###พระกริ่งดีหลวงพระกริ่งที่กลายเป็นตำนานที่กล่าวขาน###หมดเเล้วทุกเนื้อ

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย jummaiford, 11 มกราคม 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]

    สานฝันคุณย่าการหล่อหลวงพ่อทวด ร่วมบุญกับหลานชายสุดที่รัก

    ที่จั่วหัวข้อนี้ก็นึกขำตัวเองเหมือนกันว่าผู้อ่านจะหัวเราะเยาะเอามากน้อยเพียงไรเเต่ถึงกระนั้นก็อยากนำข้อคิดดีๆมาเล่าสู่กันฟัง

    มหาเหตุเริ่มต้นการสร้างพระหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่นี้มีมาสองเหตุประการเเรกชาวดีหลวงเเละสมภารวัดขอร้องให้รับเรื่องสร้างหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ให้รับหน้าที่เป็นประธานในการจัดสร้าง ประกอบกับ คุณย่าผมเองป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายเมื่อเกือบสืบปีก่อนและอาการก่อนการหล่อพระนั้นหนักมากเพราะมะเร็งเเพร่กระจายไปที่ปอดเเละเหนื่อยอย่างยิ่ง ท่านเองปรึกษาผมถึงเรื่องการนำศพไปฝังหลังเสียชีวิตที่ฮวงซุ้ยซึ่งซื้อด้วยเงินเป็นเงินนับล้านบาทซึ่งผมเห็นว่าการทำอย่างนั้นได้ประโยชน์ค่อนข้างน้อยเเละดูเเลรักษายากหากทำดีๆก็ดีไปถ้าหากฝังผิดศาสตร์เขาเเล้วละก็ลูกหลานเดือนร้อนเเน่ผมจึงเเต่นำว่าควรสร้างพระมากกว่าแต่จะหาวัดที่ไหนได้เล่าที่ต้องการประจวบเหมาะกับโครงการนี้คุณย่าจึงมอบเงิน200000บาทเพื่อหล่อหลวงพ่อทวดองค์ต้นเเบบนี้โดยสภาพของคุณย่าตอนมอบเงินติดเตียงเลยทีเดียวมีอาการเหนื่อยมากจากภาวะน้ำท่วมปอดเพราะมะเร็งสร้างสารน้ำนั้นมาเเน่นอนตอนมอบเงินเป็นอาการที่ทุกคนรู้ว่าคุณย่าผมเองอาจไม่ทันงานหล่อพระนี้เป็นเเน่เเต่ทุกคนได้เเต่ทำใจประกอบกับลุกหลานเป็นหมอเสียส่วนใหญ่จึงให้กำลังใจย่าเต็มที่ของสิ่งใดที่เป็นความประสงค์ของย่าผมเองเราจะหามาให้หาให้ได้ในปัจจุบัน งานหล่อพระนี้จุดประสงค์หลักทำเพื่อบูชาคุณอาจารย์คือหลวงพ่อทวด หลวงพ่อถม เเต่ส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งผมทำให้ย่า ดวงใจของพ่อผมนั่นเอง ที่จริงฟังดูเเล้วเหมือนทำให้ย่าเเต่จริงๆผมอยากให้พ่อผมดีใจหากย่ามีความสุข เป็นความสุขที่ผมหาให้ท่านได้ในตอนนี้ที่ผมยังไม่เริ่มต้นชีวิตแพทย์จริงๆ มันอาจเป็นจุดเล็กๆจุดหนึ่งที่ทำให้ผมเรียนรู้คำว่าเป็นหมอรักษาใจ

    เชื่อหรือไม่หลังมอบปัจจัยในการสร้างพระ ย่าผมเองดีวันดีคืนเดินได้ออกกำลังกายไทเก็กได้หลายเพลงต่อวันทั้งยังมาร่วมงานหล่อพระนี้จุดเทียนด้วยตนเองพร้อมทั้งกล่าวว่าชีวิตนี้คุ้มเเล้วที่ได้ทำบุญกับหลานรักเเละยิ่งใหญ่จริงๆไม่นึกเลยจำได้เห็นคนเป็นพันๆมาร่วมงานหล่อพระที่ส่วนหนึ่งย่าผมเองเป็นผู้บริจาคทั้งเงินเเละอาหารที่เลี้ยงคนในวันนั้นท่านเองบอกว่าอยากมีชีวิตอยู่ต่อเพื่อหล่อพระอีกในปีนี้

    เสียงร่ำไห้จากกองกระดูก
    ข้อเขียนนี้อาจกระทบจิตใจของผู้อ่านไม่มากก็น้อยจากการที่อยู่บนโลกใบนี้วัยใกล้เบญจเพสทำให้ผมสังเกตคนรอบข้างว่าเวลาพ่อแม่อยากได้อะไรมักไม่ค่อยได้ไม่ค่อยกระตือรือร้นในการเเสวงหามาให้ท่านเหล่านั้นเเต่หากเป็นแฟนสาวชายหนุ่มเเล้วละก็ประเคนให้เลยทีเดียวรีบทำให้อย่างเต็มใจไม่ต่างอะไรกับคนเข้าวัด ตั้งใจทำบุญอย่างปราณีตกับพระอรหันต์กับพระอริยเจ้าสรรหาเเสวงหาอาหารชั้นเลิศมา ถวาย แต่กลับมีตาเเก่นั่งอยู่บ้านนั่งเฝ้าเพียรขอข้าวมันไก่สักจานยังไม่มี ฝันไปเทอะ รองเท้าธรรมดาสักคู่ยังไม่เคยซื้อให้พ่อเเม่เลย เเต่หากพระขอเเล้วละก็สร้างโบสถ์ให้เป็นหลังๆเลยทีเดียว ยามมีชีวิตอยู่หากพ่อแม่มีตังค์สักหน่อยก็มีลูกหลานคอยเฝ้าดูเเลเพราะหวังสมบัติเเต่หากไม่มีตังค์ก็บ้านพักอนาถา ผมเคยเจอคนไข้เขาจนเเต่ลูกรวยเงินเดือนหลายหมื่น มีลูกตั้ง9คน เเม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน7000บาท ลูกบอกไม่มีเงินจะซื้อเเต่ตัวเองใส่ทองเป็นสิบบาท ดูเเล้วอนาถใจกับคนสมัยนี้ เเละหากพ่อแม่ตายไปรีบส่งไปวัดทันที ยิ่งสับประเหร่อมีวิชชายิ่งดี มัดตราสังข์ไปเลย อย่าให้วิญญาณออกมาหลอกคนได้ ยิ่ง คนไทยเเละจีน ก่อนเข้าบ้านต้องมีน้ำมนต์จากต้นทับทิมขับไล่อัปมงคล คิดดูเอากันขนาดนี้ ผมเองพูดไปเขียนไปเห็นว่าเป็นประเพณีที่ดีงามเเต่ขาดคนคิดวิเคราะห์อันจะได้ประโยชน์เเละสร้างกัตญญูบุตรเพิ่มจึงฝากข้อคิดว่า หลังเผาศพถ้ากระดูกพ่อเเม่เอาไปไว้วัด กลัวเเสนกลัวเเต่ไม่กล้าบอกใครกลัวโดนด่า เเต่ถ้ากระดูกเกจิดังละก้อเอาผะอบเเก้วผะอบทองไปใส่ คิดเเล้วเเสนเศร้าใจจริง

    ฝากเอาไว้ละกันเสียงร่ำไห้จากกองกระดูกแล้วท่านหละจำทำให้พ่อแม่ดีใจได้เเล้วหรือยัง

    <!-- / message --><!-- edit note --><HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1>
     
  2. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    ประทับใจคําพูดหมอจัง เสียงร่ำไห้จากกระดูก
     
  3. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    [​IMG]

    พระกริ่งดีหลวงนวโลหะด้านหน้า

    [​IMG]

    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1>พระกริ่งดีหลวงนวโลหะด้านหลัง <!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]

    พระกริ่งดีหลวงสัมฤทธิ์ด้านหน้า

    [​IMG]

    พระกริ่งดีหลวงสัมฤทธิ์ด้านหลัง


    [​IMG]

    พระกริ่ง ส โสภณ ด้านหน้า

    [​IMG]

    พระกริ่ง ส โสภณ ด้านหลัง


    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1> <!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]

    พระกริ่งฤาษี ด้านหน้า

    [​IMG]

