*วัตถุมงคล เริ่มหน้า66*พระกรุ,ลป.สรวง เทวดาเล่นดิน,ลพ.ฤาษี,ลพ.หวล และอื่นๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Pitiphat, 25 มีนาคม 2018.

  1. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่24 เหรียญหลวงพ่อวิริยังค์ ปี28 วัดธรรมมงคล กทม. (งานฝังลูกนิมิตวัดอมาตยาราม ปราจีนบุรี)
    คุณ ลานเปล่า นิมนต์ครับ
    IMG_20180316_183251 (1).jpg
    IMG_20180316_183240.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  2. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่25 เหรียญหลวงพ่อผาง จิตตคุตโต รุ่น เจติยานุสรณ์ ปี 2520 เนื้อทองแดงรมดำ
    เหรียญหลวงพ่อผาง จิตตคุตโต รุ่น เจติยานุสรณ์ ปี 2520 เนื้อทองแดงรมดำ หายาก เจตนาสร้างดีเยี่ยม เพื่อแจกจ่ายเป็นที่ระลึกในงานฉลองเจดีย์พิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่ ที่จัดสร้างขึ้นภายในวัด (เหรียญนี้ผ่านการอธิฐานจิตจากหลวงปู่ ก่อนท่านละสังขาร ในปี 2525) พุทธคุณเด่นดีทุกทางครบสูตร เข้มขลังสุดๆ มีไว้บูชาเป็นมงคลสูงยิ่ง เหรียญมีประสพการณ์ดีมาก เช่น คงกระพันมหาอุด แคล้วคลาดปลอดภัยดียิ่ง (ให้ใช้ป้องกันตัว อย่าลอง อย่าประมาท หลวงปู่ท่านไม่ให้ตั้งในความประมาท ต้องเป็นคนดีพระจึงคุ้มครอง) ได้เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยม นำมาแบ่ง ครับผม หลวงพ่อผาง ท่านเป็นอริยะสงฆ์ แห่งจังหวัดของแก่น ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น นับเป็นเกจิอาจารย์องค์สำคัญอีกหนึ่งองค์ ของสายหลวงปู่มั่น และในอดีตท่านยังเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วประเทศ วัตถุมงคลของท่านได้รับความนิยมมากทุกรุ่นจากอดีต จนถึงปัจจุบัน วงการพระเครื่องไม่มีใคร ไม่รู้จักหลวงพ่อผาง และยังเกิดประการณ์มากมายแทบจะทุกรุ่น ว่ากันว่า วัตถุมงคล ถ้าหากท่านอธิฐานจิตให้แล้ว หายห่วง ทุกรุ่นเข้มขลังมากๆ ครับผม
    ปิดครับ
    IMG_20180221_203614.jpg
    IMG_20180221_203557.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  3. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่26 เหรียญหลวงปู่คาน คันทโย วัดโพธิ์ชัย ปี2520 จ.นครพนม "ตอกโค้ด ด้านหน้า"
    วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7164 ข่าวสดรายวัน

    "หลวงปู่คาร คันธิโย" อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ต.ท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นคร พนม พระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ ในอดีตเมื่อกว่า 90 ปีที่แล้ว ท่านได้ก่อตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรมให้ความรู้พระภิกษุ-สามเณรได้ศึกษาพระธรรมวินัย

    หลวงปู่คาร ยังเป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน พระเถระผู้ก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทน

    อีกทั้ง หลวงปู่คาร ยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม พระอริยสงฆ์ชื่อดังของเมืองไทย

    อัตโนประวัติ เกิดในสกุล สุวรรณมาโจ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2424 ณ ต.ท่าอุเทน หมู่ 3 อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม โยมบิดา-มารดาชื่อ ท้าวโพสะราช (นามตราตั้งของรัชกาลที่ 4) นามเดิมชื่อ นายบุตร และนางบุตรศรี สุวรรณมาโจ เป็นบุตรชายคนสุดท้องในพี่น้อง 3 คน

    ในช่วงวัยเยาว์ ได้มีโอกาสศึกษาหนังสือธรรมจากวัดในหมู่บ้าน

    ปี พ.ศ.2445 อายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ชัย ต.ท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม โดยมีพระครูทน แห่งวัดโพนแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระเคน อุตตโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระหนู วิริโย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลังบวชได้ 1 พรรษา ได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ไปเรียนที่กรุงเทพฯ ในสำนักวัดเทพธิดาราม โดยมีพระสุนทรสมาจารย์ เป็นเจ้าอาวาส ท่านใช้เวลาศึกษานาน 10 ปี จึงสำเร็จมูลกัจจายน์และแปลพระธรรมบท

