทรงพระประธานทั้ง 3 ท่านครับ ยินดีแจกตำราเรียนให้คนละคู่ ฟรีๆ ครับ (ขอขอบคุณที่ทำตามกติกา)
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    นำมาลงอีกครั้ง เพื่อกำหนดให้เป็นพุทธานุสติกันครับ รำลึกถึงพระเมตตา บารมี และพระปริสุทธิคุณแห่งพระองค์ท่านค่อยๆ พิจารณาท่านทีส่วนตั้งแต่พระเกตุ พระเนตร พระกรรณ จนจำรูปท่านได้ วันละสามนาที ก็พอครับ

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
     
  17. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม นี้

    ขอไปร่วมทำบุญตามปกติครับ

    หลังจากนั้นจะไปเรียนหนังสือครับ

    ใกล้สอบเต็มที่ครับ

    ขออนุโมทนาสาธุครับกับทุกท่านที่ร่วมบุญกันครับ

    สาธุครับ
     
  18. onimaru_u

    onimaru_u เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +854
    ขอเข้าคอร์สเรียนด้วยครับ
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    หลังจากที่ได้ดูเรื่องการสมัครเข้าคอร์สเรียนเรื่องพระพิมพ์ข้างต้นแล้ว ทำให้นึกถึงเรื่องที่ผมถูกฌาณลาภีบุคคลคือพี่ใหญ่ "เตือน" อยู่เรื่องหนึ่ง คือเรื่องการขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ไม่ควรขอ ดังนั้นเพื่อเป็นการถ่ายทอดออกมาให้สมาชิกเก่าๆ และปัจจุบัน ที่ทำบุญด้วยกันทุกเดือนได้ทราบพอเป็นเกร็ดคร่าวๆ คือ การขอความช่วยเหลือจาก "ท่าน" ต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเป็นพระองค์ใดก็ตาม หากจะมีการขอ "ท่าน" ก็ควรจะขอแบบให้เป็นเรื่องที่ใหญ่ๆ เช่น ขอชีวิต หรือขออะไรที่เกี่ยวกับความจะเป็นหรือจะตาย จึงจะเหมาะสม และหากจะขออะไรที่เกี่ยวกับความช่วยเหลือ ความขัดสนนานับประการ หรือขอให้ทำการงานไม่ติดขัด ที่เราคิดว่าจนแต้มทนไม่ได้แล้ว ก็ให้ขอกับพระโพธิสัตว์ หรือขอกับพระอริยสงฆ์ที่ท่านปรารถนาพุทธภูมิ เช่นหลวงปู่ทวด ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านหลวงปู่ดู่ หรือท่านองค์อื่นๆ เช่นในหลวงของเรา หรือพระอรหันต์ที่มีจิตที่เป็นพระโพธิสัตว์สงเคราะห์โลกเช่นหลวงปู่คณะธรรมทูต บรมครูเทพโลกอุดร ทั้ง 5 พระองค์ หรือพระอรหันต์โพธิสัตว์ เทพโลกอุดร ที่ก้าวข้ามผ่านกาลเวลามาในโลกปัจจุบันคือ ท่านหลวงปู่สรวง ฯลฯ ก็ได้ และหากจะขอในเรื่องทั่วๆ ไปให้ไหลลื่นไม่ติดขัด หรือเผื่อเหลือเผื่อขาด ก็ขอกับพระสงฆ์ที่ท่านได้ฌาณอภิญญาสูงๆ หรือพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีเทพเทวามาปกปักรักษาเพื่อรอสร้างบารมีเช่นหลวงพ่อโสธร หรือพระพุทธรูปที่สำคัญๆ ก็ได้ โดยผมเองเคยขอในสิ่งที่ไม่สำคัญกับ "ท่านองค์ใหญ่" ผลก็คือ โดนดุ โดยท่านแนะนำให้ขอกับ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ แทน จึงสัมฤทธิ์ผลแบบแปลก ๆ
    ที่เขียนมานี้ก็เพื่อเป็นอุทาหรณ์ว่า พระพิมพ์ที่นำมาให้เพื่อการศึกษา หรือเพื่อแจกฟรีในทุนนิธิฯ นี้ ส่วนใหญ่ จึงเป็นพระที่ "ขอได้" ในหลักเกณฑ์ข้างต้น แต่สำหรับพระ "ปิยบารมี" ที่จะแจกในเดือนเมษายนนี้ ที่มีผู้ที่สมควรได้ประมาณ 10 กว่าคน ขอได้แม้กระทั่งชีวิต แต่อย่างอื่น ไม่ต้องขอเดี๋ยวมาเองตามกำลังบุญบารมี และเหมาะสมกับผู้ครอบครองโดยแท้จริง และการขอให้ "ท่าน" ทั้งหลายช่วยนั้น หากเราขอแบบให้เหมาะสมกับบุญบารมี และจริตของท่านแต่ละองค์แล้วรับรองสัมฤทธิ์ผลแน่นอน ของงี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่นา... ผมได้กับตัวเองจึงนำมาเล่าสู่ให้ฟังครับ ท้ายนี้ จึงขอนำบทความเรื่องพระโพธิสัตว์มาลงให้ดูครับ โดยลอกมาจากเวบพลังจิตนี่ล่ะ ลองอ่านดูครับ



