/// พระเครื่อง เครื่องราง หลากหลายคณาจารย์ ยอดนิยม///

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย โต๊ะหมู่, 20 พฤษภาคม 2024.

  1. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    ปิดบูชาครับผม
     
  2. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png นางพญา โรงพยาบาลสงฆ์ ปี 2500 พระเนื้อดินผสมผง 1fab7.png

    ที่ทาง รพ.สงฆ์ จัดสร้าง คณะกรรมการแพทย์ โรงพยาบาลสงฆ์ ได้มีมติให้ดำเนินการสร้างพระเครื่อง โดยเงินที่ได้จากการดำเนินการดังกล่าว ทางคณะแพทย์จะใช้เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การประกอบพิธีถูกต้องตามตำราทั้งทางพุทธเวทย์ และ ไสยเวทย์ พระที่สร้างมีสองประเภท คือ เนื้อโลหะ (พระกริ่ง รพ.สงฆ์) และ เนื้อดินเผาผสมผงศักดิ์สิทธิ์ โดยเนื้อดินเผามีสามพิมพ์ ได้แก่ พิมพ์พระรอด พิมพ์นางพญา และ พิมพ์ชินราช
    มวลสาร - ดินจากสังเวชณียสถาน ผงว่านและ เกษรต่างๆ ผงอิทธิเจ ปถมัง มหาราช ตรีนิสิงเห ที่ได้จากพระอาจารย์มีชื่อในสมัยนั้นกว่า 700 รูป โดยให้นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประจำจังหวัดในสมัยนั้นเป็นผู้ประสานงาน ผสมผงพระกรุเก่า อาทิเช่น พระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จวัดสระเกศ ผงพระกรุลำพูน ฯลฯ ทำพิธีพุทธาภิเศกสองครั้ง
    -ครั้งที่หนึ่ง สามวันสามคืน ระหว่างวันที 7 – 9 มีนาคม 2500
    -ครั้งที่สอง สามวันสามคืน ระหว่างวันที่ 1 – 2 พฤษภาคม 2500
    สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) เป็นองค์ประธาน
    พร้อมพระเกจิดัง 108 รูป ร่วมปลุกเสกในพิธี อาทิเช่น
    1.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    2.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    3.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
    4.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
    5.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    6.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
    7.หลวงพ่อเมี้ยน วัดพระเชตุพน
    8.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลย์ไลยก์
    9.หลวงพ่อโชติ วัดตะโน
    10.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม
    11.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
    12.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
    13.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย
    14.หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก
    15.หลวงพ่อหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    16.พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
    17.หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์
    18.หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิต
    19.หลวงพ่อหลาย วัดราษฎร์บำรุง
    20.หลวงพ่อกึ๋น วัดดอนยานาวา
    21.หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว
    22.หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
    23.หลวงพ่อแสวง วัดกลางสวน
    24.พระครูปลัดเกีรติ วัดมหาธาตุ
    25.พระครูปลัดบุญรอด วัดประดู่พัฒนา
    26.ท่านเจ้าคุณปภัสสรมุนี วัดมิ่งเมือง
    เมื่อ พ.ศ.2500 คณะกรรมการแพทย์ได้มีศรัทธาบำเพ็ญพุทธบูชา โดยจัดสร้างพระพุทธรูปชนิดต่างๆ รวมทั้งพระเครื่องอีกหลายชนิด
    เป็นพิธีอันมโหฬารถูกต้องตามพุทธเวทย์ และครบถ้วนตามพิธีกรรมทุกประการ มีวัตถุประสงค์โดยย่อดังนี้
    1.เพื่อเป็นอนุสรณ์ในมงคลสมัยที่พระพุทธศาสนายุกาลจำเริญมาได้ครบ 2500 ปี
    2.เพื่อได้รวบรวมทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธา สร้างพระพุทธรูปต่างๆในครั้งนี้
    สำหรับตั้งเป็นทุนเพื่อวินิจฉัยค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาการของแพทย์เพื่อเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ชนทั่วไป
    โดยจะกล่าวแต่ที่เป็นพระเครื่องเท่านั้น ดังมีใจความดังนี้
    นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ในแต่ละจังหวัด
    ได้ขอผงศักดิ์สิทธิ์จากพระอาจารย์ที่ได้ลงอักขระในแผ่นโลหะสำหรับหล่อพระพุทธรูปโดยขอจังหวัดละ 10 องค์
    แต่ได้ผงมาจากพระอาจารย์ทั้งหมด 709 องค์ รวมทั้งดินจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง.
    นอกจากนี้ยังได้ผงชินและผงศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่อีกมาก หลังจากนั้นนำผงมาประสมรวม ณ พระวิหารโรงพยาบาลสงฆ์
    จากนั้นนำผงมาประสมใส่ในพระเครื่องดินเผา โดยคลุกเคล้าอย่างละเอียดทั่วทุกองค์พระที่สร้าง
    คณะกรรมการได้สร้างพระเครื่องดินเผารวม 3 ชนิด คือ
    1.พระพุทธชินราช สำหรับประจำตัวชาย
    2.พระนางพญา สำหรับประจำตัวหญิง
    3.พระรอด สำหรับประจำตัวเด็ก
    โดยได้แยกทำ 2 แห่ง คือ
    1.พระพุทธชินราชและพระนางพญา
    ประกอบพิธีสร้างที่พระวิหารหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ประกอบพิธีสร้าง เมื่อ 30 และ 31 มกราคม 2500.
    ในวันที่ 30 ม.ค. 2500 ได้มีการนำพิมพ์พระ และผงศักดิ์สิทธิ์มาตั้งไว้ภายในพระวิหาร
    วงสายสิญจน์จากองค์พระหลวงพ่อพระพุทธชินราช ลงล้อมสิ่งของเครื่องพิธีทั้งปวง โดยเริ่มจุดเทียนชัยเวลา 19.00 น.
    มีเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธานเจริญพระพุทธมนตร์และมีพระสงฆ์นั่งปรกบริกรรมปลุกเศกทั้งคืนโดยมีหลวงพ่อไซ้ วัดช่องลม
    จ.อุตรดิตถ์เป็นประธาน.รุ่งขึ้นเวลาเช้าได้ปฐมฤกษ์ท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม วัดพระเชตุพน ได้พิมพ์พระเป็นปฐมฤกษ์
    พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาแล้วดับเทียนชัย แล้วทำการพิมพ์พระจนได้ครบจำนวน
    2.พระรอด
    ประกอบพิธีสร้างที่ พระวิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน
    ได้ประกอบพิธีสร้างในวันที่ 31 ม.ค. 2500 โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 08.05 น.ได้มีการเจริญพระพุทธมนตร์และสวดเบิกตามแบบเมืองเหนือ
    โดยประกอบพิธีการสร้างพระรอดแบบเก่าแต่ครั้งก่อน เสร็จพิธีแล้วได้นำผงศักดิ์สิทธิ์คลุกเคล้าลงในดินที่จะพิมพ์เป็นองค์พระ
    หลังจากนั้นจึงนำพระทั้งหมดมาเข้าพิธีพุทธาภิเษก และฉลองที่โรงพยาบาลสงฆ์ รวมเป็น 3 ครั้งด้วยกัน โดยทำการฉลองในวันที่

