///วัตถุมงคล/เครื่องราง...เริ่มหน้า 72..//

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Pitiphat, 20 มกราคม 2018.

  1. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่11 รูปถ่ายหลวงพ่อเคน วัดถ้ำเขาอีโต้ จ.ปราจีนบุรี ด้านหล ังบรรจุตะกรุดคู่, นกสาริกาไม้แกะคู่ และ ไซมหาลาภ
    คุณพื้นทรายนิมนต์แล้วครับ
    IMG_20180121_213219.jpg
    IMG_20180121_213204.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  2. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่12 นางกวัก หลวงพ่อสุด หลังตะกรุด
    คุณพื้นทรายนิมนต์แล้วครับ

    IMG_20180121_213151.jpg
    IMG_20180121_213137.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  3. พื้นทราย

    พื้นทราย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2015
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +624
    ขอจองรายการนี้ครับ
     
  4. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่13 หลวงพ่อทวด เนื้อว่าน พิมพ์พระรอดฝังตะกรุด
    คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
    “นะโม โพธิสัตว์โต อาคันติ มายะ อิติภะคะวา”
    ขอบารมี หลวงปู่ทวด คุ้มครองทุกท่าน ให้ปลอดภัย ภาวนาคาถาหลวงปู่ทวด ขอให้โชคดี แคล้วคลาด ปลอดภัย ทุกๆท่าน

    ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้
    หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด เกิดเมื่อ วันศุกร์ เดือน4 ปีมะโรง พ.ศ.2125 ณ บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีชื่อว่า “ ปู่ ” หรือ “ ปู ” บิดามีนามว่า (ตาหู) มารดามีนามว่า (นางจันทร์) มีฐานะยากจนปลูกบ้านอาศัยที่ดินเศรษฐีผู้หนึ่งไว้ชื่อ “ปาน” ตาหูและนางจันทร์เป็นข้าทาสของเศรษฐีปาน แห่งเมืองสทิงพระ ระยะที่หลวงพ่อทวดเกิด เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวในนา ในระหว่างที่พ่อแม่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่ ได้ผูกเปลให้ลูกน้อยนอน ทำงานไปก็คอยเหลียวดูลูกน้อยเป็นระยะ แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น คือนางจันทร์ได้เห็นงูตัวใหญ่มาพันที่เปลลูกน้อยแล้วชูคอแผ่แม่เบี้ย นายหู-นางจันทร์ได้พนมมือบอกเจ้าที่เจ้าทาง อย่าให้ลูกน้อยได้รับอันตรายใดๆเลย ด้วยอำนาจบารมีของเด็กน้อยเจ้าปู่ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปู่ยังคงนอนหลับปุ๋ยสบายดีอยู่เป็นปกติ แถมมีลูกแก้วกลมใส ขนาดย่อมกว่าลูกหมากเล็กน้อยส่องเป็นประกายอยู่ข้างตัวเด็ก ตาหู นางจันทร์ มีความเชื่อว่าเทวดาแปลงกายเป็นงูใหญ่นำดวงแก้ววิเศษมามอบให้กับลูกของตน เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่อง จึงไปพบตาหู-นางจันทร์แล้วเอ่ยปากขอดวงแก้วนั้นซึ่งตาหู-นางจันทร์ ไม่อาจปฏิเสธได้เศรษฐีปานจึงได้ลูกแก้วไปครอบครอง แต่ไม่นานนักเกิดเหตุวิบัติต่างๆกับครอบครัวของเศรษฐีบ่อยๆ พอหาสาเหตุไม่ได้เลยนึกได้ว่าอาจจะเกิดจากดวงแก้วนี้ จึงนำไปคืนให้ ตาหู-นางจันทร์เจ้าของเดิม ส่วนตาหู-นางจันทร์เมื่อได้ดวงแก้วกลับคืนมาจึงเก็บรักษาไว้อย่างดี นับแต่นั้นมาฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัว ก็ดีขึ้นเป็นเรื่อยๆ พออายุได้ประมาณ 7ขวบ บิดามารดาพาไปฝากไว้กับ สมภารจวง วัดดีหลวง เพื่อให้เรียนหนังสือ เมื่ออายุได้ 14ปี สมภารจวง วัดดีหลวง จึงบวชเณรให้แล้วพาไปฝากไว้กับพระครูสัทธรรมรังสี วัดสีหยง เพื่อเรียนมูลกัจจายน์

    ท่านพระครูสัทธรรมรังสี องค์นี้ทางคณะสงฆ์ของแผ่นดินจากกรุงศรีอยุธยาได้ส่งท่านมาเผยแพร่ศาสนาและสั่งสอนธรรมทางภาคใต้ เมื่อ “สามเณรปู่” เรียนอยู่ได้จนอาจารย์ไม่มีอะไรจะสอนแล้วจึงได้แนะนำให้สามเณรปู่ ไปเรียนต่อที่ สำนักพระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อสามเณรปู่ อายุครบ 20ปี พระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง ได้อุปสมบทตามเจตนารมณ์ของสามเณรปู่ และทำญัตติอุปสมบทตั้งฉายาว่า “ สามีราโม” โดยเอาเรือ 4ลำ มาเทียบขนานเข้าเป็นแพ ทำญัตติ ณ คลองเงียบแห่งหนึ่ง ต่อมาก็เรียกคลองนี้ว่า “คลองท่าแพ” มาจนทุกวันนี้ ซึ่งเป็นชื่อจากพิธีกรรมในครั้งอดีต