    <CENTER>ความหมายของคำว่า..พระโพธิสัตว์

    </CENTER>

    <!-- / icon and title --><!-- message -->โพธิสัตว์แปลตามพยัญชนะว่า ผู้ข้องอยู่ในโพธิคือความรู้ ตามความหมายก็ว่า ผู้จักได้ตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเบื้องหน้า ตามพุทธศาสนามหายาน พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญบุญบารมีโดยลำดับแบ่งเป็นชั้นเรียกว่า ภูมิ จึงจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ ภูมิเหล่านี้มีชื่อและแบ่งจำนวนต่างๆ กัน เป็นห้าบ้าง เจ็ดบ้าง และเป็นสิบภูมิก็มี มีชื่อเช่น มุทิตา ความยินดีด้วยในความสุขของผู้อื่น, วิมลา ไม่มีราคี, ประภาการี ให้ความสว่าง, อรรจีสมดี รุ่งเรือง, ทุรชยา ผู้อื่นชนะยาก, อภิมุขี ผินหน้าสู่ทางสังสารวัฏและทางนิรพาณ, ทูรังคมา ไปไกล,อจลา ไม่เคลื่อน, สาธุมดี ใจดี เป็นต้น พระโพธิสัตว์มีจำนวนนับโกฏิ แต่ที่มีนามปรากฏและเป็นที่เลื่อมใสมากก็คือ พระอวโลกิเตศวร พระมัญชุศรี พระศรีอารยเมตไตรย พระสมันตภัทระ พระมหาสถามปราปต์ และพระกษิติครรภ พระโพธิสัตว์เหล่านี้เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน


    พระโพธิสัตว์ตามคติมหายาน
    คำว่า พระโพธิสัตว์ (ภาษาญวนเรียกว่า “โบ่ต๊าก” ภาษาจีนเรียกว่า “ ผ่อสัก,ผู่สัก,ผู่ซ่า”) หมายถึง ผู้ข้องอยู่ในโพธิคือความรู้ คือ ผู้รู้แจ้งซึ่งอาจจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แต่ยังไม่ปรารถนาพุทธภูมิ ก็เนื่องจาก ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า จะช่วยบำบัดทุกข์ให้แก่สรรพสัตว์ ถ้าเข้าสู่พุทธภูมิเสียแล้วสรรพสัตว์จะเข้าถึงได้ยาก ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เข้าสู่พุทธภูมิ หลักสำคัญของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือ หลักแห่งพระโพธิสัตวภูมิ ซึ่งเป็นหลักที่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แต่ละนิกาย ยอมรับนับ ถือ บุคคลใดที่จะบรรลุถึงพุทธภูมิได้ ก็ต้องผ่านการบำเพ็ญจริยธรรมแห่งโพธิสัตว์มาก่อน เพราะฉะนั้น จึงถือว่าโพธิสัตว์ภูมิเป็นเหตุ พุทธภูมิเป็นผล หลักโพธิสัตวยานนั้น ถือว่าจะต้องโปรดสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นทุกข์เสียก่อน แล้วตัวเราค่อยหลุดพ้นทุกข์ทีหลัง คือ จะต้องชักพาให้สัตว์โลกอื่น ๆ ให้พ้นไปเสียก่อน ส่วนตัวเราเป็นคนสุดท้ายที่จะหลุดพ้นไป นี่เป็นหลักแห่งโพธิสัตวยาน
    พระพุทธศาสนามหายานแบ่งพระโพธิสัตว์ไว้ ๒ ประเภท คือ
    ๑.พระมานุษิโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่จะมาปรากฏพระองค์เป็นมนุษย์ในมนุสสภูมิ เสวยพระชาติมาตามลำดับ จนกว่าจะบำเพ็ญบารมีจนได้บรรลุพระโพธิญาณ แล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ใช้เวลาอย่างน้อยสี่อสงไขยแสนกัลป์
    ๒.พระฌานิโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ ที่อุบัติขึ้นจากอำนาจฌานของพระฌานิพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง พระฌานิพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่เสวยสวรรค์ในพุทธเกษตร เป็นพระพุทธเจ้าทรงฌาน ซึ่งจะไม่เสด็จมาตรัสรู้ในโลกมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่า พระฌานิพุทธเจ้าเป็นพระธรรมมิตรของพระฌานิโพธิสัตว์ก็คงไม่ผิด ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนามหายานจะนับถือพระฌานิพระโพธิสัตว์มาก โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนชาวจีน ญวน เนปาล ธิเบต และญี่ปุ่น พระโพธิสัตว์ ท่านอธิษฐานจิตถึงพุทธภูมิ ทุ่มเทปฏิบัติธรรมช่วยผู้อื่นทั้งทางโลกและทางธรรม ตามพระบารมี ทุก ๆ คนสามารถที่จะเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทั้งนั้น ถ้าหากว่า เขาผู้นั้นเป็นผู้มีจิตเมตตาประจำใจ ทำแต่คุณประโยชน์ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ไม่ประพฤติตนเบียดเบียนสนับสนุนผู้อื่นในทางผิดศีลธรรมผู้ที่ประ พฤติปฏิบัติเป็นกลาง ปฏิบัติหลักทาง “โพธิสัตตมรรค” เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ ขนสรรพสัตว์ เพื่อพุทธภูมิในภาคหน้า ดำเนินรอยตามสมเด็จพระบรมศาสดา อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน ทุกองค์เป็น โพธิสัตตมรรค

    ารเข้าใจในการนับถือพระโพธิสัตว์


    พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการนับถือพระโพธิสัตว์ในฐานะของชาวพุทธไว้ว่า
    “พระโพธิสัตว์ ก็คือ ท่านผู้บำเพ็ญบารมี เพียรพยายามประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างยวดยิ่ง เพื่อจะได้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไป คือ พระโพธิสัตว์จะฝึกฝนพัฒนาตนเองเต็มที่ อุทิศตัวให้แก่คุณธรรมและในการบำเพ็ญความดี อุทิศตัวให้แก่คุณธรรมนั้น ก็คือ อุทิศตนให้แก่ผู้อื่น โดยไม่มีความเห็นแก่ตัวเลย เสียสละได้แม้แต่ชีวิตของตน เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นแทนที่จะเสียสละ ทำความดีอย่างพระโพธิสัตว์ กลับเห็นว่า ในเมื่อพระโพธิสัตว์เป็นผู้เสียสละ ก็เลยไปขอความช่วยเหลือ จากพระโพธิสัตว์เสียเลย
    ทีนี้ พอระลึกถึงพระพุทธเจ้า ไปเห็นประวัติของพระโพธิสัตว์แล้ว ก็จะเกิดกำลังใจขึ้นว่า เราทำแค่นี้ จะมาท้อใจอะไร พระพุทธเจ้า เมื่อตอนเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ได้บำเพ็ญบารมีมายากเย็นกว่าเรานักหนา ต้องสละแม้แต่ชีวิต บางทีทั้งชีวิต ทำดีมาตลอดไม่รู้เท่าไหร่ เขาก็ไม่เห็นความดี เอาพระองค์ไปฆ่าก็มี แล้วเราทำความดีแค่นี้ จะไปท้อทำไม พอนึกถึงประวัติของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่เป็นพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญเพียรบารมีมาอย่างนี้ เราก็จะเกิดกำลังใจเข้มแข็ง สู้ต่อไป






    <CENTER>[​IMG]</CENTER>




    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2009
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    เมื่อดูรูปพระพุทธรูปตามที่ลงรูปไว้ในกระทู้ข้างต้นจนจำขึ้นใจแล้ว ทีนี้มาลองดูในเนื้อหาแบบเป็นทฤษฎีบ้าง ทีนี้ล่ะเหลือแต่การนำไปปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับวาสนาบารมีแล้วนา.... แต่ถ้าใครไม่ลองหัดทำดูอ่านไปก็สูญเปล่าเท่านั้น