    พระกริ่งฤาษี ด้านหลัง

    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  4. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ภาพบรรยากาศกวารวางศิลาฤกษ์แท่นวางหลวงปู่ทวด หน้าตัก 3 เมตร ณ วัดดีหลวง สงขลา
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  5. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
  6. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
  7. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    เมื่อสายบุญของหลวงปู่ทวดภาคกลาง(พี่ธงชัยพี่หนุ่มใหญ่ใจงาม)และภาคใต้(หมอประพลประธานชมรมคนรักหลวงปู่ทวด และพี่ป๋องหลังวังผู้ประสานงานทั้งหมด)รวมตัวกัน (เพื่องานหลวงปู่โดยเฉพาะ)

    [​IMG]
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  8. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  9. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ขนาดเล็ก
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  10. กิตติ_เจน

    กิตติ_เจน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,657
    ค่าพลัง:
    +1,281
    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลที่ดีๆ
     
  11. เส้นทางแห่งธรรม

    เส้นทางแห่งธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    797
    ค่าพลัง:
    +1,255
    น้อมตั้งจิต อนุโมทนาสาธุ ด้วยทั้งหมดทั้งมวล สาธุ.......สาธุ ..... สาธุ
     
  12. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    พระกริ่งดีหลวงเนื้อสัมฤทธิ์.....ตอน มวลสารผงพรายกุมารหลวงปู่ทิมหัวเชื้อชนิดเข้มข้น

    ใบมอบมวลสารหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง
    อันประกอบด้วย
    -ฝาลังพระกริ่งชินบัญชร ปี2517
    -ลังไม้ชินบัญชร ปี 2517
    -ผงพรายกุมารชนิดเข้มข้นพิเศษแบบหัวเชื้อ
    - น้ำมันตราสงกรานต์ที่หลวงปู่ทิมเสกจนวาระสุดท้าย

    เขียนขึ้นโดย คุณชินพร สุขสถิตย์ (ผู้สร้างพระกริ่งชินบัญชรอันลือลั่นเมื่อครั้งปี2517)ผู้มอบมวลสารนี้ให้เพื่อบรรจุพระกริ่งดีหลวงนี้เป็นการเฉพาะ[​IMG]




    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG] ภาพรับมอบพระกริ่งต้นแบบที่ถอดแบบจากพระกริ่งราชวงศ์ถังองค์จริงองค์ในตำนานซึ่งใกล้เคียงมากที่สุดเพิ่งถูกถอดแบบไปเมื่อไม่นานมานี้ คุณชินพร สุขสถิตย์เมตตามอบต้นแบบนี้ให้ด้วยความเมตตา

    [​IMG]



    [​IMG]


    ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ชนิดเข้มข้นพิเศษสุดที่ทันสมัยหลวงปู่ทิม ล้วนๆรับมอบจากอาจารย์ชินพร สุขสถิตย์
    [​IMG]

    น้ำมันใส่ผมตราสงกรานที่พ่อทิมเสกนานมากเช่นกัน[​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มกราคม 2009
  13. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์)


    วัดบวรนิเวศวิหาร


    นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๐


    [​IMG]



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]


    พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์


    พระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    นับแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ในรัชกาลที่ ๔ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกจนตลอดรัชกาล เป็นเวลา ๑๕ ปี ฉะนั้น ในรัชกาลที่ ๔ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชจนเกือบตลอดรัชกาล เพราะสมเด็จฯ กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่เพียงปีเศษ ตอนต้นรัชกาลเท่านั้น
    เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สองจาก สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส <SUP>(๑)</SUP>
    มาในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้โปรดสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตลอดช่วงต้นแห่งรัชกาล เป็นเวลาถึง ๒๓ ปี ฉะนั้น ในช่วงต้น รัชกาลที่ ๕ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่ถึง ๒๓ ปี จึงได้ทรงสถาปนา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ เป็นสมเด็จพระสังฆราช นับเป็นพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระประวัติในเบื้องต้น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ และเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ อันเป็นวันเริ่มสวดมนต์ ตั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงได้พระราชทานนามว่า พระองค์เจ้าฤกษ์
    ทรงผนวช
    พ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุ ๑๓ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุ สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักพระญาณสมโพธิ (รอด) ครั้งทรงผนวชเป็นสามเณรได้ ๔ พรรษา ประชวรไข้ทรพิษต้องลาผนวชออกมารักษาพระองค์ เมื่อหายประชวรแล้ว สมเด็จกรมพระราชบวรมหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงจัดการให้ทรงผนวชเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่ง
    พ.ศ. ๒๓๗๒ พระชนมายุครบทรงผนวชเป็นพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ทรงลาผนวชออกสมโภช แล้วแห่พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ เจ้าฟ้าอาภรณ์ ที่จะทรงผนวชเป็นเป็นสามเณรในเวลานั้น ในการทรงผนวชเป็นพระภิกษุนั้น สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส กับพระวินัยรักขิต วัดมหาธาตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    [​IMG]เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้วทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ ณ วัดมหาธาตุนั้น เช่นกัน ในเวลานั้น (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระเจริญพระชนมายุกว่า ๕ พรรษา) เป็นเหตุให้ทรงเลื่อมใสในลัทธิธรรมวินัยตามอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ภายหลังจึงได้ทรงอุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งในนทีสีมา โดยพระสุเมธาจารย์ (พุทธวังสะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ <SUP>(๒)</SUP>
    สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจนทรงแตกฉานในภาษาบาลี แต่ไม่ทรงเข้าสอบเพื่อเป็นเปรียญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก ที่เคยพระราชทานแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อครั้งยังมิได้ทรงเป็นพระราชาคณะให้ทรงถือเป็นเกียรติยศ สืบมา พระนิพนธ์อันเป็นเครื่องแสดงถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลีของพระองค์ก็คือ พระนิพนธ์เรื่อง สุคตวิทัตถิวิธานซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลีว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์คืบพระสุคตอันเป็นมาตราวัดที่มีกล่าวถึงในทาง พระวินัย นอกจากนี้ ก็ได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เป็น ภาษาบาลีไว้อีกหลายเรื่อง นับว่าทรงเป็นปราชญ์ทาง ภาษาบาลีที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์
    ในรัชกาล ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะสมณศักดิ์ เสมอพระราชาคณะสามัญ พระราชทานตาลปัตรแฉกถมปัดเป็นพัดยศ
    พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะยังทรงผนวชอยู่ ทรงเป็นพระเถราจารย์ประธานแห่งพระสงฆ์ธรรมยุตินิกายทรงลาผนวชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นรัชกาลที่ ๔ จึงได้ทรงสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าฤกษ์ เป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงอิศริยยศเป็นประธานาธิบดีแห่งพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า “ธรรมยุติกนิกายิกสังฆมัธยมบวรนิเวสาธิคณะ” ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สองรองจาก สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆปริณายก คือสมเด็จพระสังฆราชอยู่ในขณะนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ จึงทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตเป็นพระองค์แรก <SUP>(๓)</SUP>
    ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์
    พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ขณะทรงพระอิศริยยศเป็นกรมหมื่นบวรรังษี สุริยพันธุ์ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ เมื่อทรงผนวชแล้ว เสด็จประทับที่พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน โดยทรงเชิญเสด็จสมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และนิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่ต่างวัดเข้าไปอยู่ด้วยพอครบคณะสงฆ์ ทรงผนวชอยู่ ๑๕ วันก็ทรงลาผนวช <SUP>(๔)</SUP>
    หลังจากเสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภที่จะถวายมหาสมณุตมาภิเษกพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษี สุริยพันธุ์ในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช แต่สมเด็จมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้นไม่ทรงรับ ทรงถ่อมพระองค์อยู่ว่า เป็นพระองค์เจ้าในพระราชวังบวรฯ จักข้ามเจ้านายที่เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งทรงเจริญพระชนมายุกว่าก็มี จักเป็นที่ทรงรังเกียจของท่าน จึงทรงรับเลื่อนเพียงเป็นกรมพระ เสมอด้วยเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในชั้นเท่านั้น <SUP>(๕) </SUP>จึงทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนพระ อิศริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ <SUP>(๖)</SUP>
    การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อนพระอิศริยยศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ครั้งนี้ แม้ว่าพระองค์จะไม่รับถวายมหาสมณุตมาภิเษก ในที่สมเด็จพระสังฆราช แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ถวายพระเกียรติยศในทางสมณศักดิ์สูงสุดเท่ากับทรงเป็นสมเด็จ พระสังฆราชดังปรากฏในคำประกาศเลื่อนกรมว่า “สมควรเป็นสังฆปรินายกประธานาธิบดี มีสมณศักดิ์อิศริยยศใหญ่ยิ่งกว่าบรรดาสงฆ์บรรพสัชทั้งปวงในฝ่ายพุทธจักร” <SUP>(๗) </SUP>ฉะนั้น ในช่วงต้นรัชกาล มาจนถึง พ.ศ. ๒๔๓๔ เป็นเวลา ๒๓ ปี จึงว่างสมเด็จพระสังฆราช
    ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษก
    [​IMG]พ.ศ. ๒๔๓๔ อันเป็นบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพแห่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงถวายมหาสมณุตมาภิเษก ขณะเมื่อทรงรับถวายมหาสมณุตมาภิเษกนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเจริญพระชนมายุถึง ๘๒ พรรษาแล้ว มาในคราวนี้ ทรงยอมรับถวายมหาสมณุตมาภิเษก เพราะเจ้านายชั้นเดียวกันสิ้นพระชนม์แล้วทั้งสิ้น มีเจ้านายผู้ใหญ่เจริญพระชนมายุเหลืออยู่แต่พระองค์เพียงพระองค์เดียว <SUP>(๘)</SUP>
    การพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก (ของเดิมเขียน มหาสมณุตมาภิเศก) ทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งพระราชพิธีสงฆ์ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร มีเทียนชัยและเตียงพระสวดภาณวารตั้งพระแท่นเศวตฉัตร ในนั้น ตั้งพระแท่นสรงที่ศาลากำแพงแก้ว โรงพิธีพราหมณ์ตั้งริมคูนอกกำแพงบริเวณนั้นออกมา มีสวดมนต์ตั้งน้ำวงด้ายวัน ๑ พระสงฆ์ ๒๐ รูป รุ่งเช้าจุดเทียนชัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้นโปรดให้กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสทรงจุด พระสงฆ์เข้าพระราชพิธี ๓๐ รูป สวดมนต์ ๓ เวลาและสวดภาณวาร ๓ วัน ๓ คืน เช้าวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๔ สรงแล้ว เสด็จขึ้นพระแท่นเศวตรฉัตร มีประกาศกระแสพระบรมราชโองการทรงสถาปนาแล้ว ทรงรับพระสุพรรณบัฏ เครื่องยศ ดอกไม้ธูปเทียนและต้นไม้ทองเงินของหลวงแล้ว ทรงถวายศีล เป็นเสร็จการรับมหาสมณุตมาภิเษกเพียงเท่านี้ ต่อนั้นทรงธรรม ๔ กัณฑ์อนุโลมตามบรมราชาภิเษกกัณฑ์ทศพิธราชธรรมจรรยาเปลี่ยนเป็นไตรสิกขาและ ทรงรับดอกไม้ธูปเทียนของ พระสงฆ์พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ <SUP>(๙)</SUP>