    ส่วนสาเหตุที่สมเด็จเจ้าพะโคะหายไป(หลวงพ่อทวด)โดยมิได้บอกกล่าวใคร ไม่มีใครรับรู้มาก่อนว่าท่านไปไหนมีความจำเป็นอะไรที่ละทิ้งวัดไปไม่มีใครรู้ทั้งนั้นนอกจากตัวท่านเอง หนังสือบางเล่มที่เขียนกันมาตอนหลังๆ ตามบันทึกของท่านพระครูวิริยานุรักษ์ วัดตานีสโมสร ปัตตานี ซึ่งเขียนจากคำบอกเล่าของพระอุปัชฌาย์ดำ ดิษโร วัดศิลาลอย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาว่า ก่อนที่สมเด็จท่านพะโคะจะหายตัวไปจากวัดพะโคะได้มีสามเณรรูปหนึ่งมาหาท่านที่กุฏิ ไม่ทราบเรื่องอะไรแล้วก็ล่องหนหายตัวไปทั้ง2องค์ คือมีสามเณรผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยรูปหนึ่งอุทิศถวายชีวิตตนใว้ในพระพุทธศาสนาได้อธิฐานจิตว่าก่อนจากโลกนี้ไปขอได้เฝ้าเบื้องพระพักตร์ของพระศรีอาริย์โพธิสัตว์ ด้วยกุศลที่สะสมมาแต่ชาติปางก่อนและด้วยกุศลจิตอันแรงกล้า

    กล่าวคือในคืนวันหนึ่งได้มีชายนุ่งขาวห่มขาวมาหาพร้อมทั้งประเคนดอกไม้ดอกหนึ่ง แล้วบอกว่านี่ คือดอกไม้ทิพย์จากสรวงสวรรค์ไม่รู้จักร่วงโรย พระโพธิสัตว์ได้มาจุติชั่วคราวบนโลกมนุษย์นี้แล้ว สามเณรจงถือดอกไม้นี้ออกตามหาเอาเองเถิด ถ้าพระภิกษุรูปใดรู้จักดอกไม้ทิพย์ พระภิกษุรูปนั้นแหละคือพระโพธิสัตว์ซึ่งจะเป็นผู้โปรดเวไนยสัตว์ในโลกหน้า เมื่อชายแก่ให้ดอกไม้ทิพย์แก่สามเณรแล้วก็จากไป สามเณรได้ออกตามหามุ่งหน้าสู่วัดต่างๆ แต่ไม่มีพระภิกษุสงฆ์รูปใดสนใจไต่ถามเลย ด้วยความศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นก็ตระเวนหาไปเรื่อย

    วันหนึ่งสามเณรได้เดินทางมาถึงวัดพะโคะ สามเณรได้พบท่านสมเด็จพะโคะที่กุฏิของท่าน เมื่อท่านหลวงพ่อทวดได้เหลือบไปเห็นดอกไม้ทิพย์ในมือสามเณร จึงถามว่า “นั่นดอกมณฑาทิพย์บนสรวงสวรรค์ ผู้ใดให้เจ้ามา !!”
    สามเณรขนลุกซู่ไปทั้งตัวแน่ใจแล้วว่าตนได้พบ พระโพธิสัตว์แล้วสามเณรจึงนำดอกไม้ไปประเคนแก่ท่าน เมื่อสมเด็จพะโคะรับดอกไม้ทิพย์แล้ว ท่านนั่งคิดอยู่ครู่หนึ่ง จึงกวักมือเรียกสามเณรเข้าไปในกุฏิชั้นใน ปิดประตูหน้าต่างลงกลอน และปาฏิหาริย์เมื่อหายตัวไปทั้ง สามเณรและสมเด็จเจ้าพะโคะตั้งแต่เพลานั้น โดยไม่เหลือร่องรอยไว้ให้เห็นอีกเลย...

    ปิดครับ
    IMG_20180121_205347.jpg
    IMG_20180121_205303.jpg
    IMG_20180121_205534.jpg
    IMG_20180121_205440.jpg IMG_20180121_205504.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  5. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจองครับ
     
  6. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่14 นางกวัก เนื้อผง พร้อมเลี่ยมเข้ากรอบ
    นางกวัก เป็นที่ทราบกันดีว่านางกวักคือรูปปั้นที่มักถูกวางไว้หน้าร้าน และพ่อค้าแม่ขายมีไว้เพื่อกราบไหว้บูชา โดยหวังให้กิจการค้าของตนเจริญรุ่งเรือง

    โดยนางกวักมีชื่อจริงว่า สุภาวดี มีบิดาชื่อ สุจิตพราหมณ์ ส่วนมารดาชื่อ สุมณฑา นางเป็นคนเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองสาวัตถี ครอบครัวของนางมีอาชีพทำมาค้าขาย ต่อมาสุจิตตพราหมณ์ผู้เป็นพ่อต้องการจะขยายกิจการ จึงไปซื้อเกวียนมา 1 เล่ม และสินค้าไปขึ้นเกวียนเพื่อไปเร่ขายตามถิ่นต่างๆ ซึ่งนางสุภาวดี ก็ขออนุญาตบิดาเดินทางตามไปด้วยในบางครั้ง เพื่อหวังเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ระหว่างการค้าขาย

    ระหว่างเดินทางไปค้าขาย นางสุภาวดีได้พบกับ “พระกัสสปเถระเจ้า” ผู้เป็นอริยสงฆ์ เมื่อนางได้รับฟังธรรมเทศนาจากพระกัสสปเถระเจ้า พระกัสสปเถระเจ้าก็ได้กำหนดจิตเป็นอำนาจจิตพระอรหันต์ ประสิทธิ์ประสาทพรให้ครอบครัวของนางสุภาวดีในทุกครั้งที่นางได้มีโอกาสไปฟังธรรม