    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>พุทธานุสสติกรรมฐาน <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=155>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>พุทธานุสสติกรรมฐาน กรรมฐานกองนี้ท่านสอนให้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า การระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ระลึกได้ไม่จำกัดว่าจะต้องระลึกตามแบบของท่านผู้นั้นผู้นี้ที่สอนไว้โดยจำกัด เพราะพระพุทธคุณ คือคุณความดีของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมายจะพรรณนาอย่างไรให้จบสิ้นนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้

    ตามพระบาลีท่านมีอยู่ว่า ถึงแม้ว่าจะปรากฏมี พระพุทธเจ้าขึ้้นมา ๒ องค์ นั่งถามกันตอบกันถึงความดีของพระพุทธเจ้าที่ทรงอุบัติขึ้นมาแล้วในโลก แม้แต่สิ้นเวลา ๑ กัป ก็ไม่จบความดีของพระพุทธเจ้าได้

    ฉะนั้น ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า "พุทโธ อัปปมาโณ" คุณของพระพุทธเจ้า หาประมาณมิได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ระลึกตามแบบ

    ระลึกตามแบบ หมายความถึงการนั่งนอนระลึกนึกถึง พระพุทธคุณ ของพระพุทธเจ้า โดยยกเอาพระคุณของพระองค์ มาระลึกถึง เช่นระลึุกถึงพระคุณสามประการ คือ

    ๑. ระลึกถึงความบริสุทธิ์ของพระองค์ ที่ทรงกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด ไม่มีความชั่วเหลืออยู่ในพระกมลสันดาน พระองค์ทรงบริสุทธิ์ผุดผ่องจริงๆ เป็นความดี ที่เราควรปฏิบัติตาม

    ๒. ระลึกถึงพระปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาดของพระองค์ ด้วยพระองค์มีความรู้ ความฉลาดยอดเยี่ยม กว่าเทวดา พรหม และมนุษย์ทั้งหลาย เพราะนอกจากจะทรงรู้ ในหลักวิชาการต่างๆ ตามความนิยมของปกติชนแล้ว พระองค์ยังทรงรู้ที่มา ของความทุกข์ และรู้การปฏิบัติเพื่อทำลายต้นตอ ของความทุกข์นั้นๆ ได้แก่ ทรงรู้ในอริยสัจ ๔

    ๓. ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ คือพระองค์เมื่อทรงเป็นผู้รู้ เลิศแล้ว พระองค์ มิืได้ปกปิดความรู้นั้นเพื่อพระองค์เองโดยเฉพาะ พระองค์นำความรู้มาสั่งสอน แก่หมู่มวลชน อย่างเปิดเผย ไม่ปกปิดความรู้แม้แต่น้อย พระองค์ทรงทรมานพระวรกาย เพราะสั่งสอนพุทธเวไนยให้เกิดความรู้ความฉลาด เพื่อกำจัดเหตุชั่วร้ายที่ฝังอยู่ในสันดานมานาน มีสภาพคล้ายผีสิง เหตุชั่วร้ายนั้นก็คือ

    ความโลภ อยากได้สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน
    ความโกรธ คือความพยาบาท ความโหดร้ายที่ฝังอยู่ในใจ คิดที่จะประหัตประหาร ทำอันตรายผู้อื่นให้ได้รับความพินาศ
    ความหลง คือความโง่เขลาที่คอยกระตุ้นเตือนใจให้ลุ่มหลงในสรรพวัตถุ จนเกินพอดี คือคิดปลูกฝังใจในวัตถุ โดยไม่คิดว่า ของนั้นจะต้องเก่า จะต้องพังไปในสภาพสุดท้าย

    พระองค์ทรงพระกรุณาสอนให้รู้ทั่วกันว่า การมุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของผู้อื่น มาเป็นของตนนั้น เป็นความเลวร้ายที่ควรจะละ เพราะเป็นเหตุของการสร้างศัตรู การคิดประทุษร้าย ด้วยอำนาจโทสะ เป็นเหตุบั่นทอนความสุขส่วนตน เพราะผู้คิดนั้น เกิดความทุกข์ตั้งแต่เริ่มคิด คือกินไม่อิ่มนอนไม่หลับ ทำให้สุขภาพของตนเสื่อมโทรม ยังไม่ทันทำอันตรายเขา ผู้คิดก็ค่อยๆ ตายลงไปทีละน้อยๆ แล้ว เพราะเหตุที่กินน้อย นอนน้อย การหลงในทรัพย์เกินไป ที่ไม่คิดว่ามันจะต้องเก่า ต้องทำลาย ตามสภาพ เป็นเหตุให้เกิดความคับแค้น คือเสียใจ เศร้าใจ ทำให้ชีวิตไม่สดใส สดชื่น มีความเศร้าหมอง มีทุกข์ประจำใจเป็นปกติ