    <TABLE class=MsoNormalTable id=table1 style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 95%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width="95%">
    ประกาศการมหาสมณุตมาภิเศก




    ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาล เป็นอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๓๔ พรรษา ปัตยุบันกาล จันทรคตินิยม สสสังวัจฉร กรรติกมาศกาฬปักษ์ พาระสีดิถี ศุกรวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทรศก ๑๑๐ พฤศจิกายนมาศ สัตตวีสติมวารปริเฉทกาลกำหนด
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรัตนบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนารถ มหามกุฏราชวรางกูร สุจริตมูลสุสาธิต อรรคอุกฤษฐไพบูลย์ บูรพาดูลย์กฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาล ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษสรรพ เทเวศรานุรักษ์ วิสิฐศักดิสมญา พินิตประชานารถเปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิการ บริบูรณ์คุณสารสยามาทินคร วรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธร อเนกชนนิกรสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเสวตรฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิอรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตรพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ดำรงพระยศเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ แลเปนสังฆปรินายกปธานาธิบดี มีสมณะศักดิใหญ่ยิ่งกว่าบรรดาสงฆบรรพสัช ทั่วพระราชอาณาเขตร มาตั้งแต่วันศุกร เดือน ๓ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีระกาเบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ ล่วงมาจนกาลบัดนี้ มีพระชนมายุเจริญยิ่งขึ้นจนไม่มีพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดในมหาจักรีบรมราชตระกูลนี้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ดี ที่ยังดำรงอยู่ก็ดี จะได้มีพระชนมายุยืนยาวมาเสมอด้วยพระชนมายุสักพระองค์เดียว เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แลพระบรมวงศานุวงศ์ทรงยินดีมีความเคารพนับถือยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน
    อีกประการหนึ่งฝ่ายบรรพชิต บรรดาพระสงฆ์ซึ่งมีสมณะศักดิ์ในเวลานี้ ก็ไม่มีผู้ใดซึ่งจะมีพรรษาอายุเจริญยิ่งกว่าพระชนมายุแลพรรษา ก็ย่อมเป็นที่ยินดีเคารพนับถือยิ่งใหญ่ในสมณะมณฑลทั่วทุกสถาน
    อนึ่งแต่ก่อนมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานมหาสมณุตมาภิเศกฉด่พระนจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ก็ด้วยทรงพระราชปรารภพระชนมายุซึ่งเจริญยิ่งกว่าพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งปวง
    อีกประการหนึ่ง ด้วยการที่ทรงผนวชมาช้านาน ทรงคุณธรรมทางปฏิบัติในพระพุทธสาสนา แลได้เป็นครูอาจารย์แห่งราชตระกูลแลมหาชน เปนอันมากเปนที่ตั้ง ก็ถ้าจะเทียบแต่ด้วยคุณธรรมการปฏิบัติในทางพระพุทธสาสนาฤๅด้วยการที่ได้เป็นครูอาจารย์ของพระบรมวงศานุวงศ์แลมหาชนเปนอันมากนี้ก็พิเศษกว่า ด้วยได้ทรงเป็นพระอุปัธยาจารย์ในพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์มีเจ้าฟ้า แลพระองค์เจ้าต่างกรม แลพระองค์เจ้า จนตลอดข้าราชการเป็นอันมาก จนถึงในครั้งนี้ก็ยังได้ทรงเป็นพระอุปัธยาจารย์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งยังทรงผนวชเปนสามเณรอยู่ในบัดนี้ เพราะฉะนั้นบรรดาบรมราชตระกูลแลตระกูลทั้งปวง ทั้งในสมณะมณฑลทั่วทุกหมู่เหล่ายอมมีความเคารพนับถือในพระองค์ทั้งสองประการ คือเปนพระเจ้าบรมวงศ์ซึ่งทรงมีพระชนมายุเจริญยิ่งกว่าพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งปวงแลทั้งเป็นพระอุปัธยาจารย์ด้วยอีกฝ่ายหนึ่ง จึงมีความนิยมยินดีที่จะใคร่ให้ได้ดำรงพระยศอันยิ่งใหญ่ เสมอกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส โดยรับมหาสมณุตมาภิเศกแลเลื่อนกรม เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมสมเด็จพระให้เต็มตามความยินดีเลื่อมใส จะได้เป็นที่เคารพสักการบูชา เป็นที่ชื่นชมยินดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แลพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อยแลอเนกนิกรมหาชนบรรดาซึ่งนับถือพระพุทธสาสนาทั่วหน้า
    จึงมีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหนาทโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการมหาสมณุตมาภิเศก แลเลื่อนพระอิศริยยศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ บวรรังษีสุริยพันธุ์ ปิยพรหมจรรย์ธรรมวรยุตร ปฏิบัติสุทธิคณะนายก ธรรมนิติสาธกปวรัยบรรพชิต สรรพธรรมิกกิจโกศล สุวิมลปรีชาปัญญาอรรค มหาสมณุดม บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนารถ มหาเสนานุรักษ์อนุราชวรางกูร ปรมินทรบดินทร์สูริย์หิโตปัธยาจารย์ มโหฬารเมตยาภิธยาไศรย ไตรปิฎกโหรกลาโกศล เบญจปดลเสวตรฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกฤษฐสมณศักดิธำรง มหาสงฆปรินายก พุทธสาสนดิลกโลกุตมมหาบัณฑิตย์ สุนทรวิจิตรปฏิภาณ ไวยัติยญาณมหากระวี พุทธาทิศรีรัตนไตรยคุณารักษ์ เอกอรรคมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาธิโลกยปฏิพัทธ พุทธบริสัษยเนตร สมณคณินทราธิเบศร์ สกลพุทธจักโรปการกิจ สฤษดิศุภการมหาปาโมกษประธานวโรดม บรมนารถบพิตร เสด็จสถิตย์ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวง (มุสิกนาม) ให้ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมตำแหน่งใหญ่ ในพระบรมมหาราชวัง แลดำรงพระยศฝ่าย สมณะศักดิ์เปนเจ้าคณะใหญ่แห่งพระสงฆ์ทั้งกรุงเทพ ฯ แลหัวเมืองทั่วพระราชอาณาเขตร พระราชทานนิตยภัตรบูชาเดือนละ ๑๒ ตาลึง ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธสาสนาเปนภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์พระภิกษุสงฆ์สามเณรทั่วไปโดยสมควรแก่พระอิศริยยศสมณศักดิ จงทรงเจริญพระชนมายุพรรณศุขพลปฏิภาณคุณสารสมบัติสรรพศิริสวัสดิ พิพัฒมงคลวิบุลยศุภผลจิรฐิติกาลในพระพุทธสาสนาเทอญ ฯ







