พระคาถาอาการวัตรสูตร ฉบับสมบูรณ์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย Tuumm, 30 กรกฎาคม 2008.

  1. Tuumm

    Tuumm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7,528
    เคยมีเพื่อนสมาชิกบางท่านได้ลงไปบ้างแล้ว แต่จากการตรวจสอบกับต้นฉบับ พบว่ายังมีบางส่วนที่ขาดหายไป ผมจึงทำการแก้ไข และเปรียบเทียบกับต้นฉบับแบบคำต่อคำ แล้วนำมาลงใหม่เพื่อบูชาคุณพระรัตนไตรอันเป็นที่พึ่งสูงสุด และเพื่อบูชาสุดยอดพระคาถานี้ครับ

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้

    พระอาการะวัตตาสูตรนี้ ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้ปรารถนา พระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้เป็นพระพุทธเจ้า มีปัญญามากเพราะเจริญพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ เจริญได้ทุกๆวัน จะเห็นผลความสุขเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30 ประการ ได้ 4 เดือน ( คือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่ากระบือบ้าน และกระบือเถื่อนพยัคฆะ หมู เสือ สิงห์และ ภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชาผู้เป็นจอมของนรชนภัยอันเกิดแต่น้ำ และเพลิง เกิดแต่มนุษย์ และอมนุษย์ ภูตผีปิศาจ เกิดแต่อาชญาของแผ่นดิน เกิดแต่ยักษ์กุมภัณฑ์และคนธรรพ์อารักขเทวดา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆเกิดแต่วิชาธรผู้ทรงคุณวิทยากร และภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราชผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ)

    ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานเว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียน ได้ใช้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าให้ผู้อื่นเลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชา เคารพนับถือพร้อมทั้ง ไตรทวารก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใส จะกระทำซึ่งอาการะวัตตาสูตร อันจะเป็นที่พักผ่อนพึ่งพาอาศัยในวัฎฎะกันดาร ดุจเกาะแลฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า28 พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี พระตถาคตพุทธเจ้าของเราปัจจุบันนี้ก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงเจริญรอยตามพระสูตรนี้มาทุกๆพระองค์ จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่น ไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึง เป็นธรรมอันระงับได้โดยแท้

    ในอนาคตกาล ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกถ่วงไป เป็นวัชชกรรมที่ชักนำให้ไปปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม คือ สัญชีพนรก กาฬสุตตนรก สังฆาฏนรก โรรุวนรก มหาโรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉานกำเนิดไซร้ ถ้าได้ท่องบ่นจำจนคล่องก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์ ผู้นั้นระลึกตามเนื่องๆก็จะสำเร็จ ไตรวิชชา และ อภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญานให้บริสุทธิ์ ดุจองค์มเหสักกเทวราช

    มีอาการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป จะเป็นที่พึ่งพาอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรูหมู่ปัจจามิตร ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี่เป็นทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตา

    ในสัมปรายิกานิสงส์ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้ เมื่อสืบขันธะประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ หิรัญรัตนมณีเหลือล้น ขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือน และที่คลังเป็นต้นประกอบด้วยเครื่องอลังการวิภูษิตพรรณต่างๆ จะมีกำลังมากแรงขยันต่ออยุทธนาข้าศึก ศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศซึ่งสรรพรูปทั้งปวง และจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณ และจะได้เป็น บรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ 4 ทวีปน้อย 2000 เป็นบริวาร นานถึง 36 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยประสาทอันแล้วไปด้วยทองควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว อันเป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน

    ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร อานิสงส์คงอภิบาล ตามประคองไป ให้มีปัญญาเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาน อวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพาน อนึ่ง ถ้ายังไม่ถึง พระนิพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉานกำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม ช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุภโตพยัญชนกอันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทย ที่เป็นอภัพพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชน ผู้ใดทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยถึงตาย จะเป็นคนมีศีล ศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรคาพยาธิเบียดเบียน สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกาย ก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์ ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ ด้วยประสาทจิตผ่องใส เวลามรณสมัยใกล้จะตายจะไม่หลงสติ จะดำรงไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบ ซึ่งพระสูตรอันเจือปนด้วยพระวินัยปรมัตถ์ มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้ จบอานิสงส์สังเขป

    พระอาการวัตตาสูตร เป็นพระสูตรซึ่งบรรจุ นวหรคุณอภินิหาร การก้าวลงสู่พระครรภ์ การตั้งอยู่ในพระครรภ์ ความตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระองค์บ้าง มหาปัญญาบารมีธรรมของพระองค์บ้าง วิชชาปริญญาธรรมบ้าง บรรจุไว้ซึ่งทศพลญาณกายกำลังของพระองค์บ้าง พุทธจริยาและลักษณะธรรมบ้าง ตลอดทั้งความชำนาญในกำลังญาณต่างๆ และบรรจุไว้ซึ่งพระพุทธประเพณี เมื่อบุคคลใดได้ท่องบ่นสาธยายทุกเช้าค่ำ จะมีอานุภาพ มหาตบะเดชะ ตลอดทั้งยศอำนาจ ลาภเมตตามหานิยม ทั่วทุกสารทิศ บันดาลให้เกิดโภคสมบัติ บริวารสมบัติ ประกอบด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดจนดลบันดาลตนเองให้มีฤทธิ์ มีโชค มีสติ มีปัญญา ป้องกัน สรรพภัย มิให้แผ้วพาลได้ จะคิดอะไรก็สมปรารถนา ด้วยอำนาจแห่งพระอาการวัตตาสูตรที่ตนสาธยาย ตลอดกาลนานฯ

    ให้ใช้ภาวนาสำหรับคนดวงชะตาขาด เป็นการต่อดวงชะตาชีวิตและจะมีอานุภาพให้เกิดโชคลาภ อำนาจ บริวาร และปราศจากภัยอันตราย ให้ภาวนาทุกเช้าค่ำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2008
  2. Tuumm

    Tuumm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7,528
    <<ขึ้นต้นพระคาถาอาการวัตรสูตร>>
    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะฯ

    <<พระคาถาอาการวัตรสูตร
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถาเทวะ มะนุสสานัง
    อิติปิ โส ภะคะวา พุธโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา ภะคะวาติ อะระหาทิคุณะวัคโค ปะฐะโมฯ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม [วรรคที่ 1]

    อิติปิ โส ภะคะวา อภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะณิธานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
    อภินิหาระวัคโค ทุติโย [วรรคที่ 2]

    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะมะละ วิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิริ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริณามะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุนิฏฐา ปาระมิสัมปันโน
    คัพภะ วุฏฐานะวัคโค ตะติโย [วรรคที่ 3]

    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะวัตติงสะ มะหาปุริสะลักขะณา ปาระมิสัมปันโน
    อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ [วรรคที่ 4]

    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิพเพธิกะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะ พุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
    มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม [วรรคที่ 5]

    อิติปิ โส ภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ขันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุเบกขา ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>

    ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ [วรรคที่ 6]

    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตังตังขานะหะนัง ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญานะ ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญานะทัสสะ ปาระมิสัมปันโน
    ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม [วรรคที่ 7]

    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา วิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะระจิตตะ ปะริยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    วิชชาวัคโค อัฏฐะโม [วรรคที่ 8]

    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญานะ ปาระมิสัมปันโน
    ปะริญญาณะวัคโค นะวะโม [วรรคที่ 9]

    อิติปิ โส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปุริสะกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    โพธิปักขิยะธัมมะวัคโค ทะสะโม [วรรคที่ 10]

    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตตานังนานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปะโรปะริยัตตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฌาณาทิสังกิเลสาทิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จุตูปาปะตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ทะสะพะละญาณะวัคโค เอกาทะสะโม [วรรคที่ 11]

    อิติปิ โส ภะคะวา โกฏิสะหัสสานัง ปะกะฏิสะหัสสานัง หัตถีนัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะ สะหัสสานัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐะสะมาปัตติคุณะ ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม [วรรคที่ 12]

    <o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุตสาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะเวสีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ถามะพะละวัคโค เตระสะโม [วรรคที่ 13]

    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา ติวิธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    จะริยาวัคโค จะตุททะสะโม [วรรคที่ 14]

    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ ทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อายะตะเนสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตูสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปะริณามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม [วรรคที่ 15]

    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วุสิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วุสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    คะตัฏฐานะวัคโค โสฬะสะโม [วรรคที่ 16]

    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุพรัมมะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุพรัมมะวิหาระญาณะ ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะปะริยันตะ ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัญญุตะ ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุวีสะโกฏิสะตะวะชิระ ปาระมิสัมปันโน<o:p></o:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุวีสะโกฏิสะตะวะชิระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม [วรรคที่ 17]<o:p></o:p>

    อาการวัตตะสุตตังนิฏฐิตัง

    (พระคาถาสุนทรีวาณี: หัวใจพระอาการวัตรสูตร)
    มุนินทะ วะทะนัมพุชะคัพภะ สัมภะวะสุนทะรี ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง
    <o:p></o:p>
     
  3. จรัล

    จรัล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +405
    กระผมอยากรู้ว่าเป็นต้นฉบับที่แท้จริงรึเปล่า เอามาจากที่ไหน ไม่เหมือนตามเสียงสวดที่เปิดฟังได้ในเว๊ปเลย คิอมีเกินมีขาดอีกนั่นแหละ ไม่รู้ว่าตามเสียงที่สวดกับที่โพสต์มานั้นใครจะถูกต้องกันแน่ ฟังแล้วอ่านแล้วงงไปหมด ขอความกรุณาชี้แจงด้วยครับ
    กราบขอบพระคุณครับ
     
  4. Tuumm

    Tuumm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7,528
    พระคาถาอาการวัตรสูตรที่ผมนำมาลงนี้ ผมคัดลอกมาจากหนังสือ พระมหาทิพมนต์ เรียบเรียงโดย ตรี เขมกุลภรณ์ สร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2550 ครับ
     
  5. Tuumm

    Tuumm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7,528
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2008
  6. มรรค 8 ประการ

    มรรค 8 ประการ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    884
    ค่าพลัง:
    +2,641
    มีคำแปลมั้ยครับ จะได้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
     
  7. daychatorn

    daychatorn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +33
    พระคาถาอาการะวัตตาสูตร(แปลไทย)