    แต่ในห้วงเวลาดังกล่าว ขณะเตรียมสอบชั้นเปรียญธรรม ได้ทราบข่าวพี่ชายเสียชีวิต จึงเดินทางกลับมาบ้านทำศพพี่ชายและพี่สะใภ้ที่ป่วยตายด้วยโรคอหิวาตกโรค และไม่ได้กลับไปกรุงเทพฯ อีกเลย

    ต่อมา พระโพธิราช เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ได้มรณภาพ ทำให้ขาดพระผู้ปกครอง พ.ศ.2456 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย นับแต่นั้นมา ด้วยในสมัยก่อนยังไม่มีการแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์จากส่วนกลาง คณะสงฆ์ในอำเภอมีอำนาจแต่งตั้งให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตร

    หลวงปู่คาร ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้พระเถระชื่อดัง เป็นกำลังสำคัญในบวรพระพุทธศาสนา 2 รูป คือ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม และหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล วัดป่าบ้านคุ้ม จ.อุบลราชธานี

    ระหว่างที่เปิดสำนักเรียนมูลกัจจายน์ที่วัดโพธิ์ชัย ได้มีพระภิกษุสามเณร เดินทางมาเล่าเรียนศึกษากันเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่านเป็นพระผู้ทรงคุณวุฒิที่รับหน้าที่อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรให้ท่องจำพระปาติโมกข์ สวดมนต์ 7 ตำนาน 12 ตำนานได้อย่างคล่องแคล่ว ด้วยการสอนแบบมุขปาฐะ หรือแบบปากเปล่าท่องจำ

    กล่าวได้ว่า ในช่วงเวลาแห่งการดำรงสมณเพศ หลวงปู่คาร ไม่ได้รับตำแหน่งทางปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยท่านเพียงทำหน้าที่เป็นครูผู้อบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดและอบรมศีลธรรมให้แก่อุบาสกอุบาสิกาเท่านั้น

    นอกเหนือไปจากการให้ความรู้แก่พระภิกษุสามเณรแล้ว ด้านการพัฒนาวัดท่านยังได้ร่วมกับชาวบ้านก่อสร้างอุโบสถ (สิม) หลังใหม่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน แทนสิมหลังไม้หลังเก่า ที่ชำรุดทรุดโทรมสมัยพระครูขันธ์ เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 1 โดยใช้เวลาก่อสร้างนาน 4 ปี

    จากนั้นยังได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญ (หอแจก) ครอบพระเจ้าองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.40 เมตร สูง 4 เมตร ที่สร้างมาพร้อมกับวัดโพธิ์ชัย ประดิษฐานอยู่ในศาลาการเปรียญหลังใหม่ พร้อมกุฏิสงฆ์ 3 หลัง

    หลวงปู่คาร เป็นพระที่ยึดมั่นในศีลธรรม จะคอยอบรมลูกศิษย์อย่าประมาทในศีล แม้สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ในพระวินัยจะประมาทไม่ได้เด็ดขาด แม้การตากผ้าสบงจีวรแล้วมิได้เฝ้าดูรักษา ก็จะตำหนิพระลูกศิษย์ เป็นสมณะต้องมักน้อยสันโดษ เป็นอยู่ง่ายๆ กินแต่น้อย ไม่สะสมทรัพย์สิ่งของ

    ในช่วงบั้นปลายชีวิต สุขภาพร่างกายของท่านไม่แข็งแรงดังเดิม กระทั่งวันที่ 19 กันยายน 2520 เวลา 20.20 น. ท่านได้ละสังขารอย่างสงบ ด้วยโรคชราภาพ สิริอายุได้ 96 ปี พรรษา 75

    ท่ามกลางความเศร้าสลดแก่คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่เคารพเลื่อมใส

    "หลวงปู่คาร คันธิโย" เป็นนามแห่งพระเถระที่คณะศิษย์และสาธุชนชาวเมืองนครพนม ต่างเลื่อมใสศรัทธา นำคำสั่งสอนไปปฏิบัติและเผยแผ่ขจรขยายในต่างแดนตราบเท่าทุกวันนี้