    "ปิดบูชา"

    2-0.jpg 2-1.jpg 2-2.jpg 2-3.jpg showimage.jpg showimage (3).jpg showimage (2).jpg showimage (1).jpg SANY0596.JPG SANY0597.JPG SANY0598.JPG SANY0599.JPG SANY0600.JPG SANY0601.JPG SANY0602.JPG SANY0603.JPG SANY0604.JPG SANY0605.JPG db865d189e0455244407ecfe4106d72b_full.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2024
  3. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    ปิดบูชาครับ
     
  4. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png เหรียญเสมา 3 รอบรัชกาลที่ 9 หรือ เหรียญอนุสรณ์มหาราช ปี 2506 1fab7.png

    มีคนอีกจำนวนมากที่ไม่รู้ว่า เหรียญนี้ไม่ใช่แค่เป็นเหรียญที่ระลึก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 3 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2506 เท่านั้น แท้จริงเป็นเหรียญที่ได้ผ่านพิธีการปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ ถึง 2 วาระด้วยกัน โดยพระคณา จารย์ที่โด่งดังในปี 2506 ซึ่งพระเครื่องของท่านเหล่านั้น ปัจจุบันเราเล่นหากันเป็นแสนเป็นล้าน เช่น อาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ผู้สร้างหลวงพ่อทวดอันลือลั่น หลวงพ่อทบ วัดชนแดน หลวงพ่อเต๋ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ฯลฯ เหรียญอนุสรณ์มหาราช สร้างในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ 3 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2506 เหรียญเสมา (รูปอาร์มหรือโล่ห์) เป็นเนื้ออัลปาก้า (เนื้อเงินและทองคำก็มี)
    ผ่านพิธีปลุกเสกใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ 2 วาระด้วยกัน ครั้งแรกวันที่ 29-30 พ.ย.2506 และครั้งที่ระหว่างวันที่ 5-6-7 เมษายน 2507
    รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ วันที่ 29 - 30 พฤศจิกา2506 ณ.พระอุโบสถวัดราชบพิธ(พิธีครั้งที่ 1)
    1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
    2. หลวงพ่อพระครูโพธิสารประสาธน์ วัดโพธิสัมพันธ์ บางละมุง ชลบุรี
    3. หลวงพ่อพระวรพจรน์ปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
    5. หลวงพ่อพระราชหระสิทธิคุณ วัดราชธานี สุโขทัย
    6. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมาภรณ์ )วัดดอนยายหอม นครปฐม
    7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
    8.พ่อท่านคล้าย วัดสวนขวัญ ฉวาง นครศรีธรรมราช
    9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี
    รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 5 เมษายน 2507
    1. พระสุเมธมุนี เจ้าคณะวัดบางหลวง ปทุมธานี
    2. พระสุนทรศีลสมาจาร (หลวงพ่อผล) วัดหนัง ธนบุรี
    3. พระครูปลัดบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช
    4. หลวงพ่อทบ วัดสว่างอรุณ ชนแดน เพชรบูรณ์
    5. พระครูนนทกิจวิมล ( หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
    6. หลวงพ่อบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
    7. พระครูพุทธมนต์วราจารย์ (พระปลัดสุพจน์) วัดสุทัศน์ พระนคร
    8. พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์เชียงราก ปทุมธานี
    9. หลวงพ่อหอม วัดขากหมาก ระยอง
    รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 6 เมษายน 2507
    1. พระครูพิทักษ์วิการกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา พระนคร
    2. พระครูสถาพรพุทธมนต์(หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวนาราม บางเลน นครปฐม
    3. พระครูธรรมิตรนุรักษ์ วัดเขาหลัก ท่าศาลา นครศรีธรรมราช
    4. พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถีร์) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    5. พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม
    6. หลวงพ่อสำเภา วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ ธนบุรี
    7. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    8. พระมุจรินทร์โมลี (หลวงปู่ดำ) วัดมุจรินทร์ หนองจิก ปัตตานี
    รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 7 เมษายน 2507
    1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก บางไทร อยุธยา
    2. พระครูโพธิสารประสาธน์ (อาจารย์บุญมี) วัดโพธิสัมพันธ์ ชลบุรี
    3. พระวราพจน์ปัญญาจารย์ (หลวงพ่อวัดป่า) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
    5. พระราชประสิทธิคุณ (หลวงพ่อทิม) วัดราชธานี สุโขทัย
    6. พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
    7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
    8. พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดพระเชตุพน พระนคร
    9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ โคกโพธิ์ ปัตตานี
    การเริ่มพิธีนั้น พระเจริญคาถาภารวาณจะ ตั้งแต่เวลา 15.00 น.ของแต่ละวัน พระคณาจารย์ทุกรูปจะผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกบริกรรมกันตลอดเวลา จนตลอดรุ่งของทุกวัน จนถึงเช้าตรู่วันที่ 8 เมษายน 2507 เวลา 6.00 น. พระอาจารย์ที่นั่งปรกวันที่สามทั้งหมดทุกรูปประชุมพร้อมกันปลุกเสกเงียบเป็น เวลา 30 นาทีพอครบเวลาตามที่กำหนด เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้องชัย พราหมณ์ เป่าสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ ปี่พาทย์ทำเพลง 3 ลา พระคณาจารย์ทุกรูปประพรมน้ำพุทธมนต์เหรียญเสมาทั้งหมดที่เข้าพิธีเสร็จแล้ว เจิม พระพิธีธรรมเจริญคาถาดับเทียนชัย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ดับเทียนชัย พราหมณ์เริ่มพิธีเบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชเป็นเสร็จการพิธี