    ต่อมา นางสุภาวดีได้เดินทางติดตามบิดาของตนไปทำการค้าอีก และได้มีโอกาสฟังธรรมจากพระอริยสงฆ์นามว่า “พระสิวลีเถระเจ้า” ด้วยความตั้งใจ จึงทำให้นางสุภาวดีมีความรู้แตกฉานในหลักธรรมต่างๆ และเนื่องจากพระสิวลีเป็นผู้มีชีวิตอัศจรรย์กว่าพระสงฆ์อื่น กล่าวคือ ท่านอาศัยอยู่ในครรภ์มารดายาวนานถึง 7 ปี 7 เดือน และเมื่อคลอดออกมาก็พร้อมไปด้วยวาสนาและบารมีที่ติดตัวมากับวิญญาณธาตุของท่าน พระสิวลีท่านจึงเป็นผู้ที่มีลาภสักการบูชามาหาท่านตลอดในทุกคราวที่ต้องการ และเมื่อนางสุภาวดีมาฟังธรรมบ่อยครั้งด้วยความตั้งใจ พระสิวลีเถระเจ้าจึงได้กำหนดกุศลจิต ประสาทพรให้แก่ครอบครัวของนางสุภาวดี

    เมื่อจิตของนางสุภาวดีได้รับการประสาทพรจากพระอรหันต์ถึงสององค์ ว่า “ขอให้เจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง จากการค้าขายสินค้าต่างๆสมความปรารถนาเถิด” จึงส่งผลให้บิดาทำการค้าเจริญรุ่งเรือง และได้กำไรอย่างไม่เคยขาดทุน

    เมื่อบิดารู้ว่า นางสุภาวดีคือต้นเหตุแห่งความเป็นมงคลนี้ และทำให้ครอบครัวมีเงินทองไหลมาเทมาไม่ขาดสาย จนกลายเป็นครอบครัวที่ร่ำรวยระดับมหาเศรษฐี พร้อมด้วยเงินทองและกองเกวียนสินค้ามากมาย เทียบเท่ากับธนัญชัยเศรษฐี ผูเป็นบิดาของนางวิสาขาแห่งแคว้นโกศล บิดาของนางสุภาวดีจึงได้หมั่นฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และ ปฏิบัติธรรมด้วยความศรัทธาสืบมา

    เมื่อนางสุภาวดีสิ้นชีวิตลง ชาวบ้านจึงปั้นรูปปั้นของแม่นางสุภาวดีขึ้น เพื่อไว้บูชาเพื่อขอให้การค้ารุ่งเรือง ความเชื่อเรื่องนี้ได้ถูกแพร่หลายข้ามประเทศเข้ามายังสุวรรณภูมิ และยังคงเป็นความเชื่อที่พ่อค้าแม้ค้าทั้งหลายยังคงศรัทธาสืบมาจนถึงทุกวันนี้

    ปิดครับ
    IMG_20180121_213122.jpg
    IMG_20180121_213109.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  7. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่15 เหรียญระฆังสร้างเจดีย์ หลวงพ่อผาง ปี2519
    หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น นามเดิมของท่านชื่อ ผาง ครองยุติ เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือนเก้า ปีขาล ที่บ้านกุดเกษียร ตำลบกุดเกษียร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

    โยมบิดาชื่อ ทัน โยมมารดาชื่อ บัพพา ครองยุติ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 3 คน หลวงปู่เป็นคนสุดท้อง โยมบิดาและมารดามีอาชีพทำนาเป็นหลัก

    เมื่อหลวงปู่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อออกพรรษาจึงได้ลาสิกขาจากแล้วก็ได้สมรสกับ นางจันดี ตามประเพณีโดยไม่มีบุตรสืบสกุล จึงได้ขอบุตรของญาติมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมชื่อ นางบุญปราง

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    ส่วนหลวงปู่ได้เข้าอุปสมบทในฝ่ายมหานิกายที่วัดบ้านกุดเกษียร อำเภอเขื่อนใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีท่านพระครูศรี (วัดคูขาด) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "จิตฺตคุตฺโต"

    ได้เข้าศึกษาอบรมพระกรรมฐานอยู่ในสำนักวัดป่าวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม-(เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์) และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ต่อมาหลวงปู่จึงได้รับการญัตติเป็นธรรมยุต ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 โดยมีพระมหาอ่อน เจ้าคณะอำเภอเขื่องในเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาทรายเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาจันทร์เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    เมื่อหลวงปู่ผางได้รับการญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายแล้ว ท่านก็ยังเข้ารับการอบรมพระกรรมฐานอยู่ในสำนักท่านพระอาจารย์สิงห์ต่อไปอีกเป็นเวลาอันสมควรแล้วจึงได้ออกปฏิบัติพระธุดงค์กรรมฐานไปวิเวกโดยลำพัง ต่อมาจึงได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูมิทตฺโต เกิดความเลื่อมใสได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และได้เข้าอบรมอยู่กับพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านเผือกนาใน ในปี พ.ศ. 2492 หลวงปู่ผางได้ธุดงค์มายังวัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น หลวงปู่ผางเป็นผู้มีความสามารถในการพัฒนาทั้งทางด้านวัตถุและทางด้านจิตใจ หลวงปู่ผางสั่งสอนชาวบ้านให้เลิกนับถือผีหันมานับถือพระรัตนตรัย ท่านอยู่จำพรรษาที่นี่จนตลอดชีวิตของท่าน ได้ละทิ้งขันธ์ไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2525

    ธรรมโอวาท
    หลวงปู่ จิตฺตคุตฺโต เป็นพระนักปฏิบัติที่มั่นคงอดทนเป็นเลิศรูปหนึ่ง ชองทำมากกว่าพูด บทโอวาทเทศนาสั่งสอนต่างๆ จึงไม่ค่อยมี ท่านอุดมคติอยู่ว่า "มีชื่อบ่อยากให้ปรากฏมียศบ่อยากให้ลือชา"