    แม้ท่านจะละสังขารจากไปนานแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดี ต่อวงการศึกษาและพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ ยังคงเป็นที่จดจำได้อย่างไม่มีวันลืมเลือน
    มาจากหนังสือพิมพ์ : ข่าวสด

    ปิดครับ
    IMG_20180221_202216.jpg
    IMG_20180221_202241.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  4. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่27 พระใบโพธิ์ ฝังพลอย รุ่นบูรณะเจดีย์ ปี2546 หลวงพ่อทอง วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
    พระธุตังคเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่ท่านพ่อลี ได้ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยเริ่มดำริขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2500 และได้รับการสานต่อ จนเสร็จสมบูรณ์ตามเจตนารมย์ของท่าน ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2509 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่เจดีย์ประธานองค์ใหญ่

    เจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ.2546 โดยมีหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิกมล) เป็นองค์อุปถัมภ์ และได้เพิ่มเติมด้วยการบรรจุพระอรหันตธาตุ ของอริยสงฆ์ไทยในยุคปัจจุบันไว้ด้วย (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นผู้คัดเลือก) ซึ่งในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2551 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จเป็นประธานในการบรรจุ

    พระธุตังคเจดีย์ เป็นอนุสรณ์สถานแห่งธุดงควัตร ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง และมีความหมายที่เกี่ยวเนื่องกับหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลายประการ พระเจดีย์ทั้ง 13 องค์ หมายถึง ธุดงควัตร 13* องค์เจดีย์วางเรียงทางเฉียงนับได้ 7 องค์ หมายถึง โพชฌงค์ 7** กลุ่มเจดีย์จัดเรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส หมายถึง อริสัจ 4*** เจดีย์มี 3 ชั้น หมายถึง ญาณไตรปริวัฏ**** และพระเจดีย์ประธานองค์ใหญ่ชั้นบนสุดเปรียบเสมือน พระนิพพาน
    เจดีย์หมู่ 13 องค์ เป็นกลุ่มเจดีย์สีขาวโดดเด่นสะดุดตา ทาสีทองขลิบตัดเฉพาะบริเวณยอดซุ้มประตู ทำให้ดูสวยงามสง่า และสงบเงียบเรียบร้อยในคราวเดียวกัน พระเจดีย์ตั้งอยู่บริเวณกลางของเขตพุทธาวาส กินบริเวณกว้าง หมู่เจดีย์มีลานประทักษิณ และรั้วกั้นล้อมรอบ


    องค์เจดีย์ทั้งหมดจัดวางอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ที่ลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นยอดเจดีย์องค์ใหญ่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้น มีเจดีย์บริวารประจำอยู่ทั้ง 4 มุม และมีระเบียงแก้วล้อมรอบ บันไดทางเดินอยู่ภายนอกอาคาร เชื่อมต่อกับลานระเบียงที่ล้อมรอบอาคารตรงกลางไว้ เจดีย์ทุกองค์ เป็นเจดีย์กลมทรงลังกา วางอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม เจดีย์ที่อยู่ตรงกลางชั้นบนสุดเป็นเจดีย์ประธานองค์ใหญ่ มีซุ้มยื่นออกมาทั้ง 4 ด้านขององค์เจดีย์ ภายในซุ้มประดิษฐาน พระพุทธรูปยืนปางต่างๆ กัน ได้แก่ ปางรำพึง ปางห้ามญาติ (ปางห้ามสมุทร) ปางอุ้มบาตร และปางเปิดโลก

    ชั้น 1 เป็นชั้นที่จัดวางโมเดลจำลองของกลุ่มพระธุตังคเจดีย์ จุดกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ

    ประดิษฐานพระธาตุ และหุ่นปั้นรูปเหมือนของเกจิอาจารย์หลายองค์ เช่นหลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ดุลย์ อตุโล หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)

    ชั้น 2 ประดิษฐานรูปหล่อพระอริยสงฆ์ และพระอรหันตธาตุ ของพระกรรมฐานในสายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ได้รับคัดเลือกจากหลวงตามหาบัว จำนวน 28 องค์ ได้แก่

    - หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี
    - หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    - หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
    - หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย
    - หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
    - หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่
    - หลวงพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
    - หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จังหวัดสุรินทร์
    - หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่
    - หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล วัดรังสีปาลิวัน จังหวัดกาฬสินธุ์
    - หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง จังหวัดอุดรธานี
    - หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จังหวัดบุรีรัมย์
    - พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วบ้านชุมพล จังหวัดสกลนคร
    - หลวงปู่ผาง ปริปุณโณ วัดประสิทธิธรรม จังหวัดอุดรธานี
    - หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคมคีรีเขต จังหวัดขอนแก่น
    - หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) จังหวัดมุกดาหาร
    - พระอาจารย์ จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) จังหวัดหนองคาย
    - หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี
    - หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จังหวัดปทุมธานี
    - หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
    - หลวงพ่อคำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จังหวัดเลย
    - หลวงพ่อตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก จังหวัดนครพนม
    - หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร
    - หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม จังหวัดอุดรธานี
    - หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู
    - หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จังหวัดเลย
    - หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จังหวัดอุดรธานี
    - หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

    ชั้น 3 (ชั้นบนสุด) เป็นลานระเบียง มีองค์เจดีย์ประธานอยู่ตรงกลาง แต่ละด้านของเจดีย์มีซุ้มที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ทั้ง 4 ทิศ ชั้นนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้โดยรอบ
    ปิดครับ
    IMG_20180219_204754.jpg
    IMG_20180219_204742.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  5. ลานเปล่า

    ลานเปล่า สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2017
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +18
    รบกวนจองรายการ 17,20,23,24 ครับ
     
  6. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่28 หลวงปู่สิม เหรียญรุ่น ๓ สันติเจดีย์พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดง
    ประวัติการจัดสร้าง เหรียญสันติเจดีย์ ๑๗-๗-๑๗ เหรียญรุ่น ๓ รุ่นนี้ จัดสร้างด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของคุณแม่นิ่มคิ้ม แซ่เฮ้ง โดยการขออนุญาต หลวงปู่สิม ในการจัดสร้างเพื่อร่วมทำบุญในการจัดสร้าง สันติเจดีย์ วัดสันติธรรม จ.เชียงใหม่ โดยคุณชัชวาลย์ ชุติมา เป็นผู้ประสานงานในการจัดสร้าง โดยการติดต่อ นายช่างเกษม มงคลเจริญ (ช่างแกะพระสุดยอดฝีมือ แห่งยุคในสมัยนั้น) เป็นผู้แกะบล๊อคแม่พิมพ์พระให้ โดยในออกแบบเหรียญด้วยกัน ๒ ขนาดคือ เหรียญกลมขนาดใหญ่ประมาณเหรียญ 10 บาท และ เหรียญกลมขนาดเล็ก ประมาณเหรียญ 1 บาท โดยมีการจัดสร้างด้วยเนื้อเงิน นวะโลหะ และ เนื้อทองแดง โดยเหรียญชุดนี้ได้รับการอธิษฐานจิตปลุกเสก จาก ๓ พระอรหันต์สายกัมฐาน แห่ง เมืองเชียงใหม่ในยุคนั้น นั่นคือ 1 หลวงปู่แหวน สุจิณโณ 2 หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม 3 หลวงปู่สิม พุทธาจาโร นี่คือ เหรียญดี พิธีดี เจตนาการจัดสร้างดี ที่ถูกซ่อนเร้น ของ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แห่ง ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    ปิดครับ
    IMG_20180330_223108.jpg
    IMG_20180330_223059.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  7. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจองครับ
     