    "ปิดบูชา"

    3-0.jpg 3-1.jpg 3-2.jpg 3-3.jpg 5253f48c78177573140c0edaafa3dc22.png
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2024
  5. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    ปิดบูชาครับ
     
  6. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png ตะกรุดสามกษัตริย์ในตลับสีผึ้ง สุดยอดเครื่องรางสายเมตตามหานิยม 1fab7.png
    สีผึ้งมีความเชื่อกันมาช้านานว่ามีพุทธคุณเป็นเลิศในด้านมหาเสน่ห์ เปี่ยมด้วยพลังอิทธิฤทธิ์ ยิ่งใครทาแล้วไปเจรจาค้าขายก็จะมีเมตตามหาเสน่ห์ต่อผู้พูดคุย พบเจอ ยุคนี้เก่งอย่างเดียวอาจจะไม่พอ เราต้องมากับความโชคดี

    "ปิดบูชา"

    4-0.jpg 4-1.jpg 4-2.jpg 4-3.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2024
  7. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    ปิดบูชาครัับผม
     
  8. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    ปิดบูชาครับ
     
  9. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7-png.png เหรียญเสมา 3 รอบรัชกาลที่ 9 หรือ เหรียญอนุสรณ์มหาราช ปี 2506 1fab7-png.png
    มีคนอีกจำนวนมากที่ไม่รู้ว่า เหรียญนี้ไม่ใช่แค่เป็นเหรียญที่ระลึก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 3 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2506 เท่านั้น แท้จริงเป็นเหรียญที่ได้ผ่านพิธีการปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ ถึง 2 วาระด้วยกัน โดยพระคณา จารย์ที่โด่งดังในปี 2506 ซึ่งพระเครื่องของท่านเหล่านั้น ปัจจุบันเราเล่นหากันเป็นแสนเป็นล้าน เช่น อาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ผู้สร้างหลวงพ่อทวดอันลือลั่น หลวงพ่อทบ วัดชนแดน หลวงพ่อเต๋ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ฯลฯ เหรียญอนุสรณ์มหาราช สร้างในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ 3 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2506 เหรียญเสมา (รูปอาร์มหรือโล่ห์) เป็นเนื้ออัลปาก้า (เนื้อเงินและทองคำก็มี)
    ผ่านพิธีปลุกเสกใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ 2 วาระด้วยกัน ครั้งแรกวันที่ 29-30 พ.ย.2506 และครั้งที่ระหว่างวันที่ 5-6-7 เมษายน 2507
    รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ วันที่ 29 - 30 พฤศจิกา2506 ณ.พระอุโบสถวัดราชบพิธ(พิธีครั้งที่ 1)
    1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
    2. หลวงพ่อพระครูโพธิสารประสาธน์ วัดโพธิสัมพันธ์ บางละมุง ชลบุรี
    3. หลวงพ่อพระวรพจรน์ปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
    5. หลวงพ่อพระราชหระสิทธิคุณ วัดราชธานี สุโขทัย
    6. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมาภรณ์ )วัดดอนยายหอม นครปฐม
    7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
    8.พ่อท่านคล้าย วัดสวนขวัญ ฉวาง นครศรีธรรมราช
    9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี
    รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 5 เมษายน 2507
    1. พระสุเมธมุนี เจ้าคณะวัดบางหลวง ปทุมธานี
    2. พระสุนทรศีลสมาจาร (หลวงพ่อผล) วัดหนัง ธนบุรี
    3. พระครูปลัดบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช
    4. หลวงพ่อทบ วัดสว่างอรุณ ชนแดน เพชรบูรณ์
    5. พระครูนนทกิจวิมล ( หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
    6. หลวงพ่อบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
    7. พระครูพุทธมนต์วราจารย์ (พระปลัดสุพจน์) วัดสุทัศน์ พระนคร
    8. พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์เชียงราก ปทุมธานี
    9. หลวงพ่อหอม วัดขากหมาก ระยอง
    รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 6 เมษายน 2507
    1. พระครูพิทักษ์วิการกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา พระนคร
    2. พระครูสถาพรพุทธมนต์(หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวนาราม บางเลน นครปฐม
    3. พระครูธรรมิตรนุรักษ์ วัดเขาหลัก ท่าศาลา นครศรีธรรมราช
    4. พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถีร์) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    5. พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม
    6. หลวงพ่อสำเภา วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ ธนบุรี
    7. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    8. พระมุจรินทร์โมลี (หลวงปู่ดำ) วัดมุจรินทร์ หนองจิก ปัตตานี
    รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 7 เมษายน 2507
    1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก บางไทร อยุธยา
    2. พระครูโพธิสารประสาธน์ (อาจารย์บุญมี) วัดโพธิสัมพันธ์ ชลบุรี
    3. พระวราพจน์ปัญญาจารย์ (หลวงพ่อวัดป่า) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
    5. พระราชประสิทธิคุณ (หลวงพ่อทิม) วัดราชธานี สุโขทัย
    6. พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
    7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
    8. พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดพระเชตุพน พระนคร
    9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ โคกโพธิ์ ปัตตานี
    การเริ่มพิธีนั้น พระเจริญคาถาภารวาณจะ ตั้งแต่เวลา 15.00 น.ของแต่ละวัน พระคณาจารย์ทุกรูปจะผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกบริกรรมกันตลอดเวลา จนตลอดรุ่งของทุกวัน จนถึงเช้าตรู่วันที่ 8 เมษายน 2507 เวลา 6.00 น. พระอาจารย์ที่นั่งปรกวันที่สามทั้งหมดทุกรูปประชุมพร้อมกันปลุกเสกเงียบเป็น เวลา 30 นาทีพอครบเวลาตามที่กำหนด เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้องชัย พราหมณ์ เป่าสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ ปี่พาทย์ทำเพลง 3 ลา พระคณาจารย์ทุกรูปประพรมน้ำพุทธมนต์เหรียญเสมาทั้งหมดที่เข้าพิธีเสร็จแล้ว เจิม พระพิธีธรรมเจริญคาถาดับเทียนชัย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ดับเทียนชัย พราหมณ์เริ่มพิธีเบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชเป็นเสร็จการพิธี