    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทรงเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลี
    สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงพระอัจฉริยภาพในหลายด้าน ซึ่งคนส่วนมากไม่ค่อยจะได้รู้จัก ประการแรก ทรงเป็นปราชญ์ ทางภาษาบาลีที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีอยู่จำนวนไม่มากนัก ผลงานด้านภาษาบาลีที่สำคัญของพระองค์ก็คือพระนิพนธ์เรื่องสุคตวิทิตถิวิธาน ซึ่งทรงวิเคราะห์ และอธิบายเรื่องคืบพระสุคต พระนิพนธ์เรื่องนี้ ทรงพระนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๘ ในปลายรัชกาลที่ ๓ และได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในลังกา ในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ สำหรับในประเทศไทยนั้น เพิ่งจะมารู้จักพระนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อต้นรัชกาลที่ ๖ นอกจากพระนิพนธ์เรื่องนี้แล้ว พระองค์ยังทรงพระนิพนธ์เรื่องอื่นๆ เป็นภาษาบาลีไว้อีกหลายเรื่อง ส่วนพระนิพนธ์ในภาษาไทยก็ทรงไว้หลายเรื่องเช่นกัน ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม และทรงพระปรีชาสามารถทั้งในทางร้อยแก้วและร้อยกรอง ที่สำคัญ เช่น ลิลิตพงศาวดารเหนือ โครงพระราชประวัติในรัชกาลที่ ๔
    ทรงเป็นสถาปนิก
    พ.ศ. ๒๓๙๖ อันเป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริที่จะปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งองค์เดิมเป็นพระเจดีย์ขนาดย่อม ให้เป็นพระมหาเจดีย์สำหรับเป็นที่สักการบูชาของมหาชนสืบไทย จึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แต่ยังทรงเป็นกรมหมื่นออกแบบพระเจดีย์ และทรงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ ถึงแก่พิราลัย ก็โปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เป็นผู้บัญชาการทำการปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ พระปฐมเจดีย์ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ จึงเป็นผลงานออกแบบของสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ <SUP>(๑๐)</SUP>
    ทรงเป็นนักโบราณคดี
    เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆเป็นเหตุให้ทรงพบศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ และจารึกอื่นๆ ในเวลาต่อมาอีกมาก และพระองค์ทรงพยายามศึกษา จนสามารถทรงอ่านข้อความในจารึกดังกล่าวนั้นได้ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติไทย อย่างมหาศาล สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ซึ่งทรงเป็นศิษย์ใกล้ชิดในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์หนึ่ง ก็ได้ทรงดำเนินรอยตาม เป็นเหตุให้ทรงเชี่ยวชาญในทางโบราณคดีพระองค์หนึ่งของไทยในยุคนั้น ทรงเป็นนักอ่านศิลาจารึกรุ่นแรกของไทย ได้ศึกษาและรวบรวมจารึกต่างๆ ในประเทศไทยไว้มากและได้ทรงอ่านจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ (อักษรขอม) เป็นพระองค์แรก <SUP>(๑๑)</SUP>
    ทรงเป็นนักประวัติศาสตร์
    นอกจากจะทรงสนพระทัยในการศึกษาทางโบราณคดีแล้ว สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ยังทรงสนพระทัยในเรื่องประวัติศาสตร์ด้วย ดังจะเห็นได้จากผลงานทางด้านประวัติศาสตร์ที่ทรงพระนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง เช่น ลิลิตพงศาวดารเหนือ เรื่องพระปฐมเจดีย์ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นต้น
    ทรงเป็นนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์
    สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ทรงเป็นที่เลื่องลือว่าเชี่ยวชาญในทางโหราศาสตร์เป็นอันมากแต่ไม่ทรงนิยมการพยากรณ์ ในด้านดาราศาสตร์ก็ทรงเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงพระนิพนธ์ตำราปักขคณนา (คือตำราการคำนวณปฏิทินทางจันทรคติ) ไว้อย่างพิสดาร พระนิพนธ์อันเป็นผลงานของพระองค์ในด้านนี้ไม่ค่อยได้ตีพิมพ์ออกเผยแพร่คนทั่วไปจึงไม่ค่อยรู้จักพระอัจฉริยภาพ ของพระองค์ในเรื่องดังกล่าวเหล่านี้มากนัก
    ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์
    สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ทรงบันทึกจำนวนฝนตกเป็นรายวันติดต่อกันเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี เริ่มแต่ปี พ.ศ. ๒๓๘๙ ในรัชกาลที่ ๓ จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ ในรัชกาลที่ ๕ เพื่อเป็นการเก็บสถิติน้ำฝนในประเทศไทย นับว่าทรงมีความวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง ทรงเรียกบันทึกของพระองค์ว่า “จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน” และในจดหมายเหตุนี้ยังได้ทรงบันทึกเหตุการณ์บ้านเมืองที่สำคัญๆ ไว้ด้วย นับเป็นจดหมายเหตุทางประวัติที่มีค่ามากเรื่องหนึ่ง
    ทรงเป็นกวี
    สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ทรงพระนิพนธ์เรื่องราวต่างๆ ไว้มาก ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาบาลี ในส่วนที่เป็นภาษาไทยนั้นทรงพระนิพนธ์เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ไว้ก็จำนวนมาก เช่น โคลงพระราชประวัติรัชกาลที่ ๔ กาพย์เสด็จนครศรีธรรมราช ลิลิตพงศาวดารเหนือ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นกวีนักอักษรศาสตร์ที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
    ทรงให้กำเนิดพระกริ่งในประเทศไทย
    เมื่อกล่าวถึงเรื่องพระกริ่ง คนส่วนมากก็คงจะเคยได้ยินเรื่องพระกริ่งปวเรศ ซึ่งนิยมนับถือกันว่าเป็นยอดแห่งพระกริ่งในสยามพระกริ่งปวเรศเป็นพุทธศิลป์ที่สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ได้ทรงพระดำริสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ นับเป็นการให้กำเนิดพระกริ่งขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และได้เป็นแบบอย่างให้มีการสร้างพระกริ่ง กันขึ้นในเวลาต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้
    พระอวสานกาล
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นที่เคารพนับถือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ตลอดถึงพระบรมวงศานุวงศ์เป็นอันมาก ทรงเป็นที่ปรึกษาในกิจการบ้านเมืองที่สำคัญๆ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มาตลอดพระชนมชีพ ดังจะเห็นได้จากความในพระราชหัตถเลขาที่กราบทูลสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น บางตอนว่า “ทุกวันนี้หม่อมฉันเหมือนตัวคนเดียว ได้อาศัยอยู่แค่สมเด็จกรมพระกับสมเด็จเป็นที่พึ่งที่ปรึกษา เป็นพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ ขอให้ทรงพิเคราะห์การให้ละเอียดด้วย”
    ในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพ สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงประชวรต้อกระจก ในที่สุดพระเนตรมืด ครั้ง พ.ศ. ๒๔๓๕ ทรงประชวรพระโรคกลัดพระบังคนหนัก จัดเข้าในพระโรคชรา สิ้นพระชนม์เมื่อเช้าตรู่ของวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ สิริรวมพระชนมายุได้ ๘๓ พรรษา ทรงครองวัดบวรนิเวศเป็นเวลา ๔๑ ปี ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่เพียง ๑๑ เดือนเศษ ได้พระราชทานพระโกศกุดั่งใหญ่ทรงพระศพ
    พระศพสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ประดิษฐานอยู่ ณ พระตำหนักเดิม (คือที่เสด็จประทับ) วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลาถึง ๘ ปี จึงได้พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๔๓
    ทรงสถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนาม
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะเมื่อทรงดำรงพระสมณฐานันดรเป็น สมเด็จพระมหาสังฆปริณายก ที่ สมเด็จพระสังฆราชนั้น ยังไม่มีคำนำพระนามที่บ่งบอกถึงพระเกียรติยศ ในทางสมณศักดิ์ คือเรียกพระนามไปตามพระอิศริยยศแห่งบรมราชวงศ์ว่า “พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมสมเด็จ พระยาปวเรศวริยาลงกรณ์” มาในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์” ในคราวเดียวกันกับที่ทรงสถาปนา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ จึงได้เรียกกันว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แต่นั้นเป็นต้นมา
    เชิงอรรถ
    ๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ กรมพระดำรงราชานุภาพ กรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๐๖ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร หน้า ๑๒๖-๘
    ๒. เรื่องเดียวกัน หน้า ๑๒๘ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความทรงจำ สำนักพิมพ์คลังวิทยา กรุงเทพฯ ๒๕๑๗ หน้า ๗๓
    ๓. เรื่องเดียวกัน หน้า ๑๒๙-๑๓๐
    ๔. ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร พิมพ์โดยพระบรมราชโองการในงานถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ที่พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๖๕ หน้า ๖๘-๙
    ๕. เรื่องเดียวกัน หน้า ๗๖-๘
    ๖. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ อ้างแล้ว หน้า ๑๓๐
    ๗. เรื่องเดียวกัน หน้า ๑๓๑
    ๘. ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร อ้างแล้ว หน้า ๗๗
    ๙. เรื่องเดียวกัน หน้า ๗๖-๗
    ๑๐. เรื่องเดียวกัน หน้า ๕๑
    ๑๑. กรมศิลปากร จารึกสมัยสุโขทัย จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลอง ๗๐๐ ปีลายสือไทย พ.ศ. ๒๕๒๖ หน้า ๒๒๕
    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มกราคม 2009
  14. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    [​IMG]