    พระคาถาอาการะวัตตาสูตร ( ฉบับแปลไทย )<o>:p</o>:p

    ณ บัดนี้จะแสดงธรรม ที่มีมาในพระอาการะวัตตาสูตร ที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม ทรงเสด็จประดับ ณ คิชฌกูฏบรรพตคีรีวันฯได้ทรงแสดงธรรมในพระบารมี คือบารมีที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นพระบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ คุณธรรมที่ได้ทรงบำเพ็ญเพียรตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงที่สุด ในการตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงได้ปฏิบัติตามกันมาเป็นลำดับดังนี้ แก่พระสารีบุตรและพระพุทธสาวกของพระองค์ให้รู้ตาม ในคุณอันยิ่งใหญ่ที่มีมานั้น ที่วงศ์สกุลแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงได้ตรัสรู้แล้ว<o>:p</o>:p

    1. พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ไกลจากกิเลส ทำลายกำแพงสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น<o>:p</o>
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงผู้ตรัสรู้ชอบเอง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ แม้ปรินิพพานแล้วก็เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า เป็นผู้รู้จักโลก คือรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลก คือ สังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตว์โลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยท่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่า คือทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า<o>:p</o>
    พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงาย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆมีการคำนึงประโยชน์ส่วนตนเป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน การที่ทรงพระคุณสมบรูณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่น และย่อมให้เกิดผลคือทรงทำให้เบิกบานด้วย<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าจะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือเป็นผู้จำแนกแจกธรรม<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแล้วในคุณเพราะเหตุอย่างนี้ๆ ( วรรคที่ 1 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p

    2.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ อำนาจแห่งบุญที่สร้างสมไว้และทรงบำเพ็ญเพียรมาด้วยพระองค์เอง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีอารมณ์สดใสแห่งธรรมมีจิตใจที่เบิกบาน<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงสติปัญญาและทรงมีไหวพริบอันเยี่ยมยอด ยิ่งใหญ่หาที่สุดประมาณ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ที่จะช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ญาณเป็นเครื่องรู้แห่งจิตในธรรมที่ได้ทรงตรัสรู้แล้ว<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมที่จะนำสรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมเป็นเครื่องสรุปด้วยเหตุและปัจจัยในการเกิดและดับแห่งอารมณ์<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมแห่งพระพุทธองค์ที่มีอนุภาพอันสว่างโชติช่วงดังดวงอาทิตย์<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เสด็จลงสู่พระครรภ์มารดาในท่านั่งสมาธิ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงดำรงอยู่ในพระครรภ์มารดาโดยนั่งขัดสมาธิ 10 เดือน<o>:p</o>
    ทรงเพียบพร้อมแล้วในอำนาจแห่งบารมีที่สร้างสมไว้ด้วยเหตุและผลปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 2 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p

    3.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในฐานะที่ทรงดำรงอยู่รอดในพระครรภ์มารดา<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมปราศจากมลทินในการประสูติ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในพระชาติอันอุดมยิ่ง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ แนวทางแห่งการดำเนินไปเพื่อการหลุดพ้น<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระรูปโฉมที่สง่างามยิ่ง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงมีผิวพรรณอันงดงามยิ่ง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นที่รวบรวมมงคลอันประเสริฐ และเป็นมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในการเจริญวัย<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมแห่งการเป็นผู้นำ ผู้เป็นใหญ่<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในการประสูติ ( คลอด ) สำเร็จ<o>:p</o>:p
    ทรงเพียบพร้อมแล้วในฐานะแห่งบารมี ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 3 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p

    4.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมแห่งการตรัสรู้<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยศีล<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความตั้งมั่นความสงบแห่งจิต<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความพอใจพยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นมหาบุรุษที่มีลักษณะอันงดงามครบทั้ง 32 ประการ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงเพียบพร้อมในธรรมแห่งการตรัสรู้ยิ่ง ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 4 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p


    5.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระมหาปัญญาอันรอบรู้ชัด หยั่งรู้ในเหตุผล ทุกสรรพสิ่งฯลฯ อันยิ่งใหญ่<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันหนาแน่น<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันร่าเริง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันโลดแล่น ( เร็วเหมือนฝีเท้า )<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันกล้าแข็ง<o>:p</o>
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีตาปัญญาทั้ง 5 ทรงประกอบด้วยคุณยิ่งใหญ่เป็นเหตุให้สามารถให้ตรัสรู้ฯ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้ทำความรู้แห่งรสธรรมอันยอดเยี่ยม<o>:p</o>:p
    ทรงเพียบพร้อมแล้วในธรรมแห่งปัญญาอันยิ่งใหญ่ 5 ประการ ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 5 ) <o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p

    6.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การให้ การเสียสละ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การรักษากาย วาจา ให้อยู่ในหลักความประพฤติที่เรียบร้อย ประพฤติดีงามถูกต้อง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การออกบวช ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรอบรู้ ความหยั่งรู้เหตุและผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความจริง และรู้จักแก้ไขปฏิบัติจัดการต่างๆ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียร ความแกล้วกล้า พยายามบากบั่นไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความอดทน ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผลที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอัน ชอบ ไม่ลุอำนาจกิเลส<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความจริง พูดจริง ทำจริง และจริงใจ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความตัดใจมั่น การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายของตนไว้แน่นอนและดำเนินตามนั้นแน่วแน่<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรักใคร่ ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุข<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความวางใจเป็นกลาง ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรมและดำรงอยู่ในธรรม<o>:p</o>
    ทรงเพียบพร้อมแล้วในคุณธรรมระดับต้น ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 6 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p

    7.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บารมีระดับต้น 10 อย่าง ได้แก่ ทานบารมีเป็นต้น เช่น สละทรัพย์สินเงินทองฯ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บารมีอุปบารมี ระดับรองหรือจวนจะสูงสุด เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะเป็นทาน<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทานปรมัตถบารมี ระดับสูงสุดได้แก่ การสละชีวิตเป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การบำเพ็ญทั้ง 10 บารมี ครบ 3 ขั้น หมายถึงบารมี 30 ถ้วน<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหยั่งรู้ในณานและองค์ณานตามลำดับ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้ยิ่งความรู้ชัด<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความระลึกได้<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความมีใจตั้งมั่นที่มั่นคงมีจิตใจแน่วแน่ในอารมณ์<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหลุดพ้นจากกิเลส<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นจากกิเลส<o>:p</o>:p
    ทรงเพียบพร้อมแล้วในการบำเพ็ญบารมีครบถ้วน ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 7 )<o>:p</o>:p
    <o>:p

    8.พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ วิชชาคือความรู้ จรณะคือความประพฤติ ปัญญาที่พิจารณาถึงสังขาร คือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆต่อเนื่องกัน<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การแสดงฤทธิ์ต่างๆได้ คือ เดินบนน้ำ เป็นต้น<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การมีหูทิพย์ คือ ได้ยินเสียงที่เกินความสามารถของมนุษย์<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การระลึกชาติได้<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีตาทิพย์ เห็นความตายความเกิดของสัตว์ทั้งหลาย<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติและความรู้อย่างยอดเยี่ยม<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติแห่งธรรมและความรู้แจ้งด้วยปัญญาตามความเป็นจริง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การมีธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับแล้ว<o>:p</o>:p
    ทรงเพียบพร้อมในวิชชา ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 8 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    9.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การกำหนดรู้ทุกข์ที่เป็นไปในโลก คือ รู้จัก เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การละกิเลส อันรัดรึงจิต กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ด้วยการละต้นตอแห่งกิเลส<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การกระทำให้แจ้งในความดับทุกข์ คือเข้าถึง หรือบรรลุจุดหมายที่ต้องการดับทุกข์<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การเจริญคือ ฝึกอบรมจิต ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การกำหนดรู้ทุกข์ที่เกิด การละกิเลสทำให้หมดสิ้นไปของต้นตอแห่งทุกข์ กระทำให้แจ้งในความดับทุกข์ ด้วยการเจริญฝึกอบรมจิต ให้ถึงความดับทุกข์<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความจริงทั้ง 4 อย่างนี้ได้แก่ 1.ทุกข์ 2.เหตุให้เกิดทุกข์ 3.ความดับทุกข์ 4.ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความแตกฉาน มีปรีชาญาณเป็นเครื่องรู้ในธรรม<o>:p</o>:p
    ทรงเพียบพร้อมแล้วด้วยการกำหนดรู้ในธรรม ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 9 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    10.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมอันเป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรคมี 37 ประการ <o>:p</o>:p
    สติปัฏฐาน 4 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาตั้งสติได้แก่ 1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณากาย 2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณาเวทนา 3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณาจิต 4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณาธรรม<o>:p</o>:p
    สัมมัปปธาน 4 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาความเพียร ได้แก่ 1.สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น 2.ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว 3.ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น 4.อนุรักษ์ขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น<o>:p</o>:p
    อิทธิบาท 4 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาที่ให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ 1.ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น 2.วิริยะ ความเพียร 3.จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ 4.วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาสอบสวน<o>:p</o>:p
    อินทรีย์ 5 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนได้แก่ 1.ศรัทธา ความเชื่อ 2.วิริยะ ความเพียร 3.สติ ความระลึกได้ 4.สมาธิ ความตั้งจิตมั่น 5.ปัญญา ความรู้ทั่วชัด<o>:p</o>:p
    พละ 5 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาธรรมอันเป็นกำลัง ได้แก่ 1.ศรัทธา 2.วิริยะ 3.สติ 4.สมาธิ 5.ปัญญา โพชฌงค์ 7 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมองค์แห่งการตรัสรู้ ได้แก่ 1.สติ ความระลึกได้ 2.ธัมมวิจยะ ความเลือกเฟ้นธรรม 3.วิริยะ ความเพียร 4.ปิติ ความอิ่มใจ 5.ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ 6.สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น 7.อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะความเห็นเป็นจริง <o>:p</o>:p
    มรรค 8 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ ได้แก่ 1.สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ 2.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ 3.สัมมาวาจา เจราชอบ 4.สัมมากัมมันตะ การงานชอบ 5.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ 6.สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ 7.สัมมาสติ ระลึกชอบ 8.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระมหาบุรุษผู้ทรงธรรมอันทำให้เกิดความสว่างในพระงอค์<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษที่มีปรีชาธรรมอันไม่มีความขัดข้อง ไม่มีเครื่องกั้น รู้ตลอด รู้ทะลุปรุโปร่ง <o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมอันทำให้สิ้นอาสวะ เป็นกำลังแห่งความหลุดพ้น จนสำเร็จเป็นอรหันต์<o>:p</o>:p
    ธรรมฝ่ายแห่งการตรัสรู้ 37 ประการ ด้วนเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 10 )