    ศีลข้อห้าเป็นข้อที่หลวงปู่ย้ำเน้นตลอดมา หลวงปู่มักจะให้โอวาทให้พรว่า "อย่าสิเอาพระรัตนตรัยไปกินเหล้า เด้อ" "ให้สำบายๆ เด้อ" "ให้อยู่ดีมีแฮง เด้อ"

    วัตถุมงคล
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ อนุญาตให้จัดสร้างและได้อธิษฐานจิตเหรียญที่ระลึกในงานสร้างพระเจดีย์ วัดพระธาตุหนองบัว จ.อุบลราชธานี ออกที่วัดหนองบัว
    ปิดครับ
    IMG_20180121_205719.jpg
    IMG_20180121_205657.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  8. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่16 ล็อคเก็ตจิ๋ว หลวงปู่แหวน หลังเทียนชัย ตะกรุด + เหรียญหลวงปู่แหวน เนื้อทองแดง
    แหวน สุจิณโณ
    หลวง ปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หรือที่รู้จักกันในนาม "พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม" มีนามเดิมว่า "ญาณ" โยมบิดาชื่อ นายใส โยมมารดาชื่อ นางแก้ว อาชีพทำนาและตีเหล็ก เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านหนองบอน หมู่ 2 ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพี่น้อง 2 คน ท่านเป็นคนที่ 2
    ท่านออก บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุได้ 13 ปี โดยมีจิตมุ่งมั่นจะอยู่ในสมณเพศ ตามแนวความคิดของมารดาเมื่อครั้งยังมีชีวิต เมื่อออกบรรพชาเป็นสามเณรนั้นได้บวชในฝ่ายมหานิกาย โดยมีพระอาจารย์คำมา เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "แหวน" สามเณรแหวนสนใจปฏิบัติธรรมและเรียนรู้ในตำราต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง แม้ด้วยวัยเพียง 13 ปี ท่านก็สามารถอ่านตำราในใบลานได้ทั้งภาษาขอม และภาษาล้านนาจนแตกฉาน ในด้านความประพฤติตนของสามเณรแหวนนี้เป็นที่น่าเลื่อมใสและก่อศรัทธาแก่ผู้ พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านขยันเจริญสมาธิ ฉันอาหารเพียงมื้อเดียว และไม่เสพเนื้อสัตว์ บุคลิกลักษณะสุขุม พูดน้อย ดูเคร่งขรึมสมกับการครองเพศสมณะ

    อาจารย์อ้วน ผู้มีศักดิ์เป็นอาของสามเณรแหวน ได้พิจารณาส่งเสริมความตั้งใจศึกษาของหลานเป็นอย่างดี ได้นำไปฝากเรียนธรรมและวิชาการอื่นๆ ที่สำนักสงฆ์วัดนาสัก อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และได้ไปเรียนต่อ ณ สำนักสงฆ์วัดสร้างถ่อ อำเภอหัวสะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ณ วัดนี้ ได้มีพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ทางภาษาบาลี ภาษาไทย ทำให้ได้เข้าใจและรู้แจ้งในธรรมะขึ้นอีก ความใฝ่รู้ของท่านทำให้รู้และเริ่มเชี่ยวชาญในทางไสยศาสตร์ประกอบไปด้วย

    เมื่อ อายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดสร้างถ่อนอก (ห่างจากวัดสร้างถ่อเล็กน้อย) บวชในฝ่ายมหานิกายเช่นเดิม ได้ศึกษาธรรมวินัย ธรรมปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นผู้รอบรู้ทั้งปริยัติธรรมตลอดจนถึงวิชาอาคมอย่างกว้างขวาง จากความที่ท่านเป็นผู้ชอบแสวงและใฝ่หาความรู้นั้นเอง จึงเกิดความคิดที่จะออกเสาะหาอาจารย์ผู้ที่จะประสิทธิ์ความรู้ให้แก่ท่านต่อ ไปอีก จึงได้ออกเดินทางธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ขณะที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เริ่มออกธุดงค์เพื่อแสวงหาโมขธรรมนั้นอายุได้ประมาณ 30 ปี บ่อยครั้งจากการธุดงค์ได้พบสหายธรรมจากที่ต่างๆ บ้างก็เป็นพระสงฆ์ในแนวมหานิกายด้วยกัน บ้างก็เป็นสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย แต่ก็มีความผูกพันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตลอดกระทั่งมีการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดต่างๆ แก่กันเสมอ ผู้ที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ สนิทสนมด้วยเป็นพิเศษ และได้คบหากันต่อมาก็คือ หลวงปู่ตื้อ อาจลธรรมโม ซึ่งเป็นผู้ชักนำให้ไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งกำลังเป็นผู้ที่ถูกกล่าวถึงว่าปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และกำลังออกสั่งสอนธรรมปฏิบัติอยู่ทางภาคอีสานขณะนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้พบและฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่น บังเกิดความซาบซึ้ง และทราบว่าเป็นทางแห่งการแสวงหาธรรมตามที่ประสงค์

    หลังจาก
    หลวงปู่ แหวนได้พบพระอาจารย์มั่น และได้เดินทางธุดงค์ไปกับหลวงปู่ตื้อ โดยเดินทางไปจากภาคอีสานไปสู่ประเทศลาว เขมร เวียดนาม พม่า จนกระทั่งทะลุผ่านกลับสู่ประเทศไทย ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วกลับมาสู่อีสานแล้ว ต่อมาอีกไม่นาน (ประมาณอายุ 33 ปี) หลวงปู่แหวนได้ติดตามท่านเจ้าคุณพระอุมาลีคุณปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ไปจำพรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนี้หลวงปู่แหวนได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีกครั้ง พร้อมทั้งได้ขอรับเป็นพระสงฆ์ในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุมาลีคุณปมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์