  8. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่29 เหรียญรูปเหมือนใบโพธิ์จิ๋ว ท่านพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ขนาด(1.5x2ซม.) มีตอกโค๊ตกำกับ ออกแบบสวยงาม สภาพสวย เก็บเก่าเดิมๆ ขนาดเล็กน่าใช้...ปี 06
    ปิดครับ
    IMG_20180215_195649.jpg
    IMG_20180215_195633.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  9. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่30 เหรียญรุ่นเมตตาธรรมหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร อายุ73ปี วัดดงเย็นมหาวิหาร ร้อยเอ็ด ปี36
    ปิดครับ
    IMG_20180213_220128.jpg
    IMG_20180213_220116.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  10. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่31 พระโพธิจักรห้าเหลี่ยม หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ปี2500 เนื้อผงเกษร
    คุณ ลานเปล่า นิมนต์ครับ
    IMG_20180212_205730.jpg
    IMG_20180212_205715.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  11. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่32 พระใบโพธิ์ หลวงพ่อลี เนื้อดิน พิมพ์เล็ก
    คุณ ลานเปล่า นิมนต์ครับ
    IMG_20180207_221112.jpg
    IMG_20180207_221058.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  12. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่33 เหรียญหยดน้ำพระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล ฉลองพระมหาเจดีย์ ปี๓๖
    ปิดครับ
    IMG_20180211_221930.jpg
    IMG_20180211_221909.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  13. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่34 พระกริ่งญาณวิศิษฏ์ หลวงพ่อทอง วัดอโศการาม
    หลวงพ่อทองท่านสร้างพระกริ่งไว้แจกให้กับพระที่บวชและมาจำพรรษาที่วัดรวมถึงญาตฺโยมที่มาร่วมงานและมากราบท่านที่วัดด้วยครับ หายากครับ คนในพื้นที่หากันมากใครมีก็เก็บเงียบกันหมดครับ
    ประวัติ พระญาณวิศิษฏ์ หรือ หลวงพ่อทอง จนฺทสิริ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2475 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี ณ พื้นเพเดิมครอบครัวเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกันทั้งหมด 9 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 5 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 6 ต่อมาครอบครัวอพยพย้ายถิ่นฐานมาปักหลักอยู่ ณ ต.วังใหญ่ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 และเป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันของวัดอโศการาม โดยได้รับสถาปนาตำแหน่งสืบต่อจาก พระเทพโมลี (สำรอง คุณวุฑฺโฒ) ในชีวิตวัยเยาว์ของท่าน ท่านศึกษาจบชั้นเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต้องเลิกเรียนกลางคันเพื่อมาช่วยเหลือทางบ้านทำนาหาเลี้ยงปากท้อง
    บรรพชา อุปสมบท ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2494 ขณะมีอายุได้ 19 ปี ณ วัดป่าคลองกุ้ง ต.ตลาด อ.เมือง จ.จันทบุรี จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 21 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2496 ก่อนย้ายไปพักจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาแก้ว ต.หนองตาคง อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
    ปฏิบัติธรรม ผู้ที่คอยชี้ทางส่งเสริมให้ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ไม่ใช่ใครอื่นที่ไหน คือ พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมมฺธโร) หรือท่านพ่อลี ธมฺมธโร ผู้ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาแท้ๆ นั่นเอง[2] หลวงพ่อทอง ได้ศึกษาวิชาความรู้จากท่าน ถึงแม้ว่าท่านจะเคยศึกษาวิชาบาลีที่กรุงเทพ ฯ มาแล้วก็ตาม จนมาถึงปี พ.ศ. 2500 ไปจำพรรษาที่สำนักสงฆ์บ้านสันกอเก็ด ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา 3 ปี กระทั่งท่านพ่อลีได้มรณภาพลง ท่านจึงได้กลับมาอยู่ที่วัดอโศการาม และท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอโศการามเมื่อปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน ในด้านพระธรรม หลวงพ่อทองท่านมักจะเน้นเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และท่านก็เคยกล่าวไว้ว่า การฝึกธรรมมะ ต้องรู้จักการฝึกความอดทนไว้ก่อน และต้องมีสติด้วย เพราะมนุษย์ ไม่มีจุดยืนในความคิด ชอบใช้สติปัญญาของตนไปตัดสินโดยการสังหารกิเลสของตนเอง เมื่อสมาธิเป็นสมถะจิตจะบังเกิดความสงบ อย่างบางคนบอกอะไรอนิจจัง อะไรไม่เที่ยง อะไรก็อยู่ไม่ได้ อะไรแตกดับ ทำไมไม่ถึงวิปัสสนา เพราะใจมันยังไม่มีสมถะ ใจมันไม่นิ่ง ใจมันส่ายไปมา พอใจหยุดนิ่ง สิ่งที่เห็นคือพระ สิ่งที่เห็นด้วยใจ ไม่ได้เห็นจากดวงตา สิ่งที่มันเกิดคือผู้รู้แท้ ถ้ารู้ใจเจ้าของคือผู้รู้ตน ใจก็อยู่ที่ใจ ไม่ใช่เอาใจไปไว้ที่หัวหรือบนผม รู้จักที่มาที่ไป ไม่ใช่ไปรู้ตามหนังสือที่เขียน แล้วก็หอบสังขารไป” พระอาจารย์ทองท่านเป็นนักเทศน์ธรรมมะรูปหนึ่ง ที่ติดรับกิจนิมนต์ตลอดเวลา