    11.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นได้ อะไรเป็นไม่ได้ ของบุคคลซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่ว ต่างๆกัน<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ทั้งในอดีต ในอนาคต และปัจจุบัน<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ รู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นอเนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆของชีวิต และหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิ หน้าของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ เป็นต้น<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆกัน<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ อันทำให้ระลึกภพชาติที่เคยอยู่ในหนหลังได้<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย<o>:p</o>:p
    นี่คือพระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 11 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    12.พระ พุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระกำลังที่ทรงมีมากกว่ากำลังช้าง ตั้งโกฏิ ( โกฏิ หมายถึง จำนวนนับเท่ากับสิบล้าน ) และปโกฏิ ( นับจำนวนไม่ได้ )<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระกำลังที่ทรงมีมากกว่าบุรุษทั้งหลายเป็นพันโกฏิ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงปรีชาหยั่งรู้พระจักษุอันเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้ามี 5 คือ 1.มังสจักขุ ตาเนื้อ 2.ทิพพจักขุ ตาทิพย์ 3.ตาปัญญา ตาปัญญา 4.พุทธจักขุ ตาพระพุทธเจ้า 5.สมันตจักขุ ตาเห็นรอบ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาทรงหยั่งรู้ในคู่แห่งธรรม คือ ธาตุน้ำ และธาตุไฟ เป็นต้น<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ คุณแห่งความประพฤติดีทางกายและวาจา ให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงาม ปราศจากโทษ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ คุณวิเศษหรือธรรมวิเศษที่เข้าถึงการบรรลุขั้นสูง<o>:p</o>:p
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีพละกำลัง ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 12 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    13.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถในเรี่ยวแรงแห่งจิตในธรรมอันเป็นกำลังยิ่ง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถหยั่งรู้กำลังในเรี่ยวแรงแห่งจิตในธรรมอันเป็นกำลังทั้งหลาย<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาในธรรมอันเป็นกำลังอันเข็มแข็งที่ทำให้ข่มขจัดได้แม้แต่กำลังมาร<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาหยั่งรู้กำลังจิตไม่มีกิเลสหรือความทุกข์ใดๆ จะสามารถบีบคั้นครอบงำได้<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปรีชาสามารถยิ่ง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถหาที่สุดประมาณ โดยไม่มีเครื่องชั่ง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาเป็นเครื่องหยั่งรู้<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาในความพยายามที่มั่นคง<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถแสวงหาหนทางแห่งธรรมในการตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง<o>:p</o>:p
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ เรี่ยวแรงอันเป็นกำลัง ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 13 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    14.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติปกติของจิต คือ การทรงบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่สรรพสัตว์<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหยั่งรู้ปกติของจิตในสรรพสัตว์ ที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์สูงสุด<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติปกติของจิต คือ เอื้ออำนวยประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายในโลก<o>:p</o>
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงหยั่งรู้ปกติของจิตในสรรพสัตว์ ทรงเอื้ออำนวยประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงหยั่งรู้ในพระญาณทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญประโยชน์ตามหน้าที่ของพระพุทธเจ้า<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงหยั่งรู้ด้วยสิ่งที่ควรประพฤติตามหน้าที่ของพระพุทธเจ้า<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญบารมีจนครบทั้งสามประการ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญบารมี ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงสุด รวมเรียกว่า บารมี 30 ทัศ<o>:p</o>:p
    รวมเรียกว่าการทรงบำเพ็ญประโยชน์ ของพระพุทธเจ้าด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 14 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    15.พระ พุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นและดับลง เป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยงแห่งขันธ์ 5 ที่ไม่ควรยึดติด<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นและดับลง เป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ ความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ 5 ที่ไม่ควรยึดติด<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นและดับลง เป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนแห่งขันธ์ 5 ที่ไม่ควรยึดติด<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มหาบุรุษผู้ทำความรู้แห่งธรรมอันยอดเยี่ยมทรงหยั่งรู้ความจริงทั้งหลายที่ ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นแห่งลักษณ์ธาตุ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มหาบุรุษผู้เป็นนำผู้เป็นใหญ่ ทรงหยั่งรู้ความจริงทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นแล้วของลักษณ์ทั้งปวงในโลก<o>:p</o>:p
    รวมเรียกว่าลักษณ์บารมีแห่งพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 15 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p

    16.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้รู้ในทุกหนทางที่ปฏิบัติดำเนินไป และทุกสถานที่ๆทรงเสด็จไป<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ในทุกหนทางที่ปฏิบัติดำเนินแล้ว และทุกสถานที่ๆทรงเสด็จไป<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้มีความชำนาญในเรื่องฌาน คือ ตรวจองค์ฌาน.เข้า-ออกได้รวดเร็ว เป็นต้น<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ ทรงเชี่ยวชาญชำนาญในเรื่องฌาน พิจารณาทบทวนองค์ฌานรวดเร็ว<o>:p</o>
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้ฝึกหัดอบรบ กาย วาจา จิตใจ และปัญญา จนบรรลุจุดหมายสูงสุด<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ด้วยการศึกษาที่เชี่ยวชาญจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้มีความสำรวมความระวังปิดกั้นบาปอกุศล เช่น สำรวมศีล เป็นต้น<o>:p</o>
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ ในความสำรวม ปิดกั้นบาปอกุศลทั้งหลาย<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงปฏิบัติเจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 16 )<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    17.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้รู้ในทุกหนทางปฏิบัติดำเนินไปตามเชื้อสายพุทธเจ้า<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความหยั่งรู้ทั่งถึงชัดเจน แห่งหนทางปฏิบัติตามเชื้อสายพุทธเจ้า<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความรู้เป็นอัศจรรย์ในคู่แห่งธรรม<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความหยั่งรู้แสดงผลให้บังเกิดอัศจรรย์ในคู่แห่งธรรม เนื่องด้วยธาตุน้ำและธาตุไฟ แสดงออกพร้อมกัน<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีการเป็นอยู่หรือดำเนินชีวิตอย่างผู้ประเสริฐ 4 ประการ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีพรหมจรรย์ในการดำเนินชีวิตอย่างผู้รู้ อย่างผู้ประเสริฐ 4 ประการ<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีปรีชาหยั่งรู้อันไม่มีความขัดข้อง รู้ตลอด รู้ทะลุปรุโปร่ง ไม่มีเครื่องกั้นเป็นพระปรีชาเฉพาะพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่มีทั่วไปแก่พระสาวก<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความหยั่งรู้ไม่มีที่สิ้นสุดในธรรม ในอินทรีย์อันหยิ่งหย่อนของสัตว์<o>:p</o>:p
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นพระปรีชาเฉพาะพุทธเจ้า ซึ่งไม่มีทั่วไปแก่พระสาวก<o>:p</o>
    พระพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาวชิรญาณตรัสรู้สิ่งทั้งปวงรู้เห็นไปข้างหน้า คือ อนาคตรู้ เห็นอดีตข้างหลัง ได้มากโดยมากเขตแดนหามิได้<o>:p</o>:p
    พระมหาบุรุษผู้เป็นเชื้อสายแห่งพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 17 )
    ที่มา http://palungjit.org/showthread.php?t=158154
    </o>
     
  8. มรรค 8 ประการ

    มรรค 8 ประการ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    884
    ค่าพลัง:
    +2,641
    สุดยอดมากเลยครับกับคำแปล
     
  9. Pariyawit

    Pariyawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +777
    มุนินทะ วะทะนัมพุชะคัพภะ สัมภะวะสุนทะรี
    ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง


    อนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  10. guitargun

    guitargun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2007
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +137
    พระอาการวัตตาสูตรffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    เหตุพระอาการวัตตาสูตร<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    โบราณาจารย์กล่าวว่า เมื่อพระสารีบุตรมีความปริวิตกในจิตด้วยความกรุณา ประชุมชนเกิดมาภายหลังจักให้ปฏิบัติในธรรมนั้นๆ เพื่อป้องกันรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัย จึงกระพุ่มหัตถ์ถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้มีปัญญายังหนาด้วยโมหะอวิชชา หารู้จักพระบารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้นไม่ เพราะความที่ตนเป็นคนอันธพาลจะพึงกระทำบาปกรรมทั้งปวง เป็นเหตุนำตนให้ถึงซึ่งนิริยทุกข์ ไปบังเกิดในนรกอเวจี ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมอันหนึ่งอันใดเล่าจะลึกสุขุมที่สามารถเพื่อจะห้ามเสียได้ มิให้สัตว์ทั้งหลายนั้นตกไปในนรกอเวจีจะมีอยู่บ้างหรือพระพุทธเจ้าข้า” จึงมีพระพุทธธรรมว่า “ดูกร สารีบุตร ในราตรีอันใดตถาคตได้ตรัสรู้ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ โพธิมณฑล ก็ในราตรีนั้นแลตถาคตระลึกอาการวัตรสูตรนี้ อันมีคุณานุภาพเป็นที่รักษาต่อต้านภัยต่างๆ เป็นคติไปเบื้องหน้าแห่งสัตว์โลกกับทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ เป็นไปกับด้วยสมณ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์สามารถห้ามเสียซึ่งบาปธรรมทั้งปวง”

    <O:p>คาถาอาการวัตตาสูตร (พระสูตรว่าด้วยพระอาการที่เป็นไปแห่งพระพุทธเจ้า)

    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะฯ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะสุภะรัพภะ (กัมมัฏฐานัง) สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะโลกา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุ สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโปธาตุ สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เตโชธาตุ สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วาโยธาตุ สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะธาตุ สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน<O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะธาตุ สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน<O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะธาตุ สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน<O:p></O:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยามา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตี เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน

    <O:p>อิติปิ โส ภะคะวา พรหมะปะริสัชชา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พรหมะปะโรหิตา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาพรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริตตาภา พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัปปะมาณาภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภัสสะรา พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริตะสุภา พรหมา เทวา สัมมาวิชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัปปะมาณะสุภา พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุภะกิณหะกา พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะสัญญิสัตตา พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เวหัปผะลา พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะวิหา พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะตัปปา พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุทัสสา พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุทัสสี พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะกะนิฏฐะกา พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ พรหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน

    <O:p>อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคโค สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะโล สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคโค สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะโล สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคโค สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะโล สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคโค สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะโล สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิพพานัง ปะระมัง สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นะโมเม สัพพะพุทธานัง สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นะโม โพธิมุตตะมัง สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน

    <O:p>อิติปิ โส ภะคะวา ตัณหังกะโร นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เมธังกะโร นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะระณังกะโร นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทีปังกะโร นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โกญฑัญโญ นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มังคะโล นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน <O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา สุมะโน นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เรวะโต นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โสภิโต นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะโนมะทัสสี นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะทุโม นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นาระโท นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะทุมุตตะโร นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุเมโธ นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุชาโต นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปิยะทัสสี นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัตถะทัสสี นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ธัมมะทัสสี นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิทธัตโถ นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติสโส นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุสโส นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปัสสี นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิขี นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เวสสะภู นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา กะกุสันโธ นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โกนาคะมะโน นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา กัสสะโป นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โคตะโม นามะ ภะคะวา สะมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน<O:p></O:p>


    ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง โคตะมัง เอวัง กัลป์ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต, อิติปิ โส ภะคะวา, อะระหัง, สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต, โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, สัตถาเทวะมะนุสสานัง, พุทโธ, ภะคะวาติ, โส อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรัหมะกัง สัสสะมะณะ พราหมะณิงปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญาสัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ โส ภะคะวา จักขุภูโต ญาณะภูโต ธัมมะภูโต ตัสสะทา ปะวัตตา อัสสะชะเนนตา อะมะตัสสะทาตา ธัมมะสามิ ธัมมะราชา ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสา-นะกัลยานัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ สาธุ โข ปะนะ ตะถารูปา

    <O:p>๑. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชาจะระณะ สัมปันโน<O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา ภะคะวาติ
    พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม (จบวรรคที่ 1)<O:p></O:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะณิธานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหากรุณา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
    อะภินิหาระวัคโค ทุติโย(จบวรรคที่ 2)

    <O:p>อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริณามะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
    คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย (จบวรรคที่ 3)

    <O:p>อิติปิ โส ภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะวัตติงสะ มะหาปุริสะ ลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ (จบวรรคที่ 4)

    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน <O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา นิพเพธิกะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
    มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม (จบวรรคที่ 5)<O:p></O:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ขันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
    ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ (จบวรรคที่ 6)

    <O:p>อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน <O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญาณะทัสสะนะ ปาระมิสัมปันโน
    ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม (จบวรรคที่ 7)<O:p></O:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ ปาระมิสัมปันโน <O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปัสสะนาญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิวิธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะระจิตตะปะริยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน <O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    วิชชาวัคโค อัฏฐะโม (จบวรรคที่ 8)<O:p></O:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาปะหานะ สัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ปะริญญาวัคโค นะวะโม (จบวรรคที่ 9)

    <O:p>อิติปิ โส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    โพธิปักขิยะธัมมะวัคโค ทะสะโม (จบวรรคที่ 10)

    <O:p>อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตตานังนานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปะโรปะริยัตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน<O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จุตูประปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ทะสะพะละญาณะวัคโค เอกาทะสะโม (จบวรรคที่ 11)<O:p></O:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา โกฏิสะหัสสานัง ปะโกฏิสะหัสสานัง หัตถีนัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน <O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะ หัสสานัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม (จบวรรคที่ 12)<O:p></O:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน <O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุสสาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ถามะพะละวัคโค เตระสะโม (จบวรรคที่ 13)<O:p></O:p>

    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปาระมิอุประปาระมิ ปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    จะริยาวัคโค จะตุททะสะโม (จบวรรคที่ 14)

    <O:p>อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ ทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อายะตะเนสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตู สุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปะริณามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม (จบวรรคที่ 15)

    <O:p>อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฎฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฎฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วะสีตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วะสีตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    คะตัฏฐานะวัคโค โสฬะสะโม (จบวรรคที่ 16)

    <O:p>อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุพรหมะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม (จบ 17 วรรคบริบูรณ์)

    <O:p>[B]จบพระอาการวัตตาสูตรเท่านี้[/B]


    <O:p>
    [SIZE=4][COLOR=seagreen][B](คำแปล) พระสูตรว่าด้วยพระอาการที่เป็นไปแห่งพระพุทธเจ้า[/B][/COLOR][/SIZE]


    [COLOR=seagreen]ณ บัดนี้จะแสดงธรรม ที่มีมาใน[B]พระอาการะวัตตาสูตร ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม[/B] ทรงเสด็จประทับ ณ คิชฌกูฏบรรพตคีรีวันฯ ได้ทรงแสดงธรรมใน พระบารมี คือบารมีที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงตรัสรู้อันเป็นพระบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ คุณธรรมที่ได้ทรงบำเพ็ญตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงที่สุด ในการตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงได้ปฏิบัติตามกันมาเป็นลำดับดังนี้ แก่พระสารีบุตรและพระพุทธสาวกของพระองค์ให้รู้ตาม ในคุณอันยิ่งใหญ่ที่มีมานั้น ที่วงศ์สกุลแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงได้ตรัสรู้แล้ว[/COLOR]

    <O:p[COLOR=seagreen]>[FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปของสภาพ[B]อันไม่งาม, ซากศพในสภาพต่างๆ[/B] ในการพิจารณาอารมณ์แห่งสมถกรรมฐาน[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้ [B]คู่แห่งธรรม[/B]ในโลกที่มี[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของ[B]ธาตุดิน[/B][/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของ[B]ธาตุน้ำ[/B][/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของ[B]ธาตุไฟ[/B][/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของ[B]ธาตุลม[/B][/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของ[B]ธาตุอากาศ[/B]หรือช่องว่าง[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของ[B]วิญญาณธาตุ[/B][/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของ[B]โลกะธาตุ[/B][/COLOR][/SIZE]
    [COLOR=seagreen] [/COLOR]
    [FONT=Angsana New][B][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen](เทวดามี ๖ ชั้น)[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B][/FONT]​
    [COLOR=seagreen] [/COLOR]
    [B][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑. [/FONT][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [FONT=Angsana New][B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๒. [/FONT]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์<O:p></O:p>[/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๓. [/FONT][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้น ยามา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๔. [/FONT][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้น ดุสิต[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๕. [/FONT][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้น นิมมานรตี[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๖. [/FONT][FONT=Angsana New]พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่งด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][B][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen](สวรรค์ชั้นพรหมมี ๒๐ ชั้น)[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][/COLOR][/SIZE][/B] [/CENTER]
    [B][FONT=Angsana New][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen]๑. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม พรหมปาริสัชชา<O:p></O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/FONT][/B]
    [FONT=Angsana New][B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๒. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม พรหมปุโรหิตา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๓. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม มหาพรหมา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๔. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม ปริตตาภา<O:p></O:p>[/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๕. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม อัปปมาณาภา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๖. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม อาภัสสรา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๗. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม ปริตตสุภา<O:p></O:p>[/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๘. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม อัปปมาณสุภา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๙. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม สุภกิณหา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๐. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม อสัญญีสัตตา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๑. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม เวหัปผลา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๒. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม อวิหา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๓. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม อตัปปา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๔. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม สุทัสสา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๕. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม สุทัสสี[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๖. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม อกนิฏฐา[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๗. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม อากาสานัญจายตนะ[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๘. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม วิญญานัญจายตนะ[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๙. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยน[/FONT][FONT=Angsana New]แปลง[/FONT][FONT=Angsana New]ไปของสวรรค์ชั้นพรหม อากิญจัญญายตนะ[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๒๐. พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้และความประพฤติยิ่ง ด้วยการกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของสวรรค์ชั้นพรหม เนวสัญญานาสัญญายตนะ[/COLOR][/SIZE][/B]