    "400"

    1-0.jpg 1-1.jpg 1-2.jpg 1-3.jpg 5253f48c78177573140c0edaafa3dc22.png
     
  10. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    เหรียญครูบาศรีวิชัย หัวชนขอบ ปี 2489 ออกวัดจามเทวี
    เหรียญครูบาศรีวิชัย หัวชนขอบเล็ก เป็นเหรียญเก่าปีลึก พ.ศ.2489 ที่หายากอีกเหรียญ เหรียญครูบาศรีวิชัยปี 2489 ออกวัดจามเทวี “ รุ่นหัวชนขอบ “ เหรียญดี พ.ศ.ลึกน่าเก็บ เหรียญครูบาศรีวิไชยยุคแรกออกวัดจามเทวี ลำพูน 1 ใน 3 พิมพ์หายากครับ จัดว่าเป็นเหรียญ พ.ศ.ลึกที่น่าเก็บครับ คนในพื้นที่เรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า “ รุ่นหัวชนขอบ “ รุ่นนี้ออกที่ วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน สร้าง แจกใน งานพระราชทานเพลิงศพ ของครูบาเจ้าฯ ประมาณปีพ.ศ. 2487-89 ครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2481 ที่วัดบ้างปาง ขณะมี อายุได้ 59 ปี ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางนั้นเวลา 1 ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี จนถึงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาถวายพระเพลิงศพเป็นจำนวนมาก เหรียญรุ่นนี้มีประสบการณ์สูงในการใช้บูชามากคุ้มครองในเรื่องภยันตรายต่างได้ดี ผู้คนในพื้นที่ๆรู้ถึงที่มาและประวัติต่างห่วงแหนยิ่งนักใน ปัจุบันจึงเป็นของหายากแล้วเช่นกัน แล้วเป็นเหรียญที่ออกในปี พ.ศ.เก่าที่เก็บกันมาอย่างดี นับเป็นเหรียญอีกรุ่นหนึ่งที่สามารถเอาไว้ใช้บูชาแทนเหรียญรุ่นแรกของท่านได้ครับ

    " ปิดบูชา "

    2-0.jpg 2-1.jpg 2-2.jpg 2-3.jpg get_auc1_img.jpg 12719462_1024935564254358_3807700676905299629_o.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2024
  11. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    พญากบขย่มหิบ พญาสาริกาหนีบหัวครก (พญากบกินตับ จ้าวมือเทหิบวิ่งหนี สาริกาบัวบังใบล้วงเข้าไปดึงหัวใจ) เครื่องรางไทใหญ่ ของดีที่ควรพิสูจน์
    หลวงปู่ครูบา สล่าอุวิจิ่งต๊ะ อายุ ๗๓ พระธาตุจอมแวะ อ. เชียงดาว
    จ.เชียงใหม่ เนื้อยอดโลหะ สร้าง 399 องค์

    พญากบกินเดือนต้องสายครูบาออ อาจารย์ปู่ถ่ายทอดให้หลานหลวงปู่สล่าอุวิจิ่งต๊ะ ปลุกพญากบอ้าปาก ล้วงเท่าไหร่ก็ไม่หมด เทเท่าไหร่ก็ยังเหลือ ดังหิบสมบัติโกยออกไม่รู้จักพร่อง สะดุดร่องก็เติมจนเต็ม คู่กับวิชาสาริกาอังสะ โผล่ไม่เห็นหน้าปิดดันเห็นหลังวิชาเสน่หาพาเข้าเรือน เป็นวิชาจำเพาะ สักแขนดำของหนุ่มไทใหญ่มีเมียหัวหมู่ท้ายบ้าน
    หลวงปู่สล่าฯ ท่านสร้างของดีสุ้มเก็บเงียบ เพราะเป็นวิชาสัมคัญ กบกินเดือน เด่นเรื่อง ถล่มยับจ้าวมือ โชคลาภไหลมาพรั่งพรู เรียกเงินเรียกทองได้ ดังสายฝน นำไปใช้ มีแต่ ร่ำรวย ช่วยอุดหนุนด้านการทำมาค้าขาย เรียกทรัพย์ แก้วแหวนเงินทองเข้ามาสู่มาสม และที่สำคัญ ยกดวงอุ้มชะตา เสริมโชค ลาภไหลมา ดับทุกข์ ร้อน ดับปัญหา เสริมดวงชะตา ให้เจริญรุ่งเรือง ...ใครดวงตก ต้องใช้กบกินเดือน
    สมาดสมานกับวิชา สาลิกาอังสะ บัวบังใบ เสน่เรียกพี่เมตตาเรียกพ่อด้วย สาริกาตำรับนี้ เสน่หาพาเข้าเรือน หลงไม่ลืมหูลืมตา มีอิทธิคุณทางด้านเมตตา มหาเสน่ห์ขั้นรุนแรงเป็นที่ประจักษ์ ไม่ว่าบุคคลใดเพศใด คนอกหัก ไร้ซึ่งความรัก จะสมหวังในความรักชุ่มฉ่ำหัวใจ คนที่คู่ครอง คู่รักแหนงหน่าย จะมีใจรักใคร่สัมพันธ์กลมเกลียวแน่นแฟ้นยิ่ง แม้นคนที่ริเป็นพวกเจ้าชู้ประตูดิน จะสมใจได้ใคร่อยู่เป็นนิจ
    พญากบขย่มหิบ พญาสาริกาหนีบหัวครก 2 in 1 สองวิเศษใน 1 เดียว กบอ้าปากค้าง ดังครก สาริกาจิกกลางปาก ดังสากกะเบือ ความหมายครก กะ สาก ท่านไปแปล เลศนัยนี้ให้ดีเถิด ว่าเสน่หาประสาทะ ประสิทธิ หนักขนาดไหน และ กบอ้าปากร้องลั่นจะเรียกเงินเรียกทอง การค้าขาย ให้ไหลมาหนักหนาแน่น ๆ เน้น ๆ วิชาไทใหญ่เขาแรงยิ่งกว่าออกปากควันออกหู เสียอีกนะท่าน
    เนื้อเงินแท้ สร้าง 32 องค์
    เนื้อยอดโลหะ สร้าง 399 องค์
    เนื้อกะไหล่ทอง สร้าง 499 องค์
    เนื้อแร่เงินยวง สร้าง 2,565 องค์

