เรื่องเด่น ความสำคัญของการมีกัลยาณมิตร,คุณสมบัติของกัลยาณมิตร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 31 พฤษภาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลุงแมวเอ้ย อิอิ เป็นไงเหงือไหลจั๊กแร้ดิ
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ด้วยความเคารพลุงแมว ถ้ามันไม่ไหว ก็หยุดพักนะ ตั้งนโม สามจบ แล้วนอนพัก เออ สติสตังแตกหมดแล้ว อยู่ดีไม่ว่าดี รนหาเรื่องแท้ๆ

    ทำแบบนี้กับผมมาสองรอบแล้ว น่าจะรู้สันดาน มจด.แล้ว ถ้าดีมานะ จะดีสุดๆ ถ้าร้ายมา สุดๆ เหมือนกัน ดังนั้น เราพูดกันด้วยเหตุด้วยผลเถอะครับ

    พอเถอะ อย่ารนหาเรื่องให้ตัวลุงแมวเองเจ็บปวดใจเลย ขอบอก

    ผมเชื่อว่า ตั้งแต่ลุงแมวประจำอยู่นี่ ไม่เคยมีใครว่าลุงแมวถึงขนาดนี้

    ถ้าแรงไปกราบขออภัย แต่ลุงแมวควรดูความคิดตัวเองด้วย ว่าคิดอะไรกับผมอยู่ :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2017
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ จากคุณสมบัติของกัลยาณมิตร


    บัณฑิต คือ คนฉลาด หรือคนที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา มีคุณสมบัติที่ท่านแสดงไว้หลายแบบหลายอย่าง เช่น ในพุทธพจน์ต่อไปนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด ต่างก็ปรากฏแจ่มฉายด้วยความประพฤติของตน ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงรู้ว่า เป็นพาล คือ ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต...ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต คือ ด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต..."

    "ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะของบัณฑิต เครื่องหมายของบัณฑิต แนวความประพฤติของบัณฑิตมี ๒ ประการ ดังนี้ กล่าวคือ บัณฑิตเป็นผู้มีปกติคิดความคิดดี มีปกติพูดถ้อยคำดี มีปกติทำการดี"

    "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต กล่าวคือ ตั้งปัญหาโดยแยบคาย และเมื่อคนอื่นแก้ปัญหาแยบคาย ด้วยถ้อยคำกลมกล่อม สละสลวย ได้เหตุได้ผล ก็อนุโมทนา"

    "ภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ ดังนี้ คือ ผู้แบกภาระที่ไม่มาถึง ๑ ผู้ไม่แบกภาระที่มาถึง ๑....

    "บัณฑิต ๒ ดังนี้ คือ ผู้แบกภาระที่มาถึง ๑ ผู้ไม่แบกภาระที่ไม่มาถึง ๑..."

    "ภิกษุพาล ปรารถนาคำสรรเสริญที่ไม่เป็นจริง ความเด่น ออกหน้าในหมู่ภิกษุ ความเป็นใหญ่ในอาวาสทั้งหลาย และการบูชาในตระกูลคนอื่น เขาคิดว่า ขอให้คนทั้งหลาย ทั้งพวกคฤหัสถ์ และบรรพชิต จงสำคัญว่า สิ่งที่ทำสำเร็จแล้ว ก็เพราะอาศัยเราคนเดียว ขอให้ทั้งสองพวกนั้นจงอยู่ในอำนาจของเราเท่านั้น ในกิจน้อยใหญ่ ไม่ว่าอย่างใดๆ คนพาลมีความดำริดังนี้ ความริษยา และมานะ จึงมีแต่พอกพูน"

    "สัตบุรุษทั้งหลายไปไม่ติดทุกสถาน สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะอยากได้กาม บัณฑิตถูกสุขหรือทุกข์ก็ตามกระทบเข้า ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นๆลงๆ

    "บัณฑิตไม่ทำชั่วเพราะเหตุแห่งตน หรือเพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น ไม่พึงปรารถนา บุตร ทรัพย์ รัฐ ความสำเร็จแก่ตน โดยไม่ชอบธรรม บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญาประกอบด้วยธรรม"