    [​IMG]
    พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    [​IMG]



    [​IMG]
    ที่ประทับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระตำหนักจันทร์ (พระตำหนักเดิม)

    [​IMG]
    เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มกราคม 2009
  15. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    [​IMG]

    พระเครื่องวันนี้ นำ พระกริ่งปวเรศ มาให้ชมครับ
    พระกริ่งปวเรศ ถือกำเนิดโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรสวริยาลงกรณ์
    สร้างในปี ๒๔๑๗- ๒๔๒๕ จำนวน ไม่เกิน ๘๙ องค์ ให้กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายใน ในประวัติเล่าว่า
    พระกริ่งปวเรศ มีการสร้างหลายครั้งจำนวนไม่มาก ครั้งแรกอุดด้วยก้นทองแดง ครั้งที่สองอุดด้วยก้นทองเหลือง
    ลักษณะ พระกริ่งแบบ พระกริ่งจีน พุทธคุณ เมตตาแคล้วคลาด ทำน้ำมนต์ศักดิ์ยิ่ง เช่าหาบูชา ต้องมีซัก ๘ หลักครับ

    [​IMG]
    พัดยศ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรสวริยาลงกรณ์
     
  16. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    วันนี้ได้รับเอกสาร คล้ายๆ ใบเสร็จจากคุณป๋องแล้วครับ
    อนุโมทนางานบุญด้วยนะครับ
    สาธุ ตัวไกล แต่ใจถึง
    (อุดรเด้อครับเด้อ)
     
  17. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    อนุโมทนานะครับ
     
  18. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    วันนี้พี่ป๋องเเจ้งให้ทราบว่าช่างได้ถอดแปลนเหล็กเส้นเเละรวบรวมค่าใช้จ่ายในการสร้างฐานหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่เป็นเงินจำนวนถึง800000บาทฉะนั้นใครมีจิตศรัทธาเชิญติดต่อบริจาคเงินที่พี่ป๋องได้เลย0816901081
    <!-- / message -->
     
  19. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    วันที่10มกราคม 2552 ที่ผ่านมาเจ้าอาวาส วัดดีหลวง เเละชาวบ้านดีหลวง ร่วมกันวางศิลาฤกษ์ ฐานหลวงพ่อทวดที่ใช้งบประมาณมากทีเดียว เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อทวดองค์ประวัติศาสตร์นี้
    เงินทุกบาทที่ท่านบูชาพระกริ่งดีหลวงได้ร่วมสร้างอนุสรณ์สถานหลวงพ่อทวดที่วัดดีหลวงอันเป็นวัดบ้านเกิดเเท้ๆของหลวงพ่อทวดที่ตรงตามประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้ใน พงศาวดาร


    หลวงพ่อทวด องค์ประวัติศาสตร์ จะทำการหล่อขึ้นวันที่8-9กุมภาพันธ์ 2552 นี้เเล้วนะครับ ขอเชิญเเละชวนมาร่วมงานบุญนี้นะครับ
    และ

    หลวงพ่อทวดองค์ใหญ่จะประดิษฐานบนฐานอันสง่างามในวันมหาจักรี 6 เมษายน 2552

    จึงบอกบุญมา ยังทุกท่านด้วย เป็นผลบุญที่สร้างทันใจน่าจะถวายนามหลวงพ่อทวดองค์นี้ว่า หลวงพ่อทวดทันใจ จริงๆ
     
  20. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    <!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG] พระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศพระกริ่งที่กลายเป็นตำนานไปแล้ว<HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]
    พระกริ่งสมัยราชวงศ์ถังของ คุณชินพร สุขสถิตย์ ซึ่งคุณชินพรเอง คุณลุงได้ถอดพิมพ์พระกริ่งองค์ประวัติศาสตร์นี้เเท้ๆจากองค์จริงถอดอยู่หลายชั่วโมงไม่สำเร็จจึงได้ทำการบวงสรวงจุดถูปขอขมาเเละได้ถอดพิมพ์พระกริ่งนี้เทออกมาเป็นพระกริ่งเงินจำนวนประมาณ4องค์เเละนำไปให้พระมหาประชุมเเต่งพระกริ่งเมื่อเเต่งออกมาเเล้วจากพระกริ่งจีนจึงกลายเป็นพระกริ่งที่พระพักษ์ออกทางหน้าไทยเเละยังไม่มีใครใช้พระกริ่งองค์เงินที่เเต่งขึ้นนี้ไปสร้างฉะนั้นคุณชินพรเองท่านได้มอบให้มาฟรีๆนับเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

    [​IMG]
    พระกริ่งเนื้อเงินองค์ต้นเเบบที่ถอดเเบบจากพระกริ่งราชวงศ์ถังเเท้ๆเเล้วเเต่งพระกริ่งโดย พระมหาประชุม วัดสุทัศน์ ผู้มอบให้คือคุณชินพร สุขสถิตย์
    [​IMG]

    พระกริ่งองค์ทางซ้ายสุดเเละองค์กลางคือพระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศที่เททองไปเมื่อวันที่12มกราคม2551ที่ผ่านมา ณ มณฑลพิธีวัดหน้าพระเมรุราชิการาม พระกริ่งองค์กลางนั้นเนื้อเดียวกันกับองค์ซ้ายมือเเต่ทำการปอกผิวเพื่อดูเนื้อในพระว่าเป็นนวโลหะชั้นบรมครูกลับดำเกือบสนิทโดยไม่ใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์เเต่อย่างใด

    [​IMG]

    พระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศนี้จัดสร้างจำนวณ108องค์ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่เสด็จมาเอง เเละของมงคลชั้นสูง รวมทั้งภายในองค์พระบรรจุอัฐิธาตุหลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ ไว้ทุกองค์

    พระทั้งหมดมีรายนามเจ้าของทุกองค์เเล้วตั้งเเต่ก่อนจัดสร้างเเล้วไม่มีให้เช่าบูชาเเต่อย่างใดสร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
    <!-- / icon and title --><!-- message -->

    พระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศ
    เป็นพระที่จัดสร้างขึ้นตามพระตำรับเดิมของสมเด็จพระพันรัต วัดป่าเเก้ว พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งตกทอดมาถึงสมเด็จพระสังฆราชเเพ เจ้าคุณศรี สนธิ์ เเละมาถึงท่าน อาจารย์เทพ สาริกบุตรซึ่งท่านอาจารย์ได้รวบรวมไว้อันประกอบด้วย พระยันต์บังคับ108พระยันต์ เเละนะปถมัง14ครบทุกพระยันต์จารพระยันต์เพื่อการสถาปนาพระกริ่งนี้โดยเฉพาะเเละการจัดสร้างพระกริ่งครั้งนี้ได้จัดสร้างเป็นเนื้อนวโลหะเเท้ๆตามพระตำราของสมเด็จพระสังฆราชอันประกอบด้วยโลหะธาตุบังคับ9ชนิดอันประกอบด้วยทองคำซึ่งได้ใช้ทองคำบริสุทธิ์หนักกว่า40บาทรวมทั้งใส่ยอดพระเกศพระพุทธรูปพระสิงห์สมัยโบราณทองคำ เงินได้นำพระกริ่งเงินเหรียญเงินของพระผู้ทรงวิทยาคมต่างๆจำนวนมากและเหรียญสมัยรัชกาลที่ห้าและมีตราแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์รวมทั้งได้เม็ดเงินบริสุทธิ์พร้อมกับขันเงินโบราณรวมเนื้อเงินแท้ๆที่ผสมในการเทพระกริ่งครั้งนี้รวมแล้วประมาณกว่า1กิโลกรัม ทองแดงได้มาจากการรวบรวมเหรียญพระคณาจารย์และพระยันต์ต่างๆรวมทั้งตะกรุดสำคัญของพระต่างๆ อีกหลายองค์ที่ได้ใส่ไปจำนวนมาก รวมแล้วหนักกว่า3กิโลกรัม เรียกว่าแม้เป็นทองแดงก็เป็นทองแดงที่มีค่ายิ่งกว่าทองคำเพราะประมาณค่ามิได้ จ้าวน้ำเงินได้ใส่ของท่านอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา ลงไปหนัก10บาทมีคนเล่าว่าหากว่าคนรู้ว่าแท้มีการซื้อขายกันถึงกรัมละ1หมื่นบาทเลยทีเดียวและคิดดูพระกริ่งรุ่นนี้ใส่ไปก่วา10บาทเป็นมูลค่าเท่าใด ปรอท ได้ใส่พระที่ทำจากปรอทสำเร็จของขนาจารย์ต่างๆแต่ใส่ไปไม่มากเนื่องจากเกรงว่าพระที่ออกมาผิวจะระเบิดและจะทำให้พระขาดความงามของผิดพระไป สังกะสี ดีบุก บริสุทธิ์ ตะกั่ว เหล็กละลายตัว พลวง โลหะต่างๆนี้อยู่ในสูตรนวโลหะบ้างไม่อยู่บ้างแต่ใส่จนครบหมดทั้งสิ้น และใส่เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อลงหินโบราณ และ ยอดทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นยอดเจดีย์ ยอดพระเกศ ยอดขุนพล ยอดปราสาท เพื่อให้พระกริ่งนี้ บรรลุถึงความเป็น ยอดสุด นั่นเอง และกระนั้นดูเหมือนจะเป็นการโกหกว่านวโลหะจะครบได้อย่างไร แน่นอนต้องใส่ชนวนแท้ๆของสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์เข้าไว้ด้วยจึงจะสมบูรณ์ครบตามตำนานอย่างมิต้องสงสัย นอกจากโลหะธาตุทั้ง9ชนิดแล้วรวมกับโลหะธาตุกายสิทธิ์ที่สะสมไว้ผสมในการนี้ด้วยรวมกับเเผ่นพระยันต์จากตะกรุดเเละเเผ่นจากจากพระผู้ทรงวิทยาคมทั่วประเทศ อาทิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    เเผ่นพระยันต์ของท่านเจ้าคุณนรรัตราชมานิต<O[​IMG]</O[​IMG]
    เเผ่นพระยันต์ของหลวงปู่มหาอำพัน<O[​IMG]</O[​IMG]
    เเผ่นพระยันต์ตะกรุดพระยันต์จักรพรรดิ์<O[​IMG]</O[​IMG]
    แผ่นพระยันต์หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เป็นต้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    ตะกรุดเมตตา ตะกรุดสี่มหาอำนาจ ตะกรุดมหาปราบ ตะกรุดครูบาเจ้าศรีวิชัย<O[​IMG]</O[​IMG]
    ตะกรุดพิสมรของพระอาจารย์ต่างๆมากมายจริงๆ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ชนวนของสมเด็จพระสังฆราชเเพ วัดสุทัศนเทพวราราม <O[​IMG]</O[​IMG]
    ชนวนหล่อองค์พระศรีอาริยเมตไตรของพระครูโสภณธรรมรัต หลวงปู่ถม วัดเชิงท่า ศิษย์ในพระเดชพระคุณสมเด็จพระสังฆราชแพ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ชนวนพระกริ่งสมเด็จพระเจ้าตากสิน
    ชนวนพระกริ่งหลวงพ่อจิตรฯ เนื้อนวโลหะเข้มข้น
    ชนวนพระเขาอ้อขุนพันธรักษ์ราชเดชเป็นเจ้าพิธี<O[​IMG]</O[​IMG]
    ชนวนพระกริ่งและชนวนพระต่างๆหลายๆรุ่น
    ชนวนพระกริ่งต่างอีกมากมายหลายสำนัก<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยอดพระเกศสมัยโบราณทองคำ เหล็กยอดพระธาตุพนม เหรียญเงิน ทองแดง จากพระคณาจารย์ทั่วประเทศ <O[​IMG]</O[​IMG]
    พระยันต์สมัยโบราณของล้านนา กังสดารสมัยโบราณ <O[​IMG]</O[​IMG]
    โลหะระฆังลงหินของพระอาจารย์สิงค์ ขัตยาคโม วัดป่าสาลวัน<O[​IMG]</O[​IMG]
    ความเป็นมาในการจัดสร้าง