    "ปิดบูชาครับ"
    3-0.jpg 3-1.jpg 3-2.jpg 3-3.jpg 3-4.jpg 3-5.jpg 01628745828.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2024
  12. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    ปิดบูชาครับ
     
  13. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png "พระผงกระดูกผี วัดโพธิ์ท่าเตียน พิมพ์รูปเหมือนใบโพธิ์ อ.หนู ด้านหลังมีจารยันต์ ด้วยดินสอ ติดใบหน้าติดตาสวย พระประสบการณ์ดี เมตตา แคล้วคลาด ครบด้าน" 1fab7.png

    "ปิดบูชา"

    1-0.jpg 1-1.jpg 1-2.jpg 1-3.jpg 1-4.jpg 1-5.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2024
  14. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png พระสมเด็จหลวงพ่อคูณ วัดพันอ้น ปี 2537 เชียงใหม่ ด้านหน้าฝังตะกรุดทองฝาบาตร หลังรูปเหมือนนั่งยอง 1fab7.png
    อันเป็นเอกลักษณ์ ฝังพลอย กินบ่เสี้ยง เกสาลอยเด่น โดยการจัดสร้างถวาย หลวงพ่อคูณ เมื่อปี 2537 จากชุดมวลสารเดิมที่ยังคงมีเหลือจากผู้สร้าง ลุงสัมฤทธิ์ ผู้ริเริ่มพระชุดวัดพันอ้น เมื่อปี 2523 จนเป็นที่รู้จักแกันแพร่หลาย นับได้ว่าเป็นตำนานของพระเนื้อผง ที่ หลวงพ่อคูณ เมตตาปลุกเสก เมื่อคราวมาจำพรรษาที่เชียงใหม่ เรียกได้ว่าพุทธคุณเป็นประจักษ์ แก่คนทั่วไป โดยเฉพาะผู้นิยมศรัทธา หลวงพ่อคูณ หรือแม้แต่ชาวต่างชาติ รุ่นนี้ได้เข้าร่วมปลุกเสก ที่วัดบ้านไร่ พร้อมรุ่นคูณพันล้าน ซึ่งมีพระปิดตาคูณพันล้านที่นิยมเล่นหา และมีราคาแพง อยู่ในพิธีร่วมกัน นับว่าเป็นของดีจากทางเหนือ เชียงใหม่ ที่ หลวงพ่อคูณ เมตตา เป็นอย่างมากใครแขน จักอยู่รอดปลอดภัยจากภัยอันตรายใด ๆ ทั้งประการ และการจะพบแบบที่ฝังตะกรุดก็นับว่ายากมาก ด้วยจำนวนการทำที่ยุ่งยาก และตะกรุดที่มีจำกัด รุ่นนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าโชคดีเด้อ ตามคำเรียกของ หลวงพ่อคูณที่ท่านเมตตา เรียกให้เป็นมงคลแก่ผู้ครอบครองบูชา

    "900"

    2-0.jpg 2-1.jpg 2-2.jpg 2-3.jpg 2-4.jpg 2-5.jpg
     
  15. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png พระรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย อัฐิหลังย่นรุ่นแรก 1fab7.png
    ครูบาศรีวิชัยอัฐิหลังย่น ถือว่าเป็นพระที่สร้างจากผงอัฐิ เถ่าสรีระร่างกายครูบา หากคิดให้ดีสำหรับผู้ที่เคารพนับถือครูบา จะหาพระครูบาไว้บูชา พระผงอัฐิก็เปรียบเสมือนตัวครูบา ที่ต่างจากเหรียญ ซึ่งเป็นแค่โลหะ มีแต่รูปครูบาเท่านั้น พระผงอัฐิราคายังพอเก็บได้ อนาคตก็ยังอีกไกล