    "ผู้ใด เขาสักการะก็ตาม ไม่สักการะก็ตาม ย่อมมีสมาธิไม่หวั่นไหว เป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท ผู้นั้น ซึ่งมีปกติเพ่งพินิจ ทำความเพียรตลอดเวลา เห็นแจ้งด้วยความเข้าใจอันสุขุม ยินดีในความสิ้นอุปาทาน ท่านเรียกว่า สัตบุรุษ"

    "คนไขน้ำย่อมไขน้ำไป ช่างศรย่อมดัดลูกศร ช่างถากย่อมถากไม้ บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน"

    "หงส์ ก็ดี นกกระเรียนก็ดี นกยูงก็ดี ช้างก็ดี เนื้อฟานทั้งหลายก็ดี ย่อมกลัวราชสีห์ทั้งนั้น จะวัดที่ร่างกายไม่ได้ ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ถึงแม้เป็นเด็ก ถ้ามีปัญญา ก็นับว่าผู้ใหญ่ แต่ถ้าโง่ ถึงร่างกายจะใหญ่โต ก็หาเป็นผู้ใหญ่ไม่"

    "คนมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่ไปเหมือนโคถึก เนื้อของเขาย่อมเจริญ แต่ปัญญาหาเจริญไม่"

    "คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอกก็หาไม่ ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า ส่วนผู้ใด มีสัจจะ มีธรรม มีอหิงสา มีความบังคับควบคุมตน มีความฝึกตน ผู้นั้นแลเป็นปราชญ์ สลัดมลทินได้แล้ว เรียกได้ว่า เป็นผู้ใหญ่"

    "ห้วงน้ำน้อย ไหลดังสนั่น ห้วงน้ำใหญ่ ไหลนิ่งสงบ สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นเงียบ คนพาล เหมือนหม้อมีน้ำครึ่งเดียว บัณฑิตเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม"

    "ผู้ใดเป็นพาล รู้ตัวว่าเป็นพาล ก็ยังนับว่าเป็นบัณฑิตได้บ้าง ส่วนผู้ใดเป็นพาล สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ผู้นั้นแล เรียกว่าเป็นพาลแท้ๆ"

    "สัตบุรุษไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้น ไม่ชื่อว่าสภา ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ ละราคะ โทสะ โมหะ โมหะแล้ว พูดเป็นธรรม จึงจะเป็นสัตบุรุษ"

    "ผู้ ใดเป็นธีรชน เป็นคนกตัญญูกตเวที คบหากัลยาณมิตร มีความภักดีมั่น กระทำกิจเพื่อผู้ตกทุกข์ด้วยตั้งใจจริง คนอย่างนั้น ท่านเรียกว่าสัตบุรุษ" (ขุ.ชา.27/2466/541)

    (ที่นี้ ตัดชื่อคัมภีร์ที่ใช้อ้างอิงออกส่วนมาก)
     
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    อย่าเอานะโม มาเป็นเครื่องเล่น เหมือนบอกว่าปล่อย
    ปล่อยเต่าเป็นเครื่องเล่น
    ถามว่ามีอานิสงค์อะไร อย่างไร
    ไม่รู้เรื่องเล่นไปหมด.....เล่นได้ไม่มีใครห้าม
    แต่ให้รู้บ้างว่าใครว่าสมควรเล่นกับใคร
    จำไว้เลยอย่าทำอีก และอย่าเถียงคนที่ไม่ใส่ร้าย
    ป้ายสีคนอื่น ทุกอย่างที่ลุงแมวกล่าว
    ไม่ใส่ร้ายป้ายสี ไม่อิจฉา ไม่สงสาร
    เหมือนคนเที่ยวสงสารคนไม่ได้อ่านพุทธธรรม
    เป็นได้ไง ฮง
    อย่าได้มาสอนใครเลย สอนไปดูไป มันทุเรศ
    จำไว้ เจ้ามจด.หมาจู๋ด้วน
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เอาอีก ไม่จำ อิอิ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ

    คนดี
    มีปัญญา ที่เรียกว่าบัณฑิต หรือสัตบุรุษนี้ เมื่อใครไปเสวนาคบหา หรือเมื่อเขาเองทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้ หรือความดีงามแก่ผู้อื่น ชักจูงให้ผู้อื่นมีความรู้ความเห็นถูกต้อง หรือให้มีศรัทธาที่จะถือตามอย่างตน อย่างใดอย่างหนึ่ง จะโดยการสั่งสอน การแนะนำ หรือกระจายความรู้ความเข้าใจนั้นออกไปทางหนึ่งทางใดก็ตาม ด้วยความปรารถนาดี ด้วยความเมตตากรุณา ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และการประพฤติดีปฏิบัติชอบขึ้น ก็เรียกว่า เป็นกัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร ในแง่ที่เป็นผู้ซึ่งคนอื่นควรเข้าไปคบหาเสวนา นอกจากจะกำหนดด้วยคุณสมบัติต่างๆ เท่าที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจพิจารณาจากคุณธรรมหลักเพียง ๔ หรือ ๕ ประการ ที่ท่านกล่าวไว้ในความหมายของกัลยาณมิตตตา

    กัลยาณมิตตตา คือ ความมีกัลยาณมิตรนั้น ท่านแสดงความหมายว่า ได้แก่ การเสวนา สังเสวนา คบหา ภักดี มีจิตใฝ่โน้มไปหาบุคคลที่มีศรัทธา มีศีล มีสุตะ คือเป็นพหูสูต มีจาคะ และมีปัญญา

    ในบรรดาคุณธรรม ๕ อย่างนี้ บางแห่งท่านแสดงไว้เพียง ๔ เว้นสุตะ แสดงว่า สุตะมีความจำเป็นน้อยกว่าข้ออื่นอีก ๔ ข้อ และท่านขยายความเชิงแนะนำว่า เมื่อไปอยู่ในถิ่นใดก็ตาม ก็เข้าสนิทสนม สนทนา ปราศรัย ถกถ้อยปรึกษากับผู้ประกอบด้วยศรัทธา ผู้ประกอบด้วยศีล ผู้ประกอบด้วยจาคะ ผู้ประกอบด้วยปัญญา ศึกษาเยี่ยงอย่างศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ของคนที่มีคุณสมบัติอย่างนั้นๆ * (ดู องฺ.อฏฺฐก.23/144/290)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2017
  7. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    หื๊อออออ...( ลากเสียงในลำคอยาวสุดลมหายใจ)
    อย่าเล่นลิเก
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ไม่เข้าใจ เล่นลิเกยังไงอ่ะ ตาแมว
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ

    ส่วนกัลยาณมิตร ในแง่ทำหน้าที่ต่อผู้อื่น สมควรมีคุณสมบัติพิเศษจำเพาะสำหรับการทำหน้าที่นั้นอีก ส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะคุณสมบัติพื้นฐาน ที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการ ดังนี้ *(องฺ.สตฺตก.23/34/33)

    ๑. ปิโย น่ารัก คือ เข้าถึงจิตใจ สร้างความรู้สึกสนิทสนม เป็นกันเอง ชวนใจผู้เรียนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม

    ๒. ครุ น่าเคารพ คือ มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึงได้ และปลอดภัย

    ๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ คือ มีความรู้จริง ทรงภูมิปัญญาแท้จริง และเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตนอยู่เสมอ เป็นที่น่ายกย่อง ควรเอาอย่าง ทำให้ศิษย์เอ่ยอ้าง และรำลึกถึง ด้วยความซาบซึ้ง มั่นใจ และภาคภูมิใจ

    ๔. วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล คือ พูดเป็น รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าว ตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี

    ๕. วจนักขโม ทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามแม้จุกจิก ตลอดจนคำล่วงเกิน และคำตักเตือนวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ อดทนฟังได้ ไม่เบื่อหน่าย ไม่เสียอารมณ์

    ๖. คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ คือ กล่าวชี้แจงเรื่องต่างๆ ที่ลึกซึ้งซับซ้อนให้เข้าใจได้ และสอนศิษย์ให้ได้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป

    ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชะเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย หรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร
     