    คุณ shaj นิมนต์ครับ

    IMG_20180206_214942.jpg
    IMG_20180206_214927.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  14. ลานเปล่า

    ลานเปล่า สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2017
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +18
    รบกวนจองรายการ31,32ครับ
     
  15. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,904
    ค่าพลัง:
    +6,825
    ขอจอง 34ครับ
     
  16. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจองครับ
     
  17. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจองครับ
     
  18. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่35 เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต รุ่นช่วยสร้างวัดลำผักชี ปี2520
    ปี ๒๕๒๐ (๕ พ.ค.) หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตเหรียญรุ่นช่วยสร้างวัดลำผักชี

    ปิดครับ
    IMG_20180126_190632.jpg
    IMG_20180126_190618.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  19. wutchara0342

    wutchara0342 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2017
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +196
    จองรายการนี้ครับ
     
  20. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่36 เหรียญหลวงพ่อหินศักดิ์สิทธิ์ นฤมิตมหามงคล วัดป่าแป้น เพชรบุรี ปี 2517
    "หลวงพ่อหิน วัดป่าแป้น" ประดิษฐานอยู่บริเวณหน้าอุโบสถ วัดป่าแป้น ต.บ้านลาด อ.เมือง จ.เพชรบุรี ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองเพชรบุรี ให้ความเลื่อมใสศรัทธา

    หลวงพ่อหินศักดิ์สิทธิ์ วัดป่าแป้น เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินแกรนิต สีเขียวอมเทา พุทธลักษณะแบบปางห้ามสมุทร สูงประมาณ 145 เซนติเมตร ฐานกว้าง 58 เซนติเมตร ปัจจุบันประชาชนได้นำทองคำเปลวมาปิดจนทึบ ทำให้รูปทรงหลวงพ่อหินหนาขึ้นจากเดิม

    ศิลปะในการแกะสลัก เป็นพระพุทธรูปยืนยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างเสมอพระอุระ รูปทรงเป็นศิลปะสมัยทวารวดี แต่ที่สำคัญองค์พระพุทธรูปยังสร้างไม่แล้วเสร็จ เพียงแต่โกลนรูปทรงไว้เบื้องต้นเท่านั้น

    สันนิษฐานว่าผู้ที่สร้าง อาจมีการเคลื่อนย้ายไปตกแต่งให้สมบูรณ์ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจน เพียงแต่พิจารณาตามลักษณะของพระพุทธรูปใช้หินแกรนิต ซึ่งใน จ.เพชรบุรี ไม่มีแหล่งวัตถุดิบดังกล่าว หรือหินที่จะนำมาสร้างพระพุทธรูปได้ มีแต่หินจากภูเขาลูกรังและภูเขาหินเป็นส่วนใหญ่ จึงสันนิษฐานว่า องค์หลวงพ่อหินจะต้องถูกเคลื่อนย้ายมาจากทิศตะวันตก แถบเทือกเขาตะนาวศรี โดยล่องมาทางแม่น้ำเพชรบุรี สอดคล้องกับสถานที่พบ

    โดยหลวงพ่อหิน วัดป่าแป้น ได้ถูกขุดค้นพบ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2515 โดยชาวบ้านหมู่ 3 ต.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ถูกฝังกลบอยู่ในดินภายในสวนละมุดใกล้กับแม่น้ำเพชรบุรี

    ภายหลังชาวบ้านได้นำพระพุทธรูปดังกล่าว ไปถวายวัดป่าแป้น ซึ่งเป็นวัดภายในหมู่บ้าน

    เจ้าอาวาสจึงได้นำไปประดิษฐานไว้บริเวณด้านหน้าอุโบสถ และได้แจ้งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ ได้มีข้อสรุปว่า พระหินขุดพบเป็นพระหินที่สร้างยังไม่เสร็จ ศิลปะแบบทวารวดี พระเกตุมาลาเป็นมุ่นมวยผม การแกะสลักทำแต่เพียงโกลนแบบไว้เท่านั้น จึงไม่ได้จดทะเบียนเป็นวัตถุโบราณ และให้ตั้งประดิษฐานไว้ที่วัดป่าแป้น สืบต่อจนถึงปัจจุบัน