    นับแต่นั้น หลวงปู่แหวนก็ได้ออกธุดงคกรรมฐานหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพรแถบภาคเหนือ ตลอดมา จวบจนได้พบวัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ และได้ทำการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรือง จนเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปถึงทุกวันนี้

    ปี พ.ศ.2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระอาจารย์หนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยาบาลอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้น แต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้

    นับ แต่นั้นมาอาจารย์หนูได้พยาบาลอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาท่านอาจารย์หนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่มีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วยเพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระอาจารย์หนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี

    ปี พ.ศ.2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งท่านอาจารย์หนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่แหวนดังขึ้นมา ที่หูว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่อยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย

    เมื่อหลวงปู่ แหวนได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ครั้งแรกท่านพักอยู่ที่กุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งนี้ ท่านได้มีข้อตกลงกับพระอาจารย์หนูว่า หน้าที่ต่างๆ และกิจทุกอย่างที่มีขึ้นในวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่เพียงผู้เดียว

    ส่วนท่านจะอยู่ใน ฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้น หลวงปู่แหวน จะไม่รับนิมนต์โดยเด็ดขาด แม้ที่สุดถึงจะเกิดอาพาธหนักเพียงใดก็ตาม ท่านไม่ยอมนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วในกาลก่อน

    นับตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะ สำหรับท่าน

    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋งได้
    มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2528 สิริอายุ 98 ปี

    ปิดครับ
    IMG_20180121_212932.jpg
    IMG_20180121_212914.jpg
    IMG_20180121_212840.jpg
    IMG_20180121_212822.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  9. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่17 เหรียญรุ่นสมปรารถนา หลวงปู่บุญมา วัดคลองเกตุ จ. ลพบุรี ศิษย์หลวงปู่เสาร์ และหลวงพ่อเดิม
    หลวงปู่บุญตา วิสุทฺธสีโล ชื่อเดิม บุญตา พาซื่อ บิดา นายอุด มารดา นางทุม นามสกุล พาซื่อ เกิดวันที่ 15 มกราคม 2449 ที่บ้านโนนสะคาม จ.อุบลราชธานี
    เมื่ออายุได้ 3 ขวบ ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านพระเสาร์ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร (เดิม จ.อุบลราชธานี)จนอายุ 16 ปี จึงย้ายไปอยู่ที่ จ.สุรินทร์ เมื่ออายุได้ 23 ปี มารดาเสียชีวิต จึงได้อุปสมบท
    พระอุปัชฌาย์ พระอธิการกลัด เจ้าอาวาสวัดเสม็ด

    ผู้ประสิทธิ์วิทยาคม
    ๑. พระอาจารย์เสรี กนฺตสีโล ที่วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา
    ๒. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์
    ๓. หลวงกัน วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์
    ๔. หลวงพ่อทอง วัดเขากบ จ.นครสวรรค์
    ๕. พระธรรมธีรราชมหามุโน (โชดก) วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ


    และได้เดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อฝึกจิต ปฏิบัติธรรม จนได้ไปจำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองเกตุ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี ท่านอยู่ในร่มกาสาวพัสต์ รวม 71 พรรษา ได้ทำนุบำรุงพระศาสนา สร้างถาวรวัตถุ สร้างความเจริญ ทั้งเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน รวมทั้งตั้งมูลนิธิ หลวงพ่อบุญตา วิสุทฺธสีโล ช่วยเหลือด้านการศึกษา จนเป็นที่เคารพรักของชาวลพบุรี กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
    ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ท่านตั้งปณิธานว่าจะสร้างมหาเจดีย์ มาตุภูมิ ที่บ้านพระเสาร์ เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน

    ท่านมรณภาพ เมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541 รวมอายุ 93 ปี 22 วัน

    เหรียญนี้สร้างไว้เพื่อแจกแด่ผู้ที่ศรัทธามากราบหลวงปู่
    ผู้ที่มากราบหลวงปู่จะได้รับจากมือกันทุกๆ คน
    เหรียญรุ่นนี้มีคนคล้องคอแล้วลงจับปลาในบ่อปลา ไม่ได้สักตัวเดียว
    ถ้าวันไหนไม่คล้องคอไปด้วย จะได้ปลาติดมือกลับมาทุกครั้ง
    แต่ถ้าขอเรื่องโชคลาภ ค้าขาย ไม่เคยพลาด ได้กำไร มีโชคทุกครั้ง
    เหรียญรุ่นนี้ไม่ค่อยปรากฏเห็นแม้แต่ตามแผงพระทั่วไป หายากเช่นกันครับ

    ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงปู่ครึ่งองค์ใบหน้ายิ้มแย้ม
    ด้านหลังประทับด้วยยันต์กันฟ้ากันไฟและยันต์เรียกทรัพย์

