Album: ยันต์ท้าวเวสสุวรรณ
อักขระคาถาที่ใช้ล้อมในยันต์รูปท้าวเวสสุวรรณ บทแรกนั้น ขึ้นต้นด้วย คาถาสุภาษิตและจุลลไชยยปกรณ์ ได้แก่<br /> <br /> “หิริโอตตัปปะ สัมปันนา สุกกะธัมมะ สะมาหิตา สันโต สัปปุริสา โลเก เทวะ ธัมมาติ วุจจะเร”<br /> <br /> ผู้ที่สมบูรณ์ ด้วยหิริโอตตัปปะ (ละอายชั่วกลัวบาป) มั่นคงอยู่ในกุศลธรรม สงบระงับบาปได้แล้ว ท่านเรียกว่า เป็นเทวดาในโลก<br /> <br /> “โลกปาลธรรม” หรือ “ธรรมคุ้มครองโลก” เป็นหลักธรรมประกอบด้วย ๑) หิริ แปลว่า ความละอายแก่ใจและละอาย แก่บาปทุจริตทั้งปวง ไม่กล้าทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้ง และ ๒) โอตตัปปะ แปลว่า ความเกรงกลัวต่อ บาปทุจริตทั้งปวง ไม่กล้ากระทำบาปทำชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง และยังมีชื่อว่าเป็น “เทวธรรม” คือธรรม เป็นคุณเครื่องอยู่ของเทวดาอีกด้วย<br /> <br /> เทวดาที่เป็นเรื่องไกลตัว จะไม่นำมาอธิบายในที่นี้ ซึ่งจะกล่าวมูลเหตุในการเลือกใช้พุทธศาสนสุภาษิตเบื้องต้น ที่สนับสนุนหลักธรรมอันให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงภาวะของตนได้ด้วยแรงกรรมคือความประพฤติของตนเอง เช่น ถ้าใครประพฤติตนเป็นคนลักขโมย เขาก็จะเปลี่ยนภาวะเป็นโจรทันที ถ้าใครขยันศึกษาเล่าเรียน เขาก็จะเป็นบัณฑิต ถ้าใครบวชแล้วรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ เขาก็จะเป็นภิกษุ และถ้าใครมีความละอายใจที่จะทำชั่ว พร้อมทั้งกลัวผลร้ายที่จะเกิดขึ้นหลังจากทำชั่วนั้น คุณธรรมในใจเช่นนี้ เรียกว่า หิริโอตตัปปะ จะมีสภาพเหมือนเกราะอันเหนียวแน่นป้องกันความชั่วทั้งปวงได้ ผู้มีสภาพจิตเช่นนี้จะเปลี่ยนภาวะเป็นเทวดาในโลกมนุษย์นี้ทันที เบื้องต้นในยันต์นี้จึงกล่าวถึงความละอายและกลัวต่อบาปทุจริต รวมถึงหัวใจสำคัญคือการละอายและเกรงกลัวไม่กล่าวอ้างคุณอันไม่มีในตน ไม่กล่าวอ้างคุณของเทวดาอันไม่มีหรือมีแต่ไม่เป็นผลในชีวิตของตนอีกด้วย ซึ่งจำเป็นต้องผ่านพื้นฐานนี้ได้ก่อน จึงจะสามารถเป็นผู้เหมาะสมมีสถานะทรงศีลทรงธรรม บรรลุสู่คาถาบทที่สองต่อไป<br /> <br /> บทที่สองต่อด้วย คาถาเทพอาวุธ<br /> สัพเพเทวาปิสาเจวะ อะฬะวะกาทะโยปิจะ ขัคคัง<br /> ตาละปัตตัง ทิสะวา สัพเพยักขาปะลายันติ<br /> สักกัสสะวะชิราวุธัง เวสสุวัณณัสสะ คะทาวุธัง<br /> อาฬะวะกัสสะทุสาวุธัง ยะมะราชา นะยะนาวุธัง<br /> อิเม ทิสะวา สัพเพ ยักขาปะลายันติ
แท็ก
จัดการ