  10. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ก็ต้องย้ำว่าที่พูดไป ไม่ได้ใส่ร้ายป้ายสี
    ดูมานานเห็นนิสัย
    ที่ไม่มีใครพูดเพราะเขารำคาญ และตัดความรำคาญ
    ด้วยการก้าวข้าม
    ฉะนั้น คนที่มาตำหนิคุณคือไม่ก้าวข้ามคุณ ไม่ดูแคลนคัดแยกคุณออกไป โดยการก้าวข้าม
    คุณเข้าใจไหม
    ที่บอกว่า ว่าคุณดูหมิ่นและสงสารคนจนน้ำหูน้ำตา
    ไหลนั่นก็ว่าลุงแมวตรงๆ และสงสาร
    กราดไปที่คนอื่นๆ ด้วยแค่เพราะว่า
    เขาไม่ได้อ่านคำภีร์พุทธธรรม น่านเป็นยังงั้น
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เคยว่าก่อนหน้าแว้ (ว่า) จิตวิญญาณลุงแมวเหมือนคนเป็นอัมพาต คือ หนามตำเข็มแทงก็ไม่เจ็บ เหยียบไฟไม่ร้อน แช่น้ำแข็งไม่รู้สึกเย็น จิตตายด้าน คือมันทื่อๆ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ไปเอาข้อความตรงที่ว่ามา

    เห็นแต่ลุงแมวว่าพุทธธรรมเป็นอรรถกถา อิอิ
     
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    คุณเหมือนตัวตลก มาเล่นบทพระเอก
    พูดเรื่องคนดง คนดี
    ในขณะที่ตัวเองโดนตำหนิอยู่ มันไม่มีสำนึกละอาย
    เลยได้ฮัย ผมฮง
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คนจริงของจริงที่ลุงแมวพูดถึงไม่เห็นมาล่ะ พูดกับลุงแมว จืดชืด อยากได้ของจริง
     
  15. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ทื่อแต่ไม่แถ
    กับคล็อกแคล็กด้วยแถด้วยคุณนับถือคนแบบไหน
     
  16. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    แถนอกเรื่อง แต่ก็ไม่อยากก้าวข้ามคุณหรอกนะ
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คงรู้แล้วสินะว่า การตัดแปะ กับ ที่ว่าไม่เอาตำรา ต่างกันยังไง :D
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ไม่ได้เรื่องเสียเวลา ขยะบอร์ด ไม่ได้มีอะไรเลย
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ

    คำสอนเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของมิตรดีนี้ บางแห่ง มุ่งเน้นประโยชน์ในระดับทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือทิฏฐธัมมิกัตถะเชื่อมกับสัมปรายิกัตถะ เช่น เรื่องมิตรแท้ มิตรเทียม ในสิงคาลกสูตร (ที.ปา.11/186-197/199-202) ดังความว่า

    "ดูกรคหบดีบุตร คน ๔ พวกเหล่านี้ พึงทราบว่าเป็นอมิตร เป็นมิตรเทียม คือ คนปอกลอก...คนดีแต่พูด...คนหัวประจบ...คนชวนฉิบหาย

    ๑) พึงทราบอมิตร ผู้เป็นมิตรเทียม ชนิดปอกลอก โดยฐานะ ๔ คือ เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว...ยอมเสียน้อย หวังจะเอาให้มาก...ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน...คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ (ของตัว)

    ๒) พึงทราบอมิตร ผู้เป็นมิตรเทียม ชนิดดีแต่พูด โดย ฐานะ ๔ คือ ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย...ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย...สงเคราะห์ ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้...เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง

    ๓) พึงทราบอมิตร ผู้เป็นมิตรเทียม ชนิดหัวประจบ โดยฐานะ ๔ คือ เพื่อนจะทำชั่วก็เออออ...เพื่อนจะทำดีเออออ...ต่อหน้าสรรเสริญ...ลับหลังนินทา

    ๔) พึงทราบอมิตร ผู้เป็นมิตรเทียม ชนิดชวนฉิบหาย โดยฐานะ ๔ คือ คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา...คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน...คอยเป็นเพื่อน เที่ยวดูการเล่น...คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน

    "ดูกร คหบดีบุตร คน ๔ พวกเหล่านี้ พึงทราบว่าเป็นมิตร มีใจงาม คือ มิตรอุปการะ...มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์...มิตรแนะนำประโยชน์...มิตรมีใจรัก

    ๑) พึงทราบมิตร ผู้มีใจงาม ชนิดอุปการะ โดยฐานะ ๔ คือ เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน...เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สินของเพื่อน...เพื่อนมีภัย เป็นที่พึงพำนักได้...เมื่อมีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก

    ๒) พึงทราบมิตร ผู้มีใจงาม ชนิดร่วมสุขร่วมทุกข์ โดยฐานะ ๔ คือ บอกความลับแก่เพื่อน...รักษาความลับของเพื่อน...มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง...แม้ชีวิตก็สละได้เพื่อประโยชน์แก่เพื่อน

    ๓) พึงทราบมิตร ผู้มีใจงาม ชนิดแนะนำประโยชน์ โดยฐานะ ๔ คือ ห้ามปรามจากความชั่ว...ให้ตั้งอยู่ในความดี...ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง...บอกทางสวรรค์ให้

    ๔) พึงทราบมิตร ผู้มีใจงาม ชนิดมีใจรัก โดยฐานะ ๔ คือ เพื่อนมีทุกข์ พลอยไม่สบายใจ...เพื่อนมีสุข พลอยแช่มชื่นยินดี...เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้...เขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยพูดเสริมสนับสนุน"



    อีกแห่งหนึ่งว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ ควรคบ ๗ ประการเป็นไฉน ? กล่าวคือ ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก ทำสิ่งที่ทำได้ยาก ทนสิ่งที่ทนได้ยาก เปิดเผยความลับแก่เพื่อน รักษาความลับของเพื่อน เมื่อมีภัยพิบัติ ไม่ทอดทิ้ง เมื่อเพื่อนสิ้นไร้ ไม่ดูหมิ่น" * (องฺ.สตฺตก.23/33/32)

    หลักที่นับว่าเป็นข้อปฏิบัติทั่วไปสำหรับมิตร ก็คือ คำสอนในเรื่องทิศ ๖ ที่ว่า * (ที.ปา.11/202/204)

    "ดูกรคหบดีบุตร มิตร และเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็น (เหมือน) ทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตรพึงบำรุงโดยฐานะ ๕ คือ
    ๑) ทาน ให้ปัน
    ๒) ปิยวาจา พูดอย่างรักกัน
    ๓) อัตถจริยา ทำประโยชน์แก่เขา
    ๔) สมานัตตตา เอาตัวเข้าสมาน
    ๕) อวิสังวาทนตา พูดขานไม่คลาดความจริง”

    พึงสังเกตว่า ข้อปฏิบัติ ๔ ข้อแรก ก็คือหลักที่เรียกว่า สังคหวัตถุ ๔ ประการนั่นเอง สังคหวัตถุนั้น เป็นหลักการสงเคราะห์ หรือหลักการยึดเหนี่ยวน้ำใจคน และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี ซึ่งเป็นหลักธรรมสำหรับ แสดงน้ำใจต่อกันระหว่างคนทั่วไป เมื่อหลักทั้งสองนี้ตรงกัน จึงเหมือนกับพูดว่า พระพุทธศาสนาสอนให้คนทั้งหลายเป็นมิตรต่อกัน หรือปฏิบัติต่อกันอย่างมิตร

    นอกจากนี้ พึงสังเกตด้วยว่า บรรดาข้อปฏิบัติเหล่านี้ การเอาตัวเข้าสมาน คือ ทำตัวให้เข้ากับเขาได้ ไม่ถือตัว ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน นับว่าเป็นคุณธรรมสำคัญ เป็นการเข้าถึงตัวอย่างแท้จริง ซึ่งมีผลทางจิตใจ และชักจูงความรู้สึกนึกคิดได้มาก ดังจะเห็นว่า ท่านจัดมิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ไว้เป็นมิตรแท้ประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ (สังคหวัตถุ ๔ เป็นหลักธรรมสำคัญยิ่งหมวดหนึ่ง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2017
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลิงแมวหายไปไหน :rolleyes:
     

แชร์หน้านี้

Loading...