    "1100"
    1-0.jpg 1-1.jpg 1-2.jpg 1-3.jpg 1-4.jpg
     
  16. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png พระร่วงรางปืน วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ปี พ.ศ.๒๕๑๒ จ.เชียงใหม่ 1fab7.png
    #โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9ทรงเสด็จมาเป็นประธานพิธีในครั้งนั้น
    ประวัติการปลุกเสกพระเครื่องวัดพระสิงห์ในปี๒๕๑๒ #อ้างอิงจากหนังสือประวัติวัดพระสิงห์เชียงใหม่
    พิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นที่วัดพระสิงห์ ปี 2512 พิธีใหญ่มาก โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ มาเป็นประธานในพระราชพิธีพุทธาภิเษก ณ.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เพื่อทรงเททองเป็นปฐมฤกษ์ ด้วยพระบารมีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสองพระองค์ โดยมีพิธีพุทธาภิเษกวันที่ 15 มกราคม 2512
    รายนามพระเกจิอาจารย์ ที่ร่วมในพิธีพุทธาภิเษก
    1. หลวงพ่อคล้าย วัดจันดี นครศรีธรรมราช
    2. พระเทพวิสุทธิเมธี(เจีย) วัดพระเชตุพน กทม.
    3. พระครูวิริยะกิติ(โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
    4. พระครูโสภณกัลยาณมิตร(เส่ง) วัดกัลยานิมิตร กทม.
    5. พระครูปลัดสงัดคณิสสโร วัดพระเชตุพน กทม.
    6. หลวงพ่อก๊ก วัดดอนขมิ้น กาญจนบุรี
    7. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม อยุธยา
    8. หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
    9. หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ อยุธยา
    10. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตรา อยุธยา
    11. พระครูพิพัฒน์สิริธร(หลวงพ่อคง) วัดบ้านสวน พัทลุง
    12. พระอาจารย์ชินะวโรภิกขุ(หลวงพ่อนำ) วัดดอนศาลา พัทลุง
    13. หลวงพ่อเล็ก วัดดินแดง นครปฐม
    14. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์ ลพบุรี
    15. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
    16. พระครูวิสัยโสภณ(หลวงพ่อทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี นอกจากท่านจะมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้แล้ว ยังได้มอบพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านที่สร้างไว้ตั้งแต่ปี 2506 มอบให้แก่ทางวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เพื่อมร่วมทำบุญกุศลอีกด้วย
    17. หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพศักดิ์ สมุทรสงคราม
    18. หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง เพชรบุรี
    19. หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง พิจิตร
    20. หลวงพ่อจ้อน วัดเจ็ดริ้ว สมุทรสาคร
    21. พระวิบูลย์เมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
    22. พระอาจารย์สมคิด วัดรังโฆษิตาราม สุพรรณบุรี
    23. พระราชมุนี วัดปทุมวนาราม กทม.
    24. พระอริยเมธี วัดปทุมวนาราม กทม.
    25. พระครูพุทธิวัฒน์ วัดธรรมจักร พิษณุโลก
    26. พระครูอภัยจริยานิยม(ตุ้ย) วัดใหม่ พิษณุโลก
    27. ครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
    28. พระราชวิสุทธิ วัดสวนดอก ลำปาง
    29. พระอาจารย์สม วัดหัวข่วง ลำปาง
    30. พระอาจารย์ชุม วัดเกาะ ลำปาง
    31. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ลำปาง
    32. พระราชปัญญาโสภณ วัดราชนัดดาราม กทม.
    33. พระครูพิพัฒน์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม กทม.
    34. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดา กทม.
    35. พระพิธีธรรม 4 รูป วัดราชนัดดา กทม.
    36. พระพิธีธรรมรามัญ 4 รูป วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
    37. พระพิธีธรรม ภาคพายัพ สำนักจังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่ สำหรับพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ นเรศวรเมืองงาย พระร่วงยืนหลังรางปืน ฯลฯ ครั้งนี้ เจ้าพิธีในการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ได้แก่ พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดารามวรวิหาร กทม. ปรากฏการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดถึงว่าจะเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อตอนเย็นของวันที่ 14 มกราคม 2512 เวลา 18.00 น. ก่อนที่จะเริ่มพิธีในตอนกลางคืนนั้น หลวงพ่ออั้น แห่งวัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดเป็นลมโดยปัจจุบันทันด่วนในขณะที่พักผ่อนอยู่ในศาลาสมเด็จ ภายในบริเวณวัดพระสิงห์ด้านเหนือต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ครั้นเวลา 19.00 น. ก็ถึงแก่มรณภาพ ณ.โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ แพทย์ได้พยายามช่วนจนสุดความสามารถ แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือชีวิตของหลวงพ่ออั้นไว้ได้ การมรณภาพของหลวงพ่ออั้น เป็นที่เสียใจอย่างสุดซึ้งต่อคณะกรรมการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานคณะกรรมการจัดสร้างฯ ได้รีบรุดมาคารวะศพรวมทั้งเจ้าหน้าที่กรรมการอื่นๆ อีกมาก อีกทั้งพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ ต่างก็เศร้าเสียใจต่อการจากไปของหลวงพ่ออั้นเป็นอย่างยิ่ง สำหรับวัตถุมงคลส่วนหนึ่งมอบให้ทหารกับตำรวจที่ปฏิบัติราชการชายแดน และอีกส่วนหนึ่งได้นำไปบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย

    "ปิดบูชา"

    1-0.jpg 1-1.jpg 1-2.jpg 1-3.jpg 1-4.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2024
  17. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png พระกริ่งนเรศวร (ขึ้นเหนือ) นวะโลหะ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ พิธีใหญ่ ปี2557 1fab7.png
    การสร้างพระกริ่งนเรศวร "ขึ้นเหนือ" ในครั้งนี้ วัดศรีดอนชัย จ.แม่ฮ่องสอน, วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่, วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน, วัดศรีชุม ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และวัดพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ได้ร่วมกันจัดสร้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สมทบทุนในการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน และจัดสร้างสิ่งจำเป็น สำหรับใช้ในกิจของสงฆ์ โดยเฉพาะการจัดสร้างองค์พระเจดีย์ ศรีเมืองปาย วัดศรีดอนชัย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน และการจัดสร้างอาคารหอประชุมสงฆ์ จังหวัดลำพูน ซึ่งในการจัดสร้างพระกริ่งนเรศวร มีการจัดสร้าง ๕ พระนาม ได้มีการประกอบพิธีไปแล้วตามสถานที่ ดังนี้
    พระกริ่งนเรศวร พระสิงห์ สมโภชที่วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่, พระกริ่งนเรศวร หริภุญชัย สมโภชที่วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน, พระกริ่งนเรศวร สองแคว สมโภชที่พระราชวังจันทน์ จ.พิษณุโลก และจะมีพิธีสมโภชอีกสองครั้งได้แก่ พระกริ่ง นเรศวร วัดศรีชุม สมโภชที่วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๗ และพระกริ่งนเรศวร เมืองปาย มีพิธีสมโภช ที่วัดศรีดอนชัย อ.ปาย จ.แม่อ่องสอน ในวันอาทิตย์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๗
    ในการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ มี พล.ต.โชคดี เกตสัมพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกระทรวงกลาโหม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีทุติยสมโภช พระกริ่งนเรศวร ขึ้นเหนือ นามหริภุญชัย เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างอาคารหอประชุมสงฆ์ของจ.ลำพูน โดยมีพระสมเด็จเสฏฐอัคคราชา อาชญาธรรมพระเจ้า เขมจารี นิรันตรญาณมุนี ปริยัตติโกศลคุณาลังการ สมเด็จพระสังฆราช นครเชียงตุง วัดราชฐานหลวงเชียงยืน เมืองเขมรัฐ นครเชียงตุง เป็นประธานสงฆ์ จุดเทียนชัย และพระมหาเถระ สวดคาถาจุดเทียนชัย โดยในพิธีมีพล.ต.โชคดี เกตสัมพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพุทธศาสนิกชนชาว จ.ลำพูน ร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