    ปิดครับ
    IMG_20180121_205641.jpg
    IMG_20180121_205620.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  10. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่18 เหรียญรุ่นเมตตา ปี35 หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย ลพบุรี เนื้อทองเเดง (ศิษย์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ)
    ประวัติหลวงพ่อสารันต์
    ก่อนบวช ชื่อเดิม เด็กชายสารันต์ เนียมสุริยะ เกิดวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๙๐ ณ บ้านเลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๓ บ้านปราสาท ตำบลปราศาท อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ อายุ ๑๔ ได้บรรพชาเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ อายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ อุปสมบทเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๐ ณ พัทธสีมาวัดปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การศึกษาตลอดเวลาที่อยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์สมณะเพศนั้น มีความสนใจในการศึกษาทางพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทั้งทางด้านปริยัติและปฎิบัติ โดยเฉพาะภาคธรรมปฎิบัติสภาพความเป็นจริงของชีวิต และวิชาไสยศาสตร์ เวทมนต์ อาคมคาถาและโหราศาสตร์ ทางโลกสนใจในทางการปกครองและบริหาร การปฎิบัติธรรมท่านสนใจในการค้นคว้าแสวงหาแนวทางปฎิบัติสมาธิภาวนาและวิปัสสนาภาวนา โดยออกจาริกธุดงค์วัตรรุกมูลตามสถานที่ต่างๆอยู่เสมอ นอกจากในประเทศไทยแล้วยังจาริกธุดงค์เข้าไปประเทศลาว กัมพูชา พม่าและมาเลเซีย โดยเฉพาะกัมพูชานั้นเป็นระยะเวลาหลายปี เพื่อแสวงหาสำนักปฎิบัติธรรมอาจารย์ที่สอนกัมมฐานและวิชาไสยศาสตร์ จากพระอาจารย์หลายท่าน ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๘-๒๕๒๐ไปพำนักศึกษาปฎิบัติธรรมกรรมฐานและอภิธรรมกับหลวงปู่ครูบาพรหมจักร,พระเดชพระคุณพระสุพรหมยานเถระ วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน,ศึกษาพระกรรมฐานกับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จ.สกลนคร,ไปขอศึกษาปฎิบัติธรรมพระกรรมฐานจาก หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่,ไปศึกษาวิชาธรรมกาย วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร,ศึกษาวิปัสสนาภูมิจากพระเดชพระคุณพระราชสุทธิเทพมุนีอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระทั้งในและนอกประเทศ วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานครและสำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี พ.ศ.๒๕๒๐ ย้ายมาจำพรรษาที่วัดดงน้อย ตำบลกกโก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีตลอดมา พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดดงน้อย พ.ศ.๒๕๒๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดงน้อย ตำบลกกโก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนถึงปัจจุบันนี้ ในระยะเวลาเดียวกันได้มีการพัฒนาปรับปรุงบริเวณวัดให้เป็นสัดส่วน ซ่อมแซมพระอุโบสถ ซื้อที่ดินขยายเขตวัดออกไปอีก ๑๔ ไร่ สร้างกุฎิสงฆ์ หอระฆัง หอสมุดอเนกประสงค์ ฌาปนะสถาน ศาลาการเปรียญธรรมสภา แบ่งเขตเป็นเขต พุทธาวาส และเขตสังฆาวาส เป็นต้น

    ด้านการเผยแพร่ มีการเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้มีการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชน จัดงานบรรพชาสามเณรหมู่ภาคฤดูร้อน อุปสมบทหมู่ บวชชีปฎิบัติธรรมเป็นประจำทุกปีทั้งในและนอกวัด และสอนพระกรรมฐานทั้งในและนอกวัดจนเป็นที่รู้จักชือเสียงในนามของท่านพระอาจารย์สารันต์ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนทั้งหลายและได้รับความนิยมทั้งในส่วนราชการและพุทธศาสนิกชนทั่วไปและได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์สัญญาบัตรชั้นพิเศษเทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงที่ “พรครูจันทสิริธร”ในวโรกาสวันเฉลิมฉลองพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๕ ธันวคม พ.ศ.๒๕๔๙ ปัจจุบันหลวงพ่อสารันต์เจ้าอาวาสวัดดงน้อยเป็นพระเกจิรูปหนึ่งในจังหวัดลพบุรีและในประเทศไทย เป็นที่รู้จักเคารพนับถือทั้งในและต่างประเทศ เป็นพระเกจิที่มีวิทยาคมอันแรงกล้า พ.ศ.๒๕๕๓ หลวงพ่อสารันต์มีสิริอายุได้ ๖๓ ปี พรรษา ๔๓ พรรษา

    ด้านศาสนูสงเคราะห์ สร้างอาคารโรงเรียนชั้นประถมศึกษา(โรงเรียนจันทสิริธรอุปถัมถ์)สร้างเมือ พ.ศ.๒๕๔ เป็นอาคาร ๓ ชั้น ๒๖ ห้องเรียน ใช้งบประมาณสร้าง ๑๕ ล้านบาท

    นอกจากการสร้างโรงเรียนแล้ว ยังปรับปรุงซ่อมแซมสิ่งทั้งหลายภายในโรงเรียนอยู่เสมอ และมอบทุนการศึกษาให้แก่ภิกษุสามเณร

    ปิดครับ
    IMG_20180121_213006.jpg
    IMG_20180121_212954.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  11. พื้นทราย

    พื้นทราย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2015
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +624
    ขอเปลี่ยนแปลงรายการจองนะครับ
    รายการที่ 1ที่จองไว้ ขออนุญาตยกเลิก
    ขอจองรายการที่ 12 แทนนะครับ
    ขอบคุณครับ
     
  12. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการเปลี่ยนแปลงรายการจองครับ
     
  13. พื้นทราย

    พื้นทราย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2015
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +624
    โอนแล้วครับ ค่าบูชารายการที่ 11 และ 12
    จํานวนเงิน 550 บาท 22/01/18 เวลา 20.37
    ที่จัดส่งแจ้งpmครับ
     
