เจอของจริงวิ่งหนีป่าราบ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Angel_Of_Dream, 27 กรกฎาคม 2008.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสอธิบายเรื่องทุกข์ไว้ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐเรื่องความทุกข์ คือความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์, ความพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์, ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์
    (บาลี มหาวาร, สํ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔, ตรัสแก่ภิกษุทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตมฤคทายวัน)
     
  2. แพน้อย

    แพน้อย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    ทุกข์เป็นส่วนหนึ่งของธรรม
    เพราะทุกข์ทำให้รู้ธรรม
    เข้าใจอริยสัจน์ 4
    ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ

    เข้าใจสัจธรรมตามความเป้นจริง
    ไม่มีใครห้ามทุกข์ได้
    แต่สามารถอยู่ร่วมกับทุกข์โดยที่ไม่ทุกข์

    ปัญญาช่วยให้มีสติ เข้าใจและแก้ไขที่สาเหตุ
    เพราะ ทุกอย่างเกิดที่เหตุ
    ถ้าจะดับ ต้องดับที่เหตุ

    มีเกิดย่อมมีดับ
    ลงกฏไตรลักษณ์
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่มีตัวตน
    ในเมื่อทุกข์ไม่เที่ยงไร้ตัวตน
    แล้วเราจะทุกข์ได้อย่างไรกัน
     
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ถ้าเราใช้การ "โยนิโสมนสิการ" คือการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายตามความเป็นจริงในธรรม(สิ่ง)นั้น ไม่ใช้แต่เพียงความคิดเห็นหรือความเชื่อของตนเองอันคือทิฏฐอันมักมีอคติหรืออธิโมกข์ใดๆมานําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง, แล้วจักเห็นได้ว่า ทุกข์ ที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ทั้ง ๗ ข้างต้น อันมี ๑.ความเกิด ๒.ความแก่ ๓.ความเจ็บ ๔.ความตาย ๕.การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ๖.การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ๗.ความปรารถนาในสิ่งอันใดแล้วไม่ได้ในสิ่งอันนั้น ทั้ง๗ ประการนี้ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น หรือเหตุแห่งทุกข์นั่นเอง อันครอบคลุมความทุกข์ทุกรูปแบบทุกประการประดามีในโลกนี้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ และเป็นไปอย่างปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด จึงครอบคลุมสรรพทุกข์ของบรรดาสรรพสัตว์ล้วนสิ้น ตั้งแต่อดีตกาล จวบจนปัจจุบันและต่อไปในอนาคตและจักยังครอบคลุมทุกกาลสมัยหรืออนันตกาลตลอดไป ถ้าเราใส่ใจสังเกตุโดยแยบคายจักพบคําว่า โดยย่อแล้ว ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์ หรือก็คือความหมายว่า กล่าวโดยย่อหรือสรุปแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นั่นเอง อันเป็นแก่นสาระ ที่มีความหมายที่สําคัญยิ่งว่า เหตุแห่งความทุกข์ทุกประการประดามีที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๗ นี้ สามารถย่อหรือ "สรุป" ลงเหลือเพียงเป็น "หนึ่งเดียว" เท่านั้น กล่าวคือ ทุกข์ทั้ง ๗ นี้ อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ชนิดที่พระพุทธองค์ทรงเพียรสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ดับสนิทลงไป คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ หรือ "อุปาทานทุกข์" หรือก็คือ "กระบวนการดำเนินชีวิตโดยอาศัยขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดในสภาวะที่มีอุปาทานร่วมหรือครอบงําด้วย " อันเป็นความทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจหรือจิต นี้แหละคือความทุกข์แท้ๆ ที่สัตว์โลกทั้งหลายมองไม่เห็นด้วยตาหรือใจธรรมดา ซึ่งตามปกติมักเติมเต็มไปด้วยกิเลส,ตัณหาและอุปาทาน จึงปิดบังดวงตาไม่ให้เห็นสัจจธรรมนี้ จึงต้องอาศัยธรรมคําสั่งสอนของพระองค์ท่านเป็นแนวทาง เพื่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรมที่หมายถึงตาแห่งปัญญาหรือความเข้าใจที่ถูกต้องแท้จริง(สัมมาญาณ) จึงจักสามารถมองเห็นได้อย่างแทงตลอด ถูกต้อง และแท้จริง
     
  4. แพน้อย

    แพน้อย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    กระแสความรู้สึกดีดีส่งผ่านถึงกันได้
    กำลังใจแห้งผาก เติมเต็มให้ชุ่มชื้นได้
    ความทุกข์ทน ส่งผ่านรับรู้ถึงกันได้