    [B]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]>[/COLOR][/SIZE][CENTER][CENTER][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen](มรรค ๔ ผล ๔)[/COLOR][/SIZE][/FONT][/CENTER]
    [/CENTER]
    [/B][SIZE=4][COLOR=seagreen][/COLOR][/SIZE]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen][/COLOR][/SIZE]
    [B]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]>[FONT=Angsana New]๑. พระองค์ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ด้วยความรู้แจ้งแห่งธรรมด้วยความประพฤติยิ่งนัก คือ เครื่องละอุปกิเลสแห่งจิตที่พึงละด้วยมรรคเบื้องต่ำ โสดาปัตติมรรค[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระองค์ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ด้วยความรู้แจ้งแห่งธรรมด้วยความประพฤติยิ่งนัก คือ ผลแห่งการพิจารณาญาณทั้ง ๗ อันเป็นอริยะ คือ องค์ ๗ โสดาปัตติผล[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๒. พระองค์ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ด้วยความรู้แจ้งแห่งธรรมด้วยความประพฤติยิ่งนัก คือเครื่องละอุปกิเลสแห่งจิตที่พึงละด้วยมรรคที่มีมากกว่า โสดาปัตติมรรค คือ สกิทาคามิมรรค[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระองค์ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ด้วยความรู้แจ้งแห่งธรรมด้วยความประพฤติยิ่งนัก คือผลแห่งการพิจารณาญาณอันเป็นอริยะที่มีมากกว่า โสดาปัตติผล คือ สกิทาคามิผล[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๓. พระองค์ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ด้วยความรู้แจ้งแห่งธรรมด้วยความประพฤติยิ่งนัก คือ เครื่องละอุปกิเลสแห่งจิตที่พึงละด้วยมรรคที่มีมากกว่า สกิทาคามิรรค คือ อนาคามิมรรค[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระองค์ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ด้วยความรู้แจ้งแห่งธรรมด้วยความประพฤติยิ่งนัก คือผลแห่งการพิจารณาญาณ อันเป็นอริยะที่มีมากกว่า สกิทาคามิผล คือ อนาคามิผล[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๔[/FONT][FONT=Angsana New]. พระองค์ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ด้วยความรู้แจ้งแห่งธรรม ด้วยความประพฤติยิ่งนัก คือเครื่องละอุปกิเลสแห่งจิตที่พึงละด้วยมรรคที่มีมากกว่า อนาคามิมรรค คือ อรหัตตมรรค<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระองค์ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยธรรม ด้วยความรู้แจ้งแห่งธรรมด้วยความประพฤติยิ่งนัก คือผลแห่งการพิจารณาญาณ อันเป็นอริยะที่มีมากกว่า อนาคามิผล คือ อรหัตตผล[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][B][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen](นิพพาน ๑)[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B][/CENTER]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [B][FONT=Angsana New][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑. พระองค์ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมด้วยความสุขที่เกิดจากความหลุดพ้นอันเป็น[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/FONT][/B]
    [FONT=Angsana New][FONT=Angsana New][B][SIZE=4][COLOR=seagreen]ที่สุด หาความสุขอื่นยิ่งกว่าเป็นไม่มี[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยม เป็นผู้เลิศใน สรรพพุทธาภิเษก ด้วยความรู้แจ้งแห่งธรรมด้วยความประพฤติยิ่งนัก[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยม ทรงพระโพธิญาณ รู้เห็นความหลุดพ้นแห่งจิต ด้วยธรรม ด้วยความประพฤติยิ่งนัก[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][B][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen](พระนามพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์)[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B][/CENTER]
    [COLOR=seagreen][SIZE=4] [/SIZE][SIZE=4] [/SIZE][/COLOR]
    [B]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]>[FONT=Angsana New]๑. พระพุทธเจ้าตัณหังกร ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๒. พระพุทธเจ้าเมธังกร ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๓. พระพุทธเจ้าสรณังกร ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๔. พระพุทธเจ้าทีปังกร ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๕. พระพุทธเจ้าโกณฑัญญะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๖. พระพุทธเจ้ามังคละ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๗. พระพุทธเจ้าสุมนะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๘. พระพุทธเจ้าเรวตะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๙. พระพุทธเจ้าโสภิตะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๑๐. พระพุทธเจ้าอโนมทัสสี ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๑. พระพุทธเจ้าปทุมะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๑๒. พระพุทธเจ้านารทะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๑๓. พระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๑๔. พระพุทธเจ้าสุเมธะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๑๕. พระพุทธเจ้าสุชาตะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๑๖. พระพุทธเจ้าปิยทัสสี ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๑๗. พระพุทธเจ้าอัตถทัสสี ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๑๘. พระพุทธเจ้าธัมมทัสสี ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๑๙. พระพุทธเจ้าสิทธิธัตถะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๒๐. พระพุทธเจ้าติสสะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๒๑. พระพุทธเจ้าปุสสะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๒๒. พระพุทธเจ้าวิปัสสี ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๒๓. พระพุทธเจ้าสิขี ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๒๔. พระพุทธเจ้าเวสสะภู ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๒๕. พระพุทธเจ้ากกุสันธะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๒๖. พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]๒๗. พระพุทธเจ้ากัสสปะ ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]๒๘. พระพุทธเจ้าโคดม ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลส มีใจตั้งมั่น มีความคิดดี ทรงรู้แจ้งโลกแล้วด้วยธรรมอันดี ขอบารมีแห่งพระปัญญาของพระองค์จงมีแก่ข้าพเจ้า[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [COLOR=seagreen][SIZE=4] [/SIZE][B][FONT=Angsana New][SIZE=4]ความดีงามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ พระองค์ มีเริ่มต้น มีท่ามกลาง และเป็นที่สุด พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ผู้ห่างไกลจากกิเลส ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือความรู้และความประพฤติ เสด็จไปในที่ใดยังประโยชน์ในที่นั้นๆ พระองค์ทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลกด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว พระองค์ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึกให้รู้ตาม หาผู้อื่นเปรียบมิได้ พระองค์ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรมในโลก ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สรรพสัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตาม ทรงเป็นที่เคารพบูชาของเทวดา พรหม มนุษย์ และอมนุษย์ทั้งหลาย พระพุทธองค์ทรงมีความรู้อันยิ่งใหญ่ที่มองเห็นได้ด้วยความจริง อันละเอียด อันสุขุม อันหมดจดและงดงาม หาที่สุดประมาณมิได้ พระพุทธองค์ทรงถึงพร้อมด้วยพระกำลังส่องสว่างดังดวงอาทิตย์ คือญาณอันวิเศษ ที่ทรงแสดงไว้ มีความไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติ อันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (ห้วข้อ) ที่ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์นั้น.[/SIZE][/FONT][/B][/COLOR]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]>คำแปล…พระพุทธคุณวรรคที่ 1…[FONT=Angsana New] แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [FONT=Angsana New][B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา แสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฏจรณะเครื่องอาศัย ให้วิชชาได้ปรากฏถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คืออริยมรรคปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นผู้รู้โลกอย่าง แจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกรออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้ง จิตทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบ เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล…อภินิหารวรรคที่ 2… แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น<O:p></O:p>[/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจโชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่ พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์<O:p></O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...คัพภวุฏฐานวรรคที่ 3… [FONT=Angsana New]แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมีมีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...อภิสัมโพธิวรรคที่ 4…[FONT=Angsana New]แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิ พระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...มะหาปัญญาวรรคที่ 5… [FONT=Angsana New]แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริง พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า นอกจากตาเนื้อ คือ พุทธจักษุ ธรรมจักษุ สมันตจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...ปาระมิวรรคที่ 6… [FONT=Angsana New]แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ พระบารมีในการเว้นขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติ ความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตา พระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4]</O:p[COLOR=seagreen][/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...ทศบารมีวรรคที่ 7… [FONT=Angsana New]แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้น บำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ พระบารมีสิบขั้นกลาง บำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูง บำเพ็ญด้วยชีวิต พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌานและองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมีมีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...วิชชาวรรคที่ 8… [FONT=Angsana New]แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา[/FONT][FONT=Angsana New] 3 และจรณะ 15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ พระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพเพนิวาสานุสสติวิชชา พระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีใน อนุปุพพวิหารเก้า<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...ปริญญาณวรรคที่ 9…[FONT=Angsana New] แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่ พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...โพธิปักขิยะวรรคที่ 10… [FONT=Angsana New]แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมีมีพระปัญญาในสติปัฏฐาน พระบารมีมีพระปัญญาในสัมมัปธาน พระบารมีมีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมีมีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมีมีพระปัญญาในพละห้า พระบารมีมีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมีมีพระปัญญาในมรรคแปด พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...ทศพลญาณวรรคที่ 11… [FONT=Angsana New]แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้นแห่งธรรม มีฌาน เป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์ พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...กายพลวรรคที่ 12… [FONT=Angsana New]แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิ พันปโกฏิ พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญา ตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...ถามพลวรรคที่ 13…[FONT=Angsana New] แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะ พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...จริยาวรรคที่ 14…[FONT=Angsana New] แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก (สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์ พระบารมีที่เป็นพุทธจริยา [/FONT][FONT=Angsana New]พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...ลักขณวรรคที่ 15…[FONT=Angsana New] แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    <O:p</O:p[B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...คตัฏฐานวรรคที่ 16…[FONT=Angsana New] แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]คำแปล...ปเวณิวรรคที่ 17…[FONT=Angsana New]แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐ พระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวง พระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย[/FONT][FONT=Angsana New].<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [COLOR=#000000][B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4]> </O:p>[/SIZE][/FONT][/B][/COLOR]
    [COLOR=#000000][B][SIZE=4][FONT=Angsana New]---------------------------------------------------------------------------------------------------------[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/SIZE][/B][/COLOR]
    [COLOR=#000000][B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4]> </O:p>[/SIZE][/FONT][/B][/COLOR]
    [SIZE=5][COLOR=#000000][B]อานิสงส์พระอาการวัตตาสูตร<O:p></O:p>[/B][/COLOR][/SIZE]
    [B][SIZE=4][/SIZE][/B]
    [COLOR=#000000][B][SIZE=4][FONT=Angsana New][COLOR=seagreen]พระอาการวัตรสูตรนี้ ผู้ใดที่ท่องได้ ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ จะปรารถนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้เป็นพระพุทธเจ้ามีปัญญามากเพราะเจริญพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ เจริญได้ทุกๆ วัน จะเห็นผลความสุขเกิดขึ้นเองไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ ผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ครั้งหนึ่งจะคุ้มครองภัยอันตรายได้ ๓๐ ประการ ได้ ๔ เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดาน เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียน ได้ใช้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชาเคารพนับถือพร้อมทั้งไตรทวารก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาเลื่อมใส จงกระทำซึ่งอาการวัตรสูตร อันจะเป็นที่พักผ่อนพึ่งพาอาศัยในวัฏฏะสงสาร ดุจเกาะแลฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ฉะนั้น อาการวัตตาสูตร พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี ทรงเจริญรอยตามสูตรนี้มาแล้วทุกๆ พระองค์ จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่น ไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึง เป็นธรรมอันระงับได้โดยแท้ ในอนาคตกาล ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือปลงชีวิตสัตว์ให้ตกลงไปเป็นวัชชกรรมที่ชักนำให้ปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุม อบายภูมิทั้ง ๔ ถ้าได้ท่องบ่นจำจนคล่องปากก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน ๙๐ แสนกัลป์ ผู้นั้นระลึกตามเนืองๆ ก็จะสำเร็จ ไตรวิชชา และอภิญญา ๖ ประการ ยังทิพย์จักษุญาณให้บริสุทธิ์ดุจองค์มเหสักกเทวราชมีการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่าน จะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรูหมู่ปัญจามิตรไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี้เป็นทิฏธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตา ในสัมปรายิกนิสงส์ที่เกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้ เมื่อสืบขันธะประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ หิรัญรัตนมณีเหลือล้น ขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและที่คลังเป็นต้น ประกอบด้วยเครื่องอลังการวิภูษิตพรรณต่างๆ จะมีกำลังมากแรง ขยันต่อยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงาม ไม่วิปริต แลเห็นทั่วทิศซึ่งสรรพรูปทั้งปวงและจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส์อยู่ ๓๖ กัลป์โดยประมาณ และจะได้เป็นบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ ๔ มีทวีปน้อย ๒[/COLOR][/FONT][FONT=Angsana New][COLOR=seagreen],๐๐๐ เป็นบริวารนานถึง ๓๖ กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยประสาทอันแล้วไปด้วยทองควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติ โดยกำหนดกาลนานยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร อานิสงส์คงอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาเฉียบแหลม ว่องไว สุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณ อาวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพพาน อนึ่ง ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพาน ก็จะไม่บังเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉานกำเนิด และ มหานรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุมช้านานถึง ๙๐ แสนกัลป์ จะไม่ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่บังเกิดเป็นบัณเฑาะก์เป็นกระเทยที่เป็นอภัพพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชน ผู้ใดได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตาย จะเป็นคนที่มีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรคาพยาธิเบียดเบียน สัพพะอันตราย ความจัญไร ภัยพิบัติ สัพพะอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกายก็จะสงบระงับดับคลายลง ด้วยคุณานิสงส์ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ด้วยประสาทจิตผ่องใส เวลามรณสมัยใกล้จะตาย จะไม่หลงสติ จะดำรงไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์[/COLOR] [COLOR=red]นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบ ซึ่งพระสูตรอันเจือปนด้วยพระวินัย ธรรมปรมัตถ์ มีนามบัญญัติชื่อว่าอาการวัตตาสูตร พุทธบริษัททั้งหลายเลื่อมใสในพุทธบารมี เจริญพระพุทธคุณอันมีบุญประมาณมิได้ แล้วปฏิบัติในพุทธธรรมว่า “การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ธรรมสามอย่างนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” ก็จะพ้นทุกข์ภัยอบายภูมิได้จริง มีแต่ความสุขความเจริญทั้งโลกและธรรม โดยพุทธบารมี พระพุทธธรรม ตามรักษาทั้งภายในและภายนอก เป็นกรรมอันผ่องแผ้วในไตรทวาร ด้วยประการฉะนี้.[/COLOR][/FONT][/SIZE][/B][/COLOR][SIZE=4] [/SIZE]