  14. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่19 พระใบโพธิ์ตัดปีก เนื้อเกสร หลวงพ่อลีวัดอโศการาม
    พระพิมพ์ที่ทำแบบใบโพธินี้ เรียกว่า "พระโพธิจักร" ทำเป็นพระพุทธรูปปางแสดงพระธรรมจักร ประดิษฐ์อยู่ในใบโพธิ ต่อมาเนื่องจากเหตุบางประการ ท่านจึงทำเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประดิษฐานอยู่ในใบโพธิทำนองเดียวกัน เหตุที่เปลี่ยนมาเป็นพระปางสมาธินั้น ท่านกล่าวไว้ในประวัติของท่านว่า "วันหนึ่งเกิดนิมิตแปลกประหลาด คืนวันหนึ่งเงียบสงัดกำลังนั่งพิมพ์พระพุทธรูปอยู่ มีพระบรมธาตุองค์หนึ่งได้เสด็จมาปาฏิหารย์มาอยู่บนเตียงนอน มีลักษณะคล้ายรูปพระใบโพธิที่กำลังพิมพ์อยู่ แต่พระใบโพธิ์ที่พิมพ์อยู่เป็นแบบพระแสดงธรรมจักร คือยกพระหัตถ์ ๒ ข้างเป็นแบบแสดงพระธรรมเทศนา จึงได้ตั้งชื่อพระพิมพ์นี้ว่า "พระโพธิจักร"

    ปิดครับ
    IMG_20180122_212217.jpg
    IMG_20180122_212156.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  15. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่20 พระพุทธ 25 ศตวรรษ เนื้อดิน
    พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ เอกสารต้นฉบับเดิม"พระ 25 ศตวรรษ" แผนผังพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษเป็นสุดยอดพระเครื่องที่น่าหามาบูชาอย่างยิ่ง เนื่องด้วยพิธีที่ยิ่งใหญ่ เจตนาและวัตถุประสงค์ในการสร้างที่ดี รวมไว้ซึ่งสถาบันสำคัญของประเทศ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างพุทธมณฑลเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 และเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปจำลอง

    "พระพุทธปฏิมาประธานพุทธมณฑล" และทรงกดพระพิมพ์ พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดินผสมเกสรจำนวน ๓๐ องค์ ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 พระ 25 พุทธศตวรรษ สร้างขึ้นเมื่อปี 2500 วัตถุประสงค์เพื่อหารายได้สร้าง พุทธมณฑล ที่ศาลายา จ.นครปฐม เพื่อให้เป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาในเมืองไทย สมัยนั้นใครที่ไปติดต่อราชการที่อำเภอหรือจังหวัด จะต้องทำบุญเช่าพระ พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ สมัยก่อน 1 องค์ 5 บาท ทำให้คนไทยเกือบทุกบ้านมีพระรุ่นนี้กันอย่างทั่วถึง แต่เนื่องจากจำนวนสร้างมีมากเป็นล้านองค์ ทำให้ พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ บางเนื้อยังคงมีเหลืออยู่ที่ พุทธมณฑล ในขณะเดียวกัน พระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ในตลาดพระก็ยังมีการเช่าบูชากันในราคาที่ไม่แพงนัก ยกเว้นพระเนื้อพิเศษ เช่น พระ 25 ศตวรรษ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน หรือหรือดินเผาสีแปลกๆ องค์สวยคมชัดมาก ก็อาจจะมีราคาแพงกว่าองค์ธรรมดา

    พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ถือได้ว่า เป็นพระเครื่องที่มาพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่มากรุ่นหนึ่งในวงการพระเครื่อง มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสกพุทธาคมครบ 108 รูป พระคณาจารย์ 108 รูป ซึ่งได้อาราธนามาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย พระคณาจารย์แต่ละรูปล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงทั้งสิ้น พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษเนื้อดิน มีหลายขนาดและหลากหลายโทนสีเนื่องจาก การเผาผ่านความร้อนที่ต่างกันเช่นเดียวกับพระเนื้อดินโบราณสมัยก่อน ที่มีขนาดและโทนสีที่แตกต่างกัน และพระบางองค์ที่ถูกความร้อนมากหน่อยก็จะ หดตัวเล็กลงไป หรือพระบางองค์ที่ผสมผงเกสรหรือว่านมากไปก็จะกลายเป็นสีดำ

    พระ 25 ศตวรรษ เมื่อเริ่มได้รับความนิยมจากประชาชนแล้วก็เริ่มมีการแบ่งแยก เนื้อพระ และ พิมพ์ทรง ให้เป็นเนื้อและพิมพ์นิยมมากขึ้นซึ่งเนื้อ "พระ 25 ศตวรรษ ทองคำ, พระ 25 ศตวรรษ เนื้อนาก, พระ25ศตวรรษ เนื้อเงิน" ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดตามลำดับโดยแบ่ง "เนื้อชิน" ออกเป็น "พิมพ์มีเข็ม" นิยมมากกว่าพิมพ์ "ไม่มีเข็ม" ส่วนทางด้าน "เนื้อดิน" ก็มีการแยกตามความนิยมออกโดยจัด "เนื้อสีดำ" เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุดจากนั้นก็จัด "เนื้อโทนสีช็อกโกแลต" ได้รับความนิยมรองลงมาและ "เนื้อแร่" ก็ได้รับความนิยมในระดับเดียวกับ "เนื้อช็อกโกแลต" ส่วนเนื้ออื่น ๆ ก็ได้รับความนิยมรองลงมาเนื้อไหน สีโทนอะไรหายากก็จะแพงกว่าโดยมี รายละเอียดแตกต่างมากมายทั้งที่เป็นพระที่สร้างในพิธีเดียวกัน


    คณาจารย์ 108 รูปนี้ได้อาราธนามาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ดังมีรายชื่อพระคณาจารย์ ดังต่อไปนี้