    ภายหลังการนำ พระพุทธรูปหินประดิษฐานไว้ที่หน้าอุโบสถวัดป่าแป้น ได้มีชาวบ้านพบเห็นแสงสว่างเกิดขึ้นบริเวณหน้าอุโบสถเป็นประจำ

    ที่สำคัญหลังข่าวการขุดพบพระหินสมัยโบราณแพร่กระจาย ได้มีประชาชนทั้งในจังหวัดเพชรบุรีและต่างจังหวัด เดินทางมากราบไหว้ขอพรอย่างเนืองแน่น ทำให้ทางวัดได้สร้างแท่นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขึ้นใหม่ ให้ดูสวยงาม และมีมติจากคณะกรรมการวัดและชาวบ้าน ได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปว่า "หลวงพ่อหินศักดิ์สิทธิ์ นฤมิตมหามงคล"

    มีชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ ป่วยมาอธิษฐานกับ หลวงพ่อหินให้ช่วยปัดเป่ารักษาให้หาย โดยนำน้ำมนต์ไปดื่มกิน ต่อมาอาการป่วยก็หายเป็นปลิดทิ้ง ทำให้ข่าวความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อหิน แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว

    พระมหาประสงค์ มหาวีโร เจ้าอาวาสวัดป่าแป้น เผยว่า วัดป่าแป้นได้จัดงานนมัสการปิดทองหลวงพ่อหินเป็นประจำทุกปี โดยจัดในช่วงวันสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน แต่ละปีจะมีประชา ชนมากราบไหว้นมัสการหลวงพ่อหินจำนวนมาก

    จากการสอบถามพุทธศาสนิกชน ที่มากราบไหว้ หลวงพ่อหิน วัดป่าแป้น นอกจากมากราบไหว้ปกติแล้ว มีจำนวนมากที่มาแก้บนโดยการทำบุญกับหลวงพ่อหิน สิ่งที่มีการบนบานกันมาก คือ ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตราย หรือแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

    งานที่จัดขึ้นแต่ละปี จะมีประชาชนจากทุกสารทิศเดินทางมากราบไหว้นมัสการ ปิดทองขอพรหลวงพ่อหินเป็นจำนวนมาก แต่พื้นที่บริเวณหน้าอุโบสถคับแคบ เมื่อประชาชนมากันจำนวนมาก จะเกิดความแออัด ทางวัดจึงเตรียมสร้างมณฑป เพื่อประดิษฐาน หลวงพ่อหิน วัดป่าแป้นขึ้นใหม่ โดยใช้บริเวณใกล้กับอุโบสถ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง

    สำหรับวัดป่าแป้น เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่โบราณสถานเกือบทั้งหมด ได้ถูกบูรณะก่อสร้างขึ้นใหม่ สิ่งที่ยังบอกถึงความเก่าแก่ คือ อุโบสถ ที่มีประตูเข้าออกเพียงทางเดียว หรือที่เรียกว่าโบสถ์มหาอุด แต่มีการสร้างตกแต่งใหม่ภายหลัง

    ส่วนเส้นทางที่จะเดินทางไปยัง วัดป่าแป้น อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษมประมาณ 5 ก.ม. เริ่มจาก 4 แยกทาง หลวง ไปตามถนนสาย อ.บ้านลาด ปัจจุ บันมีการก่อสร้างขยายถนนเพชรเกษม ช่วง 4 แยกทางหลวง มีการยกระดับ โดยรถยนต์ที่วิ่งมาบนถนนเพชรเกษมขาล่องใต้ เมื่อมาถึง 4 แยกทางหลวง ต้องเลี้ยวขวาลงใต้สะพาน ข้ามถนนไปสู่ถนนสาย อ.บ้านลาด จากนั้นก็วิ่งไปตามถนน ตรงไปไม่นานก็จะถึงทางเข้าวัด ที่อยู่ทางซ้ายของถนน มีป้ายบอกชัดเจน
    ปิดครับ
    IMG_20180331_104121.jpg
    IMG_20180331_104111.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...