    เมื่อความโลภอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของของตนเกิดขึ้น พระองค์ทรงสอนให้รู้จักการให้ทาน เป็นการแก้ความรู้สึกเดิม เพราะทานเป็นการสละออก มีอาการตรงข้ามกับการคิดอยากได้ ผลทานนี้ก็มีผลเป็นเครื่องบันดาลความสุขในปัจจุบัน เพราะผู้รับทานย่่อมมีความรัก และเคารพในผู้ให้ทาน การให้ทานเป็นการสร้างมิตร ตรงกันข้ามกับการคิดอยากได้ดังผู้อื่น เป็นเหตุของความทุกข์ เป็นเหตุของการสร้างศัตรู

    ท่านสอนให้รักษาศีลเป็นเครื่องบั่นทอนกำลังพยาบาท เพราะมาจากโทสะ ความคิดประทุษร้ายเป็นสมุฏฐาน สำหรับการรักษาศีลนั้น มีเมตตา ความแสดงออกถึงความรัก ความสงสารเป็นสมุฏฐาน เมื่อรักษาศีล ก็ต้องมีเมตตา กรุณา ถ้าเมตตา กรุณา ไม่มีแล้ว ศีลก็ทรงตัวไม่ได้ ฉะนั้น ที่พระองค์ทรงสอนให้รักษาศีล ก็คือฝึกจิตให้มีเมตตาปรานี นั่นเอง ซึ่งมีคติตรงข้ามกับพยาบาท และเป็นอารมณ์หักล้้างพยาบาทเป็นเหตุของความสุข เพราะคนที่มีความเมตตาปรานีนั้น ย่อมเป็นที่รักของมวลชน แม้สัตว์เดียรัจฉานก็รัก

    เราจะเห็นได้ว่า บ้านที่มีสุนัขดุๆ ใครๆ ก็เข้าไม่ได้ ถ้าเราหมั่นเอาอาหารไปให้สุนัขตัวนั้นบ่อยๆ ไม่ช้าก็เชื่อง เป็นมิตรที่ดี ไม่ทำอันตราย คนมีเมตตา มีความสุขเพราะเป็นที่รักของชนทั่วไปอย่างนี้ เป็นการแก้เหตุของความทุกข์ ให้เป็นเหตุของความสุข จัดว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างมหันต์

    ความหลง คือความโง่ ที่มีความคิดว่า อะไรที่เรามีแล้ว ต้องมีสภาพคงที่ ไม่เก่า ไม่ทำลาย พอของสิ่งนั้นเก่า หรือ ทำลาย ความเสียใจก็เกิดขึ้น กฎข้อนี้เป็นปกติธรรมดาก็จริง ที่พอจะรู้ได้ไม่ยาก แต่คนในโลกนี้ก็ไม่ค่อยคิดตาม กลับคิดฝืนกฎธรรมดา จนเป็นเหตุของความทุกข์อย่างมหันต์ เพราะคนเกิดแล้วต้องตาย ชาวบ้านชาวเมืองตายให้ดูเยอะแยะ ไม่จดจำ แต่พอตัวจะตาย ญาติตาย เกิดทุกข์ร้องไห้เสียใจ ความจริงความตายนี้เป็นของปกติธรรมดา ไม่มีใครพ้น แต่คนไม่คิด มีแต่ความผูกพัน คิดว่าจะอยู่ตลอดกาล

    พระองค์เห็นว่าคนทั่วโลกโง่อย่างนี้ จึงทรงแก้ด้วยการสอนวิปัสสนาญาณ คือสอนให้รู้กฎของความเป็นจริง ยอมรับนับถือตามความเป็นจริง เป็นการเปลื้องอุปาทาน คือความโง่ ออกเสียจากความรู้สึก เป็นการสร้างความสบายใจให้เกิดแก่มวลพุทธศาสนิกชนทั่วไป