    ที่ใดมีโลกที่นั้นมีทุกข์
    ที่ใดมีธรรมที่นั้นพ้นทุกข์

    แสวงหาหนทางแก้ปัญหา
    แสวงหาหนทางพ้นทุกข์

    แสวงหาเหมือนกันต่างที่หนทาง
    และเหมือนกันตรงที่ต้องลงมือทำเอง

    หนทางที่ก้าวเดินไปด้วยอารมณ์
    ย่างก้าวแห่งธรรมเดินตามมรรคมีองค์ 8

    สุดสายทางคือความล้มเหลว หรือความสำเร็จ
    สุดทางมรรค คือ สุดทางภูมิอริยะ

    ความสำเร็จฉาบฉวยทางโลก
    ความสำเร็จตลอดกาลทางธรรม
     
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ก่อนอื่นต้องโยนิโสมนสิการ ให้เกิดความเข้าใจจนน้อมย้อมรับตามความเป็นจริงว่า การดับทุกข์นั้น ไม่ใช่การดับทุกข์อริยสัจ อันมี เกิด, แก่, เจ็บ, ตาย, การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก, การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก, หรือความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น. ซึ่งล้วนเป็นเหตุปัจจัยอันเป็นสภาวธรรมหรือกฎธรรมชาติแท้ๆ คือ เป็นสภาวะที่จริง แท้ แน่นอน, สิ่งเหล่านี้เมื่อสัตว์,บุคคลใดเกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้วย่อมต้องประสบพบพาน ไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงจากสภาวธรรม(ธรรมชาติ)นี้ หรือกฎพระไตรลักษณ์ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอริยเจ้าทุกพระองค์, แต่พระพุทธองค์ทรงค้นพบสัจจธรรมขั้นปรมัตถ์อันสูงสุดว่า ทุกข์เหล่านั้นเป็นทุกข์ตามธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์หรือชีวิตอันยังต้องเกิด ต้องมี ต้องเป็น หรือมันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นไปตามกระแสสภาวธรรมหรือธรรมชาติ แต่เพราะความไม่รู้ด้วยอวิชชา จึงไม่รู้จะกระทําหรือปฏิบัติเยี่ยงไรต่อทุกข์เหล่านั้นอันเป็นสภาวะธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้นและเป็นไปเป็นธรรมดา ที่ตามธรรมชาติเดิมแท้ ของมันนั้น ไม่เป็นทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน และยาวนาน ต้องปฏิบัติเยี่ยงไรไม่ให้แปรปรวนไปถูกครอบงำด้วยตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ หรือ อุปาทาน ทุกข์ ที่ปุถุชนรู้สึก เร่าร้อนเผาลนเกิดแก่ใจหรือจิตและเป็นไปอย่างยาวนาน เพราะแยกแยะไม่ออกเนื่องจากยังไม่มีวิชชา ของพระพุทธองค์ จึงยังคงถูกครอบงําด้วยอวิชชา อันคือความไม่รู้ตามความเป็นจริงในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์และการดับทุกข์ จึงปฏิบัติดับทุกข์ไม่ถูกที่เหตุ จึงทำให้การปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์นั้นเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง กลับไปพยายามแสวงหาหรือปฏิบัติที่จะไม่ให้เกิดเหตุแห่งทุกข์ใดๆในสภาวธรรมที่ต้องคงเกิดมีเป็นเช่นนั้นเองดังทุกขอริยสัจและทุกขเวทนา กล่าวคือ ไม่อยากให้มีทุกข์ ไม่ให้มีโศก ไม่ให้มีโรค ไม่ให้มีภัย ไม่ให้มีเสนียดจัญไรใดๆมากระทบหรือเกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และเป็นไปอย่างไม่รู้ตัวว่ายึดเยี่ยงนี้อยู่ โดยมัวแต่ยึดในบุญในกุศล เพื่อหวังผลบุญช่วยคํ้าจุนดังกล่าว จนขาดการปฏิบัติเพื่อดับภพ ดับชาติ อันเป็นเส้นทางตัดตรงถึงบุญถึงกุศลขั้นสูงสุด อย่างถูกต้องดีงาม.
     
  6. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    คําสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น ล้วนเป็นคําสั่งสอนให้นําออกหรือดับอุปาทานทุกข์ หรือทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจล้วนสิ้น และ"อุปาทานทุกข์"นี้แหละคือความทุกข์จริงๆที่มนุษย์ทั้งหลายกําลังเผชิญกันอยู่ทุกๆขณะจิต เพียงแต่ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าเป็นอุปาทานทุกข์, เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอน เพราะอวิชชาจึงพยายามปฏิบัติหาทางดับเวทนา อันเป็นทุกข์ธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์(กระบวนการของชีวิต) อันเป็นสภาวธรรมชาติแท้ๆไปด้วย โดยไม่รู้ตัว, ี่แม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงยอมรับและประสบกับสภาวธรรมชาติเหล่านี้เช่นกัน, เมื่อไม่เข้าใจจึงก่อกลายเป็นอุปาทานทุกข์อันเป็นทุกข์แท้ๆให้เกิดขึ้นจากความไม่รู้ไม่เข้าใจเพิ่มขึ้นอีก จึงเกิดการเวียนวนไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติจนเหนื่อยอ่อน เพราะแน่นอนที่ย่อมไม่สามารถปฏิบัติให้ชนะธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ได้ตามความเชื่อ,ความเข้าใจผิดนั้นได้ จึงอุปมาดั่งวนเวียนไล่จับเงาตนเองอยู่ตลอดกาลสมัย ซึ่งย่อมไม่มีวันประสบความสําเร็จไม่ว่าจักนานไปถึงภพชาติใดๆก็ตาม
     
  7. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อุปาทานคืออะไร? อะไรเป็นเหตุ มาเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิด? เข้าใจจริงๆแล้วหรือ?
    ปฏิจจสมุปบาทสามารถอธิบายได้ว่าอุปาทานคืออะไร? อะไรเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น?
    เมื่อไม่คลุมเครือและเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่า อันใดเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นมวลเหตุแห่งทุกข์ทั้งมวลแล้ว ย่อมสามารถแก้ปัญหาคือดับทุกข์ที่เหตุได้อย่างถูกต้อง อันอุปมาดั่งดับไฟที่ต้นเพลิง อันย่อมต้องบังเกิดผล ดั่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้
    ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ
    อันคือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ สิ่ง(ผล)นั้นก็ดับ
    จากปฏิจจสมุปบาทถ้าท่านพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายแล้ว ท่านจะได้ประโยชน์อันสูงลํ้าค่า
    สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
    อนึ่งเราควรอ่านพิจารณาแยกแยะเวทนา(การเสวยอารมณ์หรือการเสวยความรู้สึก เป็นสุขเวทนา,ทุกขเวทนา,อทุกขมสุขหรือไม่ทุกข์ไม่สุข)อันคือทุกข์ธรรมชาติของชีวิตหรือขันธ์๕ อันเป็นกระแสสภาวะธรรมหรือสภาวะธรรมชาติแท้ๆ ให้ออกจาก"ความทุกข์แท้ๆ"(ทุกข์อุปาทาน)อันเกิดแต่เหตุปัจจัยชนิดที่ไม่จําเป็นในการดํารงชีวิตมาปรุงแต่งจนเป็นทุกข์ให้ชัดเจน เพราะเป็นปัจจัยสําคัญให้เข้าใจในสภาวะธรรม อันจะมีกล่าวไปเป็นลําดับขั้น

    ที่มา : ปฏิจจสมุปบาท
     
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    พิจารณาดังที่ยกมา ถ้าทำจริง ถึงผล " นิพพาน " แรก บรรลุโสดาบัน จึงจะเดินมรรคได้ถูกต้อง ไม่เ่ดินวนเวียนในสงสารวัฏอีก เพราะแจ้งในกระบวนการเกิดดับทุกข์แล้ว ทางเดินหรือวิธีปฏิบัติลำดับต่อไป ก็ถอดถอน โทสะ โลภะ โมหะ ตามลำดับขั้นต่อไป

    อริยสัจจ์ พิจารณาเรียงตามลำดับ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ขอให้พิจารณาตามนั้น ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2008
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ มักจะพิจารณาลัดขั้นตอน คือ พิจารณาทุกข์แบบลวก ๆ ไม่สาวไปถึงเหตุปัจจัย กลัวทุกข์ พอเริ่มจะเห็นทุกข์ สัมผัสทุกข์ ก็จะปรุงแต่งเองว่าพอแล้ว ไปโน้มน้อมเข้าไตรลักษณ์ว่าไม่จีรัง แล้วพากันข้ามไปเดินมรรค แล้วบอกว่าทางสายกลาง ๆ

    แบบนั้นมันก็็ได้ เดินมรรคมันก็ทำให้ชีวิตเจริญขึ้น มีสุขมากขึ้น แต่ถ้าวันใดมันไม่ไ้ดัดังหวังก็จะกลับมาทุกข์อีก วนเวียน สร้างภพ สร้างชาติไม่จบสิ้น

    แต่ถ้าเราพิจารณาทุกข์ก่อน ดูสภาวะในขันธ์ จนสัมผัสผล คลายสิ่งร้อยรัดบางส่วนออกเสียก่อน ถึงเวลาเดินมรรค มันจะเป็นทางสายตรง เพราะคุณรู้เป้าหมายแล้ว ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2008
  10. แพน้อย

    แพน้อย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    <!-- currently active users --><TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>แพน้อย, ไฟสถิตย์, ขออภัยในบางลีลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>กว่าเข้ามากระทู้ เค้าหลับกันหมดแล้วค่ะ
    คุณจินนี่95 ช่วยค่ะ ได้ความรู้เยอะเลย
    สำหรับคนที่เข้ามาอ่านนะคะ
     
  11. แพน้อย

    แพน้อย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    <!-- currently active users --><TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>แพน้อย, jinny95, ไฟสถิตย์, ขออภัยในบางลีลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    "^^"LL
    เอาซะหน่อย
    ขอธรรมเน้นๆแน่นๆนะคะ
    ประเภทฟังแล้ว-เลิกยึดเลิกครอง-
    เปลี่ยนเป็น-ลดละเลิก-แทนค่ะ
     
  12. Angel_Of_Dream

    Angel_Of_Dream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +134
    ผมทำงาน
    เดินไปเดินมา
    คุมคนงาน
    ไปด้วยขอรับ

    ใครอยากลง
    พระธรรม
    คำสอนของ
    พระพุทธองค์
    ก็ลงไปเลย
    ขอรับ

    กระทู้นี้เป็น
    ของทุกคน
    ขอรับ

    เพราะคนที่
    ประพฤติชอบ
    ที่ถูกที่ควร
    คือลูกของ
    พระพุทธองค์
    เช่นกันขอรับ

    เจริญในธรรม
    ผมไม่หวง
     
  13. แพน้อย

    แพน้อย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    รักดีดีหาได้ด้วยตัวเองนะคะ
    ความรักคือชีวิต และชีวิตคือความรัก
    ระดับการใช้ชีวิต และระดับความบริสุทธิ์ของความรักจะเป็นตัวชี้คุณภาพในความสุขของตัวคุณเอง

    สุขเพราะรักชีวิต
    สุขเพราะมีชีีวิตรัก
    สุขเพราะเข้าใจในชีวิตรัก

    สุขเพราะปัญญารักชีวิต
    สุขเพราะปัญญามีชีวิตรัก
    สุขเพราะปัญญาเข้าใจในชีวิตรัก

    และปลายสุขระดับความรักบริสุทธิ์จะพัฒนากลายเป็นพรหมวิหาร4
    1. เมตตา รักทุกสรรพสิ่ง
    2. กรุณา อยากให้พ้นทุกข์
    3. มุทิตา ยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น
    4. อุเบกขา การวางใจเป็นกลาง

    คุณค่าของความรักขึ้นอยู่กับพลังแห่งรักที่คนคนนั้นมีค่ะ
    พลังแห่งรักสถิตย์อยู่ที่ตัวคุณแล้วนะคะ
    รักให้เป็น และ พลังความรักจะทวีคุณค่าให้ทุกคนได้รับรู้ถึงกระแสความรักบริสุทธิ์ของคุณที่ส่งถึงทุกคน

    แอบนอกเรื่อง แต่ไม่นอกใจธรรมค่ะ
     
  14. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    แพน้อยเสนอ ไฟสถิตย์สนอง หุหุ

    ก็ไม่ต้องไปหาทุกข์ ถ้ามันไม่เจอ
    พิจารณาทุกข์ ก็ไม่ต้องไปทำอะไรมาก
    ให้ตามดูอาการใจ จนใจมันนิ่ง ก็จะเห็นของละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ
    หากไปนึก ไปคิด ก็จะไม่เห็น และจะแพ้ภัยตนเอง

    ทีนี้ เมื่อดูมากๆเข้าใจมันก็ยอมรับเอง
    สภาวะทุกข์ สุข หรือกลางๆ มันก็เป็นแค่อาการคว้าธาตุ
    สังเกตุไหม โกรธ รัก หลง มันผุดกลางอกขึ้นมา หามีตัวตนไม่
    เป็นเพียงธาตุ หากไม่เข้าใจยังหลงยึด มันก็เหมือนคว้าอากาศ
    นั่นแหละ อนิจัง ทุกขัง อนัตตา

    เมื่อใจมันแข็งแรงกว่าจิต อาการใจก็จะเป็นสิ่งที่ถูกรู้ อยู่อย่างนั้น
    หากจะสาวไปยังขันธ์ห้า ต้องหมั่นนั่งสมาธิ
    ทวนจนดับไปเป็นชั้นๆ

    จำไว้ว่าทุกครั้งที่วงจรปฎิจาดับ จะผุดรู้วิชา และรู้ทุกข์ทันที
    ตรงนี้จะเป็นอารมณ์ และ มีกำลังมากพอที่จะเปลี่ยนสัมมาทิฎฐิ หรือความไม่รู้
     
  15. แพน้อย

    แพน้อย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    ปฏิบัติโดยไม่ต้องนั่งสมาธิได้มั้ยคะ
    แพน้อยเลิกนั่งนานแล้ว
    เมื่อวานลองกลับไปนั่งต่อมน้ำตาแตก
    น้ำมูกยืด หายใจไม่ออกจนต้องออกจากสมาธิ
    เอ..หรือต้องทนนั่งให้มันหมดทุกข์ไปเองคะ
    วานถามผู้รู้ช่วยตอบทีนะคะ
     
  16. Angel_Of_Dream

    Angel_Of_Dream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +134
    สงสัยขอรับ
    พิมพ์ผิดหรือ
    ว่าถูกแล้ว

    โปรดชี้แนะ
     
  17. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    ขอบคุณครับ

    อารมณ์ในที่นี้ หมายถึง การทรงใจ เป็นอุเปกขา หรือ เป็นกลางๆสักว่ารู้
    เปลี่ยนความไม่รู้ เป็นสัมมาทิฎฐิ

    อุปมา เหมือนเราเอาไฟฉายส่องกบจากต้นเสียง หุหุ เกี่ยวไหมเนี่ย
     
  18. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    ควรจะนั่งบ้างครับ
    หากเป็นชีวิตปกติ ก็ดูกาย ดูจิต

    นั่งทน นั่งนาน ใช่ว่าจะหมดทุกข์
    แต่หมายถึงให้เข้าไปดูทุกข์ จนเข้าใจเหตุแห่งทุกข์
    ดูขั้นตอนของมัน จนปัญญาแก่รอบ
    เมื่อทุกข์มา มันก็ตัดได้ทันถ่วงที ครับ
     
  19. แพน้อย

    แพน้อย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    แพน้อยเคยประสบอุบัติเหตุบริเวณหัวเข่าโดนรถชนค่ะ
    ไม่สามารถนั่งขัดสมาธิได้นานๆ และบ่อยครั้ง เพราะเข่าจะบวมแล้วเจ็บมาก
    น่าจะมีวิธีอื่นที่สามารถดับทุกข์ได้มากกว่าการนั่งแล้วทุกข์กายระเบิดนะคะ เพราะเคยนั่งจนคุณหมอสั่งพักการนั่งสมาธิเป็นเดือนๆ เพราะอักเสบบวมแดงอย่างแรงค่ะ
    วานผู้รู้แนะวิธีด้วยนะคะ
    เผื่อใครมีปัญหาคล้ายคลึงกันจะได้หาทางออกทางธรรมได้
     
  20. แพน้อย

    แพน้อย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    .......สมาธิทุกขณะจิต
    เป็นสมาธิที่ควรค่าแก่การใช้งาน

    เป็นสมาธิที่ไม่ต้องพยายามทำเพื่อทำ

    แต่เป็นสมาธิที่เป็นไปอย่างธรรมชาติ ขาดการจงใจทำ
    เกิดขึ้นตลอดเวลาโดยที่ไม่ต้องบังคับให้เป็นไป

    สมาธิลักษณะนี้สติจะมีกำลังกล้า กำลังหักกิเลสมีมาก
    สามารถประหารกิเลสอย่างหยาบ กลาง ไปถึงละเอียด
    เข้าตัดสังโยชน์ตามระดับภูมิธรรมที่ตนมี

    พัฒนาต่อเป็นมหาสติ มหาปัญญา
    เดินทางต่อเนื่อง เพื่อสุดของการหลุดพ้น
    ก้าวข้ามโคตรภู เข้าสู่ภูมิอริยะทั้ง 4 ระดับ
    เดินตรงสู่สุดทางมรรค 8 เพื่อการหลุดพ้นอย่างแท้จริง
    ส่วนรายละเอียดถามผู้รู้กันนะคะ แพแค่คนชงเรื่องค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...