    [COLOR=#000000][B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4]>[/SIZE][CENTER][CENTER][SIZE=4][COLOR=seagreen]หลวงพ่อใหญ่...(หลวงปู่สังวาล)...เล่าให้ฟัง<O:p></O:p>[/COLOR][/SIZE][/CENTER]
    [/CENTER]
    [/FONT][/B][/COLOR][SIZE=4][COLOR=seagreen][/COLOR][/SIZE]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen][/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][COLOR=seagreen][B][FONT=Angsana New][SIZE=4](ผู้จัดทำคัดลอกมา)<O:p></O:p>[/SIZE][/FONT][/B][SIZE=4] [/SIZE][/COLOR][/CENTER]
    [B][FONT=Angsana New][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/FONT][/B]
    [FONT=Angsana New][B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]วันพระแรม [/FONT][FONT=Angsana New]8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]บทอาการวัตตาสูตรนี่นะ เทวดาจะหมดอายุแล้วจะต้องจุติ[/FONT][FONT=Angsana New] เสียใจก็เที่ยวถามหมู่เทพเทวดาทั้งหลาย เทวดาผู้ใหญ่บอกให้เอาอาการวัตตาสูตรมาสวด สามารถอายุยืนได้ เราอยากจะช่วยรักษาบทสวดนี้เอาไว้ไม่ให้สูญหาย พิมพ์ตัวโตๆนะจะได้สวดกัน ก่อนนี้เราอยู่ในป่าช้า แรมค่ำหนึ่งหรือสองค่ำ เดือนยังไม่ทันพ้นยอดไม้ เรากำลังนั่งสมาธิอยู่ฝันว่ามีคนมาสวดอาการวัตตาสูตรให้กับเรา บอกจะป้องกันไว้ให้ ป่าช้าก็สะท้านหวั่นไหวเหมือนพายุพัดอึกทึก เหมือนวัวควายมันกำลังวิ่งมา หมาที่อยู่ที่นั่นมันก็เห่าแบบกลัวเลยนะ แต่เราก็ไม่หวั่นไหวเลย นั่งเฉย พอรุ่งเช้าเราไปดูก็เห็นกิ่งยางกับต้นไม้ในป่าช้าหักจริงๆ พออีก 2 วัน ก็ฝันว่าให้เราท่องมนต์บทนี้ ทั้งๆ ที่เราสวดไม่ได้ พอรุ่งขึ้นไปบิณฑบาตก็มีคนมาใส่บาตรเอาบทสวดนี้มาให้กับเรา เราก็เลยสวด สวดจนขึ้นใจแบบท่องปาติโมกข์ พอได้กรรมฐานเลยไม่ได้สวดเลย ท่องบทนี้ไปที่ไหนไม่อดอยากนะ ใครท่องแล้วไปไหนจะไม่อดอยาก จะไม่ตายโหง หมาบ้า ควายบ้า จะไม่ทำลายได้ มีอานุภาพดี พิมพ์ตัวโตๆ นะ พิมพ์สีอะไร แบบไหนก็ดีทั้งนั้น สำหรับเราไม่มีอะไรไม่ดี ทุกอย่างดีหมด.<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [CENTER][SIZE=4][COLOR=seagreen][B]พระคาถาสุนทรีวาณี (หัวใจพระอาการวัตตาสูตร)<O:p></O:p>[/B][/COLOR][/SIZE][/CENTER]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]มุนินทะ วะทะ นัมพุชะ คัพภะ[/FONT][FONT=Angsana New] สัมภะวะ สุนทะรี<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B][/CENTER]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B][/CENTER]
    [COLOR=seagreen][SIZE=4] [/SIZE][B][FONT=Angsana New][SIZE=4]> </O:p>[/SIZE][/FONT][/B][/COLOR]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen][B]หลวงปู่ สุก ได้พระคาถาวาณี<O:p></O:p>[/B][/COLOR][/SIZE]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen]ในสมัยอยุทธยา พระสงฆ์แบ่งการศึกษาออกเป็นสองฝ่าย คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ คือการเล่าเรียนทางปริยัติ แปลพระบาลี เรียนพระไตรปิฎก ผ่ายวิปัสสนาธุระ เล่าเรียนทางปฏิบัติธรรม ศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา เจริญสมาธิ หลวงปู่สุก พระองค์ท่านก็เป็นพระภิกษุสงฆ์ผ่ายวิปัสสนาธุระเจริญจิตภาวนาตามมรรคาที่โบราณจารย์เดินทางนี้มา บางครั้งก็เจริญโดยไม่มีเหตุขัดข้องในทางปฏิบัติสมาธิ บางครั้งก็ขัดข้องติดขัดในสมาธิเบื้องสูงในวิปัสสนาญาณ 16 หรือเรียกว่า โสฬสญาณ<O:p></O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen]ในปีนั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านก็ออกรุกขมูลตามที่เคยปฏิบัติมาเป็นประจำทุกๆ ปี มีครั้งหนึ่งท่านไปปักกลดที่ใกล้ภูเขาแห่งหนึ่ง ในที่ใกล้ๆ ภูเขานั้น มีก้อนหินมากมาย ทั้งก้อนใหญ่ก้อนเล็ก เมื่อท่านทำกิจต่างๆ เรียบร้อยแล้วท่านก็นั่งภายในกลดมองสำรวจรอบๆสถานที่นั้น พลันสายตาท่านก็ไปประสบกับก้อนหินก้อนหนึ่ง ก้อนใหญ่มาก มีอักษรขอมจารึกไว้แบบไม่ถาวรเหมือนจงใจเขียนไว้ให้หลวงปู่โดยเฉพาะ เพราะรอยเขียนนั้นยังใหม่อยู่ พระคาถานั้นมีใจความดังนี้<O:p></O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]มุนินฺท วท นมฺพุช[/FONT][FONT=Angsana New] คพฺภ สัมฺภว สุนฺทรี<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B][/CENTER]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B][/CENTER]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]></O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]เมื่อหลวงปู่ทราบใจความในพระคาถานี้แล้ว ท่านก็จดจำไว้จนขึ้นใจ เมื่อถึงเวลาค่ำ แล้วกลางดึกเงียบสงัด ท่านก็นั่งเข้าที่ภาวนา โดยท่านภาวนาพระคาถาวาณี ท่านทราบชื่อพระคาถานี้และวิธีใช้และที่มาของคาถานี้ด้วยญาณสมาธิของพระองค์ท่าน ดังนี้ พระคาถานี้มีชื่อว่า พระคาถาเรียกธรรม[/FONT][FONT=Angsana New] (คาถาวาณี) และเมื่อทราบว่าภาวนาไปแล้ว อาจสามารถเป็นไปเพื่อต่อต้านภัยอันตรายและห้ามบาปธรรม ยังปัญญาให้รู้ธรรม บรรลุธรรมได้ เป็นทางนำสัตว์ทั้งหลายให้ถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งกิเลสได้ และที่ของพระคาถานี้มีกล่าวไว้ใน อาการวัตตาสูตร ว่า [I]พุทธกรธัมเมหิตัพพัง[/I] ความว่า ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นพระพุทธเจ้า คือ บารมี 10 ทัศ จะพึงมีอยู่ด้วย เพราะว่าบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่เป็นอันมาก ธรรมทั้งหลายใดเป็นไปเพื่อจะให้สำเร็จ พระสัมมาสัมโพธิญาณ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสกับพระสารีบุตรว่า [I]ยัญ จ สารีปุตต รัตติง[/I] ดูกรสารีบุตร ในราตรีอันใด ตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวิมุติเศวตฉัตร ณ ควงไม้อัสสัตถโพธิพฤกษ์ ก็ราตรีนั้นพระตถาคตเจ้านั้นจะระลึกถึง อาการวัตตาสูตรนี้ (พระคาถาวาณี ย่อมาจากอาการวัตตาสูตร) เป็นไปเพื่อต่อต้านรักษาภัยอันตรายและห้ามบาปธรรมทั้งปวงเพราะตถาคตมาตามระลึกอยู่ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันเป็นมรรคาแห่งสัตว์ทั้งหลายให้ถึงความสิ้นไปแห่งกิเลส ในกาลนั้นตถาคตเจ้าทั้งมวลมีญาณเครื่องรู้เป็นประธานก่อน เรียกว่า [I]พุทธประเวณีญาณ แปลว่า ญาณกำหนดรู้ธรรมเนียมแบบแผนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เคยปฏิบัติมา อันอาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย 28 พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี และตถาคตเจ้าในบัดนี้ก็ดี มิได้ระวางสักพระองค์เดียว ทำตามกันมาทุกพระองค์[/I][I]<O:p></O:p>[/I][/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New][I]พระคาถาวาณีเรียกกันหลายอย่างเช่น พระคาถาอาราธนาธรรมบ้าง พระคาถาเรียกธรรมบ้าง พระคาถาบารมี 10 ทัศบ้าง พระคาถาหัวใจอาการวัตตาสูตรบ้าง คาถาหัวใจอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณบ้าง ดังเรื่องราวนี้[/I][/FONT][I][FONT=Angsana New] <O:p></O:p>[/FONT][/I][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]></O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][FONT=Angsana New][SIZE=4][COLOR=seagreen]เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เลิกบำเพ็ญทุกขกิริยาแล้ว พระองค์ก็หันมาบำเพ็ญทางจิตแทน เมื่อพระองค์ดำเนินมาระหว่างทางก็พบโสตถิยพราหมณ์ถือหญ้าคา 8 กำ เดินสวนมา น้อมหญ้าเข้ามาถวาย สมเด็จพระมหาโพธิสัตว์ฯ ก็ทรงรับหญ้าคาทั้ง 8 กำ แล้วก็เสด็จไปถึงโพธิพฤกษ์มณฑลสถานก็ทอดหญ้าคา 8 กำ ลงที่โคนโพธิพฤกษ์แล้วตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าอาตมาจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอจงเกิดรัตนบัลลังก์ ขณะนั้นวชิรอาสน์บัลลังก์สูง 14 ศอก ก็อุบัติบังเกิดด้วยบุญญาภิสัมมานุภาพแห่ง พระโพธิสัตว์เจ้าตามคำสัตยาธิษฐานพระองค์ พระมหาโพธิสัตว์ก็เสด็จประทับนั่งเหนือแท่นวชิรบัลลังก์ ทรงระลึกถึงครั้งเมื่อแรกนาขวัญ พระองค์อยู่ผู้เดียวใต้ต้นไม้เกิดจิตวิเวกเข้าถึงปฐมญาณจึงทรงดำริว่าทางนี้กระมังหนอที่จะให้ได้สัมมาสัมโพธิญาณ พระมหาโพธิสัตว์ก็เริ่มบำเพ็ญเพียร ขณะนั้นเองกิเลสก่อนเก่าของพระองค์ก็เกิดขึ้นตามลำดับ ครั้งนั้นกิเลสชื่อว่า ตัณหา ได้เกิดขึ้นกับพระองค์ พระองค์ก็พิจารณาว่า ตัณหาตัวนี้ทำหน้าที่อะไร ตัณหาตัวนี้ทำหน้าที่ผูกสัตว์ด้วยความหลงให้หลงไปในความปรารถนาต่าง ๆ เป็นต้นว่าทรัพย์สมบัติที่พระองค์เคยได้รับเมื่อครั้งเป็นเจ้าชาย สิทธัตถกุมาร เมื่อพระองค์พิจารณารู้ด้วยปัญญาแล้ว ตัวตัณหากิเลสก็ได้สงบระงับไป<O:p></O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]ขณะนั้น ราคะกิเลส ก็เกิดขึ้นกับพระองค์ท่าน พระองค์ท่านก็ใช้ปัญญาพิจารณา [FONT=Angsana New]ก็รู้ว่ากิเลสตัวนี้มีหน้าที่ผูกสัตว์ทั้งปวงด้วยบ่วงดำกฤษณา เมื่อพระองค์พิจารณาแล้ว ราคะกิเลสก็ได้สงบไป<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen]แล้วก็เกิดกิเลศตัวใหม่ชื่อว่า อรติ ทำหน้าที่ผูกสัตว์ทั้งปวงด้วยบ่วง คือความโกรธ ความโทมนัส ในเพลาราตรีนั้นกิเลสต่างๆ ได้เกิดขึ้นกับพระองค์มาก พระองค์จึงคำนึงในพระทัยว่า [I][FONT=Angsana New]“อะไรหนอที่จะรักษาต่อต้านภยันตรายและห้ามบาปธรรมทั้งปวง”[/FONT][/I][FONT=Angsana New] เมื่อไรพระองค์ทรงระลึกอยู่นั้น พลันก็เกิดญาณอย่างหนึ่งที่เรียกว่า พุทธปเวณีญาณ ญาณกำหนดรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีของพระพุทธเจ้าที่ปฏิบัติมา คือ ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือ บารมี 30 ทัศ และก็รู้บารมีต่างๆ ที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งย่อมาเป็นพระคาถาวาณีหรือเรียกว่า พระคาถาเรียกธรรม เรียกบารมี 30 ทัศ มาห้ามบาปธรรมต่างๆ (กิเลส) ไม่ให้เกิดขึ้นแก่พระองค์และพระองค์ก็สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในเพลาใกล้รุ่งนั้นเอง<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen][B]ความหมายของพระคาถาวาณี