    ข้าพเจ้า คนวังหน้า ได้รับคำแนะนำจากคุณลุงชินพร สุขสถิตย์ ผู้สร้างพระกริ่งชินบัญชรปี2517ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง ให้ข้าพเจ้าสร้างพระกริ่งด้วยตนเองตอนมีอายุ24ปี จะเป็นพระกริ่งที่ดีและตัวผู้สร้างจะยังไว้ซึ่งความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งข้าพเจ้าเองเห็นเป็นการดีหากได้ทำพระกริ่งสักครั้งหนึ่งในชีวิตและต้องเป็นไปตามแบบโบราณจารย์ท่านกำหนดไว้ทุกประการอีกทั้งคำแนะนำดังกล่าวตรงใจและโดนใจอย่างที่สุดตรงกับดำริที่ตั้งใจไว้มาแต่เดิมขาดแต่ความรู้เกี่ยวกับเรื่องแร่ธาตุโลหะรวมถึงพิธีกรรมการสร้างและที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นต้นแบบที่สวยงามโดยต้นแบบพระกริ่งที่สถาปนาในครั้งนี้ได้รับความเมตตาจากคุณชินพร สุขสถิตย์มอบต้นแบบที่แต่งแล้วจากพระมหาประชุม วัดสุทัศน์ มาให้ข้าพเจ้าฟรีๆ พระกริ่งทั้งหมดนี้มีเวลาในการเตรียมการเพื่อเททองพระกริ่งแบบเทดินไทยซึ่งเป็นวิธีเททองที่เหมือนเมื่อครั้งสมเด็จพระสังฆราชแพท่านทรงพระชนต์ชีพอยู่ ใช้เวลา เพียง10วันเท่านั้นนับว่าจวนเจียนเป็นอันมาก พระที่หล่อได้ในพิธีทั้งหมด115องค์ผิดจากเดิมที่ตั้งใจไว้เพียง108องค์ ซึ่งพระกริ่งที่หล่อเกินจึงเก็บเอาไว้โดยไม่แต่งขอบอะไรทั้งสิ้นเพื่อมิให้ผิดสัจจะที่ให้ไว้ดังนั้นพระกริ่งคว้านก้นบรรจุมวลสารมหามงคลปิดแผ่นทองคำหรือเรียกว่าพระกริ่งก้นทองคำมีเพียง108องค์และเป็นผิวเดิมๆไม่ได้ทำการปอกผิวแต่อย่างใดเพื่อต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งความเป็นพระกริ่งแบบโบราณไว้อย่างสมบูรณ์และมีเนื้อเดียวเท่านั้น มิได้มีเนื้อพิเศษ หรือพิเศษสุดกว่านี้แต่อย่างใด<O[​IMG]</O[​IMG]
    ครั้งนี้เรียกได้ว่าโชคดีที่สุดเพราะพร้อมทั้งมวลสารเนื้อโลหะธาตุบังคับ9ชนิดและหนึ่งในนั้นที่เรียกได้ว่าหายากที่สุดเห็นจะเป็นจ้าวน้ำเงิน โดยโลหะจ้าวน้ำเงินดังกล่าวตกทอดมาจากพระอาจารย์เอียด เขาอ้ออันเกียงไกร พร้อมกันนั้นมวลสารประเภทโลหะยังประกอบด้วยยอดของแผ่นดินอาทิ ยอดเจดีย์ ยอดพระเกศ ยอดปราสาท เป็นต้น และพร้อมกันนี้ใต้ฐานพระกริ่งยังคว้านก้นเพื่อบรรจุมวลสารต่างที่สำคัญ<O[​IMG]</O[​IMG]
    มวลสารที่อัญเชิญมาอุดก้นพระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศ<O[​IMG]</O[​IMG]
    มีรายนามดังนี้<O[​IMG]</O[​IMG]
    1.มวลสารมหามงคลจากพระศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ ซึ่งท่านเองได้รับมอบจาก ครูอาคม สายาคม ปรมาจารย์นาฏกรแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ <O[​IMG]</O[​IMG]
    2.ผงไม้พยุงที่สถาปนาไม้เท้าสำคัญ รับมอบจากพระศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ<O[​IMG]</O[​IMG]
    3.เหล็กยอดพระธาตุพนม รับมอบจากพระอาจารย์โชติ อาภัคโค <O[​IMG]</O[​IMG]
    4.ยอดพระเจดีย์พระปฐมเจดีย์สมัยโบราณที่แตกหัก<O[​IMG]</O[​IMG]
    5.ยอดพระเจดีย์สมัยอยุธยาที่หลวงพ่อทวดสร้างด้วยองค์ท่านเอง ณ วัดดีหลวง ด้วยองค์ท่านเอง รับมอบจาก พระใบฏีกาประสิทธิ์ เจ้าอาวาสวัดดีหลวง<O[​IMG]</O[​IMG]
    6.ยอดปราสาทหินพนมรุ้ง
    7.ยอดปราสาทพระปรางค์สามยอด
    8.ยอดพระเกศพระพุทธรูปสมัยอยุธยา
    9.ไม้เสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช จาก พระปลัดเกษม วัดชะเมา<O[​IMG]</O[​IMG]
    10.ไม้หลักเมืองสงขลา เจ้าอาวาสวัดโคกเปรี้ยว สงขลา<O[​IMG]</O[​IMG]
    11.ไม้เสาหอพระไตรปิฏกสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆษิตาราม รับมอบจากรองเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม<O[​IMG]</O[​IMG]
    12.ไม้เสาวิหารหลวงวัดเจดีหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รับมอบจากพระพุทธพจน์วราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง<O[​IMG]</O[​IMG]
    13.ผงตะไบพระชินราชอินโดจีน<O[​IMG]</O[​IMG]
    14. ใบเสมาสมัยอยุธยา ดินใต้ฐานพระประธานสมัยอยุธยาในพระอุโบสถผงสนิมลังเหล็กเก็บสมบัติของ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม<O[​IMG]</O[​IMG]
    15.ผงตะไบลังเหล็กและลังไม้ใส่พระกริ่งชินบัญชรปี2517หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยองอันลือลั่น รับมอบจากคุณลุงชินพร สุขสถิตย์<O[​IMG]</O[​IMG]
    16.มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระหลวงพ่อทวดของคนวังหน้าทุกรุ่นรวมทั้งพระกริ่งรุ่นนี้ทุกองค์จะอัญเชิญอัฐิธาตุพระพรหมปัญโญหรือหลวงพ่อดู่ วัดสะแกบรรจุไว้ในองค์พระกริ่งด้วย<O[​IMG]</O[​IMG]
    นับว่าการสร้างหรือสถาปนาพระกริ่งครั้งนี้นับว่าดีทั้งนอกและในหรือเรียกว่าดีนอกดีในเนื่องจากฤกษ์ที่ได้ประสิทธิโดยหลวงพ่อทวดเองโดยตรงทีเดียว อีกทั้งผู้ที่จะอธิษฐานจิตเป็นศิษย์สายตรงแห่งเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศเทพวราราม นั่นคือ พระครูโสภณธรรมรัต หรือ หลวงปู่ถม วัดเชิงท่า ลพบุรี ซึ่งนับว่าเป็นศิษย์สายตรงเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช แพ และเป็นพระศิษย์วัดสุทัศน์ อย่างแท้จริง





    [​IMG]





    [​IMG]


    [​IMG]

    ความเป็นมาพระนามของพระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศ

    [​IMG]

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    สืบเนื่องจากข้าพเจ้าเองได้มีความศรัทธาในความเป็นคนวังหน้าของกรมพระราชวังบวรพระองค์ก่อนๆทั้งในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ศรัทธาในความรักชาติรักแผ่นดิน ศรัทธาในการทำความดีแบบปิดทองหลังพระ ด้วยความศรัทธานี้จึงอัญเชิญพระนามเดิมของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งท่านเองมีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้ายอด หรือพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือ พระองค์เจ้ายอดยิ่งประยูรยศ ซึ่งน่าจะเป็นการตั้งชื่อที่มีเค้าเดิมมาจากชื่อ ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดี จอ วอชิงตัน ซึ่งข้าพเจ้าเองชอบชื่อยอดยิ่งยศเนื่องจากเป็นชื่อของวังหน้าผู้ซึ่งทำงานเพื่อชาติแบบปิดทองหลังพระและชื่อนี้ยังเกี่ยวกับสหรัฐอเมริกาเหตุที่ชอบว่าเกี่ยวกับอเมริกาไม่ใช่จะนิยมของนอกหรือนิยมความเสรีแต่อย่างใดหากแต่เป็นที่รำลึกว่าครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเองผู้สร้างได้ถือกำเนิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั่นเอง และคงแปลกใจว่าทำไมชื่อพระกริ่งนี้จึงมีคำว่ายอดฟ้านำหน้า สืบเนื่องจากข้าพเจ้าได้จารพระยันต์108นะ14ตามตำราของท่านอาจารย์เทพ สาริกบุตร ทุกแผ่น เองครบตามตำรา ขณะที่จาร และได้เผลอหลับไปและตื่นตอนตีสี่ได้เห็นชายโบราณร่างสูงใหญ่นั่งที่จารพระยันต์ตรงกับตำแหน่งที่ข้าพเจ้าจารพระยันต์จึงได้ถามไปในใจว่าท่านเป็นใครชายท่านนั้นตอบว่า กูเป็นพี่ชายของคนวังหน้ากูมาจารพระยันต์ให้มึง และทุกท่านทราบหรือไม่ว่า กรมพระราชวังบวรหรือคนวังหน้าที่ข้าพเจ้าเองนับถือคือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ บุญมา อันเป็นที่มาของนามปากกาว่า คนวังหน้า ที่ข้าพเจ้าใช้ชื่อนี้เป็นนามปากกาอยู่ การที่ชายโบราณกล่าวว่า เป็นพี่ชายคนวังหน้า ท่านคิดว่าชายท่านนี้เป็นใคร……นั่นแหละจึงเป็นที่มาของ พระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศ ยอดพระกริ่งที่สถาปนาฝากไว้ในแผ่นดินไทยแผ่นดินอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า
    พิธีเททองสถาปนาพระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศ

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    พระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศเททองทุกองค์ภายในมณฑลพิธีวัดหน้าพระเมรุราชิการรามเบื้องหน้าพระพุทธรูปพระเจ้าห้าพระองค์ ทรงเครื่องจักรพรรดิ์ ล้อมรอบด้วยสายมงคลราชวัตรฉัตรธง เททองพร้อมกับหลวงพ่อทวด รุ่น รอยพระหัตถ์รอยพระบาทหลวงพ่อทวดเขาเทวดา ที่จัดงานโดย ชมรมคนรักหลวงปู่ทวด สงขลา ณ วันเสาร์ที่12มกราคม2551ที่นับว่าเป็นวันเสาร์ห้าซึ่งเหมาะแก่การสถาปนาพระกริ่งซึ่งนับว่าเป็นพระที่สูงหมายถึงว่าสร้างให้ถูกตำรานั้นยากจริงๆ ซึ่ง โดยในพิธีมีพระเถราจารย์ผู้ทรงวิทยาคมมานั่งปรกและ เททอง พร้อมกันนั้นระหว่างเททองมีพระเทพวรเมธี เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยท่านเจ้าอาวาสวัดหน้าพระเมรุราชิการาม เป็นประธานนำพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และสวดชยันโต นับว่าเป็นภาพที่งดงานประทับใจ ในวันนั้นเป็นอันมาก