    1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
    11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
    12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
    13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
    14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
    19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
    20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
    21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
    22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรงหีบ จ.พระนคร
    23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
    24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
    25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
    26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
    27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร(หลวงพ่อเส่ง)วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
    28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
    29. พระครูทิวากรคุณ(หลวงพ่อกลีบ) อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
    30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
    31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
    34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
    38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
    39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
    40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
    41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
    42. พระครูวิริยกิจ(หลวงปู่โต๊ะ) อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
    43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
    44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
    45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
    46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
    47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
    48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
    49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
    50. พระธรรมวาทีคณาจารย์(หลวงพ่อเงิน) อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
    52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
    53. พระอาจารย์เต๋(หลวงพ่อเต๋) อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
    55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
    56. พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงพ่อเทียม)อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
    57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
    58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
    59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
    60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
    61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย)อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
    62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
    63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
    64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ

    66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
    67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
    68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
    69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
    70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
    71. พระครูสักขิตวันมุนี(หลวงปู่ถิร) อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
    73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
    74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
    75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
    76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
    77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
    78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
    80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
    81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
    83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
    84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
    85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
    86. พระครูวิมลศีลจารย์(หลวงพ่อเส่ง) อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
    87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
    88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
    90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง ค์
    91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
    94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
    95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    96. พระอาจารย์หน่าย(หลวงพ่อหน่าย) วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
    98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
    99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
    100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
    102. พระครูศุข(หลวงพ่อทองศุข) วัดโตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
    104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
    105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
    106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
    107. พระครูปี้ วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
    108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

    วัตถุมงคลรุ่นนี้ ส่วนหนึ่งได้นำมาบรรจุประดิษฐานไว้ ณ พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร โดย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

    คุณ ktvปิดครับ
    IMG_20180122_212313.jpg
    IMG_20180122_212251.jpg
    IMG_20180122_212229.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  16. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการโอนครับ พรุ่งนี้จัดส่งพร้อมแจ้งเลขจัดส่งครับ ขอบคุณครับ
     
  17. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่21 นางพญาเนื้อผงน้ำมัน วัดพระพุทธบาทสระบุรีปี๒๕๑๔ พิธีใหญ่ หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อกวย ปลุกเศก
    คุณลืมจังนิมนต์ครับ

    IMG_20180122_215558.jpg
    IMG_20180122_215545.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  18. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่22 กะลาแกะราหู หลังจารมือ ไม่ทราบที่
    คุณduke2513ปิดครับ
    IMG_20180122_213041.jpg
    IMG_20180122_213052.jpg
    IMG20180122213257.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  19. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่23 ล็อคเก็ต หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม
    ความศักดิ์สิทธิ์
    ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อบ้านแหลมนั้นเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว ไม่ว่าเป็นทางก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง ทางแคล้วคลาด ทางรักษาโรค และเรื่องอื่นๆ อีกมาก แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ทรงทราบ อีกทั้ง สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 ก็ทรงเลื่อมใส ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 6 ที่พระราชทานมายังพระครูมหาสิทธิการ (แดง) ความว่า “ปีกลายนี้ สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จไปยังเมืองสมุทรสงคราม ในกระบวนหลวง ได้รับสั่งให้คนนำเครื่องสักการะไปถวายหลวงพ่อบ้านแหลม และได้รับสั่งไว้แต่ครั้งนั้นว่า ขอผลอานิสงส์ความทรงเลื่อมใส จงบันดาลให้หายประชววร ครั้นเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ได้ไม่นานก็หายประชวร จึงทรงระลึกถึงที่ได้ทรงตั้งสัตยาธิษฐานไว้สมพระประสงค์ โปรดพระราชทานปัจจัยเป็นมูลค่า 800 บาท มาเพื่อช่วยในการปฏิสังขรณ์วัดบ้านแหลม ข้าพเจ้าได้ส่งมาให้ท่านพระครูทางกระทรวงธรรมการแล้ว”

    อีกประสบการณ์หนึ่งจากผู้ที่รอดชีวิตเพราะบุญญาบารมีของหลวงพ่อคุ้มครอง คือ นายชิต เข้มขัน อดีตนายด่านศุลการกร สมุทรสงคราม ได้ประกอบอาชีพเป็นกัปตันเรือเดินทะเลระหว่างกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ คราวหนึ่งเรือถูกพายุอัปปางลง เขาต้องลอยอยู่ในทะเลหลายชั่วโมงจวนหมดกำลังจมน้ำอยู่แล้ว ก็นึกถึงหลวงพ่อบ้านแหลมขึ้นมาได้ จึงขอให้หลวงพ่อช่วย ขณะนั้นเรือที่เดินอยู่ในทะเลได้ยินเสียงคนร้องให้ช่วย จึงหันหัวเรือตามหา แต่เดือนมืดมองไม่เห็น เรือแล่นวนเวียนอยู่สักครู่ก็จะหันหัวเรือกลับ แต่ก็ได้ยินเสียงคนร้องเรียกให้ช่วยอยู่เรื่อย จึงค้นหาอีกจนพบนายชิต เข้มขัน ลอยคออยู่จวนจะจมน้ำ เมื่อเอาตัวขึ้นมาบนเรือนั้นนายชิตสลบไม่ได้สติ ต้องแก้ไขอยู่นาน พอฟื้นขึ้นมาจึงพากันซักถามว่าตะโกนให้ช่วยหรือเปล่า นายชิตบอกว่าไม่ได้เรียกให้ช่วย เป็นแต่คำนึงถึงหลวงพ่อบ้านแหลมอยู่ในใจ ขอให้หลวงพ่อช่วยเท่านั้นเอง

    ปิดครับ
    IMG_20180122_212427.jpg
    IMG_20180122_212415.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018
  20. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่24 รูปกรอบกระจก หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลังยันต์
    ปิดครับ
    IMG_20180122_212355.jpg
    IMG_20180122_212344.jpg
    IMG_20180122_212330.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...