ขอแม่เทพธิดาเจ้า กล่าวคือ พระไตรปิฎก อันปวงสัตว์ต่างยกยอคำนึงมิรู้วาย ทรงโฉมเฉิดฉายวิไลเลิศ เอากำเนิดจากประทุกชาติ คือพระโอษฐ์แห่งจอมปราชญ์ พระองค์จงมาปลอบปลุกดลบันดาลดวงหทัยแต่งตูข้าฯ ให้ชื่นบานในกาลบัดนี้<O:p></O:p>[/B][/COLOR][/SIZE]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]คำอธิบายพระคาถาวาณี ว่าเป็นคาถาประจำพระองค์ ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน[/FONT][FONT=Angsana New] ที่ทรงสอนให้พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ภาวนาก่อนที่จะนั่งเข้าที่ภาวนา หรือก่อนเรียนพระปริยัติทุกคราวไป เพื่อกันบาปธรรมหรือมารเข้ามาในใจ<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]สมเด็จพระวันรัตแดง วัดสุทัศน์เทพวราราม กล่าวว่า พระอาจารย์ของท่าน ทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ สอนให้บริกรรมพระคาถาวาณี ก่อนจะเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมและเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ท่านยังกล่าวอีกว่าท่านพระมหาเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายแต่กาลก่อน อันมีสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน วัดพลับ เป็นต้น ล้วนนับถือพระคาถานี้อยู่ทั่วกัน จนกระทั่งอาราธนาธรรมก็ใช้คาถานี้ ท่านจึงคิดมาผูกเป็นรูปปรุงเปรียบเข้าอีกหลายอย่าง หัตถ์ขวาแห่งสุนทรีวาณี ซึ่งทำให้เป็นอาการกวักนั้น เพื่อจะให้ได้กับคำว่า เอหิปัสสิโก ดวงแก้วในหัตถ์ซ้ายนั้นเปรียบเป็นอมตธรรม รูปบุรุษเบื้องขวานั้นเปรียบเป็นภิกษุสงฆ์สาวก รูปสตรีเบื้องซ้ายนั้นเปรียบเป็นพระภิกษุณีสงฆ์สาวิกา เทวดาแถวล่างหมายถึงเทวโลก ต่างพากันมาสักการบูชา น่านน้ำภายใต้นั้นเปรียบเหมือนด้วย สังสารวัฏ นาค และ สัตว์น้ำ เปรียบด้วยพุทธบริษัท[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]ท่านที่เคยเห็นรูปสุนทรีวาณีถ่ายจากแบบ สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ ฯ ในหนังสือพระราชวิจารณ์เปรียบเทียบพระพุทธศาสนา ฝ่ายหินยานและมหายาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ แล้วจะเห็นได้ชัดแจ้งจากภาพนั้นว่า รูปสุนทรีวาณี นั้นเป็นดอกบัวขึ้นจากน้ำ ดอกกลางเป็นดอกบัวบาน มีรูปนางนั่งขัดสมาธิบนนั้น หัตถ์ซ้ายพาดตักอย่างมารวิชัย ในอุ้งหัตถ์มีดวงแก้ว หัตถ์ขวาทำอาการกวัก ดุจพระคันธารราษฎร์ ดอกริมเป็นดอกบัวโรย เบื้องขวามีรูปบุรุษ เบื้องซ้ายมีรูปสตรีนั่งพนมมืออยู่แบบนั้น เบื้องบนมีรูปเทวดาและเครื่องสักการะดั้นเมฆสองแถวซ้อนกัน เบื้องล่างมีรูปนาคกับสัตว์ต่างๆ ตีความไม่ออกว่าเป็นรูปอะไร แต่มีท่วงท่าทีคล้ายพระมหาญาณอันเคยเห็นมาเนืองๆ ซึ่งทำเป็นดอกบัวขึ้นจากน้ำมีพระพุทธรูปนั่งอยู่บนนั้น องค์เดียวบ้าง สององค์บ้าง ห้าองค์บ้าง[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงค์ ทรงไว้ในลาย พระหัตถ์ถึงเจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการว่า [/FONT][FONT=Angsana New]“สมเด็จพระพุทธาจาร พุก อธิบายว่า รูปสุนทรีวาณีนั้น หมายถึงพระธรรม ดอกบัวนั้น หมายถึงพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ตามที่มีในพระคาถาวาณีนี้เป็นหลัก” [/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][COLOR=seagreen][B][SIZE=4][I][FONT=Angsana New]มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สัมฺภว สุนฺทรี[/FONT][/I][I][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/I][/SIZE][/B][SIZE=4] [/SIZE][/COLOR][/CENTER]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][B][SIZE=4][COLOR=seagreen][I][FONT=Angsana New]ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ[/FONT][/I][I][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/I][/COLOR][/SIZE][/B][/CENTER]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]></O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][I][FONT=Angsana New]วาณี คือนางฟ้า กล่าวคือ พระไตรปิฎก มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สัมฺภว สุนฺทรี มีรูปงามอันเกิดแต่ห้องดอกบัว คือ พระโอษฐ์แห่งพระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมปราชญ์ ปาณีนํ สรณํ เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปราณ (ลมหายใจ) ทั้งหลาย มยฺหํ ปิณยตํ มนํ จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี[/FONT][/I][I][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/I][/COLOR][/SIZE][/B]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B][/CENTER]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [CENTER][SIZE=4][COLOR=seagreen][B]ตำนานและคำอธิบายพระคาถาวาณี<O:p></O:p>[/B][/COLOR][/SIZE][/CENTER]
    [COLOR=seagreen][SIZE=4] [/SIZE][SIZE=4] [/SIZE][/COLOR]
    [CENTER][B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B][/CENTER]
    [SIZE=4][COLOR=seagreen] [/COLOR][/SIZE]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]คาถาข้างต้นเรียกกันว่า พระคาถาวาณี ข้าพเจ้าเคยอ่านลายพระหัตถ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ว่าเป็นพระคาถาทางพระพุทธศาสนาคติมหายาน และสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ฯ นับถือมากถึงกับให้ช่างวาดภาพเทพธิดาสององค์นั่งพนมมืออยู่บนดอกบัวและมีคาถาข้างต้นจารึกไว้ด้วยสำหรับตั้งบูชา ซึ่งบางคนอาจเคยเห็นมาแล้วตามร้านจำหน่ายรูป (ในสมัยก่อน) และตามที่บูชาต่างๆ ข้าพเจ้ายังเคยพบที่ห้องพระหลวงปู่ทอง วัดบ้านกลาง เมื่อตอนเป็นเด็กวัด ซึ่งท่านติดไว้ที่ข้างฝากุฏิ ด้านหัวนอน รวมกับรูปยันต์อื่นๆ [/FONT][I][FONT=Angsana New]หนังสือที่ว่านี้คือ พระราชวิจารณ์รัชกาลที่ [/FONT][/I][I][FONT=Angsana New]5 เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานและมหายาน[/FONT][/I][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=seagreen][FONT=Angsana New]นอกจากนี้ ข้าพเจ้าได้เคยพบในหนังสือ ปถมมาลา เข้าใจว่าแต่งครั้งกรุงศรี มีความดังนี้[/FONT][FONT=Angsana New] “กุลบุตรผู้ใดหมายวิมลมิ่งอัปสรสวรรค์ คือ พระไตรปิฎก อันอุดมเลิศ วิชาชาย เริ่มเรียนให้เร่งรู้ ทั้งสี่หมู่ประมาณหมาย หนึ่งฟังอย่าฟังตาย ให้ตั้งจิต กำหนดจำ หนึ่งให้เร่งอุตส่าห์ พิจารณาวิจารณ์คำ หนึ่งอย่าเอื้อนอำ ฉงนใดให้เร่งถาม หนึ่งให้กำหนดต่อ ลิขิต ข้อสุขุมความ พร้อมองค์จึงทรงนาม ว่าศิษย์แท้ที่ศึกษา” แสดงว่า โบราณนับถือพระไตรปิฎกเหมือนหนึ่งเทพธิดาที่เกิดจากโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า และตามพระนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวไว้ว่า “พระคาถานี้มีสรรพคุณในทางป้องกันภัยและโดยเฉพาะคือปลอบปลุกประโลมใจในเวลากลุ้มใจ หรือไม่สบายใจด้วยเหตุอันใด ก็ตาม ให้ภาวนาพระคาถานี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าสบายใจ แต่ขอเตือนไว้สักนิดว่า อันคาถา อาคมทุกชนิดนั้น ถ้าเราไม่เชื่อไม่มีศรัทธาเป็นต้นทุนแล้ว ความศักดิ์สิทธิ์ ก็อย่าได้หวัง เพราะความศักดิ์สิทธิ์นั้นจะเกิดขึ้นได้ตามกฎของจิตศาสตร์ คือต้องมั่นใจในเบื้องต้น ต่อไปก็คือทำใจให้แน่วแน่ เป็นสมาธิมากเท่าใด ความขลังจะมากขึ้น เพียงนั้น และอย่าเอาไปเทียบกับกฎทางวิทยาศาสตร์เพราะต่างกัน [I]อนึ่ง พระคาถาข้างต้นนี้ เมื่อตอนที่ข้าพเจ้าชำระพระคัมภีร์ สัททสารัตถชาลินี[/I][I] (ตำราเรียนศัพท์ บาลี เรียกว่า สัททาวิเสส)[/I] ก็[I]ได้พบพระคาถาวาณีนี้อยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย[/I] แสดงว่าพระคาถานี้มีมาพร้อมกับพระคัมภีร์นี้ หรือก่อนนั้น ข้าพเจ้าจึงขอนำมามอบให้แก่ทุกท่าน ส่วนความศักดิ์สิทธิ์นั้นขึ้นอยู่กับตัวท่านเอง [I]พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) แห่งวัดราชสิทธาราม ได้กล่าวไว้ว่า พระคาถาวาณี นี้ ท่านเจ้าคุณสังฆราชเคยบอกแก่ลูกศิษย์ไว้ว่า [/I][I]“พระคาถานี้เมื่อภาวนาแล้ว สามารถเรียกได้ทุกอย่าง แต่ต้องมีสมาธิถึงขั้น อัปนาสมาธิ เวลาเดินธุดงค์ไปในป่าที่ไม่มีผู้คน เมื่อภาวนาพระคาถานี้แล้วก็จะไม่อดอาหาร[/I]”[/FONT][I][FONT=Angsana New] <O:p></O:p>[/FONT][/I][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][FONT=Angsana New]<O:p[SIZE=4][COLOR=seagreen]> </O:p>[/COLOR][/SIZE][/FONT][/B]
    [COLOR=#000000][B][SIZE=4][FONT=Angsana New]จากหนังสือ พระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ของธีเรภิกขุ[/FONT][FONT=Angsana New] <O:p></O:p>[/FONT][/SIZE][/B][/COLOR]
    [COLOR=#000000][B][SIZE=4][FONT=Angsana New]จากหนังสือ พระประวัติพระบัวเข็ม ของ องสรภาณธุรส (เป้า)[/FONT][FONT=Angsana New] <O:p></O:p>[/FONT][/SIZE][/B][/COLOR]
    [COLOR=#000000][B][SIZE=4][FONT=Angsana New]จากหนังสือ บันทึกในสมุดข่อย ของ พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม[/FONT][FONT=Angsana New]<O:p></O:p>[/FONT][/SIZE][/B][/COLOR]
    [B][SIZE=4][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=blue]ขอผลานิสงค์นี้จงดลบัลดาลให้ ทุกสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ทุกๆดวงจิตดวงวิญญาณ จงมีแต่ความสุขความสุขเถิด[/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=blue][/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=blue]สาธุ ขอให้คำอธิษฐานของข้าพเจ้าจงเป็นความจริงจงทุกประการเทอญ[/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][SIZE=4][COLOR=blue]สาธุ ขอให้คำอธิษฐานของข้าพเจ้าจงเป็นความจริงจงทุกประการเทอญ[/COLOR][/SIZE][/B]
    [B][B][SIZE=4][COLOR=blue]สาธุ ขอให้คำอธิษฐานของข้าพเจ้าจงเป็นความจริงจงทุกประการเทอญ.[/COLOR][/SIZE][/B][/B]
    [SIZE=4][COLOR=blue] [/COLOR][/SIZE]
    [SIZE=4][/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2010
  11. tumkuk

    tumkuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +1,851
    ^^...ขอบคุณครับเคยแต่สวดแต่ไม่รู้ความหมายสำคัญวันนี้ได้มารู้แล้วพบแล้วขอบคุณมากเลยครับ...^^
     
  12. วิชา ละ

    วิชา ละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    338
    ค่าพลัง:
    +2,416
    อนุโมทนาสาธุกับเจ้าของกระทู้และทุกท่านด้วยครับ
    จะผิดถูกอะไรขอให้ได้ทำไปเถอะ แล้วบุญจะจัดสรรให้ได้บุญเอง

    ถ้ามั่ววิจารอยู่แล้วไม่ทำอะไรเลยก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลยกลับได้ทุกข์ที่จิตใจอีก
    เพราะเมตตาจึงจารึกไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2011
  13. Pariyawit

    Pariyawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +777
    [FONT=Angsana New][FONT=Angsana New][FONT=Angsana New][FONT=Angsana New][FONT=Angsana New][FONT=Angsana New][FONT=Angsana New][FONT=Angsana New][CENTER][B][FONT=Angsana New]มุนินทะ วะทะ นัมพุชะ คัพภะ[/FONT][FONT=Angsana New] สัมภะวะ สุนทะรี[/FONT][/B][/CENTER]

    [CENTER][B][FONT=Angsana New]ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง


    อนุโมทนา สาธุครับ
    สุดยอด
    [/FONT][/B][/CENTER]
    [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]
     
  14. nigx1991

    nigx1991 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอเพิ่มนิดนึง

    เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับ ณ เขาคิชกูฏ(อยู่ในไทยนี่แหละ)พระสารีบุตรมองเห็นเหล่ามนุษย์ผู้มีสันดานหยาบช้าไม่สามารถเข้าใจในพระคาถาบารมี30ทัศของพระพุทธเจ้าและเป็นผู้อยู่ในมิจฉาทิฐิก่อตั้งแต่กรรมเบาจนไปถึงกรรมหนักย่อมเที่ยงแท้ที่จะตกนรกใหญ่ทั้ง8ตกอบายทั้ง4(นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน)จึงการทูลถามพระพุทธเจ้าว่าข้าแต่พระองค์ผู้จะเริญจะมีทางใดพระสูตรใดที่ห้ามปรามมิให้สัตว์ผู้มีสันดานหยาบช้าเหล้านี้ไปสู้อบายได้หรือไม่พระพุทธเจ้าจึงกล่าวดูกรสารีบุตรมีอยู่สารีบุตรพระคาถานี้ชื่ออาการวัตตาสูตร(ไม่ต้องอธิบายไรมากนะครับต่อมาท่านทั้งหลายก็รู้อยู่เพราะพระพุทธเจ้ากล่าวถึงอานิสงที่ได้สวด ได้พิม ได้ฟัง ฯลฯ อย่าลืมนะครับพระพุทธเจ้ามาประเทศไทยหลายครั้งแล้วสมัยพุทธกาลมาถึงแค่ชั่วพริบตาไม่ต้องไปอินเดียให้เสียตังหรอก(ส้วมไม่ยักจะมี)
     
  15. KHAjit

    KHAjit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +941
    สอบถามหนอ่ยครับคือผมอยากทราบว่าพระคาถาอาการวัตตาสูตร บันทึกอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มไหนครับ รบกวนด้วยครับ
     
  16. Siddhartha

    Siddhartha Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +90
    ขออนุโมทนากับท่านผู้นำบทสวดมนต์นี้มาเผยแพร่ให้ได้ทราบครับ เป็นบทสวดมนต์ที่ดีมากๆเลยครับ ขอให้บุญกุศลนี้จงส่งถึงผู้เผยแผ่บทสวดมนต์บทนี้ ตราบจนนิพพานครับ
     
  17. Phumpat

    Phumpat สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    ขออนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  18. kveera

    kveera สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +9
    โมทนาสาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...