    ท่านจะคิดใคร่ครวญถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าตามนี้ก็ได้ หรือจะคิดอย่างอื่นก็ได้ แต่ขอให้อยู่ในข่ายระลึกนึกถึงความดี ของพระพุทธเจ้าเป็นใช้ได้

    ระลึกตามบทพระพุทธคุณ ๙ อย่าง

    การระลึกตามแบบพระพุทธคุณ ๙ อย่างนี้ เป็นการระลึกถึงผลที่พระองค์ทรงบรรลุ จะไม่นำมาเขียนไว้เห็นท่าจะไม่เหมาะ ขอนำมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้

    ๑. อรหัง คำว่า อรหัง นี้ แปลว่า ท่านผู้ไกลจากกิเลส หมายความว่า พระพุทธองค์ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองอยู่ในพระหฤทัยเลย เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องจริงๆ

    ๒. สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ตรัสรู้เองโดยชอบ ความหมายนี้ หมายความว่า พระองค์ทรงรู้อริยสัจทั้ง ๔ คืิอรู้ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ รู้สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ตัึณหา ๓ ประการ คือ

    กามตัณหา ทะยานอยากได้ในสิ่งที่ยังไม่เคยมี อยากให้มีขึ้น
    ภวตัณหา สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว อยากให้คงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่อยากให้เก่าไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง
    วิภวตัณหา อยากให้สิ่งที่จะต้องสลายตัวนั้น ที่เป็นไปตามกฏธรรมดา มีความปรารถนาไม่ให้กฏธรรมดาเกิดขึ้น คือ ไม่อยากให้สลาย และไม่อยากเสื่อม ไม่อยากตาย นั่นเอง

    ความรู้สึกอย่างนี้เป็นความรู้สึกที่ฝืนกฎธรรมดา เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ ทรงนิโรธะ คือความดับสูญไปแห่งความทุกข์ และทรงทราบมรรค คือปฏิปทาที่ปฏิบัติให้เข้าถึงความทุกข์ คือทุกข์นั้นสูญสิ้นไป ได้แก่ทรงทราบมรรคคือข้อปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงความดับสูญไปแห่งทุกข์นี้ อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ๓. วิชชาจรณสัมปันโน แปลว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วย วิชชา และ จรณะ คือทรงมีความรู้รอบ และความประพฤติครบถ้วน

    ๏ วิชชา แปลว่า ความรู้ หมายถึงรู้ในวิชชาสาม ที่สามัญชนไม่สามารถจะรู้ได้ คือ

    ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทรงมีความรู้ในการระลึกชาติ ที่ล่วงแล้วมาได้อย่างไม่จำกัด ไม่มีผู้อื่นใดจะระลึกชาติได้มากเท่าพระองค์ และพระองค์ทรงมีความชำนาญในการระลึกชาติได้อย่างเยี่ยม

    จุตูปปาตญาณ พระองค์ทรงมีความรู้ความเกิด และความตายของสัตว์ โดยทรงรู้ว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้ไปเกิด ณ ที่ใด มีความสุขความทุกข์เป็นประการใด เพราะผลกรรมอะไรเป็นเหตุ และทรงทราบว่า สัตว์ที่เกิดมาแล้วนี้มาจากไหน ที่มีความสุข ความทุกข์อยู่นี้ เพราะอาศัยกรรมอะไรเป็นเหตุ

    อาสวักขยญาณ
    ทรงรู้วิชชาที่ทำอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป

    ๏ จรณะ หมายถึงความประพฤติ พระองค์มีความประพฤติครบถ้วน ยอดเยี่ยม อันได้แก่ จรณะ ๑๕

    ๔. สุคโต แปลว่า เสด็จไปดีแล้ว หมายความว่า พระองค์เสด็จไป ณ ที่ใด พระองค์นำแต่ความสุขไปใ้ห้เจ้าของถิ่น คือนำความรู้อันเป็นเหตุของความสุขไปให้ ไม่เคยสร้างความเดือดร้อน ให้แก่ผู้ใด ใครก็ตาม บูชาพระองค์แล้ว ไม่เคยผิดหวังที่จะได้รับความสุขในทางปฏิบัติ

    ๕. โลกวิทู แปลว่า รู้แจ้งโลก หมายความว่า โลกทุกโลกมียมโลก คือโลกแห่งการทรมาณ ได้แก่นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก และพระนิพพาน อันเป็นดินแดนพ้นโลก พระองค์ทรงทราบตลอดหมดสิ้น แม้แต่ปฏิปทาที่จะให้ไปเกิดในโลกนั้นๆ

    ๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ แปลว่า เป็นนายสารถีผู้ฝึก ไม่มีนายสารถีใด มีความสามารถฝึกได้เสมอเหมือนพระองค์ ทั้งนี้หมายความถึงการฝึกธรรมปฏิบัติ พระองค์ทรงมีญาณพิเศษที่เรียกว่า เจโตปริยญาณ ทรงรู้ใจคนว่า ผู้นี้ควรสอนอย่างไร จึงได้ผล พระองค์ทรงฝึกสอนตามที่รู้ด้วยพระญาณนั้น จึงมีความสามารถฝึกได้ดีเป็นพิเศษ

    ๗. สัตถา เทวมนุสสานัง แปลว่า พระองค์ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ ทั้งนี้ หมายความว่า การสั่งสอนเพื่อมรรคผลนั้น พระองค์มิได้ทรงสั่งสอนแต่มนุษย์เท่านั้น แม้เทวดาและพรหม พระองค์ก็ทรงสั่งสอน การสอนมนุษย์ ท่านอาจไม่สงสัย แต่การสอนเทวดานั้น ท่านอาจจะแปลกใจ ข้อนี้ขอให้อ่านพุทธประวัติจะทราบ ว่าพระองค์ทรงสั่งสอนเทวดาและพรหม เป็นปกติเกือบทุกวัน เช่นเดียวกับสอนมนุษย์เหมือนกัน

    ๘. พุทโธแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว ได้เหมือนกัน ความหมายของ พุทโธ ก็มีอย่างนี้ คือ หมายถึงพระองค์ทรงรู้พระองค์ ด้วยความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย สติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

    ๙. ภควา แปลว่า ผู้มีโชค หมายถึงพระองค์เป็นผู้มีโชคก่อนใครๆ ที่พระองค์เป็นผู้รู้เท่าทันอวิชชา คือความโง่เขลาเบาปัญญา ความโง่ไม่สามารถครอบงำ พระองค์ได้ โดยอาศัยที่พระองค์ทรงค้นพบอริยสัจ ๔ จึงสามารถทำลายอำนาจอวิชชา คือความโง่ให้สลายตัวไปเสียได้ เหลือไว้แต่ความฉลาดหลักแหลม ความโง่ไม่สามารถจะบังคับบัญชา พระองค์ให้หลงใหลไปในอำนาจกิเลส และตัณหาได้ต่อไป พระองค์ทรงพบความสุขที่ยอดเยี่ยม ไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่า ความสุขที่ว่านี้ คือ พระนิพพาน

    พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ พระอาจารย์รุ่นเก่าท่านประพันธ์ไว้ให้บรรดาพุทธศาสนิกชน ระลึกนึกถึง จัดเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน คือตั้งอารมณ์ข่มนิวรณ์ ปรารภถึงความดีของพระพุทธเจ้า เมื่อพระโยคาวจร คือท่านนักปฏิบัีติพระกรรมฐาน ได้คำนึงถึงความดีของพระพุทธเจ้า ตามที่เขียนมานี้ทั้งหมด หรือข้อใดข้อหนึ่ง หรือจะนึกถึงความดี ของพระพุทธเจ้า ในลักษณะอื่น แต่เป็นไปตามแบบพระพุทธจริยาแล้ว จนจิตมีความเคยชิน ระงับนิวรณ์ห้าเสียได้ จิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิ แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านว่าท่านผู้นั้น สามารถจะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ เพราะอาศัยความเลื่อมใสในพระพุทธจริยา จัดว่าเป็นผู้มีโชคอย่างยิ่ง คือจะได้สำเร็จมรรคผลได้โดยฉับพลัน

    พุทธานุสสติกรรมฐานนี้ ที่กล่าวมาแล้วนั้น กล่าวตามแบบแผนที่ท่านสอน และเป็นแบบตรงตามพระพุทธประสงค์ เพราะอาศัยที่พุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์คิด จึงมีกำลังเพียงอุปจารฌาน ไม่สามารถจะเข้าให้ถึงระดับฌานได้ แต่ที่ท่านสอนกันในปัจจุบัน ในแบบพุทธานุสสตินี้ ท่านสอนแบบควบหลายๆ อย่างรวมกัน
    จากหนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    อ่านเนื้อหาเต็มๆ ได้ที่

    http://www.praruttanatri.com/meditation_club/samadhi/4031.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...