    พระเถราจารย์ผู้ทรงวิทยาคมมีรายนามดังต่อไปนี้<O[​IMG]</O[​IMG]
    หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน อยุธยา<O[​IMG]</O[​IMG]
    หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม อยุธยา<O[​IMG]</O[​IMG]
    หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม อยุธยา<O[​IMG]</O[​IMG]
    หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา<O[​IMG]</O[​IMG]
    หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน อยุธยา<O[​IMG]</O[​IMG]
    หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม อยุธยา<O[​IMG]</O[​IMG]
    หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ เชียงใหม่<O[​IMG]</O[​IMG]
    ครูบาพระมหาทองสุข สิริวิชโย ศรีวิชัย เชียงใหม่<O[​IMG]</O[​IMG]
    พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี<O[​IMG]</O[​IMG]
    พระอาจารย์ชัชวาล วัดราชานุวาส(วัดแค) อยุธยา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ระหว่างเททองได้มีพระอาทิตย์ทรงกลดและมีน้ำฝนทิพย์หยาดลงมาประพรมทั่วงานเวลาแค่อึดใจเดียวเท่านั้นในงานอากาศเย็นสบายปลอดโปร่งสบายใจ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าหวังใจว่าการสร้างพระกริ่งในครั้งนี้นอกจากได้สร้างพระกริ่งในดวงใจของใครหลายๆคนแล้ว ข้าพเจ้าอยากให้ทุกคนรู้ว่า งานทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยความตั้งใจ สัจจะ ความบริสุทธิ์ใจ และที่สำคัญที่สุดคือ การสนับสนุนของพ่อแม่ข้าพเจ้าพร้อมด้วยความช่วยเหลือของทุกคนๆทุกๆฝ่าย อย่าลืมว่าพระกริ่งนี้แม้ประเสริฐสักเพียงใดแต่อย่าลืมสร้างพระในใจและดูแลพระในบ้านให้ดีก็แล้วกันแล้วท่านจะเข้าใจว่าพระที่เป็นพระแท้คืออะไร<O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]


    คนวังหน้า <O[​IMG]</O[​IMG]
    ศิษย์หลวงปู่พระผู้เป็นดวงใจ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หมายเหตุ

    พระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศนี้ได้เททองอย่างเปิดเผยต่อหน้าสาธารณะชนและได้รับการอนุญาตจาก นพ.ประพล เองชวน ประธานชมรมคนรักหลวงปู่ทวด และ ได้รับคำอนุญาตจากแม่งานใหญ่ คือ คุณภานุเดช เงารังสีเป็นการสถาปนาพระกริ่งที่นับว่าเป็นครั้งแรกที่เททองในงานพิธีหล่อหลวงพ่อทวดในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ในวัดพระอารามหลวง ต่อหน้าพระพุทธนิมิตรจักรพรรดิ์ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม มิใช่พระฝากพิธีโดยทั่วไปเนื่องจากข้าพเจ้าเองต้องการทำอย่างถูกต้องถูกธรรมเนียมอันดีงามในการสถาปนาพระกริ่งเนื่องจากต้องการให้เกิดความเป็นมงคลต่อผู้สร้างเองและผู้ที่นำไปบูชา
    <!-- / message -->

    <!-- / message --><!-- edit note --><HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1>

    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1> <!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]

    โบสถ์วัดพระเเก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถานสุทธาวาส อยู่ภายในวิทยาลัยนาฎศิลป์ เป็นโบสถ์ที่สร้างในรัตนโกสินทร์ตอนต้น เเละ เจ้านายวังหน้าจะรักเเละผูกพันสถานที่นี้มาก ข้าพเจ้าอัญเชิญพระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศกระทำพิธีเเบบโบราณภายในโบสถ์วังหน้าในตำนานเเห่งนี้เมื่อวันที่15กุมภาพันธ์เวลา.......นานประมาณครึ่งชั่วโมง

    ความเป็นมาต้นแบบพระกริ่งที่เขียนโดยเจ้าของแบบตัวจริง คุณชินพร สุขสถิตย์

    [​IMG]
    ด้านหน้าครับ

    [​IMG]
    ด้านหลัง

    [​IMG]
    และยันต์ที่ก้นพระกริ่ง<!-- / message --><!-- attachments -->
    พระกริ่งยอดฟ้า ยอดยิ่งยศ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    น่าจะเป็นตระกูลเดียวกับพระกริ่งชินบัญชร แต่จะโดดเด่นกว่าเพราะมีเอกลักษณ์แบบไทยแท้ๆ<O[​IMG]</O[​IMG]
    เมื่อการซ่อมแซมบูรณะศาลาภาวนาภิรัต ที่หลวงปู่ทิม อิสริโก ได้สร้างไว้เมื่อ ๓๔ ปีที่แล้ว สำเร็จลง ดูสวยสง่างามใช้ปัจจัยไปกว่า ๓.๒ ล้านบาท ก็คิดจะดัดแปลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่ทิม ซึ่งจำเป็นจะต้องหาเงินมาดำเนินการอีกไม่น้อย พอดีกับพระเครื่องต่างๆที่หลวงปู่ทิม มอบให้สร้างโดยเฉพาะพระกริ่งชินบัญชรนั้นเป็นที่แสวงหาและใฝ่ฝันว่าอยากจะมีไว้ติดตัวเพื่อคุ้มครอง ป้องกันภัยอันตรายสักหนึ่งองค์ นอกจากราคาจะแพงถึง ๒-๓ แสนบาทแล้วก็ยังหาของไม่ได้ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ผมจึงคิดจะสร้างพระกริ่งขึ้นมาอีกครั้งเพื่อหาปัจจัยมาสร้างพิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่ทิม เพราะท่านรับปากตั้งแต่เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ว่า ไม่ว่าพร(คุณชินพร)จะทำอะไร นี่อยู่ที่ไหนก็จะลงมาทำให้ ผมจึงนำพระกริ่งใหญ่ราชวงศ์ถังมาเป็นต้นแบบ แต่แก้ไขให้เป็นแบบไทย มีใบหน้าอวบอูม อิ่มเอิ่บ สง่างาม รอคอยเวลาที่จะนำไปให้คณะกรรมการดูความเหมาะสมว่า จะใช้พิมพ์นี้หรือไม่ ก็พอดีกับ คณะศิษย์หลวงปู่ทวดนำโดยหนุ่มนักศึกษาแพทย์ปีสุดท้ายที่มีอะไรแปลกๆกับหลวงปู่ทวด มาบอกบุญกับผมว่า วันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๑ จะทำการเททองหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ทวด ประทับรอยมือรอยเท้า ขอให้ผมไปร่วมด้วยที่วัดหน้าพระเมรุการาม จังหวัดอยุธยา และขอแบบพระกริ่งจากผม <O[​IMG]</O[​IMG]
    ผมถามว่า รู้ได้อย่างไรว่าผมมีแบบพระกริ่ง ศิษย์หลวงปู่ทวดท่านนั้นบอกว่า “รู้ก็แล้วกัน” ผมจึงไปเอาแบบพระกริ่งมาให้ดู หนุ่มผู้นั้นชี้ให้ผมดูขนบนแขนของเขาที่ลุกชันพร้อมพูดว่า “ดูซิครับ คุณลุง ผมขนลุกไปทั้งตัวเลย ทุกคนที่มาช่วยงานผม หาว่าผมใจเย็นเหลือเวลาอีกเพียง ๑๓ วัน ยังไม่มีวี่แววที่จะได้พระกริ่งต้นแบบมาเททองนำฤกษ์เลย ผมบอกว่าถึงเวลาก็จะมีมาเอง ให้คอยดู แล้วผมก็มาได้จากลุงชินพรจริงๆ ดูซิขนผมยังลุกไม่หายเลย” ผมจึงตัดสินใจยกพระกริ่งองค์เดียวนี้ให้เป็นพระกริ่งต้นแบบของคณะศิษย์หลวงปู่ทวดไป<O[​IMG]</O[​IMG]
    พระกริ่ง(พระชัย)ยอดฟ้า ยอดยิ่งยศ ที่คณะศิษย์หลวงปู่ทวดจะสร้างขึ้นก็เพื่อเป็นพระชัยนำฤกษ์การ เททองรูปเหมือนหลวงปู่ทวดเพื่อหาเงินไปสร้างมลฑปครอบรอยมือรอยเท้าหลวงปู่ทวด บนยอดเขาเทวดา ซึ่งน่าจะโด่งดังต่อไปในภายภาคหน้าแน่ๆ เพราะอะไรๆก็ดูราบรื่นไปหมด และมีใครที่ไหนเขาทำกันได้ จะเททองอีกไม่ถึง ๑๔ วัน แบบพระกริ่งก็ยังไม่มี แต่คณะศิษย์หลวงปู่ทวด ผู้มีความศรัทธาเชื่อมันในองค์หลวงปู่ทวดก็ทำได้และทำได้ดีอีกด้วย<O[​IMG]</O[​IMG]
    ชินพร สุขสถิตย์ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๑

    ภาพพระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศของคุณพ่อผมเองหมายเลข13

    [​IMG]

    [​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    <!-- / message -->
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...