    "ปิดบูชา"

    2-0.jpg 2-1.jpg 2-2.jpg 2-3.jpg 2-4.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2024
  18. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    ปิดบูชาครับ
     
  19. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    ปิดบูชาครับ
     
  20. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png นพเก้า กระเบื้องหุ้มองค์พระปรางค์ ว้ดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก 1fab7.png
    ลักษณะเป็นกระเบื้องโบราณมี 9 ช่องจึงเป็นที่มาของนพเก้า และจะมีการลงรักปิดทองคำแท้ไว้ด้านนอก ส่วนด้านหลังกระเบื้องที่มี9ช่องเอาไว้โบกปูนปิดหุ้มองค์พระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ปัจจุบันอายุเกิน100 ปี และ ผ่านการปลุกเสกมานานแสนนานทุกพิธีใหญ่ในการปลุกเสกจะมีการโยงสายสิญจน์จากองค์พระปรางค์นี้เข้าไปยังวิหารพระพุทธชินราชทุกครั้ง ซึ่งพิธีใหญ่ๆพิธีหลวงที่ผ่านมาเกิน100ปี คิดเอาครับว่าผ่านการปลุกเสกยาวนานขนาดไหน นพเก้านี้ถือเป็นของสูงปิดไว้บนยอดหุ้มองค์พระปรางค์ของวัดเลย สืบเนื่องจากกาลเวลาผ่านไปทำให้นพเก้าบางส่วนได้หลุดออกมา และทางวัดได้นำมาเปิดให้ประชาชนบูชาในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนจะหมดไปอย่างรวดเร็ว สำหรับประวัติรายละเอียดมีดังนี้ครับ
    นายวินัย ชาญวิชัย ไวยาวัจกรฝ่ายประชาสัมพันธ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) อ.เมือง จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ขณะนี้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช กำลังมีการบูรณะพระปรางค์ประจำวัด ศิลปะสมัยอยุธยา ที่ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารพระพุทธชินราช ซึ่งนักวิชาการคาดว่าจะสร้างคร่อมเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ศิลปะสมัยสุโขทัย และภายในเป็นที่ประดิษฐานองค์พระสารีริกธาตุ เนื่องจากมีสภาพทรุดโทรมลงไปมาก เกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อประชาชนที่มาเคารพสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด ได้ ทางสำนักศิลปากรที่ 6 ได้มีการจัดงบประมาณจำนวน 30 ล้านบาทเข้ามาปรับปรุง ในการบูรณะจะมีการแกะชิ้นส่วนของพระปรางค์ ที่เรียกว่านพเก้า (แผ่นกระเบื้องโมเสกสีทอง ขนาด 3 x 3 ซ.ม.) ออก (เป็นพระปรางค์องค์เดียวในประเทศไทยที่มีการติดนพเก้า หรือกระเบื้องโมเสกสีทอง) ซึ่งทางกรมศิลปากร และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้มีมติให้นำชิ้นนพเก้าออกให้ประชาชนเช่าบูชาเก็บไว้ เพื่อความเป็นสิริมงคล และหลังจากที่ทางวัดได้เปิดให้มีการบูชานพเก้าพระปรางค์ ปรากฏว่ามีประชาชนที่ทราบข่าวทั้งคนในและต่างจังหวัด พากันเดินทางไปขอบูชากันเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องด้วยชิ้นนพเก้ามีเพียงประมาณ 10,000 แผ่นเท่านั้น ทางวัดจึงกำหนดให้สามารถเช่าได้คนละไม่เกิน 3 ชิ้น ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สามารถนำชิ้นนพเก้าไปบูชาเพื่อความเป็น สิริมงคลอย่างทั่วถึงกัน สำหรับราคาในการบูชานั้น ชิ้นนพเก้าเกรด A ราคา 1,299 บาท เกรด B ราคา 999 บาท
    สำหรับการก่อ สร้างนั้น นางทองใบ พันธ์ภูมิพฤกษ์ กรรมการวัดพระศรีรัตมหาธาตุวรมหาวิหาร อดีตหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช กล่าวว่า เมื่อมองจากสภาพภายนอกพระปรางค์ด้วยตาเปล่ายอมรับว่าพระปรางค์มีสภาพชำรุด ร้อยละ 70-80 นพเก้า หรือกระเบื้องโมเสกสีทอง ได้หลุดลอกมาจำนวนมาก โดยบางจุดปูนถึงกับหมดสภาพ กลีบขนุนที่หุ้มด้วยโมเสกสีทองได้ร่วงหล่นมาทั้งพลู น่าเสียดายมาก เพราะอายุของพระปรางค์มีมากหลายร้อยปี สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมกับการสร้างวัด ช่วง พ.ศ.1900 แต่พระปรางค์องค์ปัจจุบันเป็นพระปรางค์ศิลปะสมัยอยุธยา นักวิชาการคาดว่าจะสร้างคร่อมเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ศิลปะสมัยสุโขทัย และภายในเป็นที่ประดิษฐานพระสารีริกธาตุ ที่ทางวัดจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ขึ้นไปสักการะเพียงปีละ 1 ครั้ง ในงานสมโภชพระพุทธชินราชเท่านั้น : ข้อมูล จากนสพ.ข่าวสด ออนไลน์
    ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ พระปรากรมมุณี ( เปลี่ยน ) เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ในขณะนั้น ได้รวบรวมเงินจากผู้มีจิศรัทธาสั่งซื้อกระเบื้องสีทองจากประเทศอิตาลี เรียกว่าแผ่นนพเก้า สาเหตุที่เรียกว่าแผ่นนพเก้า เนื่องจากมี ๙ ช่อง แต่ละช่องมีจุด ๓ จุด ๓x๙ = ๒๗ และ ๒+๗ =๙ บางแผ่นแต่ละช่องมี ๔ จุด ๔x๙ = ๓๖ และ ๓+๖ = ๙ แผ่นนพเก้าปิดทองนี้ติดบนองค์พระปรางค์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔และในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลได้มอบให้กรมศิลปากรทำการซ่อมแซมองค์พระปรางค์ใหม่ จึงได้นำแผ่นนพเก้าที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ออก และมอบให้ทางวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อมอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาทำบุญสร้างนพศูลทองคำติดบนยอดพระปรางค์ แผ่นนพเก้านี้ มีอายุ ๑๐๖ ปี ใครบูชาหรือมีไว้นับว่าเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งครับ
    นพเก้านี้จากการบอกเล่าจากคนเฒ่า คนแก่บอกว่าเมื่อสมัยก่อนจนถึงปัจจุบันนี้เมื่อมีงานพุทธาภิเษกพระหรืองาน มงคลต่างๆทางวัดใหญ่ก็จะนำสายสิญจ์ขึ้นไปโอบพันรอบพระปรางค์เก่านี้ไว้โดย ตลอด เท่ากับว่านพเก้านี้ผ่านการปลุกเสกมานับไม่ถ้วยเลยทีเดียวครับ แต่ก่อนนั้นนพเก้ากว่าจะได้มาสักหนึ่งองค์นั้นยากแสนยาก เพราะต้องรอนพเก้าหลุดล่วงหล่นลงมาถึงจะมีการเอานพเก้านี้ออกมาให้บูชากัน ครับ ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ทางวัดได้นำนพเก้าออกมาให้บูชาอย่างเป็นทางการครับ ถ้าท่านใดสนใจนพเก้านี้ก็เชิญบูชาไว้เป็นศิริมงคลได้เลยครับ
    นพเก้า สภาพสวยแชมป์ "เก้าจุดยอดนิยม"เปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ นพเก้านี้ไม่ใช่ว่าจะหากันได้ง่ายๆ เพราะอีกนานมากครับกว่าจะได้บูรณะอีก และผ่านพิธีพุทธาภิเษกมานานเเสนนาน
    ปีพุทธศักราช ๒๔๔๔ พระปรากรมุนี (เปลี่ยน) เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้รวบรวมเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา เพื่อซื้อกระเบื้องรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๑ ตารางนิ้ว จากประเทศอิตาลี นำมาปิดรอบองค์พระปรางค์ โบราณสถานที่ประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” แผ่นกระเบื้องนี้ ด้านหน้าปิดด้วยทองคำเปลวซึ่งเรียกว่าเปียกทอง มีสีเหลืองอร่าม ด้านหลังเป็นกระเบื้องเคลือบแบ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็กจำนวน ๙ ช่อง จึงเรียกกระเบื้องนี้ว่า “แผ่นนพเก้า” สี่เหลี่ยมจัตุรัสแต่ละช่องมีปุ่มเล็กๆอยู่ภายใน เพื่อป้ายปูนให้ยึดติดกับองค์พระปรางค์
    ผ่านมานับร้อยกว่าปี แผ่นนพเก้าเริ่มหลุดล่อนออกจากองค์พระปรางค์ ดังนั้นเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๕๐ รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการซ่อมแซมองค์พระปรางค์ โดยลอกแผ่นนพเก้าออกแล้วปิดแผ่นนพศูลเข้าไปแทน และได้มอบแผ่นนพเก้าให้แก่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ให้ผู้มีจิตศรัทธาได้บูชา เพื่อรวบรวมเงินมาใช้ในการจัดสร้างนพศูลทองคำ ติดไว้บนยอดองค์พระปรางค์
    ในขณะนี้แผ่นนพเก้ามีอายุ ๑๑๑ ปี (๒๕๕๕) ซึ่งในการปลุกเสกวัตถุมงคลทุกครั้ง จะต้องผูกโยงสายสิญจน์ออกจากองค์พระปรางค์เข้าไปยังวิหารพระพุทธชินราช ดังนั้นแผ่นนพเก้าจึงเป็นวัตถุมงคล-สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ควรค่าแก่การบูชา ผู้มีแผ่นนพเก้าไว้บูชา ย่อมนับว่าเป็นมงคลอย่างสูงยิ่ง
    ผู้มีแผ่นนพเก้าไว้บูชา ย่อมนับว่าเป็นมงคลอย่างสูงยิ่ง ทองคำที่เห็นเป็นทองคำแท้ที่มีอายุ100กว่าปี ผ่านการปลุกเสกนับครั้งไม่ถ้วน รับแสงเดือนแสงจันทร์ แสงพระอาทิตย์ ดูดซับพลังศักดิ์สิทธิ์ไว้มาตลอด100กว่าปี สัญลักษณ์เลข9บนกระเบื้องเป็นเลขแห่งมงคล บูชาแล้วเป็นสิริมงคลเหนืออื่นใด

    " ปิดบูชา "

    3-0.jpg 3-1.jpg 3-2.jpg 3-3.jpg 3-4.jpg 6376d4083db1eac06bf42ab6.jpg 114269573_3154935817895513_5489794420374327077_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2024

แชร์หน